ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 03:00:32 pm »



มุมกาแฟยามเช้า 25/5/17
ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ของความเป็นมนุษย์
ไม่ใช่ชนะภายนอก เพียงอย่างเดียว
แต่ชนะ จิตปรุงแต่งภายในตัวเราเอง
คือชัยชนะ ของสติปัญญา ปรีชาญาณฉลาดเลือก
ที่ตื่น รู้ สว่าง สงบ สงัด เบิกบาน มั่นคง ว่องไว มีพลัง
มาดูแลจิตปรุงแต่ง ให้เลิกสร้างอารมณ์ทุกข์
ซ้ำเติม เวทนา สภาวะทุกข์ ที่ปรุงแต่งเป็น"ตัวเรา"
เกิดจาก
มีวิสัยทัศน์
ฝึกสติติดตามลมหายใจ
กำหนดรู้
ดูปัจจัยปรุงแต่ง
และแยก ออกจากกัน
จนเหลือแต่ความว่าง จากอุปทานในสังขาร (วิสังขาร)
1.ชนะความคิด
2.ชนะอารมณ์
3.ชนะอุดมคติ
4.ชนะความรู้
5.ชนะสัญชาติญาณดิบ
6.ชนะอวิชชา
ของตนเอง
..
..

Originally shared by Suraphol Kruasuwan
55555+
"แค่ ลมปากพัดผ่านเบาๆ
ไฟในอกก็คุกรุ่นแล้ว"
ไปอ่านนิทานเซ็นกัน นะครับ
:http://palungjit.org/threads/รวมยอดนิทานเซน 禅, ぜん.294200/
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
"สุราอาหารผ่านลำไส้ ไม่เกี่ยวกับใจ"
พระเพี้ยน เป็นสมณ สายเซ็น มีชีวิตเมื่อ 600-700ปี
เต้าจี้ฉานซือ (จีนตัวย่อ: 道济禅师; จีนตัวเต็ม: 道濟禪師; พินอิน: dào jì chán shī) (1130–1207) หรือที่รู้จักทั่วไปในชื่อ จี้กง (จีนตัวย่อ: 济公; จีนตัวเต็ม: 濟公; พินอิน: Jìgōng, อาจารย์จี้) หรือ จี้กงหัวฝอ (จีนตัวย่อ: 济公活佛; จีนตัวเต็ม: 濟公活佛; พินอิน: Jìgōng huófó "จี้กงพุทธะผู้ยังมีชีวิต") เป็นพระภิกษุชาวจีน นิกายฉาน (เซน) สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีนามเดิมว่า หลี่ ซิวหยวน (李修元 บางแห่งเขียนเป็น 李修缘)
...........................................................
หลี่ ซิวหยวน บวชเป็นภิกษุที่วัดหลิงอิ่น เมืองหางโจว มีพระอาจารย์ฮุ่ยหย่วนเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่าเต้าจี้
แม้เป็นภิกษุ แต่พระเต้าจี้มักมีพฤติกรรมแปลกจากจารีต คือชอบฉันเนื้อสุนัข ดื่มสุรา ครองจีวรที่เป็นผ้าขี้ริ้วสกปรก จึงคณะสงฆ์ถูกขับออกจากวัด และใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ข้างถนน แต่พระเต้าจี้มีจิตใจดี ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ เช่น เจ็บป่วย หรือถูกรังแก จึงเป็นที่นับถือของประชาชน นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าท่านสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ และเชื่อว่าท่านเป็นพระนนทิมิตร หนึ่งในพระอรหันต์สิบแปดองค์กลับชาติมาเกิด
หลังจากพระเต้าจี้ถึงแก่มรณภาพในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1207 ลัทธิเต๋าได้ยกย่องท่านเป็นเทพเจ้า จากนั้นไม่นานคณะสงฆ์จึงรับรองความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน(วิกีพีเดีย)
.......................................................

