ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2013, 12:33:44 pm »



ยถาภูตญาณ -  ความรู้ความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็นไป, รู้ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ดังเช่น จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ, จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ ฯ.

ยถาภูตญาณทัสนะ -ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง

โยคะ - 1. กิเลสเครื่องประกอบ คือประกอบสัตว์ไว้ในภพ หรือผูกสัตว์ดุจเทียมไว้กับแอก มี ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ
อวิชชา 2. ความเพียร

โยคาวจร - ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้ประกอบความเพียร, ผู้เจริญภาวนา คือกำลังปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เขียน โยคาพจรก็

โยนิ - กำเนิดของสัตว์ มี ๔ จำพวก คือ ๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น คน แมว ๒. อัณฑชะ เกิดในไข่ เช่น นก ไก่ ๓. สังเสทชะ เกิดในไคล คือที่ชื้นแฉะสกปรก เช่น หนอนบางอย่าง ๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น เช่น เทวดา สัตว์นรก

โยนิโสมนสิการ - การพิจารณาในใจโดยละเอียดและแยบคายคือตามความเป็นจริงของสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ อย่างชาญฉลาด เช่นคิดค้นหาข้อสงสัย เปรียบเทียบสภาวะธรรมอื่นๆอันเห็นได้ชัดแจ้งกับสภาวธรรมอื่นๆที่ติดขัด ฯลฯ.  อันสามารถทําได้ในทุกอิริยาบถ หรือทุกขณะ และดีที่สุดคือในระดับวิปัสสนาสมาธิ หรือในขณิกสมาธิอันคือสมาธิอ่อนๆระดับใจที่แน่วแน่ ไม่วอกแวก ไม่ซัดส่ายไปในเรื่องคิดนึกปรุงแต่งอื่นๆคือฟุ้งซ่าน  หรือภายหลังจากการถอนออกมาจากสมาบัติคือสมาธิในระดับประณีตต่างๆ, ในบันทึกธรรมนี้กล่าวไว้บ่อยครั้งที่สุด เพราะเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งในการเข้าใจธรรม หรือธรรมะวิจยะอันถูกต้องแท้จริง, ไม่ใช่เพราะทิฎฐิ(ความเชื่อ,ความยึด)หรือด้วยอธิโมกข์, อคติใดๆ มานําให้เห็นผิด



ราคานุสัย - กิเลส อันเป็นความกําหนัดในทางโลกที่แฝงนอนเนื่องในสันดาน;   ดูอนุสัย

ราคะ - ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

รูป - ในขันธ์๕ หมายถึง ส่วนร่างกายตัวตน,   ในอายตนะหมายถึง "ภาพ หรือรูป "ที่เห็น  ซึ่งในบางครั้งใช้ครอบคลุมถึง "สิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลาย" คือรูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส, ความคิด(ธรรมารมณ์)ทั้ง๖, คือใช้แทนอายตนภายนอกทั้งหมด

    - รูป ๑.สิ่งที่จะต้องสลายไปเพราะปัจจัยต่างๆ อันขัดแย้ง, สิ่งที่เป็นรูปร่างพร้อมทั้งลักษณะอาการของมัน, ส่วนร่างกาย จำแนกเป็น ๒๘ คือ มหาภูตหรือธาตุ ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ (= รูปที่เกิดสืบเนื่องจากมหาภูตรูป,)   ๒.อารมณ์ที่รู้ได้ด้วยจักษุ, สิ่งที่ปรากฏแก่ตา (ข้อ ๑ ในอารมณ์ ๖ หรือในอายตนะภายนอก ๖)   ๓.ลักษณนาม ใช้เรียกพระภิกษุสามเณร เช่น ภิกษุรูปหนึ่ง สามเณร ๕ รูป; ในภาษาพูดบางแห่งนิยมใช้ องค์รูปกาย ประชุมแห่งรูปธรรม, กายที่เป็นส่วนรูป โดยใจความได้แก่รูปขันธ์หรือร่างกาย

รูปฌาน - ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ  ๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) ปีติ (อิ่มใจ) สุข (สบายใจ) เอกัคคตา (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)    ๒) ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา    ๓) ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา    ๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา

รูปตัณหา - ความอยากในรูป

รูปธรรม - สิ่งที่ถูกรู้หรือสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง๕ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ยกเว้น ใจ

             - สิ่งที่มีรูป, สภาวะที่เป็นรูป คู่กับ นามธรรม

รูปกัมมัฏฐาน - กรรมฐานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์

รูปวิจาร - ความตรองในรูป เกิดต่อจาก รูปวิตก

รูปวิตก - ความตรึกในรูป เกิดต่อจากรูปตัณหา

รูปสัญเจตนา - ความคิดอ่านในรูปเกิดต่อจากรูปสัญญา

รูปสัญญา - ความหมายรู้ในรูป เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชา เวทนา

รูปพรหม - พรหมในชั้นรูปภพ, พรหมที่เกิดด้วยกำลังรูปฌาน มี ๑๖ ชั้น ดู พรหมโลก

รูปภพ - โลกเป็นที่อยู่ของพวกรูปพรหม  หรือ  ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาน

รูปราคะ - ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)

รู้แจ้งในอารมณ์ - เวทนา - ในความหมายของผู้เขียน(webmaster)หมายถึง การรับรู้พร้อมทั้งความจําได้ในอารมณ์อันคือสิ่งที่มากระทบหรือสัมผัส(ผัสสะ)  (ในบางทีบางท่านหมายถึงวิญญาณ)   รู้เท่าทัน หมายถึงรู้เท่าทันตามความเป็นจริงที่มันเกิด เช่นจิตมีโทสะ ก็รู้เท่าทันว่าจิตหรือจิตสังขารหรือความคิดนั้นเกิดขึ้น และเป็นโทสะหรือความโกรธ(ตามหลักสติปัฏฐาน๔),  แค่รู้และต้องหยุดคิดนึกปรุงแต่งต่อจากความรู้เท่าทันนั้นเพราะจะทําให้จิตมีโอกาสปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไปอีก

มีต่อค่ะ >>> :http://nkgen.com/ex3.htm#a


สังขาร
สังขารในปฏิจจสมุปบาท
.....
--------
..
..
         สังขาร  เหล่านี้อันได้สั่งสม อบรม หรือประพฤติ ปฏิบัติมาแต่เก่าก่อน ด้วยความพยายามหรือการติดเพลินก็แล้วแต่เหล่านี้  เป็นดังเช่นสังขารในปฏิจจสมุปบาท  เพียงแต่บางอย่างเป็นสังขารในทางโลก ไม่ได้เกิดแต่อวิชชา จึงไม่ยังให้เกิดทุกข์  แต่ต้องการชี้เน้น  ให้เห็นสภาวะธรรม หรือเข้าใจถึงความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติขององค์ธรรมสังขาร ในปฏิจจสมุปบาท ซึ่งก็เป็นไปในลักษณาการเดียวกัน  ด้วยเหตุดังนี้เองการจะเอาชนะสภาวะธรรมหรือธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของสังขารอันก่อให้เกิดความทุกข์เหล่านี้  จึงต้องอาศัยธรรมหรือความเข้าใจธรรมชาติของทุกข์อันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ท่านเป็นเครื่องช่วยนำพาในการปฏิบัติ   และสั่งสมให้เกิดสังขารใหม่อันถูกต้องดีงามอันมิได้เกิดแต่อวิชชา

