ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2011, 03:17:29 pm »

 :25: :25: :25:

ต๊ะติ้งโหน่ง จิตอาสา แก้ปัญหาน้ำท่วม ด้วยมันสมองอัจริยะ


น้ำ1คิว  กว้าง1ม. ยาว1ม. สูง1ม.


ไม่ต้องไปกักไปบีบพื้นที ไปทำให้น้ำมันท่วมสูงมากขี้น
ที่ไหนยังไม่ท่วม ก็สูบน้ำกระจายเข้าไปอ่า

ก็ปล่อยขยายพื้นที่ ให้ท่วมพื้นที่มากขึ้น  น้ำก็ลดความสูงลงแย้วอ่า



 :25: :25: :25:



ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2011, 09:16:59 am »



กลุ่มชีวิตที่ไม่เกี่ยวกับเสียงบ่น'อาสาสมัคร-จิตอาสา'ไทยช่วยไทย..ไม่อายที่จะทำดี

“ป้ามาช่วยที่นี่ได้ 10 วันแล้ว มีอะไรทำได้ป้าก็ไปช่วยเขา เห็นข่าวแล้วก็สงสาร ก็อดไม่ได้ที่จะต้องออกมาช่วย ทำได้มากได้น้อยก็ยังดีกว่าอยู่เฉย ๆ” ...เป็นเสียงล้า ๆ แต่ใบหน้าก็เปื้อนยิ้ม ของ รัตนาภรณ์ แดนทอง ประชาชนจากย่านมีนบุรี ที่เดินทางมาเป็น “อาสาสมัคร” เพื่อช่วยงาน ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่ง ณ ศูนย์แห่งนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ “พลังจิตอาสา” ฉายชัด…

ภายในอาคารผู้โดยสารในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของรัฐบาล โดยชั้นแรกเป็นสถานที่รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือที่มีผู้นำมามอบให้ ขณะที่บริเวณชั้นสองจะเป็นจุดประสานงานติดต่อขอความช่วยเหลือ ถัดออกไปบริเวณเคาน์เตอร์เช็กอินก็ถูกปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับใช้ในการแถลงข่าว ภายในอาคารที่เคยกว้างขวางดูแคบไปถนัดตา บริเวณด้านนอกอาคารและลานจอดรถก็เต็มไปด้วยรถหลากชนิด ทั้งของเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และผู้ที่เดินทางมาบริจาคสิ่งของ บริเวณในอาคารข้าวของอุปโภคบริโภคถูกนำมาวางเรียงตามมุมต่าง ๆ รออาสาสมัครมาคัดแยกแบ่งชนิดและประเภทของสิ่งของเพื่อนำไปบรรจุใส่ถุง เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัยต่อไป
   
ในเย็นวันที่ทีม “วิถีชีวิต” เข้าไปสำรวจที่ศูนย์แห่งนี้ ภาพที่เห็นคืออาสาสมัครชาย-หญิงเดินกันขวักไขว่ สองมือสองไม้ต่างหยิบจับสิ่งของกันขะมักเขม้น เสื้อผ้าสีสวย ๆ ดูไม่เป็นอุปสรรค อาสาสมัครหญิงสาวหลายคนนั่งลงกับพื้นอาคารแบบไม่รังเกียจ มือทั้งสองก็คอยหยิบจับบรรจุข้าวของแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บรรยากาศโดยรวมดูจะคึกคักอยู่ตลอดเวลา เพราะมีอาสาสมัครทยอยเข้าทยอยออกหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันเรื่อย ๆ
   
สำรวจขึ้นไปที่บริเวณชั้นสอง บรรยากาศแตกต่างเล็กน้อย แต่ความขวักไขว่ก็เรียกได้ว่าไม่แพ้กัน ผิดตรงที่บริเวณนี้จะคลาคล่ำไปด้วยเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบ ทั้งตำรวจ ทหาร ข้าราชการ และอาสาสมัครภาคประชาชน ที่เดินสวนกันไปมาอยู่ตลอด บริเวณชั้นสองนี้ถูกจัดให้เป็นศูนย์ประสานงาน แจ้งข่าว รับข้อมูลการขอความช่วยเหลือ อาสาสมัครหลายคนหน้าตาเคร่งเครียดอยู่หน้าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพื่อตรวจสอบข้อมูลและอัพเดทข่าวสารตลอดเวลา ขณะที่บางมุมก็มีการนำคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กมาตั้ง ซึ่งให้ข้อมูลด้านแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ รวมถึงคลิปวิดีโอที่อาสาสมัครในพื้นที่นำมาโหลดไว้เพื่อให้ผู้คนได้ติดตามสถานการณ์ความคืบหน้าในแต่ละจุด ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างมาก ดูได้จากการจับกลุ่มยืนดูและพูดคุยกันของหลาย ๆ คน
   
