ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 02:13:52 pm »ภาพ ๑o : เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติธรรม หรือผู้ฝึกวัวป่าบรรลุธรรมมีปัญญาติดตัวมากพอที่พกพา
ไปใหน ๆ ได้แล้ว วิญญาณโพธิสัตว์ก็จะเกิดขึ้นแก่คนฝึกวัวว่า ปัญญาที่มีอยู่ควรจะนำไปแจก
จ่ายให้แก่เพื่อนมนุษย์ผู้มืดบอดทั้งหลาย ห่อผ้าที่ผูกติดปลายไม้เท้าของคนฝึกวัวนั้นเปรียบ
เสมือนหนึ่งปัญญาวิมุตติ หรือวิชชาที่นำไปเจือจานเผื่อแผ่แก่เพื่อนมนุษย์ ผู้ร่วมทุกข์เกิด
แก่ เจ็บ ตาย ต่อไป
รูปปรามาจารย์ เซ็น ที่ยืนถือตะเกียงอยู่ตรงหน้า และถุงผ้าใหญ่ผูกไม้เท้าแบกอยู่ข้างหลังนั้น
เปรียบเสมือนปัญญาที่มากล้น ของพระคณาจารย์เช็น นั่นเอง
( โปรดสังเกตุว่า ห่อผ้าที่เล็กของคนฝึกวัวสำเร็จ ปัญญาน้อยกว่า ปรามาจารย์เซ็น
ที่มีห่อผ้าใหญ่กว่า ปัญญามากกว่า แจกได้มากกว่า )
ปริศนาธรรมฝึกวัว หรือจับวัวทั้ง ๑o ภาพที่อธิบายมานี้ ข้าพเจ้าได้รับรู้จากท่านอาจารย์
พุทธทาสภิกขุ ซึ่งท่านเมตตาอธิบายย่อ ๆ ให้ฟังก่อนจะลงมือเขียนภาพฝาผนังชุดนี้ไว้
ขนาบสองข้างของภาพปฏิจจสมุปบาทธิเบตหลังจอหนังของโรงมหรสพทางเวิญาณเมื่อ
ปี ๒๕o๙
ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่า คำอธิบายภาพปริศนาธรรมจับวัวหรือฝึกวัว ทั้ง ๑o ภาพนี้ ข้าพเจ้า
เขียนขึ้นโดยเนื้อหาที่ท่านอธิบายย่อ ๆ ไม่ใช่ตามถ้อยคำ หรือตัวพยัญชนะของท่าน ฉะนั้น
การที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจในปริศนาธรรมเซ็นชุดนี้ ควรจะได้อ่านคำอธิบายภาพปริศนา
ธรรมชุด จับวัว ( เกิดมาทำไม ) ซึ่งตีพิมพ์จากอรรถและพยัญชนะจากท่านอาจารย์พุทธทาส
โดยตรงก็จะสำเร็จประโยชน์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เมื่อกล่าวถึงการเขียนภาพปริศนาธรรมชุด จับวัวหรือฝึกวัว เมื่อปี พ.ศ. ๒๕o๙ ข้าพเจ้า
อยากจะบันทึกไว้ว่า สำหรับท่านที่เคยชมภาพชุดนี้ในโรงมหรสพทางวิญาณ ท่าจะเห็นว่า
ภาพปริศนาธรรมตั้งแต่ภาพที่ ๑ ถึงภาพที่ ๑o ซ้าย ๕ ภาพ : ขวา ๕ ภาพ จะมีรูปแบล็ก
กราวด์เป็นคล่นบุญ - คลื่นบาปอยู่บบนพื้นหลังของภาพวงกลมทั้ง ๑o คลื่นบุญ - บาป
เป็นความคิดของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