การโยนิโสมนสิการ  สังขารในองค์ธรรมปฏิจจสมุปบาท
         เมื่อเริ่มโยนิโสมนสิการก็มักตีความในสังขารผิด   มักไปคิดตามที่พอรู้มาแต่อ้อนแต่ออกว่า สังขารที่หมายถึงร่างกายตัวตนบ้าง   สังขาร-การกระทำบ้าง   สังขาร-สิ่งปรุงแต่งบ้าง  กล่าวคือ ไม่เข้าใจความหมายที่กระชับเฉพาะตัว   จึงตีความปฏิจจสมุปบาทผิดพลาดไปแต่เริ่มแรกก็มี  จึงไม่สามารถดำเนินการพิจารณาต่อไปได้อย่างถูกต้อง
         หรือเมื่อเข้าใจว่าสังขารหมายถึงการกระทำตามที่ได้สั่งสมหรืออบรมประพฤติปฏิบัติมาแต่เก่าก่อนหรือเนื่องมาจากอาสวะกิเลสที่สามารถผุดขึ้นมาด้วยอาการธรรมชาตินั่นเอง   ก็เกิดวิจิกิจฉาขึ้นว่า ทำไมสังขารจึงเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ   วิญญาณน่าจะเกิดก่อน   เหตุเพราะตามความเชื่อที่มีมาแต่เดิมอย่างมิจฉาทิฎฐิที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าผู้มีชีวิตนั้นต้องมีวิญญาณกำกับอยู่แล้ว(เจตภูต)อันฝังตัวอยู่อย่างลึกซึ้งและแน่นแฟ้นตามที่มีการถ่ายทอดสั่งสอนอบรมกันมาอย่างไม่รู้ตัว  เมื่อเจริญวิปัสสนาจึงมักแฝงด้วยความเข้าใจดังกล่าวเข้าร่วมด้วยโดยไม่รู้ตัว  ดังนั้นพิจารณากี่ครั้งกี่ทีก็ออกมาในรูปที่ว่าควรเกิดวิญญาณขึ้นก่อนหรือวิญญาณมีมาตั้งแต่เกิดแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสังขารการกระทำ    แต่ความจริงวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทนี้หมายถึง วิญญาณ ๖ ที่หมายถึง วิญญาณตา วิญญาณหู ฯ. ที่หมายถึงระบบประสาทหรือระบบนำส่งข้อมูลในการรับรู้ในสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น(ไปยังสมองหรือหทัยวัตถุอันเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของจิต)   จึงมิได้หมายถึงวิญญาณที่หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณหรือเจตภูตที่มีมาแต่การเกิดหรือวิญญาณที่ลอยละล่องตามที่ปุถุชนทั่วไปเข้าใจกันโดยพื้นๆอันแอบแฝงอยู่ในจิต    และเป็นวิญญาณที่เกิดเฉพาะกิจนั้นๆ กล่าวคือ เกิดขึ้นมาเนื่องสัมพันธ์กับสังขารที่ผุดขึ้นหรืออาจปรุงแต่งขึ้นมานั่นเอง
(อ่านรายละเอียดเรื่องวิญญาณที่แสดงอย่างปรมัตถ์หรือโลกุตระ จากพระสูตรชื่อ มหาตัณหาสังขยสูตร ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องของวิญญาณ เพื่อการเจริญวิปัสสนาหรือโยนิโสมนสิการปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์ ๕)

         บางคนมีพื้นนิสัยเป็นคนเจ้าโทสะ    บางคนเป็นคนเจ้าราคะ(โลภะ)   บางคนเป็นคนหดหู่ เศร้าสร้อย หรือชอบวิตกกังวล (โมหะ)    สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็ล้วนเป็นจิตสังขารตามที่ได้สั่งสมอบรมหรือปฏิบัติมาแต่เก่าก่อนอย่างหนึ่งเช่นกัน   อันเกิดขึ้นเนื่องจากอาสวะกิเลสที่เก็บจำนอนเนื่องอยู่นั่นเอง  เพียงแต่เป็นการพิจารณาในมุมมองที่กว้างขวางขึ้นเท่านั้น   ดังนั้นจิตสังขารในจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ จึงล้วนสามารถเป็นสังขารอันสั่งสมหรือเคยชินในปฏิจจสมุปบาทได้เช่นกัน  ดังเช่น ราคะ  โทสะ โมหะ  จิตหดหู่  จิตฟุ้งซ่าน  จิตเป็นฌาน  จิตเป็นสมาธิ  ดังนั้นสังขารเหล่านี้จึงสามารถเกิดขึ้นมาได้เช่นสังขารความคิดต่างๆเช่นกัน    ดังเช่น ผู้ที่มีพื้นนิสัยความหดหู่หรือวิตกกังวลใจอยู่เสมอๆอันได้เคยสั่งสมไว้อย่างมาก   ดังนั้นบางทีอยู่ดีๆสังขารความหดหู่หรือวิตกกังวลก็อาจผุดขึ้นมาเหมือนสังขารความคิดต่างๆได้เป็นธรรมดาเช่นกันอันเนื่องมาแต่อาสวะกิเลสและอวิชชาเป็นเหตุปัจจัยกันนั่นเอง   และปล่อยให้เกิดการคิดปรุงแต่งต่อไปจนเป็นอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนและยาวนานมากขึ้นไปเป็นลำดับ    ดังนั้นเมื่อมีสติรู้เท่าทันเมื่อสังขารเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว   ก็อุเบกขา  ไม่เอนเอียงแทรกแซงปรุงแต่งต่อด้วยกริยาจิต  หรือถ้อยคิด  ใดๆ    ทุกขเวทนาอันเกิดแต่สังขารเหล่านั้นก็จะแสดงพระไตรลักษณ์ให้เห็น  กล่าวคือ ค่อยๆ...ค่อยจางๆ...ค่อยจาง...คลาย....จนดับไปเป็นที่สุด   เหมือนดังกองฟืนที่ไม่มีเชื้อไฟเข้าไปเพิ่ม  จึงย่อมค่อยๆหรี่...หรี่ลง....จนมอดดับไปในที่สุด

         ได้กล่าวถึงสภาวะของทุกขเวทนาหรือจิตสังขารที่แสดงพระไตรลักษณ์อยู่เนืองๆว่า เป็นไปในลักษณาการที่  "ค่อยๆ...ค่อยจางๆ...ค่อยจาง...คลาย...จนดับไปเป็นที่สุด  เหมือนดังกองฟืนที่ไม่มีเชื้อไฟเข้าไปเพิ่ม"   เพราะต้องการเน้นให้เห็นในสภาวะการดับของกระบวนการจิตอย่างแจ่มแจ้ง  อันมีอนิจจังความแปรปรวนที่เกิดขึ้นก่อน จึงค่อยๆจางคลาย  จนดับไปด้วยทุกขัง   เพราะเมื่อประสบกับทุกขเวทนาปุถุชนย่อมล้วนอยากให้ดับไปโดยเร็วดังใจด้วยการพยายามผลักไสต่างๆนาๆ   เมื่อไม่ได้ดังใจและเพราะความไม่รู้จึงกลายเป็นสร้างตัณหาความอยากดับในทุกข์อันเร่าร้อนที่เกิดนั้นเพิ่มขึ้นไปอีก   อันย่อมก่อเกิดความทุกข์เร่าร้อนกระวนกระวายเพิ่มขึ้นไปอีกนั่นเอง จึงเหมือนการเพิ่มเชื้อไฟหรือฟืนเข้าไปในกองไฟเหมือนความคิดปรุงแต่งเช่นกัน  กองไฟอันเร่าร้อนเผาลนและกำลังมอดลงๆเพราะไตรลักษณ์จึงย่อมต้องลุกโพลงขึ้นมากกว่าเดิมอีกเป็นธรรมดา    ดังนั้นการรู้การเข้าใจในลักษณาการในการดับไปของทุกขเวทนาหรือความทุกข์หรือจิตสังขารเช่นโทสะ โมหะ ฯลฯ.อย่างถูกต้องนั้น   ก็จะช่วยไม่ให้เกิดความดิ้นรนทะยานอยาก(ตัณหา)หรือการเกิดตัณหาซ้อนตัณหาเดิมในการอยากดับทุกข์นั้นไวๆเพราะความไม่รู้  จิตจึงไม่ยอมรับสภาวธรรมของการดับไปอันเป็นเช่นนี้เอง  (ตถตา)


http://www.nkgen.com/731.htm
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2013, 12:25:20 pm »



มาฆบูชา - การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ณ พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์    (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงในวันนี้)

มโนวิญญาณ - ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ ดู วิญญาณ

มโนสัญเจตนาหาร - ความจงใจเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)

มโนสัมผัส - อาการที่ใจ ธรรมารมณ์ และมโนวิญญาณประจวบกัน ดู สัมผัส

มโนสัมผัสสชาเวทนา - เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ใจ ธรรมารมณ์และมโนวิญญาณประจวบกัน ดู เวทนา

มรณสติ - ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาให้ใจสงบจากอกุศลธรรม เกิดความไม่ประมาทและไม่หวาดกลัว คิดเร่งขวนขวายบำเพ็ญกิจและทำความดี (ข้อ ๗ ในอนุสติ ๑๐)

มรรค - ทาง, หนทาง, ทางปฏิบัติ
     ๑. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ  ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริ(คิด)ชอบ  ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ  ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำ(ประพฤติ)ชอบ  ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ  ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ  ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ  ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ
     ๒. มรรคว่าโดยระดับการให้สำเร็จกิจ คือ ทางอันให้ถึงความเป็นอริยบุคคลแต่ละขั้น, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด เป็นชื่อแห่งโลกุตตรธรรมคู่กับผล มี ๔ ชั้นคือ โสดาปัตติมรรค๑  สกทาคามิมรรค๑  อนาคามิมรรค๑  อรหัตตมรรค ๑
มรรคจิต - ขณะจิตที่สัมปยุต(ประกอบด้วย)ด้วยมรรคองค์๘,   พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิต กล่าวคือกลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

มรรคสมังคี, มรรคสามัคคี - ความพร้อมเพรียงขององค์มรรค, องค์มรรคทั้ง ๘ ทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่าง ๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จในมรรคผลขั้นใดขั้นหนึ่ง กล่าวคือเป็นอริยบุคคล ;  ดู ธรรมสามัคคี

มรรคองค์ ๑๐ - สัมมัตตะ - ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ, เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ  ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณและปัจจเวกขณญาณ  อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ๑๐. สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ;  เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐; ดูสัมมัตตะ

