ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ  (อ่าน 47517 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #140 เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2014, 06:04:12 am »
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส


-http://guru.sanook.com/27277/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA/-



โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส
ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
สมอง  ไขสันหลัง  ระบบประสาทวิทยา

อาการที่เกี่ยวข้อง :กล้ามเนื้ออ่อนแรง

บทนำ
ถ้าใครติดตามข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วพบข่าวดังข่าวหนึ่งว่า แม่ของดาราชื่อดังท่านหนึ่งป่วยเป็น “โรคเอแอลเอส (ALS)” ท่านคงจะงงกับโรคนี้ โรคเอแอลเอส คืออะไร จะรักษาหายหรือไม่ ต้องตามอ่านบทความนี้ครับ เพื่อความเข้าใจที่กระจ่างแจ้งขึ้น


โรคเอแอลเอส คืออะไร?
โรคเอแอลเอส (ALS) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส ย่อมาจาก Amyotrophic lateral sclerosis เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron dis ease : MND) ไม่ใช้โรคกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เนื่องจากเซลล์ประสาทนำคำสั่งในไขสันหลังส่วนหน้า และมีบางส่วนของเนื้อสมองเสื่อม จึงสูญเสียการนำคำสั่งในการทำงานมายังกล้าม เนื้อ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อขึ้น


โรคเอแอลเอสเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เกิดการเสื่อมของเซลล์นำคำสั่งได้อย่างไร เชื่อว่าอาจเกิดจากหลายๆปัจจัย เช่น สารพิษ ยาฆ่าแมลง โลหะหนัก สารรังสี การติดเชื้อไวรัส หรืออาจเกิดจากการเสื่อมของเซลล์เอง (อาจจากอายุ และ/หรือ มีจีน/ยีน/Gene บางชนิดผิดปกติ)


ใครมีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคเอแอลเอสบ้าง?
โรคเอแอลเอสนี้ พบได้น้อยมาก ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลว่าพบมากน้อยเพียงใด ในยุ โรปพบประมาณ 2 รายต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายพบบ่อยกว่าผู้หญิง ไม่พบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แน่ชัด


โรคเอแอลเอสมีอาการอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคเอแอลเอส จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณ แขน มือ ขา ข้างหนึ่งข้างใดก่อน โดยอาการค่อยๆเป็นค่อยๆไป ต่อมามีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีอาการ พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อต่างๆลีบ และมีอาการเต้นกระตุกของกล้ามเนื้อด้วย ต่อมาเป็นทั้ง 2 ข้างของร่างกาย อาการในช่วงแรกๆจะไม่ค่อยชัดเจน ผู้ป่วยอาจบ่นว่าอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงเดิน หรือหยิบจับของไม่ถนัด ร่วมกับมีกล้ามเนื้อเต้นกระตุกด้วย การดำเนินโรคจะใช้เวลาหลายเดือนถึงเป็นปี จึงมีอาการชัดเจน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติด้านความจำ ระดับความรู้สึก ตัวใดๆ รวมทั้งในการขับถ่าย แม้จะเป็นในระยะสุดท้ายของโรคก็ตาม


เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
ผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อเต้นกระตุกบ่อยผิดปกติ และ/หรือพูดลำบาก ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอ ไม่ควรรอให้เป็นมาก


โรคเอแอลเอสวินิจฉัยได้อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคเอแอลเอสได้โดย จะพิจารณาจากลักษณะอาการผู้ป่วย คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยการรับรู้ความรู้สึกเป็นปกติ กล้ามเนื้อลีบฝ่อ ไม่ปวด ไม่ชา มีการเต้นกระตุกของกล้ามเนื้อ พูดไม่ชัด กล้ามเนื้อลิ้นลีบ และมีการเต้นของกล้ามเนื้อลิ้น
ตรวจร่างกายพบกล้ามเนื้อลีบฝ่อทั่วๆไป ลิ้นลีบ มีการเต้นกระตุกของลิ้น และพบรีเฟล็กซ์ผิดปกติ
ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า (Electromyography) พบความผิดปกติที่เข้าได้กับโรคนี้
นอกจากนั้นคือ ต้องตรวจประเมินไม่พบโรคอื่นๆที่ให้อาการคล้ายกัน และ โรคนี้ไม่จำเป็น ต้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอมอาร์ไอสมอง ซึ่งการตรวจสืบค้นเพิ่มเติมเหล่านี้ขึ้นกับดุลพิ นิจของแพทย์ผู้รักษา
อนึ่ง โรคที่มีอาการคล้ายกับโรคเอแอลเอส เช่น
โรคไทรอยด์เป็นพิษ
โรคซิฟิลิส ระยะเข้าไขสันหลัง และ/หรือเข้าสมอง
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ


รักษาโรคเอแอลเอสอย่างไร? มีการพยากรณ์โรคเป็นอย่างไร?
ปัจจุบัน การรักษาและการพยากรณ์โรคของโรคเอแอลเอส คือ โรคเอแอลเอส ยังไม่มียา หรือวิธีใดๆที่จะรักษาให้หายได้ มีเพียงยาชื่อ ริลูซอล (Riluzole) ที่พอจะชะลออาการของโรคได้บ้าง โดยสามารถชะลอภาวะหายใจล้มเหลวได้ระยะเวลาหนึ่งเมื่อเทียบกับไม่ใช้ยา แต่สุด ท้ายผู้ป่วยก็จะมีอาการรุนแรงขึ้น หายใจเองไม่ไหว ต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจตลอดไป โดยส่วนใหญ่ อาการจะค่อยๆเลวลงหลังจากวินิจฉัยได้แล้วประมาณ 2-5 ปี ก็จะมีภาวะหายใจล้มเหลว และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว และการติดเชื้อในระบบต่าง ๆโดยเฉพาะในทางเดินหายใจ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะค่อยๆไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เพราะกล้ามเนื้อทุกส่วนจะอ่อนแรง และฝ่อลีบไปเรื่อยๆจนไม่มีแรงเลย ยกเว้นที่พอทำงานได้ คือ การกลอกตาไปมา และการหลับตา ลืมตา
การรักษาที่ดีที่สุดคือ การรักษาประคับประคองตามอาการ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ชะลอการฝ่อลีบให้ช้าลง และเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อน/ผลข้าง เคียงที่จะเกิดขึ้น เช่น แผลกดทับ และการสำลักอาหารและน้ำลาย ที่จะส่งผลถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
อนึ่ง ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ก็อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งการดูแลในโรงพยาบาลคือ การดูแลการใช้เครื่อง ช่วยหายใจ และการป้องกันการติดเชื้อ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ดังนั้นถ้าทางครอบครัวมีความพร้อม ก็สามารถให้การดูแลที่บ้านได้ ซึ่งจะปลอดภัยจากภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก และต้องลงทุนซื้อเครื่องช่วยหายใจ และติดตั้งระบบออกซิเจนที่บ้าน ปัจจุบันก็มีบางครอบครัวที่สามารถทำแบบนี้ได้


ครอบครัวและผู้ป่วยควรทำอย่างไรเมื่อทราบว่าเป็นโรคนี้?
เมื่อเป็นโรคนี้ กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทุกคนต้องมีกำลังใจที่ดี ยอมรับความเป็นจริง ปรับตัวอยู่กับโรคให้ได้ ไม่ควรท้อแท้ หรือหมดกำลังใจ ในระยะแรกของโรค การออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ก็เป็นการช่วยชะลอโรคได้
อนึ่ง การดูแลรักษาที่บ้านนั้น ในระยะแรกสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดภาวะหายใจล้มเหลวแล้ว การดูแลที่บ้าน ทางครอบครัวต้องมีความพร้อมทุกอย่างดังที่กล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการให้อาหารทางสายยาง ไม่ว่าจะเป็นทางจมูกหรือทางหน้าท้อง การดูแลการขับถ่าย และการเตรียมญาติและผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเมื่ออยู่บ้าน ผู้ป่วยจะมีความสุขมากกว่าอยู่โรงพยาบาล


เมื่อดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?
เมื่อผู้ป่วยเกิดการสำลักอาหารบ่อยขึ้น มีไข้ หรือมีการติดเชื้อในระบบต่างๆ เช่น ในทางเดินหายใจ หรือในทางเดินปัสสาวะ หรือเมื่อมีปัญหาต่างๆในการดูแลผู้ป่วย ก็ควรต้องปรึกษา แพทย์ พยาบาลก่อนนัด ซึ่งเมื่อป่วยเป็นโรคนี้ ควรต้องสอบถามแพทย์/พยาบาลล่วงหน้าถึงวิธี การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การปรึกษาแพทย์/พยาบาลทางโทรศัพท์ หรือการมาโรงพยาบาลก่อนนัดว่า ควรทำอย่างไร จะได้เหมาะสมและสะดวกทั้งกับผู้ป่วยและผู้ดูแล


โรคเอแอลเอสป้องกันได้หรือไม่?
เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคเอแอลเอส


สรุป
อาจกล่าวได้ว่าโรคเอแอลเอส เป็นโรคเวรโรคกรรมก็ได้ แต่เราก็ต้องเข้าใจ ยอมรับธรรมชาติ และมีกำลังใจที่ดีในการอยู่กับโรคนี้



ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก haamor.com

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #141 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2014, 10:04:30 am »
ภัยเงียบจากตัวเรือดไม่ควรมองข้าม

-http://ch3.sanook.com/38919/%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88-


Family News Today  ภัยเงียบจากตัวเรือดไม่ควรมองข้าม (นาทีที่ 10.00)

การพบตัวตัวเรือดแมลงสร้างความรำคาญในปัจจุบัน มักติดมากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมีการตรวจพบตัวเรือดสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบในประเทศไทย กรมควบคุมโรคแนะนำดูแลความสะอาดของสถานที่สม่ำเสมอ และถูกวิธี เป็นการป้องกันกำจัดตัวเรือดที่ได้ผลดีที่สุด

นายแพทย์นิพนธ์ ชินานนท์เวช ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ประเทศไทยไม่มีรายงานตรวจพบตัวเรือด ซึ่งเป็นแมลงขนาดเล็ก ดูดเลือดสัตว์และคนกินเป็นอาหาร มาหลายสิบปีแล้ว แต่ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมามีการตรวจเจอตัวเรือดอย่างต่อเนื่องตามโรงแรม หรือ เกสต์เฮ้าส์ เพราะส่วนใหญ่ตัวเรือดมักจะติดมากับเสื้อผ้าของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จึงมีการขยายพันธุ์และซ่อนตัววางไข่อยู่ตามร่องไม้ หัวเตียง ใต้ที่นอน ตะเข็บที่นอน หรือโซฟา และอาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวได้ ที่สำคัญยังมีการพบตัวเรือดสายพันธุ์ที่ไม่เคยพบในไทยด้วย

ทั้งนี้ตัวเรือดนอกจากจะก่อความรำคาญจากการกัดและรบกวนการนอนแล้ว น้ำลายของตัวเลือดยังมีพิษทิ้งรอยผื่นแดงไว้บนผิวหนัง และอาจเกิดอาการคัน อักเสบ ติดเชื้อซ้ำ หากมีอาการแพ้ ทำให้รอยแผลหายยากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่ปรากฎว่าตัวเรือดเป็นพาหะนำโรคติดต่อสู่คน ซึ่งปกติตัวเรือดจะออกมาดูดกินเลือดเฉพาะในเวลากลางคืน และหลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน พบมากตามรอยแตกของอาคาร มุมอับ อาคารสาธารณะ เช่น โรงภาพยนตร์ โรงแรม โดยเฉพาะสถานที่ที่ค่อนข้างสกปรก เฟอร์นิเจอร์ที่มีซอก ตะเข็บ

