ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2011, 06:38:31 pm »




การปฏิบัติธรรม แนวทางการเจริญสติ
แบบหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ แห่งวัดสนามใน

ความคิดเป็นธรรมชาติทางนามธรรมชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของเรา
เราคุ้นเคยและอยู่กับความคิดเกือบตลอดเวลา
แต่เราแทบจะไม่รู้จักความคิดและกลไกการทำงานของมันในตัวเราเลย
ทั้งนี้เนื่องจากความคิดนั้น
มีความเร็วกว่า
แสงฟ้าแลบและไหลต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ

ความคิดมีสองประเภท
ความคิดชนิดหนึ่ง มันเกิดขึ้นมาแวบเดียวมันไปเลย
ความคิดชนิดนี้มันนำ
โทสะ โมหะ โลภะเข้ามา

ความคิดอีกอย่างหนึ่ง เป็นความคิดที่เราตั้งใจคิดขึ้นมา
ความคิดชนิดนี้ไม่นำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา
เพราะความคิดชนิดนี้เราตั้งใจคิดขึ้นมาด้วยสติปัญญา

ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเราไม่เห็นความคิด
แต่ตัวความคิดจริงๆนั้นมันไม่ได้มีความทุกข์
สาเหตุที่มันมีความทุกข์เกิดขึ้นคือ
เมื่อเราคิดขึ้นมา เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น
มันก็เลยเข้าไปในความคิด เป็น
โลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป
แล้วมันก็นำทุกข์มาให้เรา

เมื่อเราไม่รู้วิธีแก้ไข มันก็คิด คิดอันนั้น คิดอันนี้
คนเราจึงอยู่ด้วยทุกข์ กินด้วยทุกข์ นั่งด้วยทุกข์ นอนด้วยทุกข์
ไปไหนมาไหนด้วยทุกข์ทั้งนั้น
เอาทุกข์นั่นแหละเป็นอารมณ์ไป

แต่ถ้ามาเจริญสติให้รู้เท่าทันความคิด

พอดีมันคิดปุ้ป..ทันปั๊ป คิดปุ้ป..ทันปั๊ป มันไปไม่ได้
มันจะทำให้จิตใจของเราเปลี่ยนแปลงที่ตรงนี้
ความเป็นพระอริยบุคคลจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้
หรือเราจะได้ต้นทางหรือกระแสพระนิพพานที่ตรงนี้

วิธีการเจริญสติ หรือการทำความรู้สึกตัว
สติ หมายถึง ความระลึกได้
หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ "ให้รู้สึกตัว"
ให้รู้สึกตัวในการเคลื่อนการไหว
กระพริบตาก็รู้ หายใจก็รู้ จิตใจมันนึกมันคิดก็รู้

การเคลื่อนไหวเป็นสาระสำคัญของการเจริญสติ
ถ้าหากเรานั่งนิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว
พอดีมันเกิดขึ้นมา เราก็เลยไปรู้กับความคิด
มันเป็นการเข้าไปอยู่ในความคิดเพราะไม่มีอะไรดึงไว้

ดังนั้นจึงมีการฝึกหัดการเคลื่อนไหวของรูปกาย
ให้รูปกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
ถ้าเรามีสติรู้อยู่กับการเคลื่อนไหวของรูปกาย
เมื่อใจคิดขึ้นมา เราจะเห็น เราจะรู้

เพื่อให้เกิดญาณปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง
หลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ ได้แนะนำให้เราเคลื่อนไหวตลอดเวลา
และ "รู้" การเคลื่อนไหวนั้น
โดยมีกลอุบายหรือเทคนิดในการเจริญสติอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการสร้างจังหวะ ซึ่งประกอบด้วยการเดินจงกรม
และการเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ



ดูรูปภาพประกอบ การเดินจงกรม การเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ
และเนื้อหาอื่นๆจาก :http://se-ed.net/theeranun/
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 11:28:04 pm »

สาธุครับ  :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 24, 2011, 06:33:55 pm »


เนื่องในโอกาสอาจริยบูชา ๑๐๐ ปี ชาตกาล หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
จึงขอนำคำสอนเรื่องการเจริญสติ ซึ่งเป็นหัวใจของคำสอนของท่าน
มาเผยแผ่ให้พุทธศานิกชนทุกท่านได้ปฏิบัติตาม เพื่อความสุขความเจริญในธรรม

วิธีการเจริญสติ โดย หลวงพ่อเทียน