ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 12:15:33 am »บทที่ ๘ สมาธิ
ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของการที่มีจิตที่เป็นสมาธิ เพราะการที่จะพัฒนาตัวเรา ให้เป็นผู้มีปัญญาได้นั้น ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือเราจำเป็นต้องมีจิตที่ตั้งมั่น มีสมาธิ ไม่ กวัดแกว่ง เพราะหากว่าเราไม่สามารถควบคุมจิตของเราได้แล้ว ก็ย่อมเสี่ยงต่อการตกอยู่ใน อุ้งเล็บของมโนภาพที่หลงผิด เสี่ยงต่อความคิดอันเกิดจากโลภ โกรธ หลง จะเข้ามาได้ง่าย และนำไปสู่การกระทำที่หลงผิดได้อย่างไม่ยากเย็น กุศลกรรมและความตั้งใจทำที่ดีก็จะถูกชัก นำให้หันเหไปในที่สุดดังนั้น ถ้าเราไร้ซึ่งจิตอันเป็นสมาธิเสียแล้ว ก็ย่อมเป็นการง่ายต่อการที่ จะถูกโจมตีด้วยมโนภาพแห่งความหลงผิดทั้งปวง
และวิธีที่จะเริ่มละวางโลกีย์วิสัยอันเป็นโทษให้ได้นั้น ในทางกายคงต้องเริ่มต้นด้วยการละวาง หรือละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ไม่จำเป็นออกเสีย ส่วนทางจิตนั้น เราควรพยายามหลีกเลี่ยง ที่จะวางแผนหรือครุ่นคิดหมกหมุ่นในเรื่องที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นอดีตที่ผ่านมาแล้ว หรือเพ้อ ฝันความหวังในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แต่เราควรดำรงตนให้อยู่กับปัจจุบันทุกขณะจิตว่าเป็น อย่างไร จะเป็นประโยชน์มากกว่า
อุปสรรคสำคัญของการมีสมาธิเพื่อละวางจากโลกียวิสัยนั้นก็คือความยึดติด ไม่ว่าจะเป็นความ ยึดติดในบุคคล หวังละโมบในผลประโยชน์ทางวัตถุและสิ่งต่าง ๆ ผู้ปฏิบัติสมาธินั้นพึงปฏิบัติ เพื่อละวางการยึดติดเหล่านั้น หาไม่แล้วการปฏิบัติสมาธิที่มีแต่การนำไปสู่การยึดติดหลงไหล เพิ่มพูลความวิเศษ ในอัตตาตัวตน จะเรียกว่าเป็นสมาธิที่นำไปสู่ปัญญาได้เช่นไร
ส่วนวิธีการปฏิบัติสมาธินั้น ในพระสูตรคำสอนมหายานมีอยู่หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่จะสอนให้ เราเริ่มต้นที่การปฏิบัติสมาธิ เพื่อละวางซึ่งมโนภาพที่หลงผิดในจิตของตนเองให้ได้เสียก่อน ด้วยการใช้ยาแก้ให้ถูกขนานกับแต่ละมโนภาพแห่งความหลงผิดนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น หากบุคคล มักโกรธง่ายเกลียดง่าย ก็ควรเริ่มต้นปฏิบัติสมาธิวิธีที่นำไปสู่การพัฒาความรักความเมตตา กรุณา ถ้าบุคคลดมีตัณหามาก มีความละโมบมาก ก็ให้ปฏิบัติสมาธิพิจารณาถึงความทุกข์ความ ไม่แน่นอนแห่งห้วงวัฏสงสาร และความไม่คงทนยั่งยืนของวัตถุ หรือผลประโยชน์ที่เราอยากได้ เพื่อให้ได้ตระหนักถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมัน ไม่ให้ลุ่มหลงไปกับมายาภาพที่ฉาบเคลือบเอา ไว้ และที่สำคัญที่สุดการปฏิบัติสมาธินั้นควรเป็นไปเพื่อความพยายามในการตัดสายโซ่แห่งบ่วง อวิชชา เพราะอวิชชาหรือความไม่รู้นี้เองที่เป็นตัวนำไปสู่ความสับสน ความหลงผิดในมายา คติต่าง ๆ หากเราสามารถจะละได้ความเป็นอวิชชาเข้าใจถึงธรรมชาติอันแท้จริงของสรรพสิ่ง ท้ายที่สุดก็ย่อมนำเราไปสู่ปัญญานั่นเอง แต่ในทางกลับกัน หากการปฏิบัติสมาธิใด ๆ ก็ตาม กลับนำเราไปสู่อวิชชามากขึ้น นำไปสู่ความไม่รู้มากขึ้น หลงวนเวียนอยู่มายาคติมากขึ้น ก็คง เป็นไปได้แค่เพียงสมาธิชนิดที่นำไปสู่อุ้งเล็บของความหลงผิดเท่านั้นเอง
บทที่ ๙ ปัญญา
ในบทนี้คือผลที่พึงบังเกิดจากการที่พระบรมครูทั้งหลายได้สั่งสอนวิถีการปฏิบัติอันหลากหลาย ก็เพื่อให้บังเกิดปัญญา เพื่อนำพาสรรพชีวิตทั้งหลายที่หลงวนอยู่ในห้วงทุกข์แห่งวัฏสงสารได้ พัฒนาปัญญา เพื่อถึงซึ่งการสงบระงับแห่งความทุกข์ เพื่อขจัดเสียซึ่งอวิชาทั้งปวง
ทั้งนี้ ธรรมชาติแห่งปัญญา ก็คือการได้หยั่งรู้ และได้เข้าใจถึงความจริง ๒ ระดับ คือ ระดับสมมติสัจ และปรมัตถสัจ โดยสมมติสัจ เป็นความจริงที่ตั้งขึ้นจากจุดยืนของจิตที่หลอกลวงปิดบังความ จริงแท้ ขณะที่ปรมัตถสัจ เป็นความจริงอันหยั่งถึงโดยพระปัญญาของพระผู้เป็นเลิศ ซึ่งไม่มีสมมติสัจปรากฎ
การอธิบายถึงปัญญาในบทนี้ อธิบายในรูปแบบของบทสนทนาถามตอบระหว่างนิกายมาธยมิกะ โดยมีอาจารย์ศานติเทวะเป็นตัวแทน กับพุทธศาสนานิกายอื่น ซึ่ง ทอกมี ซังโป อาจารย์ชาวธิเบต เป็นผู้ให้คำอธิบายและอรรถกถา เนื้อหาของคัมภีร์อีกต่อหนึ่ง โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ อาทิ การอธิบาย ธรรมชาติแห่งปัญญา การแก้ข้อกล่าวหาของฝ่ายจิตตามตริน เรื่อง ปรมัตถสัจ สุญตา แนะนำวัตถุ แห่งการทำสมาธิ ความเป็นอนัตตา ความไร้เอกลักษณ์แห่งปรากฎการณ์ ความมีสติแห่งจิต และ ความเข้าใจในภาวะแท้ เป็นต้น ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวมีความลุ่มลึก จำเป็นที่ผู้อ่านพึงอ่านจากฉบับ สมบูรณ์ ตามที่ รศ. ดร. ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ได้กรุณาแปลไว้อย่างครบถ้วน และง่ายต่อการทำ ความเข้าใจยิ่งขึ้นไว้แล้ว
บทที่ ๑o โมทนาบุญ
สำหรับผู้ที่ก้าวเดินบนหนทางแห่งโพธิสัตตมรรค การโมทนาบุญด้วยการแผ่เมตตา แผ่บุญกุศล อันใดที่พึงบังเกิดจากการได้ประกอบกรรมดี แก่ผองเพื่อนสรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นสิ่งสำคัญอย่าง ยิ่ง การเผื่อแผ่ไปยังสรรพชีวิตอื่น ๆ นั้น สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จนสั่งสมเป็น กุศลอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการได้อุทิศตนเองสู่วิถีโพธิสัตต์ มุ่งสู่การรู้แจ้ง เพื่อยังประโยชน์ต่อ สรรพชีวิตทั้งปวงได้ในที่สุด อันเป็นหนทางของวถีแห่งปัญญาและเมตตานั่นเอง
" ตราบเท่าที่อากาศยังคงอยู่ และตราบเท่าที่สรรพสัตว์ยังคงอยู่ ตราบนั้น ขอให้ข้า คงอยู่ เพื่อขจัดปัดเป่าความทุกข์โศกในโลก ขอความเจ็บปวดของสรรพสัตว์ที่ยังมีชีวิต จงเกิดขึ้นแต่ตัวข้า และด้วยบารมีของพระโพธิสัตต์สงฆ์ ขอสรรพสัตว์ทั้งปวงจงพบแต่ความสุข ขอให้พระธรรมคำสอน โอสถขนานเดียวที่จะเยียวยาความทุกข์ และเป็นรากฐานแห่งความเบิกบานทั้งหลาย จงได้รับการทำนุบำรุง และเคารพบูชา คงอยู่ในกาลอันยาวนาน "
ขอน้อมคารวะต่อพระเมตตาบารมีของพระโพธิสัตต์ทุกพระองค์
- จาก ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม โดย อรอุมา แววศรี -