การปฏิบัติธรรม แนวทางการเจริญสติแบบหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ แห่งวัดสนามใน
ความ
คิดเป็นธรรมชาติทางนามธรรมชนิดหนึ่ง
ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสำคัญ
ต่อวิถีชีวิตและจิตวิญญาณของเรา
เราคุ้นเคยและ
อยู่กับความคิดเกือบตลอดเวลา
แต่เราแทบจะไม่รู้จักความคิดและกลไกการทำงานของมันในตัวเราเลย
ทั้งนี้เนื่องจาก
ความคิดนั้น
มีความเร็วกว่าแสงฟ้าแลบและ
ไหลต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ
ความคิดมีสองประเภทความคิดชนิดหนึ่ง มันเกิดขึ้นมา
แวบเดียวมันไปเลย
ความคิดชนิดนี้มันนำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา
ความคิดอีกอย่างหนึ่ง เป็นความคิดที่เรา
ตั้งใจคิดขึ้นมา
ความคิดชนิดนี้
ไม่นำโทสะ โมหะ โลภะเข้ามา
เพราะความคิดชนิดนี้เรา
ตั้งใจคิดขึ้นมาด้วยสติปัญญาความทุกข์เกิดขึ้นเพราะเรา
ไม่เห็นความคิด
แต่ตัวความคิดจริงๆนั้นมันไม่ได้มีความทุกข์
สาเหตุที่มันมีความทุกข์เกิดขึ้นคือ
เมื่อเราคิดขึ้นมา เราไม่ทันรู้ ไม่ทันเห็น
ไม่ทันเข้าใจความคิดอันนั้น
มันก็เลยเข้าไปในความคิด เป็นโลภ เป็นโกรธ เป็นหลงไป
แล้วมันก็นำทุกข์มาให้เรา
เมื่อเราไม่รู้วิธีแก้ไข มันก็คิด คิดอันนั้น คิดอันนี้
คนเราจึงอยู่ด้วยทุกข์ กินด้วยทุกข์ นั่งด้วยทุกข์ นอนด้วยทุกข์
ไปไหนมาไหนด้วยทุกข์ทั้งนั้น
เอาทุกข์นั่นแหละเป็นอารมณ์ไป
แต่ถ้ามาเจริญสติให้รู้เท่าทันความคิดพอดีมันคิดปุ้ป..ทันปั๊ป คิดปุ้ป..ทันปั๊ป มันไปไม่ได้มันจะทำให้จิตใจของเราเปลี่ยนแปลงที่ตรงนี้
ความเป็นพระอริยบุคคลจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้หรือเราจะได้ต้นทางหรือกระแสพระนิพพานที่ตรงนี้
วิธีการเจริญสติ หรือการทำความรู้สึกตัวสติ หมายถึง ความระลึกได้
หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง
คือ "
ให้รู้สึกตัว"
ให้รู้สึกตัว
ในการเคลื่อนการไหว
กระพริบตาก็รู้ หายใจก็รู้ จิตใจมันนึกมันคิดก็รู้การเคลื่อนไหวเป็นสาระสำคัญของการเจริญสติ
ถ้าหากเรานั่งนิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว
พอดีมันเกิดขึ้นมา เราก็เลยไปรู้กับความคิด
มันเป็นการเข้าไปอยู่ในความคิดเพราะไม่มีอะไรดึงไว้
ดังนั้นจึงมีการฝึกหัดการเคลื่อนไหวของรูปกาย
ให้รูปกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
ถ้าเรามีสติรู้อยู่กับการเคลื่อนไหวของรูปกายเมื่อใจคิดขึ้นมา เราจะเห็น เราจะรู้เพื่อให้
เกิดญาณปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงหลวงพ่อเทียน จิตตฺสุโภ ได้แนะนำให้เราเคลื่อนไหวตลอดเวลา
และ "
รู้" การเคลื่อนไหวนั้น
โดยมีกลอุบายหรือเทคนิดในการ
เจริญสติอย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างจังหวะ
ซึ่งประกอบด้วยการเดินจงกรม
และการ
เคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ
ดูรูปภาพประกอบ การเดินจงกรม การเคลื่อนไหวมือเป็นจังหวะ
และเนื้อหาอื่นๆจาก :http://se-ed.net/theeranun/อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