มหรคต - “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่”  “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่” หรือ “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่" คือ เข้าถึงฌาน, เป็นรูปาวจรหรืออรูปาวจร, ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ(การพ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้ ได้แก่ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว  กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ )

มหาภูต - ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม    ดู มหาภูตรูป  ธาตุ ๔

มหาภูตรูป - รูปใหญ่, รูปต้นเดิม คือ ธาตุ ๔ ได้แก่ ปฐวี(ดิน) อาโป(นํ้า) เตโช(ไฟ) และวาโย(ลม)  ดู ธาตุ ๔

มหาสติ - เป็นคำย่อมาจากมหาสติปัฏฐานสูตร และมักใช้ในความหมายที่ว่า มีสติยิ่ง ที่หมายถึง สติที่รู้เท่าทันในกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรมเป็นอย่างยิ่ง จนสตินี้สามารถกระทำโดยแทบไม่ต้องเจตนาหรือไม่ต้องตั้งใจอย่างแรงกล้า กล่าวคือ สามารถกระทำคือผุดระลึกรู้เท่าทันตามจริงเองได้โดยอัติโนมัติ คือมันเกิดมันทำของมันเองโดยธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นมาแต่การสั่งสมอย่างดีเลิศหรือเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง จนเคยชินยิ่ง อันเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตนั่นเอง  จึงเป็นสังขารที่เกิดแต่วิชชา กล่าวคือเกิดแต่การปฏิบัติสั่งสมอย่างถูกต้องทั้งด้วยสติและปัญญา

มานะ - ความถือตัว, ความสําคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ดีกว่าเขา เสมอเขา ด้อยกว่าเขา (ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖)  คนละความหมายกับ มานะ ในภาษาไทยที่แปลว่า ความพยายาม, ความตั้งใจจริง

มิจฉา - ผิด,  แบบผิดๆ

มิจฉาญาณ - รู้อย่างผิดๆ เช่น ความรู้ ความเข้าใจแบบผิดๆ,  ความรู้ในการคิดอุบายทำความชั่วให้สำเร็จ (ข้อ ๙ ในมิจฉัตตะ ๑๐ ภาวะที่ผิด)

มิจฉาทิฏฐิ - เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี  มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น  และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (พจนานุกรม เขียน มิจฉาทิฐิ)  (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐ ภาวะที่ผิด) มิจฉาวิมุตติ - พ้นผิด เช่นการระงับกิเลสบาปธรรมได้ชั่วคราว เพราะกลัวอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลก การระงับกิเลสนั้นย่อมดี แต่เป็นการระงับเพราะความกลัวในอำนาจพระเจ้าผู้สร้างโลกนั้น ผิดทาง ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง ที่หมายถึงพ้นทุกข์อย่างเด็ดขาด ไม่กลับกลายหายสูญ (ข้อ ๑๐ ในมิจฉัตตะ ๑๐ ภาวะที่ผิด)

มิจฉาสติ - ระลึกผิด ได้แก่ระลึกถึงการอันจะยั่วให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ (ข้อ ๗ ในมิจฉัตตะ ๑๐ ภาวะที่ผิด)

มิจฉาสมาธิ - มิจฉาฌาน - ตั้งใจผิด ได้แก่จดจ่อ ปักใจแน่วในราคะ เช่น จดจ่อในความสุข,ความสงบ,ความสบาย ที่เกิดขึ้นจากอำนาจของสมาธิหรือองค์ฌานจากฌาน (ดังแสดงออกด้วยอาการจิตส่งใน),  ความจดจ่อ ปักใจ แน่วในกามราคะ ในพยาบาท เป็นต้น (ข้อ ๘. ใน มิจฉัตตะ ๑๐) ; มิจฉัตตะ - ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิดมี ๑๐ อย่าง คือ  ๑. มิจฉาทิฏฐิ   ๒. มิจฉาสังกัปปะ   ๓. มิจฉาวาจา   ๔. มิจฉากัมมันตะ   ๕. มิจฉาอาชีวะ   ๖. มิจฉาวายามะ   ๗. มิจฉาสติ   ๘. มิจฉาสมาธิ   ๙. มิจฉาญาณ   ๑๐. มิจฉาวิมุตติ;   ตรงข้ามกับ สัมมัตตะ ๑๐ หรือบางทีเรียกมรรคองค์ ๑๐ ที่มีในพระอริยเจ้า

โมหะ - ความหลง, ความไม่รู้ตามเป็นจริง, อวิชชา,  ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโมหะ คือ ความรู้จริง ได้แก่ปัญญา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 11, 2012, 08:46:13 pm »



             

ผัสสะ - การประจวบกันของอายตนะภายใน๑ และอายตนะภายนอก๑ และวิญญาณ๑ เรียกการประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ ว่าผัสสะ ดังเช่น ตา + รูป + วิญญาณ;   ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ;   ผัสสะ ๖ ผัสสะอันเนื่องมาจากอายตนะต่างๆทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ผล - สิ่งที่เกิดจากเหตุ,  ประโยชน์ที่ได้;  ชื่อแห่งโลกุตตรธรรมคู่กับมรรค และเป็นผลแห่งมรรค มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล ๑   สกทาคามิผล ๑   อนาคามิผล ๑   อรหัตตผล ๑
ผลญาณ - ญาณในอริยผล, ญาณที่เกิดขึ้นในลำดับ ต่อจากมรรคญาณ และเป็นผลแห่งมรรคญาณนั้น ซึ่งผู้บรรลุแล้วได้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ มีโสดาบัน เป็นต้น
โผฏฐัพพะ - อารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย, สิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นต้น (ข้อ ๕ ในอายตนะภายนอก ๖ และในกามคุณ ๕)


พระเสขะ - อริยะบุคคล ผู้ยังไม่บรรลุพระอรหันต์ มี พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
พระอเสขะ - อีกชื่อหนึ่งของ "พระอรหันต์ "
พรหมวิหาร - ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ มี ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
พุทธาธิบาย - พระประสงค์ของพระพุทธเจ้า, พระดำรัสชี้แจงของพระพุทธเจ้า
พยากรณ์ - ทาย, ทำนาย, คาดการณ์; ทำให้แจ้งชัด, ตอบปัญหา

พยาบาท - ความขัดเคืองแค้นใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา;     ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น
โพธิปักขิยธรรม - ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรคมี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔,  สัมมัปปธาน ๔,  อิทธิบาท ๔,  อินทรีย์ ๕,  พละ ๕,  โพชฌงค์ ๗,  มรรคมีองค์ ๘


ภพ - โลกเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์ มี ๓ คือ  ๑.กามภพ ภพของผู้ยังเสวยกามคุณ   ๒.รูปภพ ภพของผู้เข้าถึงรูปฌาณ   ๓.อรูปภพ ภพของผู้เข้าถึงอรูปฌาณ
ภูมิ - 1.พื้นเพ, พื้น, ชั้น, ที่ดิน, แผ่นดิน   2. ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต มี ๔ คือ  ๑.กามาวจรภูมิ ชั้นที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในกาม   ๒.รูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือชั้นของพวกที่ได้รูปฌาน   ๓.อรูปาวจรภูมิ ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปหรือชั้นของพวกที่ได้อรูปฌาน   ๔.โลกุตตรภูมิ ชั้นที่พ้นโลกหรือระดับพระอริยบุคคล

ภวตัณหา - ความอยาก-ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิด อยากมีอยู่คงทนตลอดไปตามใจปรารถนา
ภวังค์, ภวังคจิต - ขณะจิต ที่จิตมิได้มีการเสวยอารมณ์จากทวารทั้ง ๖ หรือก็คือ ขณะที่จิตหยุดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖  ;   จิตที่เป็นองค์แห่งภพ,  ตามหลักอภิธรรมว่า จิตที่เป็นพื้น อยู่ระหว่างปฏิสนธิและจุติ กล่าวคือตั้งแต่เกิดจนถึงตาย  ในเวลาใดที่มิได้เสวยอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ (อันมี จักขุทวาร-ตา,โสตทวาร-หู, มโนทวาร-ใจหรือจิต ฯ. เป็นต้น),  แต่เมื่อใดมีการรับรู้อารมณ์ เช่น เกิดการเห็น การได้ยินเป็นต้น ก็เกิดเป็นวิถีจิตขึ้น แทนภวังคจิต   และเมื่อวิถีจิตที่เกิดจากทวารทั้ง๖ไปเสวยอารมณ์ดับไป  ก็เกิดเป็นภวังคจิตขึ้นอย่างเดิม
       ภวังคจิต นี้ คือมโน(ใจ) ที่เป็นอายตนะที่ ๖ หรือมโนทวาร อันเป็นวิบาก จัดเป็นอัพยากฤต ซึ่งเป็นจิตตามสภาพ หรือตามปกติของมัน  เป็นเพียงมโน(จิตหรือใจ)  ยังไม่เป็นมโนวิญญาณ(ที่รู้แจ้งคือรับรู้ในสิ่งที่กระทบ)
       พุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่  แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้น การชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้;   จิตที่ประภัสสรนี้ พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า ได้แก่ภวังคจิต
 
