ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 01:46:45 pm »

 :45:  อนุโมทนาครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:59:09 am »


อนุโมทนาค่ะ พี่แป๋ม
ขอบคุณที่นำคำสอนของครูบาอาจารย์มาปันให้อ่านค่ะ ^_^

เรื่องน่าอ่าน ภาพประกอบก็น่าประทับใจ สวยมากค่ะ

 :13:





 

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:42:02 am »






เส้นทางตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า

หลักการที่พระองค์ทรงยึดเป็นหลักปฏิบัติก็คือว่า
ทำจิต "ให้มีสิ่งรู้" ทำสติ "ให้มีสิ่งระลึก"

พระองค์ทำลมอานาปานสติให้เป็นสิ่งรู้ของจิต
แล้วเอาสติไปจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ…

พระองค์ทรงทำพระสติรู้อยู่ ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
ทำให้พระองค์ต้องรู้ความหยาบความละเอียดของลมหายใจ

และรู้ ความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ
ในขณะใดที่พระองค์ไม่ได้ดูลมหายใจ

พระองค์ก็กำหนดดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตของพระองค์
สิ่งใดเกิดขึ้นพระองค์ก็รู้ รู้ด้วยวิธีการทำสติ "กำหนดจิต"

กำหนดคอยรู้ คอยจ้องดูอารมณ์ที่เกิดดับกับจิต
ในเมื่อสติสัมปชัญญะของพระองค์มีความเข้มแข็งขึ้น





สามารถที่จะประคับประคองจิตใจให้มีความรู้ซึ้งเห็นจริง
ในความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ในสภาวะที่เป็นไปตามธรรมชาติ

คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อรู้ว่าอารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา อารมณ์อันใด ที่จิตของพระองค์ยังยึดถืออยู่

เมื่ออารมณ์สิ่งนั้นเกิดขึ้นก็มายุแหย่
ให้จิตของพระองค์ เกิดความยินดี เกิดความยินร้าย

ความทุกข์ก็ปรากฏขึ้นภายในจิต
ทุกข์ที่ปรากฏขึ้นภายในจิตของพระองค์ พระองค์ก็กำหนดว่า

นี่คือทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์จริงๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้
ในเมื่อรู้ว่าเป็นทุกข์จริงๆ พระองค์ก็สาวหาสาเหตุ

ทุกข์นี่มันเกิดมาจาก เหตุ อะไร
ทุกข์อันนี้เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเกิดมาจากไหน

เกิดมาจากความยินดีและความยินร้าย ความยินดีเป็นกามตัณหา
ความยินร้ายเป็นวิภวตัณหา ความยึดมั่นถือมั่น


ในความยินดียินร้ายทั้ง ๒ อย่าง
เป็นภวตัณหา ในเมื่อจิตมีภวตัณหา มันก็ย่อมมีความทุกข์เกิดขึ้น


เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงทำให้พระองค์รู้ซึ้งเห็นจริงในอริยสัจ ๔

คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
อันนี้เป็น "ภูมิธรรม" ที่พระองค์ค้นคว้าพบ และ "ตรัสรู้เอง" โดยชอบ





พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

Pics by : Google
Credit by : http://yodnapa.bloggoo.com/archives/4193
 :19: : http://www.sookjai.com/index.php?topic=1106.0

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:37:22 am »






ปล่อยจิตให้คิด เกิดความฟุ้งซ่านหรือเกิดปัญญา

…ความคิดที่จิตมันคิดขึ้นมาเอง เป็นวิตก
สติรู้พร้อม เป็นวิจารณ์ เมื่อจิตมีวิตก วิจารณ์

ปีติ และความสุขย่อมเกิดขึ้นไม่มีปัญหา
ผลที่จะเกิดจากการตามรู้ความคิด

ความคิดเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ
เมื่อสติสัมปชัญญะดีขึ้น เราจะรู้สึกว่า…

ความคิด เป็นอาหารของจิต
ความคิด เป็นการบริหารจิต

ความคิด เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด
ความคิด เป็นนิมิตหมายให้เรารู้ว่าอะไรเป็นเรื่องทุกข์ เป็นอนัตตา


