ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2016, 08:19:46 pm »



https://www.img.live/images/2018/11/24/P_00000000005720181124.jpg

ข้อมูลอ้างอิงจากมูลนิธิบ้านธรรมมะ และเครือข่ายพุทธิกา


हस्ताक्षर......時々๛कभी कभी๛

คราวที่แล้วชวนคิด - ชวนคุยเรื่องความตายทีนี้เรามาทำท่าทีให้ถูกต้องเกี่ยวกับพิธีกรรมความตาย นำข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากมูลนิธิบ้านธรรมมะครับและพอดีผู้เขียนกำลังป่วยอยู่ก็เลยนึกถึงภาวะใกล้ตายยังคงบอกไม่ได้ว่าภาวะใกล้ตายเป็นอย่างไรและพอดีได้ดู Youtobe เกี่ยวกับการจัดการงานศพของ คุณ
รสวรรณ ม่วงมีสุข ซึ่งเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ(ระยะสุดท้าย)และได้ทำโครงการ-->งานศพในฝันก็เลยนำมาแบ่งปัน และเนื่องจากการจัดการงานศพ สมัยนี้ ผู้ที่ไปงานฟังอภิธรรมศพอาจไปด้วยมารยาทหรือเหตุไดก็แล้วแต่เมื่อไปถึงานแล้วก็ไม่ได้ฟังสวดแต่ประการใด ไม่ว่าจะเป็นประเพณีแบบไทยหรือประเพณีแบบจีนที่สำคัญก็คือในครั้งพุทธกาลไม่มีการสวดศพครับถ้าตั้งศพวดที่บ้าน ก็ตั้งวงกินเหล้าแม้กระทั่งงานศพปัจจุบันนี้ตามต่างจังหวัดก็นิยมกินเหล้าในวัดพระก็สวดไป - ลูกหลานก็ตั้งวงก๊งเหล้าไปซึ่งผู้เขียนไปเจอมาหลายงานละ


พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของปัญญาและความเห็นถูกการกระทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วไม่รู้ ทำแล้วสงสัย ทำแล้วเป็นไปในการเพิ่มอกุศลจิต อกุศลธรรม มีความไม่รู้ความไม่สบายใจโทสะและกิเลสอื่นเพิ่มขึ้นนั่นไม่ใช่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นหนทางที่ผิดไม่ใช่หนทางที่ถูกและไม่ใช่ปัญญาเลยแต่การกระทำอะไรก็ตามเมื่อกระทำแล้ว กุศลเจริญขึ้นและปัญญาเจริญมากขึ้น นั่นเป็นพระพุทธศาสนาและเป็นหนทางที่ถูกตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง


ความเข้าใจเกี่ยวกับพิธีกรรมการตาย


ชีวิตของบุคคลผู้ที่มาในโลกนี้ ล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม เมื่อจุติจิตเกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในภพนี้ เกิดเป็นบุคคลในภพใหม่ชาติใหม่ต่อไป (ตราบใดที่ยังมีกิเลส) ไม่สามารถกลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก ผู้ที่เป็นญาติหรือบุคคลรอบข้างก็นำศพอันปราศจากจิต ไปเผา หรือทำฌาปนกิจ(ทำกิจคือการเผา) คำว่า ฌาปนกิจ นี้ มีในพระไตรปิฎก ซึ่งก็เป็นการเผาศพธรรมดา

ในสมัยพุทธกาล เวลามีผู้เสียชีวิต ก็จะทำการเผาศพ บุคคลนั้น ตามปกติ ไม่ได้มีการที่จะต้องนิมนต์พระมาสวดอภิธรรม เพียงแต่ เมื่อเผาศพเสร็จแล้ว ก็จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม เพราะเห็นประโยชน์ของการเจริญอบรมปัญญา ไม่ใช่ให้มานั่งสวด และ ไม่มีการถวายของกับพระภิกษุด้วยเงินทองในสมัยปัจจุบัน

ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้ มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น

ภาคผนวก - อ้างอิง


การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

การสวดอภิธรรมหน้าศพนั้น จงเข้าใจว่ามิใช่เป็นการสวดผี - ศพ เพราะผีก็คือซากของคนตายแล้ว ถึงสวดก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ผี อันมีราคาประดุจท่อนซุง การที่นิมนต์พระไปสวดที่บ้านศพ ก็เพียงเพื่อบรรเทาความเศร้าโศกของเจ้าภาพเท่านั้น เพราะความพลัดพรากของรักของชอบใจเป็นความทุกข์ เรื่องจะดับทุกข์ได้ก็โดยการศึกษาให้รู้ความจริงของธรรมดา จะรู้ความจริงก็ต้องฟังจากเรื่องทางพระพุทธศาสนา แล้วจักดับโศกได้ นี่เป็นเหตุให้นิมนต์พระไปสวดอภิธรรมหน้าศพ แต่ผู้ฟังส่วนมาก 99.99 % ไม่เข้าใจว่าท่านสวดอะไร จึงมิได้สนใจฟังเลยกลายเป็นสวดผีตามที่พูดกันจริง ๆ ข้าพเจ้าคิดว่า การสวดศพควรมีแต่นิดหน่อย แต่การเทศนาควรมีให้มาก เพราะได้รู้เข้าใจเหตุผล ในบางงานพระนั่งสวดอยู่สี่รูป ชาวบ้านนั่งเล่นหมากรุกกันบ้าง คุยสนุกกันบ้าง ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ จักสวดไปทำไมไม่มีประโยชน์ นี่เป็นเหตุผลของการสวดหน้าศพ จำไว้ว่าเพื่อประโยชน์แก่คนเป็น มิใช่คนตาย เราจึงควรกระทำให้ถูกจุดหมาย