ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 10:17:58 pm »



พุทธตันตระ - วัชรยาน ตอนที่ II

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก The Essense of Jung's Psychology and Tibetan Buddhism

สัญญลักษณ์ แห่ง สองในหนึ่ง ของพุทธธิเบต หรือ ยับยุม เป็นภาพการร่วมรักของคู่เทพและเทวี

ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในศิลปะศักดิ์สิทธิ์แห่งธิเบต ลามะโควินทร์ กล่าวว่าสัญลักษณ์นี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่วมเพศทางกาย ทว่าเป็นเพียงภาพแทนการหลอมรวมของธาตุ (principle) แห่งชายหญิง

(คุณสมบัติ แห่งหญิงอันเป็นนิรันดร์ ดำรงอยู่ใน “มารดาผู้ศักดิ์สิทธิ์”) ดั่งนี้ แทนที่จะถวิลหาการร่วมเพศกับผู้หญิงที่อยู่ในโลกภายนอก เราต้องหาคุณสมบัติแห่งหญิงนั้นภายในตัวเราเอง โดยการหลอมรวมธรรมชาติแห่งชายหญิงในจิตภาวนา ลามะโควินทรเห็นว่า เราต้องยอมรับว่าขั้วตรงข้ามทางเพศเป็นเพียงเหตุบังเอิญในขั้วตรงข้ามแห่ง จัรวาล และต้องผ่านข้ามขั้วตรงข้ามนี้ให้จงได้

เมื่อเราเห็นความสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตใจ และปฏิสัมพันธ์ของร่างกายกับจิตวิิญญาณในมุมมองของจักรวาล เราก็จะสามารถก้าวข้าม “ตัวกู” “ของกู” ได้ และยังจะสามารถก้าวข้ามโครงสร้างทั้งหมดอันเป็นที่มาของความรู้สึกในตัวกู ความเห็นต่างๆและการตัดสิน ซึ่งสร้างภาพลวงว่าตัวเราเป็นสิ่งที่แยกออกจากสิ่งอื่น เมื่อนั้นแลเราจะบรรลุพุทธภูมิ

อย่างไร ก็ตาม ชาวพุทธตันตระก็มีการฝึกร่วมประเวณี (maithuna) ในเชิงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ โดยมีรากฐานทางความคิดเดียวกันกับหลักแห่งธาตุชายและหญิง S.B. Dasgupta ศึกษาข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาวพุทธตันตระ เพื่อแก้ต่างให้กับพวกเขาในเรื่องการฝึกที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนของสังคม พวกเขาเน้นย้ำว่าทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความบริสุทธ์ของจิต กล่าวคือ การกระทำด้วยปัญญาและกรุณา

เมื่อจิตบริสุทธิ์ เราก็จะบริสุทธิ์

ทว่าพวกเขาก็ยังเตือนด้วยว่า นี่เป็นหนทางยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษก “สิ่งที่ลากคนเขลาผู้ไม่ได้รับการอภิเษก สู่นรกแห่งความหมกมุ่นในโลกีย์ อาจช่วยให้โยคีที่อภิเษกแล้วเข้าถึงการตรัสรู้ได้” ประเด็นที่สำคัญมากคือ โยคีและโยคินีต้องมั่นคงในสิ่งที่ตนอธิฐาน ว่าจะทำกรรมต่างๆด้วยจิตที่มีเมตตาและมีปัญญา นั่นคือ ความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติอันว่างเปล่าของปรากฏการณ์ทั้งปวง ดังนั้น จึงมีคำกล่าวว่า;

ประดุจดั่ง ยารักษาโรคบางขนานอันหวานยวนชวนลิ้มรส ความปิติผุดขึ้นจาก ปัญญาและ อุปายะ (ความเมตตา) ซึ่งผสานรวมกัน มันทำลายความทุกข์ ได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย อีกครั้ง เชือกซึ่งผูกมัดคนผู้หนึ่ง สามารถปลดปมให้อีกคนอีกผู้หนึ่ง



Herbert Guenther นักวิชาการอีกท่าน กล่าวเช่นเดียวกันว่า สติแห่งพุทธะทั้งหลายซึ่งตระหนักรู้ได้ในตัวเรา

