ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 07:25:37 pm »


               

๑๑๑. ปฏิบัติธรรมสี่สิบปี

พระอาจารย์ท่านหนึ่งสนใจเรื่องของศาสนาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
และก็ออกบวชตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม ศึกษาธรรมอยู่ระยะหนึ่ง
แล้วก็ขึ้นไปสร้างกระท่อมเป็นที่พักอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง

ยามปกติก็จะดื่มน้ำในลำธารแก้กระหาย ทุกวันฉันเพลด้วยผลไม้
เพียงมื้อเดียวเท่านั้น เป็นอย่างนี้ทุกวันจนเวลาล่วงเลยจากวันเป็นปี



วันหนึ่งมีชายตัดฝืนเดินผ่านกุฏินั้น เห็นพระอาจารย์เข้า จึงถามขึ้นด้วยความแปลกใจว่า
“ท่านปฏิบัติธรรมอยู่ที่นี่นานแค่ไหนแล้ว?”
“ประมาณสี่สิบหน้าหนาวแล้ว”

“ท่านบำเพ็ญอยู่ที่นี่เพียงรูปเดียวหรือ?”
"ในป่าลึกอย่างนี้ ภาวนาเพียงคนเดียวก็นับว่าเยอะแล้ว จะต้องให้มีคนเยอะๆทำไม?”
“หรือว่าท่านไม่มีสหายธรรมเลยหรือ?”

พระอาจารย์เลยตบมือขึ้นสามครั้ง สิ้นเสียง ก็มีเสือกลุ่มหนึ่งเดินออกมา
ชายตัดฟืนเห็นแล้วก็สะดุ้งสุดตัว พระอาจารย์บอกว่าไม่ต้องกลัว
แล้วสั่งให้เสือเดินออกไป

             

พระอาจารย์พูดต่อว่า “เจ้าคงเห็นแล้วซินะ สหายข้ามีเยอะแยะ
ภูเขาแม่น้ำผืนดิน ต้นไม้ต้นหญ้าไม้ดอก จิ้งจอกหนอนเสือ ล้วนแต่เป็นเพื่อนของข้า”

     ชายตัดฟืนได้ยินได้เห็นแล้วก็รู้สึกศรัทธายิ่งนัก
     จึงตัดสินใจบวชเข้ามาสู่ร่มกาสาวพัสตร์

              ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็มีผู้มาปฏิบัติธรรมหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย
ที่นั่นมีเมฆขาวลอยฟูฟ่องผ่านเขาเขียวขจี
มีต้นไม้ใบหญ้าอยู่คอยต้อนรับผู้คน
              มีเสือเดินกวางผ่าน มีนกบินมีเสียงแมลงหรีดร้องเรไร
       ที่สุดก็กลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่เผยแพร่ลัทธิเซนแห่งใหญ่แห่งหนึ่ง


Credit by - http://www.whatami.net/zen/zen23.html
ที่มา :http://www.thummada.com/

กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 02:58:27 pm »


           

๑๑๐. เปรียบเทียบใหญ่เล็ก

มีพระธุดงค์จากสองวัดใหญ่ในประเทศเกาหลีเมื่อธุดงค์มาเจอกัน เลยเดินทาง
ไปธุดงค์ด้วยกัน เมื่อนั่งพักอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ต่างคนต่างพูดถึงวัดของตนเอง



พระรูปหนึ่งพูดว่า “วัดที่อยู่นับว่าเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดและมีพระอาศัยอยู่มากที่สุด
ในประเทศ”
“พระอีกรูปหนึ่งพูดว่า “วัดที่ข้าอยู่ ทุกครั้งที่ข้าจะฉันข้าว ต้องนั่งเรือไปตักแกงจืดที่อีกฟากหนึ่งแน่ะ”
พระรูปที่หนึ่งพูดต่อว่า “ พวกเราที่อยู่ในวัดเมื่อนั่งถ่ายทุกข์ ต้องคอยถึงสามนาที
ถึงจะได้ยินเสียงอุจาระกระทบน้ำ”

บังเอิญใต้ร่มไม้ใกล้ๆกันนั้นมีพระอีกรูปหนึ่งนั่งอยู่ พูดขึ้นมาว่า “วัดที่ข้าอยู่ถึง
จะเป็นวัดที่ใหญ่จริง เพราะพระทุกรูปที่อยู่ในวัดล้วนแต่มีความว่างเปล่า
พวกเจ้าทั้งสองสามารถออกไปจากความว่างเปล่านี้ได้หรือเปล่า?”

