ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2011, 08:13:30 pm »

 :25: :25: :25:

ทาทายัง เอ๊ย ทะทะยัง นั่นมันเป็นกาย  อ่า

 :25: :25: :25:
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2011, 08:09:48 pm »

 :25: :25: :25:

ต้องรู้จักใจของจริงก่อนครับ  จึงจะแยกใจกะจิตถูก

ปัญญาต้องเข้าใจคำว่าใจก่อนน๊า

คำว่าใจน๊า ไม่ใช่หัวใจ ทะทายัง

 :25: :25: :25:

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2011, 08:07:04 pm »

  :24: :24: :24:

อ้างอิงคำพูด .

ส่วนใจ หรือภาษาบาลี หรือ ภาษาวิชาการศาสนา เขาเรียกว่า ทะ ทะ ยัง หรือหัวใจ มีสันฐานกลมเหมือนดอกบัวตูมใหญ่เล็กเท่าเจ้าของกับกำปั้นของคนๆ นั้น รูปร่างจะใหญ่โตเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของใจๆ นั้น ใจนี้มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหมือนโรงงานสูบน้ำ เพราะฉะนั้นจิตอิงอาศัยกายและใจนี้
       
        โดยภาษาธรรมะแล้วจิตนี้เปรียบดังพลังงาน มีอำนาจเหนือการควบคุมของสมอง สำหรับผู้ไม่ได้รับการผึกปรือ แต่ถ้าผู้ควบคุมแล้วคือฝึกปรือแล้ว ก็สามารถควบคุมจิตนี้ให้ดำรงค์ตั้งมั่นหรือแยกออกจากกายและใจนี้ได้ การควบคุมหรือการฝึกปรืออันนั้น ก็ได้มาจากการเจริญสติและทำให้สติตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นอยู่ในจิตนี้แล้ว เราก็จะควบคุมจิตนี้ได้ไม่ให้รับความรู้สึกจากเวทนาที่ปรากฏทางใจ หรือเวทนาที่ปรากฏทางกาย
       
        คำถามที่ถามว่า ทำอย่างไรที่จะแยกจิตออกจากใจ ก็คือ ต้องฝึก ต้องมีสติ ฝึกให้จิตนี้ปรากฏสติทุกดวงที่เกิดดับ จนเป็นความชำนาญสามารถแยกจิตออกจากใจได้ เมื่อจิตออกจากใจก็คือเหมือนกับจิตที่ออกจากกาย กายตรงไหนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เช่น ปวดขา ปวดมือ ปวดหัว ปวดท้อง อาการปวดเป็นเวทนา เมื่อจิตนี้สามารถแยกออกจากใจได้ก็คือไม่รับรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น เวทนานั้นก็จะไม่มีอำนาจ คือจะไม่มีอำนาจครอบคลุมกายนี้ มีเรื่องอยากจะบอกคุณอีกนิดหนึ่งว่า โดยธรรมชาติของกาย มีสมองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของกาย มีใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง มีจิตเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมอง ใจ กาย จิตจะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ ในและนอกกายนี้ เมื่อฝึกจิตดีแล้ว กายนี้ก็ย่อมไม่มีอิทธิพลต่อจิต จบ"




:24: :24: :24:


ใจข้างบน น่ะ เล็กกว่าจิตน่ะครับ

แต่ใจตามพุทธพจน์ ข้างล่างนี้ เป็นใหญ่   ใหญ่กว่าใจ แบบข้างบน ตามที่เข้าใจน่ะครับ

นี่เป็นใจของจริง ครับ

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา 
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน  ภาสติ วา กโรติ วา 
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํ ว วหโต ปทํ ฯ 


          ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น ดุจล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกอยู่ฉะนั้น

 :25: :25: :25:


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2011, 08:25:39 am »




:07: :45: :07:



ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2010, 12:28:35 am »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2010, 04:16:26 pm »


 
 
    ปุจฉา
       ถามหาความหมาย
        กราบเมตตา หลวงปู่ ในธรรมที่ว่า "กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม" มีความหมายว่าอย่างไร?
       
       วิสัชนา
        "ก่อนอื่นต้องอธิบายความหมายของคำว่า เห็นให้คุณได้รู้สึกเสียก่อนว่า
       
        คำว่าเห็นในมหาสิตปัฏฐานนี้ท่านหมายถึงเห็นจริง เห็นแจ้งด้วยปัญญา ซึ่งมีสติ/ความระลึกได้ มีสมาธิ/ความตั้งมั่นของปัญญา รวมอยู่ในกระบวนการเห็นนั้นๆ โดยการเห็นที่ถูก ตรงต่อสภาพตามความเป็นจริงของสิ่งที่เห็น โดยมิได้นำอคติทั้ง 4 มาเป็นองค์ประกอบของความเห็น
       
        ส่วนคำว่า กาย ได้แก่องค์ประกอบของสรรพสิ่งประชุมร่วมกัน เช่น กายมนุษย์ กายสัตว์ และสรรพวัตถุทั้งปวงประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลง ไฟ เมื่อเราเข้าใจและเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาบริสุทธิ์ว่ากายนี้ ไม่ได้มีตัวตนอย่างแท้จริงเป็นแต่เพียงสรรพสิ่งที่ประกอบกันขึ้น แล้วก็มีอาการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แต่ดับไปอยู่ตลอด ที่เราเห็นว่าเป็นตัว เป็นตน เพราะอุปาทาน ความยืดถือ และสันตติ ความสืบต่อ ปกปิดช่องว่างระหว่างการเกิดและดับ เช่นนี้เรียกว่าเห็นกายที่มีอยู่ในกาย เพราะดินก็จักว่าเป็นกายอย่างหนึ่ง น้ำก็เป็นกาย ลมก็เป็นกาย ไฟก็เป็นกายอย่างหนึ่งเหมือนกัน
       
        ส่วนคำว่า เห็นเวทนาในเวทนา ได้แก่การเห็นว่า ความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ หรือว่างเฉย ที่เป็นอารมณ์จัดว่าเป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ซึ่งก็มีสภาพเหมือนกับตาย แต่จะเกิดดับได้เร็วกว่ากาย และสุดท้ายเวทนาจริงไม่มีเป็นแต่เพียงอารมณ์ปรุงจิตชนิดหนึ่งๆ จรมาแล้วก็จากไป เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นเวทนาในเวทนา
       
        เห็นจิต ได้แก่เห็นอาการเป็นไปของจิต เช่นเห็นว่าจิตนี้ประกอบไปด้วยราคะ หรือไม่ประกอบ จิตนี้ประกอบด้วยโทสะหรือจิตนี้มิได้ประกอบด้วยโทสะ จิตนี้ประกอบด้วยโมหะ หรือมิได้ประกอบด้วยโมหะ จิตนี้เป็นกุศลหรืออกุศล เมื่อรู้เห็นอาการเป็นไปของจิตนี้แล้ว จักได้เลือกคบมิตรและกำจัดศัตรูในจิตนี้ได้ อย่างถูกตรงต่อความเป็นจริง รวมไปถึงมองให้เห็นความไม่คงที่ ไม่มีตัวตนของอาการที่เกิดแก่จิตนี้ เป็นแต่เพียงมายาชนิดหนึ่งๆ เท่านั้น เช่นนี้เรียกว่าเห็นจิตในจิต
       
        เห็นธรรมในธรรม หมายถึงการเห็นแจ้งชัดด้วยปัญญาที่ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของสัมมาสติ คือ ระลึกชอบ อันประกอบด้วยความซื่อตรง ถูกต้อง ตามคลองธรรมนั้นๆ ซึ่งมีการเห็นทั้งในส่วนที่สมมุติธรรม อริยสัจธรรม ปรมัติธรรม
       
        ซึ่งการเห็นธรรมเหล่านี้มิได้เห็นด้วยสัญญาความจำ แต่เห็นด้วยปัญญารู้แจ้ง ซึ่งธรรมที่เรารู้เห็นนั้นจักทำให้ผู้เห็นนั้นๆ เป็นผู้ปล่อยวางจากตัณหาอุปาทาน และเครื่องร้อยรัดทั้งปวงเช่นนี้เรียกว่าเห็นธรรมในธรรม
       
        บุคคลผู้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตธรรมในธรรมด้วยสติสมาธิปัญญาย่อมเข้าถึงนิพพิทาญาณ คือ ความเบื่อหน่ายจากความรัก โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย มีจิตผ่อนคลายเบาสบาย เป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวง ย่อมเป็นสุขทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า (หมายถึง สามารถจะบรรลุธรรมชั้นสูงได้)"
       