เรียกว่า มหาปิติ เพราะ มันคือความสุขสำราญอันเลอเลิศกว่าความสำราญทั้งปวง หากปราศจาก ปิติ การตรัสรู้ก็มิบังเกิด เพราะการตรัสรู้คือ ปิติในตัวเองเสมือนหนึ่งดวงจันทราทอแสง ในความมืดอันลึกล้น

ดั่งนี้ ชั่วขณะเดียวแห่งมหาปิติอันสูงสุด จึงช่วยบรรเทาทุกข์ทีละน้อย

นี่ไม่ใช่วิธีคิดแบบเฮโดนิส (Hedonism) จริงๆแล้วมันเกือบจะตรงกันข้ามกันเลยทีเดียว เพราะว่าหลักการนี้ต้องอาศัยความมัวินัยอย่างมาก และเพียงการมีวินัยอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นที่จะทำให้ผู้ฝึกบรรลุถึงอิสรภาพ ที่แท้ได้ นี่เป็นหลักการเบื้องต้นที่สุด สำหรับการฝึกตันตระทุกอย่าง ดั่งนี้ มันจึงเหมือนกับ โฮมีออพพะธี (homeopathy) กล่าวคือ การฝึกด้วยหลักที่ว่า ความชอบจะช่วยแก้ความชอบ เหตุแห่งโรคสามารถต้านโรคและรักษาโรคได้ หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

ชาว พุทธวัชรยาน อาจจะกล่าวด้วยว่าการกระทำซึ่งถ่วงมนุษย์ไว้ในโลกแห่งความระทมอันเป็นนิรันดร์ ก็ช่วยปลดปล่อยผู้กระทำนั้นได้ หากเพียงกระทำโดยพลิกมุมมอง ให้ประกอบด้วยปัญญาและอุปายะ เหมือนกับในการรักษาแบบ homeopathic อาการของโรคจะไม่ถูกกดไว้ แต่จะถูกกระตุ้นให้รุนแรงขึ้นชั่วคราว นี่เป็นขั้นตอนสำคัญ ในการขจัดโรคอย่างเด็ดขาด ดังนั้น ความโกรธก็ขจัดความโกรธได้ ตัณหาขจัดตัณหาได้ และพิษอื่นๆก็แก้ได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ เมื่อได้รับการแปรให้เป็นปัญญา

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นดาบสองคม หนทางนี้อาจนำไปสู่ความสุกสว่างหรือสู่โรคา เราจึงไม่อาจเดินบนเส้นทางนี้ได้โดยปราศจากการนำของอาจารย์ผู้มีเมตตาและมี ปัญญา นี่เป็นเหตุให้คำสอนตันตระและการฝึกเฉพาะถูกเก็บรับษาไว้เป็นความลับมิให้ ผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษกล่วงรู้ และจะได้รับการถ่ายทอดอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระดับที่ คนคนหนึ่งจะสามารถรับได้เท่านั้น ทั้งนี้ มีเครื่องช่วยผู้ฝึกมากมาย อย่างเข่นการบูชาและพิธีกรรมอันมากหลาย ในกระบวนการปลี่ยนแปลงตนเอง และการเข้าถึงจิตสำนึกในขั้นที่สูงกว่า เครื่องช่วยต่างๆได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้กับการดำรงอยู่ของเราทั้งสาม ส่วนอย่างครอบคลุม ทั้ง กาย วาจา สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นหรือปลุกพลัง ซึ่งซุกซ่อนอยู่อย่างเฉื่อยฉาในจิตไร้สำนึกอันลึกล้ำ


กลวิธีทั้งสามที่พบได้อย่างดาดดื่น คือ การท่องมนตรา (วจนะศักดิ์สิทธิ์) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพูด ; ท่าทางประกอบพิธีกรรม (มุทรา) ซึ่งเกี่ยวกับร่างกาย ; จิตภาวนา (โดยเฉพาะ การเพ่งภาพและการหลอมรวมเป็นหนึ่งกับภาพทวยเทพ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิต

เนื้อหา ในบทต่อๆไป จะวกกลับมาสู่กลวิธีทั้งสามนี้ โดยจะอภิปรายเกี่ยวกับความหมายและรายละเอียด รวมถึงสัญลักษณ์และบทบาทของมัณฑะลา แต่สำหรับตอนนี้ ก็จะขอกล่าวเพียงว่า จุด มุ่งหมายของตันตระ คือ การแสดงเส้นทางอันจะปลดปล่อยแสงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่องสว่างอย่างเร้นลับและโชติช่วงอยู่ภายในตัวเราทุกคน แม้ว่าแสงนั้นจะถูกหุ้มห่ออย่างซับซ้อนซ่อนเงื่อนในบรรสานโยงใยแห่งจิต (psyche)

จาก http://venusbuddha.blogspot.com/2011/07/ii_1775.html
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 10:12:19 pm »





พุทธตันตระ - วัชรยาน ตอนที่ I

ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปลจาก The Essense of Jung's Psychology and Tibetan Buddhism

พุทธตันตระหรือพุทธวัชรยานเป็นยานลำที่สาม ถึงแม้นพุทธตันตระจะเป็นส่วนหนึ่งของสำนักมหายานแต่พุทธตันตระก็ทำให้พุทธธิเบต พัฒนาถึงจุดสูงสุดและงามสง่าที่สุด เมื่อดำเนินไปตามทางลัดของตันตระหรือยานเพชร ผู้ฝึกอาจบรรลุนิพพานได้ในชั่วชีวิตเดียว ทั้งที่พระพุทธศาสนาสอนว่าการเดินทางสู่พุทธภูมิโดยเส้นทางอันซ้อนหลั่น อื่นๆนั้นกินเวลายาวนานสุดจะหยั่ง “ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์”

พุทธตันตระมีพื้นฐานมาจากปรัชญามาธยมิกะ ซึ่งมีแก่นคือทางสายกลาง กล่าวคือ ตรงกลางระหว่างความเห็นสุดโต่งสองทางที่เชื่อว่าว่า

๑) อัตตาและโลกเที่ยงแท้คงทนอยู่เป็นนิรันดร์ (eternalism) หรือ
๒) ตายแล้วสูญ (nihilism)

พุทธ ตันตระไม่สนใจการการใคร่ครวญเชิงทฤษฏีหรือเชิงอภิปรัชญา และไม่สนใจการทรมานตนอย่างสำนักอื่นๆ พุทธตันตระเน้นอุปายะอันซับซ้อน ซึ่งผู้ที่ยังไม่ได้รับการอภิเษกไม่อาจเข้าใจได้ อุปายะเหล่านี้ มีเค้ามาจากการถือโชคลางของคนโบราณและอิทธิฤทธิ์ของเหล่าชามาน อย่างไร ก็ดี โดยแก่นแท้แล้ว สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เป็นอะไรนอกเสียจาก อุปายะอันหลากหลายเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ กล่าวคือ วิถีการแปรเปลี่ยนทุกแง่มุมของชีวิตในสังสารวัฏ ทั้งแง่บวก แง่ลบ หรือกลางๆ ไปสู่ปัญญาแห่งการหลุดพ้น อุปสรรคทั้งหลาย เช่น ราคะ ถูกแปรเป็นพาหนะสู่การรู้แจ้ง ก้าวข้ามความดีและความชั่ว และไหลคืนสู่แก่นแท้แห่งจิตวิญญาณอันพิสุทธ์ ซึ่งเป็นธรรมชาติเดิมแท้แห่งจักรวาล

นี่คือทางตรงและลัดสั้น สู่การปลดปล่อย เป็นสิ่งซึ่งทรงพลังยิ่งและนำมาซึ่งขีดสุดของวิวัฒนาการแห่งจิตสำนึก แต่ทว่า ทางตรงลัดนี้ไม่ใช่ทางง่ายและยังเต็มไปด้วยอันตราย มันเป็นทางที่ไกลเกินกว่าสิ่งพื้นพื้นอันดิบหยาบ และเป็นอุปายะอันซับซ้อนแห่งการเติบโตและเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณ

จุดหมายปลายทางของสำนักพุทธ คือความรู้แจ้งเหมือนกันหมด นั่นคือ ความรู้แจ้ง ณ ที่นี่และเดี๋ยวนี้ และไม่ใช่อนาคตอันไม่อาจหยั่งถึง ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงคือจุดหมายปลายทาง และเป็นสิ่งเดียวที่พระพุทธองค์ใส่ใจ ดังที่ตรัสไว้ในปฐมเทศนาแห่งอริยสัจสี่ นอกจากนี้ จุดหมายอีกอย่างหนึ่งคือ
การเดินไปตามความศรัทธาอันแรงกล้าที่ว่า ยังมีทางออกจากความทุกข์ของชีวิตทางโลก

