ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:07:03 pm »




"บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า"..!

"ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด
เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน
เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่ว ย
มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สิน ในบุญบารมี
ที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว... เมื่อทำบุญทำกุศลได้
บารมี ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว..
แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้..แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง"...!

"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่ วยเจ้าไม่ได้....
ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่..
จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดินเมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า..."

นี่คือคำเทศนา ของเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรมรังษี ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิตหลังจากที่ท่านล่วงลับไป แล้วเมื่อ 100 กว่าปี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:05:28 pm »

ผมขอกราบขอบพระคุณม.ล. พระมหาสว่าง เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา , มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ,เว็บ http://www.chiangrai.ru.ac.th/%E0%B8...2%E0%B8%95.htm และท่านผู้พิมพ์ ชีวประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์โต จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) เป็นอย่างสูงครับ

โมทนาสาธุ
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=22445&page=505
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:04:17 pm »

ถ้าจะอธิบายตามความในพระธรรมเทศนาในพระคาถาที่แปลมาแล้วนี้ให้เข้าใจตามประสาชาวบ้าน ต้องอธิบายดังนี้ว่า คำหรือเรื่องหรือเหตุการณ์ก็ตาม ถ้ามันล่วงเลยไปเสียแล้ว มันบ่ายไปเสียแล้ว เรียกว่าอดีตล่วงไปแล้ว อย่าให้ไปตามคิด ตามหาถึงมัน จะทำความเสียใจให้ ท่านจึงสอนไม่ให้คิดตาม สุภาษิตก็ว่าไว้ว่า “อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บให้เจ็บใจ” ตามคิดถึงมัน ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เสีย และดีกว่า ถึงเรื่องราวเหตุผลข้างหน้า หรือมีคนมีผู้กล่าวมาส่อถึงเหตุผลข้างหน้า ว่าเมื่อนั้นเมื่อนั่น จะให้นั่นจะให้นั่นทำนั่นทำนั่นให้ กล่าวอย่างนี้ เรียกว่า อนาคตเหตุ ท่านว่าอย่าพึงจำนง อย่าหวังใจ อย่าวางใจในกาลเข้างหน้าจะเสียใจอีกจะเหนื่อยเปล่าด้วย เพราะไม่จริงดังว่า สุภาษิตก็ว่า “ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งกระสุนหน้าไม้ สายกระสุนจะล้า คันกระสุนจะอ่อน คนเราถ้าเชื่อกาลข้างหน้า ทำไปเพราะหวังและสำคัญมั่นใจมุ่งหมายว่าจริงใจ ถ้าไปถูกหลอกถูกล่อเข้าจะเสียใจ แห้งใจ อ่อนใจเหนื่อยเปล่า เหตุนี้ ท่านจึงสอนว่าอย่าหวังกาลข้างหน้า ในปัจจุบันชั่ววันหนึ่งๆ นี่แหละควรพึงกระทำให้เป็นผลประโยชน์ไว้สำหรับเกื้อกูลตน ทำบุญทำกุศลไว้สำหรับตนประจำตัวไว้สม่ำเสมอทุกวัน ทุกเวลา ถึงโดยว่าข้างหน้า ภพหน้า โลกหน้าจะมีหรือไม่มีเราก็ไม่วิตก เพราะเราไม่ทำความผิด ความชั่วความบาปไว้ เราไม่เศร้าไม่หมอง เมื่อเราทำตนให้บริสุทธิ์ ทำตนให้มั่นคง ทำตนให้มีคนรักคนนับหน้าถือนาม เราก็ไม่หวาดไม่ไหวต่อการขัดสน เรารับจ้างเขาทำงาน เรารีบทำให้เขาแล้วตามกำหนด เจ้างานก็ต้องให้ค่าจ้างรางวัลเราตามสัญญา ถ้าเราจะขอรับเงินล่วงหน้า นายจ้างก็ไม่รังเกียจให้เราทันทีทันงาน เพราะนายจ้างเชื่อว่าเราหมั่นทำงานของท่านจริงไม่ย่อหย่อนผ่อนผัดวัน ถ้าว่าเป็นงานของของเราเองรีบทำให้แล้วไม่ผัดเพี้ยนเปลี่ยนเวลา ก็ยิ่งได้ผลความเจริญ เมื่อการงานเงินของเราพอดีแล้วพอกินพอใช้ เราก็มีโอกาสมีช่อง ที่จะแสวงหาคุณงามความดีทำบุญทำกุศลสวดมนต์ไหว้พระได้ตามสบายใจ เมื่อเราสบายใจไม่มีราคีไม่มีความขัดข้องหมองใจ ไม่เศร้าหมองใจแล้ว เราก็ยิ่งมีสง่าราศีดีขึ้น เป็นที่ชื่นตาของผู้ที่เราจะไปสู่มาหา ผู้รับก็ไม่กินแหนงรังเกียจรำคาญ เพราะตนของเราบริสุทธิ์ ไม่รบกวนหยิบยืมให้เจ้าของบ้านรำคาญใจ ทำได้ดังนี้ และจึงตรงต่อพระพุทธศาสนา ตรงกับคำในภัทธกรัตคาถา วา ตํ เวภัทเธกะรัตโตติ ว่าคนทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ ดังสำแดงมาจึงมีนามกล่าวว่าผู้นั้น มีราตรีคืนเดียวเจริญ
ถ้าเป็นบรรพชิตเล่า ก็จงทำให้เจริญคือ อย่าเกียจอย่าคร้าน การเล่า การเรียน การประพฤติ การปฏิบัติ การสงเคราะห์ตระกูลชอบด้วยธรรมวินัย อย่าประทุษร้ายตระกูลให้ผิดต่อธรรมวินัย ให้ชอบด้วยพระราชกฤษฎิกากฏหมายบ้านเมืองท่าน สำหรับวันหนึ่งๆ แล้ว ก็อาจได้รับความยกย่องนับถือลือชา มีสักการะมานะเสมอไปตามสมควร พระมหามุนีก็ทรงชี้ชวนให้นิยมชมว่า ตํ เวภัทเธกะรัตโต ว่าท่านผู้นั้น มีราตรีเดียวเจริญ บุคคลใด ถ้าถูกพระอริยเจ้าผู้เป็นอริยนักปราชญ์ สรรเสริญแล้วก็หวังเถอะว่า คงมีแต่ความสุข ความเจริญทุกวันทุกเวลาหาความทรุดเสื่อม บ่มิได้ ถ้ายิ่งเป็นผู้เข้าใกล้ไหว้กราบนมัสการบูชาสักการะ เชื่อมั่นถือมั่นในสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้ช่วยกันพร้อมใจกัน นมัสการสักการะบูชาพระโตของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) สร้างไว้เป็นฐานเช่นนี้ ผู้บูชาสักการะนมัสการ ก็ได้ชื่อว่ากตัญญูกตเวทีต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน เหตุว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสกำชับกับพระอานนท์เถระเจ้าไว้ว่า ผู้ใดเลื่อมใสประสาทะศรัทธา ใคร่บูชาพระตถาคตด้วยความซื่อสัตย์กตเวที “ปฏิมาโพธิรุกขาถูปาจะชินะธาตุโย จตุราสีติสหัสสธัมมักขันธาสุเทสิตา” ให้บุคคลผู้นั้นบูชาสักการะนอบน้อม พร้อมด้วย กาย วาจา ใจ ให้ลึกซึ้ง แล้วบูชาซึ่งพระปฏิมาการ๑ ไม้พระมหาโพธิ ที่นั่งตรัสรู้๑ พระสถูปเจดีย์ที่บรรจุเครื่องพุทธโภคแลอุทเทศเจดีย์ที่ทำเทียมไว้๑ ซึ่งพระสารีริกธาตุของพระศาสนาคือ กระดูกของพระพุทธเจ้า๑ พระคัมภีร์ที่บรรจุพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์๑ วัตถุทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นที่สมควรสักการะบูชาของผู้ที่มุ่งหมายนับถือ เป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑0 คือ ทานมัย๑ ศีลมัย๑ ภาวนามัย๑ ทิฏฐชุมัย๑ อปัจจายนมัย๑ ไวยาวัจจมัย๑ เทศนามัย๑ ปัตติทานมัย๑ ปุญญัตตานุโมทนามัย๑ สะวนมัย๑ ทั้ง ๑0 ประการนี้ บังเกิดเป็นที่ตั้งของบุคคลผู้ที่ไหว้นพ เคารพบูชา เมื่อทำเข้า บูชาเข้า ฟังเข้า แสดงเข้า ขวนขวายเข้า อ่อนน้อมเข้า ให้ทานเข้า ภาวนาเข้า เห็นตรงเข้า เพราะอาศัยเหตุที่พระเกตุไชโยนี้ ก็เป็นบุญเลิศประเสริฐวิเศษเห็นทันตาทันใจ ก็มีปรากฏเป็นหลายคนมาแล้ว ถ้าได้สร้างเรื่องราวประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ให้เรื่องนี้ไว้สำหรับเป็นความรู้ ไว้สำหรับบ้านเรือน สืบบุตรหลานเหลนโหลนไปอีก ก็ได้ชื่อว่ากตัญญูรู้พระคุณพระพุฒาจารย์(โต) เหมือนได้นั่งใกล้สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้บุญเพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้สุขสวัสดีมงคลเพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้สดับรับฟังเพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้รู้จักศาสนาแน่นอนเพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) เหตุนี้ ควรแล้วที่สาธุชนทั้งปวง จะช่วยกันสร้างประวัติเรื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไว้เชิดชูเฉลิมพระเกียรติคุณของท่าน เพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์โน้น เป็นพระควรอัศจรรย์ ควรรู้ ควรฟัง จรรยา อาการ กิริยา ท่าทาง พูด เจรจาโต้ตอบ ปฏิบัติ ก่อสร้างแปลกๆ ประหลาดว่าพระสงฆ์องค์อื่นเทียมหรือเหมือนหรือยิ่งด้วยวุฒิปาฏิหาริย์ต่างๆ ไม่ใคร่จะมีใครรู้จักทั่วแผ่นดินเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไม่ใคร่จะเคยได้ยินเป็นแต่ธรรมดาเรียบๆ ก็พอมีบ้าง
ถ้าท่านได้ช่วยกันสร้างเรื่องประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไว้อ่านรู้ดูฟังสำหรับบ้านเรือน และตู้หนังสือของท่านแล้ว ท่านจะมีอานิสงส์ทำให้ท่านผ่องแผ้วพ้นราคีจะมีแต่ทางสุขสวัสดีเท่ากับมียันต์ชื่อว่า มหามงคล อุปัทวันตรายแลภัยจัญไรเป็นต้น ไม่มีมายายีบีฑาท่านได้เลย สมด้วยพระบาลีท่ารำพันเฉลยไว้ว่า “สัพพิเรวะสะมาเสถะสัพพิกุพเพถะสัณฑวิง สะตังธัมมะ ภิญญายะ สัพพะทุกขาปะ มุจจะติ” ดังนี้ มีความว่า ให้บุคคลพึงนั่งใกล้ด้วยสัปปุรุษคนดี๑ ได้ฟังคำชี้แจงของสัปปุรุษอย่างแน่นอน ก็จะรู้เท่ารู้ธรรมของสัปปุรุษคนดีพร้อมย่อมพ้นทุกข์ยากลำบากทั้งปวง
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) องค์โน้น ท่านเป็นสัปปุรุษเที่ยงแท้ผู้หนึ่ง เพราะตั้งแต่ต้นจนปลายท่านมิได้เบียดตนและเบียดผู้อื่น ให้ได้ความทุกข์ยากลำบากเลยแม้สักคนเดียว ตั้งแต่เกิดมาเห็นโลกจนตลอดวันมรณภาพ จนถึงปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ก็ยังมีพระโตตั้งไว้ให้เป็นที่ไหว้ที่บูชาแก่บรรดาพุทธศาสนิกชน คนทุกชั้นได้รำพันนับถือไม่รู้วาย ควรที่ท่านทายกทั้งหลายจงพร้อมกันสร้างหนังสือประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นั้นไว้คนละเล่มเทอญฯ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:03:09 pm »

ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นี้ ได้ทรงจำและเสาะสางสืบค้นฉบับตำรับกะรุ่งกะริ่ง และได้อาศัยพึ่งพิงท่านผู้หลักผู้ใหญ่ผู้สูงอายุเล่ากล่าวสืบๆ มา จนมาติดอยู่ในสมองของข้าพเจ้า และได้ถือเอาคำของเจ้าคุณธรรมถาวร(ช้าง) ผู้มีอายุราว ๘๔ ปีบ้าง อนุมัติดัดแปลงบ้าง ประมาณบ้าง สันนิษฐานบ้าง วิจารณ์บ้าง เทียบศักราชในพงศาวดารบ้าง บรมราชประวัติแห่งสยามบ้าง พอให้สมเหตุสมผลให้เป็นต้นเป็นปลาย พิจารณาในรูปภาพที่ฝาผนังโบสถ์วัดอินทรวิหารบ้าง ได้ยกเหตุผลขึ้นกล่าว ใช้ถ้อยคำเวยยากรณ์ เป็นคำพูดตรงๆ แต่คงจะไม่เหมือนสมเด็จพระเป็นแน่ เพราะคนละยุค คนละคราว คนละสมัย และข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าคงไม่ผิดจากความจริง เพราะข้าพเจ้าใช้คำตามหลักเป็นคำท้าว คำพระยา คำพระสงฆ์ คำบ้านนอก คำราชการ คำโต้ตอบทั้งปวงนั้น ข้าพเจ้าเขียนเองตามหลักของการแต่งหนังสือ แต่คำทั้งปวงเห็นว่าสมเหตุสมผลแล้วจึงเขียนลงแต่คงไม่คลาดจากความจริง ถ้าว่าไม่ได้ยินกับหู ไม่ได้รู้กับตา มากล่าวเล่าสู่กันฟังคล้ายกับเล่านิทานเหมือนเล่าเรื่องศรีธนชัย เรื่องไกรทอง เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องอะไรทั้งหมด ที่เรียกว่านิทานแล้ว ธรรมดาต้องมีต่อมีเติมมีตัด ไม่ให้ขัดลิ้นขัดหู แต่ไม่ผิดหลักแห่งความจริง เพราะสิ่งที่จริงมีปรากฏเป็นพยานของคำนั้นๆ ถ้าหากว่าอ่านรูดรูด ฟังรูดรูดไม่ยึดถือเรื่องราว ก็เห็นมีประโยชน์เล็กน้อยแก่ผู้อ่านผู้ฟังบ้าง คือสอนพูด ถึงเป็นคนโง่ คนบ้านนอก ก็รู้การเมืองได้บ้างไม่เซอะซะต่อไป นักโต้ตอบก็จะได้ทราบหลักแห่งถ้อยคำ นักธรรมะก็พอสกิดให้เข้าใจธรรมะบ้าง นักเชื่อถือก็จะได้แน่นแฟ้นเข้าอีก นักสนุกก็พอเล่าหัวเราะแก้ง่วงเหงา ถ้าจะถือว่าหนังสือแต่งใหม่ก็ดีเหมือนกัน ถ้าท่านเห็นถ่องแท้ว่าผิดพลาดโปรดฆ่ากาแต้มตัดต่อเติมได้ให้ถูกต้องเป็นดีฯ
นี่แหละหนาท่านทานบดีที่มีน้ำใจเลื่อมใสศรัทธาเชื่อถือสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้อุตส่าห์มาประชุมกันไหว้กราบสักการะพระเกตุไชโยใหญ่โต ในอำเภอไชโยนี้ทุกปีมา พระพุทธปฏิมากรองค์นี้หนา ก็เป็นพระของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้วก่อสร้างไว้ ท่านได้เชิญเทวดาฟ้าเทวดาดินเป็นผู้เฝ้าพิทักษ์รักษาป้องกันภัยอันตราย ไม่ให้มีแก่พระของท่านจึงถาวรตั้งมั่นมาถึงปีนี้นานถึง ๖0 ปีเศษล่วงมา ก็ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ผู้มีสัตย์ มีธรรม ทั้งกอปร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นฝ่ายบุญฝ่ายกุศล ทั้งระคนข้องอยู่ในภูมิรู้ ภูมิเมตตา ภูมิกรุณา เอ็นดูแก่อาณาประชาชนนิกร ท่านตั้งใจให้ความสุขอันสุนทร และให้สุขสโมสร แก่นิกรประชาชนทั่วหน้ากัน ท่านหวังจะให้มีแต่ความปรีดิ์เปรมเกษมสันต์สารภิรมย์ ให้สมแก่ประเทศเป็นเขตพระบวรพุทธศาสนารักษาพระรัตนตรัยให้ไพบูลย์ ต่อตั้งศาสนาไว้มิให้เสื่อมสูญ เศร้าหมอง ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องสนองพระเดชพระคุณพระพุทธเจ้า อันได้ทรงฟักฟูมใฝ่เฝ้าฝากฝังตั้งพระศาสนาไว้เป็นของบริสุทธิ์สำหรับพุทธเวไนย พุทธสาวก พุทธมามะกะ พุทธบาท พุทธบิดามารดา แห่งพระพุทธเจ้า จะได้ตรัสไปข้างหน้าใสอนาคตกาลนิกรชนะ จะได้ชวนช่วยกันรักษาศีลบำเพ็ญทานทำแต่การบุญ ผู้สละผู้บริจาคจะได้เป็นทุนเป็นเสบียงทางผลที่ทำไว้จะมิได้ระเหิดเริศร้างจางจืดชืดเชื้อ หรือยากจนค่นแค้นเต็มเข็ญเป็นไปในภายหน้า จะได้ทวีมีศรัทธากล้าปัญญาแหลมหลักอรรคภูมิวิจารณ์จะเกิดบุญจุติ กามยตาญานหยั่งรู้หยั่งเห็นพระอริยสัจจธรรม จะได้นำตนให้ข้ามพ้นจากวัฏฏะสงสารได้ก็ต้องอาศัยกุศลวัตรภูมิ ภูมิรู้ภูมิปฏิบัติในปัจจุบันชาตินี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สำเร็จความสุขความดีความงามตามวาสนาบารมีในกาลภายภาคหน้า เพราะเหตุนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้ชะโลชะลอ หล่อศรัทธาปสันนา ของพระพุทธศาสนิกชนไว้ใหญ่อะโข ตั้งพระไว้จะได้ระลึกนึกถึงพระพุทโธได้ง่ายๆ ต่างคนต่างจะได้ไหว้นมัสการบูชา ทุกวันทุกเวลาราตรีปีไป จะได้สมดั่งพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเทศนาสั่งสอนไว้แก่พระสาริบุตรอุตตองค์สาวกว่า “อตีตํนานวาคะเมยยะนัปปฏิกังเขอะนาคะตัง ยทะตี ตัมปหินันตัง อัปปัตตัญจะอะนาคะตัง ปัจจุบันปันนัญจะโยธัปมัง ตัตถะตัตถะวิปัสสะติ อะสังหิรังอะสังกุปปัง ตังวิทธามะนุพรูหะเย อัชเชวะกิจจะมาตับปัง โกชัญญามะระณังสุเวนะหิโนสังคะรันเตนะมหาเสเนนะ มัจจุนา เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตังเวภัทเทกะรัตโตติ สันโตอาจิกขะเตมุนีติ” แปลความตามพระคาถาทั้ง ๔ คาถานี้ว่า “บุคคลไม่พึงตามไปถึงเหตุการณ์ที่ล่วงไปแล้ว ๑ บุคคลไม่พึงหวังจำเพาะเหตุผลข้างหน้า อันยังไม่มาถึง บุคคลใดย่อมเห็นชัดเห็นแน่ว่า ธรรมะคือคุณงามความดีในปัจจุบันทันตานี้แล้ว ย่อมทำประโยชน์ในเหตุการณ์นั้นๆ เถิด อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ไม่พึงย่อหย่อน ไม่พึงคืนคลาย เกียจคร้าน พึงจำเพาะเจาะจงผลประโยชน์นั้นๆ ให้เจริญตามๆ เป็นลำดับไป พึงทำกิจการงานของตนให้เสร็จสุข สำเร็จเสียในวันนี้ จะเฉื่อยชาราข้อละทิ้งกิจการงานให้นานวันนั้นไม่ได้ โกชัญญามรณังสุเว ใครเล่าจะพึงรู้ว่า ความตายจะมาถึงในวันพรุ่งนี้ นะหิโนสังคะรันเตนะมหาเสเนนะมัจจุนา ความผัดเพี้ยนผ่อนผันของเราทั้งหลายไม่มีต่อด้วยความตายอันมีเสนาใหญ่นั้น คนผู้เห็นภัยมฤตยูราชตามกระชั้นแล้ว ไม่ควรทุเลาวันประวันพรุ่งว่าพรุ่งนี้เถอะ มะเลืองเถอะ เราจึงจะกระทำไม่พึงย่อหย่อนเกียจคร้านอย่างนี้ รีบร้อนกระทำเสียให้แล้ว จึงอยู่ทำไปทั้งกลางวันและกลางคืน ตังเวภัทเทกะรัตโตติสันโตอาจิกขะเตมุนี นักปราชญ์ผู้รู้ผู้สงบระงับแล้ว ท่านกล่าวบอกว่า บุคคลผู้หมั่นเพียรกระทำนั้นว่า เป็นบุคคลมีราตรีเดียวเจริญด้วยประการดังนี้”
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:02:08 pm »

