ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2012, 04:43:31 am »

หลังจากได้แชมป์  ไม่นานเท่าไหร่  ก็ไปเล่นกับผู้สูงอายุแถวๆบ้าน ลุงแกอยู่ท้ายซอย  ไปเล่นกับแกเรื่อยๆ  ไปให้ลุงแกต้มยำบ่อยๆ ก็เลยไปฝึกกับลุงแกต่อ  ไปฝึกม้า กับ ฝึกเบี้ย  ไปได้แค่สองเดือนกว่าๆ  ก็เลิก  ใจไม่รักพอ

ตอนฝึกหมากรุกใหม่ๆ  เห็นกระดานลอยขึ้นมา  เห็นตัวหมากเดินเอง ที่เห็นก็เห็นในความคิดครับ  ฝันก็ฝัน  ตอนตื่นก็เป็น 

เคยเล่นแถวๆปากซอยบ้าน  กลับจากเรียนถึงหน้าปากซอยประมาณ 6 โมงเย็น  เจอเพื่อน(แต่อายุมากกว่า แต่งงานแล้ว)  ชวนเล่นหมากรุกที่ร้านขายของหน้าปากซอย  น่าจะประมาณ 4 - 5 ทุ่ม  ภรรยาเพื่อนออกมาตามกลับบ้าน เพื่อนบอกว่าอีกสักพัก  สรุปว่า  กว่าจะกลับถึงบ้าน ตี 4 กว่าๆครับ

.
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 10:31:11 pm »

 :46: โหพี่หนุ่มนี่ เก่งจริงๆ ไม่ธรรมดา ไม่ธรรมดาเลยนะครับ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 10:28:42 pm »

:06: ตอนอยู่ม.ต้นนี่ ผมเข้าชมรม หมากรุก 2 ปีซ้อนเลยครับ แต่ฝีมือไม่เอาไหนเลย 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม

ตอนเรียนปริญญาตรี

ไปลงแข่งหมากรุกไทย  มีทั้งประเภทเดี่ยว และ ประเภททีม

พี่ลงประเภททีม  ในประเภททีมจะมี 3 คน  แข่งกับคู่แข่งขัน  1 คน  ใช้การแข่ง 3 กระดาน โดยชนะ 2 ใน 3 

ส่วนรอบชิง จะใช้การแข่ง 5 กระดาน

รอบชิง(ประเภททีม)  พี่จับสลากไปเจอกับเพื่อนซี้  (ที่เที่ยวด้วยกันมา)  พี่แข่งเป็นคนสุดท้ายของทีม  ตอนนั้นทีมพี่ ชนะมา 1 แพ้มา 1 พี่และเพื่อนซี้เป็นคนตัดสินของทีม  ผลปรากฎว่า  พี่ชนะไปอย่างเฉียดฉิว  ( เล่นหมากรุกด้วยกันมาตลอด รู้ไส้รู้พุงกันหมด เพียงแต่ตอนเล่น พี่หยิบหมากตัวไหนแล้ว ต้องหยิบเลย  ไม่ขอเดินใหม่  ต้องคิดก่อนเดิน  แต่เพื่อนมักจะขอเอากลับไปเดินใหม่ )

ได้เหรียญทองประเภททีมครับ

แต่ตอนนี้  น่าจะคืนครูผู้สอนไปเกือบหมดแล้ว  แต่พยายามเล่นกับเครื่องอยู่

เห็นว่า  หมากรุกไทย หรือ หมากรุกสากล  ช่วยไม่ให้เป็นอัลไซเมอร์ได้มากครับ

.

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 10:18:58 pm »

 :06: ตอนอยู่ม.ต้นนี่ ผมเข้าชมรม หมากรุก 2 ปีซ้อนเลยครับ แต่ฝีมือไม่เอาไหนเลย 55+
ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:50:07 am »

