ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:05:19 pm »


               

๖๖. อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา

    ในบทที่ ๖๖ นั้น โดยมีนัยพระบาลีว่า อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายจะมีความคับแค้นในใจก็ไม่ใช่ จะไม่เห็นก็ไม่ใช่ แต่ดับกิเลสได้ โดยอาศัยอำนาจของตนเอง โดยเนื้อความ อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา นี้ก็ได้แก่ นิโรธธรรม ด้วยอรรถว่าด้วยความเห็นและความไม่เห็น ได้แก่เมื่อนิโรธธรรมบังเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ก็ดับไป โอวาทคำสั่งสอนอันใดอันหนึ่งก็ดับไป วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ก็ไม่มีในนิโรธธรรม เพราะฉะนั้นจึงแปลว่า จะคับแค้นก็ไม่ใช่ จะเห็นก็ไม่ใช่ แต่ละกิเลสได้ด้วยความไม่ต้องเห็นนั้นก็ได้แก่พระอริยมรรค ไม่เห็นก็จริงอยู่ แต่รู้ว่าตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ ไม่มี

เปรียบเหมือนบุคคลนอนหลับฝันไปได้เห็นรูปสัตว์ต่าง ๆ มีเสือและช้างเป็นต้น บุคคลนอนหลับแลฝันไปนั้น จะเห็นก็ไม่ใช่ ถ้าจะว่าเห็นหรือ เสือช้างก็ไม่มี ถ้าจะว่าไม่เห็นหรือ ก็เห็นในฝันไปแล้ว ฉันใดก็ดี พระธรรมที่ชื่อว่า อะนิทัสสะนาปปะฏิฆา ธัมมา ก็มีอุปมาอุปไมยเหมือนกันกับบุคคลที่นอนหลับฝันไป ฉะนั้นฯ

                 

ฟังเป็นพิธี
เราทุกวันนี้ การที่ฟัง ๆ กันทุกวัน แต่ไม่ปรากฏจะได้สำเร็จมรรค สำเร็จผล
คือเราเป็นแต่ฟังเป็นพิธี มิได้ฟังถึงธรรม ถึงวินัย ถึงข้อปฏิบัติ

-http://portal.in.th/i-dhamma/pages/11118/
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 05:31:43 pm »




๖๕. อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา

    ในบทที่ ๖๕ นั้นมีพระบาลีว่า อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายบังเกิดคับแค้นขึ้นในใจเพราะความที่ไม่ได้เห็น โดยเนื้อความว่าบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อเวลาได้ประสบซึ่งความพลัดพรากจากสัตว์แลสังขารอันเป็นที่รักที่เจริญใจ หรือเวลาทรัพย์แลสมบัติฉิบหายไปด้วยภัยอันใดอันหนึ่งก็ดี ย่อมบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจเพราะความที่ไม่ได้เห็น

    ดังมีบุคคลเป็นนิทัศนอุทาหรณ์ว่า ยังมีบุรุษผู้หนึ่งไปเรียนมนต์ปลาอยู่ในสำนักของอาจารย์แห่งหนึ่ง ครั้งจำได้จนชำนิชำนาญแล้ว จึงลาอาจารย์ไปกระทำบริกรรมอยู่ที่หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำแห่งหนึ่ง ตั้วความเพียรในบริกรรมไป ๆ ก็ไม่เห็นปลามา ตัวเองบังเกิดความคับแค้นขึ้นในใจ ครั้นรู้ถึงอาจารย์ อาจารย์จึงบอกว่า ท่านอย่าบริกรรมลืมตาขึ้น ปลามันกลัว บุรุษนั้นก็กระทำตามลัทธิของอาจารย์นั่งหลับตาบริกรรมไป อาจารย์ก็จับปลามาใส่ลงในบ่อที่บุรุษนั้นบริกรรมอยู่ ครั้นบุรุษนั้นลืมตาขึ้นก็ได้เห็นปลา ก็บังเกิดความดีใจ สิ้นความคับแค้นในใจ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นจึงได้ชื่อว่า อะนิทัสสะนะสัปปะฏิฆา ธัมมา ฉะนี้ฯ


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 03:55:38 pm »


                   

