ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 01:04:13 pm »การจับผิดผู้อื่น เรียกอีกอย่างว่า “การเพ่งโทษ”
“เพ่ง” ตามพจนานุกรม (เปลื้อง ณ นคร) ให้ความหมายไว้ว่า
จ้องดู, มองดู, ตั้งใจจ้องดู; เจาะจง, หมายเอา.
ดังนั้นเพ่งโทษจึงมีความหมายว่า ตั้งใจมองดูโทษ,
หมายเอาโทษ ก็คือตั้งใจดูเพื่อจะจับผิดนั่นเอง !
สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสถึงการเพ่งโทษไว้ในพลสูตรที่ ๑
ซึ่งกล่าวถึง "กำลัง ๘ ประการ” ดังนี้
“…ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ทารกทั้งหลายมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๑
มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง ๑
โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็นกำลัง ๑
พระราชาทั้งหลายมีอิสริยะยศเป็นกำลัง ๑
คนพาลทั้งหลายมีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๑
บัณฑิตทั้งหลายการเพ่งโทษตนเป็นกำลัง ๑
พหุสุตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง ๑
สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง ๑
(พระสุตตันตปิฎก
เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต)
สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ผู้ที่เพ่งโทษผู้อื่น
ห่างไกลจากความสิ้นอาสวะดังนี้
"คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น
อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ"
ขุ. ธ. ๒๕/๔๙
ทรงตรัสอุปมาอุปไมยโทษของการ เป็นผู้เพ่งโทษไว้ ดังนี้
วันหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งบุญเก่า ฤาษีนี้ก็ได้พบกับพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ผู้ซึ่งสูงสุด กว่าสัตว์โลกทั้งปวง ได้บังเกิดจิตเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ถึงกับวางสิ่งของในมือ ทำผ้าเฉวียงบ่าแสดงความ-เคารพ แล้วน้อมประคองอัญชลี กล่าวสรรเสริญ ชมเชยพระพุทธเจ้า… ด้วยอำนาจแห่งการ เคารพในพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงได้ท่องเที่ยวไป ในเทวโลก (โลกของผู้มีจิตใจสูง) และมนุษยโลก (โลกของผู้มีจิตใจประเสริฐ) อยู่นาน
ต่อมา ไปเกิดในยุคสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม เกิดอยู่ในตระกูลมัลลกษัตริย์ ชอบสัญจรเที่ยวไปเป็นเพื่อนกับปริชาพกผู้หนึ่งชื่อ “สภิยะ”
วันหนึ่ง ได้มีโอกาสพบกับพระผู้มีพระภาคเจ้าในเมืองสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแก้ปัญหา ที่สภิยปริพาชกถาม ขณะนั้นเอง ยสทัตตะก็นั่งฟังไป เพ่งโทษไป อดคิดในใจไม่ได้ว่า
"เราจะแสดงโทษในวาทะของพระสมณโคดม"
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้สภาวะจิตของเขา ครั้นได้ประทานโอวาท แก้ปัญหาให้ สภิยปริพาชก สิ้นสงสัยแล้ว จึงได้หันไปตรัสกับ ยสทัตตะว่า
***"คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมเป็นผู้ห่างไกล จากสัทธรรม (ธรรมะที่ดีแท้ของผู้มีสัมมาทิฐิ) เสมือนฟ้ากับดิน ฉะนั้น
*** คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมเสื่อม จากสัทธรรม เสมือนพระจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
*** คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมเหี่ยวแห้ง ในสัทธรรม เสมือนปลาในน้ำน้อย ฉะนั้น
*** คนมีปัญญาทราม มีจิตคิดเพ่งโทษ ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมไม่งอกงาม ในสัทธรรม เสมือนพืชเน่าในไร่นา ฉะนั้น
*** ส่วนผู้ใดมีจิตอันคุ้มครองดีแล้ว ฟังคำสอนของเราตถาคต ย่อมทำอาสวะทั้งปวง ให้สิ้นไปได้ โดยรู้แจ้งธรรมอันทำให้กิเลสไม่กลับกำเริบได้อีก สามารถบรรลุความสงบ อันยอดเยี่ยม เป็นผู้ทำกิเลสสิ้นเกลี้ยงแล้วปรินิพพาน
จบโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยสทัตตะได้สติรู้ตัว บังเกิดความสังเวช ในความคิดของตน และเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งขึ้น จึงขอบวชเป็นภิกษุ อยู่ในพระพุทธศาสนา แล้วกระทำความเพียรยิ่ง เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้บรรลุเป็น พระอรหันต์องค์หนึ่ง
รวบรวมข้อธรรมนำมาแบ่งปัน โดย : น้อมเศียรเกล้า
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&group=2&page=5
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