ต่อแต่นี้ไป จะขอกล่าวถึงเรื่องพระโต และเรื่องวัดบางขุนพรหมใน ตำบลบางขุนพรหม พระนครนี้สักเล็กน้อย พอเป็นที่รู้จักกันไว้บ้าง
เดิมวัดบางขุนพรหมในนี้ เป็นวัดเก่าแก่นาน แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี หรือจะก่อนนั้นก็ไม่แน่ใจ วัดนี้เป็นวัดกลางสวน อยู่ดอนมาก ใครเป็นผู้สร้างก็ไม่ปรากฏนาม หรือชาวสวนแถวนั้นจะพร้อมใจกันสร้างไว้ คนเก่าเจ้าทิฏฐิในการถือวัด ว่าวัดเราวัดเขา ดังเคยได้ยินมา ก็ไม่สู้แน่ใจนัก แต่เป็นวัดเก่าแก่จริง โบสถ์เดิมเป็นเตาเผาปูนกลายๆ มีกุฏิฝากระแชงอ่อน มีศาลาโกรงเกรง แต่ลานวัดกว้างดี มีต้นไม้ใหญ่มากครึ้มดี มีลมเหนือ ลมตะวันตก ลมตะวันออก พัดโกรกตรงกรองส่งเข้าสู่โบสถ์แลลานวัดเย็นละเอียดดี เมื่อตั้งเป็นราชธานีแล้วในฝั่งนี้ ถึงรัชกาลที่ ๓ กรุงเทพฯ พระองค์เจ้าอินทร์ในพระราชวังบวรได้ทรงพระศรัทธาปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงทรงโบสถ์ เป็นรูปท้องพระโรงงามมีผี่งผายอ่าโถงยาว ๕ ห้อง มึมุข ๒ ข้าง ก่ออิฐถือปูนเสร็จและสร้างศาลา ขุดคลอง เหนือใต้วัด หลังวัด หน้าวัดเป็นเขตคันทำกุฏิสงฆ์ซ่อมถานเรียบร้อย ฉลองแล้วทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระกระแสรับสั่งว่า ผู้ที่ถวายตนเข้าเป็นวัดหลวงนั้น จำเพาะเจ้าของเป็นพระยาพานทรง ถ้าเป็นเจ้าต้องได้รับพระราชทานพานทองก่อน จึงถวายจัดเป็นวัดหลวงได้ ซึ่งพระองค์เจ้าอินทร์ก็ยังหาได้รับพระราชทานพานทองไม่ ได้พานทองแล้วจึงควรถวายวัดของเธอเป็นวัดหลวงได้ วัดนี้ก็คงเป็นวัดราษฎร์ วัดเจ้าอินทร์ บางขุนพรหม
ครั้นถึงปีจอ อัฐศก จุลศักราช ๑๒๘๘ ปี มีราชการสงครามกับเจ้าอนุเวียงจันทน์ พระองค์เจ้าอินทร์เจ้าของวัดบางขุนพรหมนี้ ได้โดยเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ ขึ้นไปปราบขบถเมืองเวียงจันทน์ มีชัยชนะกลับมาแล้วได้รับพระราชทานพานทองเป็นบำเหน็จความชอบในสงครามนั้น แล้วพระองค์เจ้าอินทร์จึงทูลเกล้าฯ ถวายวัดนี้เป็นวัดหลวงอีกครั้งหนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตำรวจราชองครักษ์และกรมเมืองมาสำรวจชัยภูมิสถานที่ของวัดนี้ ตลอดถึงทางพระราชดำเนินในการถวายพระกฐินทานด้วย เจ้าพนักงานทำรายงานถวายตลอด แต่ทางพระราชดำเนินนั้นขัดต่อทางราชการหลายประการ เพราะวัดตั้งอยู่กลางสวนทั้ง ๔ ทิศ ไม่สะดวกแก่ข้าราชบริพานที่จะโดยเสด็จ จึงมิได้ทรงรับเข้าบัญชีเป็นวัดหลวง พระองค์เจ้าอินทร์ก็ทรงทอดธุระวัดนั้นเสียไม่นำพา วัดก็ชำรุดทรุดโทรมลงอีก และพระองค์เจ้าอินทร์ก็มาสิ้นพระชนม์ไปด้วยจึงท่านพระเสมียนตราด้วงได้มีศรัทธาสละที่สวนขนัดทางหน้าวัด ตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดขึ้นไปถึงกำแพงวัดแถบหน้าวัดทั้ง ๒ ในปัจจุบันนี้จนจดวัดถวายแป็นที่กัลปนาบ้าง เป็นหน้าวัดบ้าง เป็นสมบัติของวัดบางขุนพรหม ด้วยพระเสมียนตราด้วงนิยมนับถือ ฟังคำสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้อุทิศที่บ้านที่สวนออกบูชาแก่พระรัตนตรัยในเนื้อที่ๆ ว่าแล้วนั้น พระเสมียนตราด้วงแลสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดบางขุนพรหมในด้วยผลค่าที่กัลปนาตลอดจนมาถึงสร้างพระโต ท่านเสมียนตราด้วงก็ถึงอนิจกรรม สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ก็ถึงมรณภาพ สมภารวัดแลทายกก็ทำโลเลร่องแร่ง ผลประโยชน์ของวัดก็เสื่อมทรามหายไป วัดก็ทรุดโทรมรกรื้อ ภิกษุที่ประจำในวัดก็ล้วนรุ่มร่ามเลอะเทอะเป็นกดมะตอทั้งปทัด
ครั้นพระมหานครมาสู่ความสะอาดรุ่งเรืองงาม จึงดลพระราชหฤทัยในรัชกาลที่ ๕ นั้น ให้ทรงสถาปนาพระมหานคร ตัดถนนสัญจรให้โล่งริ่วตลอดถึงกัน หลายชั้นหลายทาง ทะลุถึงกันหมดทุกสายทั้ง ๔ ทิศติดต่อกันไป ทางหน้าวัดบางขุนพรหมก็ถูกตัดถนนด้วยช่วยเพิ่มพระบารมีทางริมน้ำก็ถูกแลกเปลี่ยนที่ ทรงสร้างวัดลงตรงที่นั้น ๒ วัง ที่ใหม่ของหลวงที่พระราชทานให้แก่วัดบางขุนพรหมนั้นเดี๋ยวนี้ ก็ได้ยินว่าหายไปไม่ปรากฏแก่วัดบางขุนพรหม และชาวบ้านเหล่านั้นช่วยกันพยุงวัดนี้มาด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวบ้าง ผลประโยชน์ของวัดเกิดในกัลปนาบ้างช่วยกันเสริมสร้างพระโตองค์นี้มานานก็ไม่รู้จักจะแล้วได้ ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๗ ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ท่านพระครู เป็นพระธรรมยุติกนิกายมาคิดสถาปนาพระโตองค์นี้เปลี่ยนแปลงเป็นพระยืนห้ามญาติพอเป็นองค์ขึ้นสมมติว่าแล้วนัดให้กันไม่ช้าเท่าไรก็เกิดวิบัติขึ้นแก่ผู้ต้นคิด เพราะผิดทางกำหนดในบทหนังสือปฐม ก กา ว่าขืนรู้ผู้ใหญ่เครื่องไม่เข้าการ เพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นั้น ท่านประพฤติ กาย วาจา ใจ เป็นผู้ใหญ่แท้ ท่านสร้างพระนั่งตอตะเคียนโปรดยักษ์ พระปรางนี้ไม่มีใครๆ สร้างไว้เลย แต่สยามฝ่ายเหนือลงมาก็หามีผู้สร้างขึ้นไว้ไม่ ท่านจึงคิดตั้งใจและสร้างไว้ให้ครบ ๑0๘ ปาง แต่อายุและโอกาสไม่พอแก่ความคิด พระจึงไม่แล้ว ท่านพระครูมาขืนรู้ ท่านจึงไม่เจริญกลับเป็นคนเสียกล เป็นคนทรุดเสื่อมถึงแก่ต้องโทษทางอาญา ราชภัยบันดาลเป็น เพราะโลภเจตนาเป็นเค้ามูล จึงพินาศวิบากผลปฏิสังขรณ์ อำนวยไม่ทัน วิบากของโลภแลความลบหลู่ดูหมิ่นผู้ใหญ่ โทษขืนรู้ผู้ใหญ่แรงกว่า อำนวยก่อนจึงเห็นเป็นทิฐิธรรมเวทนียะกรรมเข้า กลับเป็นบุคคลลับลี้ หายชื่อหายหน้าไม่ปรากฏเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ท่านก่อสร้างสิ่งซึ่งเป็นถาวรวัตถุชิ้นใดๆ เป็นการเกี่ยวแก่พระพุทธศาสนาตรงต่อพระมหากษัตริย์ ตรงต่อชาติ อาจทำให้ประโยชน์โสตถิผลให้แก่ประชุมชนเป็นอันมากดังสำแดงมาแล้วแต่หนหลัง
และวัดบางขุนพรหมในนี้นั้น สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหารได้สืบเค้าเงื่อนได้ทราบเหตุการณ์บ้างว่า เดิมพระองค์เจ้าอินทร์ซ่อมแซมก่อสร้างเป็นหลักฐานไว้ก่อนสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์(ม.ร.ว.ชื่น) วัดบวรนิเวศ ได้ขนานนามวัดนี้ ให้ชื่อว่า วัดอินทรวิหาร(แปลว่าวัดเจ้าอินทร์) ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗0 นั้นมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ถ้าผู้มีทรัพย์มีอำนาจมีกำลังอานุภาพ ได้มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นพระนั่งบนตอตะเคียนตามประสงค์ของสมเด็จเจ้าโตได้และทำยักษ์คุกเข่าฟังพระธรรมเทศนา ได้ลุสำเร็จปฐมมรรคหายดุร้ายไม่เบียดเบียนมนุษย์ ไม่เบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์สามเณรต่อไป ผู้แปลงใหม่ คงมั่งคั่งสมบูรณ์ พูนพิพัฒน์สถาพรประเทศก็จะรุ่งเรืองปราศจากวิหิงสาอาฆาตพยาธิก็จะไม่บีฑาเลยฯ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 06:01:14 pm »

คำนวณอายุผู้เรียงเรื่องนี้ได้ ๗ ขวบยังไม่บริบูรณ์ คือหลักเหลือ ๖ ปีกับ ๓ เดือน เวลาที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ยังอยู่นั้น ผู้เรียงเรื่องนี้ยังอยู่กับคุณเฒ่าแก่กลิ่น ในตึงแถวเต๊งแถบข้างทิศใต้ ทางออกวัดพระเชตุพน ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน คุณกลิ่นเฒ่าแก่เคยพาขึ้นไปรับพระราชทานเบี้ยจันทร เบี้ยสูรย์ คือเงินสลึงจากพระราชหัตถ์สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็สองคราว ได้เคยฟังเทศน์สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ก็สองคราว ได้เคยเข้านมัสการท่านก็สองคราว ท่านผูกมือให้ที่พระที่นั่งทรงธรรม ยังจำได้ว่ามีต้นกาหลงใหญ่ในพระบรมมหาราชวังฯ
· ครั้งเมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ถึงมรณภาพที่ศาลาใหญ่ ในวัดบางขุนพรหมในแล้วได้รับพระราชทานน้ำสรงศพ ไตรครอง ผ้าขาวเย็บถุง โกศ กลองชนะ อภิรมย์ สนมซ้าย ฝีพาย เรือตั้งบรรทุกศพ เมื่อเจ้านาย ขุนนาง คุณท้าว เฒ่าแก่ พวกอุปฐาก พวกอุบาสิกา ประชาชน ชาวบ้านบางขุนพรหม ปวงพระสงฆ์ สรงน้ำสมเด็จเจ้าโตแล้ว สนมก็กระสันตราสังศพ บรรจุใบโกศไม้ ๑๒ เสร็จแล้วก็ยกลงมาที่ท่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝีพายหลวงพายลงมาตามลำแม่น้ำ เรือตามก็ตามหลายแม่น้ำ ส่งศพกระทั่งถึงหน้าวัดระฆัง สนมเชิญโกศศพขึ้นบนกุฏิสมเด็จฯ อยู่แถบข้างท้ายวัดริมคลองคูวัดระฆัง ตั้งศพบนฐานเบ็ญจาสองชั้นมีอภิรมย์ ๖ คัน มีกลองชนะ ๒๔ จ่าปี จ่ากลองพร้อม มีพระสวดพระอภิธรรม มีเลี้ยงพระ ๓ วัน เป็นของหลวงฯ
· วันเมื่อศพสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) มาถึงวัดระฆังวันนั้น ผู้คนมาส่งศพรับศพนมัสการศพนั้นแน่นอัดคับคั่ง ทั้งผู้ดี ผู้ไพร่ พลเมืองไทย จีน ลาว มอญ ชาวละครเขมร พราหมณ์ พระสงฆ์ทุกๆ พระอาราม เด็กวัด เด็กบ้าน แน่นไปเต็มวัดระฆัง พระครูปลัดสัมพิพัฒน์(ช้าง) คือพระธรรมถาวรราชาคณะ ที่มีอยู่ ๘๔ ปี มีตัวอยู่ถึงวันเรียงประวัติเรื่องนี้ได้ตักพระพิมพ์แจกชำร่วยแก่บรรดาผู้มาส่งศพ สักการะศพ เคารพศพนั้น แจกทั่วกันคนละองค์สององค์ ท่านประมาณราวสามหมื่นองค์ที่แจกไป และต่อๆ มาก็แจกเรื่อย จนถึงวันพระราชทานเพลิงและยังมีผู้ขอ และแจกให้อีกหลายปีจนพระหมด ๑๕ กระถางมังกร เดี๋นี้จะหาสักครึ่งก็ไม่มี มีแต่จำเพาะตนๆ และปั้นเหน่งซึ่งเป็นกระดูกหน้าผากของนางนาคพระโขนงนั้นตกอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทรน์ ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระธรรมเจดีย์ ได้เป็นเสด็จอุปัชฌาย์ของผู้เรียงประวัติเรื่องนี้ ภายหลังเลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์(ม.จ.ทัศ) ไปคลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระนคร จึงได้มอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาคพระโขนง ให้กรรมสิทธิ์ไว้แก่พระพุทธโฆษาจารย์(ม.ร.ว.เจริญ) เจ้าอาวาสวัดระฆัง แต่ครั้งดำรงตำแหน่งพระพิมลธรรมนั้น (ได้ยินแว่วๆ ว่าปั้นเหน่งนั้นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ถวาย ฯลฯ แล้ว)


และสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ถึงมรณภาพแล้ว

ล่วงมาถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ ปี
พุทธศักราชล่วงได้ ๒๔๒๓ ปี

รัตนโกสินทรศักราชถึง ๑๔๙ ปี


อายุรัชกาลที่ ๕ เสวยราชย์ ๔๓ ปี

รัชกาลที่ ๖ เสวยราชย์ ๑๕ ปี
รัชกาลที่ ๗ เสวยราชย์ ๖ ปี

คิดแต่ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ปี มาถึงปีมะเมีย โทศกนี้ จึงรวมแต่ปีมรณภาพนั้น มาถึงปีมะเมียนี้ได้ ๖๑ ปี กับเศษเดือนวันแลฯ (ได้ลงมือเรียบเรียงแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๓)
พระธรรมถาวรช้างบอกว่า คำแนะนำกำชับสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) นั้นดังนี้
๑. คุณรับเอาฟันของฉันไว้ ดียิ่งกว่า ๑00 ชั่ง ๑000 ชั่ง คุณจะมีความเจริญเอง
๒. คุณใคร่มีอายุยาว คุณต้องไหว้คนแก่
๓. คุณใคร่ไปสวรรค์ นิพพาน และมีลาภผล คุณหมั่นระลึกนึกถึง
พุทธ พุทธา พุทเธ พุทโธ พุทธํ อรหํ พุทโธ อิติปิโส ภควา นะโม พุทธายะฯ
ถึงเถรเกษอาจารย์ ผู้วิเศษของเจ้าสามกรมว่าดี ก็ไม่พ้น พุทธะ พุทธา พุทเธ พุทธํ พุทโธ อรหํ พุทโธฯ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 05:59:41 pm »

