ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2012, 06:41:49 pm »การที่เราสามารถแยกสิ่งที่เรียกว่าเป็นตัวเรา
ออกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ค่อยๆแยกออกมา ก็จะเห็นความเป็นจริง
ความ ไม่มีตัวเรา เป็นวิธีล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา
วิธีนี้เรียกว่า วิภัชวิธี คล้าย ๆกับ การที่มีรถยนต์ 1 คัน
จับรถยนต์นั้นมาแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ อันนี้ลูกล้อ
อันนี้ฝาครอบล้อ อันนี้ตัวถังรถ จะเห็นได้ว่า
ฝาครอบล้อก็ไม่ใช่รถยนต์ ตัวถังรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์
เมื่อถอดออกมาเป็นชิ้นๆนั้น ก็จะได้เพียงจำนวนเศษเหล็ก
ไม่เห็นเป็นรถยนต์ สิ่งที่เรียกว่า รถยนต์ นั้น เกิดจากภาพลวงตา
ที่ประกอบด้วยสิ่งปรุงแต่งเป็นจำนวนมาก
ทำนองเดียวกัน เรามาเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า ตัวเรา
แยกมันออกมาเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย รูปส่วนรูป เวทนาส่วนเวทนา
ค่อยๆแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเราก็จะพบว่า
แต่ละชิ้นนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าแต่ละชิ้นมาประกอบมารวมกัน
มีสัญญาเข้าไปหมาย เข้าไปรู้เอาว่า นี่แหละตัวเรา
มันก็เกิดเป็น ตัวเรา ขึ้นมา...
วิธีที่จะเดินวิปัสสนาก็คือ การถอดสิ่งที่เรียกว่า ตัวเรา ขึ้นมา
เป็นส่วนๆเป็นกองๆแยกไป ๆ จะเห็นว่าไม่มีเรา.. ตัวเราไม่มี
เมื่อไม่มี ตัวเรา... แล้วใครจะทุกข์ ?
ความทุกข์นั้นมันอยู่ที่ขันธ์ ความทุกข์ทางกาย มันก็อยู่กับกาย
ความทุกข์ทางใจนั้น มันก็อยู่ที่ใจมันปรุงขึ้นมา จนกระทั่ง
ใจ มันไม่ใช่ เรา กายมันทุกข์ ใจมันทุกข์ แต่มันไม่มีเราทุกข์
ฝึกไป ฝึกไป จนกระทั่ง ใจเรา มันไม่มีอะไรมาย้อมมันได้
ต่อไปจะมีแต่ ความทุกข์ทางกาย ไม่เหลือความทุกข์ที่ใจ
ปัญหามีอยู่ตลอดเวลา แต่ความทุกข์ทางใจนั้นไม่มี
ค่อยๆฝึกต่อไปเราจะเข้ามาถึงตรงนี้ได้
มันจะค่อย ๆถอดถอนความทุกข์ที่ใจนี้ได้
ประโยคทิ้งท้าย
สู้ไหว หรือ สู้ไม่ไหว ก็ต้อง สู้ มันเหมือนไฟไหม้บ้านนะ
ไฟกำลังไหม้ วิ่งไม่ไหว ก็ต้องคลาน การภาวนาก็เหมือนกัน
ไหวไม่ไหว ก็ต้องสู้ ก็ต้องทำ ตอนนี้ยังลุกขึ้นวิ่งยังไม่ว่องไว
อย่างคนอื่นเขา กระเสือกกระสนไป เลื้อยคลานไป ก็ต้องเอา..
ต้องสู้ตายนะ ต้องตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวานให้ได้
สติปัญญาต้องพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องถึงขนาดต้องหวังว่า
จะต้องได้มรรคผลนิพพานวันนั้นวันนี้ เจริญสติ เจริญสมาธิ
เจริญปัญญา ทำเหตุให้สมควร แล้วผลมันจะตามมาเอง...
