ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 03:09:59 pm »




พอเพียง มาก ได้แชร์รูปภาพของ Trader Hunter พบธรรม
7 มิถุนายน 57 เวลา 14:03 น. ·
เคล็ดการปฏิบัติของ หลวงตาบัว

อาการของจิตทุกอาการที่เกิดขึ้นต้องดับและแปรปรวน อย่าตื่นเงาของจิตตัวเองจะเดือดร้อน ความรู้ว่าเผลอและไม่เผลอเป็นทางที่ถูกต้องแล้ว ความเสื่อมความเจริญเป็นอาการของโลก ให้รู้เท่าผู้รู้ว่าเสื่อมหรือเจริญ นี่แหละเป็นธรรมที่คงที่ ความรับรู้ทุกขณะนี้แลเป็นธรรมยั่งยืน เราเป็นนักปฏิบัติอย่าหลงตามอาการของความเสื่อมความเจริญ จงรู้ตามอาการ จึงจัดว่าเป็นผู้ฉลาดในธรรม ดวงไฟยังมีดอกแสงควันไฟ ต้องแสดงความเกิดความดับจากดวงไฟเป็นธรรมดา จิตยังมีอาการเกิดๆ ดับๆ ซึ่งเกิดจากดวงจิตต้องมีเช่นเดียวกัน ข้อสำคัญอย่าหลงตาม เสื่อมจงรู้ตาม เจริญจงรู้ตาม เผลอหรือไม่เผลอ จงรู้ตามทุกอาการ จึงจัดว่านักค้นคว้าความรู้เท่าในอาการเกิดๆ ดับๆของสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาเสมอไป นั่นแลจัดว่าเป็นผู้รู้ จะรู้เท่าทันโลกและเรียนรู้โลกจบ จึงจะพบของจริง

กระพี้ต้องหุ้มห่อแก่นไม้ไว้ฉันใด กระพี้ธรรมก็ห่อหุ้มปกปิดแก่นธรรมไว้ฉันนั้น อาการเกิดๆดับๆ ดี ชั่ว เสื่อม เจริญ เผลอไม่เผลอ เหล่านี้จงทราบว่าเป็นกระพี้ธรรมปกปิดแก่นธรรมคือของจริงไว้ ใครหลงตามชื่อว่าคว้าเอากระพี้ธรรม จะนำความเสื่อมความเจริญเป็นต้นมาผันดวงใจให้ดิ้นรน จะตามดูโลกและรู้โลกของตนไม่จบ จะพบแต่ของปลอม อาการที่ปรากฏขึ้นมาจากจิต จะดี ชั่ว สุข ทุกข์ เสื่อม เจริญ เผลอ ไม่เผลอ เศร้าหมอง ผ่องใส นี้เป็นเครื่องเตือนสติปัญญา จงตามรู้ทุกอาการอย่าด่วนถือเอา การเดินทางต้องมีสูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ ตลอดทางจนถึงที่อยู่ฉันใด การเดินธรรม (คือการดำเนินทางจิต) ต้องประสบอาการต่างๆ มีดีชั่วเป็นต้น ซึ่งจะเกิดจากจิตเช่นเดียวกัน จนถึงจุดจบของสมมุติ จึงจะไม่ประสบอาการเช่นนี้อีก

 การเดินทางอย่าถือความร้อนหนาว ความสูงต่ำในระยะทางมาเป็นอุปสรรค จงมุ่งถึงความถึงที่ประสงค์เป็นสำคัญ การดำเนินทางใจ อย่าถืออาการดีชั่ว เป็นต้น ที่เกิดจากใจมาเป็นอุปสรรค จงตั้งใจพิจารณาสิ่งที่มาสัมผัสด้วยปัญญาตลอดไป จนถึงจุดจบของสิ่งที่มาสัมผัส อย่าหวั่นไหวตามอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะใจ จะเป็นนักรบต้องประสบกับข้าศึกคืออารมณ์ จงสู้รบด้วยปัญญา จนเห็นความจริงของอารมณ์นั้นๆ ครูเอกของเราก่อนหน้าจะปรากฏเป็นองค์ศาสดาของเรา ต้องผ่านข้าศึกเช่นเดียวกับเรา แม้อาจารย์ของเราจะนำธรรมมาสอนเราได้ต้องขุดค้นขึ้นมาจากอุปสรรค คือสิ่งที่กระทบเช่นเดียวกับเรา ฉะนั้นจงต่อสู้จนสุดฝีมือ จะสมชื่อว่าเราเป็นศิษย์มีครูแท้

ข้าศึกของเราทุกวันที่เป็นไปอยู่ ไม่มีวันสงบศึกกันได้ ก็เนื่องจากเราเป็นศึกกับตัวเราเอง คือถ้าใจสงบลงไม่ได้ ศึกก็ยังสงบลงไม่ได้ แท้จริงบาปมารเป็นต้น ไม่มีตั้งค่ายแนวรบรอรบกับเราอยู่สถานที่ใดๆ แต่ใจดวงเดียวเท่านี้ตั้งตัวเป็นเจ้าบาปเจ้ามารประหัตประหารกับเรา ถ้าเราเข้าใจว่าบาปมารคอยเราอยู่ภายนอก ไม่ย้อนกลับความรู้เข้ามาดูจิตผู้เป็นมารตัวแท้ ข้าศึกของเราจะหาวันสงบไม่ได้ จงทราบว่าเรื่องทุกข์ที่เป็นไปในกายแลจิตของเราตลอดเวลา ถ้าเรามองข้ามทุกข์ก้อนนี้ไป อริยสัจคือของจริงอันประเสริฐ ก็เป็นอันว่าเรามองข้ามไปเช่นเดียวกัน อริยสัจมีอยู่กับเราทุกเวลา จงตั้งปัญญาให้เห็นตามความเป็นจริงของอริยสัจที่มีอยู่ พระพุทธเจ้าถึงนิพพานเพราะพิจารณาอริยสัจ เห็นอริยสัจ อย่าส่งใจไปหาบาปบุญนอกจากกายใจจะผิดหลักผิดทาง อดีตอนาคตจงเป็นเป็นไฟ อย่าส่งใจไปเกาะเกี่ยว ปัจจุบันคือความเพียร มีสติจำเพาะหน้าพิจารณาไตรลักษณ์อันมีอยู่กับตนนี่แล เป็นธรรมแผดเผาบาปมารได้แท้ จงตั้งจิตลงตรงนี้ ฉะนั้นจงพากันตั้งใจ คุณทั้งสองมีวาสนาบารมีอันได้สร้างไว้มากแล้ว อย่าเสียใจ ไม่เสียทีเลย จงเร่งเข้า.
7 ธันวาคม 2502

การอบรมจิต จงใช้ปัญญาพิจารณาด้วยดีในอาการของธรรมทุกแง่ (อาการของจิต) ซึ่งเกิดขึ้นจากจิต ความสัมผัสรับรู้ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ นั้นแลเรียกว่า ความเพียร ดีชั่ว สุขทุกข์ เศร้าหมอง ผ่องใส จงตามรู้ด้วยปัญญาแล้วปล่อยไว้ตามสภาพ ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน สิ่งใดที่ปรากฏขึ้นจงกำหนดรู้ อย่าถือเอาแม้แต่อย่างเดียว รู้ชั่วปล่อยชั่ว กลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน นี้ก็ชื่อว่าหลง จงระวังการมีสติหรือเผลอสติในขณะๆ นั้นๆ อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น จงกำหนดเฉพาะหน้า พิจารณาเฉพาะหน้า

กายมีอยู่ จิตมีอยู่ ชื่อว่าธรรมมีอยู่ อย่าหลงธรรมว่ามีนอกไปจากกายกับจิต ไตรลักษณ์หรือสติปัญญาก็ต้องมีอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน จงพิจารณาในจุดที่บอกนั้น แม้ที่สุดทำผู้รู้หรือสติให้รู้อยู่ในวงกายตลอด โดยไม่เจาะจงในกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ถูก ข้อสำคัญให้จิตตั้งอยู่ในกาย อย่าใช้ความอยากเลยเหตุผลที่ตนกำลังทำอยู่ก็แล้วกัน การทำถูกจุดผลจะค่อยเกิดเอง ไม่มีใครแต่งหรือบังคับ อย่าส่งจิตไปตามอดีตที่ล่วงแล้ว ไม่มีประโยชน์แม้แต่น้อย
16 มีนาคม 2503

จงดูความเคลื่อนไหวของใจที่แสดงความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา อาการของใจ มันเกิดไปถึงไหนและดับไปถึงไหน มันเกิดที่ไหนมันก็ดับลงที่นั่นเอง จงพิจารณาให้ชัดต่อความเกิด-ดับของใจ ความเกิดกับความดับที่ปรากฏขึ้นจากใจ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ควรถือเอา จงฆ่าแม่คือใจให้ตาย ลูกคืออาการก็จะหมดปัญหาทันที แม้จะปรากฏเกิดๆ ดับๆ ก็ไม่เป็นปัญหาและไม่มีพิษสงอะไรอีกต่อไปอีก อาการของใจจึงจะกลายเป็นขันธ์ล้วนๆ ไม่มีกิเลสเจือปน จะหมดกังวลใดๆ ลงทันที
เมษายน 2504

