ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 13, 2016, 02:30:43 pm »

4 โรคอันตราย ที่มาพร้อม “แดด” และ “อากาศร้อนอบอ้าว”
-http://health.sanook.com/2989/-



ถึงแม้ชาวไทยจะคุ้นแคยกับ 3 ฤดูในบ้านเรากันเป็นอย่างดีแล้ว (ฤดูร้อน ฤดูร้อนมาก และฤดูร้อนสุดๆ) แต่ยังไงเราก็ยังคงต้องระวังรักษาตัวเองจากแดดแรงๆ นี่กันอยู่ดี จะปล่อยให้ตัวเองถูกแดดเผา จนเป็นลมเป็นแล้ง หรือเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ถึงขั้นลมหมอนนอนเสื่อ หรือต้องพบแพทย์ก็คงไม่ดี

Sanook! Health จึงนำข้อมูลดีๆ จาก กระทรวงสาธารณสุข มาเตือนชาวสนุก! ให้ระวัง 4 โรคที่มาพร้อมกับแดดแรงๆ อากาศร้อนอบอ้าวนี่กันค่ะ

 

1. ลมแดด (ฮีทสโตรก)

หลายคนเริ่มคุ้นหูกับคำว่าฮีทสโตรกมากขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ ฮีทสโตรกเป็นชื่อภาษาอังกฤษของโรคลมแดด หรืออาการที่เป็รนลมจากอากาศร้อนจัด ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ร่างกายอุณหภูมิสูงขึ้น บวกกับอาการขาดน้ำที่จะมาช่วยหล่อเลี้ยงร่างกาย และช่วยลดอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ นอกจากนี้เป็นเพราะเราสูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปทางเหงื่อจำนวนมาก แล้วไม่ได้ดื่มน้ำเข้าสู่ร่างกายเพื่อทดแทนเหงื่อที่เสียไป ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายช็อคจากการขาดน้ำได้เหมือนกัน

 

2. เพลียแดด

เพลียแดดมีอาการคล้ายลมแดด แต่อาจจะยังไม่ถึงขั้นมีอาการชัก หรือเป็นลมล้มพับไปต่อหน้าต่อตาขนาดนั้น แต่ถึงอย่างไรอาการเพลียแดดก็อันตรายไม่แพ้ลมแดดเท่าไรหรอกค่ะ เพราะอาการเพลียแดด สามารถเป็นได้ตั้งแต่ปวดศีรษะ มึนหัว บานหมุน หน้ามืด อ่อนเพลีย หมดแรง คลื่นไส้ ถึงจะยังไม่หมดสติ แต่การขาดสติสัมปชัญญะไปบางส่วน อาจเกิดอันตรายระหว่างทำงาน หรือทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอยู่ได้ เช่น เพลียแดดระหว่างทำงานกับเครื่องจักรกล หรือเพลียแดดระหว่างขับรถ น่ากลัวใช่ไหมล่ะ

 

3. ตะคริวแดด

ใครที่เป็นนักวิ่ง หรือชอบวิ่งออกกำลังกาย ไม่ว่าจะวิ่งตอนเช้า กลาววัน หรือเย็น ช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนจัดแบบนี้ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องวิ่งกลางแดดอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นคุณอาจกำลังเสี่ยงต่ออาการ “ตะคริวแดด” ได้ค่ะ ซึ่งลักษณะอาการก็เหมือนกับตะคริวธรรมดาๆ กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง และรู้สึกปวด เจ็บในบริเวณที่เป็นตะคริวเป็นอย่างมากจนวิ่งต่อไปไม่ไหว อาการตะคริวที่พบมักเป็นช่วงขา แขน และหลัง หากมีอาการตะคริวแดดให่รีบหยุดวิ่ง อยู่นิ่งๆ แล้วค่อยๆ ดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำผลไม้ เพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย และชดเชยน้ำ และเกลือแร่ที่เสียไป หากอาการตะคริวไม่ดีขึ้นภายใน 30 นาที- 2 ชั่วโมง ควรหยุดวิ่งไปเลย 1-2 วันค่ะ

 

4. ผิวหนังไหม้เกรียมแดด

สาวๆ คงไม่ปล่อยให้ตัวเองผิวหนังไหม้เกรียมง่ายๆ หรอก แต่ก็ไม่แน่ใจหากสาวๆ มีแพลนจะไปลัลล้าที่ชายทะเล บางครั้งความสวยของทะเล ความสนุกของกิจกรรมต่างๆ ที่ทะเล อาจทำให้เราลืมดูแลผิว หรือลืมไปว่ากลัวผิวคล้ำดำเสีย จนไม่ได้ทาครีมกันแดด ซึ่งต่อมาก็จะเป็นสาเหตุของผิวหนังไหม้เกรียมแดด ตอนผิวลอกบางคนก็แสบ บางคนก็ไม่แสบ แต่หากใครผิวแสบก็จะโชคร้ายหน่อย เพราะนอกจากผิวจะแดดจัด ผิวบางลงจากผิวลอกแล้ว ยังต้องวุ่นวายกับการหาครีมแก้ผิวไหม้มาทากันอีก ใครที่มีผิวแสบไหม้จากแดด นอกจากเจลเย็นๆ แก้ผิวไหม้ที่มีขายตามร้านต่างๆ แล้ว ว่านหางจระเข้ก็ช่วยทำให้ผิวดีขึ้นได้นะคะ ยิ่งว่านหางจระเข้แช่เย็นด้วย ยิ่งฟินเลยขอบอก

อากาศร้อนจัด เป็นสาเหตุของลมแดด เพลียแดด ตะคริวแดด และผิวหนังไหม้แดด

ทั้ง 4 โรค 4 อาการนี้ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมล่ะ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำเพื่อหลีกเลี่ยงโรคที่มากับแดดร้อนจัดแบบนี้ คือ

-          ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี โปร่งสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป

-          หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าหนาๆ หรือสีเข้ม

-          หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจัดนานๆ

-          ปกป้องร่างกายจากแดดด้วยการใส่หมวก กางร่ม สวมแว่นกันแดด และทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 สามารถทาทับเพิ่มเติมได้หากเหงื่อออก หรือว่ายน้ำ

-          อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน่ำให้มากๆ ดื่มเรื่อยๆ เมื่อกระหายน้ำ

-          อย่าอยู่บริเวณที่มีอากาศร้อนอบอ้าว และอากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานาน เช่น ตามบ้านไม้มุงหลังคาสังกะสี ในรถที่ตากแดดนานๆ

-          อย่าอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน ใช้เวลาสัมผัสแสงแดดให้น้อยที่สุด หรือหากต้องทำงานกลางแสงแดดร้องเปรี้ยงจริงๆ ควรพักเข้ามาหลบอยู่ในที่ร่มบ้าง หรือทุกๆ ชั่วโมง

 

ร้อนนี้ ไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือใครที่วางแผนอยากไปเที่ยวทะเล เที่ยวภูเขา หรือสถานที่ต่างๆ อย่าลืมดูแลตัวเอง และคนรอบข้างให้ดีๆด้วยนะคะ สิ่งสำคัญมีแค่ 2 อย่าง คือระบายความร้อนจากร่างกายให้เร็วที่สุด และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เท่านี้จะร้อนแค่ไหน เราก็รอดปลอดภัยแน่นอน

 

ภาพประกอบจาก istockphoto

เนื้อหาโดย : Sanook!



ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 12, 2016, 10:56:02 pm »

เตือนภัย! ระวังโรคที่มาพร้อมกับน้ำที่ไม่สะอาด ช่วงสงกรานต์
-http://health.sanook.com/3133/-


อหิวาตกโรคช่วงสงกรานต์นี้หลายคนอาจวางแผนไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรืออาจกลับบ้านที่ต่างจังหวัด แต่กิจกรรมที่บางครั้งเรามักจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าเราจะอยากด้วยหรือไม่ก็ตาม คือการเล่นสาดน้ำกันนั่นเอง ถ้าน้ำที่ใช้เล่นกันมาจากก๊อกที่บ้านก็ดีไป แต่ถ้ามาจากแม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งอื่นๆ ที่ไม่น่าไว้ใจ อาจทำให้เราเป็นโรคต่างๆ ได้ ดังนี้

 

1. โรคตาแดง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มาจากมือ ผ้าเช็ด ผ้าเช็ดตัวที่ใช้ร่วมกับผู้ป่วย หรือความไม่สะอาดของการดูแลรักษาตาจากน้ำไม่สะอาด หรือน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ไม่ได้มาตรฐาน

อาการ : คันตา มีขี้ตามากผิดปกติ ร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาในตอนเช้า ตาขาวเป็นสีชมพู/แดง ปวดตา ตามัว เป็นต้น

 

2. โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง

สาเหตุ : หากผิวหนังเปื่อยจากการสัมผัสน้ำนานจนลอกเปื่อย จะเป็นจุดที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังได้ง่ายขึ้น

อาการ : ผิวหนังแห้ง ลอก เป็นสะเก็ด หรือเปื่อยยุ่ย เป็นหลุมเล็กๆ หรือเป็นปื้นๆ แห้งๆ และมีกลิ่นเหม็น

 

3. โรคฉี่หนู (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของโรคฉี่หนู ที่นี่)

สาเหตุ : ติดเชื้อแบคทีเรีย leptospira จากมูลของสัตว์ต่างๆ เช่น หนู สุนัข โค กระบือ หมู แพะ แกะ ที่ไหลปนกับน้ำตามพื้น ตามท่อ แล้วเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลในร่างกายของเราระหว่างสัมผัสน้ำ

อาการ : เป็นไข้ ปวดศีรษะ  ปวดเกร็งตามขา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องเสีย ตาแดง และอาจไปถึงเยื่อบุสมองอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ

 

4. โรคอหิวาตกโรค

สาเหตุ : หากน้ำที่ใช้ไม่สะอาด มาจากแหล่งน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคที่ปนเปื้อนมาจากอุจจาระของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายจากการปนเปื้อนในน้ำดื่ม อาหาร หรือหากเผลอเข้าปาก หรือดื่ม อาจทำให้ติดโรคได้

อาการ : ปวดท้องบิด ท้องเสีย อุจจาระสีขาวเหมือนน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา กระหายน้ำ คอแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจถึงขั้นเสียชีวิต

 

5. โรคไข้หวัด

สาเหตุ : ติดเชื้อไวรัสจากคนสู่คน หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ บวกกับสัมผัสน้ำเย็น และอากาศร้อนๆ เป็นเวลานาน อาจเป็นไข้หวัดได้

อาการ : เป็นไข้ ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ฯลฯ

 

ดังนั้น ช่วงสงกรานต์นี้ หากเล่นสาดน้ำ ควรใช้น้ำที่สะอาดเพียงพอ ไม่ใช้น้ำจากคลองที่ไม่น่าไว้ใจ ไม่ควรเล่นสาดน้ำนานเกินไป และหลังจากเล่นแล้วควรรีบอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายค่ะ


ภาพประกอบจาก istockphoto

เนื้อหาโดย : Sanook!


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2016, 09:52:50 am »

สธ.แถลง "ไวรัสซิกา" ระบาดในไทย จับตาอาการ "ไข้-มีผื่น-ตาแดง-เมื่อย" เข้าข่าย!
-http://health.sanook.com/2581/-



กรมควบคุมโรคแถลงร่วม รพ.ภูมิพลฯ หลังข่าวคนหวั่นไวรัสซิการะบาดในไทย เหตุพบผู้ป่วยเพิ่มอีกราย ย้ำไม่ใช่โรคใหม่พบตั้งแต่ปี 2555 วอนอย่าแตกตื่น พร้อมออกประกาศเพิ่มเติม 2 ฉบับ จัด 4 กลุ่มเสี่ยงระวังพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญย้ำสังเกตอาการ “ไข้ – มีผื่น-ตาแดง-ปวดเมื่อย” อาจเข้าข่าย

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากข่าวพบคนไทยเดินทางไปไต้หวันติดเชื้อไวรัสซิกา และขณะนี้กำลังรักษาตัวอยู่ที่ไต้หวันนั้น ล่าสุดเกิดกระแสข่าวตื่นตระหนกว่า พบคนไทยติดเชื้อไวรัสดังกล่าวอีกเป็นรายที่ 2 ของประเทศไทย โดยรักษาตัวอยู่ที่รพ.ภูมิพลอดุลยเดช โดยที่กังวลคือ จะเกิดการระบาดในประเทศไทยหรือไม่ ขณะเดียวกันองค์การอนามัยโลกยังประกาศให้โรคนี้เข้าข่ายสถานการณ์ฉุกเฉิน

ล่าสุดเมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่กรมควบคุมโรค(คร.) ได้จัดแถลงข่าวด่วนภายหลังทราบข่าวประชาชนแตกตื่นเรื่องดังกล่าว โดยมี นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาและที่ปรึกษากรมควบคุมโรค และ พล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมแถลงข่าวครั้งนี้

พล.อ.ต.สันติ ศรีเสริมโภค เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า กรณีนี้ ไม่ใช่ผู้ป่วยรายแรกของประเทศไทย แต่เป็นผู้ป่วยรายแรกของโรงพยาบาลภูมิพล เป็นชายไทยอายุประมาณ 20 กว่าปี เข้ารับการรักษาเมื่อวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมาด้วยอาการไข้ มีผื่น ตาแดง เมื่อยตามเนื้อตัว จากการตรวจสอบยืนยันว่า เป็นไข้ซิกา ซึ่งให้การรักษาจนผู้ป่วยอาการดีขึ้น และออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 26 มกราคม อย่างไรก็ตาม ไม่ถือว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นพาหะ เพราะการแพร่โรคจะเป็นไข้ แต่รายนี้ไม่มี ที่สำคัญรายนี้ไม่มีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด อย่างไรก็ตาม ที่กังวลคือ ปัญหาทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อ โดยที่ต้องระวังคือช่วงตั้งครรภ์แรกๆ ประมาณ 12 สัปดาห์ จึงทำให้เกิดข้อกังวล แต่จริงๆ หญิงตั้งครรภ์ต้องดูแลสุขภาพตัวเองอยู่แล้ว