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 04, 2012, 08:06:02 pm »



                 

๑๐๙. ชงชา

ขณะที่พระศิษย์พี่รูปหนึ่งกำลังยกยามาให้พระศิษย์น้องที่นอนป่วย
อยู่บนเตียง พูดขึ้นว่า “ถึงเวลากินยาแล้ว ศิษย์น้อง”
ศิษย์น้องค่อยๆลืมตาขึ้นมาแล้วพูดว่า “ศิษย์พี่ ถ้าหากทิ้งเปลือก
เปล่าๆนี้แล้ว พวกเรายังจะพบกันได้ที่ไหนอีก?”
ศิษย์พี่ยิ้มๆแล้วพูดว่า “ที่ที่ไม่เกิดไม่ดับ แล้วแต่กรรมสัมพันธ์จะพาไป”

“ท่านทำไมถึงพูดจาไม่สร้างสรรค์เลย ทำไมไม่พูดว่า ในจักรวาล
นี้ทุกแห่งหนล้วนแต่มีกรรมสัมพันธ์ เมื่อทุกๆที่เราก็พบกันได้ ทำไม
จะต้องมาจำกัดว่าจะต้องไปพบกันที่ๆไม่เกิดและไม่ดับ”



ศิษย์พี่ได้ยินพูดอย่างนั้นแล้ว ก็ไม่พูดอะไร ลุกขึ้นยืนแล้วหยิบหมวก
ทำท่าจะเดินออกไป ศิษย์น้องจึงถามว่า “หยิบหมวกทำไม?”
“กันลมกันฝน ใช้ประโยชน์ได้เองแหละ”
“เมื่อออกไปข้างนอก ลมพัดทีเดียวก็บินไปแล้ว แล้วจะทำอะไรได้
แล้วกายเนื้อรวมทั้งเปลือกนอกนี้ เมื่ออนิจจังของ
ความเป็นความตายมาถึง ไม่ใช่กลายเป็นเถ้าถ่านสูญสลายไปหรือ?”

                       
                       

“อย่างน้อยก็ยังพอจะมีอะไรปกปิด คงจะมีประโยชน์อะไรบ้างหรอก” ศิษย์พี่ตอบ
“ชีวิตใหญ่อย่างนี้ จะปกปิดอะไรได้สักเท่าไหร่”
“ศิษย์น้อง แม้ชีวิตคนเราจะดูเหมือนว่างเปล่า ไม่มีอะไรน่า
จะเหลือไว้ให้อาลัยอาวรณ์ แต่อย่างน้อยก็ควรจะมีชีวิตอยู่อย่าง
ให้มีรสชาติของการไม่ยึดติดและกังวล ทำอย่างนี้ถึงจะมีความหมาย
ของชีวิตที่ไม่ดับชั่วนิรันดร์”

             

ศิษย์น้องได้ฟังแล้วก็ค่อยๆลุกจากเตียง ไปหยิบใบชาจากลิ้นชัก
ลงใส่กาแล้วเติมน้ำ ศิษย์พี่เห็นแล้วรีบเข้าไปประคอง
“เจ้าคิดจะทำอะไร? ยังไม่หายไข้ลงจากเตียงทำไม
รีบกลับไปนอนเถิด”
“ข้าจะชงชา”
“ชงชา ชงให้ใครดื่ม?”
“มีคนหนึ่งจะดื่ม”
แล้วทำไมคนนั้นเขาไม่ชงเอง”
ดีนะ ที่ข้ายังมีเปลือกเปล่าอันนี้อยู่ ยังอยากมีชีวิตอยู่อย่างมีรสชาติ

                   

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 10:25:52 pm »



               