๖๔. สะนิทัสสนะสัปปะฏิฆา ธัมมา

 ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๖๔ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า สะนิทัสสนะสัปปะฏิฆา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายเป็นไปกับด้วยความคับแค้นนั้น ก็เพราะความที่ได้เห็นซึ่งอนิฏฐารมณ์ อันไม่เป็นที่รักที่ปรารถนาของตน เป็นต้นว่า ได้เห็นโจรผู้ร้ายหรือได้เห็นสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ มี เสือ หมี เป็นต้น หรือบางทีได้เห็นบุคคลต่าง ๆ มีเจ้าหนี้และบุคคลผู้ประทุษร้ายแก่ตน เป็นต้น เช่นกับพระอานนท์ถึงซึ่งความคับแค้นขึ้นในใจ เพราะได้เห็นช้างนาฬิคิรีวิ่งเข้ามาจะประทุษร้ายแก่ตนกับพระพุทธเจ้า ในกาลครั้งนั้น พระอานนท์ก็บังเกิดความเดือดร้อนคับแค้นขึ้นในใจ เพราะความที่ได้เห็นฉะนี้ฯ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2012, 03:18:21 pm »





๖๓. อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๖๓ นั้นโดยนัยพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายมีภายในแลภายนอกเป็นอารมณ์ โดยเนื้อความว่า ธรรมทั้งหลายมีอารมณ์เป็น ๒ บังเกิดขึ้นพร้อมกันแล้วแลถือเอาเป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ดังนี้ เมื่อจะชี้บุคคลที่ได้สำเร้จมรรคผลธรรมวิเศษให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ก็มีที่มามากเป็นอเนกประการ

    ดังพระภิกษุ ๓๐ รูปได้เห็นพยับแดดแล้ว ก็นึกเปรียบเทียบกับกายของตนว่า ธรรมในกายของเรานี้ก็เช่นเดียวกับพยับแดดฉะนี้ ในทันใดนั้น สมเด็จพระศาสดาก็ทรงเปล่งพระรัศมีไปให้ต้องกายของพระภิกษุ ๓๐ รูปนั้น แล้วจึงทรงตรัสเทศนาว่า เอสะธัมโม สนันตะโน ธรรมดวงเดียวนี้แลเป็นธรรมของเก่า เป็นธรรมของพระอริยเจ้า ธรรมดวงเดียวเป็นธรรมของเก่านั้นคือพระนิพพานนี้เอง พระภิกษุทั้ง ๓๐ รูปนั้นก็ได้บรรลุอาสวักขัยเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ เหาะลอยมาสู่สำนักสมเด็จพระบรมศาสดา แล้วจึงกล่าวสรรเสริญซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย โดยความอธิบายว่า พระอริยเจ้าท่านเอาธรรมภายนอกเปรียบกับธรรมภายใน เอาธรรมภายในออกเป็นอารมณ์ภายนอกดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ แสดงมาในติกมาติกา บทที่ ๖๓ แต่โดยสังเขปกถาก็ยุติลงเพียงเท่านี้ฯ


ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 10:38:26 pm »

 :25: :25: :25:

ลองเอาพระอภิธรรม หลวงปู่ฝั้น  ไปเทียบกับพระอาจารย์มั่น บรมครูของหลวงปู่ฝั่นดีก่า

ว่า ขัดแย้งกันยังไง

ไม่ชัดเจนยังไง

เอาที่คุณยายเงาฝันโพสต์ ที่บอร์ดอื่น เป็นตัวอย่าง เล็กๆน้อยๆ

http://agaligohome.com/index.php?topic=4708.0

แล้วก็อันนี้

http://www.google.co.th/url?q=http://truthoflife.fix.gs/index.php%3Ftopic%3D4260.0&sa=U&ei=eQaXTurfKse8rAfjsPWFBA&ved=0CBAQFjAA&usg=AFQjCNFfzJj8Y_22YPOg41b4DUPmllor-A

อ่อ ฝากคุณยายเงาฝัน โพสต์อภิธรรมหลวงปู่มั่น ในบอร์ดนี้ด้วยอ่า
และก็ฝากโพสต์ในบอร์ด คุณยายโกวโฮม ด้วยอ่า
แล้วก็บอร์ดสุขใจด้วยอ่า
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 09:40:37 pm »

 :25: :25: :25:


โดยความอธิบายว่า ความไม่สงบระงับใจ คือความเดือดร้อนขึ้นในใจ แต่ใจนั้นก็เป็นธรรมชาติดิ้นรนเดือดร้อนอยู่โดยปกติธรรมดาของตนแล้ว มิหนำซ้ำยังเอาธรรมภายนอก ซึ่งมิใช่ธรรมเครื่องระงับเข้ามาเป็นอารมณ์อีกเล่า ก็ยิ่งร้อนหนักทวีขึ้นไป เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนแก่พุทธบริษัททั่วไปว่า ธรรมภายนอกไม่ใช่ธรรมเครื่องระงับ และไม่ใช่ธรรมของเราตถาคต ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า พะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้


