ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2016, 02:56:00 am »




อธิษฐานจิตดับฤทธิ์ไฟ!! แม้แต่ "ความร้อนทะลักจุดเดือด" ยังอุ่นลงถนัดใจ...เมื่อได้สัมผัสกับ "กระแสจิตเย็นชุ่ม" ของ สมเด็จพระญาณสังวรฯ!!

เรื่องอัศจรรย์ต่อไปนี้เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับไฟใน "พิธีหล่อพระ" ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่ง "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" ทรงเป็นองค์ประธานเททองด้วยพระองค์เองอยู่หลายคราว

ครั้งหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระญาณสังวรฯ เสด็จมาประทับบนพระเก้าอี้ในปริมณฑลพิธีเรียบร้อยแล้ว เจ้าพนักงานก็ยกเอาเบ้าหลอมโลหะมงคลที่ร้อนจัดเข้ามาใกล้ ๆ เพื่อให้ทรงหย่อนชนวนเททองตามปกติวิสัย  แต่เผอิญมีผู้หญิงคนหนึ่งไม่รู้นึกอย่างไร เพราะแทนที่จะเอาแผ่นโลหะปกติธรรมดาใส่ลงไปกลับเอา "ทองคำเปลว" คลี่ออกจากกระดาษหุ้มแล้วเคาะ ๆ หมายจะให้แผ่นทองคำเปลวนั้นหล่นลงไปในเบ้าเททองให้จงได้

แต่เพราะตามสภาพของทองคำเปลวนั้นมีความแบบบางและอ่อนเบาอย่างยิ่ง  ยิ่งเมื่อต้องลมต้องความร้อนที่มากระทบก็ลอยไปลอยมา ไม่ยอมหล่นลงในเบ้าหลอมอย่างใจนึกง่าย ๆ ได้ ... ดูพิพักพิพ่วนทุลักทุเลเต็มที



ท้ายสุด ทองคำเปลวเจ้ากรรมแผ่นนั้นก็ลอยไปติดอยู่ตรงที่ข้าง ๆ เบ้าเททอง ซึ่งในตอนนั้นบุคคลท่านหนึ่ง (ผู้เล่าเรื่องนี้) กำลังนั่งเฝ้าอนุโมทนาบุญอยู่ข้าง ๆ พอดี

บุคคลท่านนั้นนึกในใจว่า

"จะทำอย่างไรดีล่ะนี่? ... จะปล่อยให้ทองคำเปลวติดอยู่ข้างเบ้าต่อหน้าสมเด็จพระญาณสังวรฯ ก็ใช่ที่ ... ครั้นจะเอื้อมไปหยิบให้ลงไปในเบ้าที่ร้อนจัดถึง ‘พันกว่าองศา’ ด้วยมือเปล่า มือของเรานี้ก็น่าที่จะ ‘งานเข้า’ เอาได้ง่าย ๆ"

แต่ท้ายที่สุดก็ตัดสินใจเด็ดขาดว่า

"เป็นไรก็เป็นกันสิน่า... จะลองถวายมือเป็นพุทธบูชาดูสักครา... จะสักขนาดไหนกันเชียว!!"

อยู่ต่อหน้าเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระญาณสังวรฯ ที่ทรงเคยเพ่งไฟไหม้ใหญ่จนมอดดับมาแล้ว พระคุณของท่านคงจะช่วยให้ปลอดภัยได้เป็นแน่

ว่าแล้วก็เอื้อมไปหยิบแผ่นทองคำเปลวที่ติดอยู่ข้างเบ้าหลอมให้เลื่อนตกลงไปในเนื้อโลหะที่หลอมเหลวและร้อนจัดด้วยมือเปล่าในทันที ทั้ง ๆ ที่เตรียมอกเตรียมใจไว้เรียบร้อยแล้วว่าต้องร้อนจัดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงเป็นอื่นไปได้

แต่ปรากฏว่า  ในทุกขั้นตอนที่เอามือไปคีบทองคำเปลวแล้วเลื่อนไปลงในเบ้าที่มีโลหะหลอมเหลว โดยปลายมือห่างจากโลหะหลอมเหลวพันกว่าองศาเพียง ๑-๒ นิ้ว เพื่อให้การทรงเททององค์พระลุล่วงไปด้วยดีในครั้งนั้น ... ช่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก!

ทั้ง ๆ ที่ควรจะแสบร้อนเจียนไหม้หรือร้อนรนจนทนไม่ได้ แต่คราครั้งนั้นกลับรู้สึกเพียงแค่ "อุ่น ๆ" อย่างสามัญ ... ผิดปกติธรรมดาตามที่ควรและน่าจะเป็นอย่างมากถึงมากที่สุดเลยทีเดียว!!

ในใจก็นึกรู้ได้ทันทีว่า งานนี้สมเด็จพระญาณสังวรฯ ท่าน "ดับพิษไฟ" ให้ได้แจ้งตัวแจ้งใจแบบจะจะและเห็น ๆ เป็นแน่แท้แล้ว!!


สมเด็จพระญาณสังวรฯ

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/210017/