ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2011, 10:48:34 pm »

เมื่อครอบครัวนี้ "ไม่คิดบวก"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
4 ตุลาคม 2554 17:04 น.

เป็นเรื่องน่าเห็นใจหากมีคนในครอบครัวไม่ค่อยชอบมองโลกในแง่ดี เพราะการมองโลกในแง่ไม่ดีนั้นมักทำให้บรรยากาศรอบตัวแย่ลง ทั้งอึดอัด ซึมเศร้า หรือบางครั้งก็ทำให้เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันได้ง่าย ๆ
       
       วันนี้เรามีสามขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับคนรอบข้างในการช่วยเปลี่ยนทัศนคติของคนคิดลบให้มีความสุขมากขึ้นมาฝากกันค่ะ
       
       ขั้นแรก - แสดงความเห็นใจ และเข้าใจในความรู้สึกของเขาก่อน
       
       เมื่อคนในครอบครัวสักคนหนึ่งเกิดมองโลกในแง่ลบขึ้นมา การแสดงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจในความรู้สึกในแง่ลบที่เกิดกับคน ๆ นั้น จะช่วยให้เราแก้ไขสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น ตรงกันข้าม หากคนในครอบครัวเพิกเฉย หรือพยายามจะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกในแง่ลบให้กลับมาบวกแบบปัจจุบันทันด่วน อาจทำให้สถานการณ์แย่ลง ดีไม่ดีกลายเป็นเปิดศึกคู่ใหม่ขึ้นมาแทน
       
       สำหรับคนที่กำลังโกรธ - เศร้าหมอง - มองโลกในแง่ร้ายนั้น การที่มีคนมาเข้าใจความรู้สึกของตนเอง สามารถช่วยให้เขาสงบลงได้ และยังช่วยสร้างการยอมรับ - ความรู้สึกดีในตัวของคนที่เข้ามาคุยด้วย ดังนั้น เห็นใจและเข้าใจในความทุกข์ของเขากันก่อนดีกว่าค่ะ
       
       ขั้นที่สอง - เปลี่ยนมุมมองร้าย ๆ ด้วยเรื่องดี ๆ
       
       หลังจากได้ใช้เทคนิคขั้นที่ 1 ทำให้คนที่มองโลกในแง่ร้ายสงบลง และใจเย็นพอที่จะฟังคุณบ้างแล้ว ลองจุดประกายเขาด้วยมุมมองในแง่บวกที่หาได้จากสถานการณ์นั้น ๆ หรือแม้จะไม่มีเรื่องดี ๆ เลย แต่อย่างน้อยเขาก็ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และทำให้ดียิ่งขึ้นในวันหน้า
       
       ขั้นที่สาม - ผลักดันให้เขาลงมือทำ
       
       หากเทคนิคขั้นที่สองสำเร็จ เขายอมรับว่ามุมมองของคุณนั้นสามารถแก้ปัญหาที่ตามกวนใจเขาได้จริง และคล้อยตามไปกับสิ่งดี ๆ ที่คุณมองให้เขาเห็น ลองกระตุ้นให้เขาลงมือทำมันให้เป็นจริงเลยดีกว่า
       
       อย่างไรก็ดี การมองโลกในแง่ลบอาจไม่ได้มีแต่ข้อเสียเสมอไป บางทีการมองโลกในแง่ลบบ้างก็อาจช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันตราย ทำให้ไม่เสียรู้คนที่หวังจะเข้ามาหลอกลวงก็เป็นได้ แต่ถ้าอยากอยู่อย่างมีความสุข ไม่อยากพบเจอความอึดอัดคับข้องใจแล้วล่ะก็ การมองโลกในแง่ดีเข้าไว้ย่อมเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า และไม่ต้องเสียใจหากคนในครอบครัวที่กำลังมองโลกแบบลบ ๆ ไม่ยอมรับ หรือไม่เปลี่ยนแปลงมุมมองของตนเองเสียที โดยเฉพาะหากคนที่มองโลกในแง่ลบเป็นผู้ใหญ่ในบ้านที่ผ่านโลกมายาวนาน และเจอแต่เรื่องร้าย ๆ มาตลอดจนสิ่งเลวร้ายเหล่านั้นฝังลึกอยู่ในจิตใจ การพยายามแก้ไขทัศนคติด้วยวิธีดังกล่าวอาจทำได้ยากมากขึ้น แต่ขอให้ลองใช้เทคนิคนี้บ่อย ๆสิ่งดี ๆ ที่ได้ยินได้ฟัง จะค่อย ๆ เข้าไปทดแทนความรู้สึกแย่ ๆ ได้อย่างแน่นอน
       
       อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก parenting.org

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000125967

.