ตำนาน กล่าวว่า ท่านสามารถ กลับใจ คนห้าคน
ที่ พระโพธิสัตว์กวนอิม โปรดไม่ได้
(คือ อย่าใช้ความเมตตากับบุคลิกภายในใจเรา)

1.โสเภณี
ความหลงไหลในราคะ แผ่เมตตาไม่ได้
เพราะ เมตตากับราคะ เป็น พลังดึงดูดพวกเดียวกัน
เพียงแต่ เมตตารับใช้กุศล
ราคะรับใช้อกุศล

2.มหาโจร อมหิต
มนุษย์เป็นนักล่าโดยกำเนิด
การเบี่ยงเบนพฤติกรรม ไปล่า
ลาภ ยศสรรเสริญ สุขทางวัตถุ
แทนการล่า มนุษย์ ด้วย วาจา ใจกาย

3.เศรษฐี ขี้งก
หิตายะ สุขขายะ
การช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุขเราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย
และสุดท้ายคือ จาคะ
คือทิ้ง ทั้ง อสาวะ(ยึดติดในกิเลส ตัณหา ความชั่ว)
สาวะ(ยึดติดในความดี)

4.พระทุศีล
พระแท้ อยู่ที่ใจ
อย่าให้ลูกชาวบ้านที่ห่มเหลือง
ลวงตาว่าเป็นพระ

เพราะพระแท้ต้องมีสมณสัญญา
-เราเป็นสมณะเพศมีเพศต่างจากชาวบ้าน
-เราอาศัยข้าวสุกชาวบ้านอยู่
-เราฝึกตนเป็นอาริยะบุคคลแล้วยัง
-เรา ไม่เอาของที่ชาวบ้าน มอบให้เรา
ไป หมุนเวียนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้จำเป็น
เป็นของตน และพวก
(พุทธทาส)

5.ขอทาน
คือ ความเกียจคร้าน มองโลกด้วย
อภิชฌา และโทมัส
มองโลก ด้วยความอิจฉา น้อยเนื้อต่ำใจ
มือไม่พายเอาน้ำเท้าราน้ำ
................................

โสเภณี มหาโจร เศรษฐีขี้งก พระทุศีล ขอทาน
คือบุคลิกภาพที่อยู่ในตัวเราทุกคน หรือไม่ใช่ 55555+
.................................
จี้กง เป็นสัญญาลักษ์ของสมณะแบบเซ็น
คือ มี ญาณ ฌานทุกขณะจิต
สติปัญญา ว่องไวดุจสายฟ้า
หลักธรรมแข็งแรงมั่นคง ดุจเพชร
ไม่ใช่ จิตดังแผลเก่า สาธุ
..
..
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
เซ็น ความหมายเดียวกับฌาน..
มีฌานทุกขณะจิต
ฌานคือความหนักแน่น ของ
อารมณ์ และสติปัญญา
(อารัมมณูปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน)
1.อารมณ์สงบเย็น เบิกบาน มั่นคง
2.สติปัญญา เห็นความไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ ของทุกสรรพสิ่ง
และวางอุปทานนั้นลง สาธุ

........................................................

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
# [7] ฌาน 2 (การเพ่ง, การเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ - meditation; scrutiny; examination)
       1. อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 - object-scrutinizing Jhana)
       2. ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล - characteristic-examining Jhana)

       วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์
       มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ
       ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง
       ฌานที่แบ่งเป็น 2 อย่างนี้ มีมาในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา. #