กระบวนท่าหมากรุกไทย
-http://mrpipe.exteen.com/20050621/entry-1-

ข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่งคือ
   1. เรามีทางทำเขาได้อย่างไร ต้องระวังเขาจะใช้วิธีนั้นทำแก่เราบ้าง วิธีระวังก็ต้องเดินวางรูป อย่าให้เขาใช้วิธีต่างๆ ทำเราได้
2. การล่อหลอกให้เขาพลาดหรือหลวมตัวด้วยอุบายสุขุมและคิดไกลนั้นดีมากอยู่เหมือนกัน เช่น กินดึงตัวใดให้เขากินแทนแล้วเสียเปรียบ หรือเดินให้เขาป้องกันหลวมตัวในทางอื่น
3. เดินสกัดเกี่ยวโยงพรอมกันให้เขาหลีกเลี่ยงก็เสียท่าเสมอ ทั้งนี้ให้ทำในเมื่อมีโอกาส
4. พยายามเอาเปรียบตอนขึ้น
5. พยายามเดินผูกอย่างมั่นคง
6. หาทางขึ้น
7. เอาเปรียบด้วยการกดหน้าขุนกินสลับกันหลายชั้น
8. เรือซ้อน แล้วรุกทยอยซ้อนกันก็ดี
9. พยายามเอาเรือเข้าหลังบ้าน แต่ระวังอย่าให้เขาขังเรือเราได้
10. เดินกันเขามิให้ทำเรา แต่เราใช้วิธีเอาเปรียบให้จงได้ อีกอย่างหนึ่งควรหาทางทำหรือทำให้เขาเป็นหมากติด คือจับตัวใดก็เสียหายเขาแก้ไขไม่ได้ก็แพ้
11. ขุนถ้ามีการคุ้มกันด้วยม้าหรือโคน เม็ด เบี้ย เรือ ทำให้คุ้มภัยได้ การคุ้มภัยโดยวางเรือก็ดี บางทีเอาเบี้ยคว่ำบังหน้าขุนก็คุ้มภัยได้ แต่ควรมีตัวอื่นของเราประกอบด้วย
12. เมื่อเรือเขาจะเข้าถ้าเรากันไม่ได้เราต้องระวังขุนและระวังการเสียตัวอื่นๆ เช่นเบี้ยคว่ำแนวหลังเป็นต้น ซึ่งทำให้เป็นรองและแพ้ได้
13. การขึ้นต้นสำคัญ ต้องพยายามเอาเปรียบ ทาง กินเปล่าหรือกินให้มากกว่าพร้อมกับมุ่งทาง การบุกต้องบุกมุ่งให้จนโดยเร็วก่อนอื่น โดยอย่าให้เราเสียหาย พร้อมกับระวังขุนเราหรือความเสียหายฝ่ายเรา
14. ถ้าบุกบั่นเขาไม่ได้ จงพยายามเอาเปรียบทีละน้อยก็ยังดี เขาแพ้เองปลายประดาน
15. ถ้าเห็นเราเสียท่า ให้รีบตัดหมากหรือทำให้เสมอไว้ได้ก็ยังดีกว่าเสี่ยงภัยต่อไป
16. จงเดินด้วยความฉลาดรอบคอบ หาทางเดินให้มีทางทำและคุ้มกันได้หลาย ๆ แบบ
17. เมื่อเขาเดินมาเราต้องมีไหวพริบให้รู้เท่าทันว่าเขาจะทำอะไรต่อไป และจะให้เราเสียหายอย่างไร
18. จงจำกลวิธีต่าง ๆ ไว้ให้มาก
19. การกักตัวเขาไว้ หรือกักกิน หรือกดเรือไว้ไม่ให้เปิด ก็มีกลวิธีหลายอย่าง
20. การกดเรือหรือกดหน้าขุน ก็มีผลดี
21. ขุนควรหลีกตากด
22. ควรเดินผูกกันไว้ให้แน่นหนา
23. เบี้ยคว่ำมีอะไรติดเบี้ยคว่ำบังทางเอาไว้ก็ดีเหมือนกัน
24. วิธีทิ่มเบี้ยที่สำคัญเอาเปรียบในทางและทางป้องกัน การเล่นหมากรุกกับนายพริ้ง การขึ้นทิ่มเบี้ยขวาตราที่จะมีให้เขาทิ่มเบี้ยสูงทิ่มตรงนั้น และควรขึ้นม้าเทียบแล้วไขว้ม้า การขึ้นเขาดีเอาเปรียบก่อน กับเขาแก้ดี เวลาทำก็ดี
25. พยายามกินเบี้ยคว่ำแนวหลังเขาให้ได้ ตรงที่เรามีเบี้ยสูงไว้ยิ่งดี
26. ม้ากับเบี้ยหงาย จงพยายามเดินให้เข้ากันให้ดี มีอำนาจเช่นม้าคู่ เหมือนกัน
   คติของหมากรุก
ไม่โลภโมโทสัน ป้องกันให้ดี
ไม่โจมตีเสี่ยงภัย เอาเปรียบไว้ทีละน้อย
ชนะจะลอยมาเอง
1. เพียรพยายามใช้ชั้นเชิงต่าง ๆ จับเรือ ม้า โคน เม็ด เบี้ย เขาให้ได้ ถ้าเรากินได้แม้เพียงตัวเดียวก็เป็นต่อเขา อาจถึงชัยชนะขั้นเด็ดขาดได้
2. ม้าคู่ เรือคู่ โคนคู่ เบี้ยคู่ ม้าผสมเรือ ม้าผสมเบี้ย ม้าผสมโคน เรือผสมโคน เรือผสมเบี้ย หมากประกอบกับสิ่งดังที่กล่าวมานี้ สามารถกักตัวเดินไว้ได้มาก และมีอะไรแปลก ๆ ดี ทำให้อีกฝ่ายดูยากและจะงงไปเอง เพราะมัวพะวงหน้าพะวงหลัง ถ้าเรามีความชำนาญในการใช้จะได้เปรียบมาก
เล่ห์เหลี่ยมหมากรุกนั้น เหลือที่จะพรรณนาให้จบสิ้นได้ เวลาเล่นจะเอาชัยชนะต้องสมองสดใสไร้กังวล และพร้อมที่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของฝ่ายตรงข้าม เพื่อป้องกันตัวเราเอง และใช้ไหวพริบโจมตีฝ่ายตรงข้ามให้ได้หลายอย่างหลายประการ จะใช้ประการไหนก็แล้วแต่ การเดินหมากและกลวิธีที่เราได้จดจำเอาไว้ และมีเชาว์ปฏิภาณดี ก็จะเป็นผู้เล่นเอาชัยชนะได้ จัดว่าเป็นผู้เล่นดีมีแต้มสูง
หลักแห่งชัยชนะ
   1. จงดูการขึ้นหมากของฝ่ายเรา พยายามให้อยู่ในที่ไม่เป็นอันตรายและเสียหาย
2. จงดูการขึ้นหมากของฝ่ายตรงข้ามถ้าเป็นอันตรายหรือเสียหาย มีช่องโหว่ก็จงรีบเข้าทำ
3. ถ้าดูแล้วเขาไม่เป็นอันตราย หรือเสียหายก็ให้คิดข้ามไปว่าตัวอะไรของเราเช่น ม้า โคนเรือ ไปวางตรงไหน เขาจะเป็นอันตรายหรือเสียหายจนแก้ยาก ก็จงเดินอ้อมค้อมให้ไปสู่ทิศทางนั้นโดยให้เราปลอดภัยด้วย
4. ถ้าตัวไหนเขาขัดขวางอยู่ กันมิให้เราทำเขาจนเป็นภัยได้ ก็จะเดินหลอกล่อลวงให้เขาเอาตัวนั้นจากไป
5. ถ้าเขาตั้งอย่างไร จะเสียหายก็เดินทำอุบายให้เขาไปทางนั้นก่อนแล้วจึงลงมือทำ
6. ถ้าเราอยู่ในที่ไม่ปลอดภัย ก็จงคิดว่าถ้าเราเอาอะไรตั้งอย่างไรจึงจะปลอดภัย ก็จงเดินให้เข้ารูปและป้องกันไว้ให้มั่น
7. บางทีหมากมีรูป ซึ่งถ้าเรากินตัดหมากหลายชั้นแล้วทำให้เขาเสียหาย หรือเข้าที่อับจน หรือเป็นหมากติดพันได้ ถ้าสอดส่องเห็นดังนั้นจงลงมือกินตัดทันที
ความคิดเห็นของผู้เขียน
   1. การเดินหมากนั้นสำคัญที่จิตใจเป็นหลัก และสำเร็จได้ด้วยใจ คือต้องทำจิตใจให้สดใสมีความรู้สึกมั่นใจ ไม่ตื่นเต้น และปอดกระเส่า
2. นอกจากความสามารถเชิงการใช้แต้มในกระดานแล้ว ก็ควรมีท่าวทีกิริยาวาจาให้สมกับเป็นนักกีฬาที่ดี อย่าเห็นแก่ตัวจนน่าเกลียด จงเป็นผู้เสียสละตามควรแก่กรณี
3. ท่วงทีในการเดิน จับตัวแล้วเดินให้เด็ดขาด อย่าเป็นหมากเดี๋ยวจับหมากวางหมาก ให้เป็นที่น่าเกรงขาม ทำกิริยาวาจาให้ฝ่ายตรงข้ามงงงวยมักสำเร็จประโยชน์ตามคาดคิด
4. จงเป็นนักหมากรุกที่มีหลัก คือ เดินเป็นหลักให้มั่นคง การโจมตีก็ต้องมีจุดหมายเป็นหลักไว้เสมออย่าเดินโดยไม่มีหลักการ
5. เดินอย่างสุภาพ ป้องกันตัวแต่ด้านเดียวก็ไม่ดี ดูเป็นการขลาด จงเดินให้สุภาพ ประกอบด้วยความโลดโผนพอสมควร คือต้องเป็นหมากป้องและหมากบุก
6. จงหาตาเดินให้เป็นแต้ม หลายชั้นยิ่งดี ให้เขาเสียหายหลายทาง ต้องป้องกันหลายฝักหลายฝ่าย
7. เมื่อเห็นว่าขุนฝ่ายตรงกันข้าม ถูกเราบุกจนตั้งตัวไม่ติด อาจจะแก้ไขทีทางเหลีกเลี่ยงได้ก็จงเดินป้องกันหลักเลี่ยงไว้ก่อน แล้วจึงลงมือบุกให้เป็นผล
8. การได้เบี้ยหงายแม้จะต้องแลกด้วยตัวใหญ่ บางกรณีมีประโยชน์ได้ทาง และนำมาซึ่งชัยชนะก็จงรบทำให้สำเร็จผล
ในเรื่องแต้มหมากรุก
..............
   1. หมากรุกนั้น ถ้าเราเดินดีและอีกฝ่ายไม่หละหลวมเลย ก็ย่อมเสมอกัน แต่บางทีเขาหละหลวมโดยเราไม่รู้ก็เลยไม่ได้ใช้แต้มอะไรทำเขา คงมีอยู่บ่อย ๆ โดยเราไม่รู้สึก
2. เพื่อไม่ให้มีความไม่รู้สึกเช่นนั้นบ่อย ๆ จึงควรหัดพิเคราะห์หมากให้ทั่วกระดานโดยให้เรามีความรู้สึกเจตนจัดในกลวิธีต่าง ๆ อยู่ในใจของเราก่อนไว้เสมอ เมื่อเราได้รู้และพิเคราะห์หมากทั่วกระดานก็มีทางใช้แต้มทำแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้ซวดเซหรือแพ้ได้ ในเมื่อเขาไม่รู้ทันหรือไม่ซึ้งพอ
3. หัดให้มีความรู้สึกสะดุดใจในรูปหมากโดยไว
4. กลวิธีต่าง ๆ นั้นคือกลวิธีที่จะกินเปล่า กินสองหรือได้ทางดีกลวิธีที่จะต้อนขุนเขาให้เพลี่ยงพล้ำหรือให้อยู่โดดเดี่ยว หรือให้จนหรือให้เป็นหมากติด ฯลฯ
5. วิธีที่จะไม่ให้เขาใช้กลวิธีต่าง ๆ แก่เรา เราจงเดินหมากผูกพันไว้ให้แน่นหนา ป้องกันขุนไว้ให้แน่นหนา ป้องกันขุนไว้ให้ดี ป้องกันการรุกล้ำของเขาไว้ให้ดีและการเดินระวังตัวอย่างหนึ่งนั้นก็คือ อย่าให้ขุนอยู่ในที่จะถูกรุกไว้ก่อนถึงเรารู้สึกว่าถูกรุกจะไม่เป็นไรก็ดี ก็ไม่ควรจะให้ถูกรุก เพราะข้อที่เราว่าไม่เป็นไรนั้น อาจจะเป็นไรขึ้นมาก็ได้ ต้องเดินอย่างใจเย็น
6. บางทีถ้าเราเป็นดีแน่ อาจจะเอาขุนเราล่อให้เขารุกเราแล้วเขาเสียหลักแก่เราก็ได้
7. ในเมื่อเขาจับสองหรือจู่โจมเข้ามานั้นเรากะล่วงหน้าว่า ถ้าเขาทำตามประสงค์ของเขา เขาจะเสียหลัก เราอาจนิ่งให้เขราทำก็ได้ แล้วเขาก็พลาดท่าแก่เราทันที
8. เพื่อหาโอกาส ใช้กลวิธีต่าง ๆ ของเรานั้น จงทำตามข้อ 2 ก่อน ถ้าเห็นแง่ที่จะล่อให้เขาตกหลุมพรางได้ก็ต้องล่อแต่ต้องล่ออย่าให้เขารู้จุดหมายรุกถ้าเดินกันเรื่อย ๆ ยันกันไปรุกกันมาป้อง ๆ ปิด ๆ กัน หรือบุกรุกกันเรื่อย ๆ อย่างทื่อ ๆ ก็เป็นการไม่ได้ใช้แต้มไม่ค่อยจะออรสและก็มักเสมอกัน หรือถ้าแพ้กันก็โดยเผลอ หรือกันกันเรื่อย ๆ ซึ่งมักไปแพ้กันปลายกระดาน ก็ดีเหมือนกัน ซึ่งเป็นการดีอย่างเนือย ๆ ไม่ดีเหมือนใช้กลวิธีต่าง ๆ เล่นงานกัน ซึ่งเป็นระบบของการใช้แต้มอย่างสูง และเป็นการเล่นที่น่าดูและออกรส
9. วิธีใช้กลวิธีล่อหลอกเข้าเล่นงานกันนั้นมีมากมาย แล้วแต่การเดินหมากของเราซึ่งเป็นผู้เล่นเช่นเราสะดุดใจรูปหมากขึ้นว่า ขุนของเขาหรือตัวใดตัวหนึ่งของเขาตั้งรูปอยู่เช่นนั้นเป็นที่จะเสียเปรียบเราแต่ยังมีตัวใดตัวหนึ่งของเราหรือของเขาขัดขวางอยู่ ก็จงหาอุบายอย่าให้เขารู้สึกตัว ทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ตัวที่ขัดขวางนั้นเคลื่อนไปเสีย เช่นเราชักเรือออกโดยให้เขามีอุปปาทานไปป้องกันทางอื่นหรือให้เขาจำเป็นต้องต้องป้องกันทางอื่น แล้วเราเอาเบี้ยรุกคล่อมเป็นต้น โดยการรุกคล่อมนั้นทำให้เราเป็นต่อมากขึ้น หรือเช่น เราเห็นรูปทางว่าถ้าเราเดินตัวนั้นตัวนี้จะทำให้เขาเสียท่าถึงจน แต่เขายังมีตัวใดที่จะป้องกันได้อยู่อีก ก็จงหาอุบายเดินให้เขเคลื่อนตัวที่จะป้องกันได้นั้นไปเสีย แล้วเราก็ลงมือทำต่อไป ดังนี้เป็นต้น ฯลฯ ต้องหาแต้มเดิน เดินให้เขาเสียหายถึงสองฝักสองฝ่ายไว้เสมอจึงจะเป็นแต้มที่สูงกว่า
10. วิธีที่จะให้เขามีความจำเป็นต้องป้องกันตัวทางหนึ่ง แต่จะต้องเสียเปรียบอีกทางหนึ่งดังตอนล่างของข้อ 9. นั้นเราอาจล่อหรือเอาเหยื่อตกเบ็ดให้เขากินหรือเดินตัวใดมาไว้ตาหนึ่งแล้ว เราชักเรือ หรือม้าของเราที่ขวางเราอยู่นั้นมาจับตัวที่เขาเดินมา ซึ่งเขาต้อวงคุ้มตัวมี่เขาเดินมานั้นแต่ต้องถูกเรารุกหรือคล่อมอีกทางหนึ่ง เป็นต้น แต่ต้องคิดดูว่าทำดังนั้นจะทำให้เราเป็นต่อขึ้นหรือไม่ ถ้าเป็นต่อก็จงทำไปทันที
11. การเดินหมากต้องเจนจัด ในการคำนวณต้นทุนกำไรเหมือนการค้า คือเมื่อตัดหมากซึ่งคิดหักทอนดูแล้วเราจะได้เปรียบหรือไม่เอาตัวใหญ่แลก ถ้าได้กำไรตัวหรือทางก็แลกได้
12. การเดินหมากนั้นถ้าเขาไม่เปิดช่อง ให้เราใช้กลวิธีทำแก่เขาโดยตรงก็จงตรวจเพื่อใช้กลวิธีทางอ้อมในข้อ 9, 10, 11 ซึ่งเขาอาจเปิดช่องให้เราใช้กลวิธีทางอ้อม คือเปิดช่องให้เราใช้อุบายเพื่อใช้กลวิธีได้ แต่เราไม่ตรวจให้เห็นช่องก็เลยผ่านไปเสียคงมีอยู่บ่อย ๆ เช่นนี้เรียกว่าไม่ได้เดินหมากหลายชั้น ปล่อยให้โอกาสดี ๆ ของเราล่องลอยไปเสียที่จะให้สันทัดโดยไม่ทิ้งโอกาสดังกล่าวมานี้
   (1) ต้องอบรมให้สันทัดจัดเจนในกลวิธีต่าง ๆ ให้มากอย่างให้ช่ำชองของจริง ๆ รูปจนต่าง ๆ ควรสังเกตจำให้ดีจากกลวิธีต่าง ๆ ไว้ให้มาก
(2) ต้องพิเคราะห์รูปหมากให้เกิดความสะดุดใจขึ้นโดยไว ในแง่ที่ใช้อุบายเพื่อให้ได้ใช้กลวิธีทำแก่ข้าศึก
(3) การพิเคราะห์รูปหมากนั้นโดยตรงเห็นทางอ้อม ก็ทำทางอ้อมเพื่อให้บรรลุผลที่จะทำโดยตรงต่อไป