ภาวนา - การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญ 
    ๑. การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่างคือ ๑. สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ  ๒.วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง,  อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ  ๑.จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรม มีความเข้มแข็งมั่นคง เบิกบาน สงบสุขผ่องใสพร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ   ๒.ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญา ให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์   
    ๒. การเจริญสมถกรรมฐานเพื่อให้เกิดสมาธิมี ๓ ขั้น คือ  ๑. บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นตระเตรียม คือ กำหนดอารมณ์กรรมฐาน  ๒. อุปจารภาวนา ภาวนาขั้นจวนเจียน คือ เกิดอุปจารสมาธิ  ๓. อัปปนาภาวนา ภาวนาขั้นแน่วแน่ คือ เกิดอัปปนาสมาธิเข้าถึงฌาณ 
    ๓. ในภาษาไทย ความหมายเลือนมาเป็น การท่องบ่นหรือว่าซ้ำๆให้ขลัง ก็มี

ภาวนาปธาน - เพียรเจริญ, เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่มียังไม่เกิด ให้เกิดให้มีขึ้น (ข้อ ๓ ในปธาน ๔)
ภาวนามัย - บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญภาวนา, ความดีที่ทำด้วยการฝึกอบรมจิตใจให้สุขสงบมีคุณธรรม เช่น เมตตากรุณา (จิตตภาวนา) และฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง (ปัญญาภาวนา) ดู ภาวนา (ข้อ ๓ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)
ภาวรูป - รูปที่เป็นภาวะแห่งเพศ มี ๒ คือ อิตถีภาวะ ความเป็นหญิง และปุริสภาวะ ความเป็นชาย

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 11:55:05 am »


                   

ปริวาส - การอยู่ชดใช้ เรียกสามัญว่าอยู่กรรม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธี (ระเบียบปฏิบัติสำหรับออกจากครุกาบัติ) อย่างหนึ่ง ซึ่งภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ จะต้องประพฤติเป็นการลงโทษตนเองชดใช้ให้ครบเท่าจำนวนวันที่ปิดอาบัติ ก่อนที่จะประพฤติมานัตอันเป็นขั้นตอนปกติของการออกจากอาบัติต่อไป, ระหว่างอยู่ปริวาส ต้องประพฤติวัตรต่างๆ เช่น งดใช้สิทธิบางอย่าง ลดฐานะของตนและประจานตัวเป็นต้น ; ปริวาส มี ๓ อย่าง คือ ปฏิจฉันนปริวาส สโมธานปริวาส และ สุทธันตปริวาส ; มีปริวาสอีกอย่างหนึ่งสำหรับนักบวชนออกศาสนา จะต้องประพฤติก่อนที่จะบวชในพระธรรมวินัย เรียกว่า ติตถิยปริวาส ซึ่งท่านจัดเป็น อปฏิจฉันนปริวาส

ปฏิภาคนิมิต - นิมิตเสมือน, เป็นภาพเหมือนของอุคคหนิมิตเกิดจากสัญญา(จํา) สามารถนึกขยายหรือย่อ ให้ใหญ่หรือเล็กได้ตามปรารถนา
ปฏิเวธ - เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ
ปฏิปักษ์ - ฝ่ายตรงกันข้าม, คู่ปรับ, ข้าศึก, ศัตรู
ปฏิโลม - ในปฏิจจสมุปบาท หมายถึงการพิจารณาการดับไปแห่งทุกข์เป็นลําดับ
ปปัญจสัญญา - สัญญาอันมีการเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่สลับซับซ้อนและมักเจือด้วยกิเลสและตัณหา  ถือได้ว่าเป็นสัญญาชนิดทําหน้าที่เป็น "ตัณหา"

ปรมัตถ์ - ความหมายสูงสุด, ความหมายที่แท้จริง,
ปรมัตถธรรม - ธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่เป็นจริงโดยความหมาย(ในระดับ หรือในขั้น)สูงสุด(แก่นแท้)
ปรมัตถสัจจะ - ความจริงโดยความหมายสูงสุด เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ฯ.   ตรงข้ามกับสมมติสัจจะ อันคือจริงโดยสมมติขึ้น เช่น สัตว์ บุคคล เธอ ฉัน นายแดง นายขาว รถฉัน บ้านเธอ ที่มีความหมายว่า จริงในระดับหนึ่งหรือจริงในระยะเวลาหนึ่ง

       ปรมัตถสัจจะนั้นหมายถึง ความจริงขั้นสูงสุด หรือจริงแท้อยู่เยี่ยงนั้นเป็นธรรมดา ดังเช่น ชีวิตเกิดแต่เหตุปัจจัยของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้เป็นปรมัตถสัจจะ,  ส่วนสมมติสัจจะนั้น อาจจะกล่าวหรือหมายความได้ว่า "ความจริงในระดับหนึ่งหรือความจริงแค่ในระยะเวลาหนึ่ง" ดังเช่น นายแดงหรือชีวิตของนายแดงเป็นสมมติสัจจะ
ประภัสสร - ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธ์    ดังพุทธพจน์ว่า “จิตนี้ประภัสสร (ผุดผ่อง ผ่องใส บริสุทธิ์) แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสที่จรมา” มีความหมายว่า จิตนี้โดยธรรมชาติของมันเอง มิใช่เป็นสภาวะที่แปดเปื้อนสกปรก หรือมีสิ่งเศร้าหมองเจือปนอยู่ แต่สภาพเศร้าหมองนั้นเป็นของแปลกปลอมเข้ามา ฉะนั้นการชำระจิตให้สะอาดหมดจดจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

ปริเทวะ - ความครํ่าครวญ, ความร่ำไรรําพัน ความบ่นเพ้อ  จึงรําลึกถึงทั้งในสุขและทุกข์ เช่น คร่ำครวญหรือรำพันในทุกข์  หรือบ่นเพ้อคือคร่ำครวญถึงความสุข;   ดูอาสวะกิเลส
ปริยัติ - พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน,  สิ่งที่ควรเล่าเรียน (โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลี คือพระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระธรรมวินัย);  การเล่าเรียนพระธรรมวินัย
ปิยรูป สาตรูป๑๐ - สิ่งที่มีสภาวะน่ารักน่าชื่นใจ  เป็นที่เกิดและเป็นที่ดับของตัณหา
ปีติ - (มักเขียนกันเป็นปิติ) ความอิ่มใจ, อิ่มเอิบ, ความดื่มด่ำในใจ มี ๕ คือ ๑.ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนชันน้ำตาไหล   ๒.ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ   ๓.โอกกันติกาปีติ  ปีติเป็นระลอกรู้สึกซู่ลงมาๆ ดุจคลื่นซัดฝั่ง   ๔.อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ให้ใจฟูตัวเบาหรืออุทานออกมา   ๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์เป็นของประกอบกับสมาธิ  (มีรายละเอียดอยู่ในบท ฌาน,สมาธิ)

ปุถุชน - คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส,  คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคล หรือพระอริยะ
ปัจจัย - ในทางธรรมหมายถึง  เครื่องสนับสนุนให้ธรรม(สิ่ง)อื่นๆเกิดขึ้น,  เหตุที่ให้ผลเป็นไป,  เครื่องหนุนให้เกิด
          (เหตุ - สิ่งที่ทำให้เกิดผลขึ้น,   สิ่งที่ก่อเรื่อง,  เค้ามูล,   เรื่องราว, )
         - ของสำหรับอาศัยใช้, เครื่องอาศัยของชีวิต, สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต มี ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม)  บิณฑบาต (อาหาร)  เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย)  คิลานเภสัช (ยาบำบัดโรค)
ปัจจัตตัง - รู้ได้เฉพาะตน   ดังการกินอาหาร ใครจะกล่าวว่าอร่อย เปรี้ยว หวาน มัน เค็มเยี่ยงไร ก็ย่อมไม่สามารถรู้รสชาดได้บริบูรณ์เหมือนการชิมด้วยตนเอง จึงเป็นลักษณาการของการรู้ได้เฉพาะตน

ปัญญา - ความรู้ทั่ว, ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน, ความรู้เข้าใจหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น  และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ, ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง
           - ความเข้าใจหรือความเห็น เป็นไปตามความเป็นจริง   กล่าวคือ ไม่เชื่อไม่เห็นไปตามความคิด,ความเชื่อ,ความอยากของตนเอง  จึงไม่ได้หมายถึงความฉลาดเฉลียว หรือI.Q.สูงแต่อย่างใด   แต่เป็นปัญญาในการเห็นการเห็นหรือเข้าใจตามความจริงที่เป็นไป(ยถาภูตญาณ)

ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักษุ - จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา, จึงหมายถึงปัญญา ;   เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ (ข้อ ในจักขุ )
ปัญญาวิมุตติ - ความหลุดพ้นด้วยปัญญา,
       ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
       และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป
ปัสสัทธิ - ความสงบกาย,สงบใจ ความผ่อนคลายกายและใจ (ข้อ ในสัมโพชฌงค์๗)