กระดานดำขนาดใหญ่ ถูกนำมาตั้งไว้เพื่อใช้เป็นกระดานสำหรับแจ้งข่าวชั่วคราว บนกระดานเต็มไปด้วยแผ่นกระดาษ ซึ่งมีทั้งข้อมูลด้านต่าง ๆ รวมถึงการแจ้งรับสมัครอาสาสมัครเพื่อเข้าไปช่วยเหลืองานในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็มีความต้องการแทบจะทุกแผนก ไม่เว้นแม้แต่อาสาสมัครสำหรับถ่ายภาพในพื้นที่
   
สำหรับรัตนาภรณ์ ก็เล่าอีกว่า บ้านตัวเองก็ถือว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม แต่ก็คิดว่าถ้าหากน้ำจะต้องท่วมจริง ๆ ก็คงทำอะไรไม่ได้ อีกอย่างที่พักอาศัยของตนก็อยู่บนชั้น 2 ซึ่งก่อนจะออกเดินทางมาช่วยงานที่ศูนย์ ก็ได้ตระเตรียมอะไรต่อมิอะไรไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่ค่อยมีอะไรให้เป็นห่วงมากนัก ที่กังวลก็คือหากน้ำท่วม การจะเดินทางมาช่วยงานที่ศูนย์ก็อาจจะต้องพิจารณาอีกที เพราะอาจจะเดินทางมาได้ลำบากมากยิ่งขึ้น
   
“หน้าที่แต่ละวันก็ไม่ซ้ำกัน แล้วแต่ว่าแต่ละวันจะมีงานอะไรให้ทำ อย่างวันนี้ช่วงเย็นป้าก็ช่วยแยกถุงพลาสติกจากสิ่งของที่คนนำมาบริจาคให้ โดยป้าจะแยกถุงพลาสติกขนาดต่าง ๆ นำมาเก็บไว้ เพื่อจะนำมาใช้งานต่อ” รัตนาภรณ์บอกเล่าภารกิจ ก่อนก้มหน้าสาละวนกับกองถุงพลาสติกท่วมหัวต่อไป
   
เรายังชวนคุยต่อไป ซึ่งอาสาสมัครรายนี้ก็บอกว่า ปกติจะเดินทางโดยรถเมล์มาที่ศูนย์นี้ช่วงประมาณ 11.00 น. แล้วจะอยู่ช่วยงานไปเรื่อย ๆ จนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. จึงจะเดินทางกลับ แต่ถ้ามีงานมาก คนขาด ก็จะอยู่ช่วยต่อไปจนกว่าจะมีคนมาเพิ่ม หรืองานลดลง ซึ่งช่วงหลัง ๆ การเดินทางก็ลำบาก เพราะรถเมล์มักขาดระยะ ต้องรอนาน “แต่ก็ไม่เป็นไร ยังสู้ ยังอยากที่จะช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนมากกว่าเรา”
   
“ก็ไม่คิดอะไร ข่าวเราก็ไม่ค่อยฟังหรอก เพราะพอเข้ามาแล้วก็มีงานให้ทำจนแทบไม่ได้ติดตามข่าวข้างนอกเท่าไหร่ ก็พอรู้ ๆ มาบ้างว่ามีคนไม่ค่อยพอใจการทำงานของศูนย์นี่เท่าไหร่ แต่ก็คิดว่าจะช่วยทำงานที่นี่ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาจะปิดศูนย์นั่นแหละ ป้าไม่คิดอะไร คิดอย่างเดียวอยากมีแรงให้มากกว่านี้ จะได้ช่วยเหลือคนที่เดือดร้อนได้มากขึ้น” เป็นความรู้สึกของอาสาสมัครรายนี้
   