สำหรับการกำจัด และป้องกันตัวเรือด นายแพทย์นิพนธ์ ให้คำแนะนำว่า ควรหมั่นดูแลบ้านเรือนให้สะอาด หากมีรอยแตกแยกโดยเฉพาะห้องนอนให้ทำความสะอาด แก้ไขซ่อมแซม เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของตัวเรือด เครื่องนอนต่าง ๆ ต้องนำไปทำความสะอาด ตากแดดอยู่เสมอ

สำหรับผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน เสื้อผ้าที่พบว่ามีตัวเรือดให้นำไปต้มในน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 15-30 นาที ไข่และตัวเรือดก็จะตาย จากนั้นฉีดพ่นสารกำจัดแมลงชนิดกำจัดปลวกไปตรงจุดที่พบตัวเรือด ทุก ๆ 1-2 อาทิตย์ จนกระทั่งตัวเรือดหมดไป





-http://www.krobkruakao.com/-





คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #142 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2014, 10:41:49 am »
รู้เท่าทัน “โรคริดสีดวงทวาร”

-http://men.sanook.com/1082/-

ริดสีดวงทวาร เป็นโรคที่พบบ่อยทั้งในเพศชายและเพศหญิง ริดสีดวงทวารเป็นเนื่องจากมีภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไป ในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว เรียกว่า หัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้ โรงพยาบาลธนบุรี ให้ความรู้แนะนำเพื่อรู้ทันโรคริดสีดวงทวาร

สาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร เกิดจากการเบ่งถ่ายอุจจาระ ท้องผูก การนั่งนานๆ ภาวะตั้งครรภ์ หรืออาจส่งผลมาจากน้ำหนักตัวมาก การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ไอเรื้อรัง ตับแข็ง ต่อมลูกหมากโตและผู้ที่มีเนื้องอกในช่องท้อง เป็นต้น

ลักษณะอาการของผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด คือ จะถ่ายอุจจาระออกมาก่อนจากนั้นจะมีเลือดสดๆ ไม่มีมูกเลือดปน มีก้อนที่ยื่นออกมาจากทวารขณะที่เบ่งอุจจาระ คลำได้ก้อนที่บริเวณทวารหนัก เจ็บและคันบริเวณทวารหนัก

สำหรับวิธีการรักษาริดสีดวงทวาร
ในปัจจุบัน มีวิธีการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
- รักษาโดยการให้ยาเหน็บที่ทวารหนักเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและสร้างความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด อาจใช้ร่วมกับยาระบายได้
- ฉีดยาที่หัวริดสีดวงทวารเพื่อให้เกิดพังพืดรัดหัวริดสีดวงและฝ่อได้เอง มักใช้ในกรณีที่หัวริดสีดวงมีเลือดออกและหัวริดสีดวงที่ย้อยไม่มาก
- ยิงยางรัดหัวริดสีดวง(Baron Gun) จะทำให้ริดสีดวงนั้นฝ่อและหลุดออกไปเองประมาณ 7 วัน
- รักษาโดยการผ่าตัด มักใช้ในระยะที่ 3,4 และริดสีดวงที่มีการอักเสบ

อาการหลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร อาจมีเลือดออกได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนถึงประมาณวันที่ 10 ของการผ่าตัดปกติจะมีเลือดออกไม่มากและจะหยุดเอง ถ้ามีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์ หรือมีน้ำเหลืองซึ่งที่ขอบทวาร 4-6 สัปดาห์ ในกรณีที่ไม่ได้เย็บปิดแผล และบริเวณปากทวารหนักอาจบวมเป็นติ่ง แนะนำให้นั่งแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น อาจถ่ายอุจจาระไม่ออกในระยะแรก

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร เน้นการรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือ ยาเพิ่มกากใย ดื่มน้ำวันละประมาณ 6-8 แก้ว หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ออกกำลังกายสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีถึง 1 ชม. อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ ฝึกขับถ่ายอุจจาระสม่ำเสมอและขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำให้สังเกตว่าอาหารชนิดใดที่รับประทานแล้วช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้นให้รับประทานอาหารชนิดนั้นเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 ชม. ต่อวัน และหลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนานๆให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ


ข้อมูลโดยศูนย์โรคระบบทางเดินอาหาร โรงพยาบาลธนุบรี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #143 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2014, 11:19:18 am »
ไม่อยากเป็น “โรคหัวใจ” ต้องเลี่ยงสิ่งเหล่านี้

-http://club.sanook.com/59207/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B9%89/-


กรมการแพทย์แนะพฤติกรรมห่างไกลโรคหัวใจ

อธิบดีกรมการแพทย์เผย คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้น แนะเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากอาหารไทยไขมันสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หันมาออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง

นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สมาพันธ์หัวใจโลก กำหนดให้วันที่ 29 กันยายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์หัวใจโลก เนื่องจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและของโลก ซึ่งจากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่าโรคดังกล่าวมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตประชากรโลก ประชากรจำนวน 17.3 ล้านคน เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี พ.ศ. 2556 มีผู้เสียชีวิตจำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คนหรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน สะท้อนให้เห็นว่าโรคหัวใจขาดเลือดเป็นโรคที่รุนแรงและต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนสำหรับอาการที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ จุกแน่นหน้าอก จะมีอาการจุกบริเวณยอดอกตรงกลางมักเป็นในขณะออกกำลังกาย หลังจากหยุดออกกำลังกายอาการจะดีขึ้น มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ และอาการเจ็บนี้จะปวดร้าวไปที่หัวไหล่ซ้ายหรือไปที่กราม ถ้าอาการเจ็บหน้าอกนี้เป็นนานเกินกว่า 5 นาที พักแล้วไม่ทุเลาหรืออาการเจ็บรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบพบแพทย์ มีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเวลาทำงาน หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของชีพจร มีสะดุดหรือไม่สม่ำเสมอ ที่สำคัญประชาชนจะต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้อง หากพบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ความเครียด ไม่ออกกำลังกาย ไม่กินผักผลไม้ โรคอ้วนลงพุง เช่น รอบเอว มากกว่า 36 นิ้วในผู้ชาย และมากกว่า 32 นิ้วในผู้หญิง กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุน้อย ควรได้รับการวินิจฉัยในเบื้องต้นจากแพทย์

นอกจากนี้ ขอให้ประชาชนปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เปลี่ยนแปลงนิสัยการกิน งดอาหารมัน เค็ม เพิ่มอาหารพวกผัก ผลไม้ และพวกเส้นใยต่างๆ ทำจิตใจให้แจ่มใส งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อประเมินภาวะสุขภาพและระดับความเสี่ยง ซึ่งเป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจได้

 

ขอขอบคุณข้อมูล จาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมการแพทย์ (กระทรวงสาธารณสุข)


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #144 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2014, 05:46:04 am »
"อธิบดีกรมควบคุมโรค" พบเชื้ออหิวาเทียมในเลือดไก่ ทำโรคอาหารเป็นพิษระบาดอีสาน-เหนือ ชี้มักปะปนใน "ข้าวมันไก่-ลาบไก่"ที่มีเลือดผสมอยู่ สั่งโรงงานผลิต เร่งปรับปรุงก่อนระบาดหนัก
วันอังคาร 23 ธันวาคม 2557 เวลา 06:30 น.

-http://www.dailynews.co.th/Content/regional/289192/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88_%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B9%88-



เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยกับ "เดลินิวส์" ว่า แม้ขณะนี้กรมควบคุมโรคจะขาดแคลนนักระบาดวิทยา เพราะติดปัญหาเรื่องค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในวิชาชีพ แต่จากการลงพื้นที่ของนักระบาดวิทยา 20 คน ตรวจหาอันตรายจากโรคติดเชื้อต่างๆ ตั้งแต่โรคอาหารเป็นพิษ จนถึงโรคติดเชื้อรุนแรง โดยจากข้อมูลใน จ.เชียงใหม่ พบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ ตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ย. 57 จากการตรวจสอบในเชิงลึกพบว่าเกิดจากการรับประทานข้าวมันไก่ถึง 15 เหตุการณ์ และเมื่อทบทวนรายงานการสอบสวนโรคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ พบเชื้ออหิวาเทียม (Vibrio parahaemolyticus) ถึง 13 เหตุการณ์ ซึ่งเกิดจากก้อนเลือดไก่ ในข้าวมันไก่ โดยเป็นเลือดไก่ที่มาจากโรงงานผลิตแห่งหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ยังพบการระบาดลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ตั้งแต่เดือน มิ.ย.-ธ.ค.พบรายงานการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษที่เกี่ยวข้องกับไก่ และผลิตภัณฑ์จากไก่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ทั้งหมด 20 เหตุการณ์ จำนวน 1,410 ราย กระจายไป 7 จังหวัด ได้แก่ จ.กาฬสินธุ์ ขอนแก่น หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด โดยพบการระบาดมากที่สุดในเดือน พ.ย.และสงสัยมาจากอาหารที่มีเลือดไก่เป็นส่วนประกอบ อาทิ ข้าวมันไก่ ลาบไก่ที่ผสมเลือด ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งไปยังโรงงานผลิตเลือดไก่ ขอให้ปรับปรุง ซึ่งเร็วๆ นี้กรมควบคุมโรคได้เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบซ้ำ

นพ.โสภณ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่านักระบาดวิทยามีความสำคัญมาก เพราะข้อมูลข้างต้นได้มาจากการลงตรวจสอบในพื้นที่ ดังนั้น นักระบาดจึงเป็นเหมือนนักสืบที่มีความสำคัญในการทราบว่าแหล่งโรคมาจากที่ใด เพื่อป้องกันได้ตรงจุด และจากปัญหาความขาดแคลนบุคลากรตรงนี้ ตนได้ทำหนังสือถึงนพ.รัชจะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข ให้พิจารณาปรับค่าตอบแทนให้กับบุคลากรกลุ่มนี้ และระหว่างการพิจารณาอยู่นั้น กรมควบคุมโรคได้จัดระบบในการสร้างแรงจูงใจให้กับแพทย์ระบาดวิทยาด้วยการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงรายวันสำหรับคนลงพื้นที่ภาคสนามจากวันละ 100 กว่าบาท เป็น 200 บาทต่อวัน ขณะเดียวกันก็เร่งผลิตบุคลากรกลุ่มนี้เพิ่มด้วยการอบรมบุคลากรสายเชี่ยวชาญอื่นๆ เบื้องต้นจะพยายามให้ได้ 30-40 คน เพราะการผลิตนักระบาดระดับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง อาจจะค่อนข้างยาก.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #145 เมื่อ: มกราคม 25, 2015, 07:26:05 pm »
เลี่ยง 10 เมนูอันตรายลดเสี่ยงอาหารเป็นพิษ เผยต้นปี 58 พบป่วยกว่า 4 พันราย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000009468-

