ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 06:23:47 am »“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2557 15:14 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000060101-
บ้านสกปรกระวัง “ด้วงกระเบื้อง” บุกรุก เสี่ยงภูมิแพ้ทางเดินหายใจ-ผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร แนะทำบ้านให้สะอาด โล่ง เผยกวาดรวบตัวด้วงลงกะละมังใส่น้ำผสมผงซักฟอกช่วยกำจัดได้ หรือใช้สารไซฟลูทรินผสมน้ำฉีดพ่นฆ่าตัวด้วงและตัวหนอน ป้องกันได้ 6 เดือน ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง
“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
วันนี้ (29 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีพบแมลงกระเบื้องจำนวนมากในบ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 11 ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี นานกว่า 3 เดือน ว่า กลุ่มกีฏวิทยาและควบคุมแมลงนำโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้เข้าไปตรวจสอบและกำจัดแมลงดังกล่าวแล้ว โดยแมลงกระเบื้องจัดเป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในวงศ์เดียวกันกับด้วงมอดแป้ง แต่ความเป็นอยู่สกปรกกว่า ลักษณะลำตัวกลมรี มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เปลือกค่อนข้างแข็ง ชอบอยู่ตามพื้นดินในที่ต่างๆ เช่น ใต้ไม้ผุๆ ใต้ก้อนหิน ตามรังมด รังปลวก ตามต้นพืชหลายชนิด หรือตามบ้านเรือน ตามกองใบไม้ทับถม และตามที่ที่มีเชื้อรา หรือซากสัตว์เน่าเปื่อย ตัวหนอนของด้วงชนิดนี้สามารถเดินได้เร็วและชอนไชเก่งมาก ชอบดินชื้นๆ โดยจะออกหาอาหารในเวลากลางคืน
นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนด้วงตัวแก่ที่เข้ามาอาศัยภายในบ้าน หากเข้าหูอาจทำให้หูอักเสบ หรือเกิดโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนังจากกลิ่น เกล็ดและขนที่หลุดร่วง หรือหนามที่ขา นอกจากนี้ ยังสามารถนำโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งติดมาตามขาและลำตัวด้วย จึงขอแนะนำประชาชนหากพบจะต้องรีบกำจัดทันที โดยลดหรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ด้วยการรักษาความสะอาดบ้านเรือน และบริเวณบ้านให้โล่งเตียน กำจัดเศษใบไม้ทับถม ส่วนเศษมูลสัตว์ที่จะทำเป็นปุ๋ยคอก ควรตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในถุงที่มิดชิดหรือนำไปใช้ใส่ต้นไม้ทันที
“หากต้องการป้องกันและกำจัดไม่ให้ด้วงเข้าไปอยู่ในบ้าน ให้ต่อหลอดไฟนีออนห่างจากตัวบ้าน 5-10 เมตร สูง 2 เมตร เพื่อล่อด้วงตัวแก่ เพราะชอบเล่นไฟนีออนตอนกลางคืน โดยทำโคมสังกะสีโค้งๆ ครอบเหนือหลอดไฟ แล้ววางกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกแบบไม่ต้องมีฟองไว้บนพื้นใต้หลอดไฟ เมื่อฝูงด้วงเล่นไฟแล้วบินชนโคมไฟก็จะตกลงในกะละมัง เมื่อปีกเปียกน้ำผสมผงซักฟอกจะไม่สามารถไต่หรือบินขึ้นมาได้และจมน้ำตายในที่สุด” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า แต่หากด้วงบุกเข้าไปอยู่ในบ้านแล้ว ให้ใช้ไม้กวาดและที่ตักผงกวาดรวบรวมตัวด้วงนำไปใส่ในกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกดังกล่าวเพื่อฆ่าฝูงด้วง แต่หากจะกำจัดแบบถาวรให้ใช้สารเคมีชื่อไพรีทรอยด์ ชนิดไซฟลูทริน (cyfluthrin) สูตรน้ำมันละลายน้ำ (สูตร EC) ผสมกับน้ำแล้วนำไปฉีดพ่นใส่ตัวด้วง หรือพื้นผิวที่ด้วงอาศัย เพื่อฆ่าระยะตัวหนอน โดยพ่นในปริมาณ 50 มิลลิลิตรต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร แต่หากจะพ่นตามผนังอาคารที่ด้วงเคยเกาะให้ใช้สูตรผงละลายน้ำ (สูตร WP) ทั้งนี้ ฤทธิ์ของสารเคมีดังกล่าวเมื่อถูกตัวด้วงจะทำให้ด้วงตายภายใน 24 ชั่วโมง มีฤทธิ์ตกค้างบนผนังอาคาร 6 เดือน ด้วงจะได้ไม่มาเกาะอีก แต่สารดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง พ่นซ้ำได้ทุก 6 เดือน หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป
.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤษภาคม 2557 15:14 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000060101-
บ้านสกปรกระวัง “ด้วงกระเบื้อง” บุกรุก เสี่ยงภูมิแพ้ทางเดินหายใจ-ผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร แนะทำบ้านให้สะอาด โล่ง เผยกวาดรวบตัวด้วงลงกะละมังใส่น้ำผสมผงซักฟอกช่วยกำจัดได้ หรือใช้สารไซฟลูทรินผสมน้ำฉีดพ่นฆ่าตัวด้วงและตัวหนอน ป้องกันได้ 6 เดือน ไม่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์เลี้ยง
“ด้วงกระเบื้อง” บุกบ้าน กำจัดอย่างไร?
