ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2015, 04:40:51 pm »



"ดูกรอานนท์ ธรรมและวินัยที่ ตถาคต บัญญัติไว้ดีแล้ว
จักเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"

.................................................................
//-เมื่อพระพุทธเจ้า ออกบรรพชา ทรงเลือก การใช้ชีวิต
แบบนักบวชที่เรียกว่า "ภิกขุ"
//-เมื่อพระองค์ตรัสรู้ สอนวิธี ดับทุกข์อันเกิดจากอุปาทานในตัณหา
ด้วยหลัก อริยสัจสี่ โอวาทปาฏิโมกข์(ความจริงอันประเสริฐ ทางสว่างของชีวิต)
มีคนบวชตาม มากขึ้น

จึงมีการกำหนด หน้าที่ บทบาท นักบวชนี้
เพราะต้องทำหน้าที่ เป็น"ครู" และรับทักษิณาทาน
(นำสิ่งที่ได้รับไปหมุนเวียน ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม)
หิตายะ สุขายะ ให้ผู้อื่นเป็นสุข เราและ สังคมก็เป็นสุขด้วย
ให้มีกฎ กติกา มายาท ที่มีหลัก โปร่งใส

//-ศีล หรือวินัย(วิ คือแจ่มแจ้ง สว่าง นัย นิสัย)
และวางลำดับความสำคัญ
1.ถ้าผิดแล้ว ขาดจากความเป็นสงฆ์ทันทีคือ
-ลักทรัพย์
-ฆ่าคน
-เสพเมถุน
-อวดอุตริมนุษย์ธรรม

2.ผิดแล้ว ต้องปลีกวิเวก(ในป่าช้า) สำนึกผิด เช่นยังหมกมุ่นในกาม
3.ผิดแล้ว ไม่ปกปิด แจ้งให้หมู่สงฆ์ทราบ สัญญาว่าจะไม่ทำผิดซ้ำ(ปลงอาบัติ)
4.เป็นกริยามารยาท ที่เหมาะสมของนักบวช
เช่น การเดิน กิน นอน ขับถ่ายของเสีย ไม่เล่นคะนอง แกล้งคน

4.หลักของการ ร้องเรียน ปัญหาหมู่สงฆ์
เดิมยุคพุทธกาลมี150ข้อ
มาถึงลังกา มีการเพิ่ม ตามเหตุปัจจัย
เพราะพุทธองค์ตรัสก่อน ปรินิพพานว่า
"ให้พระธรรมและวินัย ที่เราบัญญํติดีแล้ว เป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย"
"ถ้าสงฆ์เห็นสมควร เพิกถอนสิกขา เล็กน้อย ก็ทำได้"


.....................................
//-หลักที่หนึ่ง
"ความอดทนฝึกฝนตนเอง....................เป็นยอดตะบะ
พุทธะ มีนิพพาน.................................เป็นเป้าหมาย
บรรพชิต คือผู้หมด เจตนา....................ทำร้ายทำลายใคร
สมณะ ทั้งหลาย...................................มุ่งหมายสันติธรรม(เห็นคุณค่าความสงบ)ฯ

//-หลักที่สอง
ตัดทาง..............................................ไม่ไปสู่อบาย
ทำความฉลาดดีทั้งหลาย......................ให้ปรากฎ
ชำระเหตุ อุปทานทุกข์ ใจวิสุทธิ์.............ไม่ละลด
ทั้งหมดคือ คำสั่ง สอน...........................พระศาสดาฯ

//-หลักที่สาม
การไม่กล่าวร้าย ....................................ไม่ทำร้าย ใครๆ
ใส่ใจในทางสว่าง สติปัญญา.....................เสมอนั่น
ไม่เป็นทาสบริโภคนิยม............................จนหมดพลังชีวาในชีวิตกัน
ฝึกสงบ สงัดจิต ยกระดับภูมิจิต ภูมิธรรม.....ให้ยิ่งนั้น ประเสริฐเอยฯ

....................................
//-หลักที่หนึ่งเน้น ภาระหน้าที่ของ"นักบวช"
หลักสอง สำหรับทุกชีวิต ถ้าอยากชนะ ความทุกข์
หลักสาม เป็นธรรมบาลคุ้มครองตนและสังคม

.................................
//-อย่ารู้ไปจับผิดคนอื่นนะ
เอาไว้ดูใจตนเอง จะเป็นประโยชน์กว่า อิๆ
บาย

Hug birds save earth G+
https://plus.google.com/+Lomluang222/posts/93cGhdM26ZA

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 27, 2012, 11:58:05 pm »


พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน อัปโหลดโดย hiphoplanla เมื่อ 22 ธ.ค. 2011
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน
เรียบเรียงโดย อ.วศิน อินทสระ


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง มหาปรินิพพานสูตร
: http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 11:01:41 am »

 :07: :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 05:35:35 am »

             

51.เป้าหมาย ของการประพฤติพรหมจรรย์ ของพุทธองค์
-ไม่เป็นไปเพื่อปรับวาทะ กับลัทธิอื่น
-ไม่เป็นไปเพื่อหลอกลวง
-ไม่เป็นไปเพื่อ ชื่อเสียง
-ไม่เป็นไปเพื่อ ลาภสักการะ
-ไม่เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งศีล
-ไม่เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งสมาธิ
-ไม่เป็นไปเพื่อ อนิสงค์แห่งปัญญา
เป็นไปเพื่อ สังวร สำรวม และประหาร
เพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์ ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น
(และเอื้อเฟื้อ ต่อสามโลก)