13. ในเมื่อยังไม่ได้โอกาสที่จะทำเขาโดยตรงหรือทางอ้อม ก็จงเดินคุมเชิงรักษาตัวไว้ให้ดี หรือเดินยักเยื้องไว้เพื่อดูท่วงทีให้เขาเปิดโอกาสให้เราทำโดยเขาไม่รู้สึกถึงกลวิธีของเรา ถ้าเขาไม่เปิดโอกาสเลยและเราก็ไม่เพลี่ยงพล้ำก็เสมอกันไป
14. การเดินหมากยุ่งยากกระจัดกระจายนั้น ถ้าเราแต้มสูงกว่าก็ทำเช่นนั้นได้บ้าง และเป็นทางดีเหมือนกันที่จะให้ข้าศึกดูยากและเปิดช่องให้กับเราได้มากขึ้น แต่ถ้าแต้มเขาสูงกว่าหรือพอ ๆ กัน ก็ไม่ควรจะเดินหมากให้กระจัดกระจายหรือบุกบั่นให้มากไปจะเป็นทางให้เราแพ้ เช่นนั้น เราควรเดินผูกพันไว้เสมอเพื่อป้องกันไม่ให้แพ้เขา ผิดนักก็เสมอกันไปซี่งก็ดีกว่าแพ้