นพ.อำนวย กล่าวว่า ประเทศไทยพบร่องรอยโรคนี้ตั้งแต่ปี 2506 แต่พบผู้ป่วยรายแรกในปี 2555 ซึ่งตั้งแต่ปี 2555-2558 เฉลี่ย 2-5 ราย และทุกครั้งที่พบผู้ป่วยแต่ละรายก็จะหายได้เอง ไม่มีการแพร่ระบาดวงกว้าง ทั้งนี้ ไม่ต้องกังวลว่าโรคนี้จะมาในลักษณะข้ามประเทศ หรือ Case Import เพราะในประเทศก็พบเจอได้ เพียงแต่ควบคุมได้ โดย คร.มีมาตรการต่างๆ ทั้งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การกำจัดยุงลาย ซึ่งใน 1-2 สัปดาห์จะมีกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ร่วมกับทุกหน่วยงานเกี่ยวกับการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะโรค 3 โรค ได้แก่ ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา (โรคไข้ปวดข้อยุงลาย) และซิกา นอกจากนี้ ก็มีคำแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการระบาด เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีข้อกังวลเรื่องหญิงตั้งครรภ์ที่หากรับเชื้อจะส่งผลต่อทารกให้ศีรษะลีบแบน นพ.อำนวย กล่าวว่า จริงๆ หญิงตั้งครรภ์จะต้องดูแลตัวเองในทุกด้านมากกว่าคนทั่วไป แต่ในเรื่องนี้ก็มีมาตรการเฝ้าระวัง โดยจัดกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม มี 1.หญิงตั้งครรภ์ 2.ผู้ป่วยไข้ออกผื่น ที่มาสถานพยาบาลไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดต้องคัดกรองเป็นพิเศษ เพราะอาจเข้าข่ายอาการของซิกา 3. ทารกศีรษะเล็ก และ4. ผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบ โดยกลุ่มอาการเหล่านี้จะบ่งบอกว่าเข้าข่ายโรคซิกาได้ และในกรณีหญิงตั้งครรภ์หากมีอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ต้องรีบพบแพทย์ เพื่อทำการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อ

ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกังวลว่า ยุงลายในประเทศไทยถือว่าเป็นพาหะนำโรคมากน้อยแค่ไหน นพ.อำนวยกล่าวว่า ได้มีการประสานภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในการติดตามเรื่องยุงว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ นอกจากนี้ คร.ยังได้ออกประกาศเพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ จากฉบับแรกที่เกี่ยวกับประกาศเรื่องโรคไข้ซิกา ในเรื่องอาการ การดูแล เฝ้าระวังต่างๆ โดยประกาศใหม่ คือ 1. ประกาศสธ.เรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อและอาการสำคัญ โดยระบุว่าอาการสำคัญ ได้แก่ มีอาการไข้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตาแดง บางรายอาจมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย โดยทั่วไปจะมีอาการป่วยประมาณ 1 สัปดาห์ และ 2.ประกาศสธ.เรื่องเพิ่มเติมชื่อโรคติดต่อต้องแจ้งความ ระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นโรคที่ต้องแจ้งความ อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจได้กำชับสถานพยาบาลในสังกัดให้คัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 4 กลุ่มอย่างถี่ถ้วน ขณะเดียวกันได้มีการประชุมทางไกลผ่านระบบคอนเฟอเรนซ์กับนักระบาดวิทยาภาคสนามในระดับอาเซียนบวกสามด้วย

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ผู้ป่วยไวรัสซิกา อาการไม่ได้รุนแรงมาก เพราะปกติจะหายเองได้ภายใน 7 วัน ส่วนที่เกิดการระบาดจนองค์การอนามัยโลกออกมาประกาศว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน เพราะเด็กที่คลอดออกมามีความพิการทางสมอง จึงต้องออกประกาศดังกล่าว โดยกำชับให้มีการดูแลหญิงตั้งครรภ์เป็นพิเศษ

ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ได้มีการประสานไปยังราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ให้เฝ้าระวังทารกแรกเกิดที่มีศีรษะเล็กว่า สัมพันธ์กับเชื้อซิกาหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาไม่ทราบข้อมูลเหล่านี้ และยังประสานไปยังราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการปลายประสาทอักเสบว่า มาด้วยสาเหตุอะไรด้วย เพื่อให้ข้อมูลรอบด้าน ทั้งนี้ อาการของโรคนี้คล้ายไข้เลือดออก กับชิคุนกุนยา มีไข้ ผื่น ปวดข้อ แต่ที่ต้องระวังในหญิงตั้งครรภ์ เพราะมีรายงานในบราซิล เนื่องจากพบว่าทารกแรกเกิดมีศีรษะเล็กประมาณ 3,000 คน ซึ่งพบสูงขึ้นมากจากปกติอัตรา 0.5 คนต่อประชากรทารกหมื่นคน พุ่งสูงขึ้นเป็นอัตรา 20 คนต่อประชากรทารกหมื่นคน เมื่อศึกษาจึงพบว่าเกี่ยวพันกับเชื้อซิกา จึงมีการเฝ้าระวังกันมาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า หญิงตั้งครรภ์หากไปเจาะเลือดตรวจจะทราบว่าเด็กมีภาวะป่วยด้วยหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ไม่สามารถตรวจหาเชื้อในทารกได้ เนื่องจากแอนติบอดีจะเหมือนกับไข้เด็งกี่ และไข้สมองอักเสบ จะต้องเจาะน้ำคร่ำจึงจะตรวจได้

อ่านเรื่องเกี่ยวกับไวรัสซิกาเพิ่มเติมได้ ที่นี่

ภาพประกอบจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, istockphoto

เนื้อหาโดย : นสพ.มติชน

-----------------------------------


พบในไทย! ไวรัส Zika ติดต่อทางยุง อาการคล้ายไข้เลือดออก
-http://health.sanook.com/2353/-

เฟซบุ๊คเพจ “ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว” โพสอธิบายถึงเชื้อไวรัส Zika ที่พบการติดเชื้อในประเทศเปอร์โตริโก้ว่า สามารถติดต่อได้ผ่านยุงลาย คล้ายไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิกุนกุนยา) ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการ เช่น มีไข้ มีผื่นขึ้นตามตัว ตาแดง ปวดข้อ

ความรุนแรงของโรคนี้ ไม่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต แต่หลังพบการระบาดของเชื้อไวรัสตัวนี้ในบราซิล พบว่าเด็กที่เกิดขึ้นมาภายหลังศีรษะมีขนาดเล็กลงจำนวนมาก จึงสงสัยกันว่าเชื้อไวรัสตัวนี้อาจมีผลต่อเด็กในครรภ์ หากมารดาเป็นผู้ติดเชื้อ

นอกจากนี้ เมื่อปี 2557 พบนักท่องเที่ยวที่มาติดเชื้อนี้จากไทยไปคนหนึ่ง ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถพบในไทยได้ จังหวัดที่เคยพบผู้ติดเชื้อ Zika คือ ลำพูน เพชรบูรณ์ ศรีษะเกศ ราชบุรี สมุทรสาคร กระบี่ ภูเก็ต และกรุงเทพฯ