๑๐๘. หานซานกับสือเต๋อ

หานซานเป็นอุบาสกที่อาศัยอยู่ในวัด ไม่ได้บวช ไม่ได้ปฏิบัติธรรม
ได้แต่แต่งกลอนผ่านไปวันๆ ไม่ได้สนใจแม้จะกินข้าวปลาอาหาร
บางครั้งไปกินข้าวที่เหลือๆจากในครัว จึงทำให้รู้จักและสนิทสนม
กับสือเต๋อซึ่งทำงานอยู่ในครัว พวกเขาพูดคุยได้ทุกเรื่อง บางครั้ง
สนุกสนานจนลืมตัว พระและคนในวัดต่างก็คิดว่าสองคนนี้ ไม่ค่อยจะเต็ม

วันหนึ่งขณะที่สือเต๋อกวาดลานวัดอยู่ ภิกษุชรารูปหนึ่งถามเขาว่า
“ชื่อของเจ้าคือสือเต๋อ เป็นชื่อที่ท่านเจ้าอาวาสตั้งให้ แปลว่าเก็บได้
เพราะท่านเก็บเจ้ามาจากในป่า แล้วชื่อจริงของเจ้าคืออะไร?”

               

สือเต๋อวางไม้กวาดแล้วไม่พูดอะไร แต่ในใจเต็มไปด้วยความเศร้าโศก
ภิกษุชราก็รู้สึกไม่ค่อยดี จึงไม่ได้ถามอะไรต่อไป แล้วก็เดินเลี่ยงไป

หานซานอยู่ใกล้กับที่นั่นพอดี จึงทุบอกแล้วส่งเสียงดังว่า “สวรรค์ สวรรค์”
สือเต๋อจึงถามว่า “เจ้าตะโกนอะไร?”
“บ้านทางทิศตะวันออกมีคนตาย แต่ไปแขวนพวงหรีดที่บ้านทางทิศตะวันตก
เจ้าไม่เคยได้ยินคำนี้หรือ?”
ว่าแล้วทั้งสองก็หัวเราะเสียงดัง กระโดดโลดเต้นอย่างสนุกสนาน

                 

ทุกๆเดือนที่วัดจะจัดให้มีการปฏิบัติและบรรยายธรรม หานซานและสือเต๋อ
ก็มักจะอยู่ร่วมปฏิบัติด้วยเสมอ ขณะเมื่อทุกคนสวดมนต์เสร็จแล้ว
สือเต๋อพูดขึ้นว่า “พวกเจ้ามาสวดมนต์ทุกๆเดือน ทุกๆวัน สวดได้อะไรขึ้นมาบ้าง?”
ผู้บรรยายธรรมวันนั้นโกรธมาก พร้อมกับด่าว่าต่างๆนานา
หานซานซึ่งอยู่ที่นั่นด้วยพูดขึ้นว่า

“ข้าเคยได้ยินมาว่า ไม่โกรธคือการถือศีล จิตสงบคือการถือบวช
ท่านพูดจาทำร้ายจิตใจคน จิตเดิมแท้ของพวกเราก็เหมือนกับจิต
ของท่าน เพียงแต่เราไม่ได้ผ่านพิธีการบวชก็เท่านั้น”

               

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 08:28:08 pm »



               

๑๐๖. พระอาจารย์กับขอทาน

มีขอทานที่มีแขนเพียงข้างหนึ่ง มาขอทานที่วัดกับพระอาจารย์ท่านหนึ่ง
พระอาจารย์พูดขึ้นมาอย่างไม่เกรงใจและชี้ไปที่กองอิฐที่อยู่ริมกำแพงวัดว่า
“เจ้าขนย้ายกองอิฐนี้ไปที่หลังวัดก่อน”

ขอทานนั้นพูดขึ้นมาอย่างขัดเคืองว่า “ข้าพเจ้ามีแขนเพียงข้างเดียว จะย้าย
อิฐเหล่านี้ได้อย่างไร? ไม่อยากจะให้ ก็ไม่ต้องให้ ทำไมต้องกลั่นแกล้งกันด้วย?”
พระอาจารย์ไม่พูดอะไร แต่ใช้แขนข้างหนึ่งยกอิฐขึ้นมาแล้วพูดว่า
“งานอย่างนี้ มีแขนข้างเดียวก็ทำได้”