บันทึกความเห็นในทางหมากรุก
การใช้กลวิธีทำแก่เขาดังกล่าวมาแล้วนั้น แยบคายดี ได้ใช้มาเป็นผลสำเร็จบ่อย ๆ แต่ก็ได้พลั้งพลาดจนเราแพ้เขาก็ออกบ่อยเหมือนกัน ฉะนั้นจึงควรคิดให้รอบคอบก่อนแล้วจึงเดิน เหตุที่เรามักแพ้คือ 1 พลั้งเผลอดูไม่ทั่วก่อนเดิน 2แม้ไม่เผลอแต่ก็มองไม่เห็น ไม่รู้เท่าทันปรปักษ์ ในรูปหมากที่เขาเดิน 3 วางนโยบายในการกะกำลังฝ่ายเราที่จะต้านทานเขาผิดพลาดไป
การเดินดีอีกอย่างหนึ่งคือตอนต่อสู้กันอยู่นั้น ตองคำนึงถึงปลายกระดานไว้เสมอ และวางนโยบายให้ชนะปลายกระดาน หรือตีเสมอปลายกระดานในเมื่อเห็นหมากเราเสียท่า หรือมีทางชนะได้น้อย ต้องเพ่งเล็งถึงคุณภาพและปริมาณของหมากปลายกระดานตลอดจนรูปหมาก ที่ฝ่ายเราและฝ่ายเขาคุมกันติดหรือไม่ เช่นหมากบางตัวกระจัดกระจายจนยากที่จะรักษาไว้ให้ เป็นต้น
การเดินหมากรุกนั้น คือการต่อสู้กันด้วยสติปัญญา และความคิดประกอบกับความจำในกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้เคยรู้มา (ความชำนาญ) ตลอดถึงเชาวน์ ปฏิภาณอันเป็นการมีไหวพริบในชั้นเชิงของการเห็นหมากโดยฉับไวทันทีด้วย สตินั้นต้องมั่นคงไม่พรั่นพรึง หวั่นไหวต่อสิ่งที่ปรากฏเฉพาะหน้า ความคิดนั้นต้องเฉียบแหลมสดใสปลอดโปร่ง ความจำต้องมีมากและแน่วแน่มั่นคงไม่ผิดพลาด เชาวน์ ปฏิภาณต้องเกิดความสะดุดใจนึกคิดถึงแง่ดีต่าง ๆ ได้ฉับไวไม่เฉื่อยชา อย่างไรก็ตามยังมีข้อสำคัญที่สุดอยู่อย่างหนึ่งคือจิตวิทยาข้อนี้ ไม่ควรจะละเลยเสีย เราต้องใช้ทุกขณะที่เรากำลังเดินหมาก ข้อนี้คือการเก็งใจฝ่ายปรปักษ์ในรูปหมากที่เราเดินหรือรู้นิสัยจิตต์ของฝ่ายปรปักษ์อยู่แล้วในรูปหมากที่เขาเดินหรือรู้นิสัยจิตต์ของฝ่ายปรปักษ์อยู่ก่อนแล้ว เช่น รู้ว่าเขาถนัดทางใด เป็นต้นว่า ถนัดม้า ถนัดเรือ ถนัดโคน ชอบป้องกันหรือชอบบุก ชอบกินสองหรือชอบกินแลกเปลี่ยนหรือชอบรุก เราจะต้องปฏิบัติตัดกำลังเขา หรือเอาชนะโดยจิตวิทยาดังกล่าวนี้ ประกอบในการเดินอีกด้วยตามควรแก่เหตุ

