ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 29, 2013, 07:21:34 pm »กามคุณห้า เวลาเห็นภาพแล้วพอใจ ไม่พอใจ
เวลาได้ยินเสียง แล้วพอใจ ไม่พอใจ
เวลากินอะไรแล้ว พอใจ ไม่พอใจ
เวลาได้กลิ่นอะไรแล้วพอใจ ไม่พอใจ
เวลาสัมผัสอะไรแล้วพอใจไม่พอใจ
รูป...รส...กลิ่น...เสียง...สัมผัส นั้นน่ะเขาเรียก.....กามหรือกามคุณห้ามันเป็นตัณหา
-----------------...........................
ความรักเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในกิเลสหรือสังโยชน์เบื้องสูง
ไอ้โลภ โกรธ หลง มันไม่ใช่กิเลส แต่มันเป็นผลที่เกิดจากกิเลส
เรียกว่า....อาการของจิตหรือเจตสิก เรียกง่ายๆว่า อาการของจิตฝ่ายอกุศล
จำไว้เลยว่า กิเลสคือสิ่งที่มัดใจสัตว์ให้วนเวียนอยู่ในวัฎฎะสงสาร
นั้นก็คือสังโยชน์สิบ
*****
คนถ้าลองไม่มีอวิชา ไม่มีความยินดี ยินร้ายยึดมั่นถือมั่นซะแล้ว
มันยังต้องมาเกิดอีกหรือ
*****
44385.ถาม เรื่องความรัก
-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44385
พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต
งงล่ะซิงง มันไม่มีในตำราถึงได้งง
มันเป็นธรรมของครูบาอาจารย์ ท่านจะบอกโดยนัยว่า
จิตหรือตัวผู้รู้ก็เป็นสังขาร มีลักษณะไตรลักษณ์
คำว่า ทำลายไม่ได้หมายถึง การเข้าไปให้พินาจหรือหายไป เพียงแต่ให้รู้ด้วยปัญญาว่า
แม้กระทั่งตัวผู้รู้หรือจิต เมื่อมันเกิด ขึ้นตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเหมือนสังขารอื่นๆเช่นกัน
***************
ธรรมะมันต้องเริ่มด้วย ทิฐิ
มันไม่ได้ปฏิบัติถูกหรือผิด
ถ้ามีสัมมาทิฐิหรือเห็นถูก ก็ปฏิบัติถูก
ถ้ามีมิจฉาทิฐิหรือเห็นผิด ก็ปฏิบัติผิด
--------......................
พระธรรมที่ว่าด้วย อริยสัจจ์สี่ของพระพุทธเจ้า ครอบคลุมธรรมะทั้งหมดของพระพุทธเจ้า
การจะดับทุกข์ ต้องใช้การทำวิปัสนากรรมฐาน
มันก็ถูกต้องแล้ว เพียงแต่มันยังไม่ครอบคลุมในการดับทุกข์ทั้งหมด
อันที่จริงแล้วการจะดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงจะต้องอาศัย ธรรมที่เรียกว่า...
โพธิปักขิยธรรม การทำวิปัสนาหรือการทำสติปัสฐานสี่เป็นส่วนหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม
สติปัฏฐานสี่เป็นหลักในการละเหตุแห่งทุกข์ ก็คือกิเลสสังโยชน์นั้นเอง
ในวงปฏิจจ์สมุบาท เป็นกฎแห่งธรรมชาติที่บอกให้รู้ว่า...
อะไรคือทุกข์ (ทุกข์) และอะไรคือเหตุแห่งทุกข์(ทุกข์สมุทัย)
การดับทุกข์หรือวิธีดับทุกข์ก็คือ.. มรรคหรืออริยมรรคมีองค์แปด
ซึ่งต้องไปปฏิบัติกันที่รูป นามหรือกายใจของบุคคล
สรุปให้ฟังอีกครั้ง ปฏิจจสมุบาทคือ ทุกข์และเหตุแห่งทุกข์
วิปัสนากรรมฐานหรือสติปัฏฐานสี่ ก็คือหนึ่งในอริยมรรคมีองค์แปด เป็นวิธีการดับทุกข์
44412.ธรรมมะที่มีในปัจจุบันยังเพียงพอที่จะดับทุกข์ไหม
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44412&start=15
การคิดแบบสัมมาทิฐิ มันต้องมองไปข้างหน้า มองย้อนไปข้างหลัง
แล้วเอามาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน คิดไตร่ตรองหาเหตุผลว่า
การกระทำของเรา จะส่งผลให้เดือดร้อนในภายหลังมั้ย
***
การมองธรรม ถ้าเป็นเรื่องของเรา เราก็ต้องมองที่ใจเรา
ถ้าเป็นเรื่องของคนอื่น ก็ต้องหาเหตุที่มาของการกระทำของผู้อื่น
***
มันถึงเป็นเรื่องของศีลธรรมที่เราเอง จะต้องเป็นผู้คิดเองว่า
มันสมควรมั้ย
***
แต่ไม่สามารถเถียงในเรื่องของศีลธรรมได้เลย เพราะเราก็รู้อยู่แก่ใจว่า
มันมีสาเหตุมาจากความเห็นแก่ตัว
เราต้องยอมรับว่า เรายังมีกิเลส ยังมีอาการโลภ โกรธหลง
การผิดศีลหรือไม่ ไม่ใช่หมายถึงไม่มีอาการอกุศลที่ว่า แต่มันหมายถึง
เรามีอาการอกุศลแล้วต้องมีสติมาหักห้ามใจ ไม่ให้เกิดอาการทางกายและวาจา
****
44414.เล่นเน็ท โดยใช้ wifi ของคนอื่น เป็นการขโมยหรือไม่