ขอทานนั้นจึงใช้แขนข้างเดียวนั้นยกอิฐ ใช้เวลาไป 2 ชั่วโมง ถึงจะขนย้ายอิฐนั้นหมด
พระอาจารย์จึงให้เงินกับขอทานนั้นไป ขอทานนั้นกล่าวขอบคุณด้วยความซาบซึ้ง
“ไม่ต้องมาขอบคุณข้า เงินเหล่านี้เป็นค่าแรงของเจ้า”
“ข้าพเจ้าไม่มีวันลืมท่าน”พูดจบก็แสดงความคารวะอย่างจริงใจ แล้วลาจากไป

ผ่านไปสักระยะหนึ่งก็มีขอทานอีกคนหนึ่งมาขอทานที่วัด พระอาจารย์พาเขาไปที่
กองอิฐหลังวัด แล้วชี้ไปที่กองอิฐพร้อมกับพูดว่า
“ย้ายกองอิฐไปที่หน้าวัดแล้วจะจ่ายค่าแรงให้”
ขอทานที่มีแขนขาครบกับมองอย่างเหยียดหยามแล้วเดินจากไป

เหล่าลูกศิษย์ไม่เข้าใจถามพระอาจารย์ขึ้นมาว่า “ครั้งก่อนให้ขอทานย้ายอิฐจากหน้าวัดไปหลังวัด
ครั้งนี้สั่งย้ายจากหลังวัดไปหน้าวัด ท่านต้องการจะให้อิฐไปไว้ที่ไหน?”
“อิฐจะไว้ด้านหน้าหรือด้านหลังก็เหมือนกัน แต่การจะเคลื่อนย้ายหรือไม่นั้น
ในแง่ของขอทานย่อมจะต่างกัน” พระอาจารย์ตอบ

หลายปีผ่านไป มีคหบดีท่านหนึ่งมาที่วัดลักษณะท่าทางดูสง่างาม แต่ที่ขาดก็คือ
มีแขนเพียงข้างหนึ่ง เขาคือผู้ที่ใช้แขนข้างเดียวเคลื่อนย้ายอิฐ ตั้งแต่พระอาจารย์
ใช้ให้เขาทำงาน เขาถึงรู้คุณค่าของตัวเอง หลังจากนั้นก็อาศัยตัวเองต่อสู้อุปสรรค
ต่างๆจนประสบความสำเร็จในชีวิต แต่ขอทานที่มีแขนขาครบ ยังคงขอทานตลอดไป

               

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2012, 08:18:06 pm »



               

๑๐๕. ไม่มีเวลาแก่

มีพระรูปหนึ่ง หลังจากที่ไปศึกษาเล่าเรียนและไปฝึกปฏิบัติธรรมตามสำนักต่างๆ
ผ่านไปถึง 20 ปี ก็กลับมาอยู่กับพระอาจารย์ฝ๋อกวงตามเดิม

เมื่อกลับมาถึงก็บอกเล่าทุกข์สุขและสิ่งที่ได้เล่าเรียน เพื่อที่จะให้พระอาจารย์ทดสอบ
ว่าตัวเองปฏิบัติธรรมไปถึงไหนแล้ว พระอาจารย์นั่งฟังอย่างตั้งใจ ด้วยแววตาที่เต็ม
ไปด้วยเมตตาจิต

แล้วลูกศิษย์ก็ถามพระอาจารย์ว่า “20ปีที่ผ่านมานี้ ท่านอาจารย์ทำอะไรไปบ้าง?”
“ทุกวันอาจารย์ก็สอนศิษย์ บรรยายธรรม เขียนคัมภีร์ รู้สึกถึงสิ่งดีงามของทุกวัน
ทุกๆวันก็ทำแต่สิ่งที่เป็นสาระประโยชน์ และมีความสุข”

“พระอาจารย์ทำอย่างนี้เหนื่อยและหนักเกินไปแล้ว ควรจะต้องนึกถึงการพักผ่อน
บ้าง ดูแลร่างกายและสุขภาพ มิฉะนั้นท่านจะต้องแก่แน่ๆ”