แล้วความคิดนี่แหละมันจะมายั่วยุให้เราเกิดอารมณ์ดี อารมณ์เสีย
เมื่อเรามองเห็นอารมณ์ดี อารมณ์ เสีย มองเห็นอิฏฐารมณ์

อนิฏฐารมณ์ ที่ก่อเป็นตัวกิเลส ทีนี้เมื่อจิตมีอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์
มันก็มี ก็มองเห็น สุขบ้าง ทุกข์บ้าง คละกันไป ในที่สุด ทุกข์อริยสัจ


…ถ้าจิตมันเกิดทุกข์ขึ้นได้ สติรู้พร้อม มองเห็นทุกข์อริยสัจ
ถ้า"จิตมีปัญญารู้สึก" มันจะบอกว่า

อ้อ ! "นี่คือ..ทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้"
แล้วมันจะดูทุกข์กันต่อไป

สุข ทุกข์ ทั้งสองอย่างเกิดขึ้นสลับกันไป
อันนี้คือกฎอริยสัจแล้วในที่สุด จิตมีสติมีปัญญาดีขึ้น


มันจะกำหนดหมายรู้ว่า นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

แล้วจะมองเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นดับไปเกิดขึ้นดับไปอยู่อย่างนั้น
ยัง กิญจิ สมุทย ธัมมัง สัพพันตัง นิโรธ ธัมมันติ

ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมว่า
สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา… คือจุดนี้






มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:33:40 am »






ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมจิต

ความคิดอันใดที่สติรู้ทันทุกขณะจิต
ความคิดอันนั้นคือปัญญาในสมาธิ

เป็นลักษณะของจิตเดินวิปัสสนา

พร้อมๆ กันนั้นถ้าจะนับตามลำดับขององค์ฌาน
ความคิด เป็น  ตัววิตก

สติรู้พร้อมอยู่ที่ความคิด เป็นตัววิจารณ์
เมื่อจิตมีวิตก วิจารณ์ ปีติ และสุขย่อมบังเกิดขึ้นไม่มีปัญหา

ทีนี้ปีติเกิดขึ้นแล้ว จิตมันก็อยู่ในสภาพปกติ กำหนดรู้ความคิด

ที่เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา ก็ได้ความ เป็นหนึ่ง

ถ้าจิตดำรงอยู่ในสภาวะเป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าจิตดำรงอยู่ในปฐมฌาน
คือ ฌานที่ ๑ ประกอบ ด้วยองค์ ๕ : วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา






มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:31:26 am »






อย่าข่มจิตถ้าจิตอยากคิด

ถ้าเราภาวนาพุทโธ ๆ
แม้ว่าจิตสงบเป็นสมาธิถึงขั้นละเอียด ถึงขั้นตัวหาย

เมื่อสมาธินี้มันจะได้ผล ไปตามแนวทางแห่งการปฏิบัติ
เพื่อมรรค ผล นิพพาน

ภายหลังจิตที่เคยสงบนี้มันจะไม่ยอมเข้าไปสู่ความสงบ
มันจะมาป้วนเปี้ยนแต่การยืน เดิน นั่ง นอน


รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด
ซึ่งอันนี้ก็เป็น ประสบการณ์

ที่หลวงพ่อเองประสบมาแล้ว
พยายามจะให้มันเข้าไปสู่ความสงบอย่างเคย

มันไม่ยอมสงบ ยิ่งบังคับเท่าไรยิ่งดิ้นรน
นอกจากมันจะดิ้นแล้ว

อิทธิฤทธิ์ของมันทำให้เราปวดหัวมวนเกล้า
ร้อนผ่าวไปทั้งตัว เพราะไปฝืนความเป็นจริงของมัน

ทีนี้ภายหลังมาคิดว่า แกจะไปถึงไหน
ปรุงไปถึงไหน เชิญเลย ฉันจะตามดูแก

ปล่อยให้มันคิดไป ปรุงไป ก็ตามเรื่อยไป
ทีนี้พอไป ๆ มา ๆ ตัวคิดมันก็คิดอยู่ไม่หยุด

ตัวสติก็ตามไล่ตามรู้กันไม่หยุด พอคิดไปแล้ว
มันรู้สึกเพลิน ๆ ในความคิดของตัวเอง

มันคล้าย ๆ กับว่ามันห่างไกล ไกลไปๆๆ
เกิดความวิเวกวังเวง กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ


และพร้อมๆ กันนั้นน่ะ ทั้งๆ ที่ความคิด
มันยังคิดไวเร็วปรื๋อจนแทบจะตามไม่ทัน

ปีติและความสุขมันบังเกิดขึ้น แล้วทีนี้มันก็มีความเป็นหนึ่ง
คือ จิตกำหนดรู้อยู่ที่จิต
ความคิดอันใดเกิดขึ้นกับจิต

สักแต่ว่าคิด คิดแล้ว "ปล่อยวางไป"ๆ
มันไม่ได้ "ยึดเอามา" สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน


แล้วในที่สุดเมื่อมันตัดกระแสแห่งความคิดแล้ว
มันวูบวาบๆ เข้าไปสู่ความสงบนิ่งจนตัวหาย

เหมือนอย่างเคย จึงได้ข้อมูลขึ้นมาว่า
…อ๋อ ธรรมชาติของมัน    เป็นอย่างนี้...





มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:28:44 am »






ทำสมาธิโดยการบริกรรมภาวนา


หมายถึงการท่องคำบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น พุทโธ ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัน เป็นต้น

ผู้ภาวนาท่องบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
จนจิตสงบประกอบด้วยองค์ฌาณ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

จิตสงบจนกระทั่งตัวหาย ทุกสิ่งทุกอย่างหายไป
เหลือแต่จิตที่สงบนิ่งสว่างอยู่ ความนึกคิดไม่มี

เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิ พอรู้สึกว่ามีกาย ความคิดเกิดขึ้น
ให้กำหนดสติตามรู้ทันที
อย่ารีบออกจากที่นั่งสมาธิ
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้จะได้ปัญญาเร็วขึ้น


…ในช่วงนี้ถ้าเราไม่รีบออกจากสมาธิ ออกจากที่นั่ง
เราก็ตรวจดูอารมณ์จิตของเราเรื่อยไป โดยไม่ต้องไปนึกอะไร

เพียงแต่ปล่อยให้จิตมันคิดของมันเอง อย่าไปตั้งใจคิด
ที่นี้พอออกจากสมาธิมาแล้ว พอมันคิดอะไรขึ้นมา ก็ทำใจดูมันให้ชัดเจน

ถ้าจิตมันคิดไปเรื่อย ๆ ก็ดูมันไปเรื่อย ๆ จะคิดไปถึงไหน ช่างมัน
ปล่อยให้มันคิดไปเลย เวลาคิดไป เราก็ดูไป ๆๆๆ

มันจะรู้สึกเคลิบเคลิ้มในความคิด
แล้วจะเกิดกายเบา จิตเบา    กายสงบ จิตสงบ

กายเบา กายสงบ ได้กายวิเวก
จิตเบา จิตสงบ ได้จิตวิเวก

ทีนี้จิตสงบแล้ว จิตเป็นปกติได้
ก็ได้อุปธิวิเวกในขณะนั้น


บริกรรมพุทโธ กับการตามรู้จิต คือหลักเดียวกัน

…ภาวนาพุทโธเอาไว้
พอจิตมันอยู่กับพุทโธก็ปล่อยให้มันอยู่ไป
พอทิ้งพุทโธแล้วไปคิดอย่างอื่น
ปล่อยให้มันคิดไปแต่ให้มีสติตามรู้…


พุทโธที่เรามาท่องเอาไว้

๑. เพื่อระลึกถึงพระบรมครู
๒. เพื่อกระตุ้นเตือนจิตให้เกิดความคิดเอง

ทีนี้เมื่อจิตทิ้งพุทโธปั๊บ มันไปคิดอย่างอื่นขึ้นมาได้
แสดงว่าเขาสามารถหาเหยื่อมาป้อนให้ตัวเองได้แล้ว

เราก็ไม่ต้องกังวลที่จะหาอารมณ์มาป้อนให้เขา
ปล่อยให้เขาคิดไปตามธรรมชาติของเขา

หน้าที่ของเรามีสติกำหนดตามรู้อย่างเดียวเท่านั้น
นี่หลักการปฏิบัติเพื่อจะได้สมาธิ   สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน ต้องปฏิบัติอย่างนี้





มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:25:25 am »






ช่างประดิษฐ์ทำสมาธิในการประดิษฐ์

เมื่อไม่นานมานี้ มีคฤหบดีท่านหนึ่งอุตส่าห์นั่งรถมาจากกรุงเทพฯ
พอมาถึงเขาก็มาบอกหลวงพ่อว่า

“ผมจะมาขอขึ้นครูกรรมฐานกับท่าน ได้ทราบว่าท่าน
สอนกรรมฐานเก่ง”

หลวงพ่อก็ถามว่า “คุณมีอาชีพอะไร” เขาตอบว่า
“ผมมีอาชีพในการประดิษฐ์สิ่งของขาย”

“ไหนคุณลองเล่าดูซิว่า ขณะที่คุณประดิษฐ์สิ่งของขายนั่นน่ะ
คุณคิดประดิษฐ์ของคุณอยู่นั่น

มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง” เขาก็เล่าให้ฟังโดยยกตัวอย่างว่า

“สมมติว่าผมจะสร้างตุ๊กตาสักตัวหนึ่ง ผมก็มาคิดว่าจะทำใบหน้าอย่างนั้น
ทรงผมอย่างนี้ รูปร่าง ลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ ผมก็คิดไปตามที่ผมจะคิดได้

คิดไปคิดมามันมีอาการเคลิ้ม เหมือนกับจะง่วงนอน แล้วก็มีอาการหลับวูบลงไป
รู้สึกหลับไปพักหนึ่ง ในขณะที่รู้สึกหลับไปพักหนึ่งนั่น จิตก็เกิดสว่าง

มองเห็นภาพตุ๊กตาที่คิดจะสร้างลอยอยู่ข้างหน้า ที่นี้จิตก็ดูของมันอยู่
จนกระทั่งแน่ใจ แล้วก็ถอนขึ้นมา ตื่นขึ้นมาจากภวังค์”

…ในช่วงที่จิตมันวูบนั่น นอนหลับไปแล้วเกิดฝันขึ้นมา
ฝันเห็นตุ๊กตาลอยอยู่ต่อหน้า เขาก็มาสร้าง ตุ๊กตาตามที่เขาฝันเห็น

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ส่งออกขายในท้องตลาดก็เป็นที่นิยมแก่ลูกค้า
หลวงพ่อก็บอกว่า   “คุณ คุณทำสมาธิเก่งแล้ว

คุณไม่ต้องมาขึ้นครูกรรมฐานกับฉันก็ได้ ให้คุณทำสมาธิ
ด้วยการประดิษฐ์ตุ๊กตาของคุณต่อไป นั่นแหละคือสมาธิ

ที่คุณต้องการจะเรียนจากฉัน
ถ้าคุณต้องการจะให้สมาธิของคุณดียิ่งขึ้น
ให้คุณสมาทานศีล ๕ เสีย แล้วสมาธิของคุณจะเป็นไปเพื่อการละความชั่ว

ประพฤติความดี
ทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดได้





มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:23:15 am »






ทำสมาธิในการเรียนได้ผลอย่างไร

นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาในทุน
ที่หลวงพ่อส่งไปเรียนเอง ตอนแรกเขาไม่อยากจะไปเรียน

เพราะเขาคิดว่ามันสมองของเขาไม่สามารถจะเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้
หลวงพ่อก็เคี่ยวเข็นให้เขาไป ในเมื่อเขารับปากว่าจะไปเรียน

หลวงพ่อก็บอกว่า “หนูไปเรียนมหาวิทยาลัยต้องฝึกสมาธิ ด้วย”
เขาก็เถียงว่า “จะให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วต้องให้ทำสมาธิ

เอาเวลาที่ไหนไปเรียน” มันเกิดมีปัญหาขึ้นมาอย่างนี้
หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำว่าการฝึกสมาธิแบบนี้ไม่ขัดต่อการศึกษา

หลวงพ่อก็ให้คำแนะนำเบื้องต้นว่า “เมื่อเวลาหนูเข้าไปอยู่ในห้องเรียน
ให้กำหนดจิตให้มีสติรู้อยู่ที่จิตของตัวเอง ถ้าหากมีจุดใดจุดหนึ่ง