ธรรมชาติของจิต จะไปหยุดนิ่งอยู่นานๆ ไม่ได้เดี๋ยวมันก็คิด ในช่วงนั้นถ้าเกิดความคิดขึ้นมาปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ สิ่งที่มันคิดนั้นจะเป็นอะไรก็ได้เรื่องครอบครัว เรื่องการเรื่องงาน เรื่องผู้เรื่องคน จิปาถะสารพัดที่จะคิดขึ้นมา เมื่อมันคิดขึ้นมาอย่างนั้น ปล่อยให้คิดไป แต่ให้มีสติกำหนดตามรู้ รู้ รู้ เป็นการส่งเสริมให้จิตของเรามีพลังเข้มแข้ง เพราะความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดสติปัญญาจินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นได้จากความคิด เมื่อจิตมีความคิด สติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ทุกขณะจิต ความคิดสะเปะสะปะเหลวไหลนั่นแหละจะกลายเป็นปัญญาในสมาธิ เพราะจิตของเราคิดแล้วจะรู้สึกแต่เพียงสักแต่ว่าคิด คิดแล้วก็ปล่อยวางไปๆ เมื่อสติสัมปชัญญะมีพลังแก่กล้าขึ้นกลายเป็นปัญญา เมื่อมีปัญญาก็สามารถกำหนดหมายรู้ความคิดว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็รู้พระไตรลักษณ์ขึ้นมา ก็กลายเป็นปัญญาในขั้นวิปัสสนาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะไปข้องใจสงสัยอยู่ทำไมหนอรีบเร่งบำเพ็ญภาวนาให้มากๆ ให้ได้สมาธิเป็นเบื้องต้น

ทีนี้ถ้าหากว่าท่านผู้ใดขี้เกียจ หรือไม่มีอะไรจะคิดก็ให้กำหนดจิตรู้ที่จิตเฉยๆ ถ้าจิตว่างรู้ที่ความว่าง ถ้าจิตคิดรู้ที่ความคิด ว่างรู้ที่ความว่าง คิดรู้ที่ความคิด ไล่ตามกันไปอย่างนี้ เมื่อเราฝึกหัดจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญ ทีหลังเราอาจจะไม่ได้ตั้งใจกำหนดรู้อารมณ์จิตหรือความคิด สติก็ทำหน้าที่ตามรู้คอยควบคุม เมื่อมีสติสัมปชัญญะ จิตของเราก็รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก มันจะรู้ของมันขึ้นมาเอง

เมื่อพิจารณาไปพอสมควรแล้ว บางครั้งจิตอาจจะสงบลงในท่ามกลางแห่งภาวนา แล้วก็หยุดพิจารณา เมื่อมันหยุดพิจารณา ไปนิ่ง รู้เฉยอยู่ ให้กำหนดตัวผู้รู้ ในขณะกำหนดตัวผู้รู้ จิตจะหยุด นิ่งอยู่ ก็กำหนดรู้อยู่อย่างนั้นแหละ อย่าไปรบกวน น้ำใจกำลังจะนิ่ง ในเมื่อน้ำใจนิ่ง ไม่มีคลื่นไม่มีฟอง ไม่มีอารมณ์มารบกวน เราก็จะสามารถเห็นจิตเห็นใจของเราได้ทะลุปรุโปร่ง เหมือนๆ กับน้ำทะเลที่มันนิ่ง เราสามารถมองเห็น เต่า ปลา กรวด ทราย สาหร่าย อยู่ใต้น้ำได้ถนัด ฉันใด ในเมื่อจิตของเรานิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน เราก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในจิตของเราได้อย่างชัดเจน อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติ


https://www.facebook.com/pages/Trader-Hunter-พบธรรม/492287657495171
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 11:30:36 am »




..การพิจารณานี้เป็นการที่จะปล่อยวางสิ่งเหล่านั้น
ตามหลักความเป็นจริง
ที่รู้เห็นมันเรียบร้อยแล้วถอยเข้ามาๆ จิตก็ปล่อยตัวเข้ามา
แล้วความหนักทั้งหลายด้วยอุปาทานมันก็เบาลงๆ ..

"เหมือนแห เมื่อเรากางออกไปแล้วมองไปที่ไหนก็ไม่เห็นจุดที่จะจับได้
ต้องจับจอมแหดึงขึ้นมา แล้วตีนแหจะหดย่นเข้ามาๆ
แล้วก็มาเป็นกองแห อันนี้กระแสของจิตมันเหมือนตีนแหนั่นแหละ
กระจายออกไป เอาพุทโธๆ ซึ่งเป็นเหมือนจอมแห
หรือคำบริกรรมใดก็ตามนี้เป็นเหมือนจอมแห ให้จับตรงนี้ให้ดี

สติอยู่จุดนี้ให้ดีแล้ว แล้วตีนแหคือกระแสของจิต
จะค่อยหดย่นเข้ามาๆ ก็มาเป็นกองแหคือจุดผู้รู้เด่นอยู่ตรงนั้น
จำให้ดีนะ นี่เบื้องต้นในการฝึกทรมานจิตใจของเรา
เมื่อตั้งหลายครั้งหลายหนเข้าไป จุดนี้ก็จะเด่นขึ้น จุดที่ว่ากองแหๆ นี่
พอเด่นขึ้นแล้วจะเป็นความสว่างไสว ความสงบร่มเย็น
จะอยู่ในนั้นหมดเลย แล้วกระจายออกไป แน่นหนามั่นคงเข้าๆ

จากนั้นท่านก็สอนปัญญา แยกธาตุแยกขันธ์ แยกเขาแยกเรา
แยกสัตว์แยกบุคคล ภูเขาภูเรา แยกออกไปมันเป็นอะไรต่ออะไร
เพราะจิตมันยึดถือได้หมดเลย ไม่ว่าอะไรยึดได้ทั้งนั้น
การพิจารณานี้เป็นการที่จะปล่อยวางสิ่งเหล่านั้นตามหลัก
ความเป็นจริงที่รู้เห็นมันเรียบร้อยแล้วถอยเข้ามาๆ จิตก็ปล่อยตัวเข้ามา
แล้วความหนักทั้งหลายด้วยอุปาทานมันก็เบาลงๆ "

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด
เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๒


www.luangta.com
Kajitsai Sakuljittajarern ได้แชร์รูปภาพของ
มูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เพจ
8/6/57


กิเลสเป็นสิ่งสมมุติ..ที่เกิดขึ้นได้-ดับได้
เพราะฉะนั้นจึงชําระได้ มีมากขึ้นได้
ทําให้ลดลงได้.. ทําให้หมดสิ้นไปก็ได้
เพราะเป็นเรื่องของสมมุติ

แตจิตล้วน ๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติ..
ที่เรียกว่า “จิตตวิมุตติ” แล้ว
ย่อมพ้นวิสัยแห่งกิเลสทั้งมวล
อันเป็นสมมุติจะเอื้อมเข้าถึงและทําลายได้
ถ้ายังไม่บริสุทธิ์มันก็เป็นสมมุติ
เช่นเดียวกับสิ่งทั้งหลาย

เพราะสิ่งสมมุตินั้นแทรกตัวอยู่ในจิต
เมื่อแก้นี้ออกจนหมดแล้ว
ธรรมชาติที่เป็นวิมุตตินี่แล
เป็นธรรมชาติที่กิเลสใด ๆ
จะทําอะไรต่อไปไม่ได้อีก
เพราะพ้นวิสัยแล้ว แล้วอะไรฉิบหาย ?

ทุกข์ก็ดับไปเพราะสมุทัยดับ
นิโรธความดับทุกข์ก็ดับไป
มรรคเครื่องประหารสมุทัย ก็ดับไป

สัจธรรมทั้งสี่ดับไปด้วยกันทั้งนั้น คือ ทุกข์ก็ดับ
สมุทัยก็ดับ มรรคก็ดับ นิโรธก็ดับ แน่ะ ! ฟังซิ

@หลวงตามหาบัว


F/B>>> :Jeng Dhammajaree

..เพราะใจเป็น อฐานะ ที่สิ่งเหล่านี้จะซึมซาบได้แล้ว..
เมื่อได้หลุดพ้นจาก สมมุติ โดยประการท้ังปวง
ถึงข้้น วิมุตติ เต็มหัวใจแล้ว
พ้นแล้วจาก วิสัยของสมมุติท้ังหลาย ที่จะเอื้อมถึง
จิตของผู้ที่หลุดพ้นแล้วนั้นจึงไม่มีคำว่า "ไตรลักษณ์"
ไม่มีคำว่า "อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา"

ทุกข์ เวทนาทั้งหลายจึงเข้าไม่ถึง เพราะอันนี้เป็นสมมุติ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา เหล่านี้
ล้วนแล้วตั้งแต่เป็นสมมุติทั้งน้้น จิตนั่นเป็นจิตวิมุตติเข้ากันได้ยังไง
เข้าไม่ได้ รู้เอง อ๋อ เป็นอย่างนี้
เวทนาในจิตของพระอรหันต์ไม่มีก็รู้เอง ก็มีแต่ในธาตุในขันธ์
เจ็บน้ันปวดนี้ก็รู้ แต่ไม่สามารถเข้าไปซึมซาบถึงใจได้ เพราะใจ
เป็นอฐานะที่สิ่งเหล่านี้จะซึมซาบได้แล้ว

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
กัณฑ์เทศน์ "ธรรมสถิตที่ใจ"


Kajitsai Sakuljittajarern ได้แชร์รูปภาพของ Sutunya Sundarasardula
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 12:37:58 pm »



พรปีใหม่ หลวงตามหาบัว..

