ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2013, 09:01:31 am »


หมวดพิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป

ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง
สังขารที่ยั่งยืน ไม่มี
ภาวะของหญิง รู้ได้ยาก
พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้

ศรี เป็นที่อาศัยแห่งโภคทรัพย์
ความหิว เป็นโรคอย่างยิ่ง
ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
เมตตา เป็นเครื่องค้ำจุนโลก
พึงศึกษาความสงบนั้นแล

ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ เป็นการยาก
ความเป็นอยู่ของสัตว์ เป็นการยาก
ความได้เป็นมนุษย์ เป็นการยาก
การได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษ เป็นการยาก

วัยย่อมผ่านพ้นไปทุกขณะทีเดียว
มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน
เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทิน
กำลังใจ พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย
ได้ยศแล้ว ไม่ควรเมา

ผู้อื่นพึงให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้
โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม
ความถึงพร้อมแห่งขณะ หาได้ยาก
สิ่งใดไม่ผิด พึงถือเอาสิ่งนั้น
เมื่อยังไม่ถึง ไม่ควรพูดอวด

ผู้เพ่งสันติ พึงละอามิสในโลกเสีย
ในเวลามีข้าวน้ำ ย่อมต้องการคนที่รัก
อำนาจ เป็นใหญ่ในโลก
ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ

ถึงให้แผ่นดินทั้งหมด ก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวมันเอง
ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่ม ผู้ทอดทิ้งการงาน
ท่านทั้งหลายจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าไม่มีที่พึ่งอยู่เลย
ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก

ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์ มีเฉพาะตัว
สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา
สิ่งใดที่เข้าไปยึดถืออยู่จะพึงหาโทษมิได้ สิ่งนั้นไม่มีในโลก
สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ย่อมเป็นไปตามปัจจัย
ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนโง่ ผู้มัวถือฤกษ์อยู่

พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
การเห็นพระพุทธเจ้าเนือง ๆ เป็นการหาได้ยาก
ในบรรดาที่ปรึกษา ย่อมต้องการคนไม่พูดพล่าม
หิริและโอตตัปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี
ต่อหน้าประพฤติเช่นใด ถึงลับหลังก็ให้ประพฤติเช่นนั้น

ความเป็นไปของคนไร้ศิลปะ ย่อมฝืดเคือง
ความริษยา เป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย
ขณะเวลา อย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย
ในเมื่อเรื่องราวเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต
ความเกียจคร้าน เป็นมลทินแห่งผิวพรรณ

สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ
สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
ในเวลาคับขัน ย่อมต้องการคนกล้า
ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี
บรรดาทางทั้งหลาย ทางที่มีองค์ (มรรค) เป็นทางเกษมให้ถึงอมตธรรม

ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับจากทุกข์
โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้น
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำบาปกรรม ไม่มีในโลก
รูปโฉม พอลวงคนโง่ให้หลงได้ แต่ลวงคนแสวงหาพระนิพพานไม่ได้เลย
ความรู้จักประมาณ ยังประโยชน์ให้สำเร็จทุกเมื่อ

ร่างกายของสัตว์ย่อยยับได้ แต่ชื่อและสกุลไม่ย่อยยับ
ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้เช่นใดเช่นหนึ่ง ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
อัชฌาสัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
บุคคลไม่เพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ

พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
ภิกษุรื่นรมย์ยินดีในธรรม ใคร่ครวญธรรม และระลึกถึงธรรมอยู่เนือง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

-ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน ไม่พึงลุอำนาจของโลภะ พึงกำจัดใจที่ละโมภเสีย
-โลกถูกมฤตยูกำจัด ถูกชราล้อมไว้ไม่มีผู้ต้านทาน ย่อมเดือนร้อยเป็นนิตย์ ดุจคนต้องโทษ ต้องทำตามอาชญาฉะนั้น
-กามคุณ ในโลก มีใจเป็นที่ อันท่านชี้แจงไว้แล้ว, บุคคลคลายความพอใจในกามคุณนี้แล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ได้อย่างนี้
-ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
-ผู้ใด ต้องการสุขเพื่อตน ด้วยการก่อทุกข์แก่ผู้อื่น, ผู้นั้นชื่อว่าพัวพันไปด้วยเวร ย่อมไม่พ้นจากเวร

-พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
-สัตว์โลกหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และ ธรรมารมณ์นั้น ล้วนเป็นโลกามิสอันร้ายกาจ
-คนรู้จักขนบธรรมเนียม ย่อมยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ ในชาตินี้ก็มีผู้สรรเสริญ ชาติหน้าก็ไปดี
-สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้, โภคะของสตรีหรือบุรุษ ที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
-คนใด จักทำตามโอวาทที่ผู้รู้แสดงแล้ว คนนั้นจักถึงฝั่งที่สวัสดี เหมือนพ่อค้าถึงฝั่งที่สวัสดีเพราะม้าวลาหก

ประโยชน์ได้ล่วงเลยคนเขลาผู้มัวถือฤกษ์อยู่, ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์เอง ดวงดาวจักทำอะไรได้
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำความชั่วไม่มีในโลก, คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั้นว่าเป็นที่ลับ
พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษร้ายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
ควรระแวงภัยที่ควรระแวง พึงระวังภัยที่ยังไม่มาถึง ผู้ฉลาดย่อมมองดูโลกทั้ง เพราะกลัวต่ออนาคต
เมื่อพ้นเพราะรู้ชอบ สงบคงที่แล้ว ใจคอของเขาก็สงบ คำพูดและการกระทำก็สงบ