ขณะที่เมื่อผละไปมองมุมอื่น ๆ ดูบรรยากาศการลำเลียงถุงยังชีพ หากไม่คิดถึงคนทุกข์จากน้ำท่วมภายนอก ก็ถือว่าดูแล้วเพลินตา อาสาสมัครจะต่อแถวเรียงกันยาวแล้วก็ช่วยกันส่งของผ่านมือต่อมือไปเรื่อย ๆ เหมือนกับสายพานลำเลียงสินค้า แต่นี่เป็นสายพานมนุษย์ เป็นแรงคน ใช้ “พลังงานน้ำใจ” เป็นตัวขับเคลื่อน
   
อาสาสมัครช่วยกันจัดแพ็กสิ่งของอย่างไม่มีท้อ แพ็กกันตลอด เหนื่อยหน่อยก็ไปพักเติมพลัง หิวก็ไปหาอาหารรับประทาน หายเหนื่อย-หายหิวก็กลับมาทำต่อ อาสาสมัครต่างทำภารกิจด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม
   
เล็ก บู๋ พิม เป็น 3 คนในบรรดาอาสาสมัครที่พูดคุยกันยิ้มแย้มในขณะที่กำลังขะมักเขม้นช่วยกันแพ็กสบู่และยาสระผมใส่ถุง เมื่อเข้าไปพูดคุยด้วยก็ทำให้รู้ว่าทั้ง 3 คน เข้ามาช่วยที่ศูนย์ตั้งแต่เช้า โดยเล็กกับบู๋บอกว่าเข้ามาเป็นอาสาสมัครช่วยแพ็กของใส่ถุงยังชีพ 2 วันแล้ว ส่วนพิมเพิ่งมาวันแรก ทั้ง 3 คนร่วมกันเล่าว่า การเข้ามาเป็นอาสาสมัครก็ไม่ยาก อยากเข้ามาช่วยก็เดินทางเข้ามาที่ศูนย์ได้เลย พอเข้ามาก็ไม่ต้องไปลงทะเบียนก็ได้ เข้ามาถึงเห็นคนเขาทำอะไรอยู่อยากจะช่วยทำก็ตรงเข้าไปช่วยได้เลย “ไม่ต้องอายอะไร การทำความดีไม่ต้องอาย” ซึ่งสำหรับ 3 คนนี้ ก็ช่วยทำหมด จุดไหนมีอะไรให้ช่วยทำก็ทำหมดทุกอย่าง โดย 1 ใน 3 บอกว่า...
   
“เข้ามาเป็นอาสาสมัครที่นี่สนุกสนานดี ถึงจะมีงานต้องทำตลอดแต่ก็ไม่กลัว เพราะเหนื่อยเราก็พัก เมื่อยจากการทำงานที่นี่ก็มีบริการนวดให้ด้วย ไปใช้บริการนวดแก้เมื่อยได้เลย หิวก็มีอาหารให้กิน ถ้ารู้สึกว่าจะไม่สบาย ก็ไปตรวจสุขภาพขอยากินได้”
   
เมื่อลองถามถึงเรื่องที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในการให้ข่าวสาร คิดอย่างไรกับเรื่อง
นี้? อาสาสมัครทั้ง 3 คนบอกว่า ก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะไม่ได้สนใจเรื่องข่าวสารพวกนี้ “ที่เข้ามาช่วยที่นี่ มาด้วยใจที่อยากจะเข้ามาช่วย เพียว ๆล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับเรื่องอื่น”

เย็นย่ำมืดค่ำแล้วในช่วงที่ทีม “วิถีชีวิต” กำลังเตรียมจะกลับออกจาก ศปภ.-ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เราถามทิ้งท้ายกับ 3 อาสาสมัครว่าจะกลับบ้านกันเมื่อไหร่ ก็ได้รับคำตอบว่า “คงจะอยู่ทำไปเรื่อย ๆ ยังไม่รู้ว่าจะกลับเมื่อไหร่” ซึ่งนี่ก็เป็นอีกภาพสะท้อน “พลังจิตอาสา” ที่มิได้สนใจเรื่องปลีกย่อยอื่น ๆ
   
ใครจะพอใจหรือไม่พอใจ ใครจะต่อว่าต่อขานใคร หรือจะมีใครจะเล่นเกมการเมืองอะไรกันหรือไม่-อย่างไร พลังจิตอาสา “อาสาสมัคร” มิได้แยแสสนใจ ทุกคนต่างสนแต่เพียงการ... “ช่วย-ช่วย-ช่วย...”
   