แต่ถึงกระนั้น สามารถป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อได้ง่ายๆ เพียงระวังไม่ให้โดนยุงกัดค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟศบุ๊ต ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว
ภาพประกอบจาก -medicalservices.nph.org-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 31, 2016, 08:37:24 pm »

5 สัญญาณอันตราย ไขมันอุดตันเส้นเลือด
-http://health.sanook.com/2557/-



ใครๆ ก็รู้ถึงอันตรายของโรคนี้ดี โดยเฉพาะคนอ้วนจะมีความเสี่ยงสูง แต่เมื่อไรเราถึงจะเริ่มรู้ตัวว่าเราอาจกำลังเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด Sanook! Health มิวิธีสังเกตตัวเองง่ายๆ มากฝากกันค่ะ

 

5 สัญญาณอันตราย ไขมันอุดตันเส้นเลือด

1. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ไม่ว่าจะเดินขึ้นบันได เดินขึ้นเนิน หรือออกกำลังกายเบาๆ ก็เหนือย

2. เวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม

3. ปวดศีรษะมาก เมื่อลุกขึ้นจากที่นอน หรือลุกนั่งเร็วๆ

4. ใจสั่น ใจเต้นเร็ว ปลายมือปลายเท้าเย็น

5. แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ

 

ลักษณะอาการโดยทั่วไปจะคล้ายๆ กับโรคหัวใจ ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตีบ เพราะมีเลือดไหลเวียนในหัวใจไม่เพียงพอ เลือดจึงไม่สามารถสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ และทำให้เรามีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายนั่นเอง

 

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคไขมันอุดตันเส้นเลือด

1. น้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน

2. ทานอาหารที่มีไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายเป็นจำนวนมากเกินไป และไม่ทานผัก

3. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. อายุมาก และเพศชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

5. ประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดตีบ แตก หรือเบาหวาน ความดันไขมัน

6. สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

7. มีภาวะเครียดจากการทำงาน และเรื่องอื่นๆ ไม่ค่อยขยับร่างกายในแต่ละวัน

 

ปัจจัยไหนที่เราหลีกเลี่ยงได้ ขอให้ทำเป็นประจำนะคะ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ควรลดไขมัน ทานผักให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 วัน ลดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เท่านี้คุณก็ห่างไกลโรคไขมันอุดตันเส้นเลือดแล้วล่ะค่ะ
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 23, 2016, 06:39:30 pm »

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน ภัยอีกขั้นจากยุงลาย
-http://health.kapook.com/view139846.html-

ไวรัสซิกา อีกหนึ่งโรคอันตรายที่มียุงลายเป็นพาหะ ที่น่ากลัวคือยังไร้วัคซีนป้องกัน เป็นแล้วอาจร้ายแรงถึงขั้นสมองผิดปกติ

ถ้าว่ากันถึงภัยจากยุงลายที่เรารู้จักกันดีอย่างไข้เลือดออกแล้ว ยังมีอีกความอันตรายหนึ่งที่น่ากลัวไม่แพ้กันนั้นก็คือ ไวรัสซิกา ซึ่งเป็นไวรัสที่อาจส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ โดยช่วงปี 2558 มีการระบาดใน 14 ประเทศในแถบลาตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่การระบาดรุนแรงจนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะที่เมื่อต้นปี 2559 เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยานนานาชาติเถาหยวน ของไต้หวัน ก็ตรวจพบชายไทยติดเชื้อนี้ ขณะกำลังเดินทางเข้าประเทศ จึงได้เวลาแล้วที่เราควรจะทำความรู้จักกับเจ้าเชื้อไวรัสซิกากันแบบจริงจัง แม้จะยังไม่ใช้่เรื่องใกล้ตัว แต่ก็ไม่ควรละเลยด้วยประการทั้งปวงค่ะ

ไวรัสซิกา คืออะไร ?

ไวรัสซิกา หรือไข้ซิกา เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) มีลักษณะคล้ายคลึงกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก รวมทั้งไวรัสเวสต์ไนล์ที่เป็นสาเหตุของไข้สมองอักเสบ และเชื้อไวรัสไข้สมองอักเสบเจอีซึ่งทั้งหมดล้วนมียุงลายเป็นพาหะ เชื้อไวรัสซิกาถูกค้นพบครั้งแรกจากในน้ำเหลืองของลิงวอก ที่ถูกนำมาป่าซิกาในประเทศยูกันดา เพื่อศึกษาไข้เหลือง เมื่อปี พ.ศ. 2490 และพบในคนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ในประเทศในจีเรีย เชื่อไวรัสซิกาพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

สถานการณ์ของไวรัสซิกาในประเทศไทยและต่างประเทศ

จากการรายงานของขององค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อไวรัสซิกาได้ระบาดในแถบทวีปอเมริกาใต้อย่างหนักมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 โดยเฉพาะในประเทศบราซิลและโคลอมเบีย ซึ่งประเทศบราซิลถือเป็นประเทศที่มีการระบาดหนักที่สุดจนถึงขั้นต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน หลังพบเด็กทารกแรกเกิดติดเชื้อและมีความผิดปกติทางสมองเกือบ 4 พันราย ส่วนในประเทศโคลอมเบียมีการคาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัสซิกาอาจทำให้มีผู้ป่วยถึง 600,000-700,000 คน ทางกระทรวงสาธารณสุขโคลอมเบียจึงออกประกาศแนะนำให้สตรีเลื่อนการตั้งครรภ์ออกไป 6-8 เดือนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา ก็วิตกกังวลกับสถานการณ์การระบาดดังกล่าว จึงออกประกาศเตือนให้หญิงที่ตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไปเลี่ยงการเดินทางไปยัง 14 ประเทศที่มีการระบาดของโรค ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย เอลซัลวาดอร์ เฟรนช์เกียนา กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส มาร์ตีนิก เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย ซูรินาม เวเนซุเอลา และเปอร์โตริโก เพื่อความปลอดภัยค่ะ

ไม่เพียงเท่านั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 กองควบคุมโรคของไต้หวัน ได้ออกมาประกาศว่าพบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกา 1 ราย เป็นชายไทยที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวันผ่านทางสนามบินนานาชาติเถาหยวนเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2559 โดยได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิกาหลังจากเจ้าหน้าที่สนามบินพบว่าชายดังกล่าวมีไข้สูงผิดปกติจึงนำตัวไปตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด ส่วนผู้ร่วมเดินทางมาด้วยกันอีก 2 คน เมื่อตรวจแล้วก็ไม่พบเชื้อดังกล่าวแต่อย่างใด

สำหรับในประเทศไทย หลังจากพบการติดเชื้อของนักท่องเที่ยวหญิงจากประเทศแคนาดาเมื่อปี พ.ศ. 2556 ก็ยังไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่แต่อย่างใด แต่ยังคงมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อจากกรมควบคุมโรคอยู่อย่างใกล้ชิด

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน

ไวรัสซิกา ติดต่อได้อย่างไร

ไวรัสซิกาเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นการติดต่อจึงมาจากการถูกยุงที่มีเชื้อกัด และทั้งนี้ก็ยังไม่พบว่าสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้

