ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2016, 12:55:23 am »๑. อากาสานัญจายตนฌาน
การที่จะทำความเข้าใจลักษณะฌานชั้นนี้ได้แจ่มแจ้ง ผู้ศึกษาต้องย้อนไปสังเกตลักษณะฌานชั้นที่ ๔ ในหมวดรูปฌานอีกที จิตในฌานชั้นนั้น ย่อมสงบมั่นคง รวมลงเป็นหนึ่ง มีอุเบกขาและสติควบคุมอยู่เป็นใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วปราศจากอุปกิเลส เป็นใจนิ่มนวล ละมุนละไม ลมหายใจระงับไป ปรากฏเป็นกลุ่มอากาศโปร่งๆ แม้อัตภาพก็ปรากฏใสผ่องโปร่งบางคล้ายแก้วเจียระไนฉะนั้น สัมพาธะของฌานชั้นนี้ก็คือลมหายใจ เมื่อระงับไปไม่ปรากฏอาการเคลื่อนไหว กลายเป็นอากาศหายใจแผ่ซ่านคลุมตัวนิ่งอยู่ ที่ปรากฏเป็นกลุ่มอากาศใสๆ นั่นเอง ถ้ากำลังแห่งความสงบใจอ่อนลงเมื่อใดก็ปรากฏมีอาการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นทุกข์-สุขสะเทือนถึงใจอยู่เรื่อยๆไป ท่านจึงจัดเป็นเครื่องคับใจในฌานชั้นนี้ ผู้ประสงค์จะหลีกห่างจากสัมพาธะข้อนี้จึงทำความสงบก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยวางสัญญาที่กำหนดหมายในรูป คือ อัตภาพอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจนั้นและรูปอื่นๆ อันมาปรากฏในมโนทวาร ทั้งวางสัญญาที่กำหนดหมายในสิ่งต่างๆ มีความรู้สึกนึกเห็นเป็นต้น ทั้งวางสัญญากำหนดหมายในสิ่งสะเทือนจิตใจให้รู้สึกอึดอัดด้วย ทำความกำหนดหมายอากาสานะ คือ กลุ่มอากาศหายใจที่ปรากฏเป็นกลุ่มอากาศโปร่งใสนั้นไว้ในใจเรื่อยไป ใจก็จะสงบรวมเป็นหนึ่ง มีอุเบกขากำกับกระชับแน่นยิ่งขึ้น อากาสานะ คือ อากาศหายใจนั้นจะโปร่งใสแผ่ซ่านกว้างขวาง ไม่มีขอบเขตจำกัดเหมือนในจตุตถฌาน แม้อัตภาพก็จะโปร่งใสกลายเป็นอากาศไป ไม่มีสิ่งใดๆ ที่ถึงความเป็นรูปจะปรากฏในมโนทวารในขณะนั้น ความสงบจิตใจขั้นนี้แหละที่เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน ผู้เจริญฌานชั้นนี้พึงสำเหนียกไว้ว่า รูปสัญญา คือความกำหนดหมายในรูปเป็นสัมพาธะ คือสิ่งคับใจของฌานชั้นนี้ วิธีเจริญฌานชั้นนี้จึงต้องวางรูปสัญญาให้สนิท แล้วใส่ใจแต่อากาสานะอย่างเดียว ก็จะสำเร็จอากาสานัญจายตนฌานดั่งประสงค์
๒. วิญญาณัญจายตนฌาน
อรูปฌานที่ ๑ นั้นมีสิ่งทั้ง ๓ ปรากฏสัมพันธ์กันอยู่คือ อากาสานะที่แผ่ซ่านกว้างขวางเป็นอากาศโปร่งใส เป็นที่ใส่ใจกำหนดหมายรู้อยู่นั้น ๑ กระแสมโนวิญญาณคือความรู้เห็นอากาศนั้น๑ และธาตุรู้ซึ่งดำรงมั่นคง ณ ภายในนั้น ๑ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นี้ยังสัมพันธ์กันอยู่ตราบใด ความปลอดภัยจากความสะเทือนก็ย่อมยังหวังไม่ได้ตราบนั้น เพราะอากาศเป็นตัวธาตุ และวิญญาณเป็นตัวสื่อสัมผัสนำกระแสสะเทือนเข้าสู่จิตใจได้อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาจึงเป็นสัมพาธะ คือสิ่งคับใจได้อยู่อีก ผู้ประสงค์จะหลีกออกจากสิ่งคับใจให้ยิ่งขึ้น จึงพยายามวางสัญญานั้นเสีย มากำหนดหมายใส่ใจเฉพาะกระแสวิญญาณทางใจสืบไป เมื่อใจสงบรวมลงเป็นหนึ่งมีอุเบกขากำกับมั่นคงแล้ว จะปรากฏเห็นกระแสมโนวิญญาณแผ่ซ่านไพศาลไปทั่วอากาศทั้งหมด อากาศปรากฏไปถึงไหน มโนวิญญาณก็แผ่ซ่านไปถึงนั่น ไม่มีขอบเขตจำกัด ความสงบใจขั้นนี้แหละท่านเรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ต้องการเจริญฌานชั้นนี้พึงทราบว่าอากาสานัญจายตนสัญาเป็นสิ่งคับใจของฌานชั้นนี้ไว้ วิธีปฏิบัติก็ต้องพยายามปล่อยวางสัญญานั้นเสีย หันมาทำความกำหนดหมายใส่ใจแต่วิญญาณ คือความรู้ทางใจอันเป็นกระแสรับรู้อากาศนั้นสืบไป อย่าไปใส่ใจอากาศเลย โดยวิธีนี้ก็จะสำเร็จวิญญาณัญจายตนฌานสมประสงค์
๓. อากิญจัญญายตนฌาน
อรูปฌานที่ ๒ วิญญาณกับอากาศยังมีส่วนใกล้ชิดกัน ทำให้เกิดการสังโยคกันได้ง่าย ไม่เป็นที่ปลอดภัยจากสิ่งคับใจ ผู้ประสงค์ทำใจให้สงบประณีตห่างจากสิ่งบังคับใจยิ่งขึ้น จึงปล่อยวางสัญญาที่กำหนดหมายกระแสวิญญาณนั้นเสีย มากำหนดหมายตัวมโนธาตุ คือผู้รู้ซึ่งดำรงอยู่ ณภายใน ไม่กำหนดรู้อะไรๆ อื่นๆ ในภายนอกแม้แต่น้อย เมื่อใจสงบรวมลงเป็นหนึ่งมีอุเบกขากำกับอยู่อย่างมั่นคง จะปรากฏมีแต่ธาตุรู้ดำรงอยู่โดดเดี่ยว ไม่รับรู้อะไรๆ อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากความรู้สึกกลางๆ ทางใจเท่านั้นปรากฏอยู่ จึงรู้สึกว่าไม่มีอะไรแม้น้อยหนึ่ง (นัตถิ กิญจิ) ก่อกวนจิตใจให้รำคาญ ความสงบจิตในขั้นนี้ท่านเรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน ผู้เจริญฌานชั้นนี้พึงสังเกตสัมพาธะของฌานชั้นนี้ไว้ให้ดี คือวิญญาณัญจายตนสัญญา ความกำหนดหมายกระแสมโนวิญญาณนั่นเอง ปรากฏขึ้นทำความคับใจ คือมันอดที่จะรับรู้อะไรๆ อื่นๆ ในภายนอกไม่ได้นั่นเองเมื่อกระแสความรู้เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์อื่นๆ จิตก็ต้องถอยกลับจากอากิญจัญญายตนฌานทันที วิธีเจริญฌานชั้นนี้จึงต้องพยายามกำหนดวางสัญญาในกระแสวิญญาณให้เด็ดขาด จิตใจก็จะดำรงเป็นเอกภาพ มีความรู้สึกกลางๆ ณ ภายในดังประสงค์ ชื่อว่าสำเร็จอากิญจัญญายตนฌาน
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อรูปฌานที่ ๓ จิตใจดำรงเป็นเอกภาพ มีความรู้สึกกลางๆ ณ ภายใน กระแสมโนวิญญาณคอยเกิดขึ้นรบกวน เป็นเหตุให้รับรู้อะไรๆ อื่นๆ ซึ่งทำให้รำคาญใจ คับใจ อึดอัดใจ ยังไม่ปลอดภัยแท้ ผู้ประสงค์ความสงบใจโปร่งใจยิ่งขึ้น จึงสำเหนียกทราบว่าการกำหนดหมายรู้ธาตุรู้นั่นเองเป็นตัวเหตุภายใน ก่อให้เกิดกระแสมโนวิญญาณคอยรับรู้อะไรๆ อยู่ จึงพยายามวางมโนสัญญานั้นเสียแล้วมากำหนดหมายความสงบประณีตของจิตใจนั้นเองอยู่เรื่อยไป เป็นการผ่อนสัญญาให้อ่อนลงใจจะได้สงบว่างโปร่งเป็นเอกภาพจริงจังขึ้น เมื่อใจสงบรวมลงเป็นหนึ่ง ถึงความเป็นเอกภาพเด่นชัดขึ้นกว่าเดิม ความรู้สึกอารมณ์เกือบดับหมดไปแล้ว หากแต่ยังมีสัญญาในความสงบประณีตนั้นผูกมัดไว้ให้จิตใจแขวนต่องแต่งกับโลกอยู่อีก ยังไม่เป็นเอกภาพสมบูรณ์จริงๆ สัญญายังเหลือน้อย เกือบจะพูดได้ว่าไม่มี เป็นสัญญาละเอียดประณีตที่สุด เป็นยอดสัญญา พระบรมศาสดาตรัสว่า ฌานชั้นนี้เป็นยอดอุปาทาน ดังนั้นเราจึงเห็นความในพระประวัติของพระองค์ตอนเสด็จไปทรงศึกษาลัทธิในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบสนั้นว่า ทรงบรรลุถึงฌานชั้นนี้ และทรงทราบว่ายังมีอุปาทานไม่ใช่นิพพานแท้ ดังนี้ ความสงบแห่งจิตใจชั้นนี้แล ท่านเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตน-ฌาน ผู้ประสงค์เจริญฌานชั้นนี้ พึงกำหนดรู้สัมพาธะ คือสิ่งที่ทำให้รู้สึกคับใจแคบใจขึ้นในฌานชั้นนี้ไว้ให้ดี ท่านว่าอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเมื่อกล่าวให้ชัดก็คือมโนสัญญานั่นเองเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดความอึดอัดใจขึ้น มันคอยจะโผล่ขึ้นในดวงจิต ทำให้มีความรู้สึกเต็มตัวรับรู้อะไรๆ ขึ้นมาอีก วิธีการในชั้นนี้คือพยายามดับมโนสัญญาเสียให้หายสนิทไปใส่ใจอยู่แต่ความสงบประณีตของจิตใจสืบไป ใจก็สงบลงเป็นหนึ่งถึงความเป็นเอกภาพ มีความรู้สึกกลางๆ กำกับใจอยู่เพียงนิดหน่อย แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีสัญญา ชื่อว่าสำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดั่งประสงค์ ฌานชั้นนี้แลที่เป็นปัญหากันมากในหมู่ภิกษุในสมัยพุทธกาลว่า บุคคลมีสัญญาอยู่แต่ไม่รับรู้อะไรๆ เลยมีหรือไม่? ท่านแก้กันว่ามี และชี้เอาฌานชั้นนี้ ซึ่งพระอานนท์ตรัสความอัศจรรย์ไว้ว่า น่าอัศจรรย์จริง! อินทรีย์ ๖ ก็มีอยู่ อารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปเป็นต้นก็มีอยู่ สัญญาของบุคคลก็มีอยู่ แต่ไม่รับรู้อะไรๆได้เลย ดังนี้
รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ รวมกันตรัสเรียกว่า วิโมกข์ ๘ เป็นธรรมเครื่องพ้นจากโลกตามลำดับกัน คือพ้นจากโลกหยาบๆ จนถึงพ้นจากโลกชั้นละเอียดประณีต แต่เป็นความพ้นที่ยังกำเริบได้ ไม่เป็นความพ้นเด็ดขาด และตรัสเรียกว่า สมาบัติ ๘ คือเป็นภูมิธรรมสำหรับเข้าพักผ่อนของจิต เป็นการพักผ่อนอย่างประเสริฐ ซึ่งทำให้เกิดพละอำนาจเพิ่มพูนขึ้นทุกๆ ที ผู้ประสงค์ความมีอิทธิพลอันยิ่งพึงฝึกฝนอบรมตนให้บริบูรณ์ด้วยฌานสมาบัติ ดังแสดงมานี้ แล้วทำการเข้าออกให้ชำนาญแคล่วคล่องว่องไวตามลำดับขั้นทั้ง ๕ ที่เรียกว่าวสี ๕ ดังกล่าวในบทที่ ๒ นั้นแล้วท่านก็จะประสพความสำเร็จแห่งทิพยอำนาจสมหวัง
เจริญสัญญาเวทยิตนิโรธ
ยังมีสมาบัติชั้นพิเศษอีกชั้นหนี่ง ซึ่งสมเด็จพระบรมครู ได้ทรงค้นพบด้วยพระองค์ก่อนใครๆแล้วนำมาบัญญัติเรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และทรงวางวิธีปฏิบัติไว้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ท่านได้ทราบเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว จะเห็นว่าเป็นภูมิจิตที่สูงมากแล้ว แม้ยังมีสัญญาก็เหมือนไม่มีสัญญา ไม่สามารถรับรู้อารมณ์อะไรๆ ได้เลย ไฉนจะมีทางขึ้นต่อไปอีกพระบรมครูของเราเมื่อได้เรียนรู้จบในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส ทรงบรรลุถึงภูมิจิตที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นแล้ว ก็ตรัสถามอาจารย์ว่า ยังมีภูมิจิตที่สูงยิ่งกว่านี้หรือไม่?
