ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 23, 2014, 12:05:34 pm »(ตอนที่ 4)
天帝!若人能須臾讀誦此陀羅尼者,此人所有一切地獄、畜生、閻羅王界、餓鬼之苦,破壞消滅,無有遺餘。諸佛剎土及諸天宮,-切菩薩所住之門,無有障礙,隨意趣入。]
爾時帝釋白佛言:[世尊!唯願如來,為眾生說增益壽命之法。]
ดูก่อน เทวราช หากบุคคลผู้ซึ่งสามารถอ่านท่องสาธยายธารณีนี้เพียงชั่วขณะ ความทุกข์ทั้งปวงแห่งนรก เดรัจฉาน ยมราชาโลก เปรต ของบุคคลนั้น ก็จักมลายสิ้นไปจนไม่มีส่วนเหลือ มุขทวารแห่งพุทธเกษตรโลกธาตุทั้งปวง บรรดาเทวพิมาน และสถานที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายพำนักอยู่ ก็จะปราศจากซึ่งอุปสรรคกีดกั้น อันจะเข้าไปสู่ได้ตามมโนปรารถนา (สมดังเจตนา)”
เมื่อนั้น ท้าวสักกเทวราช กราบทูลพระพุทธองค์ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระตถาคตโปรดแสดงซึ่งธรรมอันจะยังให้มีอายุขัยยืดยาวแก่หมู่สัตว์ทั้งปวงด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
爾時世尊,知帝釋意,心之所念,樂聞佛說是陀羅尼法,即說咒曰:
曩謨(一)婆[言*我][口*縛]帝(二)怛喇(二合)路枳也(三二合)缽囉底(四)尾始瑟吒(二合)野(五)沒馱野(六)婆[言*我]縛帝(七)怛[仁-二+爾]也(二合)他(八)唵(九)尾戌馱野(十)娑麼娑麼三滿哆(十一)[口*縛]婆娑(十二)娑頗(二合)囉拏(十三)[薛/木]帝[言*我]賀曩(十四)娑[口*縛](二合)婆[口*縛]尾[禾*(尤-尢+木)]弟(十五)阿鼻三滿哆(十一)[口*縛]婆娑(十二)娑頗(二合)囉拏(十三)[薛/木]帝[言*我]賀曩(十四)娑[口*縛](二合)婆[口*縛]尾[禾*(尤-尢+木)]弟(十五)阿鼻詵左睹[牟*含](十六)素[薛/木]哆(十七)[口*縛]囉[口*縛]左曩(十八)阿蜜[口*栗](二合)哆(十九)鼻[目*麗]罽(二十)摩賀曼怛囉(二合)橎乃(二十一)阿賀囉阿賀囉(二十二)阿庾散馱囉柅(二十三)戌馱野戌馱野(二十四)[言*我][言*我]曩尾[禾*(尤-尢+木)]弟(二十五)鄔瑟膩灑(二十六)尾惹野尾[禾*(尤-尢+木)]弟(二十七)娑賀娑囉(二十八二合)囉濕銘(二十九二合)散[口*祖][仁二+爾]帝(三十)薩[口*縛]怛他[薛/木]哆(三十一)[口*縛]路迦[寧*頁](三十二)殺橎(引)囉弭哆(三十三)跛哩布囉抳(三十四)薩[口*縛]怛他(引)[薛/木]哆(三十五)紇哩(二合)娜野(三十六)地瑟[女*宅](二合)曩(三十七)地瑟恥(二合)跢(三十八)摩賀母捺哩(三十九二合)[口*縛]日囉(二合)迦野(四十)僧賀跢曩尾[禾*(尤-尢+木)]弟(四十一)薩[口*縛][口*縛]囉拏(四十二)跛野訥[薛/木]帝(四十三)跛哩尾[禾*(尤-尢+木)]弟(四十四)缽囉(二合)底(四十五)[寧*頁