 :25: :25: :25:

ไม่ชัดเจน

ธรรมชาตินั่น นั่นเป็นธรรมชาติของจิต? หรือเจตสิก ? หรือใจกันแน่ น๊า ?
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2011, 12:27:05 pm »



                     

๖๒. พะหิทธารัมมะณา ธัมมา

    ในบทที่ ๖๒ นั้นมีพระบาลีว่า พะหิทธารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันมีอารมณ์เป็นภายนอก โดยเนื้อความว่า บุคคลทั้งหลายเมื่อได้ประสบซึ่งเวทนาอันใดอันหนึ่งแล้ว ก็ย่อมเอารูปเป็นอารมณ์ เพราะรูปนั้นเป็นพาหิรกธรรมภายนอก ส่วนเวทนานั้นก็หาได้ระงับลงไม่ กลับได้เสวยซึ่งเวทนากล้ายิ่ง ๆ ยิ่งขึ้นไป เปรียบเหมือนจันทคหาบัณฑิต ที่ได้ประสบซึ่งความทุกขเวทนาแล้ว แลเพ่งเอารูปภายนอกเป็นอารมณ์ จนถึงแก่ความตายไปด้วยพวกโจรนั้น

    โดยความอธิบายว่า ความไม่สงบระงับใจ คือความเดือดร้อนขึ้นในใจ แต่ใจนั้นก็เป็นธรรมชาติดิ้นรนเดือดร้อนอยู่โดยปกติธรรมดาของตนแล้ว มิหนำซ้ำยังเอาธรรมภายนอก ซึ่งมิใช่ธรรมเครื่องระงับเข้ามาเป็นอารมณ์อีกเล่า ก็ยิ่งร้อนหนักทวีขึ้นไป เพราะเหตุนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนแก่พุทธบริษัททั่วไปว่า ธรรมภายนอกไม่ใช่ธรรมเครื่องระงับ และไม่ใช่ธรรมของเราตถาคต ดังนี้ เพราะฉะนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า พะหิทธารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2011, 11:33:03 am »




๖๑. อัชฌัตตารัมมะณา ธัมมา

    ในลำดับนี้จะได้วิสัชนาในติกมาติกาบทที่ ๖๑ สืบต่อไป โดยนัยพระบาลีว่า อัชฌัตตารัมมะณา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันมีอารมณ์เป็นภายใน โดยเนื้อความว่า พระโยคาวจรเจ้าผู้แสวงหาซึ่งความสุขสำราญใจ แลมาเจริญญาณสมาบัติให้บังเกิดขึ้นในตน เพราะฌาณสมาบัตินั้นเป็นธรรมบังเกิดขึ้นในภายใน ท่านทั้งหลายเหล่านี้ย่อมแสวงหาแต่ความระงับ เพ่งเอาแต่สมาบัติให้เป็นอารมณ์ เช่นเดียวกับสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตร เมื่อเวลาเขาจะเอาไปฆ่า พระสารีบุตรจึงไปเตือนให้สติ ก็ระลึกถึงฌาณที่ตนเคยได้เจริญนั้นได้ ก็เพ่งฌาณความระงับนั้นให้เป็นอารมณ์แล้ว ก็เหาะหนีรอดความตายไปได้

    โดยความอธิบายว่า ก็ได้แก่ธรรมที่เย็นใจ ความบริสุทธิ์ใจเย็นใจนี้แล เป็นธรรมภายในแผ่ซ่านออกไปให้เป็นอารมณ์ในภายนอก บุคคลจะได้ประสบซึ่งความสุขกายสบายจิตทั้งภายในแลภายนอกนั้น ก็ต้องอาศัยธรรมภายในดวงเดียว มีความบริสุทธิ์ใจแผ่ซ่านออกไปเป็นอารมณ์ภายนอก ธรรมภายนคือความบริสุทธิ์ภายในใจดวงเดียวนี้แล ย่อมสามารถจะยังสรรพทุกข์ภัยอุปัทวันตรายทั้งปวงให้เข้าไประงับดับเสียได้ สมดังนัยพระพุทธสุภาษิตว่าปะริตตัง พุทธมันตานัง ปะวะรัง สัพพะมันตานัง อัชฌัตติกะพาหิเรชาตัง อันตะยายัง วิสาสะนัง ปะริตตา นุภาเวนะ ละภันติ สัพพะมังคะลัง ดังนี้