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยได้ให้พรปีใหม่ไว้ในปีหนึ่งว่า..
      ขอให้ประชาชนคนไทยทั้งชายและหญิงให้ประพฤติตนเป็นคนดี รวมถึงพระภิกษุสามเณรด้วย เพราะการทำความดีถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างหนึ่ง การประพฤติปฏิบัติในแต่ละวันนั้นสามารถทำในสิ่งที่ดีและชั่วได้ และถ้าทำสิ่งไม่ดีก็จะเป็นผลเสียแก่ตนเอง แต่ถ้าทำในสิ่งที่ดีก็จะเป็นสิริมงคลแก่ตนเองเช่นกัน ให้ทุกคนตระหนักถึงการกระทำของตนให้ดีมีสิ่งยึดมั่นในจิตใจไม่ไขว่เขว เพราะถ้าหากจิตใจไม่มั่นคงผลที่ตามมาจะส่งผลทั้งตนเองและประเทศชาตินำพาไปสู่ความล่มจม จงช่วยกันในการทำความดีเพื่อเป็นการพยุงตนและชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

หลวงตามหาบัว กล่าวต่อว่า อย่าใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยเกินตัว อย่าโลภเพราะจะทำให้เสียคน เพราะทุกวันนี้สังคมไทยมีแต่ความฟุ้งเฟ้อ อะไรผ่านเข้ามาเป็นต้องคว้าไปหมด นิเป็นนิสัยของคนไทยที่ควรปรับปรุง ถ้าหากว่ารู้จักถึงความพอเหมาะพอดีแล้วจะเป็นคนดี มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้งในการทำชั่วอยู่ในกรอบของความดีโดยไม่ต้องเอาใครมาวัดมาตวงเอาตัวของเราวัดตัวของเราเอง ในวันที่เราว่างสามารถที่จะเสาะแสวงหาความดีงามการให้ทาน การบริจาค การเฉลี่ยเผื่อแผ่ นี้เป็นมงคลแห่งตัวของเราและชาติไทยของเรา มีความเสียสละอยู่ด้วยกันสนิทใจ ถ้าไม่มีความเสียสละต่อกัน ไม่เห็นอกเห็นใจกันเลยนี้คับแคบตีบตัน ไปที่ไหนร้อนเป็นฟืนเป็นไฟ เขาก็อาศัยเราไม่ได้ เราก็อาศัยเขาไม่ได้

"อย่าแทงข้างหลังกัน การให้อภัยกันเป็นสิ่งที่ดี เพราะกิเลสมันมีอยู่ในทุกคน มันจะเป็นตัวที่มาทิ่มแทงข้างหลังให้เราเจ็บแสบที่สุดจนถึงวันตาย ถึงตายก็ลืมกันไม่ได้ นี่ละคนที่เขาก่อกรรมก่อเวรกันเพราะการถูกแทงข้างหลัง เจ็บแค้นมากทีเดียว แทงข้างหลังกับหักหลังนี้มีน้ำหนักเท่ากัน เจ็บแสบเท่ากัน ความเคียดแค้นที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากการหักหลังกันและแทงข้างหลังนี้มีมากที่สุด เมื่อเจ็บแค้นแล้วจะเอาอะไรตอบแทน ก็ต้องผูกโกรธผูกแค้นจองกรรมจองเวรกันเป็นการตอบแทนกัน ก็ยิ่งเพิ่มฟืนเพิ่มไฟขึ้นไปไม่มีประมาณ ดังธรรมพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่า น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ ตลอดกาลไหน ๆ เวรย่อมไม่ระงับเพราะการก่อกรรมก่อเวรต่อกัน อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน แต่เวรจะระงับลงได้ด้วยการไม่ก่อกรรมก่อเวร ธรรมนี้เป็นธรรมพื้นฐานที่จะให้โลกสงบร่มเย็นต่อกัน ผิดพลาดมันก็มีด้วยกันมนุษย์เรา ขอให้พากันระมัดระวัง เห็นอกเห็นใจ ให้อภัยกันเสมอ" หลวงตามหาบัว กล่าว

เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด กล่าวเพิ่มเติมว่า นี่ก็เริ่มปีใหม่แล้ว ขอให้คนทุกคนจงทั้งหน้าตั้งตาทำแต่ความดีสร้างความดีงามและสืบทอดความดีงามจากปีที่ผ่านมา สร้างความดีเพิ่มเติมขึ้นไปเรื่อยๆให้ดีตลอดไป ให้ห่างจากความทะเยอทะยานเห็นแก่ตัวเพราะสิ่งเหล่านี้จะกลับมาทำลายตนเอง การที่จะทำอะไรต้องใช้ความพินิจพิจารณา มีสติธรรมปัญญาธรรม สติระลึกรู้ตัว อย่าลืมตัว ให้สติติดกับตัวเสมอ อะไรมันจะผาดโผนโจนทะยานไปไหนถ้าสติอยู่กับตัว ติดแนบกับตัวอย่างเข้มแข็งด้วยแล้ว ความเคลื่อนไหวเพื่อความเสียหายจะไม่มี ที่มีก็เพราะความเผลอสติ ปล่อยสติไปตามความชั่วเกิดเป้นไฟในจิตใจเผาทั้งตัวเองและส่วนรวมให้เดือดร้อน

ฉะนั้น จะทำสิ่งใดต้องมีสติ เงินทองที่หามาได้ควรรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด ตามความจำเป็น อย่าจ่ายตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอน อย่าใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย ดีไม่ดีต้องหายาทันใจมากินแก้ปวดหัว ควรที่จะระงับอารมณ์กับการใช้จ่ายถึงแม้ว่าจะเคยใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยมาแล้ว จนติดเป็นนิสัยหากไม่ได้จ่ายถึงกับปวดหัว วันนี้ก็พูดเพียงเท่านี้ ปีเก่าปีใหม่ก็เทศน์มาทุกปี ให้พากันจำเอาไว้ ตั้งเนื้อตั้งตัวเพื่อความเป็นคนดี ทั้งปีใหม่ปีเก่าเราจะเป็นคนดีตลอดไป ขอความสวัสดีจงมีแก่พี่น้องทั้งหลายโดยทั่วกันเทอญ หลวงตามหาบัว กล่าว

F/B>>> :Jeng Dhammajaree
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 08, 2013, 03:46:57 pm »




"พูดเรื่องอะไรก็เป็นอรรถเป็นธรรม
เป็นเหตุเป็นผลที่เป็นคติตัวอย่างแก่กันและกัน เป็นเครื่องรื่นเริง
ไม่ใช่พูดเพื่อสั่งสมกิเลส
หรือทำความกระทบกระเทือนให้แก่ผู้ฟังทั้งหลาย
นี่เรียกว่า สัมมาวาจา"

หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน



-http://www.facebook.com/profile.php?id=100002458281945


ความฝันของพระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
ในคืนวันที่หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน จะละสังขาร

----------------------------------

อาตมภาพมีความคุ้นเคยนับถือกันกับหลวงตามหาบัว
ตั้งแต่คราวไปพักที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่
ตามพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒-๘๓
สมัยนั้นหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
ไปเรียนนักธรรมเอก และบาลีประโยค ๓ ที่วัดเจดีย์หลวง

วันหนึ่งได้ขึ้นไปกุฏิหลังพระเทพโมลี (พิมพ์ ธมฺมธโร)
แล้วก็เห็นพระบัว ญาณสมฺปนฺโน นอนอยู่ ไม่มีมุ้งกลด ต้องนอนตากยุง
อาตมภาพได้ถวายมุ้งหลังหนึ่ง ก็รู้จักมักคุ้นกันมาแต่นั้น
ท่านเป็นผู้ที่มีความตั้งมั่นในการศึกษาพระปริยัติธรรม
จะเอาเพียงนักธรรมเอกและประโยค ๓
ต่อจากนั้นไปก็จะออกปฏิบัติกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
ซึ่งไปอยู่ศึกษาอบรมกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ๘ ปี
จนได้หลักจิตหลักใจ แล้วมาตั้งวัดป่าบ้านตาด
แนะนำสั่งสอนพระเณรและประชาชนจนมีลูกศิษย์ลูกหา
เป็นที่เคารพนับถือเลื่อมใสของประชาชนทั่วประเทศ
แม้แต่อาตมภาพขณะใดจิตไม่สงบดับจากกิเลส
ก็มาปรึกษาหารือกับหลวงตามมหาบัว ท่านก็แนะนำ
อันนี้เนื่องจากบุญเก่าได้บันดาลให้มาพบกัน

ปลายปีที่แล้วในระยะหลวงตาอาพาธ
อาตมภาพได้แวะไปเยี่ยมหลายครั้ง
ในวันที่หลวงตามหาบัวจะละสังขาร
อาตมภาพขณะพักจำวัดหลับเคลิ้มไป

ก็ปรากฏว่าหลวงตามหาบัวแวะมาหากราบ ๓ ครั้ง
ก็พูดว่า “เจ้าคุณฯ ผมมาลานะ”

อาตมภาพก็ถามว่า “จะลาไปไหน ?”