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:49:21 am »

กระบวนท่าหมากรุกไทย
-http://mrpipe.exteen.com/20050621/entry-1-

การเดินหมากรุก
โดย บุญแถม ปิติยานนท์
งานเขียนเกี่ยวกับหมากกระดานเก่าๆ ที่มีผู้สนใจและติดต่อสอบถามเข้ามามากที่สุดคืองานเขียนของบุญแถม ปิติยานนท์ ชื่อ การเดินหมากรุก ตั้งใจว่าจะอัดเป็นสำเนาและส่งให้กับทุกท่านที่ต้องการแต่พอเห็นจำนวนแล้วคิดว่าคงยุ่งยากพอสมควรและคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักหมากรุกไทยหรือผู้สนใจทั่วไปด้วย จึงขออนุญาตทายาทของท่านเจ้าของผลงานนำมาแสดงไว้ในที่นี้ หากเห็นว่าไม่เหมาะสมประการใด โปรดแจ้งให้ทราบด้วยครับ

-------------------------------------

การเดินหมากรุก
โดยบุญแถม ปิติยานนท์ เนติบัณฑิต อดีต ส.ส. จังหวัดสระบุรี ได้เขียนไว้แต่ปี พ.ศ. 2488 ได้รับการพิมพ์หลังจากผู้เขียนเสียชีวิตแล้ว โดยพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกในงานณาปนกิจศพนางหยี เปล่งสีงาม เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2514

-------------------------------------

การเดินหมากรุก
      ตามที่สังเกตพอจะแบ่งตอนของการเล่นได้หลายตอนตามลำดับคือ
1. ตอนขึ้นหมาก ต้องรักษาถิ่นให้ได้เปรียบไว้ โดยหาทางของหมาก หรือกินให้มากกว่าฝ่ายตรงข้าม โดยไม่ให้เสียทาง
2. ตอนเตรียมการโจมตี และตั้งรับ ตอนนี้ต้องสังเกตรูปหมากและชั้นเชิงของฝ่ายตรงข้าม จงคิดเดินเชิงล่อ เชิงชนให้ได้เปรียบทาง และได้เปรียบตัวไว้ให้ดี โดยให้แน่ แก่ใจว่าปลอดภัย
3. ตอนเปิดฉากโจมตี หรือถูกโจมตี ตอนนี้เป็นตอนสำคัญที่จะเกิดต่อรองกันขึ้นก็ในตอนนี้ เราอย่าใจร้อนจู่โจมโดยไร้เหตุผล จงระวังอย่าให้เรือเข้าหลังบ้าน และถูกขนาบเสียท่าตรง หน้าขุนคือโดยทั้งทางบกและทางเรือจะทำให้เราตั้งตัวไม่ติด หรือไม่ก็ถูกบีบรัดเป็นหมากติด ซึ่งเราจะต้องหาทางแก้ไขโดยทางตัดหมากหรือทางใดๆ ก็ตาม จงตั้งมั่นไว้ ก่อน และป้องกันให้ดี ควรตีเสมอได้ให้ตีเสมอ
4. ตอนหลังจากโจมตี หรือถูกโจมตีแล้ว ให้ใช้ทางเดินแบบหันเหียนเวียนวน เพื่อเอาเปรียบเพราะตัวยังมากอยู่
5. ตอนเหลือตัวน้อย
6. ตอนเสียเปรียบกัน ข้างหนึ่งถูกต้อนหนีอยู่เรื่อยๆ ฝ่ายหนียังมีตัวอยู่บ้าง
7. ตอนหนีหรือไล่ โดยฝ่ายหนีมีขุนตัวเดียว การเดินหมากเมื่อได้เปรียบแล้ว จงพยายามโดย ถี่ถ้วนต่อไปจนชนะระวังไว้เสมอ อย่าให้เขาแก้เผ็ดได้การเดินถ้าเราเสียหายไปบ้าง ก็อย่าวู่วามให้เสียมากไปอีก ผ่อนหนักให้เป็นเบาโดยไม่ท้อถอย

เคล็ดลับของการเอาชนะ
   เริ่มในการเล่นแต่การขึ้นถึงตอนที่ 3 ซึ่งเป็นตอนสำคัญ ต่อจากนั้นก็ธรรมดา
ในระยะที่กล่าวนี้ ระวังดูหมากฝ่ายเขาฝ่ายเราให้ทั่ว แต้มสำคัญที่เป็น 2 ชั้น 3 ชั้น และ 4 ชั้นจะผุดขึ้นในสมรภูมิเอง ชั้นเชิงล่อ เชิงชน เชิงโยก เชิงย้าย แต้มสำคัญที่ดีทางฝ่ายเรานั้นมักเร้นลับอยู่ ในตอนที่ 2 และที่ 3 ถ้าคิดเพียง 2 ชั้น 3 ชั้น ก็อาจผุดขึ้นในสมรภูมินั้นได้
ให้ใช้เชิงเรือ เชิงม้าเป็นอาวุธไกล เชิงเบี้ยเชิงโคนเป็นอาวุธใกล้ ถ้าชำนาญจำไว้ได้มากก็ได้เปรียบ เช่นเมื่อยังไม่เข้าทำ ถ้าเราจะเอาเปรียบกี่ชั้นก็ตาม ให้คิดต่อไปว่าถ้าเราเดินตัวนั้นมาไว้ที่นั่น จะเสียเปรียบเขากี่ชั้นก็ตาม จงเดินล่อให้เขาเข้ามาให้สมนึก แล้วเราก็เป็นฝ่ายทำ เมื่อได้เปรียบแล้ว จะซ้ำเติมให้ได้เปรียบต่อไป เอาชนะให้เด็ดขาดเสียโดยเร็ว