วันนี้ (29 พ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีพบแมลงกระเบื้องจำนวนมากในบ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 11 ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี นานกว่า 3 เดือน ว่า กลุ่มกีฏวิทยาและควบคุมแมลงนำโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้เข้าไปตรวจสอบและกำจัดแมลงดังกล่าวแล้ว โดยแมลงกระเบื้องจัดเป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในวงศ์เดียวกันกับด้วงมอดแป้ง แต่ความเป็นอยู่สกปรกกว่า ลักษณะลำตัวกลมรี มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ เปลือกค่อนข้างแข็ง ชอบอยู่ตามพื้นดินในที่ต่างๆ เช่น ใต้ไม้ผุๆ ใต้ก้อนหิน ตามรังมด รังปลวก ตามต้นพืชหลายชนิด หรือตามบ้านเรือน ตามกองใบไม้ทับถม และตามที่ที่มีเชื้อรา หรือซากสัตว์เน่าเปื่อย ตัวหนอนของด้วงชนิดนี้สามารถเดินได้เร็วและชอนไชเก่งมาก ชอบดินชื้นๆ โดยจะออกหาอาหารในเวลากลางคืน
นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนด้วงตัวแก่ที่เข้ามาอาศัยภายในบ้าน หากเข้าหูอาจทำให้หูอักเสบ หรือเกิดโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนังจากกลิ่น เกล็ดและขนที่หลุดร่วง หรือหนามที่ขา นอกจากนี้ ยังสามารถนำโรคอาหารเป็นพิษ ซึ่งติดมาตามขาและลำตัวด้วย จึงขอแนะนำประชาชนหากพบจะต้องรีบกำจัดทันที โดยลดหรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ด้วยการรักษาความสะอาดบ้านเรือน และบริเวณบ้านให้โล่งเตียน กำจัดเศษใบไม้ทับถม ส่วนเศษมูลสัตว์ที่จะทำเป็นปุ๋ยคอก ควรตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บไว้ในถุงที่มิดชิดหรือนำไปใช้ใส่ต้นไม้ทันที
“หากต้องการป้องกันและกำจัดไม่ให้ด้วงเข้าไปอยู่ในบ้าน ให้ต่อหลอดไฟนีออนห่างจากตัวบ้าน 5-10 เมตร สูง 2 เมตร เพื่อล่อด้วงตัวแก่ เพราะชอบเล่นไฟนีออนตอนกลางคืน โดยทำโคมสังกะสีโค้งๆ ครอบเหนือหลอดไฟ แล้ววางกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกแบบไม่ต้องมีฟองไว้บนพื้นใต้หลอดไฟ เมื่อฝูงด้วงเล่นไฟแล้วบินชนโคมไฟก็จะตกลงในกะละมัง เมื่อปีกเปียกน้ำผสมผงซักฟอกจะไม่สามารถไต่หรือบินขึ้นมาได้และจมน้ำตายในที่สุด” อธิบดี คร. กล่าว
นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า แต่หากด้วงบุกเข้าไปอยู่ในบ้านแล้ว ให้ใช้ไม้กวาดและที่ตักผงกวาดรวบรวมตัวด้วงนำไปใส่ในกะละมังบรรจุน้ำผสมผงซักฟอกดังกล่าวเพื่อฆ่าฝูงด้วง แต่หากจะกำจัดแบบถาวรให้ใช้สารเคมีชื่อไพรีทรอยด์ ชนิดไซฟลูทริน (cyfluthrin) สูตรน้ำมันละลายน้ำ (สูตร EC) ผสมกับน้ำแล้วนำไปฉีดพ่นใส่ตัวด้วง หรือพื้นผิวที่ด้วงอาศัย เพื่อฆ่าระยะตัวหนอน โดยพ่นในปริมาณ 50 มิลลิลิตรต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร แต่หากจะพ่นตามผนังอาคารที่ด้วงเคยเกาะให้ใช้สูตรผงละลายน้ำ (สูตร WP) ทั้งนี้ ฤทธิ์ของสารเคมีดังกล่าวเมื่อถูกตัวด้วงจะทำให้ด้วงตายภายใน 24 ชั่วโมง มีฤทธิ์ตกค้างบนผนังอาคาร 6 เดือน ด้วงจะได้ไม่มาเกาะอีก แต่สารดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยง พ่นซ้ำได้ทุก 6 เดือน หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์การเกษตรทั่วไป
.