ได้รับตอบว่า สุดเพียงนี้ เมื่อทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณอันเฉียบแหลมก็ทรงทราบว่ายังมีอุปาทาน ดังได้กล่าวมาแล้ว จึงลาอาจารย์เสด็จไปทรงค้นคว้าโดยลำพัง บังเอิญไปพบภิกษุทั้ง ๕ ที่เรียกว่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งออกบวชติดตามหาพระองค์ ท่านทั้ง ๕ นี้ บางองค์คือโกณฑัญญะ ได้เป็นผู้ร่วมทำนายพระลักษณะของพระองค์ และลงความเห็นว่าจะได้ออกผนวชเป็นศาสดาเอกในโลก จึงคอยเวลาอยู่ ครั้นได้ทราบข่าวการเสด็จออกผนวชของพระศาสดา จึงไปชวนเพื่อนออกบวชตามส่วนองค์อื่นๆ นั้นเป็นหลานของพราหมณ์ผู้ได้ร่วมทำนายพระลักษณะ และลงความเห็นร่วมกันกับโกณฑัญญพราหมณ์ จึงได้สั่งลูกหลานไว้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร จงรีบออกบวชติดตามทันที ฉะนั้นภิกษุทั้ง ๕ จึงได้ติดตามมาพบพระองค์ ในเวลาที่กำลังทรงเสาะแสวงสันติวรบทโดดเดี่ยวพระองค์เดียว จึงพากันเข้าถวายตัวเป็นศิษย์เฝ้าปรนนิบัติต่อไป พระศาสดาทรงเห็นว่าเป็นผู้ได้ผ่านการศึกษาลัทธิสมัยทางธรรมมาบ้าง จึงทรงปรึกษาหาทางปฏิบัติเพื่อรอดพ้นจากสังสารวัฏ กะภิกษุทั้ง ๕ นั้น ได้รับคำปรึกษาให้ทรงทดลองปฏิบัติทรมานอย่างอุกฤษฏ์ ที่เรียกว่าทุกกรกิริยา จึงทรงน้อมพระทัยเชื่อและทดลองปฏิบัติ วาระแรกทรงบำเพ็ญ อปาณกฌานคือการเพ่งจนไม่หายใจ ทรงทำได้อย่างอุกฤษฏ์ สุดที่มนุษย์ธรรมดาจะทนทานได้ ก็ไม่สำเร็จผลดีอย่างไร จึงเปลี่ยนวิธีใหม่ คือวาระที่ ๒ ทรงกลั้นลมหายใจไว้ให้นานที่สุดที่จะนานได้ จนปวดพระเศียรเสียดพระอุทรอย่างแรง ก็ไม่สำเร็จผลดีอีกเหมือนกัน จึงทรงเปลี่ยนวิธีใหม่ คือวาระที่ ๓ ทรงอดพระกระยาหาร โดยทรงผ่อนเสวยให้น้อยลง จนถึงไม่เสวยเลย ทรงได้รับทุกขเวทนาในการนี้มากมาย ถึงกับสลบไสลสิ้นสมปฤดีไปหลายครั้ง จึงทรงสันนิษฐานแน่พระทัยว่าไม่ใช่ทางรอดพ้นที่ดีแน่ จึงทรงหวนนึกถึงความสงบพระหฤทัยที่ได้ทรงประสพมาเองในสมัยทรงพระเยาว์ว่า จะเป็นหนทางที่ถูกเพื่อปฏิบัติให้รอดพ้นได้ จึงตัดสินพระทัยดำเนินทางนั้น ทรงกลับตั้งต้นบำรุงพระกายให้มีกำลังแล้ว ทรงดำเนินตามวิธีที่ทรงคิดไว้ คือทรงกำหนดลมหายใจอันเป็นไปโดยปกติธรรมดาไม่ทำการกดข่มบังคับ เพียงแต่มีพระสติตามรู้ทันทุกระยะการเคลื่นเข้าออกของลมไปเท่านั้น ก็ได้รับความสงบพระหฤทัย ได้ทรงบรรลุฌานสมาบัติทั้ง ๘ โดยลำดับ แล้วทรงศึกษาสำเหนียกจุดสำคัญของฌานสมาบัตินั้นๆ จนทรงทราบชัดตามความจริงทุกชั้น ดังที่ตรัส สัมพาธะของฌานนั้นๆ ไว้ให้เป็นที่กำหนดการโจมตี เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทรงทราบทางขึ้นต่อไปยังจุดสงบสูงสุด คือสัญญาเวทยิตนิโรธได้ถูกต้อง เมื่อทรงทราบว่าสัญญาที่เข้าไปกำหนดหมายในอะไรๆ ทุกอย่าง แม้เพียงนิดหน่อยก็เป็นตัวอุปาทานที่เป็นเชื้อ หรือเป็นสื่อสัมพันธ์กับโลก ก่อให้เกิดการสังโยคกับอารมณ์เกิดการกระเทือนจิตในขึ้นได้ ทรงทราบว่าการไม่ทำสัญญากำหนดหมายในอะไรเลยนั่นแหละเป็นปฏิปทาก้าวไปสู่จุดสงบสูงสุด จึงทรงปฏิบัติตามนั้น ก็ได้บรรลุถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมพระประสงค์ความสงบชั้นนี้ จิตใจบรรลุถึงความเป็นเอกภาพสมบูรณ์ ไม่มีสัญญากำหนดหมายอะไร และไม่มีความรู้สึกเสวยรสของอารมณ์แม้แต่อุเบกขาเวทนาเหมือนในฌานสมาบัติที่รองลงไปกระแสโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ส่งกระแสเข้าไปไม่ถึง เพราะไม่มีสื่อสังโยค จิตกับโลกขาดออกจากกันอยู่คนละแดนเด็ดขาด นี้เป็นความหลุดพ้นของจิตชั้นสูงสุดในฝ่ายโลกีย์ที่ยังต้องกำเริบอยู่ เรียกว่า กุปปาเจโตวิมุตติ หรืออนิมิตตเจโตวิมุตติ เมื่อว่าโดยลักษณะจิตใจแล้วก็อยู่ในระดับเดียวกันกับโลกุตตรนิพพานนั่นเอง หากแต่ความพ้นของจิตชั้นนี้ยังไม่กำจัดอวิชชาสวะให้สูญสิ้นหมดเชื้อได้ เมื่อใดกำจัดอวิชชาสวะให้สูญสิ้นหมดเชื้อได้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นความพ้นของจิตจึงเป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ วิมุตติที่ไม่กำเริบ สิ้นชาติ จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจกำจัดกิเลสแล้ว ไม่ต้องเกิดอีกต่อไปในสังสารวัฏ หมดการหมุนเวียนเกิดตายเพียงนั้น ที่ท่านไม่เรียกวิมุตตินี้ว่าเป็นปัญญาวิมุตติเพราะมีฌานเป็นบาทมาก่อน ดั่งแสดงไว้ในจุฬสาโรปมสูตรเป็นตัวอย่าง วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงภูมิธรรมอันสูงสุดนี้จะได้แสดงในวาระแห่งอาสวักขยญาณ ซึ่งเป็นทิพยอำนาจสูงสุดในบทหน้า
สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ เป็นสมาบัติชั้นสูงสุดเป็นที่พักผ่อนอย่างประเสริฐที่สุด และเป็นยอดแห่งโลกียวิโมกข์ ท่านกล่าวว่าผู้เข้าสมาบัติชั้นนี้แม้เอาภูเขามาทับก็ไม่รู้สึก และไม่ตายด้วย ในเมื่อยังไม่ถึงกำหนดออก คือผู้จะเข้าสมาบัติชั้นนี้ต้องกำหนดเวลาออกไว้ด้วย เมื่อยังไม่ถึงกำหนดที่ตั้งไว้ก็จะไม่ออก เมื่อถึงกำหนดแล้วจะออกเอง เวลาที่อยู่ในสมาบัติชั้นนี้ร่างกายจะหยุดเจริญเติบโตและเสื่อมโทรม ดำรงอยู่ในสภาพเดิมจนกว่าจะออก ร่างกายจึงจะทำหน้าที่ตามปกติต่อไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงว่าผู้ชำนาญในอิทธิบาทภาวนา อาจอธิษฐานให้ชีวิตดำรงอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเกินกว่ากัปหนึ่งได้
ผู้เข้าสมาบัติชั้นนี้ได้ ท่านว่ามีแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้น และต้องเป็นผู้ได้เจริญสมาบัติ ๘ บริบูรณ์มาก่อนด้วย ที่ว่าเป็นยอดแห่งโลกียวิโมกข์นั้นหมายถึงสัญญาเวทยิตนิโรธของพระอนาคามี เพราะอวิชชายังเหลืออยู่ ยังมิได้ถูกกำจัดให้หมดไปสิ้นเชิง แต่ท่านเป็นผู้ทำให้เต็มเปี่ยมในอธิจิตตสิกขา จึงสามารถเข้าสมาบัติชั้นนี้ได้ การที่นำมากล่าวไว้ในอธิการนี้ก็เพื่อให้ทราบว่า ฌานสมาบัติในพระพุทธศาสนามีถึง ๙ ชั้น เปรียบประดุจปราสาท ๙ ชั้น ฉะนั้นสมาบัติ ๙ ชั้นนี้ ท่านเรียกอีกอย่างว่า อนุปุพพวิหาร ซึ่งแปลตรงศัพท์ว่า ภูมิเป็นที่เข้าอยู่ตามลำดับชั้นส่วนชั้นที่ ๑๐ เรียกว่า อริยวาส ภูมิเป็นที่อยู่ของพระอรหันต์โดยเฉพาะ ซึ่งจะแสดงไว้ในบทที่ ๑๒
กีฬาในพระพุทธศาสนา
ได้กล่าวมาในต้นบทนี้ว่า ในพระพุทธศาสนาก็มีกีฬาสำหรับเล่นเพลิดเพลิน และบำรุงพลานามัย ฉะนั้นในวาระนี้จะได้กล่าวถึงกีฬาในพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อผู้มีใจเป็นนักกีฬาจะได้เล่นเพลิน และบำรุงพลานามัยดังกล่าวแล้ว
ในพระวินัยหมวดอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติห้ามกิริยานอกรีตนอกรอยของสมณะไว้ มีการเล่นอย่างโลกๆ หลายประการ ตรัสว่าไม่เป็นการสมควรแก่สมณะ แล้วทรงแสดงกีฬาอันสมควรแก่สมณะไว้ ๒ ประการ คือ ฌานกีฬา และ จิตตกีฬา ฌานกีฬาได้แก่การเล่นฌาน จิตตกีฬาได้แก่การเล่นจิต มีอธิบายดังต่อไปนี้