ไวรัสซิกา อาการเป็นอย่างไร

องค์การอนามัยโลกระบุว่า มีผู้ติดเชื้อราว 1 ใน 4 ที่จะแสดงอาการออกมาให้เห็นหลังได้รับเชื้อ ซึ่งจะปรากฏอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคไข้เลือดออก ได้แก่ มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ไข้ขึ้นสูง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว และปวดหัว อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

แต่ถ้าหากปล่อยไว้ อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ระบบการทำงานของสมองผิดปกติได้ ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ ซึ่งจะทำให้ทารกมีความผิดปกติที่ศีรษะ โดยจะมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ


ไวรัสซิกา รักษาอย่างไร

แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง แต่โรคไวรัสซิกา ก็ยังเป็นโรคที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน หรือวิธีการรักษาที่แน่ชัด ทำได้แค่เพียงรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไวรัสอื่น ๆ ที่มียุงลายเป็นพาหะ ดังนั้นผู้ป่วยควรพักผ่อนมาก ๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ ทานยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ก็ยังควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์อื่น ๆ อีกด้วย

ไวรัสซิกา ป้องกันได้อย่างไร

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดของโรคไวรัสซิกา หรือไข้ซิกาก็คืออย่าพยายามให้ยุงกัด อีกทั้งยังควรกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้สิ้นซาก เพื่อเป็นการตัดวงจรการขยายพันธุ์และป้องกันโรคที่อาจมากับยุงลายนอกเหนือไวรัสซิกาได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสต์ไนล์ และโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ถ้าอยากทราบวิธีป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยวิธีธรรมชาติละก็ลองตามไปอ่านที่นี่ได้เลย 12 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี

ได้รู้จักกันมาขึ้นแล้วกับโรคไวรัสซิกา คราวนี้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองนี่ล่ะค่ะที่จะต้องดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้ดี ยิ่งถ้าหากใครที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดก็ควรใส่ใจสุขภาพให้มาก ไม่อยากเจ็บป่วยทีหลังก็อย่าชะล่าใจนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Taiwan Centers for Disease Control
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
-krobkruakao.com-
World Health Organization
-paho.org-



ภาพจาก paho.org

ไวรัสซิกา โรคอันตรายไร้วัคซีนป้องกัน ภัยอีกขั้นจากยุงลาย
-http://health.kapook.com/view139846.html-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 22, 2016, 10:09:02 pm »

กทม. เปิดพื้นที่ 10 เขต เสี่ยงไข้เลือดออกระบาดสูงมาก
-http://health.kapook.com/view139885.html-

กทม. เปิดพื้นที่ 10 เขต เสี่ยงไข้เลือดออกระบาดสูงมาก ชี้สถิติปี 2558 พบผู้ป่วยทั่วกรุง 28,177 ราย กำชับเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ลดความเสี่ยงการระบาด

              เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2559 แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2558 พบว่า มีผู้ป่วย 28,177 ราย เสียชีวิต 5 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมีอาการป่วยมากที่สุด ได้แก่ อายุ 20-24 ปี รองลงมาคืออายุ 15-19 ปี และอายุ 10-14 ปี ซึ่งอัตราป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานครถือว่ามากเป็นอันดับที่ 5 จากทั้งประเทศที่มีผู้ป่วยรวม 142,925 ราย เสียชีวิต 141 ราย และถือเป็นอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับ 6 จังหวัดปริมณฑล

              อย่างไรก็ตามเมื่อดูจากสถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี มีการคาดการณ์ว่าในปี 2559 แนวโน้มการระบาดของโรคไข้เลือดออกจะมีความรุนแรงขึ้น โดยในกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ซึ่งถูกจัดอยู่ในระดับความเสี่ยงสูงมาก 10 เขต ด้วยกัน คือ

             1. ลาดพร้าว
             2. จตุจักร
             3. ดินแดง
             4. วังทองหลาง
             5. บางกะปิ
             6. สวนหลวง
             7. ประเวศ
             8. วัฒนา
             9. บางพลัด
             10. ธนบุรี

พื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง 12 เขต ได้แก่

             1. บางแค
             2. บางบอน
             3. จอมทอง
             4. บางกอกน้อย
             5. พญาไท
             6. ราชเทวี
             7. ห้วยขวาง
             8. บางซื่อ
             9. บางเขน
             10. สะพานสูง
             11. บึงกุ่ม
             12. พระโขนง

              ส่วนพื้นที่อื่น ๆ มีความเสี่ยงระดับปานกลาง และความเสี่ยงน้อย อย่างไรก็ตามถือว่าทุกพื้นที่และทุกคนมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไข้เลือดออกเช่นกัน โดยผู้ได้รับเชื้อ 100 คน จะมีเพียง 10 คนที่แสดงอาการ ส่วนอีก 90 คน จะไม่แสดงอาการและหายไปเองได้

               แพทย์หญิงวันทนีย์ ยังได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจและให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการป้องกันไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงตามอาคารบ้านเรือน และที่สาธารณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออก นอกจากนี้กรุงเทพมหานครจะดำเนินการผ่านโรงเรียนในสังกัด โดยขอให้นักเรียนทุกคนกลับไปทำลายแหล่งน้ำขังที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านเรือนของตนเอง อีกทั้งขอความร่วมมือประชาชนเฝ้าระวังไข้เลือดออกในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการสอบถามข้อมูล หรือจัดกิจกรรมรณรงค์ต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อให้สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกให้ได้มากที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก กรมประชาสัมพันธ์
-http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/WNSOC5901210010065-

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 21, 2016, 06:08:46 am »

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
-http://health.kapook.com/view2522.html-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 21, 2016, 06:07:58 am »

ไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ อันตรายถึงชีวิต !
-http://health.kapook.com/view2522.html-

ดูรูปที่ 1

 ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย

โรคไข้เลือดออกต้องระวังยุงชนิดไหน

          ยุงลายเป็นพาหะตัวร้ายของโรคไข้เลือดออก ทางที่ดีที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น คือการป้องกันตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลาย ถ้ากำจัดลูกน้ำยุงลายบริเวณรอบ ๆ บ้านได้จะยิ่งดี

 ยุงลายชอบกัดตอนไหน ช่วงไหนควรระวังพาหะไข้เลือดออก

          ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทำให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการโปรตีนจากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็นช่วงเวลาอันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหน ๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะปลอดภัยกว่า

          ยุงกัดเพราะอะไร ระวังไว้ ก่อนป่วยไข้เลือดออก !