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44414&start=15
ถ้าเราดูในวงจรปฏิจจ์สมุบาท กิเลสจะแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนที่เป็นอวิชา
และส่วนที่เป็น ตัณหา
ในส่วนที่เป็นอวิชานั้นก็คือ สังโยชน์สิบ กิเลสในส่วนของสังโยชน์
ทำให้บุคคลเกิดความไม่รู้ในสังขาร ไม่รู้การเป็นไตรลักษณ์ของจิต
เมื่อเกิดผัสสะหรือการรับเอาสิ่งภายนอกที่มากระทบ ทำให้จิตเป็นอวิชา
ปรุงแต่งเป็นขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้าเกิดอาการของจิตขึ้นจนเป็นอกุศล
แทนที่จิตจะหยุด กลับไปปรุงแต่งต่อด้วยการไปรับอายตนะภายนอก
ในลักษณะของธัมมารมณ์เข้าในใจอีก คราวนี้ตัณหาก็จะเข้ามาพร้อมกับธัมมารมณ์
จนเกิดเป็นอุปาทานขันธ์ขึ้น บทสรุปก็จะเป็นหนึ่งในกองทุกข์
ดังนั้นจิตหรืออาการของจิต มันไม่ใช่กิเลส เพียงแต่มันถือโอกาสเข้ามาในจิต
แล้วก็บ่งการให้จิตไปรับกิเลสซ้ำเข้ามาอีก
สิ่งที่พอพิสูจน์ได้ว่า กิเลสไม่ใช่จิตหรืออาการของจิต นั้นก็คือภวังคจิต
ภวังคจิตเป็นสภาวะที่เกิดจากการปิดทวารทั้งหก หรือการไม่ทำงานของ
ทวารทั้งหก ภวังคจิตมีลักษณะเหมือนกับจิตที่เรียกว่า จิตประภัสสร
นั้นคือจิตที่ยังไม่มีกิเลสมาเกาะกุม
นี่แสดงว่า กิเลสมาจากสิ่งนอกกายใจเรา มันเข้ามาแล้วทำให้ใจเราเศร้าหมอง
มันก็เหมือนกับ คนที่ปวดหัวตัวร้อน การปวดหัวตัวร้อนเรียกว่า อาการ
สิ่งที่ทำให้เกิดอาการก็คือ เชื้อโรค ซึ่งเชื้อโรคเราย่อมรู้ดีว่า มันมาจากภายนอก
การรักษาต้องกินยา เช่นเดียวกันจะรักษาอาการของจิตที่เป็นอกุศล ก็ต้องกินยา
ยาที่ว่านี้เรียกว่า......สติ เมื่อมีสติอาการของจิตก็จะหายไป
อย่าลืมว่า สติที่เกิดภายหลังเป็นเพียงการบรรเทาอาการ
การจะรักษาที่แท้ต้องฆ่าเชื้อโรค หรือไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาในร่างกายหรือจิตใจ
นั้นคือการทำ.....สติปัฏฐาน
44431.เจ็บแค้นเคืองโกรธโทษฉันไย? ฉันเป็นจิตใจของเธอน่ะ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44431
แนวทางให้เข้าใจธรรม คือมองธรรมไปตามความเป็นจริงเสียก่อน
การมองธรรมไปตามความเป็นจริงแบบนี้จึงเรียกว่า ปัญญาขั้นต้น
ปัญญาขั้นต้นนี้ เอาไว้พิจารณา กาย เวทนา จิตและธรรม
***
การทำสมถภาวนา ไม่ใช่จิตนิ่งอยู่กับอารมณ์ แต่จิตไปอยู่ที่มโนทวาร
เพื่อปิดการปรุงแต่ง อันเกิดจากทวารอื่นๆ
การทำวิปัสสนาไม่ใช่การมานิ่งๆ มันต้องปล่อยกายใจไปตามปกติ
แต่เมื่อเกิดรู้สึกไม่สบายกายไม่สบายใจ ก็ให้รู้ว่านี่แหล่ะคือทุกข์ แล้วก็ให้หาเหตุแห่ง
ความไม่สบายกายใจนี่ นั้นก็คือสังขารการปรุงแต่งของใจเราเอง แล้วก็ดับมันด้วยสมถ
นั้นก็คือการปิดมโนทวารจนกว่าทุกข์นั้นจะดับไป นี่คือหลักการทำวิปัสสนาแบบสั้นๆ
สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด บุคคลนั้นจะต้องมีปัญญามองธรรมตามความเป็นจริงเสียก่อน
เพราะการทำวิปัสสนา จะต้องอาศัยปัญญาตัวนี้นำหน้าเสมอ
***
อธิบายสภาวะธรรมคำว่า"วิปัสสนา"ก็คือ..
การใช้ความคิดหาเหตุผล หาสิ่งที่ทำให้เราทุกข์
เมื่อรู้แล้วก็จะได้ดับเหตุได้ถูก แต่การดับเหตุนั้นต้องอาศัยตัวช่วย นั้นก็คือปัญญา
ปัญญาที่ว่าก็คือ ความรู้ที่เราได้ไปรู้ถึงลักษณะของเหตุมาก่อนแล้ว
สรุปก็คือ....วิปัสสนาก็คือกระบวนการทางความคิด ที่ใช้ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่
กำลังเกิดอยู่ แล้วก็ดับเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งที่ว่านั้น
กระบวนการความคิดของทางโลกและทางธรรม มีจุดประสงค์ต่างกัน
อย่างหนึ่งเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด อีกอย่างไม่ใช่
44440.ขอคำแนะนำ การปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานครับ
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=44440