ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 23, 2016, 01:36:37 pm »21 มกราคม เวลา 22:11 น.
"ความสุดโต่ง" ที่ทรงสอน หมายถึง..
- ปล่อยตัวปล่อยใจสบายเกินไป จนขาดความยั้งคิด
- หมกมุ่น เคร่งเครียดเกินไป ไม่รู้จักปล่อยว่าง
* ทรงสอนให้รู้จัก"ความพอดี" ในชื่อ"มัชฌิมา"
..
..
22 มกราคม เวลา 22:11 น.
.. พระอรหันตขีณาสพ ยังบริโภคกามทั้งหลายหรือไม่?
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิตพระอรหันต์ ทั้งหลาย
ท่านเป็นผู้เว้นขาดแล้ว จากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์
แค่พระอนาคามี ท่านก็ละ กามราคะแล้ว ละปฏิฆะ ความขุ่นเคืองแล้ว
พระอรหันต์ละได้ซึ่ง สังโยชน์สิบ และเรารู้ตัวดีว่า เราละไม่ได้คือ
๖ รูปราคะ ๗ อรูปราคะ ๘ มานะ ๙ อุทธัจจะ ๑๐ อวิชชา
พระอรหันต์ จึงหมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง
พร้อมและเป็นไปได้สู่ ปัจเจกพุทธะ และ สัมมาสัมพุทธะ
ทุกพระองค์ เคารพพระธรรม สาธุ
..
-ฐีติภูตัง ตะโจ เจโตปริยญาณ /เนกขัมมบารมีเป็นกำลัง...เต็มทีแล้วครับ...ก้าวข้ามโคตรภูญาณเข้าสู่แดนโลกุตร...นิพพานังปัจโยโหตุ...ท่านรู้เท่าทันเล่ห์แห่งมาร ออกจากกองทุกข์แห่งกามราคะ เห็นใส้เห็นพุงมันหมดทั้งตัวสมุทัยที่แท้อันเป็นอนุสัยรากเหง้าแห่งกามทั้งสิ้นนั้น....
..
..
22 มกราคม เวลา 10:02 น.
.. ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทรงให้ชื่อว่า "ไตรลักษณ์"
ซึ่งเป็นกฏหรือทฤษฏีที่ทรงใช้อธิบาย"อนัตตลักขณสูตร"
เพื่อให้เห็นว่า ขันธ์5 ไม่ใช่ตัวตนของเรา..
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /สรุป:-
รูปขันธ์ เป็นสิ่งพึงเกิดเมื่อมีการกระทบ ของตา หรือของหู หรือของลิ้น
เป็นต้น ให้เห็นว่า มันเป็นสิ่งพึ่งเกิด จริงแท้เลย เลิกหรือจบกระทบ ก็ดับ
ดังนั้น รูปัง อนิจจัง -รูปไม่เที่ยง รูปังอนัตตา รูปไม่ใช่ตัวตน ก็เห็นได้
สัญญาคือความจำได้หมายรู้ ก็พึงเกิดเมื่อมีการกระทบ จบกระทบก็ดับ
ดังนั้น สัญญา อนิจจา -สัญญาไม่เที่ยง สัญญา อนัตตา - สัญญาไม่ใช่ตัวตน ก็เข้าใจได้
เวทนา สังขาร ก็เป็นสิ่งพึ่งเกิด จบกระทบ ก็ดับ
ทุกขันธ์ ล้วนพึ่งเกิด ตามเหตุ หมดเหตุ แล้วก็ดับ
เกิด-ดับ แล้วเกิดแล้วดับ ไม่รู้ว่าตัวเราอยู่ที่ใด จะกำหนดถือเอาที่ใดเป็นเรา นั้น ไม่ได้เลย
จับให้ได้ ไล่ให้ทัน ความลึกลับ ของ ตา หู จมูกลิ้น กาย มโน
ที่เกิด-ดับสับกันทำหน้าที่เสมอๆ แล้วจะเฉลย มายากลนี้ได้ว่า
ขันธ์ ทั้ง๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงปรากฏการณ์ ของธรรมชาติ
เท่านั้น
..
..
23 มกราคม 2559 เวลา 10:02 น.
.. พุทธโอวาทที่ว่า "เข้ากันโดยธาตุ"
หมายถึง บุคคลผู้มีจริต ความชอบเหมือนกัน ย่อมอยู่รวมกัน
..
..
23 มกราคม 2559
.. "การเสนอ" กับ "การสนอง" ก็เหมือน"ใจ" กับ "กิเลส"
ถ้าฝ่ายเสนอ ไม่ไดรับการสนอง "ทุกข์" ก็ไม่เกิดขึ้น
..
-Keak Ku /อุปกิเลสที่มาเยือนใจ ถ้าใจไม่รับไว้
ความขุ่นมัวเศร้าหมองก็ไม่มี ครับ
..
.. กิเลส เปรียบเหมือนแขกผู้มาเยือน
เราบังคับแขกไม่ได้ ..แต่เราควบคุมใจเราได้
.. อุปกิเลส กิเลสที่จรมา
..
" ..ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติปฏิบัติ เพื่อสิ้นทุกข์โดยชอบเถิด "
.. โอวาทที่ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา
..
.. ธรรมที่ดี คือธรรมที่นำ"สคฺค"(สัตว์) หลุดพ้นจากกาม(ความพอใจ)
..
.. ผู้ห่างไกลธรรม นอกจากผู้ไม่ใส่ใจธรรมแล้ว ยังได้แก่ผู้ที่ไม่เข้าใจธรรม
.. ไม่เข้าใจความหมายที่ว่า "..เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด"
..
..
23 มกราคม 2559
..* ในโลก มีเพียงธรรมของพระพุทธองค์เท่านั้น ที่เป็น "นิยยานิกธรรม"
คือ"ธรรมที่นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้จริง"
>>F/B Keak Ku
https://www.facebook.com/profile.php?id=100004803467050&fref=nf