52.โลกุตระธรรม นั้น บัณฑิต พึงรู้ได้เฉพาะตน
เพราะละเอียด ลึกซึ้ง ประณีต เกินวิสัยสัตว์ ผู้หยาบ จะรู้ตาม
53.ตถาคต เป็นเพียงผู้ชี้ทาง ธรรมที่เจริญดีแล้ว เป็นที่พึ่งอันหาได้ยากยิ่ง
54.ร่างกาย อันโสโครก ไม่จีรัง เป็นที่พอใจของผู้ไร้ปัญญา
55.ร่างกาย ดุจป่าช้าของสรรพสัตว์ แต่เป็นเรือ ที่นำเราข้ามฝั่งนิพพานได้
(พึงปล่อยวาง แต่ไม่ใช่ปล่อยตัว ไม่ดูแล ให้มีสุขภาพดี อิๆ)

56.ร่างกาย คือโลงศพ ที่มีชีวิต
57.มรรคแปด คือทางสู่อมฤตธรรม(ธรรมที่ชีวิตมีชีวา พ้นเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง)
58.ตราบเท่าที่ เจริญธรรมในมรรคแปดโดยชอบ โลกย่อมไม่ว่างจาก พระอรหันต์(ผู้ไกลจากกิเลส)
59.ผู้อยู่ใกล้พระนิพพาน
คือผู้ เคารพในพระรัตนตรัย
มีความเพียรเผา กิเลส
เคารพในไตรสิกขา
เคารพในปฏิสันฐานธรรม
เคารพในสหายในธรรม
ย่อมไม่ห่างจากพระนิพพาน


“ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน” ผลงานของ มาโนชญ์ เพ็งทอง

60.ธรรมที่ให้ความเจริญแต่ฝ่ายเดียว
-ประชุมกันเสมอ
-มีความพร้อมเพรียง
-ไม่ละเมิดสิกขา ที่บัญญัติไว้ดีแล้ว
-เคารพ ผู้ อวุโส
-ไม่ตกอยู่ในอำนาจตัณหา
-ยินดีใน ความสงบ สงัด สันโดษ
-ยินดีในปิยะมิตร กัลยาณธรรม
ย่อมเป็นทางแห่งความเจริญทางโลกและธรรม

61.ธรรม ของผู้ไม่ประมาท
-ไม่หมกมุ่นกับ กิจการงาน มากเกินไป
-ไม่ คุย สนทนา ในเรื่องที่ทำให้ฟุ้งซ่าน
-ไม่เกียจคร้าน เอาแต่นอน
-ไม่มัวคลุกคลี ด้วยหมู่คณะ
-ไม่มี ความปรารถนาลามก
-ไม่ตกอยู่ในอำนาจ ความชั่ว
-ไม่คบคนพาล
-ไม่หยุดความเพียรฝึกตน
-ทบทวน ชีวิต และปรับสู่เส้นทางแห่งมรรค เสมอ

62.วาจาสุภาษิต ย่อมมีประโยชน์ เมื่อนำไปปฏิบัติ
.................................

"ปัจฉิมวาจา"
"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อม เป็นธรรมดา
เธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์
ให้ถึงพร้อม ด้วย ความไม่ประมาทเทอญฯ"
ประโยชน์ตน คือ....ฝึกฝนตนเองให้พ้นเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ด้วยการทำอาสวะให้สิ้น
ประโยชน์ท่าน........คือมีจิตเอื้อเฟื้อ เมตตากรุณา ทักษิณาทาน ต่อตนและโลกเสมอกัน
หรือ มี โลกุตระจิต กับโพธิ์จิต เจริญไปด้วยกัน
..............................
สาธุ สาธุ สาธุ
โดย : 62 พุทธโอวาท ก่อนปรินิพพาน ปู่ลิงถอดความ
                                           


                                                 

                                 Credit by :http://www.212cafe.com/boardvip/view.php?user=cm99&id=2004
                                 ขอบคุณลิ้งค์ที่มาจาก.. น้องโมเม



พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน ตอนที่ 10
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความรักเป็นความร้าย ความรักเป็นสิ่งทารุณ และเป็นเครื่องทำลายความสุขของปวงชน ทุกคนต้องการความสมหวังในชีวิตรัก แต่ความรักไม่เคยให้ความสมหวังแก่ใครถึงครึ่งหนึ่ง แห่งความต้องการ ยิ่งความรักที่ฉาบทาด้วยความเสน่หาด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพิษแก่จิตใจทำให้ทุรนทุรายดิ้นรนไม่รู้จักจบสิ้น ความสุขที่เกิดจากความรักนั้น เหมือนความสบายของคนป่วยที่ได้กินของแสลง เธอทั้งหลายอย่าพอใจในความรักเลย เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวัง ความผิดหวังก็จะรอเราอยู่"