-ผู้ใดไม่มีกามอยู่ ผู้ใดไม่มีตัณหา และผู้ใดข้ามความสงสัยได้, ผู้นั้นย่อมมีความพ้น ที่ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่นอีก
-ผู้ใดผูกอาฆาตว่า เขาได้ด่าเรา เขาได้ฆ่าเรา เขาได้ชนะเรา เขาได้ลักของของเรา ดังนี้ เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ
-คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ , ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย
-ถ้าสัตว์พึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติภพนี้เป็นทุกข์ สัตว์ก็ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะผู้ฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศก
-ผู้เห็นความประมาทเป็นภัย และเห็นควมไม่ประมาทเป็นความปลอดภัยแล้ว พึงเจริญมรรคมีองค์ นี้เป็นพุทธาศาสนี

-พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
-แม้มีปัญญารุ่งโรจน์อย่างไฟ เมื่ออยู่ในต่างประเทศ ก็ควรอดทนคำขู่เข็ญแม้ของทาส
-ผู้สงบ เว้นบาป ฉลาดพูด ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมขจัดบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมกำจัดใบไม้ฉะนั้น
-คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และ ด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้นย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง
-คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้น เป็นเหตุของผู้ฉิบหาย

-การไม่เห็นสิ่งที่รักเป็นทุกข์ และการเห็นสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ เหตุนั้น จึงไม่ควรทำอะไรให้เป็นที่รัก เพราะความพรากจากสิ่งที่รัก เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย
-ธงเป็นเครื่องปรากฎของรถ ควันเป็นเครื่องปรากฎของไฟ พระราชาเป็นเครื่องปรากฎของแว้นแคว้น สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี
-ไม่ควรฟังคำก้าวร้าวของคนอื่น ไม่ควรมองดูการงานของคนอื่น ที่เขาทำแล้ว และยังไม่ได้ทำ, ควรพิจารณาดู แต่การงาน ของตนที่ทำแล้ว และยังไม่ได้ทำเท่านั้น
-คนเขลา มีกำลัง หาทรัพย์อย่างผลุนผลัน ไม่ดี, นายนิรยบาล ย่อมฉุดคนโง่มีปัญญาทราม ผู้คร่ำครวญอยู่ ไปสู่นรกอันร้ายกาจ
-เมื่อมีจิตใจไม่หนักแน่น เห็นคนใจเบา มักประทุษร้ายมิตร ผู้มีความประพฤติกลับกลอกเป็นนิตย์ ย่อมไม่มีความสุข

-บุคคลไม่ความเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
-บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น, ปรารถนาสิ่งใด ดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วนั้น, เพราะความต้องการไม่มีที่สุด, พวกเราจงทำความนอบน้อมผู้ปราศจากความต้องการเถิด
-ในโลกนี้ พวกที่ชอบถือตัว ย่อมไม่มีการฝึกตน, คนมีใจไม่มั่นคง ย่อมไม่มีความรู้, ผู้ประมาทแม้อยู่ในป่าคนเดียว ก็ข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยูไม่ได้
-ชีวิตคืออายุอันน้อยนี้ ถูกชรานำเข้าไป เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ย่อมไม่มีเครื่องต้านทาน ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น มุ่งความสงบ พึงละโลกามิสเสีย

*** คัดลอกมาจาก...
:หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์
:http://www.baanjomyut.com/pratripidok/proverb_buddha/32.html
(+บาลี) >>> :http://www.doisaengdham.org/พุทธศาสนสุภาษิต
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 02:31:05 pm »


หมวดชีวิต-ความตาย

ชีวิตนี้วิปริตผันแปร ไม่แน่นอน
วัย หมดไปตามลำดับแห่งวัย
หนุ่มก็ตาย แก่ก็ตาย
ชีวิต ไม่ถึงร้อยปีก็จะตาย
ถ้าอยู่เลยร้อยปี ก็ต้องตายเพราะความแก่เป็นแน่แท้

คนโง่ก็ตาย คนฉลาดก็ตาย
สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนก้าวเดินไปสู่ความตาย
คนถึงคราวตาย หมู่ญาติก็ช่วยไม่ได้
ชีวิตนี้น้อยนัก ชีวิตนี้สั้นนัก
วันและคืนย่อมผ่านไป

เมื่อมีชีวิต วัยแห่งชีวิตก็ร่นเข้ามา
เกิด ก็เป็นทุกข์
จะตาย ก็ตายไปคนเดียว
กาลเวลาล่วงไป ราตรีก็ผ่านไป
ตาย ก็เป็นทุกข์

แก่ ก็เป็นทุกข์
สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น
จะวิ่งหนีก็ไม่ทัน (ความตายไม่มีใครหนีได้)
สัตว์โลก ถูกชราปิดล้อม
เจ็บ ก็เป็นทุกข์

จะเกิด ก็เกิดมาคนเดียว
ชีวิตนี้คับแค้น และสั้นนิดเดียว
ชีวิตสิ้นสุดลงที่ความตาย
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรเกื้อกูลกัน
เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