พระอาจารย์ตอบว่า “ข้าไม่มีเวลาแก่ กลางวันต้องคอยต้อนรับและบรรยายธรรม
ให้กับผู้มีจิตศรัทธา กลับมาที่ห้องพักยังต้องคอยอ่านข้อความที่ลูกศิษย์เขียนมา
ถามธัมมะ แล้วยังต้องเขียนคัมภีร์ ทุกวันก็ต้องอยู่กับสิ่งที่ทำที่ไม่รู้จักหมด แล้วไหน
จะยังมีเวลาที่รู้สึกว่าแก่ ? คนบางคนแม้จะยังหนุ่มแน่น แต่กายและจิตที่อ่อนล้า
ก็รู้สึกว่าตัวเองแก่แล้ว บางคนอายุมากแล้วแต่ในจิตยังกล้าแกร่ง ยังรู้สึกมีกำลัง
วังชาเต็มเปี่ยม สุขภาพดีเยี่ยม”

ตอนรุ่งสางพระรูปนั้น ได้ยินเสียงสวดมนต์และเสียงเคาะปลาไม้แว่วแผ่วมา
การปฏิบัติตนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยของพระอาจารย์โดนจิตให้กับพระรูปนั้น
ยิ่งนัก ในหูยังเหมือนกับได้ยินพระอาจารย์พูดว่า “ข้าไม่มีเวลาแก่”
การใช้ชีวิตและปฏิบัติตนเช่นนี้ทำให้ผู้คนศรัทธาและเลื่อมใสยิ่งนัก

               

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 06:32:15 pm »



         

๑๐๔.วางลงตั้งนานแล้ว

พระอาจารย์และพระอีกรูปหนึ่งขณะที่เดินทางจะข้ามคลองแห่งหนึ่ง
เนื่องจากช่วงนั้นเป็นหน้าฝน น้ำในคลองจึงลึกมากกว่าปกติ เห็น
หญิงสาวแต่งกายด้วยผ้าไหมสวยงามคนหนึ่ง ยืนลังเลและไม่กล้า
จะข้ามไป เพราะไม่แน่ใจว่าน้ำในคลองนั้นจะลึกแค่ไหน

พระอาจารย์จึงอุ้มหญิงสาวนั้นข้ามน้ำไป พระอีกรูปหนึ่งเห็นสภาพนั้น
แล้วรู้สึกไม่สบายใจยิ่งนัก เก็บความอึดอัดใจไว้จนค่ำจึงพูดขึ้นว่า
“พวกเราบรรพชิตไม่ควรจะเข้าใกล้หญิงสาว และยิ่งเป็นสาวแรกรุ่น
และสวยงามก็จะยิ่งเป็นอันตรายมากเพิ่มขึ้นไปอีก ทำไมท่านถึง
ล่วงละเมิดต่อศีลเช่นนี้?”

“ เจ้าพูดถึงหญิงสาวที่ข้ามคลองคนนั้นหรือ?
ข้าวางหล่อนลงตั้งนานแล้ว
ทำไมเจ้าถึงยังอุ้มหล่อนอยู่อีก”

           

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 05:23:58 pm »



           

๑๐๓. ลมพัด ธงสะบัด หรือจิตไหว

ท่านเว่ยหล่างหลังจากรับตำแหน่งสังฆปรินายกองค์ที่ 6 ก็หลบหนีการแย่งชิงบาตร
และจีวรจากศิษย์ร่วมสำนักไปอยู่กับพรานในป่าถึง 15 ปี จึงกลับเข้ามาในเมืองอีก

วันหนึ่งขณะที่เดินผ่านวัดแห่งหนึ่ง ในวัดกำลังมีงานพิธีบูชาธง เพื่อให้เกิดความ
เป็นสิริมงคล ฝนตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ พิธีนี้ต้อง
จัดถึง 49 วัน ทุกๆวันนอกจากช่วงหัวรุ่งหรือช่วงบ่ายที่หยุดพักผ่อน
นอกจากนั้นจะต้องสวดมนต์ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