 คร.ย้ำดูแลอาหารในโรงเรียน-กิจกรรมเข้าค่าย ลดเสี่ยงอาหารเป็นพิษ เผยต้นปี 58 ป่วยกว่า 4 พันราย ส่วนมากพบในหารกล่องแจกนักเรียน นักท่องเที่ยว แนะยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”


        นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยพบว่ามีเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอยู่หลายชนิด เช่น เชื้อคลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum food poisoning) เชื้อวิบริโอ พาราฮิมโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) เป็นต้น และที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษได้บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากการที่คนจำนวนมากรับประทานอาหารร่วมกัน และมีอาการหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคดังกล่าวอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังโรค โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ตลอดทั้งปี 2557 พบผู้ป่วยจากโรคอาหารเป็นพิษ 133,946 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 15-24 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสุงสุด 3 อันดับแรก คือ หนองบัวลำภู (647.83 ต่อแสนประชากร), หนองคาย (616.66 ต่อแสนประชากร) และอุดรธานี (592.44 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ
       
       ส่วนสถานการณ์ในปี 2558 นี้ ตั้งแต่วันที่ 1-19 มกราคม 2558 พบผู้ป่วยแล้ว 4,181 ราย ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต ซึ่งกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15-24 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 25-34 ปี และ 45-54 ปี ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน ร้อยละ 27.5 จังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุด 3 อันดับ อันดับแรก คือ ลําพูน (59.06 ต่อแสนประชากร) รองลงมาคือ อุดรธานี (24.08 ต่อแสนประชากร) และศรีสะเกษ (16.66 ต่อแสนประชากร) ตามลำดับ
       
        นพ.โสภณกล่าวต่อไปว่า สำหรับเมนูที่มักเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษที่พบได้ทุกปี มี 10 เมนู ได้แก่

1. ลาบและก้อยดิบ เช่น ลาบหมู ก้อยปลาดิบ
2. ยำกุ้งเต้น
3. ยำหอยแครง
4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู
5. อาหารและขนมที่ราดด้วยกะทิสด
6. ขนมจีน
7. ข้าวมันไก่
8. ส้มตำ
9. สลัดผัก
10. น้ำแข็ง

โดยเฉพาะกรณีอาหารที่ทำในปริมาณมาก เช่น อาหารกล่องแจกนักเรียนหรือคณะท่องเที่ยว ในปีนี้กรมควบคุมโรคเน้นเฝ้าระวังโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดกับนักเรียนทั้งในโรงเรียนและกรณีนักเรียนเข้าค่ายและทัศนศึกษา ซึ่งเน้นการป้องกันโดยร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความรู้แก่ครูในโรงเรียน และการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียน ดังนี้ 1. จัดระบบโรงอาหารในโรงเรียน โดยการกำกับติดตามให้ผู้ประกอบการหรือนักการภารโรง ให้ดำเนินการตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร 2. มีการตรวจรับนมที่มีคุณภาพและตรวจสอบความปลอดภัยของนมก่อน และเก็บรักษาอย่างถูกวิธี 3. อาหารบริจาค อาหารที่มาในรูปแบบของอาหารกระป๋องหรืออาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว ควรตรวจสอบคุณภาพก่อนที่จะนำไปรับประทาน 4. อาหารในกรณีนักเรียนเข้าค่ายหรือทัศนศึกษา ควรเลือกจากร้านอาหารที่สะอาดตามเกณฑ์มาตรฐาน Clean Food Good Taste อาหารที่ใส่กล่องไม่ควรราดบนข้าวโดยตรง ควรแยกบรรจุกับข้าวในถุงพลาสติกต่างหาก หรือเป็นอาหารประเภทแห้งๆ และควรบริโภคภายใน 4 ชั่วโมง ที่สำคัญบนกล่องบรรจุอาหาร ต้องติดป้ายแสดงสถานที่ วัน/เวลาที่ผลิต และวันเวลาที่ควรบริโภค 5. พืชพิษ อาหารเป็นพิษจากการกินเมล็ดสบู่ดำ แนะนำไม่ให้นำเมล็ดสบู่ดำมารับประทาน และ 6. การดูแลรักษาเบื้องต้น ประสานส่งต่อ และการสื่อสารความเสี่ยงเมื่อพบนักเรียนป่วยหรือเกิดเหตุการณ์ระบาดในโรงเรียน
       
        นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ อสม. เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ หากเกิดการระบาดของโรค กรมควบคุมโรคร่วมกับกรมอนามัยลงพื้นที่สอบสวนโรค หาสาเหตุและควบคุมโรค รวมถึงตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในส่วนของประชาชนทั่วไป ก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้งขอให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ดังนี้ 1. กินสุกร้อน โดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและปรุงเสร็จใหม่ๆ หากเป็นอาหารข้ามมื้อให้อุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อน 2. ใช้ช้อนกลาง ตักอาหารขณะกินอาหารร่วมกับผู้อื่น และ 3. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและภายหลังจากการใช้ห้องส้วม รวมถึงก่อนเตรียมนมให้เด็กทุกครั้ง ที่สำคัญประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น
       
        นพ.โสภณกล่าวอีกว่า อาการส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษคือ มีอาการของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ ปวดหัว คอแห้งกระหายนํ้า อาจมีไข้ เป็นต้น สำหรับการช่วยเหลือเบื้องต้น ทำโดยให้สารละลายเกลือแร่โอ อาร์เอส หรือของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ และให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด เป็นต้น ไม่งดอาหารรวมทั้งนมแม่ สำหรับเด็กที่ดื่มนมผสมให้ผสมเหมือนเดิม แต่ปริมาณลดลงและให้สลับกับสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร เมื่ออาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที และไม่ควรรับประทานยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกายซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #146 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2015, 08:53:10 am »
“แพ้ยางธรรมชาติ” โรคใกล้ตัวเสี่ยงตายมากกว่าที่คิด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000015288-