๑. ฌานกีฬา ฌานและสมาบัติดังได้กล่าวมาในบทที่ ๑-๒ และบทนี้ นอกจากบำเพ็ญไว้เพื่อเป็นบาทฐานแห่งการเจริญทิพยอำนาจ และเป็นอุปกรณ์แก่ทิพยอำนาจดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการกีฬาเพื่อเพลิดเพลินและเพื่อพลานามัยด้วย การเข้าออกฌานตามปกติเป็นไปโดยระเบียบ ไม่มีการพลิกแพลงผาดโผน จัดว่าเป็นการเจริญฌานเพื่อประโยชน์เจริญทิพยอำนาจ ส่วนการเข้าออกฌานโดยอาการพลิกแพลงผาดโผนนั้น จัดเป็นการกีฬาฌาน เป็นไปเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเพื่อพลานามัย
การเข้าออกฌานเพื่อเป็นการกีฬานั้น พระโบราณาจารย์ได้วางแบบไว้ ๔ แบบ มีชื่อเรียกดังต่อไปนี้
ก. เข้าลำดับ ได้แก่ฌานตามลำดับฌานและลำดับอารมณ์ของฌาน อารมณ์ของฌานที่ใช้เล่นกันโดยมากใช้แต่กสิณ ๘ ประการ คือ รูปกสิณ ๔ วรรณกสิณ ๔ รวม ๘ พอดีกับฌาน ๔ ชั้นวิธีเข้าคือใช้ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าตติยฌาน ฯลฯ จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วเปลี่ยนอารมณ์ใหม่ตามลำดับกัน คือ ใช้อาโปกสิณเป็นอารมณ์ เข้าออกฌานทั้ง ๘ ตามลำดับโดยนัยก่อน ทำอย่างนี้จนหมดกสิณทั้ง ๘ วิธีของพระโบราณาจารย์ท่านใช้เทียนติดลูกสลักตั้งไว้ในบาตร จุดเทียนนั้นตั้งไว้ข้างหน้าสำหรับกำหนดเวลา เมื่อลูกสลักตกลงในบาตรมีเสียงดังกั๊ก ก็เปลี่ยนฌานทีหนึ่ง จะทำกำหนดเข้าฌานชั้นหนึ่งๆ นานสักเท่าไรก็แล้วแต่ความพอใจ แล้วกำหนดเวลาโดยลูกสลักนั้นเองถ้าติดลูกสลักห่างกัน เวลาในระยะฌานหนึ่งๆ ก็ต้องห่างกัน ถ้าติดลูกสลักถี่ เวลาในระยะฌานหนึ่งๆ ก็สั้น ลูกสลักนั้นทำด้วยตะกั่ว ทำเป็นลูกกลมๆ ขนาดเท่าลูกมะขามป้อมหรือลูกมะยม ลูกสลักนี้บางทีท่านก็เรียกว่าลูกสังเกต สำหรับสังเกตเวลานั่นเอง การเข้าลำดับนี้ได้อธิบายมาแล้วในวิธีเจริญรูปฌาน ๔ เพื่อความชำนาญในการเข้าออกฌานตามลำดับชั้น ทีนี้ต้องลำดับฌานถึง ๘ ชั้น และลำดับอารมณ์ถึง ๘ อย่าง คงต้องกินเวลามิใช่เล็กน้อย แต่คงไม่รู้สึกนานสำหรับผู้เพลินในฌาน เหมือนคนเล่นหมากรุกหรือเล่นไพ่เพลินย่อมรู้สึกว่าเวลาคืนหนึ่งไม่นานเลยฉะนั้น ผู้เล่นฌานก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน
ข. เข้าทวนลำดับ ได้แก่เข้าฌานชั้นสูงก่อน แล้วทวนลงมาหาฌานชั้นต้น อารมณ์ของฌานก็เหมือนกัน ใช้โอทาตกสิณก่อน แล้วจึงใช้กสิณทวนลงมาถึงปฐวีกสิณ เป็นการทวนลำดับทั้งฌานและกสิณอันเป็นอารมณ์ของฌาน วิธีการกำหนดเวลาก็ใช้ลูกสลักหรือลูกสังเกตเช่นเดียวกับวิธีในข้อ ก
ค. เข้าสลับ มี ๒ วิธีคือ สลับฌานวิธีหนึ่ง สลับอารมณ์ของฌานวิธีหนึ่ง วิธีต้นใช้อารมณ์ตามลำดับ แต่สลับฌานในระหว่างๆ คือ เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ทุติยฌาน จตุตถฌาน วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ส่วนวิธีที่ ๒ เข้าฌานตามลำดับแต่สลับอารมณ์ คือฌานที่หนึ่งใช้ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์พอถึงฌานที่ ๒ใช้เตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ตัวอย่างเป็นดังนี้
ปฐม – ปฐวี,
ทุติย – เตโช,
ตติย – นีล,
จตุตถ – โลหิตะ,
อากาสานัญจายตนะ – อาโป,
วิญญาณัญจายตนะ – วาโย,
อากิญจัญญายตนะ – ปีตะ,
เนวสัญญานาสัญญายตนะ – โอทาตะ
แล้วยังมีพลิกแพลงต่อไปอีก คือ สลับทั้งฌานทั้งอารมณ์ของฌาน การกำหนดเวลาใช้ลูกสลักดังในข้อ ก.
ง. เข้าวัฏฏ์ ได้แก่การเข้าฌานเป็นวงกลม คือ เข้าไปตามลำดับฌานถึงที่สุด แล้วกลับเข้าฌานที่ ๑ ไปอีก วนไปจะกี่รอบก็แล้วแต่ความพอใจของผู้เล่น การกำหนดเวลาใช้ลูกสลักเช่นเดียวกับในข้อ ก.
วิธีเข้าฌานแบบวงกลมนี้ท่านสมมุติเรียกอีกอย่างว่า “ห่วงลูกแก้ว” ดูก็สมจริง เพราะจิตใจที่ดำรงอยู่ในฌานย่อมผ่องใสเหมือนแก้ว เมื่อเข้าฌานเป็นวงกลมก็ย่อมทำให้แก้วคือใจนั้นเกิดเป็นวงกลมขึ้น และวงกลมนั้นเกี่ยวเนื่องกันไปดุจสายสร้อยสังวาล หากจะเรียกให้สละสลวยขึ้นอีกว่า “สังวาลแก้ว” ก็น่าจะเหมาะดี
การใช้ลูกสลักเป็นเครื่องกำหนดเวลานั้น ใช้แต่ในเมื่อยังไม่ชำนาญในการกำหนดเวลา ครั้นชำนาญในการกำหนดเวลาด้วยใจแล้ว ก็เลิกใช้ลูกสลักได้
๒. จิตตกีฬา จิตที่ได้รับการอบรมด้วยสมาธิตั้งแต่ชั้นต่ำๆ เพียงความเป็นหนึ่งของจิตชั่วขณะหนึ่งขึ้นไป จนถึงความสงบประณีตของจิตชั้นสูงสุด และที่ได้อบรมด้วยคุณธรรมต่างๆ มีศรัทธาความเชื่อเป็นต้น ย่อมเกิดมีพละอำนาจ สามารถทำการพลิกแพลงผาดโผนได้แปลกๆ ย่อมก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดพลานามัยเพิ่มพูนขึ้นด้วย การเล่นกีฬาทางจิตนี้ไม่มีขอบเขตจำกัด อาจดัดแปลงพลิกแพลงเล่นได้ตามชอบใจ แต่ต้องเป็นกีฬาที่เป็นประโยชน์ด้วยจะกำหนดไว้พอเป็นแนวคิดดังต่อไปนี้
ก. แบบกายบริหาร เป็นการเล่นเพื่อบริหารกายให้มีสุขภาพอนามัยดี และเพื่อเป็นกายคตาสติด้วย วิธีเล่น ใช้จิตที่ประกอบด้วยกระแสต่างๆ พุ่งผ่านไปทั่วร่างกายทุกๆ ส่วน ให้สัมผัสด้วยกระแสจิตตามชนิดที่ต้องการ ท่านกำหนดกระแสจิตที่ควรใช้ไว้ ดังนี้
๑. จิตประกอบด้วยกระแสวิตก คือความคิด
๒. จิตประกอบด้วยกระแสวิจาร คือความอ่าน
๓. จิตประกอบด้วยกระแสที่ปราศจากวิตกวิจาร
๔. จิตประกอบด้วยกระแสปีติ คือความชื่นบาน
๕. จิตประกอบด้วยกระแสปราศจากปีติ
๖. จิตประกอบด้วยกระแสความสุขใจ
๗. จิตประกอบด้วยกระแสอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลาง.
ทำจิตให้ประกอบด้วยกระแสเหล่านี้อันใดอันหนึ่ง แล้วแผ่กระแสนั้นไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายจากบนถึงล่าง จากล่างถึงบน กลับไปกลับมาหลายๆ เที่ยว จะใช้อิริยาบถนอนหรือนั่งก็ได้ ทางกายเมื่อได้รับสัมผัสกับกระแสจิตทั่วถึงเช่นนี้ ย่อมมีกำลังกระปรี้กระเปร่า เลือดลมย่อมเดินสะดวก ทำให้ผิวพรรณสดใสขึ้น.
อนึ่ง จิตที่นำกระแสแผ่ซ่านไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้น จะบังเกิดความรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น เท่ากับเรียนรู้กายวิภาควิทยาไปในตัว.
นอกจากกระแสจิต ๗ ประการ ดังกล่าวแล้ว แสงสีต่างๆ ก็ประกอบเป็นกระแสจิตได้เช่นเดียวกัน แสงสีนวลที่เรียกว่า อาโลกะ ก็เป็นประโยชน์ในทางบำบัดโรคในกายบางประการ ทั้งทำให้ผิวพรรณผุดผ่องคล้ายทาด้วยแป้งนวลฉะนั้น แสงสีเหลืองอ่อนอีกหนึ่งเป็นประโยชน์ทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง วิธีทำ กำหนดจิตให้ประกอบด้วยแสงสว่างสีนวล หรือสีเหลืองอ่อนดังกล่าวแล้ว แล้วแผ่กระจายแสงสีนั้นไปทั่วสรรพางค์กายทุกส่วน ทวนขึ้น-ตามลงหลายๆ เที่ยว ก็จะเกิดประโยชน์ดังกล่าวแล้ว.