ท่านบอกว่า “ไปที่ไม่เกิดอีก เพราะชาติสุดท้ายของผม
ให้เจ้าคุณฯ อยู่ต่อไป ให้ลูกหลานได้กราบไหว้” แล้วหายไป

ตื่นขึ้นก็จำความฝันได้ชัดเจน เวลาประมาณตี ๔ นาฬิกา
ก็ยังนึกอยู่ว่า หลวงตามหาบัวคงไม่ได้อยู่กับพวกเราแล้ว
ตอนเช้าก็รับทราบว่ามรณภาพ
รู้สึกใจหายและรู้สึกอาลัยในการจากไปของหลวงตาเป็นที่สุด
ซึ่งอาตมภาพมั่นใจว่า “ท่านไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว”
ท่านได้วางแบบอย่างอันงดงามไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ดำเนินรอยตาม
ขอให้ลูกศิษย์ลูกหาและประชาชนได้สืบแนวปฏิปทาต่อไป

จาก...หนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์

>>fb supani
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 09:34:56 pm »




พระอรหันต์ไม่มีน้ำตาเหรอ มีอยู่ในกายของทุกคน น้ำตาก็คือขันธ์ มันกระเพื่อมก็ไหลออกมาได้ เกิดความสลดสังเวช นี่ละท่านเรียกว่าสลดสังเวช ไม่ได้บอกว่าท่านร้องไห้ เพราะคำว่าร้องไห้เป็นเหมือนคนทั่ว ๆ ไป แต่ปลงธรรมสังเวชนี้เป็นกิริยาของน้ำตาร่วง เกิดขึ้นจากขันธ์กระเพื่อม สังขารปรุงขึ้นมาจากความรับทราบ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว นั่นละพระอรหันต์ทั้งหลายท่านปลงธรรมสังเวช ก็น้ำตาร่วงเหมือนกัน นี่เรียกว่าขันธ์

ขันธ์จะทำหน้าที่ของมันโดยสมบูรณ์เหมือนกันกับปุถุชน ขันธ์ของพระอรหันต์กับปุถุชนก็ขันธ์เสมอกัน การแสดงกิริยาของมัน มันก็แสดงเต็มเม็ดเต็มหน่วยของมันเหมือนกัน เป็นแต่เพียงว่าจิตนั้นไม่เข้าซึมซาบ ผิดกันเท่านั้นเอง เช่น เดินไปถนนหนทางลื่นจะหกล้มนี้ พระอรหันต์กับคนสามัญธรรมดาจะช่วยตัวเองเต็มเหนี่ยว ไม่ควรล้มไม่ล้ม หรือก้าวเหยียบลงไปเห็นรากไม้เหมือนกับว่าเป็นงูนี้ โดดผางเลยข้ามเลย นั่นละเรียกว่าเป็นสัญชาตญาณรับผิดชอบ ๆ เป็นอย่างนั้นไป เป็นแต่เพียงว่าท่านไม่ยึดเท่านั้นเอง แย็บ ที่ต่างกัน

กิริยาที่ท่านแสดงช่วยตัวเองนั้นเหมือนกัน แต่ภายในใจของปุถุชนกับพระอรหันต์นี้ต่างกัน คือ ภายในใจของปุถุชนนี้จะตกใจ จิตใจร้อนวูบเลยเวลาตกใจนะ เช่น จะเหยียบงูอย่างนี้ โดดข้ามปึ๋ง จิตใจนี่ร้อนวูบเลย แต่พระอรหันต์ท่านไม่เป็นอย่างนั้น พอรู้ว่าเป็นงูแย็บเท่านั้น นี่ขันธ์แสดงแย็บเท่านั้นเองผ่าน ถึงจะล้มก็ล้ม ท่านไม่ได้เสียใจ มันอยากล้มก็ล้มไป มันทนไม่ไหวทานไม่ไหวก็ล้มไป นี่กิริยาอันนี้เหมือนกัน ขันธ์ของพระอรหันต์กับขันธ์ของปุถุชนเป็นขันธ์เหมือนกัน ต้องแสดงเต็มตัวได้เหมือนกัน เป็นแต่เพียงไม่เข้าซึมซาบถึงใจท่านเท่านั้นเอง ให้พากันทราบเอาไว้

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
พระอรหันต์กับปุถุชน
๓๑ กรกฏาคม ๒๕๔๓
*****************

ไปบ่ไปเฮากะบ่ว่าดอก เฮาบ่นซื่อๆ เด๊ เป็นโอกาสสิเว่ากะเว่า
ธรรมดาบ่เคยเว่าดอกแนวหมู่นี่ เรื่องจะไปจะอยู่
เฮาบ่มีอาลัย เฮาหมดห่วงหมดใยคูแนว ตัดขาดหมดเลย
บ่มีอันใด๋เหลือในใจ ถึงจุดที่ว่า จิตว่าง ว่างทุกอย่าง
มีแต่ธรรม ธรรมว่างไปแบบหนึ่งเด๊
๙๘ ย่างเข้ามาแล้ว มันกะใกล้แล้วเด๊ ใกล้สิไปแล้ว
ไปกะไป เฮาบ่ย่านบ่หาญเด๊ ซือๆ อยู่
ได้ธรรมมาเต็มหัวใจทุกอย่าง บำเพ็ญธรรมจนเต็มหัวใจแล้ว
หายห่วง ยังอยู่แต่ร่างกายกับสุขภาพ มันสิไปมื้อใด๋มันกะไปท่อนั้นแล้ว
บ่ไปก็อยู่อย่างนี้แหละ ความห่วงความใยอันใด๋บ่มีหมดเลย
เดินอย่างสะดวกสบายละ สูงสุดไปเลยโลด เว่ามันคักๆ จั่งซี้แหละ
เฮาบ่เคยเว่าดอก

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๘๒๒
**************

“เหนื่อย .. อยู่ท่าไหนก็ไม่สะดวกสบาย
เหนื่อย .. วันหนึ่งคืนหนึ่งมีแต่เหนื่อย
ความเฒ่าความแก่มีแต่บีบเข้าๆ เราหายสงสัยหมด
ในอรรถในธรรม โล่งหมดเลย เรียกว่าสิ้นสุดล่ะ
การเกิดการตายในชาตินี้ เรียกว่าสิ้นสุดหมดเลย ในชาตินี้
เป็นชาติสุดท้าย ทะลุหมด โลกธาตุนี้ทะลุหมดเลย
ทุกสิ่งทุกอย่างปล่อยวางหมด ไม่มีอะไรเหลือ
ความดีความชั่ว โทษคุณ ปล่อยวางหมด ไม่มีเหลือ”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า ๘๑๖
*************

“ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา...เราจะไม่กลับมาเกิดอีก
ชั่วอนันตกาล .. อันกายนี้มันร้อนเป็นไฟ
สังขารมันทรมาน แต่ใจนี่สิ อาจหาญและสว่างจ้าอยู่ตลอด
มันสว่างมากนะ จนไม่มีอะไรเปรียบได้”

จาก.. หนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๘๑๘
*********************


ธรรมะ ท่านสอนให้ดูตัวเอง ระวังตัวเอง
จะได้เห็นความบกพร่องของตนเอง
แล้วแก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ จนสมบูรณ์ได้

มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต
มหาเถเร ปะมาเทนะ ทวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต

*****************


-http://www.facebook.com/supany.maew

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 09:30:11 pm »



เกี่ยวกับลักษณะการนิพพานของพระอรหันต์นั้น
... องค์หลวงตากล่าวไว้ ดังนี้ ...