เป็นธรรมดา - อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ ;  สามัญ, ปกติ, พื้นๆ :  ในเรื่องต่างๆที่กล่าวนั้น  จะสังเกตุได้ว่ามีคำว่า เป็นธรรมดา หรือ มันเป็นเช่นนั้นเอง(ตถตา)แทรกอยู่อย่างมากมายแทบทุกบททุกตอน  จึงอยากขอกล่าวถึงสักเล็กน้อยว่า เป็นธรรมดานั้น  เป็นธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หรือหมายถึงยิ่งใหญ่นั่นเอง หมายถึงต้องเป็นไปเช่นนั้นเองเท่านั้น  ไม่เป็นอื่นไปได้  เพราะความเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาตินั่นเอง อันเป็นอสังขตธรรม แม้เป็นอนัตตา แต่มีความเที่ยง คงทนอยู่ได้ทุกกาล  จึงต้องเป็นไปเช่นนั้นเอง ไม่เป็นอื่นไปได้,  จึงเป็นธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2011, 05:41:48 am »


                 

บริกรรม - การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ  หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ   (ในภาษาไทยเลือนไปหมายถึง ท่องบ่น, เสกเป่า)
บริกรรมภาวนา - ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
บุคคลาธิษฐาน - มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนา ยกบุคคลขึ้นตั้ง คือ วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้างแสดง  คู่กับธรรมาธิษฐาน
บุญ - เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกาย วาจาและใจ, กุศลธรรม, ความใจฟู, ความอิ่มเอิบ

บุพเพนิวาสานุสติญาณ - ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
บูชา - ให้ด้วยความนับถือ, แสดงความเคารพเทิดทูน มี ๒ คือ อามิสบูชา และปฏิบัติบูชา,  พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ  ประพฤติตามธรรมคำสั่งสอนของท่าน, บูชาด้วยการประพฤติปฏิบัติกระทำสิ่งที่ดีงาม
เบญจกามคุณ - กามคุณ ๕ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
เบญจขันธ์ - ขันธ์ ๕ - กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่ ๑. รูปขันธ์ กองรูป ๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา ๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร ๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ

เบญจธรรม - ธรรม ๕ ประการ, ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อ ดังนี้ ๑. เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕. สติสัมปชัญญะ ; บางตำราว่าแปลกไปบ้าง  ข้อคือ ๒. ทาน  ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน  ๕ อัปปมาทะ = ไม่ประมาท; เบญจกัลยาณธรรมก็เรียก
เบญจศีล - ศีล ๕ เว้นฆ่าสัตว์  เว้นลักทรัพย์  เว้นประพฤติผิดในกาม  เว้นพูดปด  เว้นของเมา  มีคำสมาทานว่า ๑. ปาณาติปาตา ๒. อทินนาทานา ๓. กาเมสุมิจฺฉาจารา ๔. มุสาวาทา ๕. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา ต่อท้ายด้วยเวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ทุกข้อ


ปราโมทย์ - ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ
ปฏิกูล - น่าเกลียด, น่ารังเกียจ
ปฏิฆะ - ความขัด, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ
ปฏิฆานุสัย - กิเลส ความขุ่นข้อง ขัดเคือง ที่นอนเนื่องในสันดาน;   ดูอนุสัย

ปฏิจจสมุปบาท - สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีองค์คือหัวข้อ ๑๒ ดังนี้
๑. อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
๒. สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณี เพราะสังขาร เป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
๓. วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ เพราะวิญญาณ เป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
๔. นามรูปปจฺจยา สฬายตนํ เพราะนามรูป เป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
๕. สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
๖. ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย เวทนาจึงมี

๗. เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนา เป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
๘. ตณฺหาปจฺจยา อุปาทานํ เพราะตัณหา เป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
๙. อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย ภพจึงมี
๑๐. ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพ เป็นปัจจัย ชาติจึงมี
๑๑. ชาติปจฺจยา ชรามรณํ เพราะชาติ เป็นปัจจัย (๑๒.) ชรามรณะ จึงมี
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสา สมฺภวนฺติ   โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมมัส อุปายาส จึงมีพร้อม
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ  ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้จึงมีด้วยประการฉะนี้

ปฏิจจสมุปบันธรรม - ปฏิจจสมุปปันนธรรม - ธรรมหรือสภาวธรรมที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้นมาแต่เหตุปัจจัย เช่น การเกิดแต่เหตุปัจจัยของความทุกข์หรือปฏิจจสมุปบาท เรียกสภาวธรรมนี้ว่าปฏิจจสมุปบันธรรม,  การเกิดแต่เหตุปัจจัยของขันธ์ ๕ หรืออุปาทานขันธ์๕,  ธรรมหรือสภาวธรรม ในการเกิดมาแต่เหตุปัจจัยของสังขารหรือสรรพสิ่งต่างๆ กล่าวคือ จึงครอบคลุมสิ่งต่างๆหรือสังขาร(สังขตธรรม)ที่เกิดขึ้นแต่เหตุหรือสิ่งต่างๆมาเป็นปัจจัยกันทั้งสิ้น นั่นเอง
ปฏิปทา - ทางดำเนิน, ความประพฤติ, ข้อปฏิบัติ
ปฏิสนธิจิตต์ - จิตที่สืบต่อภพใหม่, จิตที่เกิดทีแรกในภพใหม่
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ - ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง, ปรีชาคำนึงพิจารณาสังขาร เพื่อหาทางเป็นเครื่องพ้นไปเสีย ดู วิปัสสนาญาณ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2011, 06:06:21 am »


                     

นาม - ธรรมที่รู้จักกันด้วยชื่อ กำหนดรู้ด้วยใจเป็นเรื่องของจิตใจ, สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปแต่น้อมมาเป็นอารมณ์ของจิตได้   ๑.ในที่ทั่วไปหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ   ๒.บางแห่งหมายถึงอรูปขันธ์ ๔ นั้นและนิพพาน (รวมทั้งโลกุตตรธรรมอื่นๆ)   ๓.บางแห่งเช่นในปฏิจจสมุปบาท บางกรณีหมายเฉพาะเจตสิกธรรมทั้งหลาย เทียบ รูป
นามธรรม - สิ่งที่ไม่มีรูปร่างตัวตน สัมผัสได้ด้วยใจ หรือความคิด
                - สภาวะที่น้อมไปหาอารมณ์, ใจและอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจ คือ จิตและเจตสิก,  สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ
นามรูป - นามธรรมและรูปธรรม;   นามธรรม หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ด้วยใจ ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ;    รูปธรรม หมายถึงสิ่งที่มีรูป สิ่งที่เป็นรูป ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด
นามรูปปริจเฉทญาณ - ญาณกำหนดแยกนามรูป, ญาณหยั่งรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นแต่เพียงนามและรูป  และกำหนดจำแนกได้ว่าสิ่งใดเป็นรูป สิ่งใดเป็นนาม (ข้อ ในญาณ ๑๖)
นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ - ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป, ญาณหยั่งรู้ที่กำหนดจับได้ซึ่งปัจจัยแห่งนามและรูป โดยอาการที่เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น (ข้อ ในญาณ ๑๖) เรียกกันสั้นๆ ว่า ปัจจัยปริคคหญาณ)

นิพพาน - การดับกิเลสและกองทุกข์เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ดู นิพพานธาตุ
นิพพานธาตุ - ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือนิพพานธาตุ ๒ คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสและยังมีขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์อยู่ ๑  หมายถึง ยังมีชีวิตอยู่  ดังนั้นจึงไม่ใช่การพยายามดับขันธ์๕ แต่เป็นการดับอุปาทานที่ไปยึดขันธ์๕   อนุุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ๑ (ตายหรือดับขันธ์)
นิพพิทา - ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง  ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา เพราะเป็นการหน่ายที่เกิดจากกิเลสตัณหา;   ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์  (ดูรายละเอียดในบท นิพพิทา)
นิพพิทาญาณ - ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขารด้วยความหน่าย ดู วิปัสสนาญาณ

