ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2012, 09:30:32 pm »อรรถกถา คังคมาลชาดก
ว่าด้วย กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภอุโบสถกรรม จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า องฺคารชาตา ดังนี้.
ความย่อมีว่า วันหนึ่ง พระศาสดาตรัสเรียกพวกรักษาอุโบสถมาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ท่านทั้งหลายทำอุโบสถกรรมให้สำเร็จดีแล้ว ผู้ที่รักษาอุโบสถควรให้ทาน รักษาศีล ไม่โกรธ เจริญเมตตา อยู่รักษาอุโบสถ ก็บัณฑิตครั้งก่อนได้ยศใหญ่ เพราะอาศัยอุโบสถกรรมที่รักษาครึ่งวัน ดังนี้
พวกอุบาสกเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
อ่านต่อค่ะ...
- http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8109.msg31877/topicseen.html#msg31877
โฮฮับ เขียน:
ศีลอุโบสถปฏิบัติได้สามลักษณะดังนี้....
๑. ปกติอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเฉพาะวันที่กำหนดไว้ ในปัจจุบันนี้กำหนดเอาวันพระ
๒. ปฏิชาครอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันครั้งละ ๓ วัน
๓. ปาฏิหาริยปักขอุโบสถ คืออุโบสถที่รักษากันเป็นประจำทุกวันตลอดพรรษา ๓ เดือนอย่าง หนึ่ง
ถ้าไม่อาจรักษาได้ตลอด ๓ เดือน ก็รักษาให้ตลอด ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว
คือรักษาใน กฐินกาล
ในพระสูตรพระพุทธองค์ทรงชี้แนะให้เห็นว่า การถือศีลในวันพระวันเดียว มิได้เป็นไป
เพื่อการหลุดพ้น ดังนั้นควรปฏิบัติอุโบสถศีลให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป
พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนนางวิสาขา เรื่องการถืออุโบสถศีลในวันพระไว้ว่า
พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้หลงไหลในสมบัติ และความสุขในโลกสวรรค์
พระองค์เปรียบการถืออุโบสถศีลเพียงวันเดียวว่า เหมือนคนรับเลี้ยงโค
ดังนั้นจึงควรปฏิบัติในอุโบสถศีลให้ได้อย่างพระอริยะ นั้นคืออริยอุโบสถ
อุโบสถมีสามอย่างคือ.....
๑. โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
๒. นิคัณฐอุโบสถ อุโบสถของพวกนักบวชนิครนถ์
๓. อริยอุโบสถ อุโบสถของพระอริยะ
ดูพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะนางวิสาขาได้ที่.......
อุโปสถสูตร อํ ติกนิบาต ข้อ ๕๑๐
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=5421&Z=5666
--------------------....................
ในตัวของศีล๘ไม่ได้มีความแตกต่าง ที่ต่างกันมันอยู่ที่สถานะของผู้รักษาศีล
นั้นคือ ผู้ครองเรือน(คฤหัส)กับผู้ที่สละเรือน(นักบวช)
ศีล๘ไม่ได้แตกต่าง แต่เป็นความเหมือน ทั้งคฤหัสและนักบวช
เหมือนกันตรงที่รักษาศีลแปด
ผู้ครองเรือนหรือคฤหัส ถ้ารักษาศีลแปด เรียกการกระทำนั้นว่า...อุโบสถศีล
ผู้สละเรือนหรือนักบวช ต้องรักษาศีล๘ เรียกการกระทำนั้นว่า...พระวินัย
เจตนาวิรัติ เป็นหนื่งในวิรัติ๓ เรียกว่า สมาทานวิรัติ
ความหมายของสมาทานวิรัติคือ....เว้นด้วยการสมาทาน คือ ตนได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน
โดยได้รับศีล คือ สมาทานสิกขาบทไว้แล้ว ก็งดเว้นตามที่ได้สมาทานนั้น
ดังนั้นเจตนาวิรัติที่คุณกล่าวถึง มันมีความหมาย ต้องผ่านการอาราธนาศีล
และสมาทานแล้ว รับศีลที่พระให้เอามาเป็นเจตนา เรียกให้ตรงตัวก็คือ....
เจตนาในสมาทานวิรัติ
ผู้ครองเรือนรักษาศีลแปดชั้วครั้งชั่วคราว เมื่อหมดระยะเวลาที่ตัวเองสมาทานศีลแปดไว้
ก็กลับไปถือศีลห้า เจตนาในสมาทานวิรัติของศีลแปดก็หมดไปด้วย เจตนานั้นกลับกลายเป็น
ศีลห้า ถ้าจะมารักษาศีลแปดใหม่ จีงต้องสมาทานศีลแปดเพื่อตั้งเจตนาใหม่
มันไม่ได้เกี่ยวกับศรัทธาอ่อนแข็งตามที่คุณบอก
ศรัทธาอ่อนแข็ง มันเกี่ยวกับการให้สมาทานแล้ว
ต้องทำในสิ่งที่สมาทานให้ได้
------------....................................
วิริยะ เขียน:
การรักษาอุโบสถศีล รักษาได้ทั้งที่วัดและที่บ้าน ดังตัวอย่าง ..
.. ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อ จะเป็นอุโบสถกรรมไปทั้งหมดไม่ได้
เพราะไม่ได้อธิษฐานแต่เช้า แต่ก็เป็นเพียงกึ่งอุโบสถกรรมเท่านั้น ..
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพียงเท่านี้ก็ช่างเถอะ ได้สมาทานศีลในสำนักของท่านเศรษฐี
อธิษฐานอุโบสถแล้วเข้าที่อยู่ของตน นอนนึกถึงศีลอยู่ ...
ว่าด้วยผลแห่งการรักษาอุโบสถศีลครั้งเดียว
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 306&Z=4339
---------------------------------------------------------
โฮฮับ เขียน:
วัดในที่นี้หมายถึงที่สัปปายะ และอยากทราบครับ
ในสมัยพระโพธิสัตว์ จะมีวัดจะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
จะยกตัวอย่างต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนครับ ศีลอุโบสถที่กำลังกล่าวถึง
เป็นศีลที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ไม่ใช่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ยังไม่ตรัสรู้เป็น
พระพุทธเจ้า ดังนั้นคำบอกกล่าวของท่านยังไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้น คำสอนของ
พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นคำสอนเพื่อความหลุดพ้น
ผมจะอธิบาย พระสูตรที่คุณเอามาอ้างให้เข้าใจนะครับ
พระสูตรนั้นเป็นการบอกกล่าวเล่าเรื่องนั้น ในอดีตชาติของ ท่านพระเอกุโปสถิกาภิกษุณี
ท่านบอกว่าเคยรักษาอุโบสถศีลครั้งหนื่ง ทำให้ท่านไปเกิดบนสวรรค์ เป็นมเหสีพระอินทร์
เป็นพระจักรพรรดิ์
ที่บอกมาเป็นเรื่องของผลบุญกรรมดี มันไม่ใช่การพ้นทุกข์หรือหลุดพ้นอย่างที่พระพุทธเจ้าสอน
แต่เมื่อชาติปัจจุบัน ก่อนที่ท่านเอกุโปสถิกาภิกษุณีจะบรรลุอรหันต์ เป็นเพราะท่านได้เข้ามาบวช
เป็นบรรพชิต เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าแล้ว นับเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
และที่สำเร็จเร็วเป็นเพราะจิตที่เป็นกุศลอันเป็นกรรมที่ทำมาของอดีตชาติ
ถ้าท่านเอกุโปสถิกาภิกษุณี ยังปฏิบัติแบบเดิมของท่าน
ก็คงไม่บรรลุอรหันต์ ท่านก็คงยังเวียนว่าย ดีหน่อยตรงไม่มีทุคติ
สรุปก็คือ ที่ท่านบรรลุอรหันต์ไม่เกี่ยวกับอุโบสถศีลครั้งเดียว
แต่ที่บรรลุอรหันต์เพราะปฏิบัติอุโบสถศีลตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ปฏิบัติอุโบสถศีลแบบ....อริยอุโบสถ
ไม่ใช่แบบ อดีตชาติของพระเอกุโปสถิกาภิกษุณื
เพราะมันเป็น...โคปาลกอุโบสถ อุโบสถที่เปรียบเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
พระพุทธเจ้าทรงแนะนำนางวิสาขาว่า อุโบสถศีลแบบคนรับจ้างเลี้ยงโค
มันไม่ได้เป็นหนทางหลุดพ้น ต้องเป็นอุโบสถศีลแบบ ...อริยอุโบสถเท่านั้น
การถืออุโบสถเพียงครั้งเดียวก็เป็นลักษณะ ..โคปาลอุโบสถเช่นกัน
มันไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น
43813.ศีลอุโบสถ กับ ศีล 8 เหมือนกันมั้ยค่ะ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=43813