การได้เปรียบนั้นแม้แต่เบี้ยสูงก็ได้เปรียบ กินมากกว่าและไม่เสียทางก็ได้เปรียบ ข้อสำคัญต้องคิดรวมทั้งกระดานให้ทั่ว การเล่นดีนั้นต้องดูหมากให้ทั่วกระดาน
เคล็ดลับอีกอย่างหนึ่ง คือการถอนเรือถอนม้า และ ฯลฯ ออกจากที่แล้วสลับเบี้ยหรือโคนคล่อม หรือรุกแทนที่ หรืออีกอย่างหนึ่งคือโคนหรือม้าที่ผูกตัวอะไรอยู่ ถ้าเราจับตัวนั้นอยู่แล้วไล่โคนหรือม้าให้จำต้องหนี เขาอาจเสีย อีกอย่างหนึ่งคือกินตัวใดตัวหนึ่ง แล้วรุกคาด อีกอย่างหนึ่งคือบังคับขุนหรือตัวใดตัวหนึ่งให้เข้าเปิดรุกจะได้กินเขาได้

การเดินหมากรุกที่ดีต้องเดินไปฉับหนึ่งเขาต้องเสียหลายทาง แก้ยาก ทั้งนี้ต้องแล้วแต่โอกาสที่จะมองเห็น
อนึ่งปัญหาสำหรับการโจมตีก่อน โดยให้เขาเสียหลักถ้าช้าไปเพียง 1 ครั้ง เขาอาจป้องกันเสียเช่นนี้เราต้องรีบทำให้ทันท่วงที ถ้าไปอาจเสียโอกาส โอกาสอีกอย่างหนึ่งคือ เกี่ยวกับการต้อนขุนฝ่ายตรงข้ามให้อยู่โดดเดี่ยว หรือเข้ามาในที่อับจน หรือคับขันให้รีบกระทำ เมื่อไตร่ตรองแล้วว่าทางเราไม่เป็นอะไรอีกอย่างหนึ่ง คือเราเอาเรือเขาผูกอยู่ แล้วเราเอาอะไรต่อเข้าไม่กล้าเปิดเพราะอาจเสียเรือ

การเดินหมากรุกวิธีที่ 2
   1. การบุกนั้นดีเมื่อได้โอกาส และแต้มเขาอ่อนกว่าหรือไล่เลี่ยกัน
2. ถ้าแต้มเขาเหนือกว่า เราอย่าบุก บุกแล้วมักทำอะไรไม่ได้เราเสียท่าภายหลัง ถ้าเขาเหนือกว่าเราจงพยายามป้องกันตัว เห็นเสียท่าตีเสมอไว้ จงใจเย็นอย่ามุทะลุ
3. การเล่นหมาก ถ้าเขาป้องกันดี การขึ้นดี จงอย่ากินเขาก่อน ถ้ากินก่อนมักเสียเปรียบและเสียทาง
4. ป้องกันเขาไว้เป็นการดี ให้เขาทำฝ่ายเราก่อน
5. ป้องกันนั้นง่ายกว่าเข้าทำ ป้องกันดีเขาเสียท่าไปเอง หรืออย่างน้อยก็เสมอ
6. อย่าตื่นอันตรายแก่ขุน ให้ยืนในที่ปลอดภัยเสมอ
7. ตั้งค่ายให้แน่นหนาแข็งแรงก่อนทำเขา ผูกให้แน่นกันให้ดี ให้ได้ช่องจริงๆ จึงรีบทำก่อน
8. จะทำเขาให้ดูผลปลายมือ ว่าเราเสียเปรียบไหม
9. ล่อเขาทำบ้างก็ได้

ทางเอาเปรียบปรปักษ์อีกด้านหนึ่งคือ
1. รุกล่อให้ขุนกินเปล่า หรือแตกพวก แล้วบีบบังคับให้จน หรือเสียเปรียบ หรือได้ทาง
2. รุกหรือไล่ตัวใดตัวหนึ่ง เพื่อก้าวไปรุกคาดหรือคร่อม หรือเอาเปรียบโดยเราใช้ม้าหรือตัวอื่น
3. กันตัวใดตัวหนึ่งของเข้าแล้วก้าวไปรุกคาด

.


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:46:27 am »

สอนวิธีการเล่นหมากรุกไทยอย่าเซียน และวิธีนับตาเดิน

-http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=29F7CECB9685ABT41EFVDSZ82W[WFQ-

.

http://upload.one2car.com/download/download.aspx?pku=29F7CECB9685ABT41EFVDSZ82W[WFQ

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:45:04 am »

.

รายละเอียดเป็นลิงค์ให้ศึกษาค่อนข้างเยอะครับ
-http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=8-

กระดานหมากรุก
ขุน
โคน
เม็ด-เบี้ยหงาย
เบี้ยคว่ำ
ม้า
เรือ
เริ่มฝึกการเดินตัว...ให้คล่อง
หมากรุกไทย เข้าใจตรงกันเสียก่อน(กติกา)
การรุก รุกจน การผูก
การแพ้ชนะ,การเสมอ
รุกล้อ การอับ
การไล่ การนับ
การนับศักดิ์กระดาน
การนับศักดิ์หมาก
พื้นฐานการเล่นหมากรุกไทย
โครงสร้างการรุกจน การไล่ การแก้ที และหมากขั้นต่ำ
รูปรุกจนโดย เรือ ,1ม้า1เม็ด ,1ม้า2เม็ด ,2ม้า1เม็ด,เม็ด
รูปรุกจนโดย 1โคน ,2โคน ,1โคน1เม็ด(หน้าโคน)
รูปรุกจนหลังโคนโดย 1โคน1เบี้ยหงาย(ทั้งตรงมุมและไม่ตรงมุมเบี้ยหงาย)
การรุกจนโดย สองเบี้ย
การไล่ และหมากกลที่ควรรู้
ค่าของหมาก หน้าที่ของหมาก
การได้เปรียบเสียเปรียบ 1
การได้เปรียบเสียเปรียบ 2
มองการได้เปรียบให้เป็น
ฝึกคิดแต้มให้เป็น โดยอาศัยหมากกล
เรียนรู้ในแนวลึกเชิงทฤษฎีของหมากรุกไทย 1
เรียนรู้ในแนวลึกเชิงทฤษฎีของหมากรุกไทย 2

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=8
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:42:46 am »

หมากรุกไทย
-http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=22-

พื้นฐานการฝึกที่จำเป็น

ในบท "หมากรุกไทย เข้าใจตรงกันเสียก่อน(กติกา)" ได้กล่าวถึงวิธีการเรียนรู้แบบผมเองว่า ควรเข้าใจกฎกติกาเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน จากนั้นเลียนแบบการปฏิบัติจากผู้ที่เป็นอยู่แล้ว โดยดูแล้วทำตาม จากนั้นมาทำด้วยตัวเอง เมื่อเดินตัวได้คล่องแลัวรู้ข้อผิดพลาดเบื้องต้นจากตัวเองแล้ว ก็ต้องจำข้อกำหนดเกี่ยวกับการแพ้ชนะ แล้วจึงมาเรียนรู้พื้นฐานของเรื่องนั้นๆต่อไป