“...จิตที่ทำลายสมมุติหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว
อะไร เวทนาไหน จะไปแทรก นี่เราถึงได้กล้าพูดว่า
พระอรหันต์ตาย ตายเมื่อไร ตายที่ไหน ตายเรื่องอะไร ด้วยเหตุผล
กลไกอะไรก็ตาม ก็จิตพระอรหันต์ล้วนๆ ว่างั้นเลย
ท่านไม่มีปัญหาอะไรกับสมมุติ..
คือการตาย กิริยาแห่งการตายต่างๆ นั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งหมด
ความบริสุทธิ์เต็มภูมิ จึงไม่วิตกวิจารณ์..
เรื่องการเป็น การตาย ...
แล้วคำว่าบริสุทธิ์แล้วนั้น จะมีกาลสถานที่
เวล่ำเวลาที่ไหนเป็นกำหนดกฎเกณฑ์ เป็นที่ให้เกิด
สัญญาอารมณ์กับท่าน
นิพพานท่าไหนจะดี หรือนิพพานท่าไหนจะเสียที
หรือตายท่าไหนดีท่าไหนไม่ดีท่านไม่มี ตายท่าไหนก็คือพระอรหันต์ตาย
เอ้า เราพูดเรื่องตาย จะตายด้วยอุบัติเหตุอะไรก็ตาม
ตายด้วยการเจ็บไข้ได้ป่วยอะไรก็ตาม
จะเข้าสมาธิสมาบัติ หรือไม่เข้าก็ตาม ไม่มีสิ่งใดสำคัญทั้งนั้นไม่มีอันใด
ที่จะลบล้างความบริสุทธิ์นั้นได้เลย
ท่านเป็นพระอรหันต์อยู่เต็มตัว ทุกกาล สถานที่ อิริยาบถ .."

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า ๓๙๗
***********

"พอลมหายใจขาดปั๊บ สมมุตินี้ขาดพร้อมกันเลย
ความรับผิดชอบขาดพร้อมกันไปเลย ท่านเรียกว่านิพพานสมบูรณแบบ
แต่ก่อนเรื่องความสมบูรณ์ในจิตนั้นสมบูรณ์
แต่มันมีสมมุติที่ป้วนเปี้ยนๆ
อยู่นั้นให้รับผิดชอบ จึงเรียกว่ายังไม่สมบูรณ์
ที่ยังมีขันธ์ให้รับผิดชอบอยู่ ท่านจึงเรียกว่า...
... สอุปาทิเสสนิพพาน ...
จิตถึงวิมุตติหลุดพ้นโดยสมบูรณ์แล้ว
แต่ยังมีความรับผิดชอบอยู่ในธาตุในขันธ์ ทีนี้
อนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุขันธ์นี้ปล่อยโดยสิ้นเชิงแล้ว
จิตปล่อยไปหมดนั้น เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
สมมุติหมดโดยสิ้นเชิงไม่มีอะไรเหลือ
ขันธ์นี้เป็นวาระสุดท้ายของสมมุติ หมดในขณะนั้น
ท่านเรียกว่าจิตหมดสมมุติ จิตถึงนิพพาน”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า๘๖๖
**************

“เรายังไม่ลืมหลวงปู่ขาวท่าน เวลาท่านกำลังเพียบ
คือท่านไม่ให้ใส่ออกซิเจน
ท่านไม่ให้เอาใส่ แล้วพวกนั้นก็เอาไว้ข้างนอก
คือท่านห้ามไม่ให้เอาใส่ เราเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์
ไปยุ่งกับท่านทำไม

ทีนี้พอเอาเข้าไปจ่อไปถูกท่าน ... ทั้งๆ ที่ท่าน
ก็เพียบอยู่แล้วนะ ท่านยังปัดมือปั๊บออกเลย
ขนาดหลวงปู่ขาวแล้ว
ท่านจะมีปัญหาอะไร ว่างั้นเลย จะตายท่าไหน
ก็ตายซิ ท้าทายก็ได้
เอหิปัสสิโก ท้าทายธรรมของจริงได้...
... ดีดผึงเดียวไปเลย ว่าจะไม่อยู่แล้ว...
ไม่อยู่ มันก็หมดแล้วนะนี่
พระประเภท.. เพชรน้ำหนึ่งๆ หมดไปๆ ”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๓๙๓
**************

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 09:18:52 pm »





องค์หลวงตากล่าวเตือนผู้ฟังธรรมให้ระวังการคาดการหมาย
นึกน้อมเอาจิตของตน ไปเป็นอย่างนั้นทั้งที่ไม่จริง ดังนี้...


“...นี่พูดอย่างนี้ก็ไม่อยากจะพูด คือเกี่ยวกับผู้มาอบรมศึกษา
เวลาเข้าไปแล้ว พอถึงธรรมขั้นละเอียดแล้วมักจะหมายนะ คือมักจะ
หมาย มักจะคาด ครูบาอาจารย์พูดอย่างนั้น อย่างนี้
แล้วนึกน้อมเอาจิตของตัวเองไปเป็นอย่างนั้น ทั้งๆ ที่มันไม่จริง
แล้วก็เป็นความผิดของผู้นั้น จึงต้องระวังเหมือนกัน ถ้าหากว่า
ไม่อธิบายไว้บ้าง พวกนี้ก็ไม่เข้าใจ เวลาไปถึงจุดใดจุดหนึ่งเข้าไป
ก็จะได้ยึดเอาอันนี้มาเป็นหลัก
‘อ๋อ ท่านว่าอย่างนั้นนะ’ มันก็มีทางที่จะพิจารณาไปอีกได้
ถ้าบอกอย่างนี้แล้ว ผู้ที่เป็นเถรตรงนั้นสติปัญญาไม่ค่อยรอบนัก
ถึงว่าจะเป็นขั้นนั้นก็ตามก็ยังขึ้นอยู่กับนิสัยอีกเหมือนกัน
มันจะคล่องแคล่วแกล้วกล้าต่างกันอืดอาดต่างกัน
ถึงมหาสติมหาปัญญาเหมือนกันก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะเป็นแบบเดียวกันหมด
อาจจะไปน้อมนึกเอาอันนั้นมาเป็นของตัวเสียบ้าง
เข้าใจว่าตัวเป็นอย่างนั้นเสียบ้างแล้วก็นอนใจ แน่ะลำบาก
ท่านอาจารย์มั่นรู้สึกว่าท่านฉลาดมาก
พออธิบายถึงจุดนี้ท่านเว้นเสียปั๊บ ไปเอาข้างหน้าอธิบาย
พอไปถึงจุดนั้นท่านเว้นปั๊บๆ ท่านไม่เข้าจุดนั้นเลยคือกลัว
ทำไมท่านถึงไม่เข้า..  ‘เราจึงมาทราบทีหลังว่าที่ท่านไม่เข้า
เพราะกลัวจะไปเกิดสัญญาความสำคัญมั่นหมายขึ้นมาในวงปฏิบัติ’
อย่าไปคาดอดีตอนาคตยิ่งกว่าปัจจุบัน
ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัจธรรม ให้พิจารณาลงตรงนั้น

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๔๓๓
**********************

เริ่มด้วยคำถามของหลวงปู่มั่น ดังนี้
“...ท่านถามว่า ‘เป็นยังไงท่านมหา จิตสงบดีอยู่เหรอ?
’เราก็บอก ‘สบายดีอยู่ สงบดีอยู่’
ท่านก็นิ่งไป สักเดี๋ยวท่านก็ถามขึ้นอีกว่า
‘เป็นยังไงจิตสงบดีอยู่เหรอ?’
เราก็ตอบว่า ‘สงบดีอยู่’
คือไม่ทราบว่าท่านจะเอาแง่ไหน พอถึงขั้นที่ท่านจะเอาแล้วก็ว่า
‘ท่านจะ นอนตายอยู่นั่นเหรอ?
สมาธิมันเหมือนหมู ขึ้นเขียง มันถอดถอนกิเลสตัณหาที่ตรงไหน?
สมาธิทั้งแท่งเป็นสมุทัยทั้งแท่ง ท่านรู้ไหม?
สุขในสมาธิเท่ากับเนื้อติดฟัน เนื้อติดฟันเรามันเป็นสุขที่ไหน?
ท่านรู้ไหม? ๆๆ’
ท่านซัดเข้าไปอย่างหนัก ไล่ออกจากติดสมาธิ

ทางเราก็งัดวิชาออกมาสู้ท่านว่า
‘ถ้าว่า สมาธิเป็นสมุทัยทั้งแท่ง แล้วสัมมาสมาธิจะให้
เดินที่ไหนในมรรคแปด’

‘มันก็ไม่ใช่สมาธิตาย นอนตาย อยู่อย่างนี้ซิสมาธิของพระพุทธเจ้า
ไม่ได้เป็นเหมือนสมาธิแบบหมูขึ้นเขียงอย่างท่านนี่นะ
สมาธิของพระพุทธเจ้า.. สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา
อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย.. มันบ้าสมาธินี่
สมาธินอนตายอยู่นี้เหรอเป็นสัมมาสมาธิน่ะ เอ้าๆ พูดออกมาซิ’
พอท่านซัดเอา เราก็หมอบ

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๑๙๗
********************

“...กายวิเวก ความสงัดแห่งกาย ในสถานที่อยู่อาศัย
ที่ไปที่มาตามบริเวณที่อยู่นี้ นับว่าเป็น..
สัปปายะ ความสบายพอสมควร
จิตวิเวก ท่านผู้มุ่งให้เป็นไป
เพื่อความสงัดภายในตามขั้นแห่งความสงบของตน
ก็มีประจำจิตของท่านผู้บำเพ็ญพอสมควร
ส่วนผู้เริ่มฝึกหัดใหม่ๆ ยังไม่ได้จิตวิเวกภายในใจ
จงพยายามบำรุงอินทรีย์ทั้ง ๕ ให้มีกำลัง
ความวิเวกภายในค่อยปรากฏขึ้นเป็นลำดับ
ผู้ที่ได้รับความวิเวกภายในพอประมาณแล้ว
จงพยายามส่งเสริมให้มีความละเอียดเข้าเป็นลำดับ
พร้อมทั้งปัญญาความรอบคอบในความวิเวก
ของตน และผู้มีธรรมยิ่งกว่านั้น จงรีบเร่งตักตวง ความเพียร
ด้วยปัญญา
ให้เพียงพอ
จะปรากฏเป็นอุปธิวิเวก