ท่านอาจารย์พุทธทาสต้องการให้แบล็คกราวด์ของปริศนาธรรมชุดฝึกวัว มีความหมาย
ทางธรรม ท่านจึงนำภาพตัวอย่างซึ่งเป็นงานเขียนของญี่ปุ่นมาให้ขาพเจ้าดู เพื่อใช้เป็น
แบบสำหรับเป็นแนวเขียนภาพคลื่นบุญ - คลื่นบาป
เมื่อข้าพเจ้าเขียนภาพชุดปริศนาธรรม ฝึกวัวครบ ๑o ภาพแล้ว ต่อจากนั้นจึงลงมือเขียน
ภาพคลื่นบุญ - คลื่นบาปนั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสยืนดูอยู่ข้างล่าง ข้าพเจ้าเขียนอยู่บน
นั่งร้านสูง ดูเหมือนท่านจะสังเกตุเห็นว่า เส้นสายของคลื่นสีขาวที่เรียกว่า คลื่นบุญตัดกับ
คลื่นบาปที่เป็นพื้นสีดำนั้น ช่วงที่คลื่นม้วนตัวพลิ้วไหวเป็นวงน้ำวนนั้น ท่านให้ความเห็น
ว่ามันแข็งไป ท่านจึงบอกให้ข้าพเจ้ารู้ เพื่อจะได้แก้ไข ให้เส้นบางลงกว่าเดิม
" เส้นคลื่นที่พลิ้วบางตรงที่มันม้วนตัวพลิกมันแข็งไป คุณต้องเขียนให้มันบางกว่านี้ แล้ว
มันจะดูไหว เหมือนวงน้ำกระเพื่อมไหว"
ท่านพูดให้ฟังข้างล่าง แล้วท่านก็หยิบช็อคมาเขียนตัวอย่างให้ดูที่พื้น ข้าพเจ้าก้มมองดู
ก็เข้าใจคำแนะนำที่ท่านบอก ซึ่งมันก็จริงอย่างที่ท่านพูด คลื่นมันแข็งเป็นอะไรไม่รู้ มัน
เหมือนลายผ้า มันไม่ใช่สายน้ำที่กระเพื่อมไหว ข้าพเจ้าจึงรีบแก้ไขตามที่ท่านอจารย์
พุทธทาสแนะนำทุกประการ
ข้อที่น่าอัศจรรย์ในการเขียนภาพฝาผนังของโรงมหรสพทางวิญาณในครั้งนั้นก็คือ ท่าน
อาจารย์พุทธทาสภิกขุไม่เคยเป็นช่างเขียนไม่เคยเรียนด้านศิลปะ แต่จิตของท่านรู้ และเห็น
ความงามของศิลปะอย่างน่าอัศจรรย์ ตรงทางขึ้นบันไดชั้นบนของโรงมหรสพทางวิญญาณ
ด้านซ้ายและด้านขวา ๒ ภาพ ซึ่งต่อมามีการปรับปรุงแก้ไขสีสดใสขึ้น โดยอาจารย์โกวิท
หรือท่านเขมานันทะ รวมทั้งภาพปริศนาธรรมไทยอีก ๒ - ๓ ภาพ ที่ชั้นล่างมุมตึกด้าน
ทิศเหนือผนังด้านทิศตะวันออก
ปริศนาธรรมเซ็น และปริศนาธรรมอื่น ๆ ภายในโรงมหรสพทางวิญญาณ เป็นความสำเร็จ
ที่เกิดจากภูมิธรรมอันล้ำลึกของท่านอาจารย์พุทธทาส แม้วันนี้มม่านจะจากไปแล้ว แต่ผล
งานที่เป็นธรรมทัศน์ของท่านก่อให้เกิดผลคุณูปการให้แก่พุทธบริษัทและเยาวชนไทย ผู้ซึ่ง
ท่านหวังไว้ว่าจะเป็นตัวแทนแห่งสันติภาพของโลกในอนาคต
สัมพันธ์ ก้องสมุทร : ผู้บันทึกและเขียนภาพ
ที่มาของภาพ สาธุ
ค้นคำว่า OX-HERDING , 10 bulls zen, the Ten Ox-Herding ใน เว็บ https://www.google.co.th