"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อย่าหวังอะไรให้มากนัก
จงมองดูชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า
ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่นซึ่งก่อตัวขึ้นแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง
และแตกกระจายเป็นฟองฝอย
จงยืนมองดูชีวิตเหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่ง
มองดูเกลียวในมหาสมุทรฉะนั้น"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! มนุษย์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาเป็นฝ้าบังปัญญาจักษุนั้น เป็นเสมือนทารกน้อย ผู้หลงเข้าไปในป่าใหญ่อันรกทึบ ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายน่าหวาดเสียว และว้าเหว่เงียบเหงา มนุษย์ส่วนใหญ่แม้จะร่าเริงแจ่มใสอยู่ในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง แต่ใครเล่าจะทราบว่า ภายในส่วนลึกแห่งหัวใจ เขาจะว้าเหว่และเงียบเหงาสักปานใด ถ้าทุกคนซึ่งกำลังว้าเหว่ไม่แน่ใจว่าจะยึดเอาอะไรเป็นหลักที่แน่นอนของชีวิต"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเขาจะอยู่ในเพศใดภาวะใด การกระทำที่นึกขึ้นภายหลังแล้วต้องเสียใจนั้นควรเว้นเสีย เพราะฉะนั้น แม้จะประสบความทุกข์ยากลำบากสักปานใด ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม มนุษย์ที่ยังมีอาสวะอยู่ในใจนั้นย่อมจะมีวันพลั้งเผลอประพฤติผิดธรรมไปบ้าง เพราะยังมีสติไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อได้สติภายหลังแล้ว ก็ต้องตั้งใจประพฤติธรรมสั่งสมความดีกันใหม่ ยิ่งพวกเรานักบวชด้วยแล้วจำเป็นต้องมีอุดมคติ การตายด้วยอุดมคตินั้นมีค่ากว่าการเป็นอยู่โดยไร้อุดมคติ"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมดาว่าไม้จันทน์ แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สงครามก็ไม่ทิ้งลีลา อ้อยแม้เข้าสู่หีบยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายได้สละเพศฆราวาสมาแล้วซึ่งเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ยากที่ใครๆ จะสละได้ ขอให้เธอเสียสละต่อไปเถิด และสละให้ลึกกว่านั้นคือไม่สละแต่เพียงเพศอย่างเดียว แต่จงสละความรู้สึกอันจะเป็นข้าศึกต่อเพศเสียด้วย เธอเคยฟังสุภาษิตอันกินใจยิ่งมาแล้วมิใช่หรือ บุคคลร้อยคนหาคนกล้าได้หนึ่งคน บุคคลพันคนหาคนเป็นบัณฑิตได้หนึ่งคน บุคคลแสนคนหาคนพูดความจริงได้เพียงหนึ่งคน ส่วนคนที่เสียสละได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นไม่ทราบว่าจะมีหรือไม่ คือไม่ทราบว่าจะหาในบุคคลจำนวนเท่าไร จึงจะพบได้หนึ่งคน"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทองหรือของที่บุคคลหวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมทั้งทาส กรรมกร คนใช้และที่อยู่อาศัย สิ่งอื่นๆ ทั้งหมดนี้บุคคลนำไปไม่ได้ ต้องทอดทิ้งไว้หมด แต่สิ่งที่บุคคลทำด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ นั่นแหละที่จะเป็นของเขา เป็นสิ่งที่เขาต้องนำไปเหมือนเงาตามตัว เพราะฉะนั้นผู้ฉลาดพึงสั่งสมกัลยาณกรรม อันจะนำติดตัวไปสู่สัมปรายภพได้ บุญย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า"

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อไฟไหม้บ้านภาชนะเครื่องใช้อันใดที่เจ้าของนำออกไปได้ ของนั้นก็เป็นประโยชน์แก่เจ้าของ ที่นำออกไม่ได้ก็ถูกไฟไหม้วอดวายอยู่ ณ ที่นั้นเองฉันใด คนในโลกนี้ถูกไฟคือความแก่ ความตายไหม้อยู่ก็ฉันนั้น คนผู้ฉลาดย่อมนำของออกด้วยการให้ทาน ของที่บุคคลให้แล้วชื่อว่านำออก ดีแล้ว มีความสุขเป็นผล ส่วนของที่ยังไม่ได้ให้หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่โจรอาจขโมยเสียบ้าง ไฟอาจจะไหม้เสียบ้าง อีกอย่างหนึ่งเมื่อความตายมาถึงเข้า บุคคลย่อมสละทรัพย์สมบัติและแม้สรีระของตนไว้ นำไปไม่ได้เลย ผู้มีปัญญารู้ความจริงข้อนี้แล้ว พึงบริโภคใช้สอย พึงให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นเพื่อได้ให้บริโภคตามสมควรแล้วเป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ"
-http://dhamma.vayoclub.com/index.php/topic,444.0/nowap.html

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าหวังอะไรให้มากนัก
จงมองชีวิตอย่างผู้ช่ำชอง อย่าวิตกกังวลอะไรล่วงหน้า
ชีวิตนี้เหมือนเกลียวคลื่น ซึ่งก่อตัวแล้วม้วนเข้าหาฝั่ง
และแตกกระจายเป็นฟองฝอย
จงยืนมองดูชีวิต เหมือนคนผู้ยืนอยู่บนฝั่ง
มองดูเกลียวคลื่นในมหาสมุทร ฉะนั้น

...อ.วศิน อินทสระ
"พระอานนท์พุทธอนุชา"

- http://www.dharma-gateway.com/ubasok/wasin/wasin-062-02.htm
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2011, 05:32:15 am »

                     

31.ขันติโสวจัสสตา เป็นความงาม ของอริยะ
อดทน ต่อคนยก...............ไม่ลอย
อดทนต่อคนเหยียบ...........ไม่พอง
อดทนต่อ วาทะผู้เสมอกัน....ด้วยเมตตาจิต
ย่อม ดับไฟแห่งวิวาท เปิดประตูแห่งสันติธรรมให้เกิดขึ้น
จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้งดงาม ในจริยาวัตร ท่ามกลางหมู่มนุษย์

32.กรรมที่ทำแล้วเดือดร้อนภายหลัง ต้องเว้น
คฤหัสถ์.......................ไม่ขยัน ในกิจควรทำ หนึ่ง
ราชะ........................ บ่รอบคอบ ก่อนตัดสิน หนึ่ง
บรรพชิต.....................ไม่สำรวม หนึ่ง
อ้างเป็นบัณฑิต..............แต่เป็นทาสโทสะ หนึ่ง
เป็นธรรม ที่ให้โทษฯ

33.ผู้ชนะมาร
ทรงเล่า ประวัติพระองค์
ออกจากโลกียะ สมบัติ
ฝึกฝน จิตให้ยิ่ง
ทิ้งอาสวะ ทั้งหลายได้แล้ว
ไม่อยู่ในอำนาจของ
ศุภะ อรดี ตัณหา ราคะ อภิสังขาร
ความทยานอยาก อันเนื่องด้วยอุปทานในตัณหา
จึงได้ชื่อว่า"ชนะมาร"

34.เจ้ามา มือเปล่า แล้วเจ้าจะเอาอะไร?
เมื่อเจ้ามามีอะไรมาด้วยเจ้า
เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เมื่อเจ้ามามือเปล่าไม่มีอะไร
เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา
......โอวาทของ สมเด็จพระพุฒจารย์โต พรหมรังสี
...........................................