          มาดูกัน...ยุงชอบกัดคนประเภทไหน
ดูรูปที่ 2


 อาการของ ไข้เลือดออก

          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ

          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 องศาเซลเซียส มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน

          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว

          3. ตับโต

          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

ตับอักเสบจากไข้เลือดออก อีกหนึ่งอาการที่ต้องระวัง

          อาการตับอักเสบอย่างรุนแรง สามารถพบได้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นกรณีที่เชื้อไวรัสเข้าไปทำลายตับ หรือเกิดจากการที่ตับถูกทำลายเพราะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นหากมีอาการไข้เลือดออกแล้วก็ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหากเกิดอาการตับอักเสบจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที


ลักษณะตุ่มไข้เลือดออก

          ตุ่มโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับตุ่มยุงกัดทั่วตัว และใกล้เคียงกับผื่นจากโรคหัด แต่จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็นไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอหรือน้ำมูกไหล และจุดเลือดออกของโรคไข้เลือดออกจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนโรคหัด และเวลากดดึงผิวหนังให้ตึงจะไม่จางหายไปเหมือนจุดถูกยุงกัดธรรมดา ซึ่งถ้ามีอาการตามนี้ร่วมกับมีไข้สูงตลอดเวลา ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน

 ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ

          ระยะฟักตัวของไข้เลือดออกจะอยู่ในช่วง 3-5 วัน และอาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

 ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง

          ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับอาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัด ๆ

 ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก

          อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความรุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้องบ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความดันต่ำ ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทำให้เสียชีวิตได้

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น) เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก

 ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว

          ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ โดยอาการจะดีขึ้นตามลำดับภายในช่วงระยะ 7-10 วันหลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 ของโรค

การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่าย ๆ

          ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลำชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาที และลองเอาเหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตําแหน่งที่ใช้เหรียญกดทับเป็นจํานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความเสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว

เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที

          เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้ำ กระหายน้ำตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย

          เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง


 แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

           โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้

          1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร

          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด

          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

          4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย

จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว

          ผู้ป่วยไข้เลือดออก หากมีอาการไข้ลดลง ภายใน 24-48 ชั่วโมง แล้วเริ่มกินอะไรได้ รู้สึกตัวดี ไม่ซึม แสดงว่าอาการพ้นขีดอันตรายแล้ว

 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก

          เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก

          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้

โรคไข้เลือดออก กับยาที่ควรหลีกเลี่ยง

          ในการรักษาของผู้ป่วยไข้เลือดออกควรจะใช้ยาพาราเซตามอลในการรักษาเท่านั้น และห้ามรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน ซึ่งได้แก่ยาแอสไพรินชนิดเม็ด หรือยาแอสไพรินแบบซองที่ขายทั่วไป และยาในกลุ่มไอบูโปรเฟน เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้เป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง คืออาจไปกัดกระเพาะทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะหรือลำไส้ ซึ่งทำให้เป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้


อาหารสำหรับผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นแล้วควรกินอะไร

          ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสและฟื้นฟูร่างกายได้รวดเร็ว โดยอาหารที่ควรรับประทานคือ ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะนาว ส้ม เลมอน หรือเกรปฟรุต เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้น และควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงด้วย เพื่อให้มีเรี่ยวแรงและสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดี

          นอกจากนี้อาหารที่รับประทานควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก น้ำผัก หรือน้ำผลไม้ แต่ทั้งนี้ที่สำคัญที่สุดก็คือการดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยให้ร่างกายขับสารพิษออกมาได้มากขึ้นนั่นเอง

ไข้เลือดออกห้ามกินอะไรบ้าง รู้แล้ว เลี่ยงให้ไกล

          นอกจากจะควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ แล้ว ผู้ป่วยไข้เลือดออกนั้นก็ควรจะหลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ ประเภทอาหารทอด หรือผัด และไม่ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดเพราะอาจจะทำให้แสบท้องและเกิดเลือดออกในกระเพาะได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสีแดง สีดำ หรือสีน้ำตาล เพราะสีของอาหารอาจจะทำให้การสังเกตอาการเลือดออกในปัสสาวะและอุจจาระเป็นไปได้ยากขึ้นอีกด้วย


เป็นไข้เลือดออกแล้วมีสิทธิ์เป็นซ้ำอีกได้ไหม

          เนื่องจากไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งในแต่ละปีจะมีการระบาดของสายพันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป หากผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดไปแล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นตลอดชีวิต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันข้ามไปยังสายพันธุ์อื่นได้ระยะหนึ่ง ก่อนภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์อื่นจะหายไป ดังนั้น ผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกในสายพันธุ์ที่ต่างจากที่เคยเป็น แต่ทว่า การติดเชื้อครั้งที่ 2 มักจะมีอาการรุนแรงกว่าการป่วยครั้งแรก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนเรามักติดเชื้อไม่เกิน 2 ครั้ง

การป้องกันโรค ไข้เลือดออก

          ทุกวันนี้ยังไม่มียาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง 

          15 วิธีป้องกันยุงกัดส่งตรงจากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี



 การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management

          การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้ยุงมีการขยายพันธุ์

          แท็งก์น้ำ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่

          ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แท็งก์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน

          ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ

          หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธุ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

          ตรวจสอบรอบ ๆ บ้านว่ามีแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนหลังคามีแอ่งขังน้ำหรือไม่ หากมีต้องจัดการ

          ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง

          ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน

          หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ

วิธีกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ดูรูปที่ 3

 การป้องกันส่วนบุคคล

          ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนยาว และกางเกงขายาว เด็กนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง

          การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี

          การใช้กลิ่นกันยุง เช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่น ๆ

          นอนในมุ้ง

          การควบคุมยุงโดยทางชีวะ

          เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

          ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุง ได้แก่ เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) และ Bacillus sphaericus (Bs)

          การใช้เครื่องมือดักจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนามบินของสิงคโปร์ แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธุ์ของยุง


 การใช้สารเคมีในการควบคุม

          ใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ

          ใช้สารลดแรงตึงผิว เช่น ผงซักฟอก สบู่ แชมพู น้ำยาล้างจาน ฉีดพ่นกำจัดยุง เพราะสารดังกล่าวจะไปทำลายระบบการหายใจของแมลง ทำให้แมลงตายได้

          ใช้ "ทรายอะเบท" กำจัดยุงลาย โดยให้นำทรายอะเบท 1 กรัม ใส่ในภาชนะที่มีน้ำขัง (อัตราส่วน 1 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร หรือ 20 กรัม) จะป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำได้นานประมาณ 1-2 เดือนเลยทีเดียว ซึ่งหลังจากใช้เสร็จแล้วต้องเก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด รวมทั้งเก็บในที่เย็น แห้ง และมีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ

          การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปี แต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก

การระบาดของไข้เลือดออก

          ช่วงเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี

สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก

          จากข้อมูลทางกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า 8 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคม-18 สิงหาคม 2558 มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 51,500 ราย มากกว่าปี 2557 ถึง 2 เท่า และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 37 ราย โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในภาคกลาง รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเด็กโต อายุระหว่าง 10-14 ปี โดยสาเหตุร้อยละ 80 เกิดจากถูกยุงลายที่อยู่ในบ้านกัด และส่วนที่เหลือคือถูกยุงลายที่อยู่ตามสวนกัด

          หากใครมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องโรคไข้เลือดออก สามารถสอบถามได้ที่สายด่วน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) หมายเลขโทรศัพท์ 089-204-2255 ตลอด 24 ชั่วโมง

เห็นตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ แต่ยุงคือฆาตกรอันดับหนึ่งของโลกเชียวนะ