ความสงัดจากกิเลสโดยสิ้นเชิงประจักษ์ใจขึ้นมาก…”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า๒๔๗
***********************

“ถ้ามีจุดมีต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหน นั้นแลคือตัวภพ” ว่าอย่างนั้น
ธรรมชาตินั้นมันเป็นจุดจริงๆ จุดของความรู้ จุดของความสว่างนั้นมันมีจุดจริงๆ ดังอุบายผุดขึ้นมาบอก ทีนี้เราก็ไม่ได้คำนึงว่าอะไรมันเป็นจุด เลยงงไปเสียอีก แทนที่จะได้อุบายจากคำเตือนที่ผุดขึ้นนั้น เลยเอาปัญหานั้นมาขบคิด จนกว่าได้มาพิจารณาถึงตอนนี้ ตอนที่ว่าจุดนี้ ปัญหาอันนี้จึงยุติลงไป ถึงได้ย้อนกลับคืนไปรู้เรื่องที่ว่า ถ้ามีจุดมีต่อมแห่งผู้รู้อยู่ที่ไหน นั้นแลคือตัวภพ ได้อย่างชัดเจน ถึงได้ความ อ๋อ คำว่าจุดว่าต่อมหมายถึงอันนี้เอง แต่ก่อนไม่เข้าใจ มันเป็นจุดจริงๆ จะอัศจรรย์แค่ไหนมันก็เป็นจุดของความอัศจรรย์ มันเป็นจุดให้รู้อยู่ พออันนั้นสลายลงไปแล้วมันไม่มีจุด เพราะจุดมันเป็นสมมุติทั้งนั้น จะละเอียดแค่ไหนมันก็เป็นสมมุติ

ถึงได้เทศน์สอนหมู่เพื่อนเสมอว่า เมื่อเข้าไปถึงจุดนั้นแล้วอย่าไปสงวนอะไรทั้งนั้น ให้พิจารณาลงไป แม้ที่สุดจิตจะฉิบหายลงไปด้วยการพิจารณาจริงๆ ก็ขอให้ฉิบหายไป อะไรจะรับรู้ว่าบริสุทธิ์ก็ให้รับรู้ไป หรือจะฉิบหายไปหมดไม่มีอะไรจะรับรู้ว่าบริสุทธิ์ก็ขอให้รู้กัน อย่าได้สงวนอะไรไว้เลย ก็เพื่อกันไว้ว่ากลัวจะมาสงวนอันนี้เอง ถ้าหากไม่เตือนถึงขนาดนั้นแล้วอย่างไรก็ต้องติด ขอให้รู้เท่านั้น อะไรๆ จะดับไปก็ดับไปเถิด แม้ที่สุดจิตดวงนี้จะดับไปด้วยอำนาจของการพิจารณาก็ขอให้ดับไป ไม่ต้องสงวนเอาไว้ เวลาพิจารณาต้องลงถึงขนาดนั้น

แต่จะหนีความจริงไปไม่พ้น สิ่งใดที่เกิดสิ่งนั้นก็ต้องดับ สิ่งใดที่จริงเป็นหลักธรรมชาติของตัวเองแล้วก็จะไม่ดับ คือจิตที่บริสุทธิ์นั้นจะไม่ดับ ทุกสิ่งทุกอย่างดับไป ผู้ที่รู้ว่าดับนั้นไม่ดับ อันนั้นดับไป อันนี้ดับไป ผู้ที่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นดับไปนั้นไม่ดับ จะว่าเอาไว้ก็ได้ไม่เอาไว้ก็ได้ มันก็รู้อยู่อย่างนั้น ถ้าเราสงวนนี่ก็เท่ากับเราสงวนอวิชชาไว้นั่นเอง เพราะอวิชชามันละเอียด มันอยู่กับจิต ถ้าสงวนจิตก็เท่ากับสงวนอวิชชา เอ้า ถ้าจิตจะฉิบหายไปด้วยกันก็ขอให้ฉิบหายไป อุปมาเหมือนกับฟันก็ฟันลงไปเลยไม่ให้มีอะไรเหลือ ให้มันม้วนเสื่อลงไปด้วยกันหมด ขนาดนั้นพอดี

ถ้าหากจะมีการแบ่งสู้แบ่งรับกันอยู่ อย่างไรก็ต้องติดในขั้นนี้แน่ จึงไม่ยอมแบ่งสู้แบ่งรับเลย เอากิเลสออกให้หมด อะไรจะดับก็ดับให้หมด พอดี ส่วนที่ไม่อยู่ในฐานะที่จะดับยังไงก็ไม่ดับ พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับว่าโจรมันเข้าไปอยู่ในบ้านนี้ ถ้าเราจะสงวนบ้านโจรมันก็อยู่ที่นั่น เดี๋ยวโจรมันก็ยิงป้างออกมาตาย เอ้า ควรจะเผาบ้านทั้งหลังก็เผาเสีย หากว่าจะปล่อยโจรนี้ไว้ มันก็จะทำลายสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าบ้านต่อไปอีก ยอมเสียสละเสียบ้านหลังนี้ เอาไฟเผาเข้าไปเลย นี่แหละที่ว่าเผาอวิชชา เอ้า จิตจะดับจริงๆ ก็ให้ดับซิ แท้จริงจิตไม่ดับ เมื่อเผานั้นหมดถึงจะรู้ อ๋อ สิ่งที่มีคุณค่ามันอยู่ใต้อำนาจอวิชชา มันครอบไว้หมด พออวิชชาดับไปพับ อันนี้ก็เปิด แทนที่จะดับไปด้วยแต่ไม่ดับ ถ้าสงวนไว้แล้วเป็นอันติด ไปไม่รอด

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
อวิชชารวมตัวปกปิดจิตแท้ธรรมแท้
๕ ธันวาคม ๒๕๐๙
******************


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 08:41:11 pm »



“...เราก็เอาพุทโธมาภาวนาตามประสีประสา ไม่คาดไม่ฝัน
ไม่คิดไม่อ่านว่ามันจะแสดงความแปลกประหลาดขึ้นมา
ก็พุทโธๆ วันนี้วันนั้นไปตามประสาอย่างนั้นแหละ โอ๋ยบทเวลามันจะเป็น
พุทโธๆ สติติดอยู่นั้น สักเดี๋ยวกระแสของจิตที่มันคิดฟุ้งซ่าน
เหมือนเราตากแหนี่ ทีนี้พอจิตจะเริ่มสงบก็เหมือนเราดึงจอมแห

พุทโธๆ นี่เหมือนจับจอมแหดึงเข้ามา ตีนแหก็หดเข้ามาๆ
จนกระทั่งเป็นกองแห ทีนี้กระแสของจิตมันรวมตัวเข้ามาๆ จนกระทั่ง
เป็นกองความรู้ที่อยู่เป็นจุดเดียว เท่ากับกองแหที่นี่
นี่เราเป็นทีแรกนะ คือค่อยหดเข้ามาๆ
พอกิริยาของจิตหดเข้ามาสติยิ่งจ่อเข้าๆ เข้ามาถึงจุดกลางกึ๊กเท่านั้น
ทีนี้มันจ้าอยู่ภายในเจ้าของ อัศจรรย์อันนี้ เหมือนว่าขาดหมด

เรื่องอารมณ์ของโลกนี้ปรากฏขาดไปหมดในเวลานั้น เกิดความอัศจรรย์ขึ้นมา
ตื่นเต้น ความตื่นเต้นละไปกระตุก
ไม่ใช่อะไรนะ คือมันไม่เคยเห็นไม่เคยรู้ ความตื่นเต้นความอัศจรรย์ไปกระตุก
จิตเลยถอนขึ้นมาเสีย โหย เสียดายเสียจนวันหลังขยับใหญ่เลย ไม่ได้เรื่องๆ…”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า ๖๕- ๖๖
*************

เราอย่าไปท้าทายพระพุทธเจ้าที่สอนว่าบาป บุญ นรก สวรรค์ มี
เราอย่าไปท้าทายว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีถ้าไม่อยากจมทั้งเป็น
ให้พากันรีบแก้ไขดัดแปลง ไม่มีใครเหนือพระพุทธเจ้าแหละ ที่ความรู้ความฉลาด
ประการสำคัญก็คือว่าไม่มีใครเหนือกรรม
กรรมดีกรรมชั่ว ครอบอยู่หัวทุกคนทุกตัวสัตว์
ใครจะเก่งกล้าสามารถขนาดไหนก็ไม่เหนือกรรม ทำชั่วได้ชั่วทันที ๆ
อันนี้ตีตราไว้เลย ๆ ทำดีได้ดีทันที
ไม่จำเป็นต้องมีที่ลับที่แจ้งอะไรละ ดีชั่วประกาศอยู่ในตัวของมันเอง ๆ
ให้พากันรีบแก้ไขดัดแปลงไม่งั้นจะจม