พิธีบูชาธงเริ่มต้นจะต้องเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา ธงนั้นเป็นรูปยาวรี ทำจากผ้าแถบ
ยาวๆ สีแดง น้ำเงิน ขาว และดำ เขียนคำว่า “พุทธะ” ไว้ด้านบน ด้านล่าง
ทำเป็นพู่ยาวๆ 7 เส้น หากพู่เจ็ดเส้นนั้นพันรวมกันเป็นเส้นเดียวกัน แสดงว่า
พระโพธิสัตว์เดินทางมาถึงแล้ว มารับเครื่องสักการะของปวงชน แล้วก็จะคุ้มครอง
ปกปักรักษาหมู่ผู้ศรัทธา ให้มีความสุขความร่มเย็นตลอดปี

หากปลายพู่เจ็ดเส้นนั้นเดี๋ยวคลาย เดี๋ยวเป็นเส้นเดียวกัน สุดท้ายก็คลายหมด
แสดงว่าการบูชาธงครั้งนี้ไม่ได้บรรลุจุดประสงค์ ยังต้องใช้วิธีการขั้นสูงต่อไป

หลังจากพิธีบูชาธงเสร็จสิ้นลง ท่านเจ้าอาวาสได้ถามเหล่าลูกศิษย์ว่า
“พวกเจ้าดูนั่นทำไมธงถึงสะบัดไปมา?”

“เป็นเพราะธงพลิ้วไหว” คนหนึ่งตอบ
“ไม่ใช่ธงพลิ้วไหว ธงไม่ใช่สิ่งมีชีวิต จะพลิ้วไหวไปมาได้อย่างไร เป็นเพราะลม” อีกคนตอบ
“ทั้งธงและลม ก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องเป็นสองสิ่งรวมกัน จึงจะสะบัดได้”

ท่านเว่ยหล่างเดินเข้ามาคำนับพร้อมกับพูดว่า
“บางท่านว่าธงพลิ้วไหว บางท่านว่าเป็นเพราะลม บางท่านว่าสองสิ่งรวมกัน
แต่ข้าพเจ้าว่าเป็นเพราะจิตผู้ดูไหวก็เท่านั้นเอง

           

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 05:16:39 pm »



           

๑๐๒. ล้างหน้าปฏิวัติใจ

พระอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นคนเคร่งครัดปฏิบัติธรรมมาก
ชั่วชีวิตของท่านไม่เคยที่จะเบื่อหน่ายและเกียจคร้านต่อการปฏิบัติ
เมื่อล่วงเลยเข้าสู่วัยชรา ก็มีข่าวมาจากที่บ้านเกิดว่า หลานชาย
ของท่าน วันๆเอาแต่กินเหล้าเคล้านารีและเหล้า ไม่ยอมทำมาหากิน
ที่บ้านของพี่สาวของท่านแทบจะหมดเนื้อหมดตัวแล้ว ผู้เป็นบิดา
อยากจะนิมนต์ท่านให้กลับไปเทศน์โปรดหลานชาย
เผื่อจะได้กลับเนื้อกลับตัว ประพฤติตนเป็นคนดีต่อไป

พระอาจารย์จึงเดินทางกลับไปที่บ้านเกิด หลานชายเห็นหลวงลุงกลับมา
รู้สึกดีใจยิ่งนัก สนทนาพูดคุยกับหลวงลุงถูกคอยิ่งนัก

พระอาจารย์นั่งสมาธิอยู่บนเตียงทั้งคืน ครั้นรุ่งเช้าก็จะลาจากไป
พูดกับหลานชายว่า “ข้าคิดว่าข้าคงแก่แล้วจริงๆ สองมือก็สั่นตลอดเวลา
เจ้าช่วยผูกเชือกรองเท้าให้ข้าหน่อยได้ไหม?”

หลานชายดีใจที่ได้ปรนนิบัติหลวงลุงยิ่งนัก พระอาจารย์กล่าวว่า
“ขอบใจนะ เจ้าดูซิ คนเราเมื่อยามแก่ สังขารก็เสื่อมลงไปทุกวันทุกวัน
เจ้าต้องดูแลรักษาตัวเองให้ดีนะ ฉวยโอกาสที่ยังหนุ่มยังแน่น ประพฤติตน
ให้เป็นคนดี สร้างพื้นฐานของชีวิตให้มั่นคง”

พระอาจารย์พูดจบก็ลาจากไป ไม่เอ่ยตำหนิถึงความประพฤติที่เลวร้าย
ของหลานชายแม้แต่คำเดียว แต่ว่าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลานชายของ
ท่านก็ไม่เคยประพฤติตนเป็นคนเสเพลอีกเลย

