ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2013, 12:42:22 am »ต่อค่ะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า: ในสมัยก่อนจากชาตินี้ ก็เรียกว่าไม่ได้บอกชาติว่าชาติไหน
มีคณะบุคคลคณะหนึ่งไปค้าสำเภา หรือลงสำเภาไปในมหาสมุทร ถ้าจะบอกว่าไปค้า คนนับร้อย คนเป็นร้อย ๆ นี่ อาจจะไม่ใช่ค้าแล้ว อาจจะไปเที่ยวสำเภากัน
เวลานั้นปรากฎว่ามีลมหัวด้วนคำว่าลมหัวด้วนนี่เป็นลมที่มีความแรงมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทร เรือต้านกำลังลมไม่ไหว คลื่นแรงจัด เรือก็ล่ม สำเภาก็แตก
คนทั้งหลายต่างก็ว่ายน้ำหนีความตาย แต่อย่าลืมว่ามหาสมุทรมันไม่เล็ก หนีไปเท่าไหร่ก็ตายเท่านั้น ถ้าไม่พบเกาะ ไม่พบแก่ง ไม่พบชูชีพเป็นที่อาศัย สามีภรรยาสองคน
สามีคนหนึ่งภรรยาคนหนึ่งที่ไปในเรือนั้น ได้ไม้กระดานที่หลุดออกมาจากเรือหนึ่งแผ่น ต่างคนก็ต่างเกาะปล่อยตัวให้ลอยตามกระแสคลื่นไป ในที่สุดคลื่นก็ซัดคนสองคนเข้าไปใกล้เกาะแห่งหนึ่ง คนสองคนนั้นขึ้นอาศัยอยู่บนเกาะ ไม่รู้จะกินอะไรดี ก็เลยมองไปมองมา เห็นนกมันมีมากในเกาะนั้น เพราะไม่มีคนไปถึง นกก็เลยไม่ค่อยจะกลัวคน คนเดินเข้าใกล้นกก็ทำเฉย ๆ เพราะไม่มีอันตรายจากคนเลยไม่รู้จักพระยามัจจุราช
เธอทั้งสองก็เอาไข่นกมากินก่อน เพื่อประทังความหิว กินไปกินมาหลายวันเข้า ไข่นกก็หมด ต่อมาเมื่อไข่นกหมด ความหิวมันก็ยังไม่หมด วันต่อมาหิวไม่รู้จะทำยังไง ก็จับลูกนกเล็ก ๆ มากินอีก เมื่อกินลูกนกหมด มันก็ยังไม่หมดความหิว ชีวิตยังมีอยู่ ก็กินพ่อนกแม่นก
โพธิราชกุมาร เพราะเธอไม่เว้นกรรมชั่วทั้งสามวัย วัยต้นคือไข่ วัยกลางคือลูกนก วัยสุดท้ายคือพ่อนกและแม่นก ฉะนั้นเธอจึงจะไม่มีโอกาสจะมีลูกในวัยหนุ่มก็ดี ในวัยกลางคนก็ดี ในวัยแก่ก็ดี หาลูกไม่ได้แน่ชาตินี้ และชาตินี้ทั้งชาติเธอจะไม่มีลูก
ถ้าเธอเว้นไม่กินไข่ เธอก็จะมีลูกเมื่อยังเป็นหนุ่มเป็นสาวปฐมวัย แต่ว่าเธอกินไข่ เธอเว้นไม่กินลูกนก เธอก็จะมีลูกเมื่อวัยกลางคน
ถ้าเธอกินทั้งไข่กินทั้งลูกนก ไม่กินพ่อนกแม่นก เธอจะมีลูกเมื่อวัยแก่ แต่ว่านี่เธอกินหมดทั้งสามวัย เป็นอันว่าชาตินี้ทั้งชาติเธอจะหาลูกไม่ได้
ท่านทั้งหลายย่อมเป็นที่รักของตน พึงรักษาตนไว้ให้เป็นคนดีทั้ง ๓ วัย ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย อย่าประมาทแม้ยามใดยามหนึ่ง
จบพระธรรมเทศนา โพธิราชกุมารบรรลุโสดาปัตติผล
พระพุทธองค์ทรงประชุมภิกษุสงฆ์ มีพุทธบัญญัติว่า
" ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบต้องอาบัติทุกกฏ" ยกเว้นถูกคฤหัสถ์ผู้ต้องการมงคลร้องขอให้เหยียบก็ให้เหยียบได้
โพธิราชกุมาร: ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเห็นว่า ความสุขอันบุึคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น
พระพุทธองค์ : เมื่อตถาคตยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็เคยคิดเช่นนั้น ความเชื่อนั้นทำให้พระพุทธองค์ทรงละทิ้งความสุขเกิดจากฌานในสำนักของอาฬาร ดาบสและอุทกดาบส ทรงดำริถึงอุปมา ๓ ข้อ
๑) ไม้สดอยู่ในน้ำ ไม่อาจจะติดไฟได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายและใจไม่หลีกออกจากกาม แม้จะได้รับทุกขเวทนามากก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้
๒) ไม้สดอยู่บนบก ไม่อาจจะติดไฟได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายออกจากกามแต่ใจไม่หลีกออกจากกาม ยังคงพอใจรักใคร่เสน่หา แม้ได้รับทุกขเวทนามากก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้
๓) ไม้แห้งอยู่บนบก สามารถทำไฟให้ติดได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายและใจออกจากกาม จะได้รับทุกขเวทนาหรือไม่ได้รับทุกขเวทนา ก็สามารถจะตรัสรู้ได้
แม้เข้าใจสภาวะทั้ง ๓ แล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังเชื่อว่าความสุขจะได้มาด้วยความทุกข์จึงได้เลือกวิธีทรมานตน ด้วยทุกรกิริยา ต่อมาเห็นว่าไม่ใช่หนทาง
โพธิราชกุมาร: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ระยะเวลาเท่าไรที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตจะได้สำเร็จมรรคผล
พระพุทธองค์ : ขอย้อนถามท่านว่า ท่านชำนาญในศิลปะการจับช้างใช่ไหม?
โพธิราชกุมาร: พระเจ้าข้า หม่อมฉันมีความฉลาดในศิลปะการจับช้าง
พระพุทธองค์ :หากมีคนมาขอเรียนวิชาจับช้างกับพระราชกุมาร แต่ว่าเขาเป็นคนที่
๑) เป็นคนไม่มีศรัทธา ๒) เป็นคนมีโรคมาก ๓) เป็นคนโอ้อวด มีมายา
๔) เป็นคนเกียจคร้าน ๕) มีปัญญาน้อย
ผู้นั้น ควรจะศึกษาในสำนักของท่านหรือไม่?
โพธิราชกุมาร : หากคนนั้นมีเพียงคุณสมบัติข้อเดียวใน ๕ ข้อนั้นก็ไม่สมควรศึกษาวิชาจับช้างแล้วพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : หาก คนที่มาขอเรียนวิชาจับช้างนั้นมีคุณสมบัติ
๑)เป็นผู้มีศรัทธา ๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี ๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
๔)เป็นผู้มีึความเพียร ๕) เป็นผู้มีปัญญาดี คนนั้นจะศึกษาวิชาจับช้างได้หรือไม่ ?