นิมิต - สิ่งที่เกิดปรากฏเฉพาะขึ้นในนักปฏิบัติ อันเกิดแต่ใจของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ เช่น ภาพที่ปรากฏขึ้นแต่ใจของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐาน ฯ.,  พอแยกให้เห็นโดยสังเขปได้ดังนี้
          ภาพหรือรูป,แสง,สี ที่เห็นขึ้นอันเกิดแต่ใจของนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญหรือเป็นเหตุ ผู้เขียนเรียกว่ารูปนิมิต,  ส่วนเสียงที่ได้ยินอันเกิดแต่ใจของนักปฏิบัติเป็นสำคัญหรือเป็นเหตุ ผู้เขียนเรียกว่าเสียงนิมิตหรือนิมิตทางเสียง เช่นได้ยินเสียงระฆัง เสียงสวดมนต์ที่ผุดขึ้นมาแต่ภายในเอง,  และความคิดที่ผุดขึ้นมาในใจของนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญ ก็เรียกว่านามนิมิต  ทั้งปวงล้วนเกิดแต่ใจหรือสัญญา(จึงครอบคลุมถึงเหล่าอาสวะกิเลสด้วย)ของผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ  จึงมิได้เกิดแต่ปัญญาหรือการพิจารณาอย่างแจ่มแจ้งแต่อย่างเดียว  นิมิตที่พึงเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาทั้งหลายนั้น จึงอย่าได้ไปยึดมั่นหรือหลงไหล เพราะพาให้การปฏิบัติผิดแนวทางในผู้ที่ไปยึดติดยึดมั่นเข้า ;  อ่านรายละเอียดได้ในบท นิมิตและภวังค์
        บางทีก็ใช้ในความหมายว่า มอง, จ้อง, เห็น
        - เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด ในการเจริญกรรมฐาน,   ภาพที่ใช้เป็นอารมณ์ ในการปฏิบัติกรรมฐานมี ๓ คือ
        ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือกำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู หรือพุทธคุณที่นึกว่าอยู่ในใจว่า พุทโธ ก็จัดเป็นนิมิต เป็นต้น
        ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือนึกนั้นเอง จนแม่นในใจ  หรือจนหลับตามองเห็นสิ่งนั้น
        ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยาย หรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา

นิรามิส - นิรามิษ -หาเหยื่อมิได้, ไม่มีอามิษ(อามิส) คือ ไม่ต้องมีเหยื่อใช้เป็นเครื่องล่อใจ,  ไม่ต้องอาศัยวัตถุมาเป็นเครื่องล่อใจหรือกำหนด
นิโรธ - ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึง พระนิพพาน
นิโรธสมาบัติ - การเข้านิโรธ คือ ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้ และเวทนา การเสวยอารมณ์  เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
นิวรณ์, นิวรณธรรม - ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรมมี อย่าง คือ  ๑.กามฉันท์ ความพอใจในกามคุณ    ๒.พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น   ๓.ถีนมิทธะ ความหดหู่ ความซึมเซา   ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ,เดือดร้อนใจ   ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ;  ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์ ๕ คือสมาธิ

เนกขัมมะ - การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน (พจนานุกรม เขียน เนกขัม)
เนกขัมมวิตก - ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ (ข้อ ในกุศลวิตก ๓)
เนวสัญญานาสัญญายตนะ - ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นชื่ออรูปฌาน หรือ อรูปภพที่ ๔
นันทิ - ความเพลิดเพลิน ความติด ความติดเพลิน  ทําหน้าที่เป็นตัณหา
 
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2011, 05:40:39 am »


                             

ธรรม - สภาพที่ทรงไว้,  ธรรมดา,   ธรรมชาติ,  สภาวธรรม,  สัจจธรรม,  ความจริง;
          เหตุ, ต้นเหตุ;
          สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด;
          คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ;
          หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่;
          ความชอบ, ความยุติธรรม;
          พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรม(คือความจริงแท้ เรื่องของทุกข์และการดับทุกข์)ให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม ๒ - หมวดหนึ่ง คือ  ๑.รูปธรรม ได้แก่รูปขันธ์ทั้งหมด  ๒.อรูปธรรม ได้แก่นามขันธ์ ๔ และนิพพาน;  อีกหมวดหนึ่ง คือ  ๑.โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก   ๒.โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลกได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑;   อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด   ๒.อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

ธรรมขันธ์ - กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์; กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐,  สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐,  และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

ธรรมจักษุ - ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญารู้เห็นความจริง ดังเช่นว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา;  ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมัคคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน
ธรรมดา - อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ; สามัญ, ปกติ, พื้น ๆ
ธรรมฐิติ - ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา
ธรรมชาติ - สิ่งหรือของที่เกิดเอง ตามวิสัยของโลก

ธรรมนิยาม -กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดากฎธรรมชาติ,
       ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ธรรมชาติของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายให้รู้ตาม มี ๓ อย่าง
       แสดงความตามพระบาลีดังนี้
           ๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา   สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
           ๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา    สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
           ๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา     ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน;
       ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า ไตรลักษณ์ แทนคำว่า ธรรมนิยาม

ธรรมทาน - การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
ธรรมาธิษฐาน - มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนา โดยยกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่าศรัทธาศีล คืออย่างนี้   ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กันกับบุคคลาธิษฐาน
ธรรมารมณ์ - ธัมมารมณ์ - อารมณ์ทางใจ กล่าวคือ สิ่งที่กำหนดรู้ได้ทางใจ,  สิ่งที่ใจนึกคิด
ธรรมวิจยะ - ธัมมวิจยะ - ธรรมวิจัย - การวิจัยหรือค้นคว้าพิจารณาธรรม  การเฟ้นเลือกธรรม

ธรรมสามัคคี - ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม, องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกันทุกอย่าง ทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่าง ๆ โดยพร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกันให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น จนเกิดความเข้าใจในธรรมใดธรรมหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง อย่างปรมัตถ์,   แต่ถ้าเข้าใจในธรรมถึงขั้นบรรลุในมรรคผล กล่าวคือถ้าเป็นธรรมสามัคคีดังข้างต้นที่พร้อมด้วยองค์มรรค ก็เรียกกันว่า มรรคสามัคคีหรือมรรคสมังคี อันเป็นการบรรลุมรรคผลในขั้นใดขั้นหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือเป็นอริยบุคคล เช่น พระโสดาบัน   พระสกิทาคามี ฯ.เป็นต้น

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร - “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้สองเดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือ ความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก

ธัมมารมณ์ - ดู ธรรมารมณ์
ธาตุ - สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่ได้เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย หรือทรงสภาวะของมันเองได้โดยธรรมชาติ  :   ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา  ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

ธาตุ ๔ คือ ๑.ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่เรียกสามัญว่าธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (มันสมอง), หรือหมายถึงสารประกอบแข้นแข็งที่เกิดแต่การประกอบกันขึ้นของธาตุทั้ง๑๐๘ ที่ล้วนมีอยู่ในดิน ก็เพื่อประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาก็ได้   ๒.อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ ในร่างกายที่ใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ข้อความนี้ เป็นการกล่าวถึงอาโปธาตุในลักษณะที่คนสามัญทุกคนจะเข้าใจได้ และพอให้สำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน   ๓.เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่าธาตุไฟ ในร่างกาย ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวายและไฟที่เผาอาหารให้ย่อย  ๔.วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว มีลักษณะพัดไปมา, ภาวะสั่นไหว เคร่งตึง ค้ำจุน  ในร่างกายนี้ ส่วนที่ใช้กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้แก่ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมหายใจ
ธาตุ ๖ - คือ เพิ่ม  ๕.อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง หรือช่องว่าง   ๖.วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้
ธาตุ - กระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เรียกรวมๆ ว่า พระธาตุ  (ถ้ากล่าวถึงกระดูกของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรียกว่า พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระสารีริกธาตุ หรือระบุชื่อกระดูกส่วนนั้นๆ เช่น พระทาฐธาตุ)

ธาตุ ๑๘ - สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง  ตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นไปตามธรรมนิยามคือกำหนดแห่งธรรมดา คือไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล และมีรูปลักษณะกิจอาการเป็นแบบจำเพาะตัว  อันพึงกำหนดเอาเป็นหลักได้แต่ละอย่างๆ
       1. จักขุธาตุ (ธาตุคือจักขุปสาท หรือจักขุประสาท)
       2. รูปธาตุ (ธาตุคือรูปารมณ์)
       3. จักขุวิญญาณธาตุ (ธาตุคือจักขุวิญญาณ)
       4. โสตธาตุ (ธาตุคือโสตปสาท)
       5. สัททธาตุ (ธาตุคือสัททารมณ์)
       6. โสตวิญญาณธาตุ (ธาตุคือโสตวิญญาณ)
       7. ฆานธาตุ (ธาตุคือฆานปสาท)
       8. คันธธาตุ (ธาตุคือคันธารมณ์)
       9. ฆานวิญญาณธาตุ (ธาตุคือฆานวิญญาณ)

       10. ชิวหาธาตุ (ธาตุคือชิวหาปสาท)
       11. รสธาตุ (ธาตุคือรสารมณ์)
       12. ชิวหาวิญญาณธาตุ (ธาตุคือชิวหาวิญญาณ)
       13. กายธาตุ (ธาตุคือกายปสาท)
       14. โผฏฐัพพธาตุ (ธาตุคือโผฏฐัพพารมณ์)
       15. กายวิญญาณธาตุ (ธาตุคือกายวิญญาณ)
       16. มโนธาตุ (ธาตุคือมโน)
       17. ธรรมธาตุ (ธาตุคือธรรมารมณ์)
       18. มโนวิญญาณธาตุ (ธาตุคือมโนวิญญาณ)