The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

..
..
Suraphol Kruasuwan
The Zen - วิถีเซน
Oct 20, 4:28 AM

มุมกาแฟ ยามเย็น 19/10/17
.......คุยกันเรื่องเซน......
โรนิน(ซามูไรไร้นาย) สองคน โดนทั้งฝน และหิว
จึงแวะ อาศรม หลวงพ่อดี
หลวงพ่อ ก็ ต้มข้าว ใส่เห็ด ถั่ว เท่าที่มี อิ่มแปร์
สักพัก มีโจยท์(ศัตรูเก่า) มาสอง
หลวงพ่อจึงให้ไปซ่อนตัวในห้อง ข้างหลัง
มาถึงก็ ถามว่า มีอะไรกิน
หลวงพ่อก็บอกว่า มีข้าวต้มเหลือ
กินไปอิ่มแล้ว ก็ถามหลวงพ่อว่า บวชนานแล้วยัง
...จำไม่ได้
...พระยวนนี่หว่า ชักดาบ
...เพื่อน อีกคนก็ห้าม แล้วบอกว่า เดินทางต่อ
...สักพักหลวงพ่อ ก็บอกว่า โยมจะเดินทาง ก็เดินทางต่อได้
มาที่นี่เห็นอะไรบ้าง
โรนินจึงตอบว่า
เห็นสวรรค์ และนรก
เห็นสวรรค์ ตอนไหน
ตอนที่หลวงพ่อ เลี้ยงข้าว
และเห็นนรกตอนไหน
ตอน นักดาบ กำลังชักดาบ
55555+
จบแบบนี้แหละ
..
..


Suraphol Kruasuwan
The Zen - วิถีเซน
13.5.2561
! No longer available
เซ็น มีฌานทุกขณะจิต
ฌาน แปลว่า หนักแน่น มั่นคง
ทั้งอารมณ์ และ สติปัญญา
เซ็นมีวิธีสอน ชนิดหนึ่ง ชื่อ "โกอาน"
คือปริศนาธรรม เอาไปตีความเอาเอง
........................
จิตปรุงแต่ง ที่สร้างเพลิงอารมณ์ทุกข์
ใช้ สองสิ่ง
1.กิเลสกาม ที่อยู่ภายในตะกอนจิต
2.วัตถุกาม คือ ปรากฎการณ์ที่ อยู่ข้างนอก

เสียงของการตบมือข้างเดียว
คือ ใจไม่มีกิเลสกาม ก็ไม่มีการปรุงแต่ง เพลิงอารมณ์ทุกข์
แม้นว่า ทั้งโลก จะอุดมด้วย วัตถุกาม
ชีวิตก็จะ"เย็น" เช่นนั้นเอง
สาธุ สาธุ สาธุ
สมหวังในสิ่งประเสริฐทุกท่านนะครับ
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 01:23:02 pm »



ภาษาคน ภาษาธรรม
อ.พุทธทาส ผู้ เรี่มเอาคำสอนแบบเซน มาสู่สังคมไทย
อธิบาย ภาษาคน กับภาษาธรรม ซึ่ง
สาระ มีความหมายที่ชาวโลกเข้าใจ กับความหมาย ทางธรรมะ จะต่างกัน
เช่น"โกอาน" ปริศนาธรรม ที่ชาวเซนใช้ คู่กับ ซาเซน(ฝึกสมธิแบบลืมตา)
......................................
ได้ยินพระรูปหนึ่ง ตอบปัญหาในทีวี
-อยากจะไปนิพพาน ทำอย่างไร?
-แค่อยาก ก็ผิดแล้ว
ถ้าเป็นชาวเซน ก็จะเข้าใจ
แต่เป็นชาวบ้าน ก็จะคิดว่า "ต้องไม่อยาก แม้นจะอยากพบนิพพาน"
จะหลงทาง คิดแต่จะหยุด ไม่ก้าวหน้าในการ ขยันฝึกตน

จริงๆ ความอยาก มีสองแบบ
1.อยากโดย อธิจิต
มีกิเลส ตัณหาอุปทาน ปรุงแต่งจริต  ผลัก เช่น
อยากชนะ อยากยิ่งใหญ่ อยากเป็นอมตะ อยากยึดติด อยากทำลาย
2.อยากโดยโพธิจิต
อยากจะเข้าใจ ธรรมะที่สูงละเอียดขึ้น
อยากเข้าสู่วิมุติธรรม
อยากช่วยให้ชีวิตอื่นพ้นทุกข์
เป็นความอยากที่ เป็นกุศล และช่วยละอกุศล จน ถึงชำระใจให้วิสุทธิ์
สาธุ
..
..