โพธิราชกุมาร: หากผู้นั้นเป็นผู้มีลักษณะ ๑ ใน ๕ อย่างนั้นก็ควรจะเรียนวิชาจับช้างได้
ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง ๕ ข้อพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : พระราชกุมารบพิตร พระภิกษุผู้มีึคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ก็เช่นกัน ๑)เป็นผู้มีศรัทธา ๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี ๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ๔)เป็นผู้มีึความเพียร ๕) เป็นผู้มีปัญญาดี ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ตถาคตสามารถสั่งสอนอบรมให้ึถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ได้ ในเวลา ๗ ปี ....๖ ปี ๕ ปี ๓ ปี ...๓ คืน ๓ วัน หรือ ๑ คืน ๑ วัน ผู้มีคุณสมบัติ ๕ ประการนี้ ตถาคตสั่งสอนธรรมในเวลาเย็น ก็จะบรรลุธรรมวิเศษในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนธรรมในเวลาเช้าจะบรรลุธรรมในเวลาเย็น
>>> F/B อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล
พระผู้มีพระภาคเจ้า: ในสมัยก่อนจากชาตินี้ ก็เรียกว่าไม่ได้บอกชาติว่าชาติไหน
มีคณะบุคคลคณะหนึ่งไปค้าสำเภา หรือลงสำเภาไปในมหาสมุทร ถ้าจะบอกว่าไปค้า คนนับร้อย คนเป็นร้อย ๆ นี่ อาจจะไม่ใช่ค้าแล้ว อาจจะไปเที่ยวสำเภากัน
เวลานั้นปรากฎว่ามีลมหัวด้วนคำว่าลมหัวด้วนนี่เป็นลมที่มีความแรงมาก เกิดขึ้นในมหาสมุทร เรือต้านกำลังลมไม่ไหว คลื่นแรงจัด เรือก็ล่ม สำเภาก็แตก
คนทั้งหลายต่างก็ว่ายน้ำหนีความตาย แต่อย่าลืมว่ามหาสมุทรมันไม่เล็ก หนีไปเท่าไหร่ก็ตายเท่านั้น ถ้าไม่พบเกาะ ไม่พบแก่ง ไม่พบชูชีพเป็นที่อาศัย สามีภรรยาสองคน
สามีคนหนึ่งภรรยาคนหนึ่งที่ไปในเรือนั้น ได้ไม้กระดานที่หลุดออกมาจากเรือหนึ่งแผ่น ต่างคนก็ต่างเกาะปล่อยตัวให้ลอยตามกระแสคลื่นไป ในที่สุดคลื่นก็ซัดคนสองคนเข้าไปใกล้เกาะแห่งหนึ่ง คนสองคนนั้นขึ้นอาศัยอยู่บนเกาะ ไม่รู้จะกินอะไรดี ก็เลยมองไปมองมา เห็นนกมันมีมากในเกาะนั้น เพราะไม่มีคนไปถึง นกก็เลยไม่ค่อยจะกลัวคน คนเดินเข้าใกล้นกก็ทำเฉย ๆ เพราะไม่มีอันตรายจากคนเลยไม่รู้จักพระยามัจจุราช
เธอทั้งสองก็เอาไข่นกมากินก่อน เพื่อประทังความหิว กินไปกินมาหลายวันเข้า ไข่นกก็หมด ต่อมาเมื่อไข่นกหมด ความหิวมันก็ยังไม่หมด วันต่อมาหิวไม่รู้จะทำยังไง ก็จับลูกนกเล็ก ๆ มากินอีก เมื่อกินลูกนกหมด มันก็ยังไม่หมดความหิว ชีวิตยังมีอยู่ ก็กินพ่อนกแม่นก
โพธิราชกุมาร เพราะเธอไม่เว้นกรรมชั่วทั้งสามวัย วัยต้นคือไข่ วัยกลางคือลูกนก วัยสุดท้ายคือพ่อนกและแม่นก ฉะนั้นเธอจึงจะไม่มีโอกาสจะมีลูกในวัยหนุ่มก็ดี ในวัยกลางคนก็ดี ในวัยแก่ก็ดี หาลูกไม่ได้แน่ชาตินี้ และชาตินี้ทั้งชาติเธอจะไม่มีลูก
ถ้าเธอเว้นไม่กินไข่ เธอก็จะมีลูกเมื่อยังเป็นหนุ่มเป็นสาวปฐมวัย แต่ว่าเธอกินไข่ เธอเว้นไม่กินลูกนก เธอก็จะมีลูกเมื่อวัยกลางคน
ถ้าเธอกินทั้งไข่กินทั้งลูกนก ไม่กินพ่อนกแม่นก เธอจะมีลูกเมื่อวัยแก่ แต่ว่านี่เธอกินหมดทั้งสามวัย เป็นอันว่าชาตินี้ทั้งชาติเธอจะหาลูกไม่ได้
ท่านทั้งหลายย่อมเป็นที่รักของตน พึงรักษาตนไว้ให้เป็นคนดีทั้ง ๓ วัย ปฐมวัย มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย อย่าประมาทแม้ยามใดยามหนึ่ง
จบพระธรรมเทศนา โพธิราชกุมารบรรลุโสดาปัตติผล
พระพุทธองค์ทรงประชุมภิกษุสงฆ์ มีพุทธบัญญัติว่า
" ภิกษุไม่พึงเหยียบผืนผ้าที่ปูไว้ รูปใดเหยียบต้องอาบัติทุกกฏ" ยกเว้นถูกคฤหัสถ์ผู้ต้องการมงคลร้องขอให้เหยียบก็ให้เหยียบได้