อันนี้คือวิธีเรียนรู้ ในสิ่งที่เราจะต้องเรียนรู้ในแต่ละอย่าง

ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่า จะจำทั้งหมดในตอนแรกนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ และจึงต้องรู้พื้นฐานเพื่อการปฏิบัติก่อน และถ้าไม่รู้วิธีชนะ ก็จะชนะไม่ได้ ทำให้เวลาฝึกจะฝึกไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง เหมือนเรือไม่มีหางเสือ (ขัดกับหลักการของผม "MBO... manage by objective การบริหารโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย" )

ดังนั้นหลักท่ใช้เป็นแนวทางลำดับเนื้อหาที่เขียน จึงเน้นค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆจำ และให้ง่ายไว้ก่อน จึงจัดการเขียนเป็นลำดับดังนี้
1.เรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ (ยังไม่ถึงคำว่า Basic)
2.เรียนรู้พื้นฐานBasic จากนั้นเดินเลียนแบบ ทำตามเขาเดิน และฝึกเดินเอง

*เรียนรู้วิธีทำให้ชนะ
* รู้จักวิธีการได้เปรียบเบื้องต้น รู้จักประโยชน์ของของหน้าเบี้ย
* รู้อำนาจของหมาก หน้าที่ที่ควรเป็น ตำแหน่งหมากที่หมากแต่ละตัวจะได้ประโยชน์สูงสุด ในแต่ละรูปหมาก
* รู้รูปหมากหลายรูป (คือรู้แบบการเปิดหมาก การแปรทางเบื้องต้น จุดเด่น จุดอ่อน จุดด้อย จุดแข็ง รูปแบบการโจมตี การทำช่องทางเพื่อยึดตำแหน่งและโจมตี การป้องกันช่องทางขึ้นบุกของเขา และเก็บช่องทางตัวเองไว้ การยึดครองตำแหน่งที่สำคัญ )
* รู้จักวิธีขึ้นรูปและการปรับรูปเมื่อบางตัวขึ้นไม่ได้เต็มรูปแบบ

3.เมื่อคล่อง จึงจะเริ่มเข้าสู่หลักการที่เกี่ยวข้องต่อไป

4.ส่วนระดับสูงๆ อันนี้ผมยังไปไม่ถึงครับ(เป้าหมายแต่ละระยะ การเล่นระยะกลางของเกม การต่อสู้ หมากเด็ด การทำให้จนกลางกระดาน แนวทางคิดแต้มและเลือกตัวเดิน การเล่นกับตัวเองหรือการถอดหมาก )---จะศึกษาไปเรื่อยๆแล้วนำมาเขียนเพิ่มครับ

ตอนนี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ ก็ควรรู้กันมาแล้ว ถึงเวลามาเรียนรู้พื้นฐานBasicกันต่อไป

ก่อนอื่นควรเข้าใจแนวทางการเล่น การแบ่งระยะ หรือขั้นตอนการเล่นอันเป็นเบื้องต้นของการเรียนรู้ขั้นเบื้องต้นถึงขั้นกลางก่อนนะครับ เพื่อที่เวลาเรียนรู้จากตำราอื่น จะได้ไม่งง ทั้งนี้เพราะหลายตำราสอนตั้งแต่ ขั้นต้นไปท้ายสุดตามลำดับไป แต่ผมแบ่งตามความเหมาะสมตามรูปแบบ MBOดังกล่าวครับ จึงอาจฝึกสลับจากปลายมาหาต้นได้บ้าง หากไม่รู้ก็อาจงง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่จะเป็นไปในท้ายสุด เมื่อเรียนรู้ครบจะเป็นอันเดืยวกันครับ

แนวทางการเล่นหมากรุกไทย(ขั้นเบสิคสู่ขั้นกลาง)
ผู้ที่เข้ามาอ่านบทนี้ คงจะมีพื้นฐานการเดินตัวและรู้กติกาหลักๆกันแล้วนะครับ เราจะมาเข้าใจแนวทางการเล่น และเป้าหมายการเล่นกันต่อ (จะเห็นว่าผมไม่ได้ใช้คำว่าเป้าหมายของเกม ซึ่งกว้างและลึกซึ้งเกินกว่าผมจะเข้าใจ)
เป้าหมายการเล่นของเกมหมากรุกไทย
อันนี้ขอให้เข้าใจว่าเป็นแนวคิดที่ผมสรุปมา เพื่อการเรียนรู้เท่านั้น เมื่อแตกฉานขึ้น ผู้เรียนรู้อาจได้รับความรู้จากทางอื่นเพิ่ม และเห็นขัดแย้งกับความรู้นี้ ก็แสดงว่าได้พัฒนามากขึ้นกว่าผู้เขียนแล้ว ซึ่งจะนับว่าน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
ในความหมายต่อไป ผมจะกล่าวให้ป็นแบบรูปธรรมซึ่งเห็นและเข้าใจได้ ส่วนในแบบนามธรรมอาจมีบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งถ้างง ขอให้ comment เข้ามานะครับ

เป้าหมายของวิธีเล่นมีแค่คำว่า
"จากจุดเริ่มเกมและมีการดำเนินไปของเกม ต้องหาวิธี หาทางให้ได้เปรียบมากกว่า และพยายามทำให้ฝ่ายตรงข้าม เข้าสู่รูปโครงสร้างการถูกรุกจนแบบใดแบบหนึ่ง แล้วรุกให้จน แต่ถ้าพลาดให้หาทางเสมอไว้ก่อน แล้วพยายามพลิกสถานการณ์ แต่อย่าฝืนความเป็นไปได้ในเกมนั้น"

ถ้าเราแยกคำออกมา จะมีส่วนประกอบวิธีการเล่นหลายส่วนคือ
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.หาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์
ทั้ง 7 นี้คือสิ่งที่ต้องพบและต้องปฏิบัติในทุกๆเกม(จริงๆแล้วควรกล่าวว่า ทุกๆการต่อสู้ เพราะอันนี้คือกฏและทักษะการต่อสู้ทุกกรณี...บอกอีกทีว่า คือความเห็นผม)

ในเรื่องที่แคบลงมาเช่นหมากรุกไทย อาจเคยมีการแบ่งวิธีการเล่นเพื่อให้สะดวกต่อการเรียน การสอนและการคิดไว้หลายแบบ เท่าที่พบก็มี
แบ่งแบบที่หนึ่ง...1.ระยะต้น 2.ระยะกลาง 3.ระยะปลาย
แบ่งแบบที่สอง...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือแบบที่สาม...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน
จะเลือกเข้าใจแบบใดก็แล้วแต่ความชอบนะครับ แต่ทั้งหมดจะมีส่วนประกอบหลักๆแบบที่ผมกล่าวถึงเสมอ