https://www.youtube.com/watch?v=LxPNcovXKdg
ภาพลวงตา
ทุกสิ่งเป็นภาพลวงตาจากมายาธรรมชาติ
การมองผ่าน กฎไตรลักษ์ อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา
ทำให้ สติปัญญาฉลาดเลือกตื่น และปรับตัวอยู่กับโลก
แบบผู้ชนะ สิ่งเร้า และอารมณ์ภายในตน สาธุ
..
..

https://www.youtube.com/watch?v=BW31YyMeoio
เซน ก็เหมือน วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในโลก
นานๆไป ก็จะมี ความคิดเห็น และวัฒนธรรมเดิมของ อาจารย์แทรกเข้ามา
กลายเป็นรูปแบบใหม่ๆ ศิลป์ ที่อยู่อาศัย การใช้ชีวิตจนไกลแก่นแท้ของเซน
ที่การมี ญาณ ฌาน ทุกขณะจิต จิตว่องไวดุจสายฟ้า
จิตมีเจโตวิมุต ปัญญาวิมุติ ทุกปัจจุบันขณะจิต
สรุปไปติดรูปแบบ แต่ละสำนัก แทนที่จะเข้าถึงแก่นแท้
 ที่ตนเองต้องฝึกปลุก สติ สมาธิ จนโพธิปัญญาตื่น ด้วยตนเอง
สาธุ
..
..
บางเรื่องสำหรับบางคน
แม่น้ำไม่เคยไหลไปสู่ผู้หิวกระหาย
มีวรรรณกรรม นอกพระไตรปิฎก เล่าถึง
พระพุทธเจ้า เตือนเหล่าสาวก ที่ออกไป เผยแพร่ ธรรมะ
เพื่อการชนะ อุปทานที่สร้างอารมณ์ทุกข์ว่า
ไม่ควรสนทนาธรรมะ ในกรณีต่างนี้
1.ผู้ยืนค้ำหัว(ไม่มีสัมคารวะ)
2.ผู้ถืออาวุธ(ในการดื่มชาแบบพิธีเซน จึงเก็บดาบก่อน)
3.ผู้มีกิจเร่งด่วน
4.ผู้ทุกข์ทรมาน เจ็บป่วยสาหัส
5.เด็กไม่รู้ความ
6.สาวเทื้อ(น่าจะหมายถึงพวกวัยฮอร์โมนว้าวุ่น)
7.วันนี้ขอแถม ว่า พวกอีโก้สูง
หลงใน ยศ อำนาจ วานา บารมีเทียมๆ ครับผม
.....................................
ภาพจากอวกาศทะเลแดง ทะเลอาหรับ ขอบคุณเจ้าของภาพครับผม
..
..
ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything
"เราไม่สามารถหาความจริงแท้ได้จากการสังเกตุการณ์
 เพราะแค่ไปดู มันก็เปลี่ยนตัวตนและสถานะของมันไปก่อนแล้ว
 ทุกสิ่งไม่เคยเกิดขึ้นจริง มีอยู่จริง จนกว่าเราจะไปสังเกตการณ์มัน!"
เหมือนโกอาน(ปริศนาธรรม)ของชาวเซน
..
..
ทุกขณะจิตของชาวเซน คือ
มีสติตื่น ปัญญาเห็น คุณค่าความสงบ สงัด สันโดษ สมถะ กรุณา วาง
ว่าง จากอุปธิทั้งปวง จนพบ
กายวิเวก
-จิตตวิเวก
 อุปธิวิเวก
เป็นความรู้สึก ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง
......................................
 อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา นี้ได้แก่ อุปธิ ๔ อย่าง คือ
๑กามูปธิ (อุปธิคือกาม)  คือความติดในสิ่วที่พอใจ เข้าครอบครองจิต
๒ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์) ความหลงในชีวะยนต์ที่ประกอบเป็นเรา คืออัตตา
๓กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) คืออารมณ์ ที่ทำให้จิตขุ่น ร้อนรน เศร้าหมอง พยาบาท
๔อภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร) คือความคิดปรุงแต่ง ให้หดหู่ ฟุ้งซ่าน
เพราะขาด สัมมาสติโพธิปัญญากำกับ
และ ปรีชาญญาณฉลาดเลือก หลับอยู่
......................................
การจะพบ กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก อยู่ที่การฝึกต่อเนื่องยาวนาน
จนกลายเป็นธรรมชาติ ธรรมดา ของ ชีวิตตนเอง สาธุ
..
..
ซาเซ็น (Zazen)
เป็นหนึ่งในหลัก ปฏิบัติ ของชาวเซน
คือ การทำสมาธิแบบลืมตา
แต่จริงๆคือการหรี่ตาก้มมอง
ทอดสายตาห่างจากตัวประมาณ หนึ่งศอก หนึ่งคืบของตนเอง
ซาเซนจะรับรู้ปรากฎการณ์ภายนอก
 และรู้ถึง ปรากฎการณ์ ที่เกิดในจิต
ในทุกปัจจุบันขณะ พร้อมๆกัน
เมื่อพบ การปรุงแต่งจิต ในทางอกุศล(อาสวะ)
 กุศล(สาสวะ) ก็ดี ก็ปล่อยว่าง
ให้จิตดิ่งสู่ความ ว่าง จนพบประสบการณ์"วิสังขาร"
คือไม่มีการ ปรุงแต่ง ให้เกิดอุปาทานทุกข์
เป็นอนาสวะ
https://plus.google.com/+SurapholKruasuwan/posts/FGJKPnAcqYJ
มีนิทานขำๆ ของชาวเซนเรื่องหนึ่ง
วันหนึ่งศิษย์เซน จอมขี้ยั๋ว มาปรึกษา อาจารย์ ช่วยแก้อารมณ์โทสะในตน
อาจารย์ ก็ให้ไปทำซาเซน และจินตนาการว่า
ตนเองเป็น มหาเมตตากรุณา
ประดุจหนึ่ง น้ำ ไอน้ำ เมฆ ฝน ที่นำความสดชื่น ชื่นฉ่ำ
มาแบ่งปันให้ ทุกสรรพชีวิต ไม่มีอคติ มายาคติ
ผ่านไปหนึ่งคืน ศิษย์ ก็ หน้าบาน มากราบลาอาจารย์
"อาจารย์ครับ จิตเมตตาเสมอน้ำของกระผม บรรลุแล้วครับ"
"เธอก็เจริญ เมตตา กับปัญญา จนสติ รู้ทันไม่ปรุงแต่งอารมณ์โกธร ได้อีก"
"ครับผม ผมจะเป็นน้ำ น้ำฝน ธารน้ำ
ให้ความสุข สดชื่นชีวิตชีวา แด่ทุกสรรพสัตว์
ยกเว้น คนข้างบ้าน เพราะผมคิดว่า มันเอี้ยสุดๆ"
55555+
..
..