ช่วยคนไทยด้วยกัน...ที่กำลังเผชิญทุกข์.

ศิริโรจน์  ศิริแพทย์/บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ : รายงาน

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=524&contentId=171422
ข้อความโดย: กระต่ายเกเร๛
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 11:11:38 pm »

 
 :13: อนุโมทนา :19: + ขอบพระคุณมากมาย ด้วยนะคะ ทุกท่าน .. ^^
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 11:00:16 pm »

 :13: คนไทยไม่ทิ้งกันครับ ช่วยได้ก็ช่วยกันครับเล็กๆน้อยๆ ตามกำลัง
อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 08:36:08 am »

                  

“เห็นข่าวน้ำท่วมแล้ว เราก็คิดว่าน่าจะทำอะไรให้

เขาได้บ้าง แม้จะเป็นน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ แต่เมื่อช่วยกันได้ เราก็ช่วยกันไป” ฉัตรชนกบอก

ฉัตรชนก แก้วจันทร์ เอ่ยขณะมือกรอกข้าวสารใส่ถุงเล็กๆ เบื้องหน้า ใกล้ๆกันมีเพื่อนๆล้อมวงช่วยกันกรอกข้าวสารใส่ถุงพลาสติกอย่างขะมักเขม้น ห่างออกไป นักเรียน นักศึกษา และชาวบ้านหลากวัย ล้อมวงทำงานกันอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย

กลายเป็นภาพต้องตา ประทับใจภายในอาคาร 3 ของสนามบินดอนเมือง

ภายในอาคาร 3 ของสนามบินแห่งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ โดยแบ่งด้านบนเป็นที่อยู่ของกองอำนวยการร่วมมือร่วมใจจากพี่น้องประชาชน ห้องของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากคณะรัฐบาล และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเป็นสถานที่แถลงข่าว

ส่วนด้านล่าง เต็มไปด้วยข้าวของต่างๆ ทั้งหมดคือธารน้ำใจที่ไหลเข้ามาจากทั่วสารทิศ ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสารพัดตรา ข้าวสาร อาหารแห้ง เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน ผ้าอนามัย และของกินของใช้อีกมากมาย เมื่อโผล่เข้าไป จะเห็นกองรวมกันอยู่เป็นขนาดใหญ่

สิ่งของเมื่อไหลเข้ามาแล้ว เจ้าหน้าที่จะจัดแบ่งเป็นถุงๆ ก่อนส่งไปยังผู้ประสบภัยตามจุดต่างๆ ส่วนจะเดินทางไปไหนบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับกองอำนวยการชั้นบนเป็นผู้กำหนด แรงงานที่คัดแยกแต่ละคน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล แต่เป็นอาสาสมัครที่มาด้วยจิตอาสาเต็มร้อย

ฉัตรชนกเป็นหนึ่งในอาสาสมัคร หลังจากเลิกงาน เธอจะรวบรวมเพื่อนๆ ในที่ทำงานตรงมายังอาคาร 3 ของสนามบินดอนเมือง เพื่อช่วยคัดแยกสิ่งของ “เมื่อมาถึงเราก็จะดูว่า จุดไหนบ้างที่เขาต้องการแรงงาน เห็นเราก็เข้าไปช่วย”

เธอหยุดพูด ขณะรวบปากถุงข้าวสาร แล้วบอกว่า “เห็นเขาเดือดร้อนขนาดนี้ เราจะนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้แล้ว เลิกงานเราก็พากันมาที่นี่ ถ้าทำได้อยากจะมาทุกวันเลย จนกว่าน้ำจะลด”




เมื่อถามว่า คิดอย่างไรกับอุทกภัยครั้งนี้ เธอบอกว่า “เรามีธรรมชาติสวยงาม แต่เราไม่ได้รักษาให้ดี คิดว่า 80 เปอร์เซ็นต์ น่าจะมาจากธรรมชาติลงโทษ เพราะเราไปตัดไม้ทำลายป่าไว้มาก เหมือนธรรมชาติเตือนให้เราเห็นคุณค่าของป่าไม้ และให้หันไปปลูกป่าได้แล้ว”

