ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 11:22:44 am »

ปัจจัยที่ทำให้เราไม่ก้าวหน้าในงาน
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358487718&grpid=&catid=02&subcatid=0207-

โดย ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์

 http://tamrongsakk.blogspot.com


ชีวิตการทำงานกับความก้าวหน้าเป็นเรื่องคู่กันจริงไหมครับ เพราะไม่ว่าใครก็ต้องการความก้าวหน้าด้วยกันทั้งนั้น

เจ้าของกิจการก็อยากจะให้กิจการของตัวเองรุ่งเรืองก้าวหน้า มีรายรับเข้ามาเยอะ ๆ คนที่เป็นลูกจ้างพนักงานหรือผู้บริหารก็ต้องการความก้าวหน้าในงานในตำแหน่ง เพราะหมายถึงค่าตอบแทนที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปตามตำแหน่ง

หลายครั้งคนที่ยังไม่สามารถก้าวหน้าไปในตำแหน่งหน้าที่การงานอย่างที่ใจคาดหวังก็มักจะพูดทำนองนี้ให้ผมได้ยินอยู่บ่อย ๆ

"ทำงานมาหลายปีแล้วแต่เงินเดือนน้อยจังเลย"

หรือ "เมื่อไหร่หัวหน้าจะเลื่อนตำแหน่งให้ซะทีนะ"

หรือ "เราก็ทำงานหนักขนาดนี้แล้วทำไมบริษัทยังไม่เห็นฝีมืออีก...." และ ฯลฯ

ผมอยากจะให้ท่านลองนั่งนิ่ง ๆ ทำใจร่ม ๆ แล้วลองหันกลับมาทบทวนตัวเอง แล้วคิดในมุมมองใหม่ดังนี้

1.ทัศนคติของตัวท่านยังเป็นบวกมากกว่าลบ หรือเป็นลบมากกว่าบวก

ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในบรรดาทุก ๆ เรื่องที่จะพูดต่อไป เพราะมีคำพูดหนึ่งที่เป็นจริงอยู่เสมอคือ ทัศนคติเป็นทุก ๆ อย่างในชีวิต คนที่ประสบความสำเร็จได้จำเป็นจะต้องมีทัศนคติ หรือวิธีคิดในเชิงบวกมากกว่าลบ

ดังนั้น ถ้าเราคิดหรือมองทุก ๆ เรื่องรอบตัว (รวมทั้งเรื่องความก้าวหน้าของตัวเอง) ในเชิงลบ เราจะไม่เห็นโอกาสอะไรเลยสักอย่าง

แต่ถ้าเราคิดเชิงบวกให้มากหน่อย เราจะเห็นโอกาสในทุก ๆ ปัญหาอยู่เสมอครับ ดังนั้น หากเราไม่ชอบอะไรเราสามารถที่จะคิดเปลี่ยนแปลงสิ่งใด ๆ ก็ได้ แต่ถ้าเรื่องนั้น ๆ เกินกำลังที่เราจะเปลี่ยน วิธีที่ดีที่สุดคือเปลี่ยนความคิดของเราต่อสิ่งนั้นเสียใหม่ แล้วหาวิธีปรับตัวให้เหมาะกับสิ่งนั้นสิครับ

2.ค้นหาว่าตัวเรามีความสามารถอะไรอยู่บ้าง คำว่าความสามารถก็คือ "Competency" นั่นเอง

ซึ่งความสามารถมักจะประกอบด้วย 3 เรื่องคือ KSA หมายถึงท่านมีความรู้ (Knowledge) ในงานที่เหมาะสมที่จะทำงานนั้น ๆ ให้ได้ดีบ้าง, ท่านมีทักษะ (Skills) หรือความเชี่ยวชาญชำนาญในงานที่ท่านปฏิบัติได้เป็นอย่างดีบ้าง และท่านมีคุณลักษณะภายใน (Attributes) ที่เป็นแรงขับเคลื่อนภายในที่จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ เช่น ความขยัน, ความอดทน, ความซื่อสัตย์, ความรับผิดชอบ, ความละเอียดรอบคอบ ฯลฯ ที่จะมีส่วนเสริมส่งให้งานที่ท่านทำบรรลุผลสำเร็จได้เป็นอย่างดีบ้าง