ประสบการณ์ของความตื่น  "ซาโตริ" หรือภาวะรู้แจ้ง ของเซ็น
ถ้าจะเปรียบกับ ทางเถรวาทคือ การ ตื่นของปรีชาญาณฉลาดเลือก
ที่พัฒนาการมาตามลำดับ จน เข้าใจแจ้ง ในปรากฎการณ์ในจิตตน
และสัมมาสติ โพธิปัญญาตื่น มาล้างขยะปรุงแต่งจิต
จนไม่เหลือเชื้อแห่งอุปาทานทุกข์ หมดอารมณ์ทุกข์ อย่างถาวร

ดวงตา เกิดขึ้น(มีวิสัยทัศน์ใหม่)
ญาณ เกิดขึ้น(มีความรู้ใหม่ ที่เกิดจากสติปัญญา เห็นวงจรสร้างอารมณ์ทุกข์ และทางดับ)
ปัญญา เกิดขึ้น(มีปัญญาที่พัฒนายกระดับ จากโลกียะ สู่โลกุตตระ)
แสงสว่าง เกิดขึ้น
( การตื่น ของปรีชาญาณฉลาดเลือก หรือการตื่นของจิตแท้จิตเดิม มากุมสภาพจิตปรุงแต่ง)
"ซาโตริ หรือการบรรลุโดยไม่เนิ่นช้า จึงเป็นประสบการณ์ตรง ของแต่ละคน"
ที่ดับอารมณ์ทุกข์ ด้วยตนเอง
จากจิตปุถุชน แบบ แผลเก่า
เป็นจิต ทีว่องไวดุจสายฟ้า
มาเป็นจิต ที่แข็งแกร่ง ประดุจเพชร
คือการพัฒนา ยก ระดับภูมิจิต ภูมิธรรม ภูมิปัญญา..ที่เป็นหัวใจของพุทธรรม
ไม่ว่าจะเรี่มต้นจาก คำสอนอาจารย์ ลัทธิ นิกายใดๆ สาธุ
..
..
เซน เป็นการปลุก"วิชชา"ให้ตื่นจนรู้แจ้งจิตตนเอง
ควบคุมจิตปรุงแต่ง สู่ทางสว่างได้
ไม่ใช่"วิชา" ที่เราเรียนรู้ เกิดความรอบรู้ทุกสิ่ง แต่ไม่มีสติรู้
ความคิด อารมณ์ อุดมคติ ความรู้ สัญชาติญาณ ที่ปรุงแต่ง"ตัวตนเทียม"
ที่เราคิดว่า เป็น"เรา" และวางอุปทานนั้น ลงอย่างถาวร
..........................................................
https://plus.google.com/+SurapholKruasuwan/posts/bmC4xdZxxmY
..
..
เซน มีฌาน ทุกขณะจิต คือมีสติที่แข็งแรง
เมื่อมีฌาน ญาณ คือปัญญา ที่สามารถเอาความรู้มาใช้ ก็จะตามมาด้วย
สติ ปัญญา มาจากการฝึกๆๆๆๆ จนกลายเป็นทักษะ
"ศีลห้า มีอะไรบ้าง?"
"เด็ก ก็รู้"
"ใช่เด็กรู้แต่ผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ทำไม่ได้?"
เพราะ จำได้ แต่ไม่เคยฝึก สาธุ
..
..

ดอกไม้จัดคน
https://www.youtube.com/watch?v=oOOEU3O-FQI
สิ่งที่เราครอบครอง มองอีกมุม คือเจ้านายเรา สาธุฃ
..
..
การใช้ชีวิต ตามธรรมะ มีลำดับ
1.ระดับ ที่เป็นธรรมชาติทั่วไป
คือยังตกอยู่ในอำนาจ ของคู่(นันทวันธรรม)
คือ ทุกข์/สุข.....ดี/ชั่ว.....ชอบ/ชัง....ชาย/หญิง....
ที่จิตปรุงแต่ง(อธิจิต) ซึ่งความคิดเป็นหัวหน้า

2.ระดับ สติปัญญาฉลาดเลือก กุมภาพจิตปรุงแต่งได้แล้ว
สติปัญญา อยู่กับ ปัจจุบันทุกขณะจิต
หรือ มีฌาน ญาณทุกขณะจิต....นั่นคือชีวิตแบบ เซนแท้ สาธุ
ก็เห็น ทุกกระแสธาตุ ธรรม และปรับตัวอย่าง ไม่เป็นตามอำนาจของคู่

ใช้สติปัญญาฉลาดเลือก และวาง ทุกอย่างไว้ตรงนั้น
ไม่เก็บมาแบกให้หนักใจ
"แบก ก็หนัก
วางก็เบา
ไม่เอาก็หลุดพ้น(จากทุกอุปาทาน)"
..
..

ภาพจาก>ก่อพงศ์ T.chaiyo
>>หนังสือ ปรัชญาจากภาพ โดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์
...ขอบคุณครับ....
The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 01:20:26 pm »



Originally shared by Suraphol Kruasuwan
มุมกาแฟ เช้า 21/5/17
"พวกเธอ จงท่องไปในหมู่คาม
ใช้ชีวิตสมณะ เห็นคุณค่า
ความสงบ สงัด สันติสุข สันติธรรม
ดั่งผี้เสื้อในอุทยานดอกไม้
มีปีกเสรี ดื่มด่ำกับน้ำหวาน โดยไม่ทำให้ดอกไม้ชอกช้ำ"
(พุทธพจน์)
https://www.youtube.com/watch?v=ObrLvszJQh8