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
******************

... พระพุทธเจ้า ขลัง ที่นี่นะ ตรัสรู้ที่นี่ ๆ ...
ไม่ได้ตรัสรู้ที่ไม้จิ้มฟัน ชานหมากอะไรเหล่านี้
ท่านไม่ได้มาขลังกับสิ่งเหล่านี้นะ ท่านขลังอยู่ที่ใจ
กิเลสอยู่ที่ใจ ข้าศึกอยู่ที่ใจ
ตีกันลงไปที่ใจนี่ ดับกันลงที่นี่แล้วขลังขึ้นมาที่นี่แหละ
อย่าไปหาเรื่องขลังนอก ๆ นานา
ไปที่ไหนเป็นบ้ากันแต่เรื่องขลังข้างนอกนั่น ดูไม่ได้นะ
ชาวพุทธเราเวลานี้ดูเลอะไปหมด

ส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี
เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ปีพุทธศักราช ๒๕๓๗
*************

“ให้มีสตินะ สติ สัพพัตถปัตถิยา สติจำเป็นต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง
ให้พากันมีสติ เห็นเฮาร่างกายงกๆ งันๆ แต่สติบ่ เคยเผลอ
จิตบ่ได้งกๆ งันๆ เที่ยงจ้อก้ออยู่ตลอด
ร่างกาย.. จะมะลาบพาบพีบ แต่จิตเที่ยงอยู่จ้อก้อ (อย่างนี้)”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๘๑๙
**************

มีเณรองค์หนึ่งไม่ทราบว่าภาวนาดีอย่างไร เข้าใจว่าตัวเองสำเร็จธรรมแล้ว
จึงพยายามจะขึ้นไปกราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
ครูบาที่เป็นเวรศาลา เห็นอาการของเณรก็รู้แล้วว่าแท้จริงเป็นเช่นไร
คิดพยายามจะช่วยเหลือจึงกล่าวว่า “นี่เณร ลองเล่าให้ครูบาฟังหน่อยซิมันเป็นยังไง
 ไม่ต้องไปกราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ก็ได้หรอก ครูบาพอแนะนำได้อยู่น้า”
เณรก็พูดขึ้นว่า “ถึงเล่าให้ครูบาฟังก็ไม่รู้เรื่องหรอก ของอย่างนี้มันเป็น ปัจจัตตัง”

สุดท้ายครูบาเห็นเณรตั้งท่าจะขึ้นไปกราบเรียนพ่อแม่ครูอาจารย์ให้ได้ก็เลย
ปล่อยตามความประสงค์ เณรจึงก้าวขึ้นกุฏิของพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างอาจหาญ
มิหนำซ้ำ ยังบังอาจเคาะประตูกุฏิท่านอย่างไม่สะทกสะท้านอีกด้วย ทันใดนั้น
เณรก็เห็นพ่อแม่ครูอาจารย์เปิดประตูออกมา เณรจึงรีบกราบเรียนว่า
“พ่อแม่ครูอาจารย์ครับ ผมสำเร็จแล้วครับ”
ว่าดังนั้นแล้วยังไม่ทันที่เณรจะกราบเรียนว่าอย่างไรต่อ เสียงพ่อแม่ครูอาจารย์
ก็ดังขึ้น ไม่ผิดอะไรกับอสนีบาตฟาดลงที่ข้างหู
“เณรนี่มันจะเป็นบ้าแล้วหรือ? หนีเดี๋ยวนี้นะ” เท่านั้นเอง เณรก็เหมือนมี
ปาฏิหาริย์กระโจนพรวดพราดลงจากกุฏิไวกว่าสายฟ้าแลบเสียอีก วิ่งกระหืดกระหอบ
ออกมาก็พอดีมาพบครูบาซึ่งคอยสังเกตการณ์อยู่ตลอด
จากนั้นครูบาก็พูดยิ้มๆ กับเณรว่า
“เป็นไงบ้างล่ะเณร ของอย่างนี้มันเป็นปัจจัตตัง ไม่เจอกับตัวเองก็ไม่รู้หรอก
เนอะ ครูบาบอกแล้วก็ไม่เชื่อ”
ผลปรากฏว่าอาการที่สำคัญตนเช่นนั้นก็ระงับลงไป และองค์ท่านก็มิได้ไล่หนี
หรือเอาเรื่องนี้มากล่าวดุด่าอะไรอีกเลย

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๓๖๑
************

ครูบาอีกองค์หนึ่งท่านภาวนาแล้วเกิดสำคัญผิดว่า ตัวเองมีหูทิพย์ขึ้นมา
เพราะได้ยินเสียงลึกลับอะไรต่างๆ มากมาย
ครั้งหนึ่งท่านได้ยินเสียงนกร้อง แล้วท่านก็เข้าใจไปว่า
นกมันบอกว่าฝนกำลังจะตกแล้ว ท่านก็รีบไปเก็บถ้วยเก็บจานชาม
ที่ตากแดดเอาไว้ พอเก็บเสร็จไม่นาน ฝนก็ตกลงมาจริงๆ
ยิ่งทำให้ท่านหลงเชื่อเสียงที่ได้ยินหนักเข้าไปอีก
ครั้นปรึกษาครูบาองค์ไหนก็ไม่เป็นที่ลงใจ สุดท้ายแม้จะเกรงกลัวเพียงใด
ก็ต้องยอมเสี่ยงเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ด้วยตนเอง
เพื่อให้ได้ความจริง ได้เหตุผลผิดถูกเอามาสอนตน พอก้าวเท้า
ขึ้นบันไดกุฏิ ท่านเห็นพ่อแม่ครูอาจารย์อยู่ข้างบน
จ้องมองดูท่านด้วยแววตาดุๆ ท่านก็ชักไม่ค่อยจะกล้าแล้ว
จากนั้นจึงเอามือชี้มาที่หูของตัวเอง แล้วพูดขึ้นว่า “พ่อแม่ครูอาจารย์ครับ หูผม...”
ครูบาองค์นี้กล่าวยังไม่ทันจะจบ กำลังว่าจะพูดอะไรต่อไปอีก
ปรากฏว่า พ่อแม่ครูอาจารย์ก็ขนาบเข้าให้ในทันทีว่า “ท่านนี่..ระวังจะเป็นบ้านะ”
พอครูบาได้ยินดังนั้นก็หันหลังลงจากกุฏิเปิดแน่บไปเลย
ตอนหลังพ่อแม่-ครูอาจารย์ก็เมตตาเทศน์สอนให้บริกรรมพุทโธถี่ๆ
และอย่าไปยุ่งกับเสียงที่ได้ยินอีก เรื่องหูทิพย์ที่วาดภาพไว้ก็เลยจืดจางหายไป

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า๓๖๑
***********************

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 08:37:00 pm »



“...สมบัติใดก็ตามที่เข้าสู่ภายในจิตใจไม่เหมือนธรรมสมบัตินะ
 ธรรมสมบัตินี้เข้าไปแล้วตีกระจายออกเป็นผล
เป็นประโยชน์เรื่อยเลยนะ สมบัติอย่างอื่นยังทำตัวให้เหลิงเจิ้งได้นะ
มีมากเท่าไรยิ่งโลภมากๆ เลยเป็นบ้าโลภไปเลย
นั่นสมบัติอย่างอื่นเป็นอย่างนั้น ถ้าสมบัติภายในใจมีเท่าไร
ยิ่งเย็นยิ่งชุ่มไปหมดเลย
พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไปที่ไหน ไปไม่ไปก็ตาม
จิตใจท่านครอบโลกธาตุ…”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า๗๔๗
***********

‘เงินไม่เอา จะเอาบุญนี้ ตัดทางเข้ามาเลย’
เราจะเอาอะไรให้ แกก็ไม่เอา ให้เป็นล้านๆก็ไม่เอา
จะเอาบุญเท่านั้น คำพูดของผู้เฒ่า..
เรายังไม่ลืมฝังลึกมากนะ แกบอกว่า ‘จะไต่ไปทำไมคันนา
พระตกคันนา มันไม่เหมือนเด็กน้อยตกนะ
รีบไปทำถนนเข้าสิ พระตกคันนามันมีบาปด้วยละ’ ..