โพธิราชกุมาร: ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความเห็นว่า ความสุขอันบุึคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์เท่านั้น
พระพุทธองค์ : เมื่อตถาคตยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณก็เคยคิดเช่นนั้น ความเชื่อนั้นทำให้พระพุทธองค์ทรงละทิ้งความสุขเกิดจากฌานในสำนักของอาฬาร ดาบสและอุทกดาบส ทรงดำริถึงอุปมา ๓ ข้อ
๑) ไม้สดอยู่ในน้ำ ไม่อาจจะติดไฟได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายและใจไม่หลีกออกจากกาม แม้จะได้รับทุกขเวทนามากก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้
๒) ไม้สดอยู่บนบก ไม่อาจจะติดไฟได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายออกจากกามแต่ใจไม่หลีกออกจากกาม ยังคงพอใจรักใคร่เสน่หา แม้ได้รับทุกขเวทนามากก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้
๓) ไม้แห้งอยู่บนบก สามารถทำไฟให้ติดได้ เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ผู้มีกายและใจออกจากกาม จะได้รับทุกขเวทนาหรือไม่ได้รับทุกขเวทนา ก็สามารถจะตรัสรู้ได้
แม้เข้าใจสภาวะทั้ง ๓ แล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ยังเชื่อว่าความสุขจะได้มาด้วยความทุกข์จึงได้เลือกวิธีทรมานตน ด้วยทุกรกิริยา ต่อมาเห็นว่าไม่ใช่หนทาง
โพธิราชกุมาร: ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ระยะเวลาเท่าไรที่กุลบุตรผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตจะได้สำเร็จมรรคผล
พระพุทธองค์ : ขอย้อนถามท่านว่า ท่านชำนาญในศิลปะการจับช้างใช่ไหม?
โพธิราชกุมาร: พระเจ้าข้า หม่อมฉันมีความฉลาดในศิลปะการจับช้าง
พระพุทธองค์ :หากมีคนมาขอเรียนวิชาจับช้างกับพระราชกุมาร แต่ว่าเขาเป็นคนที่
๑) เป็นคนไม่มีศรัทธา ๒) เป็นคนมีโรคมาก ๓) เป็นคนโอ้อวด มีมายา
๔) เป็นคนเกียจคร้าน ๕) มีปัญญาน้อย
ผู้นั้น ควรจะศึกษาในสำนักของท่านหรือไม่?
โพธิราชกุมาร : หากคนนั้นมีเพียงคุณสมบัติข้อเดียวใน ๕ ข้อนั้นก็ไม่สมควรศึกษาวิชาจับช้างแล้วพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : หาก คนที่มาขอเรียนวิชาจับช้างนั้นมีคุณสมบัติ
๑)เป็นผู้มีศรัทธา ๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี ๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
๔)เป็นผู้มีึความเพียร ๕) เป็นผู้มีปัญญาดี คนนั้นจะศึกษาวิชาจับช้างได้หรือไม่ ?
โพธิราชกุมาร: หากผู้นั้นเป็นผู้มีลักษณะ ๑ ใน ๕ อย่างนั้นก็ควรจะเรียนวิชาจับช้างได้
ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง ๕ ข้อพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : พระราชกุมารบพิตร พระภิกษุผู้มีึคุณสมบัติ ๕ อย่างนี้ก็เช่นกัน ๑)เป็นผู้มีศรัทธา ๒) เป็นผู้มีสุขภาพดี ๓) เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ๔)เป็นผู้มีึความเพียร ๕) เป็นผู้มีปัญญาดี ถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ตถาคตสามารถสั่งสอนอบรมให้ึถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ได้ ในเวลา ๗ ปี ....๖ ปี ๕ ปี ๓ ปี ...๓ คืน ๓ วัน หรือ ๑ คืน ๑ วัน ผู้มีคุณสมบัติ ๕ ประการนี้ ตถาคตสั่งสอนธรรมในเวลาเย็น ก็จะบรรลุธรรมวิเศษในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนธรรมในเวลาเช้าจะบรรลุธรรมในเวลาเย็น
>>> F/B อกาลิโก แปลว่า ไม่ประกอบด้วยกาล