ส่วนสาเหตุอื่นๆ “เรื่องการบริหารจัดการน้ำ เรื่องการทำลายเส้นทางของน้ำ น่าจะมีเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นนะ เรื่องคูคลองร่องน้ำเราต้องช่วยกันดูแล จะได้เป็นทางน้ำที่ดี น้ำเดินได้สะดวก ที่ผ่านๆมาเรารุกล้ำเข้าไป และขัดขวางทางน้ำมากพอแล้ว”

“ธรรมชาติเอาคืนบ้าง” จตุรงค์บอก

จตุรงค์ ศรีวิลาศ อายุ 29 ปี อยู่บ้านเลขที่ 24/353 หมู่บ้านอยู่เจริญ ดอนเมือง นั่งอยู่ใกล้ๆกัน เอ่ยขณะมือกรอกข้าวสารใส่ถุง พลางเสริมว่า เพิ่งจะมาช่วยวันแรก บ้านตนเองนั้นก็เสียวๆ น้ำท่วมอยู่เหมือนกัน แต่ตอนนี้ยังไม่เดือดร้อน จึงมาช่วยคนที่ประสบภัยก่อน

“เล็กๆ น้อยๆ ก็ช่วยกันไป เราช่วยเงินก็ไม่ได้มากมายอะไร จึงมา ช่วยแรง ผมเพิ่งมาวันแรกเองครับ เรื่องเวลามาช่วยนี้แล้วแต่เวลาเพราะผมทำงานอยู่กลางวันมาไม่ได้ แต่มาตอนมืดๆ ก็ดีเหมือนกัน เพราะกลางคืนคนจะเหลือน้อย คนที่ทำงานกลางวันก็จะมาช่วยได้ตอนนี้”

จตุรงค์บอก พลางหยิบถุงข้าวสารของตนเอง และเพื่อนๆ ที่กรอกและมัดปากเสร็จแล้ว เข้าไปกองรวมไว้ข้างๆ

ข้าวของที่เดินทางเข้ามายังสนามบินดอนเมือง ภาสกร นาเมือง เจ้าหน้าที่จากทำเนียบรัฐบาล ผู้มาอำนวยความสะดวก และดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ภายในอาคารบอกว่า ข้าวของจะเข้ามาตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 20.00 น. เมื่อได้ข้าวของแล้ว ต้องอาศัยอาสาสมัครคัดแยก

“สิ่งของในถุงจะเป็นพวกข้าวสาร อาหารแห้ง และของกินของใช้ที่จำเป็น เราคัดแยกใส่เป็นถุงๆ ในถุงนั้นจะมีเป็นต้นว่า ข้าวสาร ปลากระป๋อง ขนม เทียน ไฟฉาย เราจะไม่ใส่น้ำดื่มรวมไปในถุงด้วย เพราะระหว่างการขนย้ายถ้าขวดน้ำแตก น้ำจะเปียกข้าวของเสียหาย”

เมื่อถามถึงอาสาสมัคร “มากันพอสมควรครับ ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง เป็นกำลังที่แข็งขันมาก อาสาสมัครที่เป็นผู้ชายหนุ่มๆ บางช่วงเวลา อย่างในตอนกลางวันจะน้อยไป ส่วนใหญ่เขาจะมากันตอนเย็นๆ หลังเลิกงาน ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากเห็นแรงงานคนหนุ่มๆ ตอนกลางวันมากกว่านี้ครับ”

ความหวังของผู้ดูแลนั้น จะสมหวังหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับจิตอาสาของคนวัยหนุ่ม ที่จะเข้าไปร่วมแรงร่วมใจ เพื่อบรรเทาผู้ประสบชะตากรรมอย่างแท้จริง

ผ่านจุดกรอกข้าวสารไปไม่ไกลนัก แก่นจันทร์ สีสัน วัย 30 ปี บ้านอยู่ย่านดอนเมือง ทำหน้าที่คอยบอกน้องๆ นักศึกษา และชาวบ้านที่มาช่วยคัดแยกสิ่งของเสียงเจื้อยแจ้ว เธอเข้ามาช่วยงานศูนย์ฯ ตั้งแต่แรกเริ่ม แล้วทำมาอย่างต่อเนื่อง

“อยากจะช่วยคนไทยด้วยกัน”