นพ.ธนวรรธน์ เครือคล้าย
       อายุรแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก
       โรงพยาบาลเวชธานี
       
       โรคภูมิแพ้นับได้ว่าเป็นโรคที่เป็นกันมากในปัจจุบัน ทั้งแพ้อากาศ หอบหืด หรือ แม้กระทั่งส่วนประกอบของอาหารบางชนิดก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ เช่น กล้วย ขนุน ฯลฯ ซึ่งบางครั้งอาการแพ้อาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ชีวิต การแพ้ผลไม้นั้นเชื่อมโยงไปถึงแพ้ยางพาราธรรมชาติ หรือ เรียกว่า “ภูมิแพ้ลาเท็กซ์” นพ.ธนวรรธน์ เครือคล้าย อายุรแพทย์เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวถึงโรคดังกล่าวว่า ภูมิแพ้ลาเท็กซ์ เกิดจากการแพ้ “โปรตีนลาเท็กซ์” หรือโปรตีนในน้ำยางธรรมชาติ ซึ่งเมื่อร่างกายสัมผัสกับยางพาราธรรมชาติ ซ้ำๆบ่อยๆ ทำให้ร่างกายมีโอกาสได้สัมผัสกับโปรตีนในยางธรรมชาติผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายสร้างภูมิต่อยางธรรมชาติ และเมื่อร่างกายได้สัมผัสกับยางธรรมชาติอีกในภายหลังจะก่อให้เกิดปฎิกิริยาการแพ้ขึ้น เนื่องจากยางพาราเป็นพืช โปรตีนในยางจึงจะไปคล้ายกับพืชผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย อโวคาโด กีวี มันฝรั่ง มะเขือเทศ เกาลัด มะละกอ ฯลฯ ทำให้คนที่แพ้ยางธรรมชาติแพ้ผลไม้บางชนิดไปด้วยในภายหลัง
       
       “บางครั้งเราอาจคาดไม่ถึงว่าในชีวิตประจำวันนั้นเราสัมผัสกับยางธรรมชาติมากขนาดไหน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน รองเท้า ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย หนังสติ๊ก ลูกโป่ง รวมถึงวัสดุทางการแพทย์ ทั้งนี้ กลุ่มบุคคลบางอาชีพต้องสัมผัสกับยางธรรมชาติมากเป็นพิเศษ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ช่างเสริมสวย ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงในการแพ้ยางธรรมชาติมากกว่ากลุ่มอื่น”
       
       สำหรับอาการแพ้นั้น นพ.ธนวรรธน์ กล่าวว่า มีหลายรูปแบบ เช่น การระคายเคือง เป็นผื่นลมพิษซึ่งเกิดขึ้นภายใน 10-15 นาทีหลังจากสัมผัสยางธรรมชาติ ในบางรายมีการสูดดมเอาละอองของยางธรรมชาติเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการคล้ายหอบหืด และแพ้อากาศ หากมีอาการแพ้รุนแรงกว่านั้นคือ เกิดภาวะแพ้แบบ อนาไฟแลคซีส (Anaphylaxis) ซึ่งหมายถึงการแพ้ขั้นรุนแรง เช่น ทางผิวหนัง จะมีผื่นลมพิษหรือผื่นแดงกระจายที่ร่างกาย ตาบวม ปากบวม ระบบทางเดินหายใจอาจมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงวี๊ด ส่วนในระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ปวดท้อง และในระบบไหลเวียนโลหิต อาจมีอาการความดันตก วูบ มึนศรีษะ หรืออาจรุนแรงมากจนถึงขั้นหมดสติ
       
       ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้ยางธรรมชาติหรือไม่นั้น นพ.ธนวรรธน์ กล่าวว่า ผู้ที่สงสัยสามารถมาพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง โดยการหยดน้ำยาทดสอบ หลังจากนั้นจะใช้เข็มขนาดเล็กสะกิดบริเวณผิวหลังที่หยดน้ำยาทิ้งไว้ 15-20 นาที แล้วอ่านผล หากมีอาการแพ้ผิวหนังบริเวณที่ทดสอบจะนูนแดงขึ้น หรืออีกวิธีหนึ่งคือการตรวจเลือดหาแอนติบอดีจำเพาะ (Serum specific Ig E) ที่มีปฏิกริยาต่อยางธรรมชาติ
       
       นพ.ธนวรรธน์ กล่าวถึงการดูแลรักษาว่า ผู้ป่วยที่แพ้รุนแรงมีอาการหลายระบบ ทุกรายต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแพ้ผลไม้บางชนิด เช่น กล้วย จำเป็นจะต้องนึกถึงการแพ้ยางธรรมชาติด้วย ในขณะผู้ป่วยกลุ่มที่มาด้วยอาการแพ้ยางธรรมชาติก็ต้องเฝ้าระวังการแพ้ข้ามกลุ่มยังผลไม้บางชนิด แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ทำจากยางพาราธรรมชาติ เช่น หนังยางรัดผม รองเท้าแตะ สายนาฬิกา ถุงยางอนามัย เป็นต้น นอกจากนั้น ในด้านผู้ป่วยที่แพ้ยางธรรมชาติหากมีเหตุเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จำเป็นต้องแจ้งแก่แพทย์และพยาบาลทุกครั้งถึงอาการแพ้ เพื่อป้องกันการใช้ผลิตภัณฑ์และวัสดุในการรักษาที่ทำมาจากยางธรรมชาติ เนื่องจากในโรงพยาบาลมักจะเต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ที่มียางเป็นส่วนประกอบ เช่น ถุงมือตรวจโรค จุกปิดขวดยาฉีด สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
       