หลวงพ่อ อ.พุทธทาสภิกขุ
เป็นผู้เปิดโลกทัศน์ ให้คนไทยรู้จัก คำสั่งสอนของพุทธเจ้า
จากนิกายเซ็น ที่ผ่านจากอินเดีย จีน สู่ญี่ปุ่น
โดย ท่านนาคารชุนะ ที่เน้น
สติปัญญา สมาธิ ตื่น เห็นอนัตตาธรรมทุกลมหายใจเข้าออก
คือแก่นแท้ ของ พุทธรรม
เซ็น มาจากคำว่าฌาน คือ มีความหนักแน่นทุกขณะจิต
หนักแน่นในโพธิจิต โพธิปัญญา และโพธิธรรม ที่ตื่นแล้ว
อยู่เหนืออารมณ์ ทุกข์ สุข กลัว หดหู่ ฟุ่งซ่าน ลังเล

1.โพธิจิต คือจิตที่มีความสุขจากการเอื้อเฟื้อแบ่งปัน
ให้ชีวิตอื่นเป็นสุข ตรงกับ
"หิตายะ สุขายะ"การช่วยให้ชีวิตอื่นเป็นสุข
เราก็รับอนิสงค์สุขนั้นด้วย

2.โพธิปัญญา
เซ็น บอกว่า มนุษย์มีสองจิต
-จิตปรุงแต่ง อธิจิต เป็นจิตที่ต้องคิด พูด ทำ ธรรมดา
-จิตแท้จิตเดิม โพธิปัญญา เป็นจิตที่สว่างราวดวงอาทิตย์พันดวง
ส่องเห็น อนิจจัง ทุกขขัง อนัตตา ในทุกสรรพสิ่ง
หรือเห็นความไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่แท้ ของสิ่งที่มีการเกิด
ทุกครั้งที่สัมผัส โลก ธรรม ที่มีคนรู้วิธีปลุกให้ตื่น
หรือหลับ อยู่ใต้อิทธิพล อธิจิตจนตาย

วิธีปลุกของเซ็น เช่นการขบคิดปริศนาธรรม(โกอาน)
เช่น"เสียงจากการตบมือข้างเดียว"
หรือการทำสมาธิแบบลืมตา (ซาเซ็น)
หรือ มีสติทุกลมหายใจเข้าออก เห็น การทำงาน
จิตปรุงแต่ง คือ เห็นความคิด อารมณ์ อุดมคติ ความรู้
ปรุงบุคลิกภาพต่าง ตลอดเวลา และ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวเรา ของเราจริงๆ

3.โพธิธรรม หนักแน่นเหนือทุก อารมณ์ที่มนุษย์รู้จัก
ธาตุเซ็นคือ ธาตุเด็ดเดียว มีอารมณ์ขัน
เป็นศูนย์กลาง เหนือ ชอบ ชัง ทุกข์ สุข กลัว
เพราะมีโพธิธรรม ที่เป็น อริยธรรม อยู่เหนือ
โลกุตระธรรมปรมัตถ์ธรรม โลกียะธรรม ทุกขณะจิต
เช่น มีอาจารย์เซ็น สามท่าน ดื่มน้ำชา วันฝนตก
ฟ้าผ่าเปรี้ยง ลงใกล้ๆ ต่างหัวเราะ พร้อมกัน....55555+
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ดังนั้น ใครมีโพธิจิต โพธิปัญญา โพธิธรรม ที่ตื่นตลอดเวลา
ชีวิตมีชีวาทุกขณะจิต
-มีสุขจากจิตเอื้อเฟื้อ
-มีปัญญาเห็นไตรลักษ์
-มีอารมณ์ขัน ต่อมายาโลก ธรรม
ก็พอจะเป็นศิษย์เซ็นได้บาง สาธุ
..
..

เล่านิทานเซน เด็กในวัดเซน
https://www.youtube.com/watch?v=qKUJMW4lrQI&list=PLd91rcaNKk5_pCJZSkTyf1e9g9dsHSOFb&index=4
..
..
คาดวัดเซนในญี่ปุ่นหลายหมื่นแห่งอาจปิดตัวลงใน 25 ปี
https://www.youtube.com/watch?v=kyba02mp4Ug
เซน เป็นปรัชญาชีวิต ที่รวมแนวคิด พุทธมหายาน เต๋า ขงจื้อ บูชิโด ของญี่ปุ่น
แต่ เวลาผ่านไป ก็มี"วัด" และ"ใหญ่โต" และ"พิธีกรรม"ที่ไกลจากอุดมคติ
และ กลายเป็น"ภาระ" แทนที่จะปลดเปลื้องภาระ จนเข้าสู่"ความว่าง"
.....เสียงขลุ่ย ย่อมกับไปสู่กอไผ่
.....ภาพจากคลิป ธรรมชาติ และกิจมนุษย์
https://www.youtube.com/watch?v=19uks0YagCY
..
..
Samsara :May 31 2016
https://www.youtube.com/watch?v=rVc0bk2sDW8
Samsara วัฏฏะสงสาร
การเวียนว่าย ตายเกิดของทุกข์และธรรม
..........................................
ในการประสบธรรมะ ระดับชนะดับเหตุแห่งการปรุงแต่งสร้างอารมณ์ทุกข์ได้ สูงสุดคือ
ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ
ผู้ แตกฉานโลก
แตกฉานธรรม
แตกฉานภาษา
มีปฏิภาณไหวพริบ
เพราะมีประสบการณ์ตรงทั้งโลกและธรรม

ย่อมมีโอกาส ที่ชนะวัฏฏะสงสาร
การหมุนเวียนของ ทุกข์ ที่ เกิด แก่ เจ็บตาย
เป็นบุคลิกภาพต่างๆในตัวเรา
เกิด ดับ วันละหลายแสนรอบ

เมื่อเราเอาสิ่งที่เราผัสสะ กับความทรงจำ ความอยาก
ความยึดติด ปรงแต่ง เป็นความรู้สึก อารมณ์
จนเราต้องสวมบทบุคลิกภาพนั้นๆ เพื่อการปรับตัว
แต่เราไม่เคยสังเกตุุเห็น และคนที่มีสมาธิระดับสูง
ก็อาจตามไปทั้น นอกจาก ปฏิบัติตามหลัก
ธรรมมะภาคปฏิบัติ สู่การบรรลุธรรมอันไม่เนิ่นช้า
นิปปปัญจธรรม(โพธิปักขิยะธรรม38)
..
..
รวม เซน
http://www.dhammajak.net/zen/2.html
..
..
ฝนอิฐเป็นกระจกเงา.
ศิษย์วอนถาม อาจารย์ ฐานร้อนใจ
"ทำอย่างไร ไปนิพพาน อาจารย์ขา"
"อ๋อ มันง่าย นี่กระไร บอกให้นา
คือคำว่า ฝนอิฐเป็น กระจกเงา"

"อาจารย์ครับ เขาคงว่า เราบ้าใหญ่
แม้ฝนไป ฝนไป ก็ตายเปล่า".
"นั่นแหละเน้อ มันสอนไห้ แล้วไม่เบา
ว่าให้เรา หยุดหา หยุดบ้าไป.

ไม่มีใคร ฝนอิฐ เป็นกระจก
ไม่ต้องยก มากล่าว เข้าใจไหม
นิพพานนั้น ถึงได้ เพราะไม่ไป
หมดตนไซร้ ว่างเห็น เป็นนิพพาน.

ถ้าฝนอิฐ ก็ฝนให้ ไม่มีเหลือ
ไม่มีเชื้อ เวียนไป ในสงสาร
ฝนความวุ่น เป็นความว่าง อย่างเปรียบปาน
ฝนอิฐด้านให้เป็นเงา เราบ้าเอง"ฯ
---
อันนี้เป็นปริศนาธรรมของเซ็น ทำอย่างไรจะไปนิพพาน
 คำถามนี้ตอบโดยการฝนหินให้เป็