ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2013, 09:51:33 am »






































Hình Ảnh Đại Đăng
:http://www.thienviendaidang.net/node/218











-http://blog.daum.net/idaero/15833267
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2013, 09:49:25 am »




































ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2013, 09:15:17 am »




























ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2013, 07:49:47 pm »




Suraphol Kruasuwan




Suraphol Kruasuwan




Suraphol Kruasuwan
























ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 25, 2013, 03:34:38 pm »

















พระนางยโสธรา เมื่อครั้งที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ ในเมืองอมรวดี
นางมีชื่อว่าสุมิตตา นางได้ถือดอกบัว ๘ กำเพื่อบูชาพระศาสดา ขณะรับเสด็จ
พระพุทธเจ้าทีปังกรพร้อมด้วยฤาษีสุเมธ
ฤาษีสุเมธได้อุทิศตนนอนทอดเป็นสะพาน เพื่อให้พระพุทธเจ้าทีปังกรและพุทธสาวก




เหยียบผ่าน นางได้กล่าวแก่ฤาษีสุเมธว่า “ดอกบัว ๓ กำของหม่อมฉัน กับดอกบัว ๕ กำ
ของท่านนั้น จงมีผลเสมอกัน เพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณของท่าน”
ดังนั้นแล้ว ฤาษีสุเมธจึงได้ถวายดอกบัว ๕ กำและตั้งจิตปรารถนาให้ได้บรรลุโพธิญาณ




ส่วนสุมิตตาได้ถวายดอกบัว ๓ กำแด่พระพุทธเจ้าทีปังกร
ด้วยจิตที่เป็นมหากุศล
จากการถวายดอกบัวในครั้งนั้น มีคำบรรยายอานิสงส์ที่นางได้รับว่า
อุบาสิกานี้ จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน มีการกระทำเสมอกัน
มีปกติทำร่วมกัน จักเป็นที่น่ารักเพราะการกระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน
จักเป็นหญิงน่าดูน่าชม น่ารักยิ่ง น่าชอบใจ
มีวาจาอ่อนหวาน มีฤทธิ์ เป็นธรรมทายาทของท่าน .....




เรื่องราวเหล่านี้เป็นหลักฐานแสดงถึงค่านิยมของ
พุทธศาสนิกชน ในการถือว่าดอกบัวว่า
เป็นดอกไม้ที่มี คุณลักษณะ เหมาะแก่การนำมาบูชาพระ




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 25, 2013, 01:34:18 pm »






ธรรมซีรี่ส์ดอกบัว ตอนนี้เป็นตอนที่สี่ ครับ
นำมาฝากในเรื่องว่าด้วย..
ดอกบัวเป็นเครื่องสักการะพระรัตนตรัย





พุทธศาสนิกชนนิยมใช้สิ่งสักการะอันแสดงถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
และความปราศจากมลทิน ดังนั้น เมื่อถือกันว่า
ดอกบัวเป็นเครื่องหมายแห่งความบริสุทธิ์แล้ว พุทธศาสนิกชนก็นิยมใช้ดอกบัว
เป็นเครื่องบูชาพระโดยเฉพาะดอกบัวหลวง

ในอดีตพระเถระบางรูปได้เคยนำดอกบัวไปบูชาพระพุทธเจ้า
และได้รับอานิสงส์อันเลิศเพราะการบูชาเช่นนั้น
และดอกบัวที่ใช้บูชานั้นมีทั้งชนิดบัวหลวงและบัวสาย



ในเอกปทุมิยเถราปทาน มีคำบรรยายว่า ครั้งเมื่อพระเอกปทุมิยเถระ
มีกำเนิดเป็นพญาหงส์ ในขณะที่กำลังเล่นน้ำในสระแห่งหนึ่ง
ก็ได้เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จผ่านมาทางนั้น
เพราะเห็นว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา เป็นนายกของโลก
“.....จึงหักดอกบัวหลวงอันเป็นที่รื่นรมย์ใจที่ก้านแล้ว
ข้าพเจ้ามีใจผ่องใส ใช้จงอยปาก
คาบโยนขึ้นไปในท้องฟ้า ได้บูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด”




อานิสงส์ที่เกิดขึ้น เพราะการใช้ดอกบัวที่เกิดแก่ พระเอกปทุมิเถระ
เป็นพุทธบูชาครั้งนี้ มีคำบรรยายว่า
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมใดไว้ในครั้งนั้น จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง
พุทธบูชาพระพุทธเจ้าคุณวิเศษ เหล่านี้คือ
ปฏิสัมภิทา ๔  วิโมกข์ ๘  และอภิญญา ๖




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 20, 2013, 05:33:33 pm »


























ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 07:09:41 pm »




ผู้ปฏิบัติธรรมที่สมาทานธุดงค์ ได้เป็นใหญ่ในพระบวรพุทธศาสนา
เป็นที่โสมนัสยินดี ย่อมมีแต่ความสุขสงบในสมาบัติ (ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง)
เปรียบความสุขสงบในสมาบัติกับประทุมชาติบัวหลวงที่มีคุณถึง ๑๐ ประการ คือ