ทุกอย่าง เรายืม ธรรมชาติมาใช้
หากใช้สร้าง กุศล วาสนา และ ดับเพลิงกิเลส ทุกข์ ด้วยตนเอง
ชีวิตที่เหลืออยู่ คือ กำไรชีวิต ที่แท้จริง
...........................................



35.ชีวิตต้องพลัดพราก เป็นธรรมดา
เมื่อพลัดพราก สูญเสีย................ฤาเสียใจ
เมื่อพบความ อยุติธรรม................ยังใจมั่นคงได้
เมื่อตกระหกเหิน........................ยังมั่นคงใน
เมื่อเจ็บป่วยไข้ เจียนตาย..............ยังเบิกบาน จิตสว่างใน
เมื่อมีสิทธิอำนาจ........................ไม่หลง เหลิง ให้โทษ คุณ
เลิกสร้างเพลิง กิเลส เพลิงทุกข์......เผา แล้วหนอ
การเกิดครั้งนี้............................พบคำว่า "พอ"
ทุกข้อนั้น..................................ต้องฝึก จึงพ้นเอยฯ

36.ราคะ เป็นยาพิษ สำหรับสมณะ
นักบวช มีภัยสี่คือ
สตรี ที่อุดมด้วยกามคุณ
สตางค์ อดิเรกลาภ ที่ไม่เอาไปปริวัตร เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก
เสือ หลงในสิทธิ อำนาจ ไม่ทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ
ขาดสติ ไม่ฝึกฝนตน ในโพธิปักขิยะธรรม จนจิตอ่อนแอ ขาดปัญญา

37.ชีวิตอยู่กับ การเปลี่ยนแปลง ทุกขณะจิต
ดุจเกลียวคลื่น ที่ม้วนตัวซบฝั่ง ไม่ยั่งยืน

38.อวิชชา บังวิสัยทัศน์ของปัญญา
ชีวิต จึงเหมือน คนหลงป่า
หน้าชื่น อกตรม

39.มีธรรมเป็นที่พึ่ง
เจริญสัมมาสติ ให้ยิ่ง
เป็นอุดมคติของชีวิต

40.บัณฑิต แม้นประสบทุกข์ ย่อมไม่ทิ้งธรรม
41.บุคคลหายากยิ่ง คือผู้ทิ้งข้าศึก ของพรหมจรรย์
42.กัลยาณธรรม คือที่พึ่งของชีวิตที่ดี ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
43.สุขจาก จิตเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน ขณะมีชีวิต มีคุณค่าที่แท้จริง
44.ผู้ให้ ย่อมเป็นสุข

45.ทุกสิ่ง เป็นเพียง สิ่งที่ยืมมา ไม่ใช่ตัวตู ของตูที่แท้จริง
46.โภคทรัพย์ของคนดี ย่อมมีประโยชน์แก่คนหมู่มาก
47.ผู้มีจาคะธรรม จิตย่อมสะอาดเสมอ เช่นแม่น้ำที่ไหลอยู่
48.ผู้ไม่จาคะ เหมือนน้ำเน่าขังอยู่
49.ทานที่มีอนิสงค์ มาก
คิด ให้ ให้แล้ว จิตผ่องใส ทั้งผู้ให้ผู้รับ ปลอด ราคะ โทสะ โมหะ

50.ผู้เจริญกุศล ย่อม เปี่ยมด้วย กุศล
กุศลคือ ความฉลาด ทางโลกและทางธรรม
"ฉลาด รู้ถ้วนทั่ว........ทำดี
ฉลาด รู้วิธี ราวี...........กำหราบชั่ว
ฉลาด รู้ วิธีพัฒนา.......ศักยภาพ ของตัว
ฉลาด รู้ วิธีพาจิต........พ้นความพันพัว สู่วิมุติธรรมฯ



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 06:37:47 am »


                         
                 Nirvana of the Buddha 

18.-สรุปความเกิด อุปาทานในตัณหา เป็นทุกข์ในโลก
-เกิดแก่เจ็บตาย เป็นทุกข์
-ดินฟ้าอากาศแปรปรวน เป็นทุกข์
-ความหิว โรคภัยไข้เจ็บ เป็นทุกข์
-ดิ้นรนเอาตัวรอด ทำมาหากิน เป็นทุกข์
-สวมหัวโขน มีตำแหน่งหน้าที่ อยากเป็นหนึ่งในสังคม ก็เป็นทุกข์
-ทะเลาะวิวาท สงคราม ก็เป็นทุกข์
-กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ เผาใจ ก็เป็นทุกข์
-ปรารถนาสิ่งไดไม่ได้ สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
-พลัดพราก จากของรักของชอบ ก็เป็นทุกข์
-อุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธ์ห้า ก็เป็นทุกข์
.....การดับอุปาทาน ในตัณหา หรืออุปาทานในขันธุ์ห้าเสียได้ จึงสิ้นเหตุทุกข์ทั้งปวง

19.ถอนอุปาทานในตัณหาเสียได้ ก็ไม่ต้องหลั่งน้ำตา อิๆ
อาสวะ ขยะชีวิตที่เราเก็บมา ปรุงเป็นอุปาทานในตัณหาคือ
-ความคิดชั่วร้าย กระแสชั่วร้าย คนร้าย สัตว์ร้าย ที่เราเก็บมาเป็น ต้นแบบชีวิต เราต้องเว้น
-หากต้องประสบ ต้องอดทน
-หากจำเป็นต้องใช้ ต้องพิจารณา ไม่ตกเป็นทาส
-ความทรงจำ ที่ขาดไตรลักษณ์กำกับ ต้องเอามาล้าง ให้จิตเป็นกลาง พ้นชอบชัง
-แรงทะยานอยากภายใน เกิดจากสัญชาติญาณชีวิต ต้องฝึกเปลี่ยน กิเลสให้เป็นโพธิ
-คิด ให้เป็น
-เห็นให้แจ้ง รู้ว่า คิด พูด ทำ อย่างนี้ ผลจะเป็นอย่างไร
-พลิกจิตให้ทัน ด้วยสติ ปัญญาฝึกดีแล้ว เดินในทาง สัมมาทิฐิฝ่ายเดียว อิๆ