       ปุจฉา
       จิตกับใจแยกกันได้หรือ?
        มีคำถามจะฝากนมัสการเรียนถาม หลวงปู่เกี่ยวกับธรรมะข้อหนึ่งค่ะ "เชื่อว่า จิตกับใจแยกจากกันได้จริง (ไม่ใช่ตอนตาย หมายถึงตอนที่ยังมีลมหายใจอยู่) ทำได้อย่างไร เช่น เวลาที่กายเจ็บป่วยแล้วใจก็เศร้าหมอง เราจะมีทางระงับได้อย่างไรเพื่อไม่ให้กายเป็นนายของใจ?" ขอบคุณค่ะ
       
       วิสัชนา
        "จริงๆ แล้วคำถาม ถามค่อนข้างจะสับสน ก่อนที่จะมาพูดถึงเรื่องจิตกับใจแยกกันได้จริงหรือไม่ หลายคนอาจจะสงสัยว่าอะไรคือจิต และอะไรคือใจ จิตในภาษาธรรมะ วิชาการศาสนา เขาเรียกมันเป็นสภาวะธรรม จิตนี้เป็นสภาวะธรรม ไม่มีรูปร่างแต่ต้องการที่อยู่
       
        ธรรมชาติของจิต คือ มีความซึมสิ่ง ซึมทราบ มีตัวรู้ เมื่อจิตไม่มีรูปร่างต้องการที่อยู่ มีคุณสมบัติคือรับรู้อารมณ์ รับรู้สภาวะธรรม ที่อยู่ของจิตก็คือกายนี้
       
        ส่วนใจ หรือภาษาบาลี หรือ ภาษาวิชาการศาสนา เขาเรียกว่า ทะ ทะ ยัง หรือหัวใจ มีสันฐานกลมเหมือนดอกบัวตูมใหญ่เล็กเท่าเจ้าของกับกำปั้นของคนๆ นั้น รูปร่างจะใหญ่โตเท่ากับกำปั้นของผู้เป็นเจ้าของใจๆ นั้น ใจนี้มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหมือนโรงงานสูบน้ำ เพราะฉะนั้นจิตอิงอาศัยกายและใจนี้
       
        โดยภาษาธรรมะแล้วจิตนี้เปรียบดังพลังงาน มีอำนาจเหนือการควบคุมของสมอง สำหรับผู้ไม่ได้รับการผึกปรือ แต่ถ้าผู้ควบคุมแล้วคือฝึกปรือแล้ว ก็สามารถควบคุมจิตนี้ให้ดำรงค์ตั้งมั่นหรือแยกออกจากกายและใจนี้ได้ การควบคุมหรือการฝึกปรืออันนั้น ก็ได้มาจากการเจริญสติและทำให้สติตั้งมั่น เมื่อสติตั้งมั่นอยู่ในจิตนี้แล้ว เราก็จะควบคุมจิตนี้ได้ไม่ให้รับความรู้สึกจากเวทนาที่ปรากฏทางใจ หรือเวทนาที่ปรากฏทางกาย
       
        คำถามที่ถามว่า ทำอย่างไรที่จะแยกจิตออกจากใจ ก็คือ ต้องฝึก ต้องมีสติ ฝึกให้จิตนี้ปรากฏสติทุกดวงที่เกิดดับ จนเป็นความชำนาญสามารถแยกจิตออกจากใจได้ เมื่อจิตออกจากใจก็คือเหมือนกับจิตที่ออกจากกาย กายตรงไหนที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เช่น ปวดขา ปวดมือ ปวดหัว ปวดท้อง อาการปวดเป็นเวทนา เมื่อจิตนี้สามารถแยกออกจากใจได้ก็คือไม่รับรู้อารมณ์ที่ปรากฏขึ้น เวทนานั้นก็จะไม่มีอำนาจ คือจะไม่มีอำนาจครอบคลุมกายนี้ มีเรื่องอยากจะบอกคุณอีกนิดหนึ่งว่า โดยธรรมชาติของกาย มีสมองเป็นผู้ควบคุมการทำงานของกาย มีใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงสมอง มีจิตเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมอง ใจ กาย จิตจะทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ ในและนอกกายนี้ เมื่อฝึกจิตดีแล้ว กายนี้ก็ย่อมไม่มีอิทธิพลต่อจิต จบ"

http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9480000025843