ขออนุโมทนากับผู้ถอดเทป.. อุบาสิกา.. ณชเล ณ.โอกาสนี้
บางครั้ง -http://www.sookjai.com/index.php?topic=1031.0
แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)
๓. การเจริญสติปัฏฐาน
เมื่อพวกเรามีเครื่องมือ หรืออาวุธในการปฏิบัติธรรมแล้ว
ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน
คือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ กาย เวทนา จิต และ/หรือ ธรรม
ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
เช่นให้รู้อิริยาบถ รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกรม
รู้ลมหายใจเข้าออก
เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ
คือเอาสติจดจ่อสบายๆ ลงในกายที่ถูกรู้นั้น
เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว ก็ให้เห็นว่า อิริยาบถ ความเคลื่อนไหวกาย
หรือลมหายใจนั้น
เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น ไม่ใช่จิต
มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง
เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมากขึ้นอีก
หากนามธรรมใดปรากฏกับจิต ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้
เช่นเกิดความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เกิดกุศล อกุศล ต่างๆ
ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง
อนึ่ง คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย
หรือผู้ไม่ถนัดจะระลึกรู้นามธรรม
สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียว ก็ได้
เมื่อจิตรู้ รูปธรรม หรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว
พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นว่า
เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ แล้ว
จิตจะมีความยินดี ยินร้าย หรือเป็นกลางขึ้นมา
ผมมักแนะนำหมู่เพื่อน
ให้ระลึกรู้ความยินดี ยินร้าย หรือความเป็นกลางนั้น
เมื่อจิตรู้ความเป็นยินดี ยินร้ายแล้ว ก็จะเห็นความยินดี ยินร้ายนั้น
เกิดดับเช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวงนั้นเอง
แล้วจิตปล่อยวางความยินดียินร้าย เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต
ตอนแรกความเป็นกลางๆ จะมีสั้นๆ
แล้วก็มีความยินดี ยินร้ายเกิดขึ้นอีก
ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ
ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต
เมื่อจิตมีกำลังขึ้น ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียด
ต่อไปจนเข้าถึง ใจ ได้
ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น
ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว 2 ประการเป็นส่วนมาก
คือ (1) เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเลิกปฏิบัติ
หรือ (2) เกิดความลังเลสงสัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปอีกหรือไม่
แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ รู้
หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการคิดเอา
แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่
ความเป็นกลางแล้ว ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น
แล้วจิตเขาจะพัฒนาของเขาไปเอง
เมื่อกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์เต็มที่
นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมโดยสังเขป
ที่ขอฝากไว้
ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป
โดยคุณ สันตินันท์
>>> F/B Trader Hunter พบธรรม
ออกเป็นส่วนเล็กส่วนน้อย ค่อยๆแยกออกมา ก็จะเห็นความเป็นจริง
ความ ไม่มีตัวเรา เป็นวิธีล้างความเห็นผิดว่ามีตัวเรา
วิธีนี้เรียกว่า วิภัชวิธี คล้าย ๆกับ การที่มีรถยนต์ 1 คัน
จับรถยนต์นั้นมาแยกออกจากกันเป็นชิ้นๆ อันนี้ลูกล้อ
อันนี้ฝาครอบล้อ อันนี้ตัวถังรถ จะเห็นได้ว่า
ฝาครอบล้อก็ไม่ใช่รถยนต์ ตัวถังรถ ก็ไม่ใช่รถยนต์
เมื่อถอดออกมาเป็นชิ้นๆนั้น ก็จะได้เพียงจำนวนเศษเหล็ก
ไม่เห็นเป็นรถยนต์ สิ่งที่เรียกว่า รถยนต์ นั้น เกิดจากภาพลวงตา
ที่ประกอบด้วยสิ่งปรุงแต่งเป็นจำนวนมาก
ทำนองเดียวกัน เรามาเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า ตัวเรา
แยกมันออกมาเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย รูปส่วนรูป เวทนาส่วนเวทนา
ค่อยๆแยกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเราก็จะพบว่า
แต่ละชิ้นนั้นก็ไม่ใช่ตัวเรา แต่ถ้าแต่ละชิ้นมาประกอบมารวมกัน
มีสัญญาเข้าไปหมาย เข้าไปรู้เอาว่า นี่แหละตัวเรา
มันก็เกิดเป็น ตัวเรา ขึ้นมา...
วิธีที่จะเดินวิปัสสนาก็คือ การถอดสิ่งที่เรียกว่า ตัวเรา ขึ้นมา
เป็นส่วนๆเป็นกองๆแยกไป ๆ จะเห็นว่าไม่มีเรา.. ตัวเราไม่มี
เมื่อไม่มี ตัวเรา... แล้วใครจะทุกข์ ?
ความทุกข์นั้นมันอยู่ที่ขันธ์ ความทุกข์ทางกาย มันก็อยู่กับกาย
ความทุกข์ทางใจนั้น มันก็อยู่ที่ใจมันปรุงขึ้นมา จนกระทั่ง
ใจ มันไม่ใช่ เรา กายมันทุกข์ ใจมันทุกข์ แต่มันไม่มีเราทุกข์
ฝึกไป ฝึกไป จนกระทั่ง ใจเรา มันไม่มีอะไรมาย้อมมันได้
ต่อไปจะมีแต่ ความทุกข์ทางกาย ไม่เหลือความทุกข์ที่ใจ
ปัญหามีอยู่ตลอดเวลา แต่ความทุกข์ทางใจนั้นไม่มี
ค่อยๆฝึกต่อไปเราจะเข้ามาถึงตรงนี้ได้
มันจะค่อย ๆถอดถอนความทุกข์ที่ใจนี้ได้
ประโยคทิ้งท้าย
สู้ไหว หรือ สู้ไม่ไหว ก็ต้อง สู้ มันเหมือนไฟไหม้บ้านนะ
ไฟกำลังไหม้ วิ่งไม่ไหว ก็ต้องคลาน การภาวนาก็เหมือนกัน
ไหวไม่ไหว ก็ต้องสู้ ก็ต้องทำ ตอนนี้ยังลุกขึ้นวิ่งยังไม่ว่องไว
อย่างคนอื่นเขา กระเสือกกระสนไป เลื้อยคลานไป ก็ต้องเอา..