           

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2012, 05:12:31 pm »



             

๑๐๑. กลิ่นอายแห่งการฆ่า

ราชวงศ์ซ่งมีนายพลท่านหนึ่ง ขณะเมื่อทำสงครามเสร็จสิ้น
เคลื่อนพลผ่านอารามแห่งหนึ่ง เหล่าภิกษุในอารามรู้ดีว่า นายพลท่านนี้
มุทะลุดุดัน ทุกคนเลยหนีไปซ่อนจนหมด เหลือแต่เจ้าอาวาสที่นั่ง
สมาธิอยู่หน้าพระประธาน

นายพลนั้นเรียกท่าน ท่านก็ไม่สนใจ แล้วก็ยังไม่ยังไม่สนใจจะมองด้วย
นายพลนั้นเห็นแล้วก็โมโหยิ่งนัก พูดว่า “กองทัพของข้าผ่านมาที่นี่
ทำไมเจ้าแม้แต่ทักทายสักคำก็ยังไม่มี? ท่านกล้าเสียมรรยาทเช่นนี้
ไม่รู้เลยหรือว่า คนที่ยืนอยู่เบื้องหน้าเจ้านี้ คือนายพลที่ฆ่าคนได้โดยไม่
ทันได้กระพริบตาเลยหรือ?


พระอาจารย์ได้ยินแล้วจึงลืมตาขึ้นมา แล้วพูดว่า “นายพลที่ขึ้นเสียงขู่คำราม
ต่อหน้าพระ ช่างไร้มรรยาทสิ้นดี แล้วเจ้าไม่กลัวเหตุต้นผลกรรมที่จะตอบสนองหรือ?”
อะไรเหตุต้นผลกรรมที่จะตอบสนองหรือไม่สนอง แล้วเจ้าไม่กลัวตายหรือ?
“แล้วเจ้าไม่รู้เลยหรือว่า คนที่นั่งอยู่หน้าเจ้านี้ เป็นพระที่ไม่กลัวความตายเลย


นายพลท่านนั้นรู้สึกอึ้งในความกล้าของพระอาจารย์ท่านนี้ และก็ถูกความนิ่ง
สงบของท่านสยบให้ยอมอยู่ในทีพูดเสียงอ่อนขึ้นว่า
อารามใหญ่โตขนาดนี้ ทำไมจึงเหลือท่านเพียงคนเดียว รูปอื่นๆไปไหนกันหมด?
"เพียงแต่เจ้าตีกลองขึ้นมา เมื่อคนอื่นๆได้ยินเสียงกลองก็จะกลับมา”พระอาจารย์ตอบ

นายพลท่านนั้นจึงตีกลองขึ้นอย่างรุนแรง ตีอยู่นาน ก็ไม่มีผู้ใดเดินออกมา
จึงพูดขึ้นว่า “ตอนนี้ก็ตีกลองแล้ว ทำไมไม่เห็นมีใครกลับมาเลย?
“เป็นเพราะว่าตอนที่ท่านตีกลอง กลิ่นอายแห่งการฆ่าแฝงอยู่อย่างมากมาย
เจ้าลองสวด “นะโมไปตีกลองไป แล้วดูซิ

นายพลท่านนั้นเลยตีกลองไปสวดไป ไม่นานพระที่แอบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ
ก็ค่อยๆทยอยออกมา นายพลนั้นรู้สึกแปลกใจยิ่งนัก จึงถามพระอาจารย์ท่านนั้น
ว่าชื่ออะไร เมื่อนายพลท่านนั้นรู้ชื่อแล้วถึงกับคุกเข่า แล้วก็ขอโทษอย่างนอบน้อม
พร้อมกับพูดว่า “ที่แท้คือพระอาจารย์ที่มีภูมิธรรมสูงส่งและมีชื่อเสียงลือนามไปทั่ว
ท่านอาจารย์ โปรดได้ช่วยชี้แนะว่า “เมื่ออยู่ในสงครามทำอย่างไรจึงจะชนะ?
ข้าไม่รู้” พระอาจารย์ตอบ