ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 11:35:51 pm »



การที่จะบังคับด้วยกำลังให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมขอขมาโดยที่เขาไม่ยินยอม ถึงจับหัวกดลงกับพื้นก็ไม่จัดว่าเป็นการขอขมา เพราะเมื่อเงยหน้าขึ้นมาแล้วเราอาจจะเห็นลายลายกองอยู่ตรงนั้นก็ได้ เห็นได้จากหนังฝรั่งหนังจีนหนังไทย การขอขมาและการให้อภัยจึงต้องเกิดจากใจเท่านั้น เกิดโดยที่... "ผู้น้อยสำนึกผิดคลานเข้าไปหา ผู้ใหญ่เมตตาอโหสิกรรม " นี่คือ...วิธีการ...ตัดกรรม และเมื่อเรื่องจบแล้วต้องไม่นำไปพูดและวิจารณ์ลับหลัง.


ยังไม่กว้าง  ยังไม่ครอบคลุม  อ่าครับ

ผู้ใหญ่ก็ สำนีกผิดด้วยใจ  ละวางตัวตนหน้าตา ทิฎฐิมานะ คลานเข้าหาผู้น้อย  ให้ผู้น้อยอโหสิกรรม ก็ได้ อ่า

ในทางธรรมต่างก็จะเห็นด้วยใจ สำนึกด้วยใจในธรรมะที่มีผู้รู้นำมาแบ่งปันค่ะ

อ่า ..เรื่องนี้ ไม่ได้สำนึกด้วยใจในธรรมะที่แบ่งปันครับ
เป็นเรื่องของความสำนึกผิดครับ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 11:33:17 pm »

อ้างถึง
ยังไม่กว้าง  ยังไม่ครอบคลุม  อ่าครับ

ผู้ใหญ่ก็ สำนีกผิดด้วยใจ  ละวางตัวตนหน้าตา ทิฎฐิมานะ คลานเข้าหาผู้น้อย  ให้ผู้น้อยอโหสิกรรม ก็ได้ อ่า

ไม่ต้องถึงขนาดคลานก็ได้ครับ แค่บอกกล่าว ขอโทษ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ลดทิฏฐิมานะแล้วครับ แล้วไม่ต้องอ่าด้วยน่าครับ อ่า เป็นอาการไม่สำรวมครับ


พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)บอกว่า

"ผู้น้อยสำนึกผิดคลานเข้าไปหา ผู้ใหญ่เมตตาอโหสิกรรม " นี่คือ...วิธีการ...ตัดกรรม และเมื่อเรื่องจบแล้วต้องไม่นำไปพูดและวิจารณ์ลับหลัง.

คุณพี่บอล ก็ ไปบอก
เองสิครับ ว่า..

ไม่ต้องถึงขนาดคลานก็ได้ครับ แค่บอกกล่าว ขอโทษ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ลดทิฏฐิมานะแล้วครับ

แล้วอีกอย่าง ก็อย่าวิจารณ์ลับหลังด้วยคร้บ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 11:14:38 pm »

อ้างถึง
ยังไม่กว้าง  ยังไม่ครอบคลุม  อ่าครับ

ผู้ใหญ่ก็ สำนีกผิดด้วยใจ  ละวางตัวตนหน้าตา ทิฎฐิมานะ คลานเข้าหาผู้น้อย  ให้ผู้น้อยอโหสิกรรม ก็ได้ อ่า

ไม่ต้องถึงขนาดคลานก็ได้ครับ แค่บอกกล่าว ขอโทษ ก็ถือว่าเป็นผู้ที่ลดทิฏฐิมานะแล้วครับ แล้วไม่ต้องอ่าด้วยน่าครับ อ่า เป็นอาการไม่สำรวมครับ
ข้อความโดย: เลดี้เบื๊อก
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 10:58:47 pm »

ในทางธรรมต่างก็จะเห็นด้วยใจ สำนึกด้วยใจในธรรมะที่มีผู้รู้นำมาแบ่งปันค่ะ

 :25: แว๊กกๆๆ...ถ้าใจมืดบอดอยู่ก็ยังเห็นไม่ได้จิคะ
เมื่อไม่เห็นจึงไม่อาจสำนึกด้วยใจในธรรมะนั้น

แม้พระธรรมมาปรากฏอยู่ต่อหน้าก็ยังลังเลสงสัย

ยิ่งได้อ่านมามาก ฟังมามาก และจดจำได้มากเพียงไร
กลับยิ่งหลงตนมากขึ้นตามไปด้วย ซะงั้น อ่า...