การแบ่งในแบบที่หนึ่งเป็นการแบ่งแบบง่ายๆ
แบบที่สอง เน้นแบ่งให้เข้าใจในรูปแบบที่ค่อนข้างนามธรรม แต่สามารถทำให้คิด และเข้าใจแบบกว้างๆคลอบคลุมแนวคิดหมากรุกไทยได้ง่ายยิ่งขึ้น และในบางครั้งสามารถปรับการเล่นให้สนุกๆตามสภาพได้ง่าย ขอให้อยู่ใน concept ก็พอ
แบบที่สาม เน้นเป็นขั้นตอนรูปธรรมมากกว่า มองเห็นเป็นการกระทำได้ง่ายๆ จะแบ่งไปตามเหตูการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในช่วงเวลาที่การเล่นดำเนินไป แต่ในบางครั้งก็อาจมีเหตุการณ์อื่นเกิดขึ้นก่อนหรือหลังขั้นตอนที่ระบุในการแบ่งแบบนี้ ก็ขอให้อย่างงนะครับ เพราะในระดับหนึ่งแล้ว บางทีรูปหมากเข้ากับที่เคยเห็นมา และรู้วิธีการโจมตีแล้ว ก็อาจปรับช่วงการเล่นให้เหมาะกับเหตุการณ์ได้...ไม่ถือสาครับ

....ข้อควรจำไว้ก่อนคือ หมากรุกไทยจุดสำคัญต่อเกมคือ เปิดหมากให้ได้เปรียบ แปรทางให้มีประสิทธิภาพ รอบคอบ ไม่สุ่มสี่มุ่มห้าเดิน ส่วนช่วงต่อสู้และเบียดไล่นั้น อยู่ที่ความละเอียดคิดถี่ถ้วนเป็นหลัก
ในบทที่จะเขียนต่อไป อาจมีการแบ่งปะปนกันไปมา ก็ขอเข้าใจเบื้องต้นไว้นะ ขั้นตอนการเรียนรู้ต่อไปอาจจะแปลกๆไปบ้าง เพราะหลายท่านเน้นการสอนตั้งแต่เปิดหมากไปถึงแปรทาง เรื่อยไปจนถึงบทการไล่ แต่ผมขอเริ่มที่รูปแบบการรุกจนและรูปแบบการไล่ที่ควรรู้ เป็นอันดับแรกก่อน เพราะในเวลาเล่นจริง เป้าหมายอันนี้ต้องถูกมองหา และหาทางบรรลุเป้าหมายนี้ก่อนเสมอ
(การเรียนจากต้นไปหาปลาย หรือจากปลายไปหาต้น ผมว่าไม่มีแบบไหนดีกว่าแบบไหน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเรียนจะสอนมากกว่า)

อันดับแรกก็คือเรียนรู้วิธีทำให้ชนะ ซึ่งเวลาเล่นจะได้เฝ้ามองหา และปฏิบัติทันที เมื่อได้โอกาส เพื่อทำให้เขาจนได้ ไม่ใช่จะชนะอยู่แล้ว ขอแค่เดินให้ถูกตัว แต่ดันมองไม่เห็น เพราะไม่รู้วิธี จึงทำให้เสมอกันไปในที่สุด นั่นคือเราต้องรู้รูปรุกจนและดูให้เป็นกันก่อน

ไปบทต่อไปกันเลยครับ
รูปการรุกจนที่ต้องรู้ การไล่ และหมากขั้นต่ำที่สามารถไล่เพื่อสร้างรูปการรุกจน

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 09:42:11 am »

หมากรุกไทย
-http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=panee&group=22-

"เก่งไม่มีในโลก เพียงแต่เขารู้วิธีมากกว่าเราเท่านั้น"

วิธีเรียนรู้และการสอน(สำหรับอย่างอื่นด้วยครับ)
1.เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน ข้อกำหนด การปฏิบัติเบื้องต้น โดยเลียนแบบและทำตามไปก่อน
2.เรียนรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ โดยเน้นเรื่องที่จำเป็นก่อน
3เรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่ม สามารถจัดหมวดหมู่ และอธิบายได้
4.สะสมความรู้และประสพการณ์ สามารถสร้างแนวทางใหม่เพิ่มเติม โดยมีแนวทางหลักตามที่เรียนมา สอนผู้อื่นตามหลักการ หวังระดับคาดหวังได้ค่อนข้างแน่นอน
5.สูงสุดคืนสามัญ เรียนรู้แนวทางอื่น ปรับใช้ แก้ปัญหาได้ตลอด ไม่ยึดติดแนวใดแนวหนึ่ง สอนผู้อื่นตามความเหมาะสมกับวิถีและระดับการเข้าใจของผู้เรียน
กรอบและแกนการเล่น
1.เริ่มเกม 2.ดำเนินเกม 3.หาทางให้มีเปรียบมากกว่า 4.ทำให้มีโครงสร้างการถูกรุกจน 5.การรุกให้จน 6.การหาทางเสมอ 7.การพลิกสถานการณ์

การแบ่งเพื่อระยะเข้าใจ
...1.ระยะเตรียมพร้อม 2.ระยะดำเนินการและเฝ้าระวัง 3.ระยะแตกหัก 4.และระยะทำลายขั้นสุดท้าย
หรือ
...1.ระยะเปิดหมาก 2.แปรรูป แปรทาง 3.ขยายตัว พันตู 4.เบียด 5.ไล่และรุกจน

สิ่งควรจำและระลึกในใจ และประกอบการคิดหาตัวเดิน

การเล่นแบบไว
-อย่าหลับหูหลับตาเดินตามที่ตั้งใจ
-ดูตัวที่เขาเดินมา และที่เดินก่อนหน้า
-ดูตัวใกล้ ดูตัวไกล จะให้ดี ดูครบ8แนวตั้งและ8แนวนอน
-หาทางให้ได้เปรียบ อย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่าให้เขามีช่องบุก โดยเฉพาะการบุกแบบสายฟ้าแลบ
-ไม่ว่าจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบ ให้ระลึกว่า มักมีสิ่งที่ตรงข้ามอยู่ด้วยเสมอ อาจแฝงอยู่หรือแสดงออกชัดเจน และผลกระทบอาจมากน้อยต่างกัน
-หาทางขยายความได้เปรียบหรือทำให้ชัดขึ้น แต่อย่าให้ความเสียเปียบที่แฝงอยู่แสดงฤทธิ์ได้ นั่นคือหาหมากเด็ด
-หาทางลดการเสียเปรียบ หรือให้พลิกกลับข้าง และพยายามขยายความได้เปรียบที่มีบ้างให้ชัดเจน แต่หาให้เจอ นั่นคือหาตัวพลิกสถานการณ์
-พยายามอย่าให้พลาด เบี้ย 1ตัว อาจเสียหายทั้งกระดานได้
-อย่าท้อ ปาฏิหารย์มีเสมอ
-อดทนจนกว่ามีการพลาด

.