ก็และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ พูดธรรมสากัจฉากันในที่สภาการต่างๆ ถ้ามีผู้ถาม ถามขึ้นว่า คำที่เรียกกันว่านิพพานๆ นั้น บางคนเป็นนักแปล ก็แปลตามศัพท์ ว่าดับบ้าง ออกจากเครื่องร้อยรัดบ้าง แปลว่า เกิดแล้วไม่ตายบ้าง ตายแล้วไม่มาเกิดบ้าง ดับจากกิเลสบ้าง ดับไม่มีเศษเป็นนิรินทพินาสบ้าง เลยไม่บอกถิ่นฐานเป็นทางเดียวกัน จะยังกันละกันให้ได้ความรู้จักพระนิพพานเป็นเงาๆ หรือรู้รางรางบ้างก็ทั้งยาก จึงพากันหารือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ในเรื่องใคร่รู้จักนิพพาน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านว่า ท่านก็ไม่รู้แห่ง แต่จะช่วยชี้แจงอุปมาเปรียบเทียบให้รู้และเข้าใจเอาเอง ตามเหตุแลผล เทียบเทียมได้บ้างว่านิพพานจะรู้ได้อย่างไร ท่านอุปไมยด้วยหญิงสองคนพี่น้องจ้องคิดปรารภปรารมภ์อยู่แต่การมีผัว อุตส่าห์อาบน้ำทาขมิ้น นุ่งผ้าใหม่ ผัดหน้า หวีผมแปร้ ก็ประสงค์ความรักให้เกิดกับชายผู้แลหน้าจะได้มาสู่ขอเป็นสามีเท่านั้น ครั้นล่วงมาก็สบโชคสบช่องของคนพี่สาวมีผู้มีชื่อมีหน้ามาขอ ได้ตกลงแต่งงานร่วมห้องร่วมหอกันแล้ว หญิงผู้ที่เป็นนางน้องสาวก็มาเยี่ยมแล้วตั้งวิงวอนเซ้าซี้ซักถามว่าพี่จ๋า การที่พี่หลับนอนกับผัวนั้น มีรสมีชาติครึกครื้นสนุกสนานชื่นบานเป็นประการใด จงบอกให้ฉันรู้บ้าง นางพี่สาวก็ไม่รู้แห่งจะนำความรื่นรมย์สมสนิทด้วยสามีนั้น ออกมาตีแผ่เปิดเผยให้น้องสาวสมรู้ตามเห็นตามในความรื่นรมย์แห่งโลกสันนิวาสได้ นางพี่สาวก็ได้แต่บอกว่าน้องมีผัวบ้างน้องก็จะรู้เอง ไม่ต้องถามเอาเรื่องกับพี่หรอก ฯ
· ครั้นอยู่มาไม่ช้านาน นางผู้เป็นน้องได้สามีแล้วไปหาพี่สาวๆ ถามว่า การหลับนอนรมย์รื่นชื่นใจกับผัวน้องมีความรู้สึกว่าเป็นเช่นไร ลองเล่าบอกออกความให้พี่เข้าใจบ้างซีแม่น้อง นางน้องสาวฉอเลาะตอบพี่สาวทันทีว่า พี่ไม่ต้องเยาะ ไม่ต้องเยาะ และพี่น้องหญิงคู่นั้นก็นั่งสำรวลหัวเราะกันตามฐานที่รู้รสสังวาสเสมอกัน ข้ออุปมานี้ฉันใดก็ดี พระโยคาวจรกุลบุตรมีความมุ่งหมายจะออกจากชาติจากภพ เบื่อหน่ายโลกสันนิวาส เห็นว่าเป็นหม้อต้มหรือเรือนอันไฟไหม้ คิดจะออกจะหนีให้พ้น ก็ทำความพยายามแข็งข้อถกเขมรจะเผ่นข้ามให้พ้นจากหม้อต้มสัตว์ และเรือนไฟไหม้อันลุกลาม ก็เตรียมตัวทำศีลให้บริสุทธิ์ปราศจากโทษเศร้าหมอง ทำสมาธิตั้งใจตรงจงใจทำสัมมะถะกัมมัฎฐาน ทำปัญญาให้เป็นวิปัสสนาญาณอย่างยิ่งยอด ตัดสังโยชน์ให้ขาดเด็ดแล้วด้วยมีดคมกล้า กล่าวคือ โคตรภูญาณ อนุโลมญาณ มรรคญาณ ทำช่องให้เวิ้งว้างเห็นแสงสว่างปรากฏ พระโยคาวจรกุลบุตรก็กำเนิดดวงจิต จิตวางอารมณ์ วางสัญญา วางอุปาทานด้วยเครื่องยึด ทำลายเครื่องกั้นทั้ง ๕ ละวางได้ขาด ประกอบองค์ ๕ คือ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอกักคตา ฟอกใจ คราวนี้ใจก็กอปรด้วยวิสุทธิ ๗ เมื่อวิสุทธิ ๗ ประการผุดขึ้นแล้ว พระโยคาวจรกุลบุตรก็มาละวิตก ละวิจารณ์ ละปิติ ละสุข ละเอกักคตา เหลือแต่อุเบกขาญาณดำเนินไปอุเบกขาญาณมีองค์ ๖ ประการ เป็นพื้นมโนธาตุ ก็กลายเป็นอัพยากฤตไม่ติดบุญ ไม่ติดบาป ต่อไปจะยังมีลมหายใจ หรือหมดลมหายใจมโนธาตุก็ตั้งอยู่ตามตำแหน่ง ไม่เข้าสิงในเบญจขันธ์ต่อไป เรียกว่า ธรรมธาตุ บริสุทธิ์จำเพาะตน เรียกว่าพระนิพพาน ท่านผู้ได้ ผู้ถึงท่านรู้กันว่า เป็นเอกันตบรมสุข ไม่ระคนปนด้วยทุกข์ต่อไปท่านไม่ต้องซักถามเซ้าซี้ เช่นหญิงทั้ง ๒ ดังสำแดงมา (จบสากัจฉา) ฯ
(จงตริตรองตามความเปรียบเทียบแลกอปรธรรมะต่างๆ ตามความแนะนำมาก็จะเห็นพระนิพพานบ้าง)
· ในปลายปีมะเมีย โทศก นี้มา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มีลายลิขิตแจ้งแก่กรมสังฆการีว่า จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตยกเป็นกิตติมศักดิ์ ด้วยเหตุชราทุพพลภาพไม่สามารถรับราชการเทศน์แลสวดฉัน ในพระบรมมหาราชวังได้ ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตตกเป็นพระมหาเถรกิตติมศักดิ์ และได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา หม่อมเจ้าพระ (ทัส) ในกรมสมเด็จพระราชวังหลัง ขึ้นเป็นพระราชาคณะรองเจ้าอาวาสพระราชทานพระสุบรรณบัฏ มีราชทินนามว่า หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์มีฐานา ๓ รูป มีนิตยภัตรเดือนละ ๑๖ บาท ค่าข้าวสาร ๑ บาท เป็นผู้ช่วยบัญชากิจการวัดระฆังต่อไป ฯ
· ฝ่ายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตปลดชรายกเป็นสมเด็จพระราชาคณะกิตติมศักดิ์แล้ว ท่านก็คลายอิสริยยศ บริวารยศแบกตาลิปัตรเอง พายเรือบิณฑบาตเอง จนเป็นที่คุ้นเคยกับอีกา กาจับป่ากินอาหารกับท่าน จนท่านพูดกับกาที่ประตูอนงคลีลา (ประตูดิน) กาตัวหนึ่งบอกว่าจะไปวัดมหาธาตุ กาตัวหนึ่งว่าจะไปท่าเตียน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่า ไปท่าเตียนดีกว่าไปวัดมหาธาตุ เพราะคนเขาทิ้งหัวกุ้งหัวปลาหมักหมมไว้มาก ที่วัดมหาธาตุถึงมีโรงครัวก็จริง แต่ทว่าคนเขาขนเก็บกวาดเสียหมดแล้วจ๊ะ ฯ
· เวลาจำวัดอยู่ในกุฏิของท่านที่วัดระฆังนั้น เจ้าขโมยเจาะพื้นกุฏิล้วงเอาข้าวของที่วางเกลื่อนไว้ เจ้าขโมยล้วงไม่ถึง ท่านก็ช่วยเอาไม้เขี่ยของนั้นๆ เข้าไปให้ใกล้มือขโมย เจ้าขโมยลักเข็นเรือใต้ถุนกุฏิ ท่านก็เปิดหน้าต่างสอนขโมยว่า เข็นเบาๆ หน่อยจ๊ะ ถ้าดังไปพระท่านได้ยินเข้าท่านจะตีเอาเจ็บเปล่าจ๊ะ เข็นเรือบนแห้ง เขาต้องเอาหมอนรองข้างท้ายให้โด่งก่อนจ๊ะ ถึงจะกลิ้งสะดวกดี เรือก็ไม่ช้ำไม่รั่วจ๊ะเลยเจ้าขโมยเกรงใจไม่เข็นต่อไป ฯ
· ครั้งเมื่อนางนาคบ้านพระโขนง เขาตายทั้งกลม ปีศาจนางนาคกำเริบ เขาลือกันต่อมาว่า ปีศาจนางนาคมาเป็นรูปคนช่วยผัววิดน้ำเข้านาได้ จนทำให้ชายผู้ผัวมีเมียใหม่ไม่ได้ ปีศาจนางนาคเที่ยวรังควานหลอนหลอก คนเดินเรือในคลองพระโขนงไม่ได้ตั้งแต่เวลาเย็นตะวันรอนๆ ลงไป ต้องแลเห็นปีศาจนางนาคเดินห่มสีบ้าง โหนตัวบนต้นโพธิ์ต้นไทรบ้าง พระสงฆ์ในวัดพระโขนงมันก็ล้อเล่น จนกลางคืนพระภิกษุสามเณรต้องนอนรวมกัน ถ้าปลีกไปนอนองค์เดียวเป็นต้องถูกปีศาจนางนาครบกวน จนเสียงกร็อกแกร๊กอื่นๆ ก็เหมาว่าเป็นปีศาจนางนาคไปหมด จนชั้นนักเลงกลางคืนก็ต้องหยุดเซาลงเพราะกลัวปีศาจนางนาค พวกหมอผีไปทำเป็นผู้มีวิเศษตั้งพิธีผูกมัดเรียกภูตมัน มันก็เข้ามานั่งแลบลิ้นเหลือกตาเอาเจ้าหมอต้องเจ๊งมันมาหลายคนจนพวกแย่งชิงล้วงลักปลอมเป็นนางนาคหลอกลวงเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านกลัวนางนาคเลยมุดหัวเข้ามุ้งขโมยเก็บเอาของไปสบายค่ำลงก็ต้องล้อมต้องนั่งกองกันยันรุ่งก็มี ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านรู้เหตุปีศาจนางนาคกำเริบเหลือมือหมอท่านจึงลงไปค้างที่วัดมหาบุศในคลองพระโขนง พอค่ำท่านก็ไปนั่งอยู่ปากหลุม แล้วท่านเรียกนางนาคปีศาจขึ้นมาสนทนากัน ฝ่ายปีศาจนางนาคก็ขึ้นมาพูดจาตกลงกันอย่างไรไม่ทราบลงผลท้ายที่สุดท่านได้เจาะเอากระดูกหน้าผากนางนาคที่เขาฝังไว้มาได้ แล้วท่านมานั่งขัดเกลาจนเป็นมัน ท่านนำขึ้นมาวัดระฆัง ท่านลงยันเป็นอักษรไว้ตลอด เจาะเป็นปั้นเหน่งคาดเอว ไปไหนท่านก็เอาติดเอวไปด้วย ปีศาจในพระโขนงก็หายกำเริบซาลง เมื่อสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) ยังเป็นสามเณรอยู่ในกุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นางนาคได้ออกมารบกวน ม.ร.ว.เณรๆ ก็ร้องฟ้องสมเด็จฯ ว่า สีกามากวนเขาเจ้าข้า สีกามากวนเขา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านร้องว่า นางนาคเอ๊ย อย่ารบกวนคุณเณรซี ปีศาจนั้นก็สงบไป นานๆ จึงออกมารบกวน ครั้นท่านชรามากแล้ว ท่านจึงมอบปั้นเหน่งกระดูกหน้าผากนางนาคประทานไว้กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ มอบหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญให้ไปอยู่กับหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ด้วยนานๆ นางนาคออกหยอกเย้าหม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญ หม่อมราชวงศ์สามเณรเจริญต้องร้องฟ้องหม่อมเจ้าพระพุทธบาทฯ ต้องทรงกริ้วนางนาคว่า เป็นผู้หญิงยิงเรืออย่ามารบกวน คุณเณรจะดูหนังสือหนังหาเสร็จกริ้วแล้วก็เงียบไป (เรื่องนี้สำหรับเจ้านายหม่อมราชวงศ์วังหลังเล่าให้ฟัง) ฯ
· ส่วนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตั้งแต่ปลดภาระการวัดการสอนให้หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์แล้ว ส่วนตัวท่านก็ไปตามสบาย กับรีบทำพระพิมพ์ ดูให้คนโขลกปูนเพชร และนั่งพิมพ์ไป บางทีไปเยี่ยมป่าช้าวัดสระเกศ เช้าก็บิณฑบาตได้อะไรก็ฉันไปพลาง บางทีเที่ยวสะพายบาตรไป ใครใส่เวลาไหน ท่านก็ฉันฉลองศรัทธาเวลานั้น บางทีก็ไปนั่งในโลหะปราสาทวัดราชนัดดารามไปคุยกับหลวงพ่อรัตวัดเทพธิดารามบ้างแล้วถูกคอ บางทีไปดูช่างเขียนประวัติของท่านที่ผนังโบสถ์วัดบางขุนพรหมใน ดูให้ช่างก่อๆ พระโต ก่อขึ้นไปจนถึงพระโสณี (ตะโพก) ถึงหน้าขึ้นพระบาท ก็ขึ้นนมัสการพระพุทธบาทเสมอทุกปีจนพวกลพบุรี สระบุรี นับถือเอาน้ำล้างเท้าท่านไปเก็บไว้รักษาฝีดาษดีนัก ถึงฝีจะร้ายแรงดาษตะกั่วก็หาย เด็กๆ ที่ออกฝีไม่มีใครเป็นอันตรายเลย เรื่องฝีดาษเป็นดีมาก จนตลอดมาถึงพระโตวัดเกตุไชโยก็ศักดิ์สิทธิ์ในการรดน้ำมนต์รักษาฝีดาษดี ชาวเมืองอ่างทองนับถือมากจนตราบเท่าทุกวันนี้ ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขึ้นนมัสการพระพุทธบาทคราวใด เป็นต้องมีไตรไปพาดที่หัวนาคตีนกระได แล้วนิมนต์พระชักบังสุกุลโยมผู้หญิงของท่านที่เมืองพิจิตรทุกคราว ว่านิมนต์บังสุกุลโยมฉันด้วยจ๊ะ พระจ๋า แล้วเลยไปนมัสการพระฉายเขามันฑกบรรพตด้วย จนกระเหรี่ยงดงนับถือมากเข้าปฏิบัติ ท่านไปกับอาจารย์วัดครุฑ อาจารย์อื่นๆ บ้าง กลับมาแล้วก็มาจำวัดสบายอยู่ ณ วัดบางขุนพรหมในเป็นนิตยกาล ฯ
· และพระพิมพ์ที่วัดบางขุนพรหมในนั้น เสมียนตราด้วง ขอเอาพิมพ์ของท่านไปพิมพ์ปูนแลผงของเสมียนตราด้วง ทำตามวุฒิของเสมียนตราด้วงเอง ชาวบ้านบางขุนพรหมปฏิบัติอุปฐาก บางทีขึ้นพระบาท หายเข้าไปในเมืองลับแลไม่กลับ คนลือว่าสมเด็จถึงมรณภาพแล้วก็มี ทางราชการเอาโกศขึ้นไป ท่านก็ออกมาจากเมืองลับแล พนักงานคุมโกศต้องเอาโกศเปล่ากลับหลายคราวฯ
· ครั้นท่านกลับลงมาแล้ว ก็รีบพิมพ์พพระไป ท่านพระยานิกรบดินทร(โต) ได้ถวายทองคำเปลวมา ท่านก็ปิดพระได้สัก ๔0000 กว่า ทองนั้นก็หมด พระพิมพ์ ๘ หมื่น ๔ พันคราวนี้ เดิมตั้งใจจะถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงปิดทองแต่จะได้ถวายหรือไม่ได้ถวายไม่ได้ความปรากฏ พระธรรมถาวรยังเป็นพระครูปลัดก็ไม่รู้ ผู้เรียงจะซักถามให้ได้ความจริงก็เกรงใจ เพราะเกณฑ์ให้ท่านเล่าเรื่องอื่นๆ มามากแล้วฯ
· ครั้นถึง ณ วันเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ ปี เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพพระมหานครฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไปดูการก่อพระโตวัดบางขุนพรหมในก็ไปอาพาธด้วยโรคชราภาพ ๑๕ วัน ก็ถึงมรณภาพ บนศาลาใหญ่วักบางขุนพรหมใน ในเวลาปัจจุบันสมัยวันนั้น สิริรวมชนมายุ ๘๔ ปีบริบูรณ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามมาได้ ๒๑ ปีบริบูรณ์ รับตำแหน่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์มาได้ ๗ ปีบริบูรณ์ ถ้าจะนับปีตามจันทรคติก็ได้ ๘ ปี นับอายุตามจันทรคติก็ได้ ๘๔ ปี เพราะท่านเกิดปีวอก เดือน ๖ วอกรอบที่ ๗ ถึงวอกรอบที่ ๘ เพียงย่างขึ้นเดือน ๕ ท่านก็ถึงมรณภาพคิดขาดหักเดือนตามอายุโหราจารย์ตามสุริยคตินิยม จึงป็นอายุ ๘๔ ปีบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 05:58:40 pm »