เมื่อคนจะตาย ยังแถมประกอบด้วยทุกข์อีก
คนที่ร้องให้ถึงคนตาย เขาก็จะต้องตายด้วย
ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก
เห็นอยู่เมื่อเช้า สายก็ตาย
ที่ตายแล้วก็แล้วไป ไม่ควรเศร้าโศกถึง

ปราชญ์ทั้งหลาย บอกแล้วว่าชีวิตนี้น้อยนัก
โลกถูกความตายครอบเอาไว้
เมื่อความตายมาถึงตัว ก็ไม่มีใครป้องกันได้
เมื่อคนตายแล้วสมบัติสักนิดก็ไม่ติดไป
ทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องแตกสลายในที่สุด

ทุกชีวิตจะต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก
ไม่มีใครผัดเพี้ยนกับความตาย ซึ่งมีอำนาจมากได้
สถานที่ที่ได้ชื่อว่าไม่มีคนตาย ไม่มีในโลก
ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนและไม่ควรประมาท
ทั้งหนุ่มและแก่ ล้วนร่างกายแตกดับไปทุกคน

สัตว์โลกถูกมฤตยูห้ำหั่น ถูกชราปิดล้อม
เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน
ความผัดเพี้ยนกับมฤตยูอันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย
กี่วันผ่านไป ชีวิตก็ยิ่งใกล้ความตาย
คนทุกคนต้องตาย

วัยสิ้นไปตามคืนและวัน
การตายโดยชอบธรรม ดีกว่าการมีชีวิตอยู่โดยไม่ชอบธรรม
อายุของคนย่อมหมดสิ้นไป
ความตายย่อมมีแก่ผู้เกิด
วันคืนเคลื่อนคล้อย อายุก็เหลือน้อยเข้าทุกที

สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัดพาไป
สายเห็นกันอยู่ รุ่งเช้าอีกวันก็ตาย
มีชีวิตอยู่อย่างไม่ถูกต้อง หาประเสริฐไม่
เงิน ก็ซื้ออายุให้ยืนยาวไม่ได้
สัตว์ทั้งปวง จัดทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก
วัยย่อมเสื่อมลงเรื่อยไป ทุกหลับตา ทุกลืมตา
เมื่อตาย ทรัพย์สักนิดเดียวจะติดตัวไปก็ไม่มี
ตายเพื่อความถูกต้องประเสริฐกว่า
ถึงคราวตาย บุตรทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้

ถึงคราวตาย บิดา ญาติพี่น้องก็ช่วยไม่ได้
รวยก็ตาย จนก็ตาย
ทรัพย์สมบัติ ก็ซื้อความแก่ไม่ได้
สักวันหนึ่ง ก็จะพรากจากกันไป
วันคืน ไม่ผ่านไปเปล่า

มฤตยู พยาธิ ชรา ทั้งสามนี้ดุจไฟลามลุกไหม้
ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ใครเล่าจะกลัวความตาย
ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี
วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมจะเหลือน้อยลง
อายุย่อมหมดไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา

คนจะมีชีวิตอยู่ได้ก็เพียงร้อยปี หรือจะเกินก็เพียงเล็กน้อย
แม้ชีวิตอยู่ร้อยปี ก็ไม่พ้นความตายไปได้ มวลมนุษย์ล้วนมีความตายรออยู่ข้างหน้า
ชีวิตของเราเป็นของน้อย ชราและพยาธิก็คอยย่ำยี
กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมกันไปกับตัวมันเอง
คนใดร้องให้บ่นเพ้อถึงคนที่ตายไปแล้ว แม้คนที่ร้องนั้นก็ต้องตายเหมือนกัน

เมื่อมาเกิด ก็ไม่มีใครอ้อนวอนมาเกิด เมื่อตายจากโลกนี้ ก็ไม่มีใครอนุญาตให้ไป
วันคืนล่วงไป ชีวิตของคนก็พร่องลงไป จากประโยชน์ที่จะทำ
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
รูปกายของสัตว์ย่อมร่วงโรยไป แต่ชื่อและโคตรไม่เสื่อมสลาย

อายุสังขาร ใช่จะประมาทไปตามสัตว์ผู้ยืน นั่ง นอน หรือ เดินอยู่ก็หาไม่
สิ่งมีชีวิตทั้งปวง ย่อมกลัวโทษและกลัวความตาย จงทำตนเป็นอุปมา แล้วไม่พึงฆ่าหรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
ร่างกายนี้ ไม่นานนัก เมื่อวิญญาณจากไปแล้ว หมู่ญาติก็เกลียดกลัว เอาไปทิ้งในป่าช้าเหมือนท่อนไม้
เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณะสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต

กาลเวลาล่วงไป วันคืนผ่านพ้นไป วัยก็หมดไปที่ละตอน ๆ ตามลำดับ
อายุของคนนี้น้อยนัก จะต้องจากโลกนี้ไป จึงควรทำกุศล และประพฤติพรหมจรรย์
น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของคน ก็ย่อมไม่เวียนไปสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
ชีวิตนี้เป็นสิ่งคับข้อง เป็นสิ่งเล็กน้อย ประกอบด้วยทุกข์ ใครเล่ายังจะอาศัยชีวิตนี้ ไปสร้างเวรกับผู้อื่น
ชีวิตนี้น้อยนัก ไม่ถึงร้อยปีก็ตายกันแล้ว ถ้าจะอยู่เกินไป ก็ต้องตายเพราะความแก่

วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ ย่อมสิ่นไป เหมือนน้ำแห่งแม่น้ำน้อย ๆ ฉะนั้น
ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุ ไม่ตั้งอยู่ในอรูปธาตุ ย่อมหลุดพ้นไปได้ในในนิโรธธาตุ, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้ละมัจจุได้
อายุของมนุษย์มีน้อย คนดีพึงดูถูกอายุนั้นเสีย พึงประพฤติดุจคนมีศรีษะถูกไฟใหม้ มฤตยู (ความตาย) จะไม่มาถึง ย่อมไม่มี
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
ความตายย่อมครอบงำคนเก็บดอกไม้ (กามคุณ) ที่มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่อิ่มในกาม ไว้ในอำนาจ

-ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมี เพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมี เพราะต้องหล่นในเวลาเช้าฉะนั้น
-ภาชนะดินที่ช่างหม้อทำแล้ว ล้วนมีความแตกเป็นที่สุด ฉันใด, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
-ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากินด้วยพลอง ฉันใด, ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปเช่นกัน ฉันนั้น
-การร้องให้ ความโศกเศร้า หรือ การคร่ำครวญร่ำไรใด ๆ ย่อมไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้ที่ตายแล้วก็คงอยู่อย่างเดิมนั้นเอง
-เมื่อถูกพญามัจจุราชครอบงำ ไม่ว่าบุตร ไม่ว่าบิดา ไม่ว่าญาติพวกพ้อง มีไว้ก็ช่วยต้านทานไม่ได้ จะหาที่ปกป้องในหมู่ญาติ เป็นอันไม่มี

-ข้าพเจ้าไม่มีความชั่ว ซึ่งทำไว้ ณ ที่ไหน ๆ เลย ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงไม่หวั่นเกรงความตายที่จะมาถึง
-การร้องให้หรือโศกเศร้า จะช่วยให้จิตใจสงบ สบาย ก็หาไม่ ทุกข์ยิ่งเกิดเพิ่มพูนทับทวี ทั้งร่ายกายก็พลอยทรุดโทรม
-คนที่รักใคร่ ตายจากไปแล้ว ย่อมไม่ได้พบเห็นอีกเหมือนคนตื่นขึ้นไม่ได้เห็นสิ่งที่ได้พบในฝัน
-จะตายก็ไปคนเดียว จะเกิดก็มาคนเดียว ความสัมพันธ์ของสัตว์ทั้งหลาย ก็เพียงแค่ได้มาพบปะเกี่ยวข้องกันเท่านั้นเอง
-คนที่สละความเศร้าโศกไม่ได้ มัวทอดถอนถึงคนที่จากไปแล้ว ตกอยู่ในอำนาจของความโศก ย่อมประสบความทุกข์หนักยิ่งขึ้น

-ตอนเช้ายังเห็นกันอยู่มากคน พอตกเย็นบางคนก็ไม่เห็น เมื่อเย็น ยังเห็นกันอยู่มากคน ตกถึงเช้า บางคนก็ไม่เห็น
-ถ้าบุคคลจะเศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่แก่ตน (เช่นผู้ที่ตายไปแล้ว เป็นต้น) ไซร้ ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเอง ซึ่งตกอยู่ในอำนาจของพญามัจจุราชตลอดเวลา
-แม่น้ำเต็มฝั่ง ไม่ไหลทวนขึ้นที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่เวียนกลับมาสู่วัยเด็กอีก ฉันนั้น
-ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งคนมี ทั้งคนจน ล้วนเดินหน้าไปหาความตายทั้งหมด
-ผลไม้สุกแล้ว ก็หวั่นแต่จะต้องร่วงหล่นไปตลอดเวลา ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็หวั่นแต่จะตายอยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

-อายุของคนน้อยนัก คนดีไม่ควรลืมอายุ ควรระลึกถึงอายุดุจคนถูกไฟไหม้ศรีษะ เพราะการที่ความตายจะไม่มาถึงนั้น ไม่มีเลย
-ถ้าจะเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ควรจะเศร้าโศกถึงตนเองด้วย ที่ตกอยู่ในอำนาจของความตายตลอดเวลา
-ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด, สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
-เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
-ดูซิ.. ถึงคนอื่น ๆ ที่กำลังเตรียมตัว เดินทางไปตามยถากรรม ที่นี่สัตว์ทั้งหลายเผชิญกับอำนาจ ของพญามัจจุราชเข้าแล้ว กำลังดิ้นรนกันอยู่ทั้งนั้น

-เมื่อวัยเสื่อมสิ้นไปอย่างนี้ ความพลัดพรากจากกัน ก็ต้องมีโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรเมตตา เอื้อเอ็นดูกัน ไม่ควรจะมัวเศร้าโศกถึงผู้ที่ตายไปแล้ว
-วันคืนล่วงไปเท่าไรชีวิตก็พร่องลงไปเท่านั้น เวลาแห่งความตายรุกไล่เข้าไปทุกอิริยาบท ฉะนั้นจึงไม่ควรประมาทเวลา
-จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางมหาสมุทร เข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี
-กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้
-เมื่อเศร้าโศกไป ก็เท่ากับทำร้ายตัวเอง ร่างกายจะผ่ายผอม ผิวพรรณจะซูบซีดหม่นหมอง ส่วนผู้ที่ตายไปแล้ว ก็จะเอาความโศกเศร้านั้นของเรา ไปช่วยอะไรตัวเขาไม่ได้ ความร่ำไรรำพัน ย่อมไร้ประโยชน์

