ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 22, 2014, 04:15:54 pm »

ในสมัยห้าราชวงศ์(ค.ศ.907-960) เป็นยุคที่แผ่นดินจีนระส่ำระสายอย่างหนัก เกิดความแตกแยกรุนแรง ผู้มีอำนาจต่างตั้งตนเป็นใหญ่สร้างกลุ่มของตัวเองขึ้นมา ศิลปกรรมยุคนี้จึงไม่มีความโดดเด่นเท่าที่ควร ทว่าเมื่อถึงราชวงศ์ซ่ง ศิลปกรรมจีนกลับฟื้นคืนและรุ่งเรืองถึงขีดสุด โดยเฉพาะด้านจิตรกรรมนั้นถือได้ว่าเด่นล้ำกว่าสมัยถังอีกขั้นหนึ่ง ทั้งยังโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ราชวงศ์ของจีน โดยจิตรกรรมในยุคนี้มีการพัฒนารูปแบบงานศิลปกรรมขึ้นมาอย่างเมีเอกลักษณ์


ภาพ “เอ้อจู่เถียวซิน(二祖调心)” หรือ “พระเซนสำรวมใจ” วาดโดย “สือเค่อ(石恪)” สมัยปลายยุคห้าราชวงศ์ต่อราชวงศ์ซ่ง ขนาด 35.5×129 ซ.ม. ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ภาพนี้วาดโดยจิตรกรนาม สือเค่อ(石恪) ชาวเมืองเฉิงตู ผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงรอยต่อของยุคห้าราชวงศ์กับราชวงศ์ซ่ง ถนัดในการวาดภาพนักบวช ภาพบุคคล

เอ้อจู่เถียวซิน ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของจิตรกร สือเค่อ ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ในภาษาจีนเรียกว่า “ฉาน(禅)” หรือ “เซน” ในภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง โดยจิตรกรรมประเภทนี้จะมีความเป็นธรรมชาตินิยม คือเคารพในคุณสมบัติเดิมแท้ของสรรพสิ่ง อีกทั้งยังเน้นความสมถะ สันโดษ เรียบง่าย มักใช้วิธีการสร้างงานแบบเฉียบพลัน ฝีแปรงเร็ว รุนแรงและคมคาย

โดยในภาพจิตรกรใช้หมึกจางในการวาดศีรษะมือเท้า ขณะที่ใช้ฝีแปรงหนาหนัก ตวัดวาดเครื่องนุ่งห่มคลุมร่างกายอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดแสงเงาในเส้นหมึกทึบ นอกจากนี้จิตรกรยังวาดภาพเสือตัวใหญ่ที่กลายเป็นดั่งหมอนให้ภิกษุหนุนนอน ซึ่งเป็นการหยิบยกสัญลักษณ์มาใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อสะท้อนว่าอำนาจของธรรมมะในตัวของบรรพชิตยังสูงส่งกว่าอำนาจที่น่าเกรงขามของพยัคฆ์ ซึ่ง สือเค่อ สร้างสรรค์รูปแบบการใช้ฝีแปรงได้อย่างมีเอกลักษณ์โดยจะเห็นว่าในส่วนที่หมึกเข้มยังคงมีช่องว่างของสายตา ขณะที่ในหมึกสีอ่อนจางก็ยังคงมองเห็นรายละเอียดเช่นกัน จนกลายเป็นความขัดแย้งที่กลมกลืนสะท้อนออกมาจากภาพ

ภิกษุ 2 รูปในภาพนี้คือ ฮุ่ยเข่อ(慧可) สังฆปรินายกองค์ที่2 แห่งแผ่นดินจีนผู้สืบทอดของปรมาจารย์ตั๊กม้อหรือพระโพธิธรรม ส่วนอีกรูปหนึ่งคือ เฟิงกัน(丰干) อาจารย์เซนผู้โด่งดัง

ทั้งนี้ เซน เป็นสาขาหนึ่งของพุทธศาสนา นิกายมหายาน ซึ่งยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของอริยสัจ 4 และ มรรค 8 มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเติบโตสูงสุดที่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าของจีนในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น


ภาพปรมาจารย์ตั๊กม้อ ต๋าหมัวเมี่ยนปี้(达摩面壁) วาดโดย ซ่งซี่ว์(宋旭) จิตรกรสมัยราชวงศ์หมิง ขนาดภาพ 121.3 x 32.3 ซ.ม. โดยที่นำมาเป็นม้วนภาพส่วนท้าย ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หลี่ว์ซุ่น(Lushun Museum) เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน


ภาพปรมาจารย์ตั๊กม้อ ต๋าหมัวเมี่ยนปี้(达摩面壁) วาดโดย ซ่งซี่ว์(宋旭) จิตรกรสมัยราชวงศ์หมิง ขนาดภาพ 121.3 x 32.3 ซ.ม. โดยที่นำมาเป็นม้วนภาพส่วนท้าย ปัจจุบันเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์หลี่ว์ซุ่น(Lushun Museum) เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน

จาก http://mblog.manager.co.th/porduangporn/2014/08/22/zeshike/