แก่นจันทร์บอกว่า แรงกระตุ้นให้มาช่วยงานนั้น เพราะบ้านพ่อน้ำท่วมอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี อาจด้วยสาเหตุนี้เอง ทำให้เธอเข้าใจความทุกข์ของผู้ประสบภัยเป็นอย่างดี แต่เมื่อไม่สามารถช่วยเหลือด้านอื่นได้ดีไปกว่าการใช้แรง เธอจึงตัดสินใจอาสาเข้ามาทุกวัน เริ่มตั้งแต่ประมาณ 08.00 น. จนกระทั่งถึงเวลาประมาณ 22.00 น. จึงจะกลับบ้าน

“ของมาเรื่อยๆ ทั้งจากวัด มูลนิธิ บริษัทห้างร้านต่างๆ และชาวบ้านทั่วไป เมื่อได้มาเราก็คัดแยกประเภทเอาไว้ก่อน จากนั้นค่อยใส่ถุงรวมกันไป”

เธอบอกว่าน้ำท่วมครั้งนี้ “เห็นพลังของคนไทยมากเลย ภาพที่ประทับใจคือ ขณะแต่ละคนทำงานอยู่เบื้องหน้า เมื่อบอกว่าให้ช่วยต่อสายพานคือยืนเรียงกันเพื่อขนของขึ้นหรือลงจากรถ ทุกคนจะวางงานเบื้องหน้าไว้ชั่วคราว แล้วมายืนเรียงแถวช่วยกัน มองแล้วเห็นพลังอาสา เป็นการช่วยกันดีมาก”

ภายในอาคาร 3 สนามบินดอนเมือง นอกจากมีธารน้ำใจทั่วสารทิศส่งของมาให้ คนจิตอาสามาช่วยคัดแยกของแล้ว ยังมีคนส่งอาหารการกินมาช่วยคนจิตอาสาอีกด้วย อาหารการกินนั้น มีทั้งข้าวของ น้ำดื่ม และของขบเคี้ยวอื่นๆ

กลายเป็นน้ำใจที่ช่วยเหลือคนที่มีน้ำใจ ยามอุทกภัยกระหน่ำซ้ำซัด

ด้วยความสับสนของ “ข่าว” ทำให้ผู้ประสบภัยเข้าใจว่า ดอนเมืองเป็นที่รับคนหนีภัยน้ำท่วมเข้ามาพัก หนึ่งในความเข้าใจผิดนี้คือ ปราณี โกทัน อายุ 33 ปี บ้านเดิมอยู่ตำบลเขาแก้ว อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท มาอาศัยและทำงานอยู่นวนคร เธอพร้อมเพื่อนๆ ตรงมาที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยดอนเมือง

“เขาประกาศว่า ให้ออกจากพื้นที่ น้ำเข้าแล้ว ก็ช่วยกันเก็บข้าวของขึ้นรถมาเลย” ปราณีบอก

รถกระบะของเธอ ขั้นแรกตรงไปยังจังหวัดปทุมธานี แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่าน้ำท่วม ให้มาที่ดอนเมือง จึงตรงมา เมื่อถึงก็ประสบปัญหาเพราะว่า ไม่รู้จะอาบน้ำที่ไหน และพักที่ไหน เพราะว่าอาคาร 2 เขามีแต่รับของ ไม่ได้รับคน

กรณีปราณีนี้ เจ้าหน้าที่เห็นใจ จึงให้เข้าไปอาศัยนอนในห้องคัดแยกสิ่งของได้ชั่วคราว

ต้องทำความเข้าใจด้วยว่า สถานที่พักพิงผู้หนีภัยน้ำท่วม ปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่งคือ 1. ศูนย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต และ 2. ที่ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ

ส่วนที่ดอนเมือง เป็นศูนย์รับข้าวของและกองอำนวยการช่วยเหลือเท่านั้น ไม่ได้เปิดให้ผู้คนเข้ามาพักอาศัย ผู้สงสัยหรือเกรงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง โทร.สอบถามได้โดยตรงที่ “1111 กด 5”

สนามบินดอนเมืองในปัจจุบัน นอกจากจะใช้เป็นสนามบินภายในประเทศแล้ว ยังเป็นสนามรับธารน้ำใจของทุกคน ทั้งสิ่งของและแรงกาย เพื่อช่วยเหลือกันยามประสบเคราะห์กรรม.

http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/210437