20.ชีวิตที่ ไม่พบโลกุตระธรรมย่อม อยู่ในเพลิงเผา
เพลิงกิเลส คือ เพลิงราคะ เพลิงโทสะ เพลิงโมหะ
เพลิงทุกข์ เพราะอุปาทานในขันธ์ห้า ปรุงแต่ง ด้วยขาดสติกุมสภาพจิต
พ้นได้โดยฝึก
ถอนอาลัย คลายกำหนัด ตัดวัฏฏะทุกข์ ทำอาสวะให้สิ้น อย่างไม่ละลด
..........................
พักก่อนง่วงแย้ว บาย อิๆ

21.ทางสายกลาง คือทาง ดับเพลิงกิเลส และเพลิงทุกข์ ได้สิ้นเชิง
การ เพลิดเพลินในกามคุณ เพราะเชื่อมั่นใน อุจเฉททิฐิ
การทรมาน กาย ให้ลำบาก เพราะเชื่อมั่นใน สัสสตทิฐิ
ทางสองสายนี้ ดับทุกข์ทั้งปวงไม่ได้(ทำให้สบายกาย สบายใจชั่วคราว)
การฝึกตนใน มรรคแปดคือ
-ใช้ทฤษฎีเหมาะสม
-ตั้งเป้าหมายชัดเจน
-เปลี่ยนวิธีคิด ด้วย วาจาสุภาษิต
-สุจริตในกายกรรม
-อาชีพ ที่สุจริต
-เพียรล้าง อกุศล เจริญกุศลให้มั่นคง
-สร้างพลังจิตด้วย ฝึกสติปฐานสี่
-สร้างความตั้งใจมั่นคง ในอารมณ์และ ความคิด มโนธรรม
.........................

22. อุปาทานในขันธ์ห้า นั่นแหละสร้าง อารมณ์ทุกข์
โลกย่อม ไม่ขาดซึ่ง....ปัญหา
โลกย่อม ไม่ขาดซึ่ง....ความทุกข์
แต่อารมณ์ทุกข์.........เราปรุงขึ้นมาเอง
ปัญหามี ความทุกข์มี แต่อารมณ์ทุกข์ไม่มี
เพราะเราดับ อุปาทานในขันธ์ห้าได้แล้ว อิๆ

                   

23.ทุกข์เกิด จากเหตุ(อวิชชา ในอุปาทานในตัณหา)
ทุกข์ก็ดับได้ เมื่อ ดับเหตุ ด้วย มีสติตอนผัสสะโลก ธรรม (วิชชา)
ไม่เอาเหตุทุกข์มาปรุงอีก
"ผัสสะโลก ธรรม.......................ด้วยสติ กุมสภาพจิต
จิตเบิกบาน แจ่มใส...................ไร้กิเลสนั่น
จิตมั่นคง ในอารมณ์ มโนธรรม.....อันดีงามกัน
ใครทำได้อย่างนี้นั้น ย่อมประสบ....บรมโชคดีฯ
(มงคลชีวิต)

24.ถอนอารมณ์ทุกข์ ทันที คือสิ่งที่เร่งด่วน
ทุกครั้งที่ ผัสสะโลก ธรรม แล้วเกิดอารมณ์ทุกข์
ต้องพลิกจิต พ้นจากเพลิงอารมณ์ทุกข์ทันที
ดุจผู้ถูกศรปัก ต้องถอนศร เยียวยาด่วนที่สุด
ศรที่เสียบแทงชีวิตคือ
ราคะ โทสะ โมหะ ทิฐิ มานะ โศก อภิสังขาร
(คิดแบบขาดสติกุมสภาพจิตอวิชชาเป็นแดนเกิด)

25.ร้อนเพราะไฟกิเลส ดับได้เพราะฝึก ด้วยตนเอง
เมื่อเจอปัญหา เราสู้ เรายอมจำนน เราหนี เราประนีประนอม
ทางที่ถูก ต้องดับเหตุทันที
ดุจคนถือคบเพลิง แล้วร้อน ก็ต้องวางทิ้งออกไปจากชีวิต อิๆ

26.ของร้อนในชีวิตที่แท้จริง
หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะโลกด้วย
ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อไหร่ ไฟ กิเลส ก็สร้างไฟทุกข์ ให้ชีวิตเร่าร้อนได้ ทันที
เป็นไฟที่ให้โทษ
ไฟที่ให้คุณแก่ชีวิต คือ ไฟสติปัญญาที่ฝึกมาดีแล้ว

27.กามคุณคือเหยื่อล่อของมาร
กิเลสกาม..........เกิดขึ้นภายใน
วัตถุกาม...........มีมายาบิดบัง (ซ่อนความเสื่อม สลายไว้)อยู่ภายนอก
ไม่มีกิเลสกาม....ก็ดุจตบมือข้างเดียว
เจโตวิมุติ คือ......ผู้ชนะกิเลสกามและโทสะในตน
ผู้รู้จึงเร่ง ฝึกตนฯ

28.จิตอันฝึกดีแล้ว เป็นที่พึ่งอันหาได้ยาก
ฝึกจิตได้ คือ ฝึก ใช้สติ กุมสภาพ
ยามคิด ยามเกิดอารมณ์ ยามตั้งเจตนา ยามเรียนรู้ ยาม แรงขับชีวิตประทุ
ด้วยหลัก สติปฐานสี่ มีสติรู้เท่าทันใน
กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เอามาปรุงแต่งความคิดฯ

29.ชนะกิเลสในตน คือพุทธะ
ชนะโลก คือ จักรพรรดิ
ชนะความรู้เข้าใจโลก คือนักปราชญ์
ชนะกิเลสภายใน คือ พุทธะ