ข. แบบจิตตบริหาร เป็นการกีฬาเพื่อบริหารจิตให้มีสุขภาพอนามัยและอิทธิพล ควบไปกับความเพลิดเพลิน เพราะธรรมชาติของจิตใจก็เป็นสิ่งที่ต้องการความบริหารเช่นเดียวกับร่างกายจิตใจที่ได้รับการบริหารดี ย่อมมีความสุข ปราศจากโรค และมีอิทธิพล ความฉลาดในกระบวนจิตย่อมเป็นประโยชน์ในการบริหารจิตอย่างมาก การทำอะไรอย่างเป็นการเป็นงานเสมอไป ย่อมทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและระอิดระอา ถ้าทำเป็นการกีฬาเสียบ้าง แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อยก็รู้สึกว่าให้เกิดกำลังใจ มีความแช่มชื่นเบิกบานดีขึ้น ฉะนั้น ปราชญ์ทางจิตใจท่านจึงกำหนดให้มีกีฬาทางจิตใจขึ้นใช้ จิตตกีฬาที่จะเป็นประโยชน์บริหารจิตใจนั้นก็ได้แก่ การแต่งอารมณ์ คือแต่งความรู้สึกให้เป็นไปในสิ่งต่างๆ หรือโดยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. แต่งความรู้สึกตามกระแส ทุกสิ่งย่อมมีกระแสในตัวของมันเอง สิ่งที่น่ารักก็มีกระแสความรักเป็นประจำ สิ่งที่น่าเกลียดก็มีกระแสความเกลียดเป็นประจำ เมื่อเราได้ประสบหรือนึกถึงสิ่งที่น่ารักหรือน่าเกลียด เราก็จะเกิดความรู้สึกรักหรือเกลียดขึ้นทันที การแต่งความรู้สึกอนุโลมตามกระแสของสิ่งนั้นๆ อย่างนี้ เป็นจิตตกีฬาขั้นแรกทำได้ง่ายๆ.
๒. แต่งความรู้สึกทวนกระแส ทุกสิ่งย่อมมีกระแสดังกล่าวในข้อ ๑. ทีนี้ให้พยายามทำความรู้สึกทวนกระแสของสิ่งนั้นๆ ขึ้นไป คือ แทนที่จะรู้สึกรักในสิ่งน่ารัก ก็ให้รู้สึกเกลียด แทนที่จะรู้สึกเกลียดในสิ่งน่าเกลียด ก็ให้รู้สึกไม่เกลียด ดังนี้เป็นต้น ขั้นนี้ออกจะทำได้ยาก แต่ถ้าทำได้จะเป็นประโยชน์มาก.
๓. แต่งความรู้สึกตัดกระแส คือให้รู้สึกรักก็ได้ ไม่รักก็ได้ ทั้งในสิ่งน่ารักทั้งในสิ่งไม่น่ารัก ทำให้รู้สึกเกลียดก็ได้ รู้สึกไม่เกลียดก็ได้ ทั้งในสิ่งน่าเกลียดทั้งในสิ่งไม่น่าเกลียด ขั้นนี้ยิ่งทำได้ยาก ถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์ยิ่ง.
๔. แต่งความรู้สึกเป็นกลางระหว่างกระแส คือ ให้มีความรู้สึกเป็นกลางในสิ่งน่ารักและน่าเกลียด ในสิ่งน่ายินดีและน่ายินร้าย ในสิ่งน่าตื่นเต้นและไม่น่าตื่นเต้น ฯลฯ ขั้นนี้ทำได้ยากที่สุดและถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์ที่สุด.
๕. กำหนดความรู้สึกเห็นเป็นอสุภะขึ้นในร่างกายตนเอง หรือในร่างกายของผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตตนเองมีกามราคะอยู่ กามราคะก็จะดับไปจากจิตทันที ถ้ากามราคะมีอยู่ในจิตของผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ถูกเพ่งให้เป็นอสุภะนั้น กามราคะก็จะดับไปจากจิตผู้นั้นทันที.
๖. กำหนดความรู้สึกเมตตาขึ้นในจิตให้เต็มเปี่ยม แล้วกระจายความรู้สึกนั้นออกไปจากตัวโดยรอบๆ ทุกทิศทุกทาง เป็นปริมณฑลกว้างออกไปโดยลำดับ จนไม่มีขอบเขต ครอบคลุมโลกไว้ทั้งหมด แล้วทวนกลับคืนเข้าหาตัวเอง จะเกิดเมตตาพละขึ้นในตน สามารถระงับความเป็นศัตรูที่มีอยู่ในผู้อื่นได้ และทำให้บังเกิดจิตเมตตาขึ้นในคนทั้งหลาย ในสัตว์ทั้งปวง.
๗. กำหนดความรู้สึกกรุณา-มุทิตา-อุเบกขา ขึ้นในจิตให้เต็มเปี่ยมแล้วทำโดยนัยข้อ ๖ จะเกิดกรุณาพละ มุทิตาพละ และอุเบกขาพละขึ้นในตน กรุณาพละ สามารถกำจัดวิหิงสาคือความเบียดเบียนได้ มุทิตาพละ สามารถระงับความริษยา และปลูกความชื่นบานแก่บุคคลได้ อุเบกขาพละ สามารถระงับกามราคะ ความกำหนัดในเพศตรงกันข้ามให้สงบลงได้.
๘. กำหนดให้เห็นพละอำนาจ อันมีอยู่ในสิ่งต่างๆ เช่น กำลังช้างสารเป็นต้น แล้วน้อมนึกให้รู้สึกว่ากำลังอำนาจของสิ่งนั้นๆ ได้มามีอยู่ในตัวของตน จะบังเกิดมีกำลังขึ้น เสมอกับกำลังของสิ่งที่ตนกำหนดเห็นนั้น.
๙. กำหนดให้เกิดความรู้สึกว่า กายของตนเบาเหมือนสำลี และมีความรวดเร็วดั่งกำลังของจิต จะบังเกิดอิทธิพลขึ้น ทำให้การเดินทางถึงเร็ว ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย.
๑๐. กำหนดความสว่างแจ่มใสขึ้นในใจ แล้วแผ่กระจายความสว่างนั้นออกไปรอบๆ ตัวเป็นปริมณฑล แผ่กว้างออกไปโดยลำดับจนทั่วโลกทั้งสิ้น จะทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง แลเห็นโลกกว้างขวางไม่คับแคบ.
๑๑. กำหนดความรู้สึกกลิ่นต่างๆ ขึ้น ให้รู้สึกประหนึ่งว่ากลิ่นนั้นๆ ได้มีอยู่ ณ ที่นั้น ในขณะนั้นจะเกิดอิทธิพลในการสร้างกลิ่นขึ้น ให้ปรากฏในความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย สามารถระงับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ สร้างกลิ่นที่พึงประสงค์ขึ้นใช้ได้ด้วยอำนาจใจ.
๑๒. กำหนดความรู้สึกนึกเห็นภาพของสิ่งต่างๆ เช่น ดอกไม้เป็นต้น ให้ชัดใจตนเอง แล้วให้รู้สึกประหนึ่งว่าภาพนั้นได้ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่นด้วย จะบังเกิดอิทธิพลสามารถเนรมิตภาพของสิ่งต่างๆ ขึ้นให้ปรากฏแก่สายตาของคนอื่นๆ ได้.
การกีฬา เท่าที่ได้กำหนดไว้พอเป็นตัวอย่างนี้ ถ้าพยายามเล่นทุกๆ วัน ย่อมจะได้ผลคุ้มค่าของเวลาไม่เหนื่อยเปล่า ขอให้ท่านทดลองเล่นดู แล้วจะติดใจ.
ค. แบบอิทธิพล เป็นกีฬาชนิดที่เพิ่มพูนพละอำนาจสามารถในสิ่งต่างๆ อย่างน่าอัศจรรย์เป็นการบริหารทั้งกายและจิตไปพร้อมๆ กัน แบบนี้ต้องใช้อวัยวะเป็นที่กำหนด คือเป็นจุดเพ่งของจิต พระโบราณาจารย์กำหนดไว้ ๙ แห่ง โยคีกำหนดไว้มากกว่า ๙ แห่ง เมื่อเพ่งตรงอวัยวะนั้นๆจะบังเกิดผลคือ อิทธิพลต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้
๑. ตรงท้องน้อยใต้สะดือประมาณ ๒ นิ้ว จะบังเกิดผลผ่อนบรรเทาทุกขเวทนาทางกายลงได้.
๒. ตรงสะดือ จะบังเกิดรู้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายขึ้นตามความเป็นจริง.
๓. ตรงเหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว จะบังเกิดความรู้สึกกำหนัด และเกิดกำลังกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น.
๔. ตรงทรวงอกระดับหัวใจ จะบังเกิดการตรัสรู้ขึ้น.
๕. ตรงคอกลวง ใต้ลูกกระเดือก จะทำให้หลับ.
๖. ตรงคอกลวง เหนือลูกกระเดือก จะทำให้หายหิว.
๗. ตรงปลายจมูก จะก่อให้เกิดความปีติยินดี ซาบซ่าน.
๘. ตรงลูกตา จะบังเกิดจิตตานุภาพ.
๙. ตรงระหว่างคิ้ว จะบังเกิดความตื่น หายง่วงได้.
๑๐. ตรงกลางกระหม่อม จะบังเกิดปฏิภาณผ่องแผ้ว และสามารถเห็นทวยเทพได้ด้วย.
๑๑. ตรงท้ายทอย จะไม่รู้สึกทุกขเวทนาทางกายแต่ประการใด เป็นที่หลบเวทนาได้ดี.
๑๒. ตรงประสาททั้ง ๕ จะบังเกิดสัมผัสญาณ มีความสามารถรับรู้สิ่งที่มาสัมผัสทางประสาททั้ง ๕ ได้ดี.