ผู้เฒ่าก้อนถวายที่ทั้งหมดให้เป็นวัด นาก็ให้เลย นาของแก
ตัดทางเข้ามาเลย ผู้เฒ่านี่เป็นคนใจบุญนะ
ใจบุญ ถวายที่นี่ ยกที่ดินถวายทั้งหมดเลย ก็เลยได้อยู่ที่นี่ ผู้เฒ่าให้นา
พอเวลาผู้เฒ่าแก่มากเข้าจริงๆ เราก็บอกว่า
‘ให้ตายใจ หลับตาให้สบายหายห่วงนะ หลานจะเผาศพให้เอง’ ..
เวลาผู้เฒ่าตายก็สั่งเขาให้มาเผาที่หน้าประตูวัดได้
แกเป็นเจ้าของที่นี้ เวลาตายก็เราเป็นเจ้าของศพ
เป็นเจ้าภาพเลย ดูแลทุกอย่าง การทำบุญให้ทานให้ทุกอย่าง
ครบหมดเลย เผาที่หน้าประตูวัด เราทำบุญให้ทาน..
... ถึงผู้เฒ่าเรียบร้อยทุกอย่างเลย....

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า ๓๓๕
************

กลางปี พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
กล่าวกับพระเณรเกี่ยวกับการสร้างโบสถ์ภายในวัดว่า
“…มีเจ้าศรัทธาท่านหนึ่ง จะถวายเงินเพื่อสร้างโบสถ์ทั้งหลัง
เรายังไม่อาจรับได้ เคยมีบ้างไหมในประเทศไทย
และองค์ไหน ที่มีผู้ถวายเงินสร้างโบสถ์ทั้งหลังแล้วไม่รับ ที่ไม่อาจ
รับได้นั้นก็มีเหตุผลเหมือนกัน ..ความจริงหลักธรรมที่เราเล็งอยู่
ยึดถืออยู่ กราบไหว้บูชาเป็นขวัญใจและเทิดทูนสุดจิตสุดใจอยู่ตลอดเวลานั้น
เป็นสิ่งที่ใหญ่โตมากยิ่งกว่าสิ่งใดในโลกธาตุ
สิ่งเหล่านั้น เราไม่ได้เทิดทูนเหมือนธรรม

เพราะเป็นเพียงปัจจัยเครื่องอาศัยไปเป็นวันๆเท่านั้น
ส่วนธรรมเป็นเรื่องใหญ่โตมากที่ต้องรักสงวน
เรื่องการสร้างโบสถ์สำหรับวัดนี้ ยังไม่มีความจำเป็น สิ่งใดที่จำเป็น
ก็ทำสิ่งนั้น เช่นจิตตภาวนาเป็นงานจำเป็นอย่างยิ่ง
การทำอุโบสถสังฆกรรม ทำที่ไหนก็ได้ ตามร่มไม้ชายเขา
ที่ไหนก็ได้ ไม่ขัดข้องอะไร ตามหลักพระวินัยจริงๆ แล้วไม่มีอะไรขัดข้อง
การสร้างโบสถ์สร้างวิหาร ควรให้เป็นที่เป็นฐานที่เหมาะที่ควร
ไม่ใช่จะสร้างดะไปหมด ..การสร้างโบสถ์หลังหนึ่ง
เป็นยังไง.. นอกจากขรัวตาวาสนาน้อยนี้เท่านั้นจึงไม่อาจรับได้
**************

“พระกรรมฐานมักสร้าง สร้างแต่วัตถุ
มันเป็นการส่งจิตออกภายนอก
ถ้าจิตหมุนเข้าภายในธรรมฆ่ากิเลส
ถ้าจิตหมุนออกภายนอก กิเลสฆ่าธรรม
เฮาจะต่างหมู่อยู่
เพราะเฮาหมุนเข้าแต่ภายใน พระทุกวันนี้เป็นกรรมฐานมักสร้าง”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์หน้า ๘๑๗
************************

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2013, 08:33:39 pm »





องค์ท่านสอนคณะศิษย์อยู่เนืองๆ ให้ทราบหลักการ
ฟังธรรมที่ถูกต้องและอานิสงส์แห่งการฟังธรรม ดังนี้...


“...การฟังเทศน์อบรมจิตใจ ให้ตั้งไว้ที่จิตของเรานี้
เรียกว่า สติเฝ้าบ้าน จิตนั่นแหละเป็นบ้าน เวลาท่านเทศน์
ไปจะเห็นผลประจักษ์ ดังท่านแสดงไว้ในธรรมว่า การฟัง
เทศน์มีอานิสงส์ถึง ๕ อย่าง

ข้อที่ ๑. ผู้ฟังจะได้ยินได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง
ข้อที่ ๒. สิ่งใดที่เคยได้ยินได้ฟังแล้วแต่ยังไม่เข้าใจชัด จะเข้าใจแจ่มแจ้งชัดขึ้น
ข้อที่ ๓. จะบรรเทาความสงสัยเสียได้
ข้อที่ ๔. จะทำความเห็นให้ถูกต้องได้

ข้อที่ ๕. เป็นข้อสำคัญ จิตผู้ฟังย่อมสงบผ่องใส นี่
เกิดขึ้นจากขณะฟังเทศน์ จิตเมื่อไม่ส่งออกข้างนอกย่อม
สงบ เมื่อสงบย่อมผ่องใส
นี่เป็นคุณสมบัติประจำผู้ที่ฟังเทศน์ด้วยความตั้งใจ
จริงๆ ผลจะปรากฏอย่างนั้น จิตสงบผ่องใสนี่สำคัญ ถ้า
สงบแล้วก็ผ่องใส…”

จากหนังสือญาณสัมปันนธัมมานุสรณ์ หน้า ๔๒๗
*********

“...ความโลภเกิดขึ้น ติดตามความโลภให้รู้ว่ามันเกิดขึ้นเพราะเหตุไร
ที่มันไปโลภ ไปโลภอยากได้อะไร อยากได้ไปทำไม
เท่าที่มีอยู่เพราะความโลภ ไปเที่ยวกว้านเอามา ก็หนักเหลือกำลังอยู่แล้ว
ยังหาที่ปลงวางไม่ได้นี่ ...
ความโกรธเกิดขึ้นก็เหมือนกัน ไม่เพ่งเล็งผู้ที่ถูกเราโกรธ
ต้องย้อนเข้ามาดูตัวโกรธซึ่งแสดงอยู่ที่ใจและออกจากใจ ว่าไม่มีอันใด
ที่จะรุนแรง ไม่มีอันใดที่จะให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายยิ่งกว่า
ความโกรธที่เกิดขึ้นภายในใจเรา ทำลายเราก่อนแล้วถึงไปทำลายคนอื่น
เพราะไฟเกิดที่นี่และร้อนที่นี่แล้วจึงไปทำผู้อื่นให้ร้อนไปตามๆ กัน
เมื่อพิจารณาอย่างนี้ไม่ลดละต้นเหตุของผู้ก่อเหตุ
ความโลภก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดีย่อมระงับดับลง
เพราะการย้อนเข้ามาพิจารณาดับที่ต้นตอของมัน ซึ่งเป็นจุดที่
ถูกต้องและเป็นจุดที่สำคัญที่ควรทำลายกิเลสประเภทต่างๆ ได้…”
*************

ถ้าอะไรมันกระเทือนขึ้นในใจให้ดูหัวใจเจ้าของทันที เพราะเรามาแก้ใจ
มาระงับดับกิเลสที่ใจ กิเลสแสดงออกมา หือ ออกมาแล้วหรือ
ให้ว่างั้นซิ สมมุติไม่พอใจคนนั้น ความไม่พอใจนี้คือเรื่องของเราเองเป็นผู้ก่อขึ้นมา
นี่จับตัวนี้ก่อน ฟาดตัวนี้ให้มันพังลงไปซิ นั่นจึงเรียกว่าผู้มาแก้กิเลส
ต้องดูตัวนี้ซิ ไปดูอะไรข้างนอก
ต้นเสานี่ก็ไปโกรธมันได้ถ้าใจเลวเสียอย่างเดียว ต้นเสาก็ไปโกรธให้เขาได้
ภูเขาทั้งลูก ดินฟ้าอากาศ โกรธให้เขาไม่พอใจให้เขาได้
ถ้าใจเลวเสียอย่างเดียวว่างั้นเลย ถ้าใจเป็นนักปฏิบัติมีสติสตัง
กำจัดกิเลสที่แสดงฤทธิ์เดชแห่ง...
ความเลวทรามขึ้นมาในใจขนาดไหน จับปุ๊บ ๆ นั่นจึงเรียกว่าผู้มาแก้ตัวเองซิ

อย่าไปถือภายนอกนะ ให้ดูตัวนี้ตัวมันกระเพื่อมนี่ นี่ละการปฏิบัติธรรม
ต้องเป็นอย่างนั้นนะ ต้องดูจุดต้นเหตุมหาเหตุ มหาเหตุอยู่นี่
อย่างพระอัสสชิเทศน์ให้พระสารีบุตรนั่นละ ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ
คือใจ มันจะดับ-ดับที่ตรงนี้ก่อน พระสารีบุตรบรรลุธรรมพระโสดาขึ้นทันทีเลย
เห็นไหมล่ะ ท่านจ้อเอาตรงนั้นเลยไม่เอาที่อื่น
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ
เป็นบาลีว่าอย่างนั้น ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ
เมื่อเหตุนี้ดับมันก็ดับ พระมหาสมณะแสดงอย่างนี้ แปลออกแล้ว

หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
นิสัยวาสนาทางธรรมกับทางโลก
******************************