       ทั้งนี้ ในปัจจุบันการแพ้ยางพาราธรรมชาติ ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำมาจากยางธรรมชาติ รวมไปถึงต้องระมัดระวังการรับประทานผลไม้บางชนิด


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #147 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2015, 05:18:37 am »
พฤติกรรมทำลายสมอง


-http://guru.sanook.com/9501/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87/-



 ใครที่กำลังอยู่ในภาวะสมองตื้อคิดอะไรไม่ค่อยออก อย่ามองว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะสาเหตุนั้นอาจมาจากการที่สมองโดนทำร้าย วันนี้มีความรู้เกี่ยวกับ 10 นิสัยที่ทำร้ายสมองมาฝากกัน
1.ไม่ทานอาหารเช้า หลายคนคิดว่าไม่ทานอาหารเช้า แล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ที่จริงแล้วการไม่ทานอาหารเช้าเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และทำให้สมองเสื่อมได้
2.กินอาหารมากเกินไป การกินในจำนวนที่เยอะเกินพอดี เป็นต้นเหตุทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น
3.การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุของโรคสมองฝ่อและเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
4.ทานของหวานมากเกินไป มีผลมากต่อการทำร้ายสมอง เพราะการทานหวานมากเกินไปจะขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาสมอง
5.การอดนอน คนที่อดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้ ส่วนการนอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อน
6.มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อยส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลงเรื่อยๆ
7.ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดเป็นเวลานานเป็นต้นเหตุของอาการสมองฝ่อ
8.เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง ถ้าไม่ค่อยพูดจากับคนอื่นสมองก็จะไม่ได้แสดงประสิทธิภาพเท่าที่ควร
9.นอนคลุมโปง เป็นเรื่องเล็กน้อยในความคิดของใครหลายคน แต่ที่จริงแล้วการนอนคลุมโปงเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นและลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
10.ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว
สมองนับเป็นอวัยวะส่วนที่สำคัญของเรา อย่าลืมใส่ใจและรักษาสุขภาพสมองของตัวเองให้ดี

ข้อมูลจาก : สาระน่ารู้ดีดี

รูปภาพจาก : sirikwanmay.wordpress.com



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #148 เมื่อ: เมษายน 06, 2015, 02:17:31 pm »
เตือน 5 โรคสำคัญที่มักพบบ่อยในฤดูร้อน

-http://club.sanook.com/75795/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-5-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%9A/-


กรมควบคุมโรค ออกประกาศเตือน 5 โรคสำคัญที่มักพบบ่อยในฤดูร้อน พร้อมเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า โรคลมแดด และการป้องกันเด็กจมน้ำ

โรคหน้าร้อน

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งอากาศที่ร้อนเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอย่างมาก โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้มีโอกาสเกิดการระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ กรมควบคุมโรคจึงขอเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการเจ็บป่วยจากโรคที่มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อนปีนี้ ตามประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อน ซึ่งประกอบด้วย 5 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อยหรือไข้ไทฟอยด์

นอกจากนี้ยังมีโรคพิษสุนัขบ้า โรคลมแดด และการป้องกันเด็กจมน้ำ ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ จากข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่ต้นปี 2558 มีรายงานผู้ป่วยทั้ง 5 โรค รวม 197,504 ราย เสียชีวิต 2 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง 175,270 ราย เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มอายุที่พบมากสุด คือ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.48 และอายุ 15-24 ปี ร้อยละ 11.15 รองลงมา คือ โรคอาหารเป็นพิษ 21,682 ราย โรคบิด 334 ราย ไข้รากสาดน้อยหรือไข้ไทฟอยด์ 217 ราย และโรคอหิวาตกโรค 1 ราย ตามลำดับ

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อไปว่า สำหรับในช่วงฤดูร้อนปีนี้ กรมควบคุมโรคได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนให้ระวังโรคจากภัยสุขภาพ โดยส่งไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง พร้อมเตรียมภารกิจในการดูแลประชาชนในพื้นที่ประสบกับภาวะแล้ง ได้แก่
1.การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในพื้นที่
2.การควบคุมโรคในกรณีถ้ามีการระบาดของโรคติดต่อ กรมควบคุมโรคมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT) เข้าไปดำเนินการสอบสวน ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่
3.การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชน

โดยเน้นประชาชนใน 3 กลุ่มเสี่ยง คือ 1.กลุ่มเด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 5 ปี 2.กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และ 3.กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น

สำหรับการป้องกันตนเอง ขอให้ประชาชนยึดหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันง่ายๆ คือ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ประกอบด้วย 1.กินร้อน โดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและปรุงเสร็จใหม่ๆ หากเป็นอาหารค้างมื้อ อุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อนรับประทาน 2.ใช้ช้อนกลาง ตักอาหารขณะกินอาหารร่วมวงกับผู้อื่น 3.ล้างมือ ด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง หลังจากใช้ห้องส้วม ก่อนปรุงและรับประทานอาหาร รวมถึงก่อนเตรียมนมให้เด็กทุกครั้ง นอกจากนี้ควรดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และสิ่งปฏิกูลรอบๆบ้านทุกวัน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน และถ่ายอุจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง เพื่อไม่ให้แพร่โรค

