ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 04, 2012, 06:06:20 am »


วิจิตรศิลปะไทย - ร้อยเรื่องมรดกไทย

-http://www.dailynews.co.th/article/1547/164539-



ร้อยเรื่องเล่ามรดกศิลปวัฒนธรรม สัปดาห์นี้ชวนสัมผัสศิลปะมนต์เสน่ห์เอกลักษณ์ศิลปะไทย ศิลปะประจำชาติที่ถ่ายทอดสร้างสรรค์สืบเนื่องมานับแต่วันวานจวบปัจจุบัน

ด้วยรูปแบบความงดงามของศิลปะไทยที่โดยทั่วไปรับรู้กันเกิดจากจินตนา การตามคติความเชื่อ ส่วนหนึ่งในความรู้ที่บอกเล่าในหนังสือศิลปะไทยของกรมศิลปากรซึ่งขอนำมาเผยแพร่แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเป็นไทยที่แฝงในงานศิลปะซึ่งมี  อัตลักษณ์ที่รู้สึกและสัมผัสได้ถึงความอ่อนโยน นุ่มนวล ละเอียดประณีต วิจิตรบรรจง มีเหตุผลในการแสดงออก อีกทั้งยังมีระเบียบแบบแผนเฉพาะจึงมีความชัดเจนในการถ่ายทอดศิลปะเป็นคุณลักษณะสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการยอมรับทั้งรูปแบบ เนื้อหาและสาระคุณค่า

ศิลปะด้านจิตรกรรมไทย ตามธรรมเนียมนิยมเรียกว่า งานช่างเขียน ผลงาน ที่ช่างเขียนผลิตสู่สายตาสาธารณชนเป็นการเขียนลวดลายไทย การระบายสี รวมถึงการปิดทองภาพเขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติ ภาพชาดก ภาพจากวรรณคดีและประวัติศาสตร์ที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณ

งานศิลปะลักษณะนี้มักปรากฏสร้าง สรรค์ บนผนังอาคาร ตู้พระธรรม สมุดข่อย ภาพพระบฏหรือสมุดภาพ ฯลฯ ช่างเขียนไทยนิยมใช้สีฝุ่นและปิดทอง สร้างภาพสองมิติคือใช้เส้นและสีแต่ไม่แสดงแสงเงาตามธรรมชาติ การใช้สีดูแบบเรียบสงบตัดเส้นลวดลายไปตลอดทั้งภาพและหากจะเขียนทิวทัศน์ในงานจิตรกรรมไทย ช่างเขียนมักจัดภาพในลักษณะมองเห็นภาพภายในบ้านเรือนได้โดยการเขียนภาพแบบตัดให้เห็นจากเบื้องบนซึ่งผู้ที่ได้ชมจะเห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในภาพได้อย่างทั่วถึง ไม่บังกันเหมือนภาพจิตรกรรมสากล ทั้งนี้ด้วยเพราะงานจิตรกรรมไทยมีอัตลักษณ์ของการเขียนภาพแบบเล่าเรื่องเป็นสำคัญ

ส่วนงานประติมากรรมไทย ที่สร้างขึ้นจากฝีมือของช่างเขียน ช่างปั้น ช่างหลอมและช่างแกะ ช่างสลักจนเป็นลักษณะประจำชาตินั้น งานศิลปะส่วนใหญ่มักเป็นงานที่มีความผูกพันกับพระพุทธศาสนา ฯลฯ นอกจากนี้ศิลปะไทยยังปรากฏใน งานศิลปะด้านสถาปัตยกรรมไทย ซึ่ง ในสัปดาห์หน้าจะนำมาบอกเล่าพร้อมแนะนำให้สัมผัสใกล้ชิดกับเอกลักษณ์งานช่างแขนงต่าง ๆ ของไทย....สัปดาห์หน้ากลับมาพบกันใหม่.

.