30.บุคคลที่ฝึกจิตดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ
ผู้ออกกำลัง..................ย่อมได้กำลัง
ผู้เจริญกุศล.................ย่อมได้รับกุศล
ผู้มีจิตเอื้อเฟื้อ...............ย่อมมีวาสนา
ผู้มีสัจจะในขันติธรรม....ย่อมมีบารมี
ผู้ฝึกตน พ้น ราคะ โทสะ โมหะ..มีปกติสงัดจากกิเลส ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ในหมู่มนุษย์


พระพุทธองค์ทรงปรินิพพาน ศิลปะญี่ปุ่น พุทธศตวรรษที่23

มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 06:33:48 am »


1.ศีลคือ แผ่นดินธรรม ของสังขารโลก
แผ่นดินโลก เป็นที่อาศัยของ ระบบชีวาลัยทั้งหลายฉันใด
ศีลย่อม เป็นที่พึ่งของกาย ในการปฏิบัติ สู่ การดับไม่เหลือแห่ง
เพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ฉันนั้น
ดังนั้น ศีลจึงเป็นที่มาของ
มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
ศีลทำให้ เรามีคุณสมบัติที่เป็นมนุษย์
ศีล เป็นที่รวมของ มนุษย์ธรรมคือ
-คุณธรรม
-จริยะธรรม
-วัฒนธรรม
-ปรมัตถ์ธรรม
-และอริยะธรรมในที่สุด
สีเลนะ สุคะติง ยันติ...ศีลนำไปสู่สุคติ
สีเลนะ โภคะสัมปะทา..ศ๊ลเป็นที่มาของ สมบัติสาม
สิเลนะ นิพพุติง ยันติ...ศีลเป็นทางสู่นิพพาย
ตัสมา สีลัง วิโสทะเย....ในธรรมของมนุษย์ศีลวิเศษที่สุด
......................................

2.สมาธิ เป็น บ้านของผู้ปฏิบัติธรรม
เมื่อมีศีลเป็นแผ่นดิน
การทำสมาธิ ก็เหมือนการสร้าง บ้านที่อยู่อาศัย
สมาธิย่อมป้องกัน จิตไม่ฟุ้งซ่าน แล่นไป
สมาธิป้องกัน กิเลส ไม่ให้ ท่วมใจ เช่นฝนที่ตก
สมาธิเป็นที่ร่มเย็น และเป็นฐานแห่งการ พัฒนาปัญญา

3.ปัญญา นำแสงสว่างมาสู่ชีวิต
ทินกร จันทรา ให้แสง........ยามวันคืน
ประทีป ให้ได้...................คราอัศดงแล้วนั่น
แสงสว่างแห่งปัญญา...........ส่องทางชีวิต ทุกขณจิตกัน
ผู้รู้จึงเร่งฝึกฝน เจริญยิ่ง......ปัญญา ดับเพิงกิเลส และทุกข์ ในตนเอยฯ



4.จิตที่พ้นอาสวะ คือขุมทรัพย์ที่แท้จริง
ทรัพย์คือ เครื่องมือ ทำให้.....ปลื้มใจ
สันโดษ เป็นทรัพย์ภายใน......คุณค่ามหาศาล
หมดอาสวะ ย่อมพบนิพพาน...ทรัพย์ที่ให้คุณอย่างเดียวแก่ชีวิต ทุกชีพกัน
จิตพ้นอาสวะโดยพลัน...........คือยอดขุมทรัพย์ อนันต์คุณที่แท้จริงเอยฯ

5.อริยมรรค คือทางที่ มารหาไม่เจอ
ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว................แก่เรา
ญาณ เกิดขึ้นแล้ว..................แก่เรา
ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว..................แก่เรา
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว...................แก่เรา
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว................แก่เรา
ในสิ่งที่เราไม่เคยรุ้มาก่อนว่า
ทุกข์.............................................ควรกำหนดรู้

เหตุแห่งทุกข์ คือ อุปาทานในตัณหา.......ควรละ
ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์..................ต้องทำให้แจ้ง ด้วยตนเอง
มรรคา ทางปฏิบัติทั้งแปดนั้น...............ต้องเจริญยิ่งๆฯ
ทางนี้ เป็นทางสว่าง
ทางที่มารหาไม่เจอฯ
.................................

มารในพุทธศาสนามีห้ามาร
1.ขันธมาร............ระบบปรุงแต่งจิตปรุงแต่ง ทำให้เราหลงในมายาการ ของธรรมชาติ แบ่งออกได้ห้าส่วน
2.อภิสังขารมาร......มารคือ คิดแบบขาดสติกำกับ
3.เทวบุตรมาร....มารคืออารมณ์ที่โยน ชีวิต ไปสู่ภูมิต่างๆ
4.กิเลสมาร........มารคือ ความดิ้นรน ของราคะ โทสะ โมหะ ทิฐิ มานะ โศก อภิสังขาร
5.มัจจุมาร........มารคือเวลา ผู้ประหารความดี คือ ความคิดที่ขัดขวาง การเจริญกุศลและ ฝึกทำอาสวะให้สิ้น

6.จิตที่ว่างจาก อุปาทานในตัณหา ย่อมพ้นอารมณ์ทุกข์
-ว่างจาก การปรุงแต่งของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน
-ว่างจาก การยึดมั่นถือมั่นอย่างจริงจังว่า เป็นเราของเรา
ทุกสิ่งธรรมชาติให้เรายืมใช้
ใช้อย่างมีสติ เพื่อเจริญกุศล แล้ววางลง เช่นนั้นเอง อิๆ



7.มองโลกด้วยความว่าง และถอน ตัวตูของตู เป็นสุขในโลก
"ดูกร โมฆราช เธอจงมองดูโลก อันงามประหนึ่งราชรถ
คนโง่หลงอยู่ ผู้รู้หาข้องไม่
และเป็นที่มัจจุราชหา เธอไม่พบ"
พระโมฆราช ป่วยเป็นโรคผิวหนังพุพอง
ทรมานทางกาย แต่ จิตวิญญาณเบิกบาน
เพราะ ฝึก มองโลกด้วยความว่าง
ว่างจาก การปรุงแต่งของ กิเลส ตัณหา อุปาทาน
ว่างจาก การยึดมั่นถือมั่นว่า ชีวิตนี้ เป็นตัวกู ของกูถาวร อิๆ