อนึ่ง ก่อนที่ผู้ฝึกจะเข้าฝึกตันตระ ผู้ฝึกจะต้องคุ้นเคยกับการฝึกเบื้องต้นของหินยานและมหายาน
ความอดทนอดกลั้น สติ การฝึกจิต ความกรุณา และความพร้อมด้วยปัญญา เหล่านี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้ฝึกต้องฝึกมาก่อนจะล่วงเข้าสู่เส้นทางแห่ง เพชร

อันที่จริงแล้ว ท่านอติสะ ซึ่งเป็นอาจารย์ตันตระ ใน ศตวรรษที่ ๑๑ สอนจากพื้นความคิดว่า

“เราไม่อาจกล่าวถึง หินยาน มหายาน วัชรยาน ได้อย่างแยกส่วน แต่ต้องมองว่ายานทั้งสามนี้ เป็นแง่มุมต่าง ๆ ของเส้นทางหนึ่งเดียว” เมื่อเรามองยานทั้งสามรวมกัน ก็จะเห็นได้ว่ายานทั้งสามเป็นวิวัฒนาการอันมีระบบและเป็นธรรมชาติ ตามหลักปริยัติและปฏิบัติในพระพุทธศาสนา

ตันตระ มีนัยยะถึง ความต่อเนื่อง กล่าวคือ ความต่อเนื่องของความเคลื่อนไหวและการเติบโตภายในของชีวิตหนึ่งๆ ในการฝึกจิตวิญญาณ การฝึกฝนนี้จะนำมาซึ่งความเข้าใจถึงความโยงใยแห่งปรากฏการณ์ทั้งปวง ความสัมพันธ์ของโครงสร้างเล็กและโครงสร้างใหญ่ จิตและจักรวาล สสารและจิตวิญญาณ และกรอบความคิดเช่นนี้ก็คล้ายกันอย่างมากกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อาจกล่าวได้ว่า เป้าหมายของพุทธตันตระ คือ การทะลวง หรือการควบคุมและการแปรพลังพลวัตแห่งจักรวาล ซึ่งไม่ต่างจากพลังจิต แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้ผ่านการคิดหรือผ่านทฤษฏีเชิงนามธรรม

มี การโต้แย้งและปราศจากความเห็นพ้องอันชัดเจน ในความเหมือนและความต่างระหว่างฮินดูตันตระและพุทธตันตระ รวมถึงต้นกำเนิดของตันตระด้วย นักประพันธ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งทำให้ตันตระเป็นส่วนหนึ่งของพุทธศาสนา ในกาลเวลาอันจำเพาะเจาะจง แต่ทว่า ตันตระค่อยๆหลอมรวมเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธศาสนา ผ่านกาลเวลาหลายศตวรรษ และไม่มีความต่างที่สำคัญระหว่างฮินดูตันตระและพุทธตันตระ

อย่างไร ก็ดี นักวิชาการท่านอื่น อย่างเช่น ท่าน ลามะ โควินทร์ และ Benoytosh ยืนยันว่า ถึงแม้พุทธตันตระและฮินดูตันตระจะมีรูปแบบภายนอกที่เหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วก็มีส่วนต่างที่สำคัญอยู่ ท่านโควินทร์กล่าวว่า พุทธตันตระไม่มีกรอบความคิดเกี่ยวกับศักติ หรือแง่มุมแห่งความเป็นหญิงอันสร้างสรรค์ของมหาเทพศิวะ และต่อมาแนวคิดเรื่องพลังแห่งศักติ ก็ไม่ใช่แนวคิดหลัก แต่แนวคิดหลักได้กลายเป็นเรื่อง ปัญญา



ความคิดหลักของวัชรยาน คือ หลักการเกี่ยวกับขั้วทั้งสองของชายและหญิง และการหลอมรวมของขั้วแห่งชายหญิงเป็นเป้าหมายของการฝึกตันตระ การหลอมรวมของสิ่งตรงข้ามจักก้าวข้ามทวิภาวะไปสู่เอกภาพสมบูรณ์ และนี่คือความเป็นจริงแห่งจิตวิญญาณอันสูงสุดในเส้นทางแห่งความรู้แจ้ง