นอกจากที่ระบุไว้นี้ก็มีอีกหลายแห่ง แต่เห็นว่าเกินความต้องการ เท่าที่ระบุไว้นี้ก็พอสมควรแล้ว เป็นที่ที่ควรฝึกหัดเพ่งจิตกำหนดเล่นๆ ดูทุกวัน วันละ ๕ นาทีถึง ๑๕ นาที ก็จะเห็นผลบ้างตามสมควร อย่างน้อยก็เป็นการบริหารกายและจิต และเป็นอันได้เจริญกายคตาสติไปในตัว ท่านพรรณนาอานิสงส์การเจริญกายคตาสติไว้มากมาย มีให้สำเร็จอภิญญา ๖ ประการเป็นต้น ฉะนั้นขอเชิญท่านหันมาเล่นกีฬาทางจิตในพระพุทธศาสนานี้ดูบ้าง บางทีจะสนุกดีกว่ากีฬาทางกายเป็นไหนๆ.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-06.htm
การที่จะทำความเข้าใจลักษณะฌานชั้นนี้ได้แจ่มแจ้ง ผู้ศึกษาต้องย้อนไปสังเกตลักษณะฌานชั้นที่ ๔ ในหมวดรูปฌานอีกที จิตในฌานชั้นนั้น ย่อมสงบมั่นคง รวมลงเป็นหนึ่ง มีอุเบกขาและสติควบคุมอยู่เป็นใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วปราศจากอุปกิเลส เป็นใจนิ่มนวล ละมุนละไม ลมหายใจระงับไป ปรากฏเป็นกลุ่มอากาศโปร่งๆ แม้อัตภาพก็ปรากฏใสผ่องโปร่งบางคล้ายแก้วเจียระไนฉะนั้น สัมพาธะของฌานชั้นนี้ก็คือลมหายใจ เมื่อระงับไปไม่ปรากฏอาการเคลื่อนไหว กลายเป็นอากาศหายใจแผ่ซ่านคลุมตัวนิ่งอยู่ ที่ปรากฏเป็นกลุ่มอากาศใสๆ นั่นเอง ถ้ากำลังแห่งความสงบใจอ่อนลงเมื่อใดก็ปรากฏมีอาการเคลื่อนไหว ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นทุกข์-สุขสะเทือนถึงใจอยู่เรื่อยๆไป ท่านจึงจัดเป็นเครื่องคับใจในฌานชั้นนี้ ผู้ประสงค์จะหลีกห่างจากสัมพาธะข้อนี้จึงทำความสงบก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยวางสัญญาที่กำหนดหมายในรูป คือ อัตภาพอันเป็นที่ตั้งแห่งลมหายใจนั้นและรูปอื่นๆ อันมาปรากฏในมโนทวาร ทั้งวางสัญญาที่กำหนดหมายในสิ่งต่างๆ มีความรู้สึกนึกเห็นเป็นต้น ทั้งวางสัญญากำหนดหมายในสิ่งสะเทือนจิตใจให้รู้สึกอึดอัดด้วย ทำความกำหนดหมายอากาสานะ คือ กลุ่มอากาศหายใจที่ปรากฏเป็นกลุ่มอากาศโปร่งใสนั้นไว้ในใจเรื่อยไป ใจก็จะสงบรวมเป็นหนึ่ง มีอุเบกขากำกับกระชับแน่นยิ่งขึ้น อากาสานะ คือ อากาศหายใจนั้นจะโปร่งใสแผ่ซ่านกว้างขวาง ไม่มีขอบเขตจำกัดเหมือนในจตุตถฌาน แม้อัตภาพก็จะโปร่งใสกลายเป็นอากาศไป ไม่มีสิ่งใดๆ ที่ถึงความเป็นรูปจะปรากฏในมโนทวารในขณะนั้น ความสงบจิตใจขั้นนี้แหละที่เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน ผู้เจริญฌานชั้นนี้พึงสำเหนียกไว้ว่า รูปสัญญา คือความกำหนดหมายในรูปเป็นสัมพาธะ คือสิ่งคับใจของฌานชั้นนี้ วิธีเจริญฌานชั้นนี้จึงต้องวางรูปสัญญาให้สนิท แล้วใส่ใจแต่อากาสานะอย่างเดียว ก็จะสำเร็จอากาสานัญจายตนฌานดั่งประสงค์
๒. วิญญาณัญจายตนฌาน
อรูปฌานที่ ๑ นั้นมีสิ่งทั้ง ๓ ปรากฏสัมพันธ์กันอยู่คือ อากาสานะที่แผ่ซ่านกว้างขวางเป็นอากาศโปร่งใส เป็นที่ใส่ใจกำหนดหมายรู้อยู่นั้น ๑ กระแสมโนวิญญาณคือความรู้เห็นอากาศนั้น๑ และธาตุรู้ซึ่งดำรงมั่นคง ณ ภายในนั้น ๑ เมื่อสิ่งทั้ง ๓ นี้ยังสัมพันธ์กันอยู่ตราบใด ความปลอดภัยจากความสะเทือนก็ย่อมยังหวังไม่ได้ตราบนั้น เพราะอากาศเป็นตัวธาตุ และวิญญาณเป็นตัวสื่อสัมผัสนำกระแสสะเทือนเข้าสู่จิตใจได้อยู่ อากาสานัญจายตนสัญญาจึงเป็นสัมพาธะ คือสิ่งคับใจได้อยู่อีก ผู้ประสงค์จะหลีกออกจากสิ่งคับใจให้ยิ่งขึ้น จึงพยายามวางสัญญานั้นเสีย มากำหนดหมายใส่ใจเฉพาะกระแสวิญญาณทางใจสืบไป เมื่อใจสงบรวมลงเป็นหนึ่งมีอุเบกขากำกับมั่นคงแล้ว จะปรากฏเห็นกระแสมโนวิญญาณแผ่ซ่านไพศาลไปทั่วอากาศทั้งหมด อากาศปรากฏไปถึงไหน มโนวิญญาณก็แผ่ซ่านไปถึงนั่น ไม่มีขอบเขตจำกัด ความสงบใจขั้นนี้แหละท่านเรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน ผู้ต้องการเจริญฌานชั้นนี้พึงทราบว่าอากาสานัญจายตนสัญาเป็นสิ่งคับใจของฌานชั้นนี้ไว้ วิธีปฏิบัติก็ต้องพยายามปล่อยวางสัญญานั้นเสีย หันมาทำความกำหนดหมายใส่ใจแต่วิญญาณ คือความรู้ทางใจอันเป็นกระแสรับรู้อากาศนั้นสืบไป อย่าไปใส่ใจอากาศเลย โดยวิธีนี้ก็จะสำเร็จวิญญาณัญจายตนฌานสมประสงค์
๓. อากิญจัญญายตนฌาน
อรูปฌานที่ ๒ วิญญาณกับอากาศยังมีส่วนใกล้ชิดกัน ทำให้เกิดการสังโยคกันได้ง่าย ไม่เป็นที่ปลอดภัยจากสิ่งคับใจ ผู้ประสงค์ทำใจให้สงบประณีตห่างจากสิ่งบังคับใจยิ่งขึ้น จึงปล่อยวางสัญญาที่กำหนดหมายกระแสวิญญาณนั้นเสีย มากำหนดหมายตัวมโนธาตุ คือผู้รู้ซึ่งดำรงอยู่ ณภายใน ไม่กำหนดรู้อะไรๆ อื่นๆ ในภายนอกแม้แต่น้อย เมื่อใจสงบรวมลงเป็นหนึ่งมีอุเบกขากำกับอยู่อย่างมั่นคง จะปรากฏมีแต่ธาตุรู้ดำรงอยู่โดดเดี่ยว ไม่รับรู้อะไรๆ อื่นๆ ทั้งหมด นอกจากความรู้สึกกลางๆ ทางใจเท่านั้นปรากฏอยู่ จึงรู้สึกว่าไม่มีอะไรแม้น้อยหนึ่ง (นัตถิ กิญจิ) ก่อกวนจิตใจให้รำคาญ ความสงบจิตในขั้นนี้ท่านเรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน ผู้เจริญฌานชั้นนี้พึงสังเกตสัมพาธะของฌานชั้นนี้ไว้ให้ดี คือวิญญาณัญจายตนสัญญา ความกำหนดหมายกระแสมโนวิญญาณนั่นเอง ปรากฏขึ้นทำความคับใจ คือมันอดที่จะรับรู้อะไรๆ อื่นๆ ในภายนอกไม่ได้นั่นเองเมื่อกระแสความรู้เกิดขึ้นรับรู้อารมณ์อื่นๆ จิตก็ต้องถอยกลับจากอากิญจัญญายตนฌานทันที วิธีเจริญฌานชั้นนี้จึงต้องพยายามกำหนดวางสัญญาในกระแสวิญญาณให้เด็ดขาด จิตใจก็จะดำรงเป็นเอกภาพ มีความรู้สึกกลางๆ ณ ภายในดังประสงค์ ชื่อว่าสำเร็จอากิญจัญญายตนฌาน
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
อรูปฌานที่ ๓ จิตใจดำรงเป็นเอกภาพ มีความรู้สึกกลางๆ ณ ภายใน กระแสมโนวิญญาณคอยเกิดขึ้นรบกวน เป็นเหตุให้รับรู้อะไรๆ อื่นๆ ซึ่งทำให้รำคาญใจ คับใจ อึดอัดใจ ยังไม่ปลอดภัยแท้ ผู้ประสงค์ความสงบใจโปร่งใจยิ่งขึ้น จึงสำเหนียกทราบว่าการกำหนดหมายรู้ธาตุรู้นั่นเองเป็นตัวเหตุภายใน ก่อให้เกิดกระแสมโนวิญญาณคอยรับรู้อะไรๆ อยู่ จึงพยายามวางมโนสัญญานั้นเสียแล้วมากำหนดหมายความสงบประณีตของจิตใจนั้นเองอยู่เรื่อยไป เป็นการผ่อนสัญญาให้อ่อนลงใจจะได้สงบว่างโปร่งเป็นเอกภาพจริงจังขึ้น เมื่อใจสงบรวมลงเป็นหนึ่ง ถึงความเป็นเอกภาพเด่นชัดขึ้นกว่าเดิม ความรู้สึกอารมณ์เกือบดับหมดไปแล้ว หากแต่ยังมีสัญญาในความสงบประณีตนั้นผูกมัดไว้ให้จิตใจแขวนต่องแต่งกับโลกอยู่อีก ยังไม่เป็นเอกภาพสมบูรณ์จริงๆ สัญญายังเหลือน้อย เกือบจะพูดได้ว่าไม่มี เป็นสัญญาละเอียดประณีตที่สุด เป็นยอดสัญญา พระบรมศาสดาตรัสว่า ฌานชั้นนี้เป็นยอดอุปาทาน ดังนั้นเราจึงเห็นความในพระประวัติของพระองค์ตอนเสด็จไปทรงศึกษาลัทธิในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบสนั้นว่า ทรงบรรลุถึงฌานชั้นนี้ และทรงทราบว่ายังมีอุปาทานไม่ใช่นิพพานแท้ ดังนี้ ความสงบแห่งจิตใจชั้นนี้แล ท่านเรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตน-ฌาน ผู้ประสงค์เจริญฌานชั้นนี้ พึงกำหนดรู้สัมพาธะ คือสิ่งที่ทำให้รู้สึกคับใจแคบใจขึ้นในฌานชั้นนี้ไว้ให้ดี ท่านว่าอากิญจัญญายตนสัญญา ซึ่งเมื่อกล่าวให้ชัดก็คือมโนสัญญานั่นเองเป็นตัวเหตุก่อให้เกิดความอึดอัดใจขึ้น มันคอยจะโผล่ขึ้นในดวงจิต ทำให้มีความรู้สึกเต็มตัวรับรู้อะไรๆ ขึ้นมาอีก วิธีการในชั้นนี้คือพยายามดับมโนสัญญาเสียให้หายสนิทไปใส่ใจอยู่แต่ความสงบประณีตของจิตใจสืบไป ใจก็สงบลงเป็นหนึ่งถึงความเป็นเอกภาพ มีความรู้สึกกลางๆ กำกับใจอยู่เพียงนิดหน่อย แทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีสัญญา ชื่อว่าสำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดั่งประสงค์ ฌานชั้นนี้แลที่เป็นปัญหากันมากในหมู่ภิกษุในสมัยพุทธกาลว่า บุคคลมีสัญญาอยู่แต่ไม่รับรู้อะไรๆ เลยมีหรือไม่? ท่านแก้กันว่ามี และชี้เอาฌานชั้นนี้ ซึ่งพระอานนท์ตรัสความอัศจรรย์ไว้ว่า น่าอัศจรรย์จริง! อินทรีย์ ๖ ก็มีอยู่ อารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปเป็นต้นก็มีอยู่ สัญญาของบุคคลก็มีอยู่ แต่ไม่รับรู้อะไรๆได้เลย ดังนี้
รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ รวมกันตรัสเรียกว่า วิโมกข์ ๘ เป็นธรรมเครื่องพ้นจากโลกตามลำดับกัน คือพ้นจากโลกหยาบๆ จนถึงพ้นจากโลกชั้นละเอียดประณีต แต่เป็นความพ้นที่ยังกำเริบได้ ไม่เป็นความพ้นเด็ดขาด และตรัสเรียกว่า สมาบัติ ๘ คือเป็นภูมิธรรมสำหรับเข้าพักผ่อนของจิต เป็นการพักผ่อนอย่างประเสริฐ ซึ่งทำให้เกิดพละอำนาจเพิ่มพูนขึ้นทุกๆ ที ผู้ประสงค์ความมีอิทธิพลอันยิ่งพึงฝึกฝนอบรมตนให้บริบูรณ์ด้วยฌานสมาบัติ ดังแสดงมานี้ แล้วทำการเข้าออกให้ชำนาญแคล่วคล่องว่องไวตามลำดับขั้นทั้ง ๕ ที่เรียกว่าวสี ๕ ดังกล่าวในบทที่ ๒ นั้นแล้วท่านก็จะประสพความสำเร็จแห่งทิพยอำนาจสมหวัง
เจริญสัญญาเวทยิตนิโรธ
ยังมีสมาบัติชั้นพิเศษอีกชั้นหนี่ง ซึ่งสมเด็จพระบรมครู ได้ทรงค้นพบด้วยพระองค์ก่อนใครๆแล้วนำมาบัญญัติเรียกว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และทรงวางวิธีปฏิบัติไว้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้ท่านได้ทราบเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว จะเห็นว่าเป็นภูมิจิตที่สูงมากแล้ว แม้ยังมีสัญญาก็เหมือนไม่มีสัญญา ไม่สามารถรับรู้อารมณ์อะไรๆ ได้เลย ไฉนจะมีทางขึ้นต่อไปอีกพระบรมครูของเราเมื่อได้เรียนรู้จบในสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบส ทรงบรรลุถึงภูมิจิตที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้นแล้ว ก็ตรัสถามอาจารย์ว่า ยังมีภูมิจิตที่สูงยิ่งกว่านี้หรือไม่?
ได้รับตอบว่า สุดเพียงนี้ เมื่อทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณอันเฉียบแหลมก็ทรงทราบว่ายังมีอุปาทาน ดังได้กล่าวมาแล้ว จึงลาอาจารย์เสด็จไปทรงค้นคว้าโดยลำพัง บังเอิญไปพบภิกษุทั้ง ๕ ที่เรียกว่าปัญจวัคคีย์ ซึ่งออกบวชติดตามหาพระองค์ ท่านทั้ง ๕ นี้ บางองค์คือโกณฑัญญะ ได้เป็นผู้ร่วมทำนายพระลักษณะของพระองค์ และลงความเห็นว่าจะได้ออกผนวชเป็นศาสดาเอกในโลก จึงคอยเวลาอยู่ ครั้นได้ทราบข่าวการเสด็จออกผนวชของพระศาสดา จึงไปชวนเพื่อนออกบวชตามส่วนองค์อื่นๆ นั้นเป็นหลานของพราหมณ์ผู้ได้ร่วมทำนายพระลักษณะ และลงความเห็นร่วมกันกับโกณฑัญญพราหมณ์ จึงได้สั่งลูกหลานไว้ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จออกทรงผนวชเมื่อไร จงรีบออกบวชติดตามทันที ฉะนั้นภิกษุทั้ง ๕ จึงได้ติดตามมาพบพระองค์ ในเวลาที่กำลังทรงเสาะแสวงสันติวรบทโดดเดี่ยวพระองค์เดียว จึงพากันเข้าถวายตัวเป็นศิษย์เฝ้าปรนนิบัติต่อไป พระศาสดาทรงเห็นว่าเป็นผู้ได้ผ่านการศึกษาลัทธิสมัยทางธรรมมาบ้าง จึงทรงปรึกษาหาทางปฏิบัติเพื่อรอดพ้นจากสังสารวัฏ กะภิกษุทั้ง ๕ นั้น ได้รับคำปรึกษาให้ทรงทดลองปฏิบัติทรมานอย่างอุกฤษฏ์ ที่เรียกว่าทุกกรกิริยา จึงทรงน้อมพระทัยเชื่อและทดลองปฏิบัติ วาระแรกทรงบำเพ็ญ อปาณกฌานคือการเพ่งจนไม่หายใจ ทรงทำได้อย่างอุกฤษฏ์ สุดที่มนุษย์ธรรมดาจะทนทานได้ ก็ไม่สำเร็จผลดีอย่างไร จึงเปลี่ยนวิธีใหม่ คือวาระที่ ๒ ทรงกลั้นลมหายใจไว้ให้นานที่สุดที่จะนานได้ จนปวดพระเศียรเสียดพระอุทรอย่างแรง ก็ไม่สำเร็จผลดีอีกเหมือนกัน จึงทรงเปลี่ยนวิธีใหม่ คือวาระที่ ๓ ทรงอดพระกระยาหาร โดยทรงผ่อนเสวยให้น้อยลง จนถึงไม่เสวยเลย ทรงได้รับทุกขเวทนาในการนี้มากมาย ถึงกับสลบไสลสิ้นสมปฤดีไปหลายครั้ง จึงทรงสันนิษฐานแน่พระทัยว่าไม่ใช่ทางรอดพ้นที่ดีแน่ จึงทรงหวนนึกถึงความสงบพระหฤทัยที่ได้ทรงประสพมาเองในสมัยทรงพระเยาว์ว่า จะเป็นหนทางที่ถูกเพื่อปฏิบัติให้รอดพ้นได้ จึงตัดสินพระทัยดำเนินทางนั้น ทรงกลับตั้งต้นบำรุงพระกายให้มีกำลังแล้ว ทรงดำเนินตามวิธีที่ทรงคิดไว้ คือทรงกำหนดลมหายใจอันเป็นไปโดยปกติธรรมดาไม่ทำการกดข่มบังคับ เพียงแต่มีพระสติตามรู้ทันทุกระยะการเคลื่นเข้าออกของลมไปเท่านั้น ก็ได้รับความสงบพระหฤทัย ได้ทรงบรรลุฌานสมาบัติทั้ง ๘ โดยลำดับ แล้วทรงศึกษาสำเหนียกจุดสำคัญของฌานสมาบัตินั้นๆ จนทรงทราบชัดตามความจริงทุกชั้น ดังที่ตรัส สัมพาธะของฌานนั้นๆ ไว้ให้เป็นที่กำหนดการโจมตี เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทรงทราบทางขึ้นต่อไปยังจุดสงบสูงสุด คือสัญญาเวทยิตนิโรธได้ถูกต้อง เมื่อทรงทราบว่าสัญญาที่เข้าไปกำหนดหมายในอะไรๆ ทุกอย่าง แม้เพียงนิดหน่อยก็เป็นตัวอุปาทานที่เป็นเชื้อ หรือเป็นสื่อสัมพันธ์กับโลก ก่อให้เกิดการสังโยคกับอารมณ์เกิดการกระเทือนจิตในขึ้นได้ ทรงทราบว่าการไม่ทำสัญญากำหนดหมายในอะไรเลยนั่นแหละเป็นปฏิปทาก้าวไปสู่จุดสงบสูงสุด จึงทรงปฏิบัติตามนั้น ก็ได้บรรลุถึงสัญญาเวทยิตนิโรธสมพระประสงค์ความสงบชั้นนี้ จิตใจบรรลุถึงความเป็นเอกภาพสมบูรณ์ ไม่มีสัญญากำหนดหมายอะไร และไม่มีความรู้สึกเสวยรสของอารมณ์แม้แต่อุเบกขาเวทนาเหมือนในฌานสมาบัติที่รองลงไปกระแสโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ส่งกระแสเข้าไปไม่ถึง เพราะไม่มีสื่อสังโยค จิตกับโลกขาดออกจากกันอยู่คนละแดนเด็ดขาด นี้เป็นความหลุดพ้นของจิตชั้นสูงสุดในฝ่ายโลกีย์ที่ยังต้องกำเริบอยู่ เรียกว่า กุปปาเจโตวิมุตติ หรืออนิมิตตเจโตวิมุตติ เมื่อว่าโดยลักษณะจิตใจแล้วก็อยู่ในระดับเดียวกันกับโลกุตตรนิพพานนั่นเอง หากแต่ความพ้นของจิตชั้นนี้ยังไม่กำจัดอวิชชาสวะให้สูญสิ้นหมดเชื้อได้ เมื่อใดกำจัดอวิชชาสวะให้สูญสิ้นหมดเชื้อได้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นความพ้นของจิตจึงเป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ วิมุตติที่ไม่กำเริบ สิ้นชาติ จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจกำจัดกิเลสแล้ว ไม่ต้องเกิดอีกต่อไปในสังสารวัฏ หมดการหมุนเวียนเกิดตายเพียงนั้น ที่ท่านไม่เรียกวิมุตตินี้ว่าเป็นปัญญาวิมุตติเพราะมีฌานเป็นบาทมาก่อน ดั่งแสดงไว้ในจุฬสาโรปมสูตรเป็นตัวอย่าง วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงภูมิธรรมอันสูงสุดนี้จะได้แสดงในวาระแห่งอาสวักขยญาณ ซึ่งเป็นทิพยอำนาจสูงสุดในบทหน้า
สัญญาเวทยิตนิโรธนี้ เป็นสมาบัติชั้นสูงสุดเป็นที่พักผ่อนอย่างประเสริฐที่สุด และเป็นยอดแห่งโลกียวิโมกข์ ท่านกล่าวว่าผู้เข้าสมาบัติชั้นนี้แม้เอาภูเขามาทับก็ไม่รู้สึก และไม่ตายด้วย ในเมื่อยังไม่ถึงกำหนดออก คือผู้จะเข้าสมาบัติชั้นนี้ต้องกำหนดเวลาออกไว้ด้วย เมื่อยังไม่ถึงกำหนดที่ตั้งไว้ก็จะไม่ออก เมื่อถึงกำหนดแล้วจะออกเอง เวลาที่อยู่ในสมาบัติชั้นนี้ร่างกายจะหยุดเจริญเติบโตและเสื่อมโทรม ดำรงอยู่ในสภาพเดิมจนกว่าจะออก ร่างกายจึงจะทำหน้าที่ตามปกติต่อไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงว่าผู้ชำนาญในอิทธิบาทภาวนา อาจอธิษฐานให้ชีวิตดำรงอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเกินกว่ากัปหนึ่งได้
ผู้เข้าสมาบัติชั้นนี้ได้ ท่านว่ามีแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้น และต้องเป็นผู้ได้เจริญสมาบัติ ๘ บริบูรณ์มาก่อนด้วย ที่ว่าเป็นยอดแห่งโลกียวิโมกข์นั้นหมายถึงสัญญาเวทยิตนิโรธของพระอนาคามี เพราะอวิชชายังเหลืออยู่ ยังมิได้ถูกกำจัดให้หมดไปสิ้นเชิง แต่ท่านเป็นผู้ทำให้เต็มเปี่ยมในอธิจิตตสิกขา จึงสามารถเข้าสมาบัติชั้นนี้ได้ การที่นำมากล่าวไว้ในอธิการนี้ก็เพื่อให้ทราบว่า ฌานสมาบัติในพระพุทธศาสนามีถึง ๙ ชั้น เปรียบประดุจปราสาท ๙ ชั้น ฉะนั้นสมาบัติ ๙ ชั้นนี้ ท่านเรียกอีกอย่างว่า อนุปุพพวิหาร ซึ่งแปลตรงศัพท์ว่า ภูมิเป็นที่เข้าอยู่ตามลำดับชั้นส่วนชั้นที่ ๑๐ เรียกว่า อริยวาส ภูมิเป็นที่อยู่ของพระอรหันต์โดยเฉพาะ ซึ่งจะแสดงไว้ในบทที่ ๑๒
กีฬาในพระพุทธศาสนา
ได้กล่าวมาในต้นบทนี้ว่า ในพระพุทธศาสนาก็มีกีฬาสำหรับเล่นเพลิดเพลิน และบำรุงพลานามัย ฉะนั้นในวาระนี้จะได้กล่าวถึงกีฬาในพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อผู้มีใจเป็นนักกีฬาจะได้เล่นเพลิน และบำรุงพลานามัยดังกล่าวแล้ว
ในพระวินัยหมวดอภิสมาจาร มีพระพุทธบัญญัติห้ามกิริยานอกรีตนอกรอยของสมณะไว้ มีการเล่นอย่างโลกๆ หลายประการ ตรัสว่าไม่เป็นการสมควรแก่สมณะ แล้วทรงแสดงกีฬาอันสมควรแก่สมณะไว้ ๒ ประการ คือ ฌานกีฬา และ จิตตกีฬา ฌานกีฬาได้แก่การเล่นฌาน จิตตกีฬาได้แก่การเล่นจิต มีอธิบายดังต่อไปนี้
๑. ฌานกีฬา ฌานและสมาบัติดังได้กล่าวมาในบทที่ ๑-๒ และบทนี้ นอกจากบำเพ็ญไว้เพื่อเป็นบาทฐานแห่งการเจริญทิพยอำนาจ และเป็นอุปกรณ์แก่ทิพยอำนาจดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการกีฬาเพื่อเพลิดเพลินและเพื่อพลานามัยด้วย การเข้าออกฌานตามปกติเป็นไปโดยระเบียบ ไม่มีการพลิกแพลงผาดโผน จัดว่าเป็นการเจริญฌานเพื่อประโยชน์เจริญทิพยอำนาจ ส่วนการเข้าออกฌานโดยอาการพลิกแพลงผาดโผนนั้น จัดเป็นการกีฬาฌาน เป็นไปเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเพื่อพลานามัย
การเข้าออกฌานเพื่อเป็นการกีฬานั้น พระโบราณาจารย์ได้วางแบบไว้ ๔ แบบ มีชื่อเรียกดังต่อไปนี้
ก. เข้าลำดับ ได้แก่ฌานตามลำดับฌานและลำดับอารมณ์ของฌาน อารมณ์ของฌานที่ใช้เล่นกันโดยมากใช้แต่กสิณ ๘ ประการ คือ รูปกสิณ ๔ วรรณกสิณ ๔ รวม ๘ พอดีกับฌาน ๔ ชั้นวิธีเข้าคือใช้ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้วเข้าตติยฌาน ฯลฯ จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วเปลี่ยนอารมณ์ใหม่ตามลำดับกัน คือ ใช้อาโปกสิณเป็นอารมณ์ เข้าออกฌานทั้ง ๘ ตามลำดับโดยนัยก่อน ทำอย่างนี้จนหมดกสิณทั้ง ๘ วิธีของพระโบราณาจารย์ท่านใช้เทียนติดลูกสลักตั้งไว้ในบาตร จุดเทียนนั้นตั้งไว้ข้างหน้าสำหรับกำหนดเวลา เมื่อลูกสลักตกลงในบาตรมีเสียงดังกั๊ก ก็เปลี่ยนฌานทีหนึ่ง จะทำกำหนดเข้าฌานชั้นหนึ่งๆ นานสักเท่าไรก็แล้วแต่ความพอใจ แล้วกำหนดเวลาโดยลูกสลักนั้นเองถ้าติดลูกสลักห่างกัน เวลาในระยะฌานหนึ่งๆ ก็ต้องห่างกัน ถ้าติดลูกสลักถี่ เวลาในระยะฌานหนึ่งๆ ก็สั้น ลูกสลักนั้นทำด้วยตะกั่ว ทำเป็นลูกกลมๆ ขนาดเท่าลูกมะขามป้อมหรือลูกมะยม ลูกสลักนี้บางทีท่านก็เรียกว่าลูกสังเกต สำหรับสังเกตเวลานั่นเอง การเข้าลำดับนี้ได้อธิบายมาแล้วในวิธีเจริญรูปฌาน ๔ เพื่อความชำนาญในการเข้าออกฌานตามลำดับชั้น ทีนี้ต้องลำดับฌานถึง ๘ ชั้น และลำดับอารมณ์ถึง ๘ อย่าง คงต้องกินเวลามิใช่เล็กน้อย แต่คงไม่รู้สึกนานสำหรับผู้เพลินในฌาน เหมือนคนเล่นหมากรุกหรือเล่นไพ่เพลินย่อมรู้สึกว่าเวลาคืนหนึ่งไม่นานเลยฉะนั้น ผู้เล่นฌานก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกัน
ข. เข้าทวนลำดับ ได้แก่เข้าฌานชั้นสูงก่อน แล้วทวนลงมาหาฌานชั้นต้น อารมณ์ของฌานก็เหมือนกัน ใช้โอทาตกสิณก่อน แล้วจึงใช้กสิณทวนลงมาถึงปฐวีกสิณ เป็นการทวนลำดับทั้งฌานและกสิณอันเป็นอารมณ์ของฌาน วิธีการกำหนดเวลาก็ใช้ลูกสลักหรือลูกสังเกตเช่นเดียวกับวิธีในข้อ ก
ค. เข้าสลับ มี ๒ วิธีคือ สลับฌานวิธีหนึ่ง สลับอารมณ์ของฌานวิธีหนึ่ง วิธีต้นใช้อารมณ์ตามลำดับ แต่สลับฌานในระหว่างๆ คือ เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ทุติยฌาน จตุตถฌาน วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ส่วนวิธีที่ ๒ เข้าฌานตามลำดับแต่สลับอารมณ์ คือฌานที่หนึ่งใช้ปฐวีกสิณเป็นอารมณ์พอถึงฌานที่ ๒ใช้เตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ตัวอย่างเป็นดังนี้
ปฐม – ปฐวี,
ทุติย – เตโช,
ตติย – นีล,
จตุตถ – โลหิตะ,
อากาสานัญจายตนะ – อาโป,
วิญญาณัญจายตนะ – วาโย,
อากิญจัญญายตนะ – ปีตะ,
เนวสัญญานาสัญญายตนะ – โอทาตะ
แล้วยังมีพลิกแพลงต่อไปอีก คือ สลับทั้งฌานทั้งอารมณ์ของฌาน การกำหนดเวลาใช้ลูกสลักดังในข้อ ก.
ง. เข้าวัฏฏ์ ได้แก่การเข้าฌานเป็นวงกลม คือ เข้าไปตามลำดับฌานถึงที่สุด แล้วกลับเข้าฌานที่ ๑ ไปอีก วนไปจะกี่รอบก็แล้วแต่ความพอใจของผู้เล่น การกำหนดเวลาใช้ลูกสลักเช่นเดียวกับในข้อ ก.
วิธีเข้าฌานแบบวงกลมนี้ท่านสมมุติเรียกอีกอย่างว่า “ห่วงลูกแก้ว” ดูก็สมจริง เพราะจิตใจที่ดำรงอยู่ในฌานย่อมผ่องใสเหมือนแก้ว เมื่อเข้าฌานเป็นวงกลมก็ย่อมทำให้แก้วคือใจนั้นเกิดเป็นวงกลมขึ้น และวงกลมนั้นเกี่ยวเนื่องกันไปดุจสายสร้อยสังวาล หากจะเรียกให้สละสลวยขึ้นอีกว่า “สังวาลแก้ว” ก็น่าจะเหมาะดี
การใช้ลูกสลักเป็นเครื่องกำหนดเวลานั้น ใช้แต่ในเมื่อยังไม่ชำนาญในการกำหนดเวลา ครั้นชำนาญในการกำหนดเวลาด้วยใจแล้ว ก็เลิกใช้ลูกสลักได้
๒. จิตตกีฬา จิตที่ได้รับการอบรมด้วยสมาธิตั้งแต่ชั้นต่ำๆ เพียงความเป็นหนึ่งของจิตชั่วขณะหนึ่งขึ้นไป จนถึงความสงบประณีตของจิตชั้นสูงสุด และที่ได้อบรมด้วยคุณธรรมต่างๆ มีศรัทธาความเชื่อเป็นต้น ย่อมเกิดมีพละอำนาจ สามารถทำการพลิกแพลงผาดโผนได้แปลกๆ ย่อมก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเกิดพลานามัยเพิ่มพูนขึ้นด้วย การเล่นกีฬาทางจิตนี้ไม่มีขอบเขตจำกัด อาจดัดแปลงพลิกแพลงเล่นได้ตามชอบใจ แต่ต้องเป็นกีฬาที่เป็นประโยชน์ด้วยจะกำหนดไว้พอเป็นแนวคิดดังต่อไปนี้
ก. แบบกายบริหาร เป็นการเล่นเพื่อบริหารกายให้มีสุขภาพอนามัยดี และเพื่อเป็นกายคตาสติด้วย วิธีเล่น ใช้จิตที่ประกอบด้วยกระแสต่างๆ พุ่งผ่านไปทั่วร่างกายทุกๆ ส่วน ให้สัมผัสด้วยกระแสจิตตามชนิดที่ต้องการ ท่านกำหนดกระแสจิตที่ควรใช้ไว้ ดังนี้
๑. จิตประกอบด้วยกระแสวิตก คือความคิด
๒. จิตประกอบด้วยกระแสวิจาร คือความอ่าน
๓. จิตประกอบด้วยกระแสที่ปราศจากวิตกวิจาร
๔. จิตประกอบด้วยกระแสปีติ คือความชื่นบาน
๕. จิตประกอบด้วยกระแสปราศจากปีติ
๖. จิตประกอบด้วยกระแสความสุขใจ
๗. จิตประกอบด้วยกระแสอุเบกขา คือความมีใจเป็นกลาง.
ทำจิตให้ประกอบด้วยกระแสเหล่านี้อันใดอันหนึ่ง แล้วแผ่กระแสนั้นไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายจากบนถึงล่าง จากล่างถึงบน กลับไปกลับมาหลายๆ เที่ยว จะใช้อิริยาบถนอนหรือนั่งก็ได้ ทางกายเมื่อได้รับสัมผัสกับกระแสจิตทั่วถึงเช่นนี้ ย่อมมีกำลังกระปรี้กระเปร่า เลือดลมย่อมเดินสะดวก ทำให้ผิวพรรณสดใสขึ้น.
อนึ่ง จิตที่นำกระแสแผ่ซ่านไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายนั้น จะบังเกิดความรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น เท่ากับเรียนรู้กายวิภาควิทยาไปในตัว.
นอกจากกระแสจิต ๗ ประการ ดังกล่าวแล้ว แสงสีต่างๆ ก็ประกอบเป็นกระแสจิตได้เช่นเดียวกัน แสงสีนวลที่เรียกว่า อาโลกะ ก็เป็นประโยชน์ในทางบำบัดโรคในกายบางประการ ทั้งทำให้ผิวพรรณผุดผ่องคล้ายทาด้วยแป้งนวลฉะนั้น แสงสีเหลืองอ่อนอีกหนึ่งเป็นประโยชน์ทำให้ร่างกายสดชื่น ผิวพรรณสดใสเปล่งปลั่ง วิธีทำ กำหนดจิตให้ประกอบด้วยแสงสว่างสีนวล หรือสีเหลืองอ่อนดังกล่าวแล้ว แล้วแผ่กระจายแสงสีนั้นไปทั่วสรรพางค์กายทุกส่วน ทวนขึ้น-ตามลงหลายๆ เที่ยว ก็จะเกิดประโยชน์ดังกล่าวแล้ว.
ข. แบบจิตตบริหาร เป็นการกีฬาเพื่อบริหารจิตให้มีสุขภาพอนามัยและอิทธิพล ควบไปกับความเพลิดเพลิน เพราะธรรมชาติของจิตใจก็เป็นสิ่งที่ต้องการความบริหารเช่นเดียวกับร่างกายจิตใจที่ได้รับการบริหารดี ย่อมมีความสุข ปราศจากโรค และมีอิทธิพล ความฉลาดในกระบวนจิตย่อมเป็นประโยชน์ในการบริหารจิตอย่างมาก การทำอะไรอย่างเป็นการเป็นงานเสมอไป ย่อมทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อยและระอิดระอา ถ้าทำเป็นการกีฬาเสียบ้าง แม้จะต้องเหน็ดเหนื่อยก็รู้สึกว่าให้เกิดกำลังใจ มีความแช่มชื่นเบิกบานดีขึ้น ฉะนั้น ปราชญ์ทางจิตใจท่านจึงกำหนดให้มีกีฬาทางจิตใจขึ้นใช้ จิตตกีฬาที่จะเป็นประโยชน์บริหารจิตใจนั้นก็ได้แก่ การแต่งอารมณ์ คือแต่งความรู้สึกให้เป็นไปในสิ่งต่างๆ หรือโดยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. แต่งความรู้สึกตามกระแส ทุกสิ่งย่อมมีกระแสในตัวของมันเอง สิ่งที่น่ารักก็มีกระแสความรักเป็นประจำ สิ่งที่น่าเกลียดก็มีกระแสความเกลียดเป็นประจำ เมื่อเราได้ประสบหรือนึกถึงสิ่งที่น่ารักหรือน่าเกลียด เราก็จะเกิดความรู้สึกรักหรือเกลียดขึ้นทันที การแต่งความรู้สึกอนุโลมตามกระแสของสิ่งนั้นๆ อย่างนี้ เป็นจิตตกีฬาขั้นแรกทำได้ง่ายๆ.
๒. แต่งความรู้สึกทวนกระแส ทุกสิ่งย่อมมีกระแสดังกล่าวในข้อ ๑. ทีนี้ให้พยายามทำความรู้สึกทวนกระแสของสิ่งนั้นๆ ขึ้นไป คือ แทนที่จะรู้สึกรักในสิ่งน่ารัก ก็ให้รู้สึกเกลียด แทนที่จะรู้สึกเกลียดในสิ่งน่าเกลียด ก็ให้รู้สึกไม่เกลียด ดังนี้เป็นต้น ขั้นนี้ออกจะทำได้ยาก แต่ถ้าทำได้จะเป็นประโยชน์มาก.
๓. แต่งความรู้สึกตัดกระแส คือให้รู้สึกรักก็ได้ ไม่รักก็ได้ ทั้งในสิ่งน่ารักทั้งในสิ่งไม่น่ารัก ทำให้รู้สึกเกลียดก็ได้ รู้สึกไม่เกลียดก็ได้ ทั้งในสิ่งน่าเกลียดทั้งในสิ่งไม่น่าเกลียด ขั้นนี้ยิ่งทำได้ยาก ถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์ยิ่ง.
๔. แต่งความรู้สึกเป็นกลางระหว่างกระแส คือ ให้มีความรู้สึกเป็นกลางในสิ่งน่ารักและน่าเกลียด ในสิ่งน่ายินดีและน่ายินร้าย ในสิ่งน่าตื่นเต้นและไม่น่าตื่นเต้น ฯลฯ ขั้นนี้ทำได้ยากที่สุดและถ้าทำได้ก็เป็นประโยชน์ที่สุด.
๕. กำหนดความรู้สึกเห็นเป็นอสุภะขึ้นในร่างกายตนเอง หรือในร่างกายของผู้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตตนเองมีกามราคะอยู่ กามราคะก็จะดับไปจากจิตทันที ถ้ากามราคะมีอยู่ในจิตของผู้อื่นซึ่งเป็นผู้ถูกเพ่งให้เป็นอสุภะนั้น กามราคะก็จะดับไปจากจิตผู้นั้นทันที.
๖. กำหนดความรู้สึกเมตตาขึ้นในจิตให้เต็มเปี่ยม แล้วกระจายความรู้สึกนั้นออกไปจากตัวโดยรอบๆ ทุกทิศทุกทาง เป็นปริมณฑลกว้างออกไปโดยลำดับ จนไม่มีขอบเขต ครอบคลุมโลกไว้ทั้งหมด แล้วทวนกลับคืนเข้าหาตัวเอง จะเกิดเมตตาพละขึ้นในตน สามารถระงับความเป็นศัตรูที่มีอยู่ในผู้อื่นได้ และทำให้บังเกิดจิตเมตตาขึ้นในคนทั้งหลาย ในสัตว์ทั้งปวง.
๗. กำหนดความรู้สึกกรุณา-มุทิตา-อุเบกขา ขึ้นในจิตให้เต็มเปี่ยมแล้วทำโดยนัยข้อ ๖ จะเกิดกรุณาพละ มุทิตาพละ และอุเบกขาพละขึ้นในตน กรุณาพละ สามารถกำจัดวิหิงสาคือความเบียดเบียนได้ มุทิตาพละ สามารถระงับความริษยา และปลูกความชื่นบานแก่บุคคลได้ อุเบกขาพละ สามารถระงับกามราคะ ความกำหนัดในเพศตรงกันข้ามให้สงบลงได้.
๘. กำหนดให้เห็นพละอำนาจ อันมีอยู่ในสิ่งต่างๆ เช่น กำลังช้างสารเป็นต้น แล้วน้อมนึกให้รู้สึกว่ากำลังอำนาจของสิ่งนั้นๆ ได้มามีอยู่ในตัวของตน จะบังเกิดมีกำลังขึ้น เสมอกับกำลังของสิ่งที่ตนกำหนดเห็นนั้น.
๙. กำหนดให้เกิดความรู้สึกว่า กายของตนเบาเหมือนสำลี และมีความรวดเร็วดั่งกำลังของจิต จะบังเกิดอิทธิพลขึ้น ทำให้การเดินทางถึงเร็ว ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย.
๑๐. กำหนดความสว่างแจ่มใสขึ้นในใจ แล้วแผ่กระจายความสว่างนั้นออกไปรอบๆ ตัวเป็นปริมณฑล แผ่กว้างออกไปโดยลำดับจนทั่วโลกทั้งสิ้น จะทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง แลเห็นโลกกว้างขวางไม่คับแคบ.
๑๑. กำหนดความรู้สึกกลิ่นต่างๆ ขึ้น ให้รู้สึกประหนึ่งว่ากลิ่นนั้นๆ ได้มีอยู่ ณ ที่นั้น ในขณะนั้นจะเกิดอิทธิพลในการสร้างกลิ่นขึ้น ให้ปรากฏในความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย สามารถระงับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ สร้างกลิ่นที่พึงประสงค์ขึ้นใช้ได้ด้วยอำนาจใจ.
๑๒. กำหนดความรู้สึกนึกเห็นภาพของสิ่งต่างๆ เช่น ดอกไม้เป็นต้น ให้ชัดใจตนเอง แล้วให้รู้สึกประหนึ่งว่าภาพนั้นได้ปรากฏแก่สายตาของผู้อื่นด้วย จะบังเกิดอิทธิพลสามารถเนรมิตภาพของสิ่งต่างๆ ขึ้นให้ปรากฏแก่สายตาของคนอื่นๆ ได้.
การกีฬา เท่าที่ได้กำหนดไว้พอเป็นตัวอย่างนี้ ถ้าพยายามเล่นทุกๆ วัน ย่อมจะได้ผลคุ้มค่าของเวลาไม่เหนื่อยเปล่า ขอให้ท่านทดลองเล่นดู แล้วจะติดใจ.
ค. แบบอิทธิพล เป็นกีฬาชนิดที่เพิ่มพูนพละอำนาจสามารถในสิ่งต่างๆ อย่างน่าอัศจรรย์เป็นการบริหารทั้งกายและจิตไปพร้อมๆ กัน แบบนี้ต้องใช้อวัยวะเป็นที่กำหนด คือเป็นจุดเพ่งของจิต พระโบราณาจารย์กำหนดไว้ ๙ แห่ง โยคีกำหนดไว้มากกว่า ๙ แห่ง เมื่อเพ่งตรงอวัยวะนั้นๆจะบังเกิดผลคือ อิทธิพลต่างๆ กัน ดังต่อไปนี้
๑. ตรงท้องน้อยใต้สะดือประมาณ ๒ นิ้ว จะบังเกิดผลผ่อนบรรเทาทุกขเวทนาทางกายลงได้.
๒. ตรงสะดือ จะบังเกิดรู้เห็นส่วนต่างๆ ของร่างกายขึ้นตามความเป็นจริง.
๓. ตรงเหนือสะดือประมาณ ๒ นิ้ว จะบังเกิดความรู้สึกกำหนัด และเกิดกำลังกายกระปรี้กระเปร่าขึ้น.
๔. ตรงทรวงอกระดับหัวใจ จะบังเกิดการตรัสรู้ขึ้น.
๕. ตรงคอกลวง ใต้ลูกกระเดือก จะทำให้หลับ.
๖. ตรงคอกลวง เหนือลูกกระเดือก จะทำให้หายหิว.
๗. ตรงปลายจมูก จะก่อให้เกิดความปีติยินดี ซาบซ่าน.
๘. ตรงลูกตา จะบังเกิดจิตตานุภาพ.
๙. ตรงระหว่างคิ้ว จะบังเกิดความตื่น หายง่วงได้.
๑๐. ตรงกลางกระหม่อม จะบังเกิดปฏิภาณผ่องแผ้ว และสามารถเห็นทวยเทพได้ด้วย.
๑๑. ตรงท้ายทอย จะไม่รู้สึกทุกขเวทนาทางกายแต่ประการใด เป็นที่หลบเวทนาได้ดี.
๑๒. ตรงประสาททั้ง ๕ จะบังเกิดสัมผัสญาณ มีความสามารถรับรู้สิ่งที่มาสัมผัสทางประสาททั้ง ๕ ได้ดี.
นอกจากที่ระบุไว้นี้ก็มีอีกหลายแห่ง แต่เห็นว่าเกินความต้องการ เท่าที่ระบุไว้นี้ก็พอสมควรแล้ว เป็นที่ที่ควรฝึกหัดเพ่งจิตกำหนดเล่นๆ ดูทุกวัน วันละ ๕ นาทีถึง ๑๕ นาที ก็จะเห็นผลบ้างตามสมควร อย่างน้อยก็เป็นการบริหารกายและจิต และเป็นอันได้เจริญกายคตาสติไปในตัว ท่านพรรณนาอานิสงส์การเจริญกายคตาสติไว้มากมาย มีให้สำเร็จอภิญญา ๖ ประการเป็นต้น ฉะนั้นขอเชิญท่านหันมาเล่นกีฬาทางจิตในพระพุทธศาสนานี้ดูบ้าง บางทีจะสนุกดีกว่ากีฬาทางกายเป็นไหนๆ.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-06.htm