][革*(卄/(ㄇ@人)/戊)]跢野(四十六)阿欲[禾*(尤-尢+木)]弟(四十七)三摩野(四十八)地瑟恥(二合)帝(四十九)麼柅麼柅(五十)摩賀麼柅(五十一)怛闥哆(五十二)部跢句致(五十三)跛哩[禾*(尤-尢+木)]弟(五十四)尾窣普(二合)吒(五十五)沒地[禾*(尤-尢+木)]弟(五十六)惹野惹野(五十七)尾惹野尾惹野(五十八)娑麼囉(五十九)薩[口*縛]沒馱(六十)地瑟恥(二合)哆[禾*(尤-尢+木)]弟(六十一)[口*縛]日哩(二合)[口*縛]日囉(二合)[薛/木]陛(六十二)[口*縛]日[口*覽](六十三二合)婆[口*縛]睹麼麼(六十四稱名)舍哩[口*覽](六十五)薩[口*縛]薩怛[口*縛](六十六二合)難(上)左迦野(六十七)尾[禾*(尤尢+木)]弟(六十八)薩[口*縛][言*我]帝(六十九)跛哩[禾*(尤尢+木)]弟(七十)薩[口*縛]怛他[薛/木]哆(七十一)三麼濕[口*縛](二合)娑演睹(七十二)薩[口*縛]怛他[薛/木]哆(七十三)三麼濕[口*縛](二合)娑(七十四)地瑟恥(二合)帝(七十五)沒地野沒地野(七十六)尾沒地野(七十七)冒馱野冒馱野(七十八)尾冒馱野尾冒馱野(七十九)三滿哆(八十)跛哩[禾*(尤-尢+木)]弟(八十一)薩[口*縛]怛他[薛/木]哆(八十二)紇哩(二合)娜野(八十三)地瑟[女*宅](二合)曩(八十四)地瑟恥(二合)哆(八十五)摩賀母捺[口*(隸-木+士)](二合)娑[口*縛](二合)賀地瑟[女*宅](二合)曩(八十四)地瑟恥(二合)哆(八十五)摩賀母捺[口*(隸-木+士)](二合)娑[口*縛](二合)賀
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบถึงมนสิการแห่งจิตของท้าวสักกะที่ยินดีจะได้สดับพระพุทธสาสนี รับสั่งถึงธารณีนี้ เป็นมนตร์ว่า...
“นโม ภควเต ไตรโลกฺย ปรฺติวิศิษฺฏาย พุทฺธาย ภควเต ตทฺยถา โอม วิศุทฺธย วิศุทฺธย อสม สม สมนฺตวภาส สฺผรณ คติ คหน สฺวภาว วิศุทฺเธ อภิษิญจตุ มามฺ สุคต วร วจน อมฺฤต อภิเษไก มหา มนฺตฺร ปไท อาหร อาหร อายุ: สํ ธารณิ โศธย โศธย คคน วิศุทฺเธ อุษฺณีษ วิชย วิศุทฺเธ สหสฺร รศฺมิ สํ โจทิเต สรฺว ตถาคต อวโลกนิ ษฏฺ ปารมิตา ปริปูรณิ สรฺว ตถาคต มติ ทศ ภูมิ ปรติ ษฐิเต สรฺว ตถาคต หฤทย อธิษฐานา ธิษฐิต มหา มุทฺเร วชฺร กาย สํ หตน วิศุทฺเธ สรฺวาวรณ อปาย ทุรฺคติ ปริ วิศุทฺเธ ปฺรติ นิวรฺตย อายุ: ศุทฺเธ สมย อธิษฺ ฐิเต มณิ มณิ มหา มณิ ตถตา ภูต โกฏิ ปริศุทฺเธ วิสฺผุฏ พุทฺธิ ศุทฺเธ ชย ชย วิชย วิชย สฺมร สฺมร สรฺว พุทฺธ อธิษฺ ฐิต ศุทฺเธ วชฺริ วชฺร ครฺเภ วชฺรมฺ ภาวตุ มม ศรีรํ สรฺว สตฺตฺวานามฺ จ กาย ปริ วิศุทฺเธ สรฺว คติ ปริศุทฺเธ สรฺว ตถาคต สิญฺจ เม สมาศฺวาส ยนฺตุ สรฺว ตถาคต สมาศฺวาส อธิษฺฐิเต พุทฺธฺย พุทฺธฺย วิพุทฺธฺย วิพุทฺธฺย โพธย โพธย วิโพธย วิโพธย สมนฺต ปริศุทฺเธ สรฺว ตถาคต หฤทย อธิษ ฐานา ธิษฺฐิต มหา มุทฺเร สฺวาหา”