แท้จริงแล้วสภาวะนี้แหละ คือ ความรู้แจ้ง

ใน ประติมานวิทยา (Iconography) ภาพทวยเทพซึ่งสวมกอดคู่ของท่านอย่างรักใคร่และพากันเสวยความสุขสำราญสุดยอด ได้แสดงให้เห็นถึงหลักการแห่งการหลอมรวม

สำนักทุกสำนักของตันตระกล่าวว่า ความสุขสำราญเป็นธรรมชาติแห่งความสมบูรณ์ เราตระหนักรู้ความสมบูรณ์ เมื่ิอตระหนักตนในความสำราญอันบริบูรณ์ ในประสบการณ์แห่งความสุขสำราญธรรมดาๆนี้เองที่ เราแวบรู้ถึงความสุขสำราญอย่างเดียวกับในธรรมชาติเดิมแท้ของเรา แต่ทว่า ประสบการณ์แห่งความสุขสำราญเหล่านี้ เป็นประสบการณ์อันจำกัดและแปดเปื้อน ดังนั้นจึงถ่วงเราไว้ในภพที่ต่ำกว่า แทนที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าในการตระหนักรู้ตนเอง

ความสุขสำราญ นิพพาน และความรู้แจ้ง กลายเป็น คำพ้องความหมายในพุทธตันตระ การจ่อมจมในธรรมชาติเดิมแท้ของอัตตาและอนัตตาในความเป็นหนึ่งแห่งความสุขสำราญอันบริบูรณ์ การฝึกฝนทางจิตวิญญาณภายใต้การร่วมเพศตามหลักโยคะ หรือความเร้นลับแห่งกาม ซึ่งก็คือ ความสุขแห่งเพศรสอันแปรเป็นความสุขอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นเครื่องมือสำหรับความบริบูรณ์ทางจิตวิญญาณ

พุทธตันตระ มีหลักว่ากายของมนุษย์เป็นโครงสร้างเล็ก (microcosm) ซึ่งเป็นรูปธรรมของความจริงอันเป็นนามธรรมแห่งโครงสร้างใหญ่ (macrocosm) ความจริงอันสมบูรณ์โอบล้อมทวิภาวะทั้งปวง

นิพพาน - สังสารวัฏ, ปัญญา (ธาตุหญิง) - อุปายะ (วิธีการสู่การได้มาซึ่งปัญญา อันเป็นธาตุชาย),
สุญญตา (ความว่าง) - กรุณา

สาวก แห่งตันตระหลอมรวมทวิภาวะเข้าในกายเนื้อของเขาเอง กล่าวคือปฐมเอกภาพ ซึ่งสกัดกั้นการแบ่งแยกและรวบรวมความต่างทั้งปวง กล่าวอีกนัยหนึ่ง สาวกเห็นตันตระใช้ร่างของตนเป็นสื่อในการก้าวข้ามปรากฏการณ์ทางโลก และเป็นสื่อของประสบการณ์ในอทวิภาวะ, ความบริบูรณ์อันมีอยู่ก่อนสรรพสิ่ง, และความสุขสำราญสุดยอด

การฝึกของตันตระ พิธีกรรมของตันตระ และจิตภาวนาแบบตันตระ หรือที่เรียกกันว่า สาธนา มีเป้าหมายคือการตระหนักรู้ดั่งว่านี้ นี่คือ พลวัตแห่งขั้วตรงข้าม คือแก่นแห่งปรัชญามาธยมิกะหรือทางสายกลาง ซึ่งโอบล้อมและสวมกอดทุกสิ่งไว้


ณ ห้วงขณะที่ความกรุณาอันยิ่งใหญ่บังเกิด
ความว่างอันเปลือยเปล่า เจิดจ้าและยิ่งใหญ่ ก็ผุดขึ้น
ขอทางแห่ง สองในหนึ่ง นี้ปรากฏแก่ข้าเสมอ

และได้ฝึกมันทั้งในทิวาแลราตรี


จาก http://venusbuddha.blogspot.com/2011/07/i_9915.html