       ธาตุกัมมัฏฐาน - กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กล่าวคือ กำหนดพิจารณาร่างกายแยกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันอยู่  จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  จึงไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่ตัวตนของเรา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2011, 12:36:20 pm »


                       

ไตรวัฏฏ์, ไตรวัฏ - วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาทซึ่งหมุนเวียนสืบทอดต่อ ๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส ---> กรรม ---> และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทาน  ๒.กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ  ๓.วิปากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปายาส)

        กล่าวคือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น  อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลสคือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด

ไตรสรณะ - ที่พึ่งสาม คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ไตรสิกขา - สิกขาสาม, ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา ๓ อย่าง คือ อธิศีลสิกขา  อธิจิตตสิกขา  อธิปัญญาสิกขา เรียกกันง่าย ๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

       
ทิฏฐิ - ความเห็น, ทฤษฎี, ความเชื่อ ;  ในภาษาไทย มักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น  (พจนานุกรมเขียนทิฐิ)
ทิฏฐิ ๒ - ความเห็นผิดมี ๒ คือ ๑.สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง   ๒.อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
ทิฏฐิ ๓ - อีกหมวดหนึ่งมี ๓ คือ ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้เช่น มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น

ทิฏฐิมานะ - ทิฏฐิ แปลว่าความเห็น ในที่นี้หมายถึงความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข,  มานะ ความถือตัว, รวม ๒ คำเป็นทิฏฐิมานะ หมายถึงถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว
ทิฏฐิวิบัติ - วิบัติแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมหรือผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)
ทิฏฐิวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งความเห็น คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนลงได้ (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ์ ๗)

ทิฏฐุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี ความเชื่อ ความคิดของตน ภายใต้อํานาจของกิเลสและตัณหา อันพาให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง,  ความถือมั่นในทิฏฐิ, ความยึดติดฝังใจในลัทธิ ทฤษฎี และหลักความเชื่อต่างๆ ;  เป็นหนึ่งในอุปาทาน ๔ ที่ยังให้เกิดอุปาทานทุกข์ ที่สรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นทุกข์เร่าร้อนกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ทิพย์ - เป็นของเทวดา, วิเศษ, เลิศกว่าของมนุษย์
ทุกข์ - ทุกขลักษณะ - ทุกขัง
         ๑. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย ที่ไม่ขึ้นต่อตัวของมันเอง (ทุกข์หรือทุกขัง ในไตรลักษณ์)
         ๒. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฎขึ้นแก่คนเป็นธรรมดา คือ  ความเกิด ก็เป็นทุกข์๑   ความแก่ ก็เป็นทุกข์๑   ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์๑   ความตาย ก็เป็นทุกข์๑   ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์๑  รวม ๗ อย่าง  โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.  (ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจ   ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔)
         ๓. สภาพที่ทนอยู่ด้วยได้ยากลำบาก กล่าวคือ ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา,  ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกาย คือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ)   แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ

ทุกขเวทนา - ความรู้สึกรับรู้พร้อมความจำได้ในสิ่งนั้นว่า ไม่ชอบ ไม่ถูกใจ;  ความรู้สึกลำบาก, ความรู้สึกเจ็บปวด, ความรู้สึกเป็นทุกข์, การเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย   พึงทำความเข้าใจให้ดีว่าทุกขเวทนาเป็นทุกข์อย่างหนึ่งแต่เป็นทุกข์ธรรมชาติ ที่ยังคงเกิด ยังคงมี ยังคงเป็น ตลอดเวลาขณะที่ยังดำรงชีวิตอยู่ แม้ในองค์พระอริยเจ้า และแท้จริงแล้วยังจำเป็นต้องมีเสียอีกด้วย ถ้าไม่มีเสียก็เป็นอันตรายต่อชีวิตยิ่งจนไม่สามารถอยู่ได้   ทุกขเวทนาจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกหนีได้ จึงต้องทำความเข้าใจอย่างยิ่งยวดเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติ  แต่ทุกขเวทนานี้ย่อมไม่แสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายเหมือนดังทุกข์อุปาทานคือทุกขเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์ (ดูในเวทนา)

ทุกขสมุทัย - เหตุให้เกิดทุกข์ หมายถึงตัณหาสาม คือ กามตัณหา  ภวตัณหา  วิภวตัณหา เรียกสั้น ๆ ว่า สมุทัย
ทุกขสัญญา - ความหมายรู้ว่าเป็นทุกข์, การกำหนดหมายให้มองเห็นสังขารว่าเป็นทุกข์
ทุกขอริยสัจ - ความเกิด ก็เป็นทุกข์๑   ความแก่ ก็เป็นทุกข์๑   ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์๑  ความตาย ก็เป็นทุกข์๑   ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์๑   ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์๑   โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

ทุกข์อุปาทาน - อุปาทานทุกข์ - ความทุกข์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน  เป็นความทุกข์ที่ร่วมด้วยความยึดมั่นถือมั่นด้วยกิเลส จึงมีความเร่าร้อนเผาลนกว่าความทุกข์ชนิดทุกขเวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาติอันเกิดขึ้นแต่การรับรู้ของการผัสสะ, ทุกข์อุปาทานเป็นผลจากการปรุงแต่งของตัณหาอันเป็นเหตุคือสมุทัย จึงมีอุปาทานขึ้น ดังนั้นทุกขเวทนาธรรมชาติจึงถูกครอบงำด้วยอุปาทานกลายเป็นทุกขเวทนูปาทานขันธ์อันแสนเร่าร้อนเผาลน  เป็นไปดังปฏิจจสมุปบาทธรรม,   ทุกข์อุปาทานเป็นความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าโปรดสั่งสอนให้ดับสนิทลงไปได้ คือนิพพานนั่นเอง  ;  จึงไม่เหมือนดังทุกขเวทนาที่เป็นทุกข์ธรรมชาติ ที่ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ที่ย่อมมีความรู้สึกจากการรับรู้ เมื่อเกิดการผัสสะ(กระทบ)กัน เกิดเป็นสุขเวทนา หรือเป็นทุกขเวทนาดังกล่าว หรือเกิดอุเบกขาเวทนา(อทุกขมสุขเวทนา)คือเฉยๆ  อย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตามสัญญาของตนเป็นสําคัญ

ทุติยฌาน - ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตกวิจารได้ คงมีแต่ ปีติ, สุขอันเกิดแต่สมาธิ, เอกัคคตา
โทสะ - ความคิดประทุษร้าย,   ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือตรงข้ามกับโทสะ ได้แก่ เมตตา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2011, 05:40:09 pm »


                       

ตถตา - ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นเช่นนั้น, ภาวะที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของมันอย่างนั้นเอง คือเป็นไปตามเหตุปัจจัย (มิใช่เป็นไปตามความอ้อนวอนปรารถนา หรือการดลบันดาลของใคร ๆ) เป็นชื่อหนึ่งที่ใช้เรียกกฎปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา

ตถาคต - พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรง เรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชาสละปวงกิเลสเสด็จไปเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน

๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น  ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น ๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจเป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสะ

ตรัสรู้ - รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ติดสุข - เป็นอาการหรือกริยาจิต ที่ไปยึดติดเพลิดเพลินจนถอนตัวไม่ขึ้นในความสุข สงบ สบาย จากอำนาจหรือกำลังขององค์ฌาน(สุข)หรือสมาธิ   จึงเกิดอาการของจิตคือ"จิตส่งใน"ไปในกายหรือจิตตน เพื่อการเสพเสวย ที่กระทำอยู่เสมอๆทั้งโดยรู้ตัว และโดยเฉพาะไม่รู้ตัว และควบคุมไม่ได้ เป็นการกระทำเองโดยอัติโนมัติ  เมื่อติดสุขแล้วจึงร่วมด้วยอาการ"จิตส่งใน" อยู่เสมอๆตลอดเวลาอย่างควบคุมไม่ได้,  เกิดจากการปฏิบัติฌานหรือสมาธิ จนเกิดองค์ฌานหรือได้รับความสบายระดับหนึ่งจากการระงับไปของนิวรณ์ ๕ แล้วไม่ได้ดำเนินการวิปัสสนาทางปัญญาเลย  เน้นกระทำแต่ฌานสมาธิก็เพื่อเสพสุขในรสของความสุข ความสงบ และเสพรสชาดอันแสนอร่อยขององค์ฌานต่างๆ อันมี ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ อุเบกขาต่างๆ ซึ่งเรียกรวมกันไปว่า ติดสุข,  ซึ่งเป็นไปโดยไม่รู้ตัว และประกอบด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปฏิบัติถูกต้องแล้วเป็นสำคัญอีกด้วย คือเข้าใจไปว่าถูกทางแล้วเพราะมีความสุขสบายที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องล่อลวง   หรือปฏิบัติไปด้วยเข้าใจผิดๆไปว่า จิตส่งในไปในกายหรือในจิตเป็นกายานุปัสสนาหรือจิตตานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔  :   มีรายละเอียดและการแก้ไขใน รวมหัวข้อฌานสมาธิในบท ติดสุข