-ผู้ที่เศร้าโศกถึงคนตาย ก็เหมือนเด็กร้องให้ เหมือนกับขอพระจันทร์ที่โคจรไปในอากาศ คนตายถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ว่าญาติคร่ำครวญถึง เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่เศร้าโศก เขาไปแล้วตามวิถีทางของเขา


มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 01:52:43 pm »


หมวดทุกข์-พ้นทุกข์

การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก่อให้เกิดทุกข์
การพบเห็นสิ่งที่ไม่รัก ทำให้เกิดทุกข์
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ความจน เป็นทุกข์ในโลก
ทุกเสมอด้วยขันธ์ ไม่มี

เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
คนไม่มีที่พึ่ง.. อยู่เป็นทุกข์
ผู้แพ้.. ย่อมอยู่เป็นทุกข์
การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก
ทุกข์.. ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล

นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
ผู้ดื่มธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข
การสะสมบุญ นำสุขมาให้
เมื่อหมดกังวล ทุกข์ก็ไม่มี
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ปฏิบัติชอบต่อมารดา เป็นความสุขในโลก
ปฏิบัติชอบต่อบิดา เป็นสุขเช่นกัน
การแสดงธรรม ทำให้เกิดสุข
ผู้ไม่มีอะไรให้กัลวล สุขจริงหนอ
ครองเรื่อนไม่ดี ก็เป็นทุกข์

ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ย่อมเป็นสุข
ท่านผู้ไกลกิเลส ช่างสุขจริงหนอ
ศีลก่อให้เกิดสุขตราบเท่าชรา
ทุกข์ เท่านั้นเกิด
ศรัทธาที่มั่นคง ทำให้เกิดสุข

โลกตั้งอยู่บนฐานแห่งความทุกข์
คนมีตัณหาเป็นทุกข์บ่อยและนาน
ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข
เป็นคน พึงทำทุกข์ให้หมดไปได้
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

การได้ปัญญา ทำให้เกิดสุข
การสะสมบาป เป็นทุกข์
การอยู่ร่วมกับคนไม่เสมอกันก็เป็นทุกข์
ไม่พบคนที่รักก็เป็นทุกข์
พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข

ผู้ฉลาด พึงละทุกข์ในโลกนี้ให้ได้
การไม่เบียดเบียนกัน เป็นทุกข์ในโลก
คนโง่ ย่อมได้รักทุกข์บ่อย ๆ
กามมีความคับแค้นเป็นราก มีทุกข์เป็นผล
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วนำสุขมาให้

สุขอื่นนอกจากความสงบไม่มี
บุญให้ความสุขเมื่อถึงคราวตาย
การไม่พบคนชั่วเลย มีความสุขทุกเมื่อ
ทุกข์ เสมอด้วยขันธ์ไม่มี
ผู้แพ้ ย่อมนอนเป็นทุกข์

พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
การไม่ทำชั่ว ทำให้เกิดสุข
ความทุกข์ เกิดขึ้นบ่อย ๆ
การเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ความจนเป็นทุกข์ในโลก

กามทั้งหลายมีสุขน้อย ทุกข์มาก
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดสุข
ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นดับไป
อยากได้สุข เมื่อปฏิบัติถูกทาง ก็ย่อมได้สุข

นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด
ทุกข์เป็นภัยใหญ่หลวงของโลก

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 12:00:41 pm »


หมวดบาป-เวร

บาปธรรมเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น
คนมักทำบาปเพราะความหลง
บาปไม่มี แก่ผู้ไม่ทำ
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบากเพราะกรรมของตน
พึงละเว้นบาปทั้งหลาย

การไม่ทำบาป นำสุขมาให้
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้
คนพูดเท็จ จะไม่พึงทำบาป ย่อมไม่มี
คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว
ไม่ควรทำบาป เพราะเห็นแก่กิน

-สาธุชนย่อมละบาปกรรมด้วยตปะ (ตบะ)
-เมื่อเรากล่าวธรรมอยู่ บาปย่อมไม่แปดเปื้อน
-แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด, คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อย ๆ ก็เต็มด้วบบาปฉันนั้น
-ผู้ใดระงับบาปน้อยใหญ่ได้โดยประการทั้งปวง ท่านเรียกผู้นั้นว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ระงับบาปทั้งหลายได้
-คนพูดเท็จ ล่วงสัตยธรรมเสียอย่างหนึ่ง ไม่คำนึงถึงโลกหน้า จะไม่พึงทำบาปเป็นอันไม่มี

-ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้ ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
-ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อย มีทรัพย์มาก เว้นหนทางที่มีภัย และ เหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
-บาปกรรม ที่ทำแล้วย่อมไม่มีเปลี่ยนแปลง เหมือนนมสดที่รีดในวันนั้น, บาปย่อมตามเผาคนเขลา เหมือนไฟที่เถ้ากลบไว้
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
-เวรของผู้จองเวร ย่อมไม่ระงับ

-ในกาลไหน ๆ เวรในโลกนี้ย่อมระงับด้วยเวรไม่ได้เลย
-ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง, เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือนร้อน

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 25, 2013, 11:12:07 am »


หมวดกิเลส

คนทั้งหลาย อันถูกอวิชชาหุ้มห่อไว้
ความอยาก ละได้ยากในโลก
กรรมทั้งหลายที่เที่ยง ไม่มีในมนุษย์
ความอยาก มีอารมณ์หาที่สุดมิได้เลย
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี

ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากาม ย่อมไม่มี
ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป
โกรธแล้ว ย่อมมองไม่เห็นธรรม
ความอิ่มด้วยกามทั้งหลาย ไม่มีในโลก
ความกำหนัดเพราะดำริ เป็นกามของคน
คนโกรธฆ่าได้ แม้แต่มารดาของตน

คนมักโกรธย่อมมีผิวพรรณไม่งาม
กามทั้งหลายที่ทำให้อิ่มได้ ไม่มีในโลก
ฆ่าความโกรธได้ ย่อมนอนเป็นสุข
ความอยาก ย่อมชักพาคนไปต่าง ๆ
ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มี เพราะฝนคือ กหาปณะ (คือกามไม่มีที่สิ้นสุด)
ภายหลัง เมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือนร้อน เหมือนถูกไฟใหม้

-คนโกรธจะผลาญสิ่งใด แม้สิ่งนั้นทำยาก ก็เหมือนทำง่าย
-ผู้บริโภคกามเป็นอันมาก ไม่สิ้นทะเยอทะยาน เป็นผู้พร่อง อยู่เทียว
ละร่างกายไปแท้ (ตายไปทั้งที่หื่นกระหายกาม)
-ความหมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นทางดับทุกข์ทั้งหลาย
-คนโลภไม่รู้ทันว่าความโลภนั้น เป็นภัยที่เกิดขึ้นภายในตัวเอง
-ท่านที่ตัดความอยากเสียได้ ข้าพเจ้าขอกราบไหว้
-ความโลภเป็นอันตรายแห่งธรรมทั้งหลาย

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงยังมีกรรมนำหน้า
โลภเข้าแล้ว มองไม่เห็นธรรม เมื่อความโลภเข้าครอบงำคน เวลานั้นมีแต่ความมืดตื้อ
ผู้ไม่โกรธตอบคนโกรธ ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ทุคติในโลกนี้และโลกหน้า ล้วนมีอวิชชาเป็นราก มีอิจฉาและโลภเป็นลำต้น
ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่านไป สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงไม่พ้นจากทุกข์
ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว ย่อมไม่มีภพอีก

-โลกถูกตัณหาก่อขึ้น ถูกชราล้อมไว้ ถูกมฤตยูปิดไว้ จึงตั้งอยู่ในทุกข์
-ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลก, สัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยากผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น
-โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้ เพราะกำจัดความอยาก, เพราะละความอยากเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้
-ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป จึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่
-โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ฉะนั้น
-คนที่เห็นแต่โทษผู้อื่น คอยแต่เพ่งโทษนั้น อาสวะก็เพิ่มพูน เขายังไกลจากความสิ้นอาสวะ

-ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา
-หมู่สัตว์นี้ประกอบด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่องร้อยรัด ถูกมานะมัดไว้ ทำความแข่งดีเพราะทิฏฐิ ย่อมล่วงสงสารไปไม่ได้
-สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราปิดล้อมไว้ ถูกลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว ถูกอิจฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ
-ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
-โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป เพราะละตัณหาเสียได้ จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกได้ทั้งหมด

-กามทั้งหลายเป็นของเผ็ดร้อน เหมือนงูพิษ กามทั้งหลายเป็นที่คนโง่หมกมุ่น เขาต้องแออัดทุกข์ยากอยู่ในนรกตลอดกาล
-ผู้วางเฉยมีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ไม่สำคัญตนว่าดีกว่าเขา ไม่สำคัญตนว่าต่ำกว่าเขาในโลก, ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลศเครื่องฟูขึ้น
-ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภ เข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น
-คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงาม ในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
-บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้วย่อมแล่นไปทั่วทิศ ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม

-เมื่อใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่นในธรรม อย่าง เมื่อนั้นกิเลศเครื่องตรึงทั้งปวงของพราหณ์ผู้รู้นั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
-ผู้ใดไม่มีกังวลว่านี้ของเรา นี้ของผู้อื่น ผู้นั้นเมื่อไม่ถือว่าเป็นของเรา จึงไม่เศร้าโศกว่าของเราไม่มี ดังนี้
-ภิกษุรู้โทษอย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น และมีสติอยู่ทุกอิริยาบถเถิด
-กามทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั้งยืน มีทุกข์มาก มีพิษมาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล
-ผู้ใดข้ามพ้นกามในโลก และเครื่องข้องที่ข้ามได้ยากในโลก, ผู้นั้นตัดกระแสตัณหาได้แล้ว ไม่มีเครื่องผูก, ชื่อว่าไม่เศร้าโศก ไม่ยินดี

-คนที่นึกถึงพระนิพพาน พึงครอบงำ ความหลับ ความเกียจคร้าน ความท้อแท้, ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความทะนงตัว
-เมื่อผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่เราไม่สำนึกบุญคุณ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้
-พราหมณ์ .. พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
-ท่านทั้งหลายจงตัดป่า (กิเลศ) อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านจงตัดป่าและสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่า เถิด
-ผู้มีปัญญาทราม ย่อมฆ่าตนเองเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะอยากได้โภคทรัพย์

-โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏ เพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่าเป็นเครื่องฉาบทาโลก เป็นทุกข์ภัยใหญ่ของโลกนั้น
-สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาล้าไม่ฆ่าเขาเอง ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า
-ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว, ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย
-ผู้ใดไม่รู้ ย่อมก่ออุปธิ ผู้นั้นเป็นคนเขลา เข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ผู้รู้เห็นแดนเกิดแห่งทุกข์ จึงไม่ควรก่ออุปธิ
-กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อมย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่าง ๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้วเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด

-บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
-บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง, เพราะเครื่องข้องทั้งหลาย ย่อมไม่ติดตาม ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น
-ผู้มีความเพียรไม่พึงนอนมาก พึงเสพธรรมเครื่องตื่น พึงละความเกียจคร้าน มายา ความร่าเริง การเล่น และ เมถุนพร้อมทั้งเครื่องประดับเสีย

มีต่อค่ะ
:http://www.baanjomyut.com/pratripidok/proverb_buddha/28.html
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 02:08:03 pm »


หมวดกรรม

ทำดี ได้ดี
ทำชั่ว ได้ชั่ว
ความดี อันคนดีทำง่าย
ความดี อันคนชั่วทำยาก
ความชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง

ควรทำตามถ้อยคำของผู้เอ็นดู
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ดีกว่า
คนเราจะเลวเพราะการกระทำ
ไม่พึงทำประโยชน์แก่ผู้มุ่งความพินาศ
คนเราจะดีเพราะการกระทำ

สิ่งที่ทำแล้ว ทำคืนไม่ได้
ถ้าจะทำ ก็พึงทำการนั้น (จริง ๆ)
กรรมชั่วของตน นำตนไปสู่ทุคติ
พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
กรรมที่เป็นประโยชน์และดี ทำได้ยากยิ่ง

กรรมจำแนกสัตว์ให้ดีเลวแตกต่างกัน
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
คนชั่ว ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมชั่วของตน
พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

สุขไม่เป็นผลอันคนทำชั่วจะได้ง่ายเลย
การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย
อย่ามาถึงกรรมอันมีโทษเลย
การงานอะไร ๆ ที่ย่อหย่อน ย่อมไม่มีผลมาก
พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม

รู้ว่าการใดเป็นประโยชน์แก่ตน พึงรีบทำการนั้นเทียว
คนทำกรรมใดไว้ ย่อมเห็นกรรมนั้นในตนเอง
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
บัณฑิตไม่ทำชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
-ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะการสั่งสมบาปนำทุกข์มาให้

ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย, จึงควรอยู่ในราชการ
เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือนร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้
ประโยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว
บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว
ถ้าประสบสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น

-ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ
-ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อนแต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย
-สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข
-สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข
-ผู้ใดปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้นย่อมเดือนร้อนในภายหลัง ดุจมานพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น

-อย่าถามถึงชาติกำเนิด จงถามถึงความประพฤติ
-คนพาลทรามปัญญา ย่อมดำเนินชีวิตโดยมีตนเองนั้นแหละเป็นศัตรู
-กรรมใด ทำไว้ ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือ ด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นสมบัติของเขา ซึ่งเขาจะพาเอาไป
-การงาน วิชา ธรรม ศีล ชีวิตอันอุดม คนบริสุทธิ์ด้วยสิ่งทั้ง นี้ หาใช่ด้วยตระกูลหรือ ด้วยทรัพย์ไม่
-ธัญญาหาร ทรัพย์สิน เงินทอง หรือสมบัติที่ครอบครอง ไม่ว่าอย่างใดที่มีอยู่ คนรับใช้ คนงาน คนอาศัยทั้งหลาย ทุกอย่างล้วนพาเอาไปไม่ได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 02:01:16 pm »


หมวดธรรม

ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี

ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต
สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว
ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
การระมัดระวังกาย เป็นความดี
การระมัดระวังใจ เป็นความดี

ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ปราชญ์ พึงรักษาศีล
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
ทำได้แล้วค่อยพูด
ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา

โลก ถูกจิตนำไป
การฝึกจิต เป็นการดี
เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ
ศีล ยอดเยี่ยมในโลก
พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี
ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน
ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
ควรเคารพสัทธรรม
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
ทำไม่ได้ อย่าพูด
ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน

ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป

ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง

เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน
สติ คือความตื่นในโลก
ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง
-ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

-ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
-สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก
-ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
-ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง
-ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก

-ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น
-ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ
-โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า
-ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน
-ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า

-ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ
-เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้
-นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ
-กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้งนั้น ละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ
-ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน

-กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
-พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
-คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้
-ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลสเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน
-ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก

-บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี
-ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก
-พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม
-ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
-เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง

-พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
-มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ
-เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก
-ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว
-กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา

-ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
-ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม
-ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม 3 อย่าง
-บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง
-บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บททั้ง ๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด

-ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้
-จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว
-พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ

-สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง
-เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น
-ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 01:29:50 pm »


หมวดความสุข

ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้ทั้งหลาย นำสุขมาให้
ผู้เจริญเมตตาดีแล้ว หลับและตื่นย่อมเป็นสุข
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี
ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก
การแสดงสัทธรรม นำความสุขมาให้

ความสงบระงับแห่งสังขารนั้น เป็นสุข
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง
การประพฤติประโยชน์กับคนไม่ฉลาดในประโยชน์ ไม่นำสุขมาให้เลย