ผู้ถือเอาความคิดของตนเป็นใหญ่จึงไม่สามารถน้อมนำธรรมะมาใช้ดับความหลงของตนได้

พอถูกกระทบก็หวั่นไหวไปกับโลกธรรม
ไหลไปกับความดีใจบ้าง เสียใจบ้าง อยู่อย่างนั้น

หากยุติธรรมกับตนเองก็จะมองอาการของจิตด้วยความเป็นกลางได้
เมื่อหวั่นไหวก็รู้ว่าหวั่นไหวเพราะยังไม่มั่นคงในพระธรรมสัมมาทิฏฐิ
ยอมรับแล้วทำต่อไป การปฏิบัตก็จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ

หลวงปู่ดูลย์สอนว่า "เห็นกิเลสตัวไหนออกมาก็ละตัวนั้น"

ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้อง "เห็นกิเลสของตน" ให้ได้เสียก่อนน๊าคะ ~

 :13: อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ ^^
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 09:11:03 pm »



การที่จะบังคับด้วยกำลังให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมขอขมาโดยที่เขาไม่ยินยอม ถึงจับหัวกดลงกับพื้นก็ไม่จัดว่าเป็นการขอขมา เพราะเมื่อเงยหน้าขึ้นมาแล้วเราอาจจะเห็นลายลายกองอยู่ตรงนั้นก็ได้ เห็นได้จากหนังฝรั่งหนังจีนหนังไทย การขอขมาและการให้อภัยจึงต้องเกิดจากใจเท่านั้น เกิดโดยที่... "ผู้น้อยสำนึกผิดคลานเข้าไปหา ผู้ใหญ่เมตตาอโหสิกรรม " นี่คือ...วิธีการ...ตัดกรรม และเมื่อเรื่องจบแล้วต้องไม่นำไปพูดและวิจารณ์ลับหลัง.


ยังไม่กว้าง  ยังไม่ครอบคลุม  อ่าครับ

ผู้ใหญ่ก็ สำนีกผิดด้วยใจ  ละวางตัวตนหน้าตา ทิฎฐิมานะ คลานเข้าหาผู้น้อย  ให้ผู้น้อยอโหสิกรรม ก็ได้ อ่า

ในทางธรรมต่างก็จะเห็นด้วยใจ สำนึกด้วยใจในธรรมะที่มีผู้รู้นำมาแบ่งปันค่ะ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 08:55:23 pm »

การที่จะบังคับด้วยกำลังให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมขอขมาโดยที่เขาไม่ยินยอม ถึงจับหัวกดลงกับพื้นก็ไม่จัดว่าเป็นการขอขมา เพราะเมื่อเงยหน้าขึ้นมาแล้วเราอาจจะเห็นลายลายกองอยู่ตรงนั้นก็ได้ เห็นได้จากหนังฝรั่งหนังจีนหนังไทย การขอขมาและการให้อภัยจึงต้องเกิดจากใจเท่านั้น เกิดโดยที่... "ผู้น้อยสำนึกผิดคลานเข้าไปหา ผู้ใหญ่เมตตาอโหสิกรรม " นี่คือ...วิธีการ...ตัดกรรม และเมื่อเรื่องจบแล้วต้องไม่นำไปพูดและวิจารณ์ลับหลัง.


ยังไม่กว้าง  ยังไม่ครอบคลุม  อ่าครับ

ผู้ใหญ่ก็ สำนีกผิดด้วยใจ  ละวางตัวตนหน้าตา ทิฎฐิมานะ คลานเข้าหาผู้น้อย  ให้ผู้น้อยอโหสิกรรม ก็ได้ อ่า
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 05:30:08 pm »

สาธุครับพี่แป๋ม
หวังว่าจะเป็นเช่นนั้นครับ ช่วงนี้ผมเวียนหัวจริงๆ
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 04:36:47 pm »

อนุโมทนา สาธุค่ะ

 :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 04:20:07 pm »




ขอโทษด้วยความสมัครใจ (ให้อภัยด้วยเมตตาธรรม)
โดยพระราชวิจิตรปฏิภาณ

ถ้าคุณเกิดเป็นลูกฝรั่ง พ่อแม่และสังคมก็จะสอนลูก ๆ ว่า เมื่อทำผิดต้องรีบสำนึกรู้ตัวว่าผิด แล้วต้องกล่าวต่อผู้ที่ตนเองล่วงเกิน .."ข้าพเจ้ามีความเสียใจ ที่ได้ทำผิดต่อคุณในสิ่งนี้" เมื่อผู้ทำผิดพูดดังนี้แล้ว ต้องพูดต่อไปว่า " กรุณายกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด"...

ฝ่ายที่ได้ฟังคำสำนึกผิดก็จะตอบด้วยเมตตาและความสุภาพว่า .."อย่าไปใส่ใจเลย หรือ อย่าไปพูดถึงเรื่องนั้นอีกเลย..และทั้งสองฝ่ายก็จะจับมือกัน ถ้าอายุรุ่นราวคราวเดียวกันก็จะกอดกัน เป็นเครื่องหมายแห่งความรัก ดี สามัคคีกัน ฝรั่งที่เขาสอนกันอย่างนี้เพราะเห็นโทษและภัยอันเกิดจากความผิดพลาด กระทบกระทั่ง วิวาทบาดหมาง อันจะเป็นผลให้เกิดการอาฆาต พยาบาท ทำร้าย จองล้างจองผลาญกัน จึงเห็นว่าน้อยครั้งที่ฝรั่งจะชกต่อยกัน ดักยิงดักฆ่ากัน หรือหาทางทำลายกัน ฝรั่งถือว่า.."ใครขอโทษก่อนคนนั้นเป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ที่ควรคบหาสมาคมเพราะจะไม่เป็นผู้นำภัยสู่การคบกัน และผู้ที่ให้อภัยด้วยคำดั่งกล่าวข้างต้น ก็ย่อมได้รับการนับถือ เคารพบูชา"...

คนไทยเรามีอะไรมากมายที่อวดดื้อถือดี มีทิฎฐิอติมานะ สังคมไทยส่งเสริมยศศักดิ์ มีข้าทาสบริวาร เมื่อการล่วงเกินกัน ทำผิดต่อกันและกัน จึงไม่มีทั้งคำขอโทษและการให้อภัย เพราะคนไทยเห็นว่า .. "การขอโทษเป็นการเสียเกียรติ และการให้อภัยเป็นการขาดทุนที่ถูกล่วงเกิน" ..คนไทยจึงมีความคิดว่า ..."ต้องเอาคืน" กอปรกับคนไทยเรามีบริวาร ลิ้วล้อ พวกประจบสอพลอมาก ทั้งยุยุงส่งเสริม ยุแยงตะแคงแหย่ ยุให้รำตำให้รั่ว บางทีคนที่ทำผิดคิดจะขอโทษ ก็มีพวกยุยื้อให้ว่าไม่ต้องขอโทษ เป็นอะไรเป็นกัน บางทีคนที่ถูกล่วงเกินจะให้อภัย ก็มีพวกยุยงว่าอย่ายอม ความไม่สามัคคีจึงมีในคนไทย นับแต่ระดับบุคคล หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด จนถึงระดับชาติ

พระพุทธศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสังคมที่ ... ระวังความพลาดพลั้ง สำนึกรู้ในความพลาดพลั้ง ขอขมา ให้อภัย ... ยกตัวอย่างเช่น ทุกวันเข้าพรรษา พระสงฆ์แห่งวัดนั้น ๆ จะต้องตระเตรียมเครื่องขอขมาพระเถระ แล้วจัดทำพิธีขอขมา อโหสิกรรม โดยพระที่มีพรรษา (อายุ) น้อย ประคองเครื่องขอขมาด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกล่าวว่า... " ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินต่อท่านนานัปการ ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่าน กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ ขอท่านได้โปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ....เมื่อพระเถระได้เห็นกิริยา คำพูด เครื่องสักการะ ก็กล่าวคำว่า... " ข้าพเจ้าได้รับการขอขมาจากท่านแล้ว ก็ขอยกโทษนั้น " พระผู้มีพรรษา (อายุ) น้อยกว่าก็ก้มลงกราบ จากนั้นมาก็อยู่ด้วยความสามัคคีธรรม มีความสุข สงเคราะห์เกื้อกูลต่อกันและกัน ครั้นเมื่อขอขมาในวัดเสร็จแล้ว ก็นิยมใช้เวลา 7 วันแรกของการเข้าพรรษา ไปขอขมา หรือที่ภาษาพระเรียกว่า "ทำวัตร" ไปยังวัดต่าง ๆ ที่มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ระดับเจ้าคณะชั้นปกครอง การขอขมาจึงเป็น " อโหสิกรรม" หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพิธี " ตัดกรรม "

การที่คนเราเกิดมาจะทำมาหากินด้วยความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร การทำมาหากินก็ฝืดเคืองยากแค้น ยากเข็ญอยู่แล้ว ถ้าเกิดมีการวิวาทบาดหมาง มีศัตรูหลายระดับจะทำมาหากินอย่างไร การทะเลาะกัน การเป็นศัตรูกันมิใช่เป็นผลเสียเฉพาะตนเท่านั้น ถ้าคนทะเลาะกันแบ่งเป็นสองฝ่าย พระที่เคยสามัคคีกันแตกเป็นสองฝ่าย เด็กก็แตกเป็นสองฝ่าย สัตว์ก็แตกเป็นสองฝ่าย ผีก็แตกเป็นสองฝ่าย เทวดาก็แตกเป็นสองฝ่าย เรียกว่าพวกใครพวกมัน จากนั้นก็จ้องจับผิดคิดล้างแค้นกัน ทำแต่เรื่องวุ่นวายไม่เว้นแต่ละวัน ศิริมงคลความเจริญความสุขก็หดหายไปจากตัวเองและสังคม โบราณพูดเสมอว่า... "ที่ไหนทะเลาะกันที่นั่นห่าลง คือเรียกฝ่ายตรงกันข้ามว่า ไอ้ห่า อีห่า" แล้วจะทะเลาะกันเพื่ออะไร ?

แน่นอนละ ไม่มีใครที่จะไม่กระทบกัน แต่ใครจะทำเสียงกระทบนั้นให้เป็นเสียงเพลง หรือเสียงแห่งความแตกสลาย เรื่องเสียดสีก็เช่นเดียวกัน ใครจะทำสิ่งที่เสียดสีกันให้เป็นเสียงเพลงหรือเสียงร้องไห้แบบพะอืดพะอม นั่นย่อมขึ้นอยู่กับศิลปในการครองตน ครองคน ครองงาน

การทะเลาะจะไม่จบลงอย่างแน่นอน ถ้าไม่มีการขอขมา ไม่มีการให้อภัย ไม่หยุดการยุยงและยื้อยุด ฝ่ายหนึ่งไม่ขอขมา ฝ่ายหนึ่งถือโทษไม่ให้อภัย ผลคิอความหายนะอันยืดยาว, ฝ่ายหนึ่งไม่ขอขมา แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ถือโทษยินดียืนหยัดในการให้อภัย ฝ่ายแรกย่อยยับฝ่ายหลังเจริญ, ฝ่ายหนึ่งขอขมา อีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้อภัย ผลคือฝ่ายแรกเจริญ ฝ่ายหลังหายนะ, ฝ่ายหนึ่งขอขมาและอีกฝ่ายหนึ่งให้อภัย ผลคือเจริญทั้งสองฝ่าย, แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีการขอขมาและไม่มีการให้อภัย อีกทั้งยังมีการยุยงและยื้อยุด หายนะในวงกว้าง, หรือฝ่ายหนึ่งไม่ขอมข้างฝ่ายหนึ่งให้อภัย แต่บริวารไม่ยินยอมเป็นการบีบบังคับผู้ให้อภัย

การที่จะบังคับด้วยกำลังให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมขอขมาโดยที่เขาไม่ยินยอม ถึงจับหัวกดลงกับพื้นก็ไม่จัดว่าเป็นการขอขมา เพราะเมื่อเงยหน้าขึ้นมาแล้วเราอาจจะเห็นลายลายกองอยู่ตรงนั้นก็ได้ เห็นได้จากหนังฝรั่งหนังจีนหนังไทย การขอขมาและการให้อภัยจึงต้องเกิดจากใจเท่านั้น เกิดโดยที่... "ผู้น้อยสำนึกผิดคลานเข้าไปหา ผู้ใหญ่เมตตาอโหสิกรรม " นี่คือ...วิธีการ...ตัดกรรม และเมื่อเรื่องจบแล้วต้องไม่นำไปพูดและวิจารณ์ลับหลัง.

พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)



ที่มา :http://www.katitham.com/index.php?la...397105&Ntype=1
: http://buddhakhun.org/main//index.php?PHPSESSID=3e4869e678884306167c879c2e629a20&board=2.20
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