    โดยความอธิบายว่า ธรรมภายในคือใจบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์นั้นเรียกว่าธรรมมีประมาณน้อย ปะริตตัง แปลว่า พระนิพพาน เป็นธรรมมีประมาณน้อย ธรรมน้อยดวงเดียวนี้แล พุทธะมันตานัง เป็นมนต์ของพระพุทธเจ้า ปะวะรัง สัพพะมันตานัง และเป็นมนต์อันประเสริฐกว่ามนต์ทั้งปวง อัชฌัตติกะพาหิเรชาตัง อันตะรายัง วิสาสะนัง อันตรายอันหนึ่งอันใดซึ่งบังเกิดมีภายในแลภายนอก ก็ย่อมเสื่อมสูญไปโดยอำนาจแห่งพระปริตต์ คือพระนิพพานเป็นธรรมมีประมาณน้อยนี่เอง ปะริตตา นุภาเวนะ ละภันติ สัพพะมังคะลัง สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้ประสบซึ่งความสุขสำราญใจก็ได้เพราะอานุภาพแห่งพระปริตต์อันเป็นธรรมมีอารมณ์ภายในอย่างเดียว เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อัชฌัตตารัมมะณา ธัมมา ฉะนี้ฯ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2011, 10:37:40 am »


                      

๖๐. อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา   

    ในบทที่ ๖๐ นั้นมีพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา แปลว่า ธรรมทั้งหลายอันมีทั้งภายในและภายนอก โดยเนื้อความว่า ธรรมที่จัดเป็นภายในภายนอกนั้น ก็เป็นเหตุอาศัยซึ่งกันและกันไป ธรรมภายในก็เป็นเหตุให้ละกิเลสภายนอกได้ ธรรมภายนอกก็เป็นเหตุให้ละกิเลสภายในได้ เปรียบเหมือนหนึ่งพระปทุมกุมารได้ทัศนาการเห็นดอกปทุมชาติบัวหลวงแล้ว ก็บังเกิดโยนิโสมนสิการ พิจารณาเห็นโดยพระไตรลักษณญาณแล้ว ก็ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยอำนาจพระไตรลักษณญาณ แต่ต้องอาศัยธรรมภายนอก คือดอกปทุมชาติบัวหลวงเป็นเหตุก่อน จึงสำเร็จได้ เพราะเหตุนั้นจึงสมกับพระบาลีว่า อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา ดังนี้
 
    อีกประการหนึ่งความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็จัดเป็น พาหิระกะธรรม เพราะเป็นธรรมเกิดขึ้นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ต้องอาศัยเหตุภายนอกคือมารดาบิดาก่อน จึงจะบังเกิดขึ้นได้ วิญญาณนั้นไซร้เป็นธรรมภายใน มารดาบิดาเป็นธรรมภายนอก ความแก่นั้นก็มี ๒ ประการ คือ ปฏิจฉันนะชรา ความแก่ภายใน ๑ อัปปฏิจฉันนะชรา ความแก่ภายนอก ๑ พยาธิ ความเจ็บกายไม่สบายใจก็มีอยู่ ๒ คือ ความเจ็บปวดบังเกิดขึ้น ความไม่สบายในใจ เจ็บใจ แค้นใจ จัดเป็นอัชฌัตติกธรรมภายใน ความตายเป็นพาหิรกธรรมภายนอก ความตายก็มีอยู่ ๒ ประการ คือ ตายด้วยโรคบังเกิดขึ้นภายในกาย เรียกว่า อัชฌัตตมรณธรรมภายใน ๑ ตายด้วยเครื่องศาสตราวุธ เป็นต้น อันเกิดขึ้นด้วยความเพียรของท่านผู้อื่น เรียกว่า พาหิรกมรณธรรมภายนอก ๑ เพราะเหตุนั้นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้นเหล่านี้ เมื่อจะกล่าวถึงโศกปริเทวทุกข์ต่าง ๆ นั้นแล้ว ก็มีนัยเช่นเดียวอย่างเดียวกัน บางทีบังเกิดแต่เหตุภายในอาศัยเหตุภายนอกก็มี บางทีบังเกิดแต่เหตุภายนอกอาศัยเหตุภายในก็มี เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อัชฌัตตะพะหิทธา ธัมมา นี้ แก้ไขมาในติกมาติกาบทที่ ๖๐ แต่โดยสังเขปเพียงเท่านี้ฯ
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: ตุลาคม 06, 2011, 11:22:15 pm »

 :25: :25: :25:

รวมเป็นสาม กุศลาธรรมา อกุศลาธรรมา อัพยากตาธรรมา