ความดี โจรลักไม่ได้
คนเรานี้ ถ้ามีอันทำชั่วลงไป ก็อย่าพึงทำความชั่วนั้นซ้ำเข้าอีก
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ
ความชั่ว ไม่ทำเสียเลย จะดีกว่า
ความดี ทำไว้แล จะดีกว่า

อย่าดูหมิ่นความชั่วว่าเล็กน้อย คงจักไม่มีผลมาถึงตัว
สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว
ธรรมนั่นแหละ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำมาซึ่งความสุข

ผู้อิ่มในธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
เกียรติไม่ทิ้งผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมนอนเป็นสุข
กรรมไม่ดี ย่อมเผาผลาญในภายหลัง
การสร้างสมความดี นำสุขมาให้

ไม่ควรทำบาป แม้เพราะเห็นแก่กิน
การที่ไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตนนั้นทำง่าย
ความดี คนชั่ว ทำยาก
ความดี คนดี ทำง่าย
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า บุญ นี้เป็นชื่อของความสุข

ถึงคราวจะสิ้นชีพ บุญก็ช่วยให้เป็นสุข
การไม่ทำความชั่ว ย่อมก่อให้เกิดความสุข
ความชั่ว คนชั่ว ทำง่าย
เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
ความดีที่ทำไว้เองนี้แหละ เป็นทรัพย์ส่วนของตัวโดยเฉพาะ

ตายเพราะชอบธรรมดีกว่า อยู่อย่างไม่ชอบธรรม จะมีค่าอะไร
กรรมย่อมจำแนกสัตว์ คือ ให้ทราม และประณีต
ความดีที่ทำไว้เองเป็นมิตรตามตัวไปเบื้องหน้า
ทำกรรมใดแล้ว ไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลดี
อย่าพึงสร้างความพอใจในความชั่วนั้น การสั่งสมความชั่ว เป็นการก่อความทุกข์

ทำกรรมใดแล้ว ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลไม่ดี
ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จแก่ตน โดยทางไม่ชอบธรรม
ธีรชนสร้างความดีทีละน้อย ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยความดี
การใดเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย การนั้นแลทำได้ยากยิ่ง
พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว

-การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม การชำระจิตของตนให้ผ่องใส สามนี้ คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
-คนมีความชั่วย่อมเดือนร้อน เพราะกรรมของตน
-ไม่ได้แต่ชอบธรรมดีกว่า ถึงได้แต่ไม่ชอบธรรมจะดีอะไร
-บัณฑิตไม่ประกอบความชั่ว เพราะเห็นแก่ความสุขส่วนตัว
-บัณฑิตนั้น ถึงถูกทุกข์กระทบ ถึงพลาดพลั้งลงก็คงสงบอยู่ได้ และ ไม่ละทิ้งธรรมเพราะชอบหรือชัง

-ช่างดอกไม้ ร้อยพวงมาลัยได้มากมาย จากดอกไม้กองหนึ่ง ฉันใด คนเรา เกิดมาแล้วก็ควร สร้างความดีงามให้มาก ฉันนั้น
-บุคคลใดเคยทำกรรมชั่วไว้ แล้วกลับตัวได้ หันมาทำดีปิดกั้น บุคคลนั้นย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์อันพ้นจากเมฆหมอก
-บุคคลใดในกาลก่อนเคยผิดพลาด ครั้นภายหลังเขากลับตัวได้ไม่ประมาท บุคคลนั้น ย่อมทำโลกให้แจ่มใส เหมือนดังดวงจันทร์ อันพ้นจากเมฆหมอก
-พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 01:24:16 pm »


หมวดบุญ

บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
บุญ โจรนำไปไม่ได้
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ ในโลกหน้า
คนสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้

-ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อย ๆ ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
-สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อย ๆ , บุญทั้งหลายที่ตนทำเอง บุญนั้นจะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
-ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้ว ย่อมยินดี ชื่อว่าย่อมยินดีในโลกทั้งสอง, เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไปแล้ว ไปสู่สุคติ ย่อมยินดียิ่งขึ้น
-ผู้ทำบุญแล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิง ชื่อว่าย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง, เขาเห็นความบริสุทธิ์ แห่งกรรมของตนแล้ว ย่อมบันเทิงปราโมทย์
-ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่ามีประมาณน้อย จักไม่มาถึง, แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด, ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญฉันนั้น

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 15, 2013, 01:20:21 pm »


หมวดศรัทธา

ศรัทธาเป็นทรัพย์ ประเสริฐของคนในโลกนี้
ศรัทธารวบรวมไว้ซึ่งเสบียงคือกุศล
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน
ศรัทธาตั้งมั่นแล้ว นำสุขมาให้

-ผู้มีศรัทธาประกอบด้วยศีล เพียบพร้อมด้วยศและโภคะ จะไปสู่ถิ่นใด ๆ ก็มีคนบูชาในถิ่นนั้น ๆ
-ผู้ใดใคร่เห็นผู้มีศีล ปรารถนาฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทิลคือความตระหนี่ได้, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าผู้มีศรัทธา
-คนใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวด้วยศรัทธา, คนนั้นย่อมได้ข้าว ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าเหมือนกัน
-ผู้มีศรัทธา มีปัญญา ตั้งในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล แม้คนเดียว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ญาติ และ พวกพ้องผู้ไม่มีศรัทธา

มีต่อค่ะ