๑. เป็นของอ่อนนุ่มสนิท (สินิทฺทมุทุ)
๒. เป็นที่ตั้งแห่งความงาม (สุภนิยํ)
๓. มีกลิ่นหอม (สุคนฺธํ)
๔. เป็นที่รักแห่งชนทั้งหลาย (ปิยํ)
๕. ชนทั้งหลายปรารถนา (ปตฺถิตํ)
๖. ชนทั้งหลายสรรเสริญ (ปสฏฺฐํ)
๗. น้ำหรือเปือกตมไม่สามารถซึมซาบเปียกปนอยู่ได้ (ชลกทฺทมอนุปลิตฺตํ)
๘. ประดับด้วยใบอ่อนเกสรและกลีบ (อนุปตฺตเกสรกณฺณิกาทิ มณฺฑิตํ)
๙. มีหมู่แห่งแมลงภู่และแมลงผึ้งบินโฉบฉาบคาบเกสร (ภมรคณเสวิตํ)
๑๐. เจริญขึ้นแต่ในน้ำที่สะอาด (สีตลสลิลสํวทฺธํ)

                           

มีคำบรรยายสรรเสริญสาวกของพระพุทธเจ้าเปรียบกับดอกบัว ว่า

ในกองขยะที่เขาทิ้งไว้ข้างทางใหญ่
ยังมีดอกบัวมีกลิ่นหอมรื่นรมย์ใจเกิดขึ้นมาได้ ฉันใด
ในหมู่ปุถุชนผู้มืดมนผู้เปรียบได้กับกองขยะ
ก็ยังมีสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา ฉันนั้น

ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๕๘-๕๙/๔๕

ในตอนต่อไป การไหว้หรือการประนมมือ ที่เห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
ดอกบัวเป็นเครื่องสักการะพระรัตนตรัย โปรดติดตามครับ


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 07:07:50 pm »





พระอัสสชิเป็นพระมหาสาวกอีกองค์หนึ่งซึ่งเปรียบเหมือนดอกบัว
ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์
เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกและเป็นอาจารย์ของพระสารีบุตร๓๖
ท่านมีบุคลิกที่น่าเสื่อมใส มีปัญญามาก มีคำยกย่องพระอัสสชิ
โดยเปรียบกับดอกบัวว่า

พราหมณ์นามว่าอัสสชิ
สาวกของพระองค์ ซึ่งหาผู้กระทบกระทั่งได้ยาก
มีเดชแผ่ไป เที่ยวบิณฑบาตในครั้งนั้น .....

..... มีจิตสงบ เบิกบาน ดุจดอกปทุมที่แย้มบาน



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2010, 07:06:25 pm »




ดอกบัวกับพระสงฆ์



พระอรรถกถาจารย์ได้เปรียบพระสงฆ์กับดอกบัวไว้ดังนี้

ดอกบัวแม้จะเกิดขึ้นตามคูสกปรก ตามกองขยะที่เขาทิ้งทับถมไว้ริมถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่น แต่ก็ยังมีกลิ่นหอมเป็นที่รื่นรมย์ใจ คนย่อมเก็บมาทัดทรงประดับแม้ส่วนสูงของร่างกาย โดยปราศจากการรังเกียจถึงสถานที่เกิดอันแสนจะปฏิกูลของมันฉันใด “พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นเพศบรรพชิต เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์”๓๒ แม้จะเกิดในตระกูลยากจนเข็ญใจ เมื่อมาประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระวินัย พุทธศาสนิกชนก็ย่อมเลื่อมใสศรัทธาเคารพกราบไหว้ โดยปราศจากความรังเกียจถือชาติตระกูลฉันนั้น จะเห็นได้ว่าชาวอินเดียในอดีต มีการถือชาติชั้นวรรณะกันอย่างรุนแรงและจริงจัง การที่ชนผู้อยู่ในวรรณะสูง มายอมกราบไหว้ผู้ที่อยู่ในวรรณะต่ำกว่านั้น โดยปกติแล้วจะมีไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากพระสงฆ์ผู้ที่มีคุณสมบัติเฉกเช่นเดียวกับคุณสมบัติของดอกบัวเท่านั้น

อีกเรื่องหนึ่ง พระโมคคัลลานะซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ “พระโมคัลลานะผู้มีปัญญามาก ฉลาดในสมาธิฌาน บรรลุบารมีด้วยปัญญา”๓๔ พึงเนรมิตอัตภาพชั่วขณะเดียวได้แสนโกฏิ โดยเปรียบพระโมคคัลลานะกับดอกบัวว่า

ท่านสิ้นอาสวะแล้วควรแก่การทักษิณา พระโมคคัลลานะผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชาแล้ว
เกิดโดยอริยชาติ ครอบงำความตายเสียได้ ไม่ติดอยู่ในสังขารเหมือนดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