ดูรูปที่ 4

          จากสถิติสัตว์ร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดในโลก 15 อันดับ ที่ gatesnotes บล็อกส่วนตัวของบิล เกตส์ ได้นำข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) รวมทั้งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาสรุปให้ดูเมื่อปี 2014 จะเห็นว่า สัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างยุง สามารถคร่าชีวิตมนุษย์เกือบล้านคนต่อปี ถือเป็นสัตว์ที่อันตรายกับสวัสดิภาพมนุษย์มากกว่าสัตว์ดุร้ายอย่างงูพิษหรือฉลามเสียอีก เอาเป็นว่าอย่ามัวเสียเวลาค่ะ มาไล่เรียง 15 สัตว์ตัวร้ายที่อาจเป็นภัยกับมนุษย์แบบเรียงตัวเลยดีกว่า

1. ยุง

          ด้วยความที่ยุงมีขนาดตัวเล็ก บินได้คล่องตัว มนุษย์เราจึงเสี่ยงกับเชื้อไวรัสที่ยุงเป็นพาหะนำมาทำร้ายเราได้ง่ายกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคไข้มาลาเรีย ที่คร่าชีวิตมนุษย์กว่า 600,000 คนต่อปี และเป็นพาหะที่ทำให้มนุษย์ป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งนอกจากโรคไข้มาลาเรียแล้ว เจ้ายุงที่มีมากกว่า 2,500 สายพันธุ์ ยังเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เหลือง และโรคสมองอักเสบอีกต่างหาก ซึ่งจากสถิติแล้ว ยุงที่มีพาหะของเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ ได้คร่าชีวิตมนุษย์มากถึง 725,000 คนต่อปี

2. มนุษย์

          มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่ทำร้ายกันและกันเองมากเป็นอันดับที่ 2 โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิตจากน้ำมือของคนด้วยกันเองถึงปีละ 475,000 คนต่อปีเลยทีเดียว

3. งู

          สัตว์เลื้อยคลานมีพิษร้ายอย่างงู รั้งอันดับ 3 ไปด้วยสถิติคร่าชีวิตมนุษย์ทั่วโลกกว่า 50,000 คนต่อปี

4. สุนัข (ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า)

          โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคอันตราย หากเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก ซึ่งได้คร่าคนไปกว่า 25,000 คนต่อปี

5. แมลงดูดเลือด

          พาหะนำโรคง่วงหลับมาคร่าชีวิตมนุษย์ปีละ 10,000 คนทั่วโลก

6. มวนเพชรฌฆาต

          แมลงชนิดนี้มีฉายาว่า ฆาตกรแบกศพ มักพบในประเทศมาเลเซีย และเป็นแมลงที่คร่าชีวิตมนุษย์มากถึงปีละ 10,000 คนเช่นกัน

7. หอยเชอร์รีหรือทากน้ำ

          ตัวการของโรคไข้สมองอักเสบ หากกินหอยชนิดนี้ดิบ ๆ ก็อาจได้รับเชื้อจนเพิ่มสถิติคร่าชีวิตคนจาก 10,000 คนต่อปีให้มากขึ้นได้

8. พยาธิไส้เดือน

          อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไข้สมองอักเสบคือ เจ้าพยาธิไส้เดือนนี่ล่ะ โดยจากสถิติแล้ว สัตว์ตัวเล็ก ๆ นี้คร่าคนไปกว่า 2,500 คนทั่วโลกเลยทีเดียว

9. พยาธิตัวตืด

          พาหะนำโรคพยาธิตัวตืด ที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมาไม่ต่ำกว่า 2,000 คนต่อปี

10. จระเข้

          สัตว์ดุร้ายที่เราเข้าใจกันมา จริง ๆ แล้วมีสถิติคร่าชีวิตมนุษย์เพียง 1,000 คนต่อปี ทิ้งห่างสัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างยุงมาไกลโข

11. ฮิปโปโปเตมัส

          แม้จะเป็นสัตว์ที่เราเห็นในสวนสัตว์ แต่ฮิปโปโปเตมัสก็แฝงอันตรายมากพอจะคร่าชีวิตมนุษย์ได้กว่า 500 คนต่อปี

12. ช้าง

          ด้วยความที่ช้างอยู่ในป่าเขาเป็นส่วนใหญ่ สถิติทำร้ายมนุษย์จนถึงขั้นเสียชีวิตจึงอยู่ที่ 100 คนต่อปีเท่านั้น

13. สิงโต

          เหตุผลเดียวกันกับช้างป่า สิงโตก็ทำร้ายมนุษย์ปีละ 100 คนโดยเฉลี่ยเช่นกัน

14. หมาป่า

          สถิติความร้ายกาจของหมาป่าอยู่ที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปปีละ 10 คนโดยเฉลี่ย ซึ่งอาจเป็นเพราะหมาป่าไม่ใช่สัตว์ที่อยู่ใกล้ตัวเรานัก

15. ฉลาม

          วายร้ายอย่างฉลามตามสถิติแล้วถูกจัดอันดับไว้ที่ 15 ด้วยสถิติคร่าชีวิตมนุษย์ 10 คนต่อปี

          จะเห็นได้ชัดเลยว่า สัตว์มีพิษหรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้จะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก อยู่ใกล้ ๆ หรือรอบตัวเรา ซึ่งก็เป็นช่องโหว่ที่ทำให้เราลืมระมัดระวังตัวเองจากวายร้ายเหล่านี้ิ จนเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
Z NEWS
Articles of Health Care
PLOS MEDICINE
Nature
CrocBITE

-http://healthy.moph.go.th/index.php/2012-03-26-04-30-53/118-2012-06-25-02-16-13-
-http://www.tm.mahidol.ac.th/hospital/hospital-dengue-th.php-
-http://www.crocodile-attack.info/-
-http://journals.plos.org/plosmedicine/article?id=10.1371/journal.pmed.0050218-
-http://www.nature.com/nature/journal/v436/n7053/full/436927a.html-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2015, 09:08:35 am »

หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมภาวะเสี่ยงในวัยทำงาน

-http://health.sanook.com/885/-



อธิบดีกรมการแพทย์เผยกลุ่มคนวัยทำงานเสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมสูง ชี้สาเหตุมาจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม อายุที่เพิ่มมากขึ้น แนะปรับเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายหลีกเลี่ยงการยกของหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการเกิดโรคดังกล่าวได้

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดจากสาเหตุสำคัญ คือ การสึกหรอตามอายุการใช้งาน เช่น การทำกิจกรรมซ้ำๆเป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ การยกของหนัก และพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ซึ่งมีผลทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงบริเวณหมอนรองกระดูกน้อยลง นอกจากนี้วัยที่สูงขึ้นทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนักตัว มีการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน ซึ่งจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสร้างกระดูกงอกหรือหินปูนขึ้นมาเพื่อต้านการทรุดตัวดังกล่าว กระดูกงอกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่บางรายเกิดกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทและทำให้เกิดอาการปวดร้าวไปตามเส้นประสาท ทำให้ปวดขา ชาขา ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเสื่อมและทรุดพบว่าถ้ามีการทรุดตัวมากขึ้นจะทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด หรือบางรายอาจทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน

อาการแสดงที่พบบ่อย คือ ปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ถือเป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขึ้น ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดหลังและร้าวลงขา ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้สามารถรักษาหายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์จะจ่ายยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ร่วมกับให้ยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นรอบๆ เส้นประสาทหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เช่น ชารอบก้น อั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งถือเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้น้อย จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แพทย์จะผ่าตัดเพื่อตัดเอาส่วนที่กดทับเส้นประสาทออกร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น

อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวแนะแนวทางป้องกันโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท คือ การใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังในชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ อย่านั่งอยู่กับที่นานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนอิริยาบถ ด้วยการ ลุก ยืน เดิน มีการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลัง และหน้าท้องให้แข็งแรงสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังลงโดยการปรับท่านั่งให้หลังตรงหรือเดินตัวตรง ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากหลังจะต้องเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวของคนเรา เมื่อมีน้ำหนักตัวมากเกินไป การทำงานของกล้ามเนื้อหลังก็จะมากไปด้วยรวมทั้งงดการสูบบุรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้กระดูกพรุนและหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น

แหล่งข่าวโดย » ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์

เนื้อหาโดย : Sanook!



ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 05:04:47 pm »

โรคไข้สมองอักเสบเจอี มันมาพร้อมหน้าฝน !
โพสต์เมื่อ : 24 มิถุนายน 2558 เวลา 16:54:21
โรคไข้สมองอักเสบเจอี

-http://baby.kapook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-122362.html-


          โรคไข้สมองอักเสบเจอี มีพาหะสำคัญคือ ยุงรำคาญ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส และระบาดในช่วงฤดูฝน เกิดได้ทุกเพศทุกวัย พบมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 5 - 9 ขวบ วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้เรื่อง โรคไข้สมองอักเสบเจอี มาฝากกัน และเพื่อความปลอดภัยควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบ ขึ้นไป อ่านวิธีป้องกันเบื้องต้นจากนิตยสารบันทึกคุณแม่ กันเลยค่ะ ...

          จะว่าไปเผลอแป๊ปเดียวก็เข้าสู่หน้าฝนอย่างเป็นทางการแล้ว ก่อนหน้าที่บ่นว่าร้อน ๆ ตอนนี้ก็ต้องลุกขึ้นมาเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับสวยเผ่นแล้วสินะ !!! ความพร้อมอย่างแรก ต้องบอกว่าอย่าลืมพกร่ม หรือชุดกันฝนเวลาออกจากบ้าน เพราะอากาศบ้านเราเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝนตก ร่างกายก็จะกลายเป็น 3 วันดี 4 วันไข้ อย่าว่าแต่เด็ก ๆ จะเจ็บป่วยได้ง่ายเลย ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ เองก็เจ็บป่วยได้ง่ายไม่ต่างกัน

          โดยเฉพาะ "โรคไข้สมองอักเสบเจอี" ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Japanese encephalitis (JE) เนื่องจากพบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันได้พบโรคนี้ในประเทศแถบเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และตอนบนของทวีปออสเตรเลีย ส่วนประเทศไทยสามารถพบได้ทุกภาค แต่จะพบมากที่สุดคือ ภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่การเลี้ยงสัตว์ตามไร่นาที่มีการเลี้ยงสุกร

          สุกรเป็นรังของโรคไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งจะระบาดในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน และยังเป็นที่มีเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี

          "โรคไข้สมองอักเสบเจอี" เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และพบมากที่สุดในเด็กช่วงอายุ 5 - 9 ขวบ เป็นโรคที่มียุงรำคาญเป็นพาหะ และสุกรเป็นรังโรค เมื่อยุงไปกัดสุกรที่มีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ไวรัสจะเพิ่มจำนวนในต่อมน้ำลายยุง และถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดขณะกัดคน ต่อมาเมื่อยุงไปกัดคนที่ไม่มีภูมิต้านทานโรค เชื้อไวรัสตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกาย โดยการระบาดของโรคมักเกิดกับสุกรก่อนที่จะมาสู่คน ซึ่งเชื้อเจอียังอาศัยอยู่ในสัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง เช่น แพะ แกะ ลา หนู นก ค้างคาว ไก่ เป็ด เป็นต้น โดยไม่ทำให้สัตว์มีอาการผิดปกติ และมีระยะฟักตัว 1-2 สัปดาห์หลังถูกยุงกัด

          อาการของโรค... เมื่อได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการใด ๆ มีเพียง 1 ใน 300 คนเท่านั้นที่จะแสดงอาการ และหากมีอาการทางสมองแล้วจะมีโอกาสเสียชีวิต 10-20% หรือถ้าไม่เสียชีวิต เมื่อหายแล้ว 60% จะมีอาการทางสมอง และระบบประสาท เช่น อัมพาต ความจำเสื่อม โรคนี้รุนแรงที่สุดในบรรดาโรคไข้สมองอักเสบ ที่เกิดจากไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ เพราะไม่มียารักษา แต่ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน

          โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย และคอแข็ง ปวดศีรษะมากขึ้น คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ตาพร่า กล้ามเนื้อกระดูก เป็นบางส่วน มือเท้าเกร็ง บางรายเป็นอัมพาตที่กล้ามเนื้อลูกตา หรือกล้ามเนื้อแขนขา ซึมในระยะ 24 - 48  ชั่วโมง ในรายที่เป็นรุนแรงจะไม่รู้สึกตัว และทำให้เสียชีวิตได้ ในระยะ 4 - 7 สัปดาห์ ในส่วนของการรักษาแพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้ยาลดไข้ ให้อาหารทางสายยาง ให้ยากันชัก ผลของการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

          สิ่งสำคัญ และจำเป็นที่สุดสำหรับ "โรคไข้สมองอักเสบเจอี" จึงเป็นเรื่องการป้องกันไม่ให้ยุงกัด เลี่ยงในการสัมผัสกับโรค กำจัดยุง และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงภายในบ้าน และบริเวณรอบบ้านให้หมดไป ตลอดจนหากต้องเดินทางไปพักค้างคืนนอกบ้านด้วยแล้วล่ะก็ ต้องเตรียมยากันยุงกัด รวมถึงไม่ควรนอนพักใกล้แหล่งรังโรค อย่างเช่นมีการเลี้ยงสุกรใกล้ ๆ ด้วย

          โรคไข้สมองอักเสเจอี เป็นโรคที่รักษายาก หรืออีกนัยหนึ่งคือเมื่อรักษาโรคหายแล้ว ใช่ว่าผลกระทบของอาการโรคที่เกิดขึ้นจะหมดตามไปด้วย เพราะในบางรายเมื่อหายจากโรคนี้แล้ว 60% จะมีอาการทางสมอง และระบบประสาท เช่น อัมพาต ความจำเสื่อม ดังนั้นพ่อแม่นอกจากจะระมัดระวังลูกน้อยเป็นอย่างดีแล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังในส่วนของตนเองด้วย เบื้องต้นควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนในเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ขวบ และฉีดวัคซีนสำหรับผู้ต้องเดินทางไปในพื้นที่ระบาดตั้งแต่ 30 วันขึ้นไปด้วยอีกทางหนึ่ง เพื่อความปลอดภัยสำหรับลูกน้อย และมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้เป็นดีที่สุดนะคะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.mothersdigest.in.th/-
http://www.mothersdigest.in.th/
Vol.22 Issue 263 มิถุนายน 2558