นายแพทย์โสภณ กล่าวอีกว่า ส่วนโรคที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ โรคพิษสุนัขบ้า โรคลมแดด และการป้องกันเด็กจมน้ำ ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในปี 2557 มีผู้เสียชีวิต 6 ราย โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี มีพาหะหลักจากสุนัข และแมว ซึ่งอาจติดโรคจากการกัด ข่วน หรือเลียผิวหนังคนมีแผล ที่สำคัญโรคนี้เป็นแล้วตายทุกราย ไม่มียารักษา แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการนำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีน และลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัดหรือโดนทำร้าย โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ 5ย ได้แก่ “ อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง ” มีรายละเอียด ดังนี้ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัข (หาง,ตัว,ขา) หรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยก สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ หากถูกสุนัขกัดให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจนครบตามที่แพทย์แนะนำ ต้องจำสัตว์ที่กัดให้ได้เพื่อสืบหาเจ้าของและสอบถามประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ติดตามดูอาการสุนัข 10 วัน และถ้าพบสุนัขนั้นตายก่อน 10 วัน และมีประวัติกัดคนหรือสัตว์อื่น ควรนำหัวส่งตรวจโดยประสานกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์พื้นที่ใกล้บ้าน

ส่วนโรคลมแดด เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไปจนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาการที่พบเบื้องต้น ได้แก่ อ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม หากรุนแรงอาจมีอาการตัวร้อนจัด คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เป็นต้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ บุคคลที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดโรคลมแดด ได้แก่ ทหารที่เข้ารับการฝึกโดยไม่เตรียมร่างกายให้พร้อมต่อสภาพอากาศร้อน นักกีฬาสมัครเล่น ผู้ที่ทำงานในอากาศร้อนชื้น รวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก คนอดนอน คนดื่มสุราจัด และผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ส่วนวิธีป้องกัน ควรดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน หากอยู่ในสภาพอากาศร้อนดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้ทำงานในร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว สวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา และระบายความร้อนได้ดี หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ควรให้การดูแลเด็ก และผู้สูงอายุเป็นพิเศษ

“สุดท้ายเรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยกันในช่วงฤดูร้อน เพราะตรงกับช่วงปิดเทอมของเด็ก โดยพบว่าในกลุ่มเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ซึ่งตลอดปี 2557 มีเด็กเสียชีวิต 807 คน หรือ 7.1 คนต่อประชากรเด็กแสนคน ซึ่งมาตรการที่ต้องยึดไว้ใช้ยามฉุกเฉิน คือ“ตะโกน โยน ยื่น” ได้แก่ 1.ตะโกน คือ การเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วยและโทรแจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669 2.โยนอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า โดยโยนครั้งละหลายๆชิ้น 3.ยื่นอุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยไม่ต้องกระโดดลงไปช่วย เพราะจากข้อมูลพบว่าเด็กมักจะจมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลายๆ คน เนื่องจากเด็กไม่รู้วิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำและวิธีการช่วยเหลือผู้อื่นที่ถูกต้อง นอกจากนี้ หน่วยงานในท้องถิ่น/ผู้นำชุมชน ควรจัดการสิ่งแวดล้อมในบริเวณแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยง เช่น จัดหาอุปกรณ์ลอยน้ำ แกลลอนพลาสติก ไม้ เชือก สร้างรั้ว ทำป้ายเตือน และสถานบริการสาธารณสุขมีการให้ความรู้ในเรื่องนี้เช่นเดียวกับการให้วัคซีนแก่เด็ก หากสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422” นายแพทย์โสภณ กล่าวปิดท้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก :: สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #149 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2015, 06:26:05 am »
กินดี ช่วยต้านหวัด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

-http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9580000052617-

ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เดี๋ยวก็ร้อนจัด เดี๋ยวก็ฝนตก ทำให้หลายๆ คนเกิดอาการเป็นหวัดขึ้นมาได้ คราวนี้ต่างคนต่างก็ต้องระมัดระวังตัวไม่ให้ป่วยไข้ พยายามรักษาร่างกายให้แข็งแรงที่สุดเพื่อเป็นปราการป้องกันไม่ให้ไข้หวัดมารุกราน และการดูแลร่างกายด้วยการกินอาหารที่ "108 เคล็ดกิน" นำมาฝากก็เป็นอีกทางหนึ่งช่วยป้องกันโรคหวัดได้เช่นกัน
       
       สำหรับอาหารต้านหวัดนั้นก็คือ "วิตามินซี" ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเรา ไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายดายนัก วิตามินซีนั้นพบในผลไม้หลายชนิด เช่น ฝรั่ง ส้ม มะละกอ มะขาม ซึ่งให้วิตามินซีสูง แล้วยังซื้อหาได้ง่ายอีกด้วย แล้วก็ยังมีผักที่มีวิตามินสูงอีกด้วย เช่น ดอกขี้เหล็ก มะรุม พริกหวาน สะเดา พริกหนุ่ม บร็อกโคลี่ ผักหวาน ผักคะน้า ผักกาดเขียว มะระ (ยอดอ่อน) เป็นต้น
       
       "สมุนไพรรสร้อน" ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยป้องกันหวัด ได้แก่ พริกไทย ขิง กะเพรา กระชาย กานพลู อบเชย หอมแดง เป็นต้น ถ้าจะให้แนะนำเมนูอาหารรสร้อนก็เช่น แกงป่า แกงเลียง ต้มแซ่บ ต้มโคล้ง ซึ่งทั้งอร่อยและยังทำให้ร่างกายอบอุ่น
       
       และสำหรับคนที่เริ่มมีอาการหวัด "ซุปไก่ตุ๋นร้อนๆ" จะช่วยลดน้ำมูก ลดอาการไอ ลดอาการคัดจมูก ทำให้หายใจคล่องขึ้น รวมทั้งช่วยลดอาการอักเสบจากการติดเชื้อได้ แล้วก็ควรดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพราะน้ำช่วยให้ทางเดินหายใจและทางเดินอาหารชุ่มชื้น ทำให้เสมหะถูกขับออกง่าย
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)