8.สุขใดเท่า สงัดในกิเลสไม่มี
ผู้แสวงหาเกียรติ..ย่อมทุกข์
ผู้แสวงหากามคุณ..ย่อมทุกข์
ผู้แสวงหา กินไม่รู้จักพอ ..ก็ทุกข์
ผู้ พ้นจากอำนาจหลอกลวง ของ เกียรติ กาม กิน(บริโภคนิยม)
ย่อม สงบ สงัด ในท่ามกลางความเคลื่อนไหว
ผู้นั้น จึงเป็นผู้ มีสุขที่แท้จริงในโลก

9.ใจที่สงบ สงัดจากการปรุงแต่งของกิเลส ที่ไหนก็เป็นสุข

10.ความสุขแท้ อยู่ที่ใจ
ทุกคนแสวงหา กุญแจความสุข ข้างนอก
และหลงว่า"กุญแจคือความสุข"
-กุญแจเกิดจาก ความเพลิน ในสิ่งที่เราชอบ เราเชื่อ
-กุญแจเกิดจาก ทำตามค่านิยมกระแสโลก
-กุญแจเกิดจาก หรรษา ภาคภูมิใจ สมใจ สะใจ
-กุญแจเกิดจาก ความเพียร
-กุญแจเกิดจาก การเพ่งจิต จนเกิด ปิติ สุข อุเบกขา จิตมั่นคงเป็นหนึ่งเดียว
-กุญแจเกิดจาก จิตที่สงบ สงัด จาก การรบกวนของอุปธิทั้งหลาย
....หายใจก็เป็นสุข...เปลี่ยนอิริยาบถ ก็เป็นสุข...มีสติสำรวมสังวรก็เป็นสุข
....ชีวิตที่่ปกติ เจริญกุศล ทิ้งอกุศล และปลดขยะปรุงแต่งชีวิต ก็เป็นสุข
เพราะ...."ความสุขที่แท้จริงอยู่ภายในใจตลอด"อิๆ

11.โลกธรรมแปด คือเหยื่อโลกที่วางยาก
ลาภ............เสื่อมลาภ
ยศ.............เสื่อมยศ
สรรเสริญ....นินทา
สุข.............ทุกข์
เป็นเหยื่อ ที่มารวางกับดักชาวโลก
จงมาพ้นเหยื่อที่มารวางกับดักไว้
ด้วยการ ลด ละ เลิก โทสะ โมหะ โทสะ

12.กิน(บริโภคนิยม)
กาม(เพลินในความสะดวกสบาย)
เกียรติ(หัวโขน ในสังคม)
เป็นเครื่องจองจำชีวิต
ชีวิต ต้องใช้ตนเองเช่นวัวควาย ไปตลอดชีวิต
"รู้ว่าหนัก......ก็วาง
วาง..............ก็เบา
ไม่เอา...........ก็หลุด(จาก มายาการ ของสังขารธรรม)

13.การอยู่ร่วมกับคนพาล เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ดังนั้น การจะใช้ชีวิตร่วม ทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม
ไม่ควรทำตัวเป็นคนพาล หรือ เอาคนพาล มาเป็นแบบอย่างทางชีวิต
หากต้องใกล้ชิด ต้องมีสติ ปัญญา จึงไม่ถูกครอบงำ
14.กามคุณ เครื่องผูกที่ข้ามยาก
กามคุณนำไปสู่ชีวิต ครองเรือน
การขาดสติ ทำให้ ทรัพย์ บุตร ภริยา สามี กลายเป็นเครื่องจองจำ ซึ่งกันและกัน
เมื่อ มาประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ก็ไม่ควร กลับไปสู่ที่จองจำนั้นอีก(สอนนักบวช)

15.ธรรมบาล ที่เกิดจากศีล คุ้มครองโลก
หิริ................โอตตัปปะ
บุพการี...........กตัญญูติเวทีตา
มงคลธรรม......ทักษิณาทาน
ธรรมสามคู่ จักช่วยคุ้มครองโลก
ให้สังคม มีสันติสุข สันติธรรม ยั่งยืน

16.ศีลเป็นกลิ่นหอม ที่ทวนลมได้
ดอกไม้หอม.....อาศัยลมพาไป
สัตบุรุษ...........อาศัย เสียงชื่นชมพาไป
ศีล.................อาศัย ปิยะมิตร กัลยาณธรรม เสมอกันด้วยศีล ย่อมหอมทวนลมได้

17.วัฏฏะสังสาร ยาวที่สุด
ราตรีนี้ยาวนัก...............สำหรับ ผู้นอนไม่หลับ
ระยะทางไกลนัก............สำหรับ ผู้อ่อนล้า นั่น
เกิด ดับในชาติภพ..........ยาวนัก สำหรับ ผู้เป็นทาสอุปาทาน อารมณ์ตนกัน
มาดับไม่เหลือ เพลิงกิเลส และทุกข์นั้น.....จึงหมดสิ้นวัฏฏะกาลเอยฯ

       







ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 06:30:26 am »



//-แวะไปยืมหนังสือ 62 พุทธโอวาท จาก หอธรรมพุทธทาส วัดสระประทุม

รายละเอียด :
1. ศีลเป็นพื้นฐานของใจ
2. สมาธิเป็นความสงบของใจ
3. ปัญญาคือประทีปแห่งใจ
4. ขุมทรัพย์อันมหึมา
5. ทางที่ทำให้มารหลงทาง

6. เพียงสักแต่ว่า
7. จงมองดูโลกนี้ให้เห็นเป็นของว่างเปล่า
8. สุขใดจะเสมอด้วยความสงบเป็นไม่มี
9. ใจที่สงบแม้อยู่โคนไม้ก็เป็นสุข
10. สุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจ

11. เหยื่อของโลก
12. เครื่องจองจำชีวิต
13. เรือนที่ครองได้ยาก
14. เชือกที่ผูกหย่อนๆ แต่แก้ยาก
15. ศีลธรรมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก

16. กลิ่นที่หอมทวนลมได้
17. สิ่งที่มีระยะยาวนานที่สุด
18. สิ่งที่ติดตามมากับความเกิด
19. น้ำตาของสัตว์โลกไม่เคยหยุดไหล
20. สัตว์โลกทั้งหลายล้วนดิ้นอยู่ในกองเพลิงทั้งสิ้น

21. ทางสายกลางแห่งความสุดโด่งทั้งสอง
22. ชีวิตเป็นความทุกข์
23. ทุกข์เกิดได้ก็ดับได้
24. ปัญหาที่กำลังเผชิญหน้า
25. ร้อนก็ดับเสีย

26. อะไรเป็นของร้อนและร้อนเพราะไฟอะไร
27. เหยื่อแห่งมาร
28. จงละบ่วงแห่งมารเสีย
29. จงเป็นยอดนักรบในสงคราม
30. บุคคลที่จัดเป็นผู้ประเสริฐ

31. คุณธรรมอันดีงามของผู้มีความอดทน
32. กรรมที่ควรเว้น
33. ผู้พิชิตมาร
34. เจ้ามามือเปล่าเจ้าก็กลับไปมือเปล่า
35. ทุกคนจำต้องมีการพลัดพราก

36. ความรักความร้าย
37. อย่าหวังอะไรในชีวิตให้มากนัก
38. ฝ้าที่บังปัญญาจักษุ
39. ตายด้วยอุดมคติดีกว่าอยู่อย่างไร้อุดมคติ
40. แม้จะประสบทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม

41. บุคคลที่หาได้ยากยิ่ง
42. จงพึงสั่งสมกัลยาณกรรมกันไว้
43. ผู้เข้าสู่ฐานะอันประเสริฐ
44. ความตระหนี่ลาภ
45. ของกู – ของกู

46. มีประโยชน์ – ไร้ประโยชน์
47. น้ำนิ่งน้ำเน่า – น้ำไหลน้ำสะอาด
48. อย่าพึงเป็นเช่นแม่น้ำตาย
49. กองบุญใหญ่อันไม่มีประมาณ
50. ผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ

51. ความมุ่งหมายแท้จริงของการประพฤติพรหมจรรย์
52. ธรรมที่รู้ตามได้ยาก
53. จงมีธรรมเป็นที่เกาะที่พึ่ง
54. ความสกปรกเป็นที่พอใจของคนโง่
55. ป่าช้าแห่งซากสัตว์

56. คนโลงศพ
57. หนทางสู่อมตธรรม
58. หนทางอันประเสริฐ
59. ผู้ที่ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน
60. ธรรมแห่งความไม่เสื่อม

61. ธรรมที่มีแต่ความเจริญส่วนเดียว
62. ธรรมที่มีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาล

ราคา 1-99 เล่ม @ 25 บาท
100-500 เล่ม @ 22 บาท
501-1000 เล่ม @ 20 บาท
ขนาด [กว้าง x ยาว x สูง] : 5 นิ้ว x 7 นิ้ว x 0 ซม.
19/05/2552 (update 02/11/2552)

http://nopparatprinting.tarad.com/product.detail_299017_th_2221989
...........................
http://lms.thanyarat.ac.th/ulib/dublin.php?ID=13399109464
หนังสือเล่มนี้ กองทุนพลังชีวิต อาคมทาน มาพิมพ์แจก
ท่าน จิรวโสภิกขุ เรียบเรียง


   

//-ไม่แน่ใจว่า ผู้รวบรวม ท่านแรกคือ ท่าน วศิน อินทสระ
: http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/ubasok-wasin.htm
เดี๋ยวลิงจะถอดระหัส เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ให้นะครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 06:25:56 am »



“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่ สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุก ทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิจัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวลถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้วพึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”

“ สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมันพวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การ สรรเสริญ นั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิดอย่าเป็นผู้แพ้เลย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่นเป็น สัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลัง สำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย ”

“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลาอ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรส หวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนาข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้ว หนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุขบำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการโภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ”

“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิดมนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ”

“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผลหยาดน้ำที่ไหลลงทีละ หยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วย บุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมแต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้ามีช่องหูช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรคเป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆเข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้าง ขัดถูวันละหลายๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็น ที่น่ารังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ”

“ ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาล คือ เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนตรัสรู้ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวาย นี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพานครั้งหลังนี้เสวย อาหารของจุนทะบุตรนายช่างทอง แล้วเราก็นิพพานด้วยขันธ-นิพพาน คือ ดับขันธ์อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆจะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ถ้าจุนทะพึงจะเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาหายกังวลใจเสียอาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้าย สำหรับเรา ”

“ อานนท์เอ๋ย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็น ธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”

ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานครมีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่ นั้นและพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัทเนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็น ที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง

วศิน อินทสระ

รับฟัง / ดาวน์โหลด ที่นี่ครับ
: http://www.dhammathai.org/sounds/admonitionofbuddha.php
ที่มา : http://www.watjan2315.com/thread-62-1-1.html






ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 01, 2011, 06:22:38 am »



     

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการ ปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวง หาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อ ให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อน ไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลง ทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้าน วัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่า หนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”

“ ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมาก ภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้ อย่างไร ”

“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้ จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วยหรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือน กัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกันมีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิตโลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น ”

“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจดูแล้วความ สะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมี เสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมี ความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกินนักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่ง คือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียวแต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภค กามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโล กียวิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติกินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะความจริงร่างกายคนเรา ไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้นแต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วงคนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้อง ทำ เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถแต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”