ดังนั้น ลองหันกลับมาทบทวนค้นหาขีดความสามารถในตัวเองให้เจอว่าเรามีความรู้, ทักษะ และคุณลักษณะภายในเหมาะที่จะทำงานด้านไหนกันแน่แล้วพัฒนาเจ้า KSA นั้นไปให้เต็มที่ เต็มศักยภาพที่ท่านมี และใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่มีภายในตัวให้ตรงกับงานที่ท่านรับผิดชอบอยู่อย่างเต็มที่ ท่านก็จะประสบความสำเร็จได้แน่นอนครับ

3.ไม่ควรทำงานเหมือน ๆ เดิมทุกวัน ท่านลองใช้ความสามารถที่มีจากข้อ 2 มาคิดทบทวนงานที่รับผิดชอบดูว่า งานที่เราทำมานั้นได้เวลาทบทวนปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่

เราไม่ควรทำงานวันนี้ให้เหมือนเมื่อเดือนที่แล้ว, เมื่อปีที่แล้วเราก็ทำอย่างนี้แหละ, เผลอ ๆ เมื่อห้าปีที่แล้วเราก็ทำงานแบบเดิมนี้อยู่ โดยไม่เคยคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นไปบ้างเลย

ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วใครเขาจะมาเห็นว่าเรามีฝีมือล่ะครับ เพราะเราทำงานไปแบบอัตโนมัติทุก ๆ วันไม่มีอะไรแสดงให้ฝ่ายบริหารเขาเห็นว่าต้องใช้ฝีมืออะไรเพิ่มขึ้น

ผมเปรียบเทียบกับห้างสรรพสินค้าก็ได้ครับ แม้จะมีการขายของอยู่ทุกวันจนเป็นงานประจำ (Routine) คือขายสินค้า แต่ห้างต่าง ๆ เขายังต้องปรับเปลี่ยนมุมขายสินค้า, เปลี่ยนการวางสินค้าในชั้นวาง, เปลี่ยนการจัดอีเวนต์ (Event) ต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกจำเจ

แล้วท่านล่ะ ถ้าลูกค้าของท่านคือหัวหน้างาน เขาเห็นท่านทำงานอยู่เหมือนเดิม ๆ โดยตลอด เขาไม่จำเจแย่หรือครับ

4.เปลี่ยนมุมมองและวิธีการทำงานใหม่ จึงเลยมาถึงข้อนี้ โดยผมอยากให้ข้อคิดว่าท่านลองปรับมุมมองใหม่ โดยมองหัวหน้าของท่านเป็นลูกค้า แล้วท่านเป็นผู้ขายหรือเจ้าของสินค้า (ซึ่งก็คืองานที่จะต้องนำเสนอหัวหน้านั่นแหละ) ท่านเคยปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้มีอะไรแปลกใหม่แล้วนำกลับไปเสนอลูกค้า (ซึ่งก็คือหัวหน้า) ของท่านบ้างหรือเปล่า

อย่างน้อยสักปีละครั้งท่านควรจะนำงาน (เปรียบเสมือนสินค้า) ที่ท่านลองคิดปรับปรุงให้ดีขึ้น ไปเสนอพูดคุยกับหัวหน้า (เปรียบเสมือนลูกค้ารายใหญ่) ดูว่าเขาต้องการสินค้า (หรืองาน) แบบนี้หรือไม่

ถ้าไม่ใช่ เขาต้องการให้เป็นแบบไหน นี่คือการทำงานแบบเชิงรุก (Proactive) ที่ไม่ใช่การทำงานแบบเชิงรับ (Reactive) ซึ่งผมเชื่อว่าจะมีอะไรที่ดีขึ้นกว่าการที่จะคอยแต่รอรับคำสั่งเพียงอย่างเดียวนะครับ

แต่ทั้งหมดที่บอกมาข้างต้น ก็มีปัจจัยหลักสำคัญอยู่ที่ "ทัศนคติ" ของแต่ละคน เพราะปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เราก้าวหน้าไปได้มากน้อยแค่ไหน

นั้นคือตัวของเราเอง ที่จะคิดจะวางแผนยังไงกับเส้นทางเดินในชีวิตของเราเองจริงไหมครับ

นี่ก็เข้าปีใหม่แล้ว ผมว่าเราลองมาคิดปรับปรุงอะไรใหม่ ๆ ให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาจะดีไหมครับ


(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 18 ม.ค.2556)