ครั้นเข้าฤดูบวชนาค ท่านก็บวชนาคเสมอทุกวัด มีผู้เลื่อมใสนิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั่งที่พระอุปัชฌาย์ และท่านได้ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่หม่อมเจ้าทัส อันเป็นพระบุตรสุดพระองค์ในพระราชวงศ์ วังกรมหลวงเสนีบริรักษ์ก็ทรงพระผนวชในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง หม่อมเจ้าพระทัสพระองค์นี้ ภายหลังได้เป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นหม่อมเจ้าพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร หม่อมเจ้าพระธรรมเจดีย์ (ทัส) พระองค์นี้ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้เรียบเรียงเรื่องนี้ด้วย ภายหลังทรงเลื่อนจากพระธรรมเจดีย์ ขึ้นเป็นหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์วัดโพธิ์ (เชตุพน) รับพระสุพรรณปัฎในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพพระมหานคร ฯ
· ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ชราภาพมากแล้ว ท่านไปไหนมา เผอิญปวดปัสสาวะ ท่านออกมาปัสสาวะกรรมหลังเก๋งข้างท้าย แล้วโยงโย่โก้งโค้งข้ามพนักเก๋งเรือกลับเข้าไปในเก๋ง พอถึงกลางพระองค์ จำเพาะคนท้ายทั้ง ๔ ออกแรงกระทุ่มแจวพร้อมกันส่งท้ายเข้า สมเด็จท่านยันไม่อยู่เพราะชราภาพมาก เลยล้มลงไปหน้าโขลกกระดานเรือปากเจ่อ ท่านก็ไม่โกรธไม่ด่า ท่านอุตส่าห์ขยับลอดศีรษะออกจากเก๋งเหลีบวหลังไปว่ากับคนท้ายว่า พ่อจ๋าพ่ออย่าเข้าใจว่าพ่อมีแรงแต่พ่อคนเดียวหนาจ๋า คนอื่นเขาจะมีแรงยิ่งกว่าพ่อก็คงมีจ๊ะ ว่าแล้วก็โยงโย่กลับเข้าเก๋งไปจำวัดอีก คราวนี้หม่อมราชวงศ์เจริญบุตรหม่อมเจ้าทัพในกรมเทวา เป็นศิษย์นั่งหน้าเก๋งไปด้วยจึงได้ยินหม่อมราชวงศ์องค์นี้ภายหลังได้เป็นสามเณร เป็นหม่อมราชวงศ์สามเณรเปรียญ ๖ ประโยค ภายหลังได้อุปสมบทในสำนักหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ภายหลังเลื่อนเป็นพระราชาคณะที่พระราชพัทธ เจ้าอาวาสวัดท้ายตลาด ภายหลังเลื่อนเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง ภายหลังเลื่อนเป็นหม่อมราชวงศ์พระพิมลธรรม ภายหลังเลื่อนเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดระฆัง รับพระสุพรรณปัฎทุกคราวในรัชกาลที่ ๕ ฯ
· ต่อไปนี้จะได้กลับกล่าวถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อีกว่า ครั้นถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๓๒ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพฯ ที่บ้านสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) มีการประชุมนักปราชญ์ทุกชาติ ทุกภาษา ล้วนเป็นตัวสำคัญๆ รอบรู้การศาสนาของชาตินั้น ฯ
· สมเด็จเจ้าพระยา ให้ทนายอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ไปแสดงเผยแผ่ความรู้ในสิ่งที่ถูกที่ชอบด้วยการโลกการธรรม ในพุทธศาสนาอีกภาษาหนึ่งในชาติของสยามไทย ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ยินคำอาราธนา จึงรับสั่งว่า ฉันยินดีแสดงนักในข้อเข้าใจ ทนายกลับไปกราบเรียนสมเด็จพระประสาทว่า สมเด็จฯ ที่วัดรับแสดงแล้ว ในเรื่องแสดงให้รู้ความผิดถูกทั้งปวงได้ ฯ
· พอถึงวันกำหนด สมเด็จฯ ที่วัดระฆังก็ไปถึง นักปราชญ์ทั้งหลายยอมให้นักปราชญ์ของไทยออกความก่อนในที่ประชุมปราชญ์ และขุนนางทั้งปวงก็มาประชุมฟังด้วยสมเด็จพระประสาทจึงอาราธนาสมเด็จฯ ที่วัดระฆังขึ้นบัลลังก์ แล้วนิมนต์ให้สำแดงทีเดียว ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ออกวาจาสำแดงขึ้นว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พึมทุ้มๆ ครางๆ ไปเท่านี้นาน กล่าวพึมพำสองคำเท่านี้สักชั่วโมงหนึ่ง สมเด็จพระประสาทลุกขึ้นจี้ตะโพกสมเด็จฯ ที่วัด แล้วกระซิบเตือนว่าขยายคำอื่นให้ฟังบ้าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็เปล่งเสียงดังขึ้นกว่าเดิมอีกชั้นหนึ่งขึ้นเสียงว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา ฯลฯ ว่าอยู่นานสักหนึ่งชั่วโมงอีก สมเด็จพระประสาทลุกขึ้นมาจี้ตะโพก สมเด็จฯ ที่วัดอีก ว่าขยายคำอื่นให้เขาฟังรู้บ้างซิ สมเด็จฯ ที่วัดเลยตะโกนดังกว่าครั้งที่สองขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณา มหาพิจารณา อธิบายว่า การของโลกก็ดี การของชาติก็ดี การของศาสนาก็ดี กิจที่จะพึงกระทำต่างๆ ในโลกก็ดี กิจควรกระทำสำหรับข้างหน้าก็ดี กิจควรทำให้สิ้นธุระทั้งปัจจุบันละข้างหน้าก็ดี สำเร็จกิจเรียบร้อยดีงามได้ด้วยกิจพิจารณาเป็นชั้นๆ พิจารณาเป็นเปราะๆ เข้าไปตั้งแต่หยาบๆ และปูนกลางๆ และชั้นสูงชั้นละเอียด พิจารณาให้ประณีตละเมียดเข้าจนถึงที่สุดแห่งเรื่องถึงที่สุดแห่งอาการให้ถึงที่สุดแห่งกรณีให้ถึงที่สุดแห่งวิธีให้ถึงที่สุดแห่งประโยชน์ยืดยาวพิจารณาให้รอบคอบทั่วถึงแล้ว ทุกๆ คนคงจะรู้จักประโยชน์คุณเกื้อกูลตน ตลอดทั้งเมื่อนี้ เมื่อหน้าจะรู้ประโยชน์อย่างยิ่งได้ ก็ต้องอาศัยกิจพิจารณาเลือกเฟ้นคั้นหาของดีของจริงเด่นเห็นชัดปรากฏแก่คน ก็ด้วยการพิจารณาของคนนั่นเอง ถ้าคนใดสติน้อยถ่อยปัญญา พิจารณาเหตุผล เรื่องราวกิจการงาน ของโลก ของธรรม แต่พื้นๆ ก็รู้ได้พื้นๆ ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาเป็นอย่างกลางก็รู้เพียงชั้นกลาง ถ้าพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง ในข้อนั้นๆ อย่างสูงสุดไม่หลับหูหลับตา ไม่งมงายแล้ว อาจจะเห็นผลแก่ตน ประจักษ์แท้แก่ตนเอง ดังปริยายมา ทุกประการ จบที ฯ
· ครั้นจบแล้ว ท่านลงจากบัลลังก์ ก็ไม่มีนักปราชญ์ชาติอื่นๆ ภาษาอื่นๆ มีแขกแลฝรั่งเป็นต้น ก็ไม่อาจออกปากขัดคอคัดค้านถ้อยคำของท่านสักคน อัดอั้นตู้หมด สมเด็จเจ้าพระยาพยักหน้าให้หมู่นักปราชญ์ในชาติทั้งหลายที่มาประชุมคราวนั้นให้ขึ้นบัลลังก์ก็ต่างคนต่างแหยงไม่อาจนำออกแสดงแถลงในที่ประชุมได้ ถึงต่างคนต่างเตรียมเขียนมาก็จริง แต่คำของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ครอบไปหมด จะยักย้ายโวหารหรือจะอ้างเอาศาสดาของตนๆ มาแสดงในที่ประชุมเล่า เรื่องของตัวก็ชักจะเก้อ จะต่ำจะขึ้นเหนือความพิจารณาที่สมเด็จฯ ที่วัดระฆังกล่าวนั้นไม่ได้เลย ลงนั่งพยักหน้าเกี่ยงให้กันขึ้นบัลลังก์ก็ใครก็ไม่อาจขึ้น สมเด็จพระประสาทเองก็ซึมซาบ ได้ดี เห็นจริงตามปริยายของทางพิจารณา รู้ได้ตามชั้นตามภูมิ ตามกาล ตามบุคคลที่ยิ่งและหย่อน อ่อนและกล้า จะรู้ได้ก็ด้วยการพิจารณา ถ้าไม่พิจารณา ก็หาความรู้ไม่ได้เลย ถ้าพิจารณาต่ำ หรือน้อยวันพิจารณาก็มีความรู้น้อยห่างความรู้จริงของสมเด็จฯ ที่วัดทุกประการ วันนั้นก็เป็นอันเลิกประชุมปราชญ์ต่างคนต่างลากลับ ฯ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 05:57:43 pm »

ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ คือสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเถลิงราไชยสุริยสมบัติ เป็นบรมกษัตริย์ครอบครองสยามรัฐอาณาจักรในเดือน ๑๒ แรม ๑๒ ค่ำ วันพุธ ปีมะโรง ศกนั้น พึ่งเจริญพระชนม์มายุได้ ๑๕ ปี ๗ เดือน ๙ วัน ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านจุดเทียนเล่มใหญ่ เข้าไปในบ้านสมเด็จพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) คือสมเด็จพระประสาท ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เอาคัมภีร์หนีบรักแร้ ตาลปัตรทำหางเสือ จุดเทียนเล่มใหญ่เข้าไปที่บ้าน สมเด็จพระประสาทในเวลากลางวันแสกแสก เดินรอบบ้านสมเด็จพระประสาท (คลองสาร) สมเด็จพระประสาทอาราธนาขึ้นบนหอนั่งแล้วว่า โยมไม่สู้มืดนักดอกเจ้าคุณ อนึ่งโยมนี้มีใจแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคงเสมอ อนึ่งโยมทะนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรงโดยสุจริตคิดถึงชาติและศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนิตย์ ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ นิมนต์กลับได้ ฯ
· ครั้งหนึ่ง หม่อมชั้นเล็กตัวโปรดของสมเด็จพระปราสาทถึงอนิจกรรมลง สมเด็จพระประสาทรักหม่อมชั้นมาก ถึงกับโสกาไม่ค่อยห่าง จึงใช้ทนายให้ไปอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังให้ไปเทศน์ดับโศกให้ท่านฟัง ทนายก็ไปอาราธนาว่า พณฯ หัวเจ้าท่านให้อาราธนาพระเดชพระคุณ ไปแสดงธรรมแก้โศกให้ พณฯ ท่านฟังขอรับกระผมในวันนี้ เพลแล้วขอรับกระผม ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับว่าจ๊ะ เรื่องเทศน์แก้โศกนั้น ฉันยินดีเทศน์นักจ๊ะ ฉันจะไปจ๊ะ ครั้นถึงเวลาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ลงเรือกราบสี ไปถึงบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์นั่งที่บัญญัติพาสน์
· ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ออกรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ปฏิสันฐาน แล้วจุดเทียน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขึ้นธรรมมาสน์ ให้ศีลบอกศักราชแล้วถวายพร แล้วเริ่มนิกเขปบทเป็นทำนองเส้นเหล้าในกัณฑ์ชูชกว่า “ตะทากาลิงคะรัฏเฐ ทุนนะวิฏฐะพราหมณวาสี ชูชโกนามพราหมโณ ฯลฯ ตัสสอทาสิ” แปลความว่า “ตะทากาเล ในกาลเมื่อสมเด็จพระบรมสอหน่อชินวงศ์วิศณุเวทฯ ว่าความพระคลัง ที่สมเด็จพระประสาทแต่งขึ้นนั้น พอกล่าวถึงกำเนิดชูชกของท่านว่าผูกขึ้นใหม่ ขบขันคมสันมากกว่าความพระคลัง เพราะแหล่นอกแบบต้องขำอยู่เองและแลเห็นเป็นความจริงเสียด้วย คราวนี้สมเด็จพระประสาทก็ยิ้มแป้น พวกหม่อมๆ เหล่านั้น และคนผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้เด็ก ทนาย ข้าราชการ ฟังเป็นอันมาก ก็พากันยิ้มแป้นแป้นทุกคนพอถึงแหล่ขอทาน แหล่ทวงทอง แหล่พานาง คราวนี้ก็ถึงกับหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง ถึงกับเยี่ยวรดเยี่ยวราดก็มีบ้าง ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาเองก็หัวเราะถึงกับออกวาจาว่าสนุกดีจริง ขุนนางและทนายหน้าหอพนักงานเหล่านั้นลืมเกรงสมเด็จพระประสาท สมเด็จพระประสาทก็ลืมโศกถึงหม่อมเล็ก ตั้งกองหัวเราะกิ๊กก๊ากไปทั้งบ้าน เทศน์ไปถึงแหล่ยิง แหล่เชิญ แหล่นำทาง แหล่จบก็จบกัน ลงท้ายเหนื่อยไปตามกัน รุ่งขึ้นที่บ้านนั้นก็พูดลือกันแต่ชูชก สมเด็จเทศน์ ฝ่ายสมเด็จพระประสาทก็ลืมโศกชักคุยแต่เรื่องความชูชก ตรงนั้นผู้นั้นๆ แต่ง ไม่มีใครร้องไห้ถึงหม่อมเล็กมานาน ฯ
· ครั้นล่วงมาอีกปีหนึ่ง สมเด็จพระประสาท จัดการปลงศพหม่อมเล็กจึงใช้ให้ทนายไปนิมนต์สมเด็จฯ มาเทศนาอริยสัจหน้าศพ ทนายไปถึงสมเด็จฯ ที่วัดแล้วก็กราบเรียนว่า พณฯ ให้อาราธนาพระเดชพระคุณไปแสดงธรรมหน้าศพพรุ่งนี้ เพลแล้วขอรับกระผม ฯ
· ฝ่ายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านจึงถามว่า จะให้ฉันเทศน์เรื่องอะไรจ๋า ทนายลืมคำอริยสัจเสีย ไพล่ไปอวดดีเรียนท่านว่า ให้เทศน์เรื่อง ๑๒ นักษัตร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แจ้งชัดแล้วว่า เขาลืมแนะท่านก็ยิ้มแล้วรับว่า ๑๒ นักษัตรนั้นฉันเทศน์ดีนักจ๊ะ ไปเรียนท่านเถิดว่าฉันรับแล้วจ๊ะ ฯ
· ครั้นถึงวันกำหนดการตั้งศพหม่อมเล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ไปถึงบ้าน พณฯ ท่านขึ้นบนหอ พอสมเด็จเจ้าพระยาออกหน้าหอ ขุนนางเจ้านายที่เข้าฝากตัวแลจีนเถ้าแก่เจ๊สัว เจ้าเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายเหนือมาประชุมในงานนี้มาก สมเด็จพระประสาททายทักปราศรัยบรรดาผู้ที่มา แล้วเข้ากระทำอัญชลีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แล้ว ท่านกล่าวชักชวนบรรดาผู้ที่มานั้นให้ช่วยกันฟังเทศน์ แล้วสมเด็จพระประสาท จุดเทียนธรรมมาสน์เบิกธรรมะ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ให้ศีลบอกศักราชขอเจริญพรเสร็จแล้ว ท่านก็เทศน์เริ่มกล่าวนิกเขปคาถา บทต้นขึ้นว่า มูสิโก อุสโภ พยัคโฆ สะโส นาโค สัปโป อัสโส เอฬโก มักกุโฏ กุกกุโฎ สุนักโข สุกโร สังวัจฉโร ติวุจจเตติ ท่านแปลขึ้นทีเดียวว่า ชวด หนู ฉลู วัว ขาล เสือ เถาะ กระต่าย มะโรง งูใหญ่ มะเส็ง งูเล็ก มะเมีย ม้า มะแม แพะ วอก ลิง ระกา ไก่ จอ หมา กุน หมู นี่แหละเป็นชื่อของปี ๑๒ เป็นสัตว์ ๑๒ ชนิด โลกบัญญัติให้จำง่าย กำหนดง่าย ถ้าไม่เอาสัตว์ ๑๒ ชนิดมาขนานปี ก็จะไม่รู้ปีกี่รอบ ฯ
· ทีนี้สมเด็จเจ้าพระยา แลไปดูทนายผู้ไปนิมนต์ ขึงตาค้อนไปค้อนมา ทำท่าจะเฆี่ยนทนายผู้ไปนิมนต์ผิดคำสั่งของท่าน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ชี้แจงอยู่ด้วยเรื่อง ๑๒ สัตว์ง่วนอยู่ ท่านรู้ในกิริยาอาการของสมเด็จเจ้าพระยาว่าไม่พอใจทนายในการเปลี่ยนแปลงคำสั่งคำบัญชาการ ท่านจึงย้อนเกร็ดกล่าวคำทับ ๑๒ สัตว์ให้เป็นอริยสัจธรรมขึ้นว่า ผู้นิมนต์เขาดีมีความฉลาด สามารถจะทราบประโยชน์แห่งการฟังธรรม เขาจึงขยายธรรมออกให้กว้างขวาง เขาจึงนิมนต์รูปให้สำแดง ๑๒ นักษัตรซึ่งเป็นต้นทางพระอริยสัจจ์ พระอริยสัจจ์นี้ล้ำลึกสุขุมมาก ยากที่จะรู้แก่ผู้ฟังเผินๆ ถ้าจะฟังให้รู้ให้เข้าใจจริงๆ แล้ว ต้องรู้นามปีที่ตนเกิดให้แน่ใจก่อนว่าตนเกิดแต่ปีชวด ถึงปีชวด และถึงปีชวดอีก เป็น ๓ ชวด ๓ หนู รวมเป็นอายุที่ตนเกิดมานั้นคิดรวมได้ ๒๕ ปี เป็นวัยที่ ๑ เรียกว่า ปฐมวัย ในปฐมวัยต้นชั้นนี้ กำลังแข็งแรง ใจก็กล้าหาญ ความทะยานก็มาก ความอยากก็กล้า ถ้าเป็นลูกผู้ดีมีเงิน มีหน้าที่ประกอบกิจการงาน มีที่พึ่งพักอิงสถานที่อาศัย ถ้าเป็นลูกพลคนไพร่ไร้ทรัพย์กับไม่มีที่พึ่งพาอาศัยสนับสนุนค้ำจุน ซ้ำเป็นผู้มีสติปัญญาน้อย ด้อยอ่อนในการเรียนรู้ คราวนี้ก็ทำหน้าเศร้าสลดเสียใจ แค้นใจตัวเองบ้าง แค้นใจบิดามารดา หาว่าตั้งฐานะไว้ไม่ดีจึงพาเขาลำบาก ตกทุกข์ได้ยากต้องเป็นหนี้ เป็นข้าอายุเป็นยี่สิบห้าแล้วยังหาชิ้นดีอะไรไม่ได้ คราวนี้ชาติทุกข์ในพระอริยสัจจ์เกิดปรากฏแก่ผู้ได้ทุกข์เพราะชาติ ความเกิดคราวนี้ ยังมีอีกคนหนึ่งเกิดขึ้นในปีฉลูแล้วฉลูอีก แล้วถึงฉลูอีก รวม ๕ รอบ นับไปดูจึงรู้ว่า ๖0 ปี จึงรู้สึกตัวว่าแก่ ตกในปูนชรา ตาก็มัว หัวก็มึน หูก็ตึง เส้นเอ็นก็ขัด ท้องไส้ก็ฝืด ผะอืดผะอม ทีนี้ความตงิดว่าเรารู้ตงิด แก่ เราชราอายุถึงเท่านี้ๆ เป็นส่วนเข้าใจว่า ชราทุกข์ถึงเราเข้าแล้วจะกำหนดได้ก็เพราะรู้จักชื่อปีเกิด ถ้าไม่รู้ชื่อปีเกิดก็ไม่รู้ว่าตัวแก่เท่านั้นเอง เพราะใจอันเป็นอัพยากฤตจิต ไม่รู้แก่ ไม่รู้เกิด จะรู้ได้ก็ต้องตน กำหนดหมายไว้จึงรู้การ ที่จะกำหนดหมายเล่า ก็ต้องอาศัยจำปีเกิด เดือนเกิด วันเกิดของตนก่อน จึงจะกำหนดทุกข์ให้เข้าใจเป็นลำดับปีไป เหตุนี้จึงได้กล่าวว่า ๑๒ นักษัตร เป็นต้นทางของพระอริยสัจจ์ ถ้าไม่เดินต้นทางก่อน ก็จะเป็นผู้หลงทางไปไม่ถูกที่หมายเท่านั้น แล้วท่านจึงสำแดงพระอริยธรรม ๔ สัจจ์ โดยปริยายพิจิตรพิศดาร พระอริยสัจจ์ที่ท่านแสดงในครั้งนั้น มีผู้ได้จำนำลงพิมพ์แจกกันอ่านครั้งหนึ่งแล้ว ในประวัติเรื่องนี้จะไม่มีเทศน์ เพราะไม่ประสงค์จะสำแดงพระอริยสัจจ์ ประสงค์จะขียนแต่ประวัติข้อที่ว่าผู้นิมนต์ลืมคำสั่งสมเด็จเจ้าพระยา ไพร่ไปบอกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่าเทศนา ๑๒ นักษัตร ท่านจึงวิสัชชนาตามคำนิมนต์ ครั้นท่านเห็นไม่ชอบกล นายจะลงโทษบ่าว ฐานเปลี่ยนแปลงคำสั่งคำบัญชา ท่านจึงมีความกรุณาเทศน์ยกย่องคำผิดของบ่าวขึ้นให้เป็นความดี จึงเทศนาว่า ๑๒ นักษัตร ๑๒ ปีนี้ เป็นต้นทางของพระอริยสัจจ์ ควรบุคคลจะรู้ก่อนรวมความว่า ท่านเทศน์ทุกสัจจ์แล้ว เทศน์สมุทัย อริยสัจจ์ แล้วเทศน์มรรคอริยสัจจ์ จบลงแล้ว ใจสมเด็จเจ้าพระยาก็ผ่องแผ้ว ไม่โกรธทนายผู้นิมนต์พลาดทนายคนนั้นรอดไป ไม่ถูกด่า ไม่ถูกเฆี่ยน เป็นอันแล้วไป ฯ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 03, 2010, 05:55:46 pm »

สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไม่พอพระราชหฤทัย ไล่ลงธรรมมาสน์ ไป ไป ไป ไปให้พ้นพระราชอาณาจักร ไม่ให้อยู่ในดินแดนของฟ้า ไปให้พ้น พระเทพกระวีออกจากวังเข้าไปนอนในโบสถ์วัดระฆังออกไม่ได้นาน ใช้บิณฑบาตบนโบสถ์ ลงดินไม่ได้เกรงผิดพระบรมราชโองการ ครั้งถึงคราวถวายพระกฐิน เสด็จมาพบเข้ารับสั่งว่า อ้าวไล่แล้วไม่ให้อยู่ในราชอาณาจักรสยาม ทำไมยังขีนอยู่อีกละ ขอถวายพระพร อาตมาภาพไม่ได้อยู่ในพระราชอาณาจักร อาตมาภาพอาศัยอยู่ในพุทธจักร ตั้งแต่วันมีพระราชโองการ อาตมาภาพไม่ได้ลงดินของมหาบพิตรเลย ก็กินข้าวที่ไหน ไปถานที่ไหน ขอถวายพระพร บิณฑบาตบนโบสถ์นี้ฉัน ถานในกระโถน เทวดาคนนำไปลอยน้ำ รับสั่งว่า โบสถ์นี้ไม่ใช่อาณาจักรสยามหรือ ถวายพระพรว่า โบสถ์เป็นวิสุงคาม เป็นส่วนหนึ่งจากพระราชอาณาจักร กษัตริย์ไม่มีอำนาจขับไล่ได้ ขอถวายพระพร ลงท้าย ขอโทษๆ แล้วทรงถวายกฐิน ครั้นเสร็จการกฐินแล้ว รับสั่งว่าอยู่ในพระราชอาณาจักรสยามได้ แต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ


(เหตุนี้แหละทำให้พระเทพกระวี คิดถวายอติเรก ทั้งเป็นคราวหมดรุ่นพระผู้ใหญ่ด้วย)


· ครั้นเป็นสมเด็นพระพุฒาจารย์แล้ว ท่านก็ยิ่งเป็นตลกมากขึ้น คอยไหวพริบในราชการแจจัดขึ้น ยิ่งกว่าเป็นพระเทพกระวี ดูเหมือนคอยแนะนำเป็นปโรหิตทางอ้อมๆ ฯ
· ครั้งหนึ่งไปสวดมนต์ที่วังกรมเทวาฯ วังเหนือวัดระฆัง พอพายเรือไปถึงท้ายวังเกิดพายุใหญ่ ฝนตกห่าใหญ่เม็ดฝนโตโต คลื่นก็จัดละลอกก็จัด สมเด็จพระพุฒาจารย์เอาโอต้นเถามาใบหนึ่ง แล้วจุดเทียนติดปากโอแล้วลอยลงไป บอกพระให้คอยดูด้วยว่าเทียนจะดับเมื่อใด พระธรรรมถาวรเล่าว่าเวลานั้นท่านเป็นที่พระครูสังฆวิชัยได้เป็นผู้ตั้งตาคอยตามดู แลเห็นเป็นแต่โอโคลงไปโคลงมา เทียนก็ติดลุกแวบวาบไปจนสุดสายตาเลยหน้าวัดระฆังก็ยังไม่ดับ ฯ
· และท่านเข้าบ้านแขกบ้านจีน ส่วนใหญ่ๆ เดินได้สบายไม่ต้องเกรงสุนัขที่เขาเลี้ยงนอนขวางทาง ท่านต้องก้มให้สุนัขแล้วยกมือขอทางเจ้าสุนัขว่า ขอดิฉันไปสักทีเถิดจ๊ะแล้วก้มหลีกไป ไม่ข้ามสุนัข จะดุเท่าดุอย่างไร จะเป็นสุนัขฝรั่ง หรือสุนัขไหหลำ ก็ไม่แห้ไม่เห่าท่าน นอนดูท่านทำแต่ตาปริบๆ มองๆ เท่านั้น โดยสุนัขจูที่ปากเปรอะๆ ก็ไม่เห่าไม่ห้ามท่าน ฯ
· ครั้งหนึ่งสมโภชพระราชวังบนเขามไหสวรรค์ เมืองเพชรบุรี สังฆการีวางฎีกาท่านไปเรือญวณ ๔ แจว ออกทางปากน้ำบ้านแหลม เวลานั้นทะเลเป็นบ้าคลื่นลมจัดมากชาวบ้านในอ่าวบ้านแหลมช่วยกันร้องห้ามว่า เจ้าประคุณอย่าออกไปจะล่มตาย ท่านตอบว่าไปจ๊ะ ไปจ๊ะ ท่านออกยืนหน้าเก๋งเอาพัชนีใบตาลโบกแหวกลมหน้าเรือ ลูกคลื่นโตกว่าเรือท่านมากบังเรือมิดแต่ทางหน้าเรือคลื่นไม่มี ลมก็แหวกทางเท่ากับแจวในลำท้องร่องน้ำเรียบ แต่น้ำข้างๆ กระเซ็นบ้าง เพราะคลื่นข้างเรือทั้งสองโตเป็นตลิ่งทีเดียว พระธรรมถาวรเล่าว่า เวลานั้นท่านเป็นพระครูปลัดไปกับท่านด้วย ได้เห็นน่าอัศจรรย์ใจท่านหายๆ ดูไม่รู้ว่าจะคิดเกาะเกี่ยวอะไร สมเด็จพระพุฒาจารย์ท่านยืนโบกพัดเฉย คนก็แจวเฉยเป็นปกติจนเข้าปากน้ำเมืองเพชร ท่านจึงเข้าเก๋งเอนกายชาวปากอ่าวเมืองเพชรเกรงบารมีสมเด็จท่านมาก ยกมือท่วมๆ หัว สรรเสริญคุณสมบัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตลอดจนเจ้าคุณนางที่ตามเสด็จคราวนั้นว่าเจ้าพระคุณสำคัญมาก แจวฝ่าคลื่นลมกลางทะเลมาได้ ตลอดปลอดโปร่งปราศจากอุทอันตราย ฯ
· สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่างราชการและว่างเทศนา ท่านก็อุตส่าห์ให้คนโขลกปูนเพชรผสมผงและเผาลาน โขลกกระดาษข่าวเขียนยันต์อาคมต่างๆ โขลกปนกันไป จัดสร้างเป็นพระพิมพ์ผง ฯ
· ในปีฉลู สัปตศก ๑๒๒๗ ปีนั้นเอง สมเด็จพระปวเรนทราเมศร์มหิศเรศร์รังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบวรราชวัง (วังหน้า) เสด็จสวรรคต ในพระที่นั่งอิศเรศร์ ณ วัน...เดือนยี่ เป็นปีที่ ๑๕ ในรัชกาลที่ ๔ เถลิงราชย์ ได้อุปราชาภิเศก ๑๔ ปี กับ ๓ เดือน พระชนม์ ๕๗ กับ ๔ เดือน ประกอบโกศตั้งบนพระเบญจา ในพระที่นั่งอิศเรศร์ฯ นั้น ฯ
· สมเด็จพระจอมเกล้าฯ เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในพระบวรศพ แต่พอเสด็จถึงพระทวารพระที่นั่งนั้น พวกพระสวดพระอภิธรรม ๘ รูป ท่านตกใจเกรงพระบรมเดชานุภาพ ท่านลุกวิ่งหนีเข้าแอบในพระวิสูตร (ม่าน) ที่กั้นพระโกศ ทรงทราบแล้วกริ้วใหญ่ แนวๆ ว่าดูซิ ดูซิ ดูถูกข้า มาเห็นข้าเป็นเสือ เป็นยักษ์ เอาไว้ไม่ได้ต้องให้มันสึกให้หมด รับสั่งแล้วทรงพระอักษรถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ส่งให้พระธรรมเสนา (เนียม) นำลายพระราชหัตถเลขามาถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับจากสังฆการีมาอ่านดูแล้ว ท่านก็จุดธูป ๓ ดอก แล้วจี้ที่กระดาษที่ว่างๆ ลายพระหัตถ์นั้น ๓ รูป แล้วส่งให้พระธรรมเสนานำมาถวายคืนในเวลานั้น ฯ
· ครั้นพระธรรมเสนาทูลเกล้าถวาย ทรงทอดพระเนตรเห็นรูกระดาษไหม้ไม่ลามถึงตัวหนังสือ ก็ทรงทราบธรรมปฤษณา จึงรับสั่งว่า อ้อ ท่านให้เราดับราคะ โทษะ โมหะ อันเป็นไฟ ๓ กอง งดที งดที เอาเถอะๆ ถวายท่าน พระธรรมเสนาไปเอาตัวพระสวดมานั่งประจำที่ให้หมด แล้วทรงแนะนำสั่งสอนระเบียบจรรยาในหน้าพระที่นั่งให้พระรู้ระเบียบรับเสด็จแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ฯ
· ครั้งหนึ่งถึงเดือน ๑๑-๑๒ ลอยกระทงหลวง เสด็จลงประทับบนพระที่นั่งชลังคะพิมาน (ตำหนักแพ) พร้อมด้วยฝ่ายในเป็นอันมาก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แจวเรือข้ามฟากฝ่าริ้วเข้ามา เจ้ากรมเรือดั้งจับเรือแหกทุ่น รับสั่งถามว่าเรือใคร เจ้ากรมกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า เรือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับสั่งว่าเอาเข้ามานี่ ครั้นเจ้ากรมเรือดั้งนำเรือสมเด็จฯ เข้าไปถวาย นิมนต์ให้นั่งแล้วรับสั่งว่าไปไหน ทูลขอถวายพระพรตั้งใจมาเฝ้า ทำไมเป็นถึงสมเด็จเจ้าแล้ว เหตุใดต้องแจวเรือเอง เสียเกียรติยศแผ่นดิน ทูลขอถวายพระพรอาตมาภาพทราบว่าเจ้าชีวิตเสวยน้ำเหล้า สมเด็จเจ้าก็ต้องแจวเรือ อ้อ จริง จริง การกินเหล้าเป็นโทษ เป็นมูลเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติยศแผ่นดินใหญ่โตทีเดียว ตั้งแต่วันนี้ไปโยมจะถวายพระคุณเจ้า จักไม่กินเหล้าอีกแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์เลยถวายยถาสัพพี ถวายอติเรก ถวายพระพรลา รับสั่งให้ฝีพายเรือดั้งไปส่งถึงวัดระฆัง ฯ
· เรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) กระทำและเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามที่มีผู้เล่าบอกออกความให้ฟังนั้นหลายร้อยเรื่องได้เลือกดัดจดลงแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านผู้ฟัง จะเป็นหิตานุหิตสาระประโยชน์แก่บุคคลชั้นหลังๆ ที่นับถือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และจะได้ประกอบเกียรติคุณของท่านไว้ให้เป็นที่ระลึกของคนชั้นหลังๆ จะยกขึ้นเล่าให้เป็นเรื่องหลักฐานบ้าง พอเป็นความดำริตามภูมิรู้ ภูมิเรียน ภูมิปัญญาของสุตวาชน สุตะภามะชน ธัมมฑังสิกชน เพื่อผู้แสดงความรู้ ใครเป็นพหูสูตรออกความเห็นเทียบเคียงคัดขึ้น เจรจาโต้ตอบกัน บุคคลที่ใคร่แสดงตนว่าช่างพูด ถ้าหากว่าอ่านหนังสือน้อยเรื่อง หรืออ่านแล้วไม่จำ หรือจำแล้วไม่ตริตรองตาม หรือตริตรองแล้วแต่ไม่มีวิจารณ์ วิจารณ์มีบ้างแต่ไม่มีญาณ เครื่องรู้ผุดขึ้น ก็เป็นพหูสูตรไม่ได้เพราะขาดไร้เครื่องรู้ไม่ดูตำรา เหตุนี้ท่านจึงยกย่องบำรุงตำราไว้มาก สำหรับเป็นเครื่องรู้ เครื่องเห็น เครื่องเทียบ เครื่องทาน เครื่องเรียนต่างๆ ไว้เป็นปริยัติศาสนา แต่เรื่องของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) องค์นี้ไม่มีกวีใดจะเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราวเลย เป็นแต่เล่าสู่กันฟังพอหัวเราะแก้รำคาญ คนละคำสองคำ แต่ไม่ใคร่ตลอดเรื่องสักคนเดียว ข้าพเจ้าจึงอุตริอุตส่าห์สืบสาวราวเรื่องของท่านรวบรวมไว้ แล้วนั่งเรียงเป็นตัวร่างเสียคราวหนึ่ง ตรวจสอบอ่านทวนไปมาก็อีกคราวหนึ่ง อ่านทานแล้วขึ้นตัวหมึกนึกรวบรัดเรื่องราวของท่านไว้อีกคราวหนี่งกินเวลาช้านานราวๆ ๒ เดือน ยังจะต้องเสนอเรื่องนี้ต่อเจ้านายใหญ่ๆ ให้ทรงตรวจอีกก็หลายวัน จะต้องขออนุญาตสมุห์กรมพระนครบาลอีกก็หลายวัน ต้องพิมพ์จ้างอีกก็หลายสิบบาท หลายเวลาด้วย ฯ
· จะขอรวบรัดตัดความเบ็ดเตล็ดของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ออกเสียบ้าง จะบรรยายเรียบเรียงไว้แต่ข้อที่ควรอ่าน ควรฟัง ควรดำริ เป็นคติปัญญาบ้าง แห่งละอันพันละน้อยต่อข้อความหลัง ครั้งในแผ่นดินสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ นั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านได้ประพฤติคุณงามความดี ดำรงตะบะเดชะชื่อเสียงกระเดื่องเฟื่องฟุ้งมาในราชสำนักก็หลายประการ ในสงฆ์สำนักก็หลายประการจนท่านมีคนนับถือลือชาปรากฏ ตลอดสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓0 เวลายาม ๑ กับ ๑ บาท สิริพระชนม์ ๖๔ เสวยราชสมบัติได้ ๑๗ ปี กับ ๖ เดือน ๑๕ วัน อายุสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้ ๘๑ ปี รับตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์มาได้ ๔ ปี สิ้นรัชกาลที่ ๔ นี้ ฯ