ต้องสู้ตายนะ ต้องตั้งใจไว้เลยว่า วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวานให้ได้
สติปัญญาต้องพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ต้องถึงขนาดต้องหวังว่า
จะต้องได้มรรคผลนิพพานวันนั้นวันนี้ เจริญสติ เจริญสมาธิ
เจริญปัญญา ทำเหตุให้สมควร แล้วผลมันจะตามมาเอง...
ขออนุโมทนากับผู้ถอดเทป.. อุบาสิกา.. ณชเล ณ.โอกาสนี้
บางครั้ง -http://www.sookjai.com/index.php?topic=1031.0
แนวทางปฏิบัติธรรมโดยสังเขป (๓)
๓. การเจริญสติปัฏฐาน
เมื่อพวกเรามีเครื่องมือ หรืออาวุธในการปฏิบัติธรรมแล้ว
ขั้นตอนต่อไปผมจะแนะนำให้พวกเราเจริญสติปัฏฐาน
คือมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ กาย เวทนา จิต และ/หรือ ธรรม
ตามความถนัดของแต่ละบุคคล
เช่นให้รู้อิริยาบถ รู้ความเคลื่อนไหวระหว่างการเดินจงกรม
รู้ลมหายใจเข้าออก
เบื้องต้นถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ก็ให้รู้ไปอย่างสมถะ
คือเอาสติจดจ่อสบายๆ ลงในกายที่ถูกรู้นั้น
เมื่อจิตมีกำลังขึ้นแล้ว ก็ให้เห็นว่า อิริยาบถ ความเคลื่อนไหวกาย
หรือลมหายใจนั้น
เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ถูกเห็น ไม่ใช่จิต
มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตานั้นเอง
เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จิตจะมีกำลังสติสัมปชัญญะมากขึ้นอีก
หากนามธรรมใดปรากฏกับจิต ก็สามารถจะรู้เท่าทันได้
เช่นเกิดความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เกิดกุศล อกุศล ต่างๆ
ก็ให้รู้ทันนามธรรมนั้น ในลักษณะสิ่งที่ถูกรู้ เช่นเดียวกับการรู้รูปนั่นเอง
อนึ่ง คนไหนมีกำลังรู้นามธรรมได้เลย ผมมักแนะให้รู้นามธรรมไปเลย
หรือผู้ไม่ถนัดจะระลึกรู้นามธรรม
สมัครใจจะรู้รูปธรรมอย่างเดียว ก็ได้
เมื่อจิตรู้ รูปธรรม หรือนามธรรมอย่างต่อเนื่องแล้ว
พอมีกำลังสติปัญญามากขึ้น ก็จะเห็นว่า
เมื่อจิตไปรู้รูปธรรมหรือนามธรรมต่างๆ แล้ว
จิตจะมีความยินดี ยินร้าย หรือเป็นกลางขึ้นมา
ผมมักแนะนำหมู่เพื่อน
ให้ระลึกรู้ความยินดี ยินร้าย หรือความเป็นกลางนั้น
เมื่อจิตรู้ความเป็นยินดี ยินร้ายแล้ว ก็จะเห็นความยินดี ยินร้ายนั้น
เกิดดับเช่นเดียวกับรูปธรรมและนามธรรมทั้งปวงนั้นเอง
แล้วจิตปล่อยวางความยินดียินร้าย เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิต
ตอนแรกความเป็นกลางๆ จะมีสั้นๆ
แล้วก็มีความยินดี ยินร้ายเกิดขึ้นอีก
ต่อมาชำนิชำนาญขึ้น จิตจะเป็นกลางมากขึ้นตามลำดับ
ก็ให้ผู้ปฏิบัติรู้อยู่ที่ความเป็นกลางของจิต
เมื่อจิตมีกำลังขึ้น ก็จะสามารถจำแนกขันธ์ละเอียด
ต่อไปจนเข้าถึง ใจ ได้
ในขั้นที่จิตเฝ้าระลึกรู้ความเป็นกลางนั้น
ปัญญาชนจะเกิดโรคประจำตัว 2 ประการเป็นส่วนมาก
คือ (1) เกิดความเบื่อหน่าย แล้วเลิกปฏิบัติ
หรือ (2) เกิดความลังเลสงสัย ว่าจะต้องทำอะไรต่อไปอีกหรือไม่
แล้วเลิกปฏิบัติโดยการ รู้
หันมาคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วยการคิดเอา
แท้จริงเมื่อจิตเข้าไปรู้อยู่ที่
ความเป็นกลางแล้ว ก็ให้รู้อยู่อย่างนั้น
แล้วจิตเขาจะพัฒนาของเขาไปเอง
เมื่อกำลังของ สติ สมาธิ ปัญญาสมบูรณ์เต็มที่
นี้เป็นข้อสรุปแนวทางการปฏิบัติธรรมโดยสังเขป
ที่ขอฝากไว้
ให้กับหมู่เพื่อนเพื่อประกอบการพิจารณาปฏิบัติต่อไป
โดยคุณ สันตินันท์
>>> F/B Trader Hunter พบธรรม