ตัณหา - ความทะยานอยาก, ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี ๓
    กามตัณหา ตัณหาความทะยานอยาก(รวมทั้งความไม่อยาก)ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทั้ง๕ หรือในทางโลกๆ  หรือความอยากได้ในอารมณ์(รูป รส กลิ่น ฯ.)อันน่ารักน่าใคร่
    ภวตัณหา ตัณหาความทะยานอยากในทางจิตหรือความนึกคิด หรือความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
    วิภวตัณหา ตัณหาความทะยานไม่อยาก หรือผลักไส ต่อต้าน ความไม่อยากในทางจิตหรือความนึกคิด  หรือความทะยานอยากในวิภพ ความอยากในวิภพ คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากตายเสีย อยากขาดสูญ อยากพรากพ้น(ไม่อยาก)ไปจากภาวะที่ตนเกลียดชังไม่ปรารถนา,  ความทะยานที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐ,  พอสรุปได้เป็น ความไม่อยากทั้งหลายนั่นเอง

     ตัณหาพอสรุปเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา จึงพอจำแนกหยาบๆได้ว่าเป็นตัณหาความทะยานอยาก และไม่อยาก  ในที่นี้ผู้เขียนจึงมักเรียกสั้นๆในตัณหาว่า ความอยาก และไม่อยาก   และในปฏิจจสมุปบาทนี้ผู้เขียนหมายรวมความคิดปรุงแต่งหรือคิดนึกปรุงแต่งอันมักก่อกลายเป็นตัณหาว่า ทําหน้าที่เป็นตัณหาด้วย (ดูวงจรประกอบ หมายเลข 8 คือตําแหน่งที่เกิดตัณหา,  หรือหมายเลข 22 คิดนึกปรุงแต่งทําหน้าที่ก่อให้เกิดเป็นตัณหาได้ด้วยถ้าสติไม่รู้เท่าทัน)

ไตรทวาร - ทวารสาม, ทางทำกรรม(การกระทำ) ๓ ทาง คือ กายทวาร(ทางกาย)  วจีทวาร(ทางวาจา)  และมโนทวาร(ทางใจ)

ไตรปิฎก - “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้วโดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่าคัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวดกล่าวคือ
        วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์
        สุตตันตปิฎก  ว่าด้วยพระสูตรหรือเทศนาที่ตรัสแก่บุคคลต่างๆ ในเวลาและสถานที่แตกต่างกัน เป็นรูปคำสนทนาโต้ตอบบ้าง คำบรรยายธรรมบ้าง เป็นรูปร้อยกรองบ้าง ร้อยแก้วบ้าง ร้อยแก้วผสมร้อยกรองบ้าง ตลอดถึงเทศนาของพระสาวกสำคัญบางรูป
        อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยหลักธรรมต่างๆ ที่อธิบายในแง่วิชาการล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ส่วนมากเป็นคำสอนด้านจิตวิทยาและอภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา

ไตรลักษณ์ - ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ,  ๓ ประการ ได้แก่
           ๑. อนิจจตา (อนิจจัง) ความเป็นของไม่เที่ยง
           ๒. ทุกขตา (ทุกขัง) ความเป็นทุกข์ หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
           ๓. อนัตตตา (อนัตตา) ความเป็นของมิใช่ตัวตน
       (คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”)
       ลักษณะเหล่านี้มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์
       ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ
       (ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คืออนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น);
       ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา) ส่วนคำว่าไตรลักษณ์และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นภายหลังในยุคอรรถกถา
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2011, 01:59:55 pm »


                 

ชาติ - การเกิด, ชนิด, พวก, เหล่า, ปวงชนแห่งประเทศเดียวกัน,  การเกิดของสังขาร(สิ่งปรุงแต่งทั้งปวง)  จึงครอบคลุมการเกิดขึ้นของสังขารทั้งปวงไม่ใช่ชีวิตหรือร่างกายแต่อย่างเดียว,  ในปฏิจจสมุปบาท ชาติ จึงหมายถึงการเกิดขึ้นของสังขารทุกข์ อันเป็นสังขารอย่างหนึ่ง   (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ ชาติ )
ชรา - ความแก่ ความทรุดโทรม ความเสื่อม, ความเปลี่ยนแปลง ความแปรปรวน,  การแปรปรวนการเปลี่ยนแปลงของสังขาร(สิ่งปรุงแต่ง) จึงครอบคลุมสังขารทั้งปวง,  ในปฏิจจสมุปบาท ชรา จึงหมายถึง ความแปรปรวนหรือวนเวียนอยู่ในทุกข์หรือกองทุกข์  กล่าวคือฟุ้งซ่านปรุงแต่งไม่หยุดหย่อนในสังขารนั่นเอง โดยไม่รู้ตัว
มรณะ - ความตาย ความดับไป ความเสื่อมจนถึงที่สุด,  การดับไปในสังขาร(สิ่งปรุงแต่ง) จึงครอบคลุมสังขารทั้งปวง,  ในปฏิจจสมุปบาท มรณะ จึงหมายถึงการดับไปของสังขารทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นๆ

ชิวหา - ลิ้น
ชิวหาวิญญาณ - ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส
ชิวหาสัมผัส - อาการที่ลิ้น รส และ ชิวหาวิญญาณประจวบกัน
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - เวทนาที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส, ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพราะการที่ ลิ้น รส และชิวหาวิญญาณประจวบกัน


ฌาน - การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ จนเกิดองค์ฌานต่างๆ,  ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก อีกทั้งประกอบด้วยองค์ฌานที่สำคัญอีก ๖ ;

    ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ประกอบด้วยมีองค์ ๕ คือ องค์ฌานทั้ง ๕ มี  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา  ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)   ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)  ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา) ;  องค์ฌาน หรือองค์ประกอบสำคัญของฌาน มี ๖

    วิตก  ความคิด  ความดำริ  การตรึงจิตไว้กับอารมณ์
    วิจาร  ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การปั้นอารมณ์, การฟั้นอารมณ์,  การเคล้าอารมณ์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวหรือกลมกลืนไปกับจิตหรือสติ
    ปีติ  ความซาบซ่าน, ความอิ่มเอิบ,  ความดื่มด่ำในใจ  อันยังผลให้ทั้งกายและใจ
    สุข  ความสบาย, ความสำราญ (อาการผ่อนคลายกว่าปีติ)

    อุเบกขา  ความสงบ ความมีใจเป็นกลาง ความวางเฉยต่อสังขารสิ่งปรุงแต่งต่างๆ
    เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่เป็นเอกหรือเป็นสำคัญ
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบท ฌาน,สมาธิ)

    ฌาน ๕ - ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)  ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ


ญาณ - ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากําหนดรู้หรือความเข้าใจตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)  หรือก็คือ ปัญญาที่เข้าใจอย่างถูกต้องแจ่มแจ้งแท้จริง ตามธรรมหรือธรรมชาติ

ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต
           ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต
           ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
           ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ
           ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;

ญาณ ๑๖ - ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมายคือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ
๑.นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป   ๒.(นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป   ๓.สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์  ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙)   ๑๓.โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชนเป็นอริยบุคคลระดับใดระดับหนึ่ง   ๑๔.มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค   ๑๕.ผลญาณ ญาณในอริยผล   ๑๖.ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;   ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือเรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส;   ดู วิปัสสนาญาณ ๙

ญาณทัสสนวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ ได้แก่ญาณในอริยมรรค ๔


ตทังควิมุตติ - “พ้นได้ด้วยองค์นั้น”  หมายความว่า พ้นจากกิเลสด้วยอาศัยธรรมตรงกันข้ามที่เป็นคู่ปรับกัน เช่น เกิดเมตตา จึงหายโกรธ, เกิดสังเวช จึงหายกำหนัด เป็นต้น   เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว และเป็นโลกิยวิมุตติ

ตทังคปหาน - “การละด้วยองค์นั้น”, การละกิเลสด้วยองค์ธรรมที่จำเพาะกันนั้น คือละกิเลสด้วยองค์ธรรมจำเพาะที่เป็นคู่ปรับกัน แปลง่ายๆ ว่า “การละกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ” เช่น ละโกรธด้วยเมตตา  (แปลกันมาว่า “การละกิเลสได้ชั่วคราว”)  และเป็นโลกิยวิมุตติ

ตทังคนิพพาน - "นิพพานด้วยองค์นั้น”, นิพพานด้วยองค์ธรรมจำเพาะ เช่น มองเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์แล้วหายทุกข์ร้อน ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดชั่วคราวนั้นๆ กล่าวคือ เห็นเข้าใจธรรมใดได้อย่างแจ่มแจ้ง(ธรรมสามัคคคี) ทำให้ใจสงบสบายมีความสุขอยู่ตลอดคราวหนึ่งๆ,  นิพพานเฉพาะกรณี เช่นตทังควิมุตติ

ตติยฌาน - ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒   ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา