ผู้เขียน หัวข้อ: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ  (อ่าน 47508 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ผมจะรวบรวมเรื่องราวของการเจ็บป่วย และ การป้องกัน จากเว็บไซด์ต่างๆ

หากท่านใดมีเรื่องราวดีๆ  ช่วยกันนำมาลงในกระทู้นี้กันครับ

 :13:
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2013, 07:14:15 pm »
7 สัญญาณอันตรายโรคมะเร็ง แนะวิธีเลี่ยง “ห้ามสูบบุหรี่-กินเหล้า-มั่วเซ็กซ์”
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000092698-


  อึ้ง! คนไทยป่วยมะเร็งรายใหม่แสนคนต่อปี ตายปีละ 60,000 ราย สธ.แนะสูตรห่างไกลมะเร็ง 5 ทำ 5 ไม่ เน้นออกกำลังกาย กินผักผลไม้ ตรวจร่างกายประจำ ห้ามสูบบุหรี่ กินเหล้า มั่วเซ็กซ์ ด้าน ผอ.สถาบันมะเร็งฯ ชี้ 7 สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็ง



ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

       นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ยาวนานกว่า 10 ปี ตกปีละประมาณ 60,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างหนึ่งในนั้น คือ อายุที่เพิ่มขึ้น โดยมะเร็งเป็นโรคที่มีระยะเวลาการก่อโรคที่ยาวนาน ใช้เวลาหลายปีกว่าจะปรากฏอาการผิดปกติ ผู้ที่เป็นส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ตัว สิ่งที่ สธ.จะเน้นคือการให้ความรู้เพื่อลดความเสี่ยง การตรวจคัดกรอง และเพิ่มการตรวจสุขภาพประจำปีให้แก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุ ซึ่งผู้ที่มีไม่เคยป่วย หรือมีสุขภาพแข็งแรงก็มีโอกาสเป็นได้ การตรวจสุขภาพจะทำให้รู้สถานะสุขภาพของตนเอง มีการเฝ้าระวังความผิดปกติ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยง หรือได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่พบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติ
       
       “หากดำเนินการตามวิธีนี้ เชื่อว่าจะลดความรุนแรงปัญหาได้ เนื่องจากผลการวิจัยทั่วโลกยืนยันตรงกันว่าโรคมะเร็งร้อยละ 60 สามารถป้องกันได้ เช่น กลุ่มวัยรุ่นจะเน้นให้ความรู้สุขภาพทางเพศ ลดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่ทำให้เป็นมะเร็งตับ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี วัยแรงงานหญิงเน้นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก หรืองดบริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง” รมว.สาธารณสุข กล่าว
       
       นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ สธ.ได้จัดทำคำแนะนำประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โดยใช้สูตรปฏิบัติตัว “5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง” โดย 5 ทำ ประกอบด้วย 1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาทีขึ้นไป 2.ทำจิตใจให้แจ่มใส 3.กินผักผลไม้ให้ได้ครึ่งหนึ่งของอาหารที่บริโภคแต่ละมื้อ 4.รับประทานอาหารหลากหลาย และ 5.ตรวจร่างกายเป็นประจำ แม้จะมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เคยเจ็บป่วย ส่วน 5 ไม่ ประกอบด้วย 1.ไม่สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่ 2.ไม่มั่วเซ็กซ์ 3.ไม่ดื่มสุรา 4.ไม่ตากแดดจ้า และ 5.ไม่กินปลาน้ำจืดดิบ
       
       ด้าน นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งของประเทศไทยปี 2552 มีผู้ป่วยใหม่ 102,791 คน ชายหญิงพอๆ กัน มะเร็งที่พบมากในผู้ชาย ได้แก่ มะเร็งตับ 13,281 คน ปอด 8,403 คน ลำไส้และทวารหนัก 4,790 คน ต่อมลูกหมาก 2,400 คน และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 1,994 คน ส่วนในผู้หญิง ที่พบมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งเต้านม 10,193 คน ปากมดลูก 6,452 คน ตับ 6,143 คน ปอด 4,322 คน ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 4,144 คน ส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.ปี 2554 พบ 61,082 คน โดยมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในเพศชาย เช่น มะเร็งตับ 10,189 คน มะเร็งปอด 6,769 คน และมะเร็งลำไส้ 1,501 คน เป็นต้น ส่วนในผู้หญิง เช่น มะเร็งตับ 4,125 คน มะเร็งปอด 3,434 คน และมะเร็งเต้านม 2,724 คน เป็นต้น
       
       นพ.ธีรวุฒิ กล่าวอีกว่า สัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งที่พบบ่อย สามารถสังเกตได้ด้วยตนเองมี 7 ประการ ได้แก่ 1.ระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นก้อนแข็ง ท้องผูกนานหลายวัน มีกลิ่นผายลมเหม็นกว่าปกติ ซึ่งอาจเกิดจากสิ่งเน่าเสียค้างในลำไส้ใหญ่ 2.เป็นแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย 3.ร่างกายมีก้อนมีตุ่มขึ้น 4.กินกลืนอาหารลำบาก 5.มีเลือดออกที่ทวารหนักหรือช่องคลอด 6.ไฝ หูด มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ 7.ไอเรื้อรัง เสียงแหบ หากพบความผิดปกติดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็ง เพราะการค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกมีประโยชน์มาก หากเป็นในระยะเริ่มต้นการรักษาจะได้ผลดี โอกาสหายขาดสูง เพราะโรคนี้ใช้เวลาก่อโรคนานหลายปี การรักษาเร็ว จึงเป็นการป้องกันมิให้เข้าสู่ระยะมะเร็งลุกลาม หรือระยะที่ 4 ซึ่งโอกาสหายมีน้อยมาก



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2013, 07:50:44 pm »
กระดูกพรุน ปัญหาสุขภาพระดับโลก เรื่องใกล้ตัวที่ต้องดูแล ก่อนจะสายเกินไป
-http://women.sanook.com/1406893/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B/-



เชื่อหรือไม่! ปัจจุบันอุบัติการณ์โรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 2 ของโลก และอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนเริ่มน้อยลง ใครที่เคยคิดว่าโรคกระดูกพรุนเป็นเรื่องไกลตัว หรือเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้นคงต้องคิดใหม่



นอกจากสถิติที่น่าเป็นห่วงจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติยังเปิดเผยว่า ภาวะกระดูกพรุนทำให้ทุก 3 วินาที มีคนกระดูกหัก และทุก 22 วินาที มีคนกระดูกสันหลังหัก สำหรับคนไทย มูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ พบว่าในกลุ่มผู้สูงวัยอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ผู้หญิง 1 ใน 3 คน และผู้ชาย 1 ใน 5 คน มีปัญหากระดูกพรุน และแต่ละคนต้องสูญเสียค่ารักษาเฉลี่ยถึงปีละ 3 แสนบาท1 ฟังดูแล้วถือว่าน่าตกใจไม่ใช่น้อย สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพกระดูก จึงสนับสนุนให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างสุขภาพกระดูกให้แข็งแรงเพราะคนไทยส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่ถึงครึ่งของปริมาณขั้นต่ำที่ร่างกายต้องการต่อวัน บวกกับพฤติกรรมทำร้ายกระดูกต่างๆ ยิ่งทำให้ปัญหาสุขภาพกระดูกเป็นปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกต้องหันมาให้ความสำคัญ

โรคกระดูกพรุน เกิดจากการที่แคลเซียมสลายออกจากกระดูกมากกว่าการสร้างมวลกระดูก ทำให้ความหนาแน่นในกระดูกลดลง รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ส่งผลให้รูพรุนที่มีอยู่เป็นปกติในเนื้อกระดูกสลายตัวออกจนรูพรุนกว้างขึ้น กระดูกบางลงจนไม่สามารถรองรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกได้ตามปกติ กระดูกจึงหักได้ง่าย โรคนี้จะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆ โดยกว่าจะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีการแตกหักของกระดูก หรือได้รับการกระแทกเพียงเบาๆ กระดูกก็หักแล้ว บางรายถึงขั้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เนื่องจากเกิดอาการแทรกซ้อนตามมา



นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์ เปิดเผยว่า "องค์การอนามัยโลก รายงานว่า สถิติผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุข อันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด2 โดยอายุเฉลี่ยของผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ กระดูกพรุนเป็นปัญหาสุขภาพที่คนไทยมักมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือเป็นเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง แคลเซียมถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของกระดูก และการได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในทุกช่วงวัยจะทำให้เสี่ยงที่จะประสบกับภาวะกระดูกแตกหรือกระดูกร้าวได้เมื่อสูงอายุขึ้นเพราะโรคกระดูกพรุนไม่มีอาการบ่งชี้ในช่วงเริ่มต้น จนเมื่อรู้ตัวอีกทีก็มักจะสายเสียแล้ว"

"เป็นที่น่ากังวลว่า คนไทยรับประทานแคลเซียมน้อยมาก เฉลี่ยเพียงวันละ 361 มิลลิกรัม3 จากความต้องการต่อวันคือ 800 - 1,000 มิลลิกรัม4 ปัจจุบันยังพบว่าประชากรวัยหนุ่มสาวไปจนถึงวัยทำงานมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับปัญหา



ความผิดปกติอันเกี่ยวเนื่องกับกระดูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจัยเสี่ยงที่มักพบบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถและการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ท่านอน นั่ง ยืน หรือแม้แต่การยกของหนัก แฟชั่นที่อาจเป็นอันตรายต่อกระดูก เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ และบริโภคเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ ตลอดจนความนิยมการมีผิวขาวของผู้หญิงเอเชียก่อให้เกิดพฤติกรรมการหลบเลี่ยง
แสงแดด ซึ่งเป็นแหล่งในการสังเคราะห์วิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของกระดูก และอาจเกิดโรคกระดูกในที่สุด" นพ.สมบูรณ์กล่าวเพิ่มเติม

กระดูกเป็นอวัยวะที่มีชีวิตโดยมีเซลล์หลัก 2 ชนิด ชนิดแรกมีหน้าที่สลายกระดูกเรียกว่า Osteoclast และอีกชนิดหนึ่งมีหน้าที่สร้างกระดูกใหม่เรียกว่า Osteoblast ซึ่งเซลล์ทั้ง 2 ชนิดนี้ทำงานอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย โดยช่วงเวลาของการสร้างและสลายกระดูกแบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1.) ช่วงการสร้างมวลกระดูกเริ่มต้นเมื่อแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 30 ปี 2.) ช่วงการคงมวลกระดูกเมื่ออายุ 30 - 45 ปี 3.) ช่วงการสลายมวลกระดูกเมื่ออายุ 45 ปีขึ้นไป โดยการสร้างกระดูกใช้เวลานานถึง 4 เดือน ในขณะที่แคลเซียมปริมาณเท่ากันถูกดึงออกจากกระดูกในระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น การได้รับแคลเซียมจากอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กจนวัยชราจะช่วยดูแลสุขภาพของกระดูกได้ดี และช่วยลดความเสี่ยงของปัญหากระดูกบางปัญหาได้ โดยช่วงอายุที่กระดูกดูดซึมแคลเซียมได้ดีที่สุดคือ 18 - 30 ปี

ดร. คีธ แรนดอล์ฟ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการของสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ เผยว่า "แนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุดคือ การมีโภชนาการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกระดูกที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการต่อวันจะช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นคือ วิตามินดี ช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แร่ธาตุอื่นๆ ได้แก่ สังกะสี ทองแดง แมงกานีส เป็นองค์ประกอบรวมที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพกระดูกด้วยเช่นกัน และรวมไปถึงสารสกัดเข้มข้นอัลฟัลฟา ที่นอกจากจะมีแร่ธาตุแล้ว ยังมีไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิดที่ให้ผลดีต่อเมทา- บอลิซึมของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูกอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงควรหันมาเสริมแคลเซียมและสารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพกระดูกตั้งแต่วัยเด็กหรือหนุ่มสาวในปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละช่วงวัยอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต นอกเหนือจากการบริโภคอาหารให้ถูกต้องตามโภชนาการแล้ว แนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุนที่ดีที่สุด คือการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง การออกแดดในช่วงเช้า และเย็น และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการทำลายกระดูกต่างๆ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ชา หรือกาแฟ ก็จะมีส่วนช่วยดูแลสุขภาพของกระดูกให้แข็งแรงได้



ปัญหาสุขภาพกระดูกไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราทุกคนมีโอกาสประสบกับโรคกระดูกพรุนได้ อาจไม่ใช่ในวันนี้ แต่พฤติกรรมต่างๆ ที่เราทำร้ายกระดูกจะส่งผลอย่างแน่นอนในอนาคต ยังไม่สายเกินไปที่เราจะหันมาดูแลสุขภาพกระดูกของตนเองและคนที่เรารักเช่นเดียวกับการดูแลสุขภาพร่างกายส่วนอื่นๆ เพื่อกระดูกแข็งแรงอยู่กับเราไปอีกนานเท่านาน


http://women.sanook.com/1406893/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B/
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2013, 09:00:44 pm »
6 ท่าสู้อาการปวด "ออฟฟิศซินโดรม"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    17 สิงหาคม 2556 18:56 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102497-


 พฤติกรรมที่เห็นจนชินตาของหนุ่มสาวออฟฟิศยุคนี้ เห็นจะไม่พ้นการนั่งทำงานอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน อันเนื่องมาจากลักษณะหรือรูปแบบการทำงานที่บังคับให้เราต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดโรคร้ายคุกคามคนเมืองวัยทำงานขึ้นโรคหนึ่ง นั่นก็คือ "ออฟฟิศซินโดรม"


  แม้โรคนี้จะเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง แต่คนส่วนใหญ่ยังมองข้ามและขาดข้อมูลที่ดีในการรับมือ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และที่ปรึกษาคลินิกระงับปวด โรงพยาบาลศิริราช และอดีตนายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย อธิบายภายในงานเวิร์กชอปสุขภาพดีในหัวข้อ “รอบรู้เรื่องปวด” (Know Your Pain) จัดโดยบริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาการปวด รวมถึงแนวทางป้องกันและรักษาก่อนลุกลาม ว่า อาการออฟฟิศซินโดรม คืออาการปวดกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เกินวันละ 6 ชั่วโมง โดยไม่ลุกไปผ่อนคลายหรือปรับเปลี่ยนอิริยาบถ
       
       "สภาพแวดล้อมในการทำงานก็เป็นอีกส่วนที่ควรให้ความใส่ใจ โดยควรปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย และปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา นอกจากนี้ ยังต้องรู้จักและรู้เท่าทันอาการปวด เริ่มต้นด้วยวิธีป้องกันง่ายๆ คือหมั่นออกกำลังกายและบริหารเพื่อจัดโครงสร้างร่างกาย แต่ก็ต้องอาศัยความใส่ใจและความสม่ำเสมออย่างมาก"
       
       รศ.นพ.ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า คนทำงานส่วนใหญ่มักจะละเลยสัญญาณเตือนของอาการปวดกล้ามเนื้อแบบออฟฟิศซินโดรม ท้ายที่สุดแล้วอาการอาจลุกลามร้ายแรงจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำงานของผู้ป่วย และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น การไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นการลงทุนระยะยาว เพื่อความสุขและสุขภาพที่ดีในอนาคต
       
       ด้าน นพ.พิชัย คณิตจรัสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า อาการไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงภาพรวมด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย อย่างประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้ป่วยจากอาการปวดเรื้อรังเกือบ 8 ล้านคน และอาการปวดหลัง คือ สาเหตุสำคัญอันดับ 2 ที่ทำให้ต้องลาหยุดงาน หรือไม่สามารถปฏิบัติงานตามปกติได้ ส่วนสหรัฐอเมริกามีรายงานว่า อาการปวดส่งผลกระทบต่อมูลค่าการผลิตในประเทศปี 2553 ประมาณ 297-335 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
       
       "สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2554 พบว่า คนวัยทำงานออกกำลังกายน้อยกว่าคนวัยอื่นอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ คนวัยทำงานเพียง 23.7% เท่านั้นที่ออกกำลังกาย นอกจากนี้ คนกลุ่มนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารไม่ครบ 5 หมู่ การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่"
       
       อย่างไรก็ตาม อาการปวดสามารถบรรเทาได้ด้วยการยืดหยุ่นร่างกาย นายชิษณุพงศ์ ยะอ้อน นักวิทยาศาสตร์กายภาพ ระบุว่า ท่าบริหารจัดโครงสร้างและยืดหยุ่นร่างกายอย่างถูกวิธี สามารถช่วยให้หนุ่มสาวออฟฟิศบรรเทาอาการปวดเฉพาะส่วนซึ่งเกิดจากออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งท่าบริหารอย่างง่ายที่สามารถนำไปปฏิบัติตามที่ทำงานได้ง่ายและบ่อยครั้ง มีทั้งหมด 6 ท่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถนะและความยืดหยุ่น รวมถึงผ่อนคลายกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เช่น คอ ไหล่ สะบัก หลัง และขา
       
       ทั้งนี้ นายชิษณุพงศ์ ได้สาธิตท่าบริหารทั้ง 6 ท่า ดังนี้




       ท่าที่ 1: บริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา แล้วทำเช่นเดียวกันนี้กับอีกข้างหนึ่ง



       ท่าที่ 2: บริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะพร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ค้างไว้แล้วนับ 1-10



       ท่าที่ 3: บริหารสะบักและหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อยๆ ดึงแขนไปด้านหลัง



       ท่าที่ 4: บริหารขาด้านหลังและหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ชูแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงเอามือทั้งสองข้างวางแนบพื้นหรือแตะปลายเท้า โดยไม่งอเข่า



       ท่าที่ 5: บริหารขาด้านหลัง น่อง และหลังส่วนล่าง ทำต่อเนื่องจากท่าที่ 4 โดยยังอยู่ในท่าก้มตัว สอดมือทั้งสองไว้ด้านหลัง หัวเข่า แล้วค่อยๆ งอเข่าทั้งสองข้าง ค้างไว้แล้วนับ 1-10



       และ ท่าที่ 6: บริหารหลังส่วนล่าง ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างเหนือศีรษะ ประสานมือเอาไว้ แล้วค่อยๆ เอนตัวไปด้านหลัง
       




http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000102497
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2013, 08:13:39 pm »
6 วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่หากไม่ได้ฉีดวัคซีน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    24 สิงหาคม 2556 14:51 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000105888-

  กรมควบคุมโรคเผยยอดกลุ่มเสี่ยงมารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่แค่ 1.9 ล้านรายจากเป้าหมาย 3.5 ล้านรายเท่านั้น วอนรีบมาฉีดฟรีก่อนหมดเขต 30 ก.ย. ระบุฉีดแล้วควรรอดูอาการอย่างน้อย 30 นาที มีอาการข้างเคียงหรือไม่ พร้อมแนะ 6 วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน


       วันนี้ (24 ส.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ปีนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้จัดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เอ เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ชนิดเอ เอช 3 เอ็น 2 (H3N2) และชนิดบี (B) ไว้บริการให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่ม คือผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือน -2 ปี และผู้ป่วยทุกอายุ ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ โรคปอด ปอดอุดกั้น หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ ยังมีนโยบายให้วัคซีนแก่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้ประมาณการไว้ 3.5 ล้านคนและเตรียมวัคซีนไว้เพียงพอ แต่ขณะนี้มีจำนวนผู้มารับบริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ ระหว่างวันที่ 27 พ.ค. - 22 ส.ค. 2556 จำนวนประมาณ 1.9 ล้านราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่มีโรคเรื้อรังประมาณ 1.1 ล้านราย บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป ประมาณ 5 แสนราย ที่เหลือเป็นหญิงมีครรภ์ บุคคลโรคอ้วน ผู้พิการทางสมอง ผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กอายุ 6 เดือน- 2 ปี
       
       นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า การให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. ขอให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวไปรับบริการฟรี ได้ที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ.ทั่วประเทศ โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยกเว้นเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ที่มีประวัติแพ้ไก่หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ผู้ที่มีไข้หรือเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือโรคประจำตัวกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน หลังการฉีดวัคซีนไม่ควรรีบกลับบ้าน ควรรอเฝ้าสังเกตอาการข้างเคียงในสถานพยาบาลอย่างน้อย 30 นาที หากมีอาการข้างเคียง ซึ่งจะปรากฏภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง หลังฉีด เช่น หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะต้องแจ้งแพทย์ทันที
       
       นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ได้โดย 1.ล้างมือบ่อยๆหลีกเลี่ยงการเอามือขยี้ต่ำหรือจับของเข้าปาก รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ 2.อย่าใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ แปรงสีฟัน เป็นต้น สิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วยควรแช่น้ำยาฆ่าเชื้อก่อนซักหรือต้มในน้ำเดือน ตากให้แห้ง 3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่นขณะป่วยและควรนอนพักรักษาตัวที่บ้าน 4.สวมหน้ากากอนามัยหรือที่ปิดจมูกเวลาไอจาม 5.รักษาร่างกายให้อบอุ่นเสมอในช่วงอากาศหนาวเย็น และ 6.หากมีอาการไข้หวัดที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ส่วนใหญ่อาการจะหายภายใน 3-5 วัน โดยการนอนพักผ่อนให้มาก ดื่มน้ำมากๆ หรือน้ำผลไม้ น้ำซุป หรืออาจใช้นำเกลือแร่ร่วมด้วย ไม่ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ขาดเกลือแร่ เมื่อไข้สูงห้ามอาบน้ำเย็นให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากมีอาการปวดศีรษะ ให้กินยาพาราเซตามอน ในผู้ใหญ่กินครั้งละ 1-2 เม็ด (500 มิลิลกรัม) วันละ 2-3 ครั้ง ยาปฏิชีวนะไม่จำเป็นต้องใช้ เนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อไวรัสจะส่งผลให้มีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ หากมีอาการหอบหรือแน่นหน้าอกให้พบแพทย์ทันที
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2013, 07:26:17 am »
สมุนไพรต้านหวัด

-http://campus.sanook.com/1369703/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/-



แนะนำพืชผักและสมุนไพรใกล้ตัว เป็นทางเลือกสำหรับบรรเทาอาการหวัด ลดอาการไอ การระคายคอ จากเสมหะ มาฝากกัน

การชื้นแฉะ อาจทำให้เราเป็นหวัดหรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจกันได้ง่ายๆ โดยทั่วไปเมื่อเป็นไข้หวัดแล้ว อาการจะหายได้เองประมาณ 1 สัปดาห์ โดยหมั่นจิบน้ำอุ่นอย่างต่อเนื่อง พักผ่อนให้มากๆ โดยสิ่งที่เป็นเรื่องน่ารำคาญของโรคนี้คือ น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอและหายใจลำบาก เรามีพืชผักและสมุนไพรใกล้ตัว เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับบรรเทาอาการหวัด ลดอาการไอ การระคายคอ จากเสมหะ มาฝากกัน

ต้นหอม โดยนำต้นหอมสดๆล้างน้ำให้สะอาด กินร่วมกับอาหารทุกมื้อ มื้อละ 2 - 3ต้น หรือต้มจนเดือด สูดไอระเหยจะช่วยให้หายหวัดได้เร็ว



ขิง มีรสหวานและเผ็ดร้อน กลิ่นหอมแหลมของขิงมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย และสารธรรมชาติอีกหลายชนิดที่มีฤทธิ์เป็น "ยา" ส่วนคนที่กำลังไอ ขิงก็ช่วยได้ โดยเอามาฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือนิดหน่อย ใช้กวาดคอ อาการไอและเสมหะจะบรรเท่าเบาบาง


วิธีใช้ก็ง่ายๆคือใช้ขิงแก่ขนาดเท่านิ้วมือทุบให้แตก ตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยคั้นน้ำ 2 ช้อนแกงใส่น้ำผึ้ง 2 ช้อนแกง ผสมเข้ากันแล้วจิบบ่อยๆ ระวังอย่าจิบมากเกินไป อาจทำให้แสบคอได้

กระเทียม มีคุณสมบัติเป็นยาขับเสมหะ มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสหวัดและไข้หวัดใหญ่ และยังมีผลต่อเชื้อร้ายในทางเดินหายใจ จึงช่วยลดอาการไอ หรือหากรับประทานสดๆได้จะดีเพราะกระเทียมสดๆออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด




ฟ้าทะลายโจร จัดอยู่ในจำพวกยาปฎิชีวนะ เหมือนพวกเพนนิซิลินและเตตราซัยคลิน ซึ่งรักษาได้ครอบจักรวาลเลยทีเดียว แต่ปลอดภัยกว่า เพราะไม่มีพิษต่อตับ และไม่ตกค้างในร่างกาย ซ้ำยังมีประสิทธิภาพในการรักษาโดยโรคบางอย่างดีกว่ายาแผนปัจจุบันเสียอีก




มะขาม มีรสเปรี้ยวเพราะมีกรดอินทรีย์ มะขามช่วยให้หายคัดจมูกและขับเหงื่อ สูดจนหมดไอแล้วผสมน้ำเย็นลงไปพออุ่นแล้วอาบ ทำวันละ 1 - 2 ครั้ง ประมาณ 3-4 วัน




เพกา ส่วนที่นำมาใช้คือ เมล็ด ซึ่งเมล็ดเพกานี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของน้ำจับเลี้ยงที่คนจีนใช้ดิ่มแก้ร้อนใน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ ขับเสมหะ โดยใช้เมล็ดประมาณ 1 กำมือ หนักประมาณ 3 กรัม ใส่น้ำประมาณ 300 มล. ต้มไฟ่อ่อนๆ พอเดือด เคี่ยวประมาณ 1 ชั่วโมง ดื่มวันละ 3 ครั้ง




นอกจากนี้แล้ว การที่เราหมั่นรักษาสุขภาพของตัวเองในหน้าฝนนี้ ด้วยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอุ่นๆ ก็จะช่วยให้หายจากอาการหวัดได้เร็วขึ้นได้

ที่มา:หนังสือสมุนไพรรู้ใช้ไกลโรค


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 07, 2013, 11:20:07 am »
ระวัง! เชื้อราจากสัตว์เลี้ยงแสนรัก เจ้าของอาจถึงตาย แต่ป้องกันได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    7 กันยายน 2556 09:32 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000112294-

  โดย...ทีมสัตวแพทย์คลินิกโรคผิวหนังและโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
       
       สัตว์เลี้ยงแสนรักที่นอกเหนือจากต้องสรรหาอาหารถูกหลักโภชนาการ ฉีดวัคซีนตามกำหนด เจ้าของยังต้องใส่ใจสุขอนามัยภายนอก โดยเฉพาะโรคผิวหนังและเชื้อรามักเกิดขึ้นได้กับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ซึ่งอาจนำมาติดต่อสู่ตัวเจ้าของหรือคนใกล้ชิดได้โดยไม่รู้ตัว
       
       ทีมสัตวแพทย์คลินิกโรคผิวหนังและโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ แนะวิธีดูแลเพื่อนรัก 4 ขาให้ห่างไกลจากโรคนี้ และป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคผิวหนังและเชื้อราจากสัตว์เลี้ยง ว่า ปัจจุบันคนนิยมเลี้ยงสัตว์ในบ้านกันมากขึ้น โดยเฉพาะสุนัข แมว กระต่าย ทำให้ต้องใส่ใจเรื่องความสะอาดมากขึ้น รวมถึงต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดกับผิวพรรณและเส้นขนสัตว์เลี้ยง ที่อาจเป็นสาเหตุนำมาสู่ “โรคผิวหนังและเชื้อราในสัตว์เลี้ยง” ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักมีต้นตอการเกิดโรคแฝงอยู่เสมอ ทำให้การรักษามักไม่ตรงจุด สัตวแพทย์จำเป็นต้องหาสาเหตุหลักนั้นๆ ให้เจอ หรือบางโรคมักจู่โจมกับบางสายพันธุ์ เช่น ลูกสุนัขชิวาว่า มักเป็นเชื้อรา และไรขี้เรื้อนขุมขน หรือ สุนัขพันธุ์บลูด็อก มักมีโรคผิวหนังติดเชื้อตามร่องแก้ม หรือหลืบตามร่างกาย เพราะเป็นจุดที่อับชื้น อากาศน้อย ติดเชื้อง่าย เป็นต้น ดังนั้นการรักษาจำเป็นต้องได้รับการซักถามประวัติกันมาก และใช้เวลาในการตรวจมากซักหน่อย
       
       "ที่สำคัญ โรคผิวหนังส่วนใหญ่พบได้ในสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ทั้งน้องหมา น้องแมว กระต่าย กระรอก เม่น ม้า วัว สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์น้ำก็เป็นได้ ซึ่งโรคผิวหนังได้มีการแบ่งหลายแบบ สามารถแบ่งให้เข้าใจง่ายคือ โรคผิวหนังแบบติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ ดังนั้นการสังเกตสัญญาณเบื้องต้น คือ การเกามากกว่าปกติ มีตุ่มตามตัว เลียบางส่วนของร่างกายมากกว่าปกติ กลิ่นตัวแรงทั้งๆที่เพิ่งอาบน้ำ ขนร่วงมากกว่าปกติ เป็นต้น ควรพาไปพบคุณหมอ"
       
       ส่วนข้อสงสัยที่ว่า โรคผิวหนังสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ซึ่งแนวทางการรักษาแต่ละโรคไม่เหมือนกัน ต้องได้รับการวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์เสียก่อน ว่าจะรักษานานเท่าไหร่จะหายขาดหรือกลับมาเป็นใหม่ ทั้งนี้ บางโรคต้องยอมรับจริงๆว่าไม่หายขาด เช่น โรคภูมิแพ้สิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างการแพ้ไรฝุ่น ที่ตรวจพบจากการทดสอบภูมิแพ้ที่ผิวหนัง แม้ให้วัคซีนแล้ว แต่ไม่สามารถเลี่ยงการเผชิญกับฝุ่นได้ เพราะอยู่บ้านเดิม นอนที่เดิม
       
       ดังนั้น การรักษาจึงเป็นการช่วยบรรเทาความคันยุบยิบได้ ให้สบายตัวขึ้น และอยู่กับโรคภูมิแพ้ได้โดยไม่ทรมานเกินไป บางโรคที่ติดเชื้อที่ผิวหนังรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และเสียชีวิตได้ จึงควรพาสัตว์เลี้ยงมาตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ มิเช่นนั้นนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพสัตว์แล้ว นอกจากนี้โรคผิวหนังและเชื้อราในสัตว์เลี้ยงนั้นยังอาจติดต่อสู่เจ้าของทางการสัมผัสใกล้ชิด โดยคนที่เป็นอาจมักมีภาวะอ่อนแอบางอย่าง เช่น ตั้งครรภ์ เครียด ไม่สบาย หรือพักผ่อนน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ โรคผิวหนังและเชื้อราในสัตว์เลี้ยง หากเกิดขึ้นแล้วควรรีบตรวจหาสาเหตุก่อนเพราะหลายๆโรค ติดต่อสู่คน หรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่น อย่างเช่น ลูกแมวเปอร์เซีย ที่เป็นเชื้อรากันมาก แต่เจ้าของคิดว่าผลัดขน เลยทิ้งไว้จนเจ้าของและลูกๆที่บ้านติด กลายเป็นเรื่องใหญ่โต ดังนั้น หากจะเลี้ยงสัตว์เลี้ยงชนิดไหน ควรทราบถึงลักษณะเฉพาะของชนิด หรือสายพันธุ์นั้นๆก่อน ว่าเหมาะกับเราหรือครอบครัวหรือไม่ เพื่อป้องกันตนเองและสัตว์เลี้ยงแสนรัก
       
       อย่างไรก็ตาม เจ้าของควรหมั่นสังเกตอาการ พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงของตัวเอง หากเริ่มมีอาการแปลกๆ อย่ารีรอ สิ่งแรกที่ควรทำคือ เมื่อพบว่าสัตว์เลี้ยงมีอาการผิดปกติที่ผิวหนัง เป็นสะเก็ด คัน หรือเกาไม่หยุด แนะนำให้รีบพามาตรวจหาสาเหตุแต่เนิ่นๆ เนื่องจากอาการเบื้องต้นของหลายๆ โรคมักเริ่มต้นเหมือนกัน โรคผิวหนังและเชื้อราเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ และหากเจ้าของสัตว์ติดโรคไปแล้วก็สามารถให้ครีมฆ่าเชื้อราทาบริเวณที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น และสิ่งสำคัญของคนรักสัตว์เลี้ยงคือ การใส่ใจในสุขอนามัยและไม่ควรมองข้ามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเล็กๆ น้อยๆ ของสัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา ทีมสัตวแพทย์จากรพ.สัตว์ทองหล่อ ฝากทิ้งท้าย

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 29, 2013, 09:16:37 am »
แนะวิธีปรับพฤติกรรมห่างไกลโรคหัวใจ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 กันยายน 2556 12:54 น.
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000122308-


กรมควบคุมโรคเผยปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 23.3 ล้านคนทั่วโลก ยันป้องกันได้ ถึงร้อยละ 80 แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน


       วันนี้ (28 ก.ย.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พบว่า โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งทั่วโลกในปี 2551 มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว 17.3 ล้านคนทั่วโลก และคาดว่าในปี 2573 จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 23.3 ล้านคน และยังคงเป็นสาเหตุนำของการตาย ทั้งๆที่โรคนี้สามารถป้องกันได้มากถึงร้อยละ 80 โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง
       
       นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (heart attack) และโรคหลอดเลือดสมอง มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันและมักมีสาเหตุหลักมาจากที่หลอดเลือดเกิดการอุดตันจากการสะสมของไขมันบนผนังหลอดเลือดด้านใน ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจและสมองลดลง เกิดอาการหัวใจขาดเลือด หรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยง สำหรับโรคหลอดเลือดสมองนอกจากมีสาเหตุมาจากการอุดตันแล้ว อาจมีสาเหตุจากหลอดเลือดในสมองแตก การป้องกันโรคนี้ต้องกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ การสูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม กินผัก ผลไม้น้อย ขาดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกาย ความเครียด ภาวะอ้วน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และต้องปฏิบัติตัว ดังนี้
       
       1. มีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกาย 30 นาที 5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เช่น กิจกรรมเล่นกลางแจ้ง ทำงานบ้าน เดินขึ้น - ลงบันได ออกกำลังกาย 2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุล เช่น การรับประทานผัก / ผลไม้ ให้มากกว่าเนื้อสัตว์และแป้ง จำกัดขนมหวาน จำกัดเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา ไม่รับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกาย 3. งดบุหรี่ / เหล้า 4. ตรวจสุขภาพ ได้แก่ วัดความดันโลหิต ตรวจโคเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือด วัดน้ำหนักตัวและค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เพื่อรู้ค่าความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อลดโรคหัวใจและหลอดเลือด
       
       นพ.โสภณ กล่าวด้วยว่า เคล็ดลับในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับหญิงตั้งครรภ์และทารก มีดังนี้ 1. เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เช่น ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ 2. ควรฝากครรภ์ตั้งแต่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 3. เมื่อตั้งครรภ์ควรดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ เช่น การกิน อาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่หรือเลี่ยงควันบุหรี่ 4. ระวังเรื่องการใช้ยา ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ 5. หลีกเลี่ยงการฉายรังสี และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าตั้งครรภ์ 6. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง( 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ) เช่น ตับ เนื้อแดง อาหารวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม มะละกอ และอาหารแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักหลากสีและผลไม้หวานน้อย 7. ออกกำลังกายครั้งละน้อยๆช้าๆ หลังครรภ์มีอายุ 3 เดือน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
       
       "วันที่ 29 ก.ย.ของทุกปี เป็นวันรณรงค์หัวใจโลก สำหรับปีนี้ สมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) กำหนด ประเด็นสารว่า “Take the road to a healthy heart” ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ ใช้ประเด็นสาร ว่า "เลือกแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อหัวใจที่แข็งแรง" โดยเน้นไปยังกลุ่มผู้หญิงและเด็ก ตั้งแต่ทารกช่วงที่มีพัฒนาการอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่ง นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข ได้มอบนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวไว้ชัดเจนว่า ใน 10 ปีข้างหน้านี้คนไทยทุกคนต้องมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น โรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นโรคที่ป้องกันได้ต้องลดลง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม" อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2013, 09:34:48 am »
เดือน"มะเร็งเต้านม" ร่วมรณรงค์ - พบเร็วระยะแรกมีโอกาสหายได้
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UUXpNVE0zTkE9PQ==&subcatid=-

มะเร็งเต้านม ปัญหาสาธารณสุขของโลก รวมทั้งประเทศไทย ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาสเสี่ยง ซึ่งเดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งเต้านม (Breast Cancer Awareness Month) เรารู้จักกันดีกับ "สัญลักษณ์โบสีชมพู" ในเดือนนี้แคมเปญเกือบทั้งหมดจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของเต้านมด้วยตนเอง การตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และยังมีคำขวัญว่า "มะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสหาย (ขาด) ได้"

นพ.อาคม เชียรศิลป์ ที่ปรึกษาชมรม Thai Breast Friends แห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นหมอที่รักษาดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีข้อสังเกตว่า มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม คือ เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีที่แพทย์สามารถผ่าตัดเอามะเร็งที่กระจายออกหมด มีโอกาสหายได้เช่นกัน เพียงแต่กระบวนการรักษาจะมีความซับซ้อนกว่า ใช้เวลานานกว่า

จากข้อมูลทางวิชาการ ร้อยละ 30 ของมะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามแต่ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ผู้ป่วยมะเร็งลุกลามมีโอกาสหายได้ หรือควบคุมโรคได้หลายครั้ง ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ เป็นผลทำให้บนโลกใบนี้มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

ปัจจุบันการรณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ควรจะมีเนื้อหาสาระของมะเร็งเต้านมระยะลุกลามรวมอยู่ด้วย จะได้เป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มีมากมาย และลงลึกถึงระดับโมเลกุล (DNA) มีผลทำให้การรักษาโรคมะเร็งพัฒนาไปไกลมาก เช่น เราสามารถจัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการแสดงของยีน (DNA) ว่าแต่ละกลุ่มควรจะรักษาอย่างไร เป็นการแพทย์เฉพาะบุคคล

แม้แต่ผู้ป่วยมะเร็งที่โรคกลับมาเป็นซ้ำ อาจมีการแสดง ออกของยีนแตกต่างไปจากโรคมะเร็งเต้านมต้นกำเนิด ซึ่งแผนการรักษาอาจเปลี่ยนไป ที่สำคัญการพัฒนาการรักษาและยา เพื่อเอาชนะการดื้อยาของเซลล์มะเร็ง อาจออกมาในรูปของยาขนานใหม่ หรือนำยาเดิมมาใช้ร่วมกับสูตรยาขนานใหม่ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในกลุ่มที่มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก (ER+) แม้ว่าจะมีการกระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่นๆ แล้ว แต่ผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพร่างกายที่ดี ก็สามารถรักษาได้

เมื่อปี ค.ศ.2009 ในสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 9 คน ได้รวมพลังกันขอเข้าพบกับสมาชิกรัฐสภา เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในที่สุด คณะรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลาม และการเข้าถึงการรักษา เพื่อให้ประชาชนทราบความจริง พร้อมทั้งประกาศให้วันที่ 13 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านและช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม

ดังนั้น เพียง 1 วันในเดือนตุลาคม ควรจะเป็นวันที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยกระจายความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม การรักษาที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และแสดงให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมระยะลุกลามไม่ใช่ระยะสุดท้ายของชีวิตอีกต่อไป
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: แนะนำ วิธีการป้องกัน โรคภัยไข้เจ็บ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2013, 09:38:12 am »
เดือน"มะเร็งเต้านม" ร่วมรณรงค์ - พบเร็วระยะแรกมีโอกาสหายได้
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UUXpNVE0zTkE9PQ==&subcatid=-

มะเร็งเต้านม ปัญหาสาธารณสุขของโลก รวมทั้งประเทศไทย ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย มีโอกาสเสี่ยง ซึ่งเดือนตุลาคมเป็นเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งเต้านม (Breast Cancer Awareness Month) เรารู้จักกันดีกับ "สัญลักษณ์โบสีชมพู" ในเดือนนี้แคมเปญเกือบทั้งหมดจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของเต้านมด้วยตนเอง การตรวจหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรก และยังมีคำขวัญว่า "มะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสหาย (ขาด) ได้"

นพ.อาคม เชียรศิลป์ ที่ปรึกษาชมรม Thai Breast Friends แห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นหมอที่รักษาดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มีข้อสังเกตว่า มะเร็งเต้านมระยะลุกลาม คือ เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หรือแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีที่แพทย์สามารถผ่าตัดเอามะเร็งที่กระจายออกหมด มีโอกาสหายได้เช่นกัน เพียงแต่กระบวนการรักษาจะมีความซับซ้อนกว่า ใช้เวลานานกว่า

จากข้อมูลทางวิชาการ ร้อยละ 30 ของมะเร็งเต้านมระยะแรก มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมระยะลุกลามแต่ปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลามมีความก้าวหน้าขึ้นมาก ผู้ป่วยมะเร็งลุกลามมีโอกาสหายได้ หรือควบคุมโรคได้หลายครั้ง ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ เป็นผลทำให้บนโลกใบนี้มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

ปัจจุบันการรณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ควรจะมีเนื้อหาสาระของมะเร็งเต้านมระยะลุกลามรวมอยู่ด้วย จะได้เป็นขวัญกำลังใจให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มีมากมาย และลงลึกถึงระดับโมเลกุล (DNA) มีผลทำให้การรักษาโรคมะเร็งพัฒนาไปไกลมาก เช่น เราสามารถจัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการแสดงของยีน (DNA) ว่าแต่ละกลุ่มควรจะรักษาอย่างไร เป็นการแพทย์เฉพาะบุคคล

แม้แต่ผู้ป่วยมะเร็งที่โรคกลับมาเป็นซ้ำ อาจมีการแสดง ออกของยีนแตกต่างไปจากโรคมะเร็งเต้านมต้นกำเนิด ซึ่งแผนการรักษาอาจเปลี่ยนไป ที่สำคัญการพัฒนาการรักษาและยา เพื่อเอาชนะการดื้อยาของเซลล์มะเร็ง อาจออกมาในรูปของยาขนานใหม่ หรือนำยาเดิมมาใช้ร่วมกับสูตรยาขนานใหม่ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในกลุ่มที่มีตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นบวก (ER+) แม้ว่าจะมีการกระจายของโรคไปที่อวัยวะอื่นๆ แล้ว แต่ผู้ป่วยยังอยู่ในสภาพร่างกายที่ดี ก็สามารถรักษาได้

เมื่อปี ค.ศ.2009 ในสหรัฐอเมริกา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 9 คน ได้รวมพลังกันขอเข้าพบกับสมาชิกรัฐสภา เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม ในที่สุด คณะรัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการรักษามะเร็งเต้านมระยะลุกลาม และการเข้าถึงการรักษา เพื่อให้ประชาชนทราบความจริง พร้อมทั้งประกาศให้วันที่ 13 ต.ค. ของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านและช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม

ดังนั้น เพียง 1 วันในเดือนตุลาคม ควรจะเป็นวันที่ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน ช่วยกระจายความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม การรักษาที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และแสดงให้เห็นว่ามะเร็งเต้านมระยะลุกลามไม่ใช่ระยะสุดท้ายของชีวิตอีกต่อไป

ปีที่แล้ว ผมไปตรวจร่างกายที่สถาบันมะเร็งมา
คุณหมอบอกว่า ผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านมเยอะขึ้น โปรดระมัดระวังกัน ไปตรวจสุขภาพกันทุกๆปีครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)