佛告帝釋言:[此咒名〈淨除一切惡道佛頂尊勝陀羅尼〉,能除一切罪業等障,能破一切穢惡道苦。
天帝!此大陀羅尼,八十八伽沙俱胝百千諸佛同共宣說,隨喜受持,大日如來智印印之。為破一切眾生穢惡道苦故。為一切地獄、畜生、閻羅王界眾生得解脫故。臨急苦難,墮生死海中眾生得解脫故。短命薄福,無救護眾生,樂造雜染惡業眾生得饒益故。又此陀羅尼於贍部洲住持力故,能令地獄惡道眾生,種種流轉生死,薄福眾生,不信善惡業,失正道眾生等得解脫義故。]
พระพุทธองค์ รับสั่งกับท้าวสักกะว่า “มนตร์นี้มีชื่อว่า สรฺว ทุรฺคติ ปริโศธน อุษฺณีษวิชย ธารณี สามารถกำจัดบาปวิบากทั้งปวง สามารถทำลายทุกข์แห่งอบายมรรคอันสกปรก
ดูก่อน เทวราช ก็มหาธารณีนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายจำนวนเท่าเม็ดทรายในคงคา ๘๘ แสนโกฏิสายรวมกัน ล้วนได้ตรัสแสดงแล้วดุจกัน ล้วนอนุโมทนาและจดจำไว้ อันเป็นชญานมุทราแห่งพระมหาไวโรจนตถาคต ด้วยเหตุที่จะทำลายความทุกข์แห่งอบายภูมิอันสกปรกของสรรพสัตว์ ด้วยเหตุที่จะยังให้สรรพสัตว์ในนรก เดรัจฉาน ยมราชาโลก ได้บรรลุถึงความหลุดพ้น ด้วยเหตุที่จะยังให้สรรพสัตว์ที่กำลังจะได้รับทุกขภัย คือ การตกสู่ห้วงมหาสมุทรแห่งสังสารวัฏ ได้บรรลุถึงความหลุดพ้น ด้วยเหตุที่จะยังให้สรรพสัตว์ผู้มีอายุขัยสั้น น้อยด้วยบุญวาสนา ไม่อาจปกป้องช่วยเหลือได้ ผู้ยินดีในการกระทำอกุศลกรรมอันแปดเปื้อน ให้ได้รับประโยชน์
อีกทั้งธารณีนี้ ทรงไว้ซึ่งอานุภาพในชมพูทวีป เป็นเหตุให้สามารถยังให้สรรพสัตว์ในนรก ทุรคติ บรรดาผู้ที่เวียนว่ายในสังสารวัฏ สรรพสัตว์ผู้น้อยด้วยบุญวาสนา ผู้ไม่ศรัทธาในกรรมดีชั่ว สรรพสัตว์ผู้วิบัติซึ่งสัมมามรรคทั้งปวง เหล่านี้ ให้บรรลุถึงความหลุดพ้น”
(มีต่อ.. โปรดติดตาม)
พระวิศวภัทร เส็กเซี่ยเกี๊ยก (釋聖傑)
20 มกราคม 2557
>>> F/B Vitsawapat Maneepattamakate