ที่จะต้องเพ่งมองก็เพ่งมองไปที่จุดนั้น เช่น กระดานดำ เป็นต้น
เมื่ออาจารย์เดินเข้ามาในห้องเรียน ให้เอาความรู้สึกและสายตาทั้งหมด

ไปรวมอยู่ที่ตัวอาจารย์ ให้มีสติรู้อยู่ที่ ตัวอาจารย์เพียงอย่างเดียว
อย่าส่งใจไปอื่น

…เขาใช้เวลาเรียนเพียง ๔ ปีก็จะจบแล้ว
ทีแรกเขาคิดว่าเขาอาจจะเรียนถึง ๖ ปีกว่าจะเอาให้จบได้

แต่มันก็ผิดคาดทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยน ความรู้สึกว่ามันสมองไม่ดี
มันเปลี่ยนเป็นดีขึ้นมาหมด ก็เป็นอันว่าเขาสามารถฝึกสมาธิ ให้จิตมีสมาธิ

มีสติสัมปชัญญะ
เพื่อเป็นการสนับสนุนการศึกษาที่เขาเรียน อยู่ในปัจจุบันได้


…ถ้านักศึกษาพยายามฝึกสมาธิแบบนี้ ผลพลอยได้จากการฝึก
ความเคารพ ความเอาใจใส่ ความกตัญญูกตเวที ความรู้สึกซึ้งในพระคุณ

ของครูบาอาจารย์
มันจะฝังลึกลงสู่จิตใจ เราจะกลายเป็นคนกตัญญูกตเวที
ไม่อาจลบหลู่ดูหมิ่นครูบาอาจารย์ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

เราก็มีแต่ความเคารพบูชาในครู อาจารย์ ลูกศิษย์ที่มีความเคารพในครูอาจารย์
การเรียน ทำให้เรียนได้ดีเกินกว่าที่เราคาดคิด





มีต่อค่ะ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 11:16:38 am »






การเรียนคือการปฏิบัติธรรม

วิชาความรู้ที่นักศึกษาเรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี่
มันเป็นสิ่งที่เราสามารถรู้ด้วยจิตใจ สิ่งใดที่เรา สามารถรู้ด้วยจิตใจ

สิ่งนั้นคือ"สภาวธรรม" สภาวธรรมอันนี้มันทำให้เราดีใจเสียใจเพราะมัน
เราท่องหนังสือไม่ได้เราเกิดเสียใจน้อยใจตัวเอง

หนังสือที่เราท่องนั่นคือสภาวธรรม เราจำไม่ได้
นั่นคือสิ่งที่มันไม่เป็นไปตามความปรารถนา

มันเข้าในหลักอนัตตา บางทีอยู่ดี ๆ เกิดเจ็บไข้
เราไปวิทยาลัยของเราไม่ได้ มันก็ส่อถึงอนัตตาอนิจจัง ทุกขังนั่นเอง


เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาฝึกสติสัมปชัญญะของเรานี้ให้มันรู้
พร้อมอยู่กับปัจจุบัน มันเป็นการปฏิบัติธรรม เดิน เรารู้

ยืน เรารู้ นั่ง เรารู้ นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เรารู้
เอาตัว รู้ คือ สติ ตัวเดียวเท่านั้น

แม้ในขณะที่เราเรียนหนังสืออยู่
เราตั้งใจจดจ่อต่อการเรียนในปัจจุบันนั้น

นั่นก็เป็นการปฏิบัติสมาธิ
ทีนี้ความรู้ ความเห็น ที่เราจะพึงทำความเข้าใจ

มันอยู่ที่ตรงไหน มันอยู่ที่กายกับใจของเรานี่
ทำอย่างไรกายของเราจึงจะมีสุขภาพอนามัยเข้มแข็ง

ทำอย่างไรจิตใจของเราจึงจะปลอดโปร่ง

เมี่อมีปัญหาขึ้นมา ทำอย่างไร..เราจึงจะมี สติปัญญา
แก้ไขปัญหาหัวใจของเราได้


นี่มันอยู่ที่ตรงนี้ที่เราจำเป็นต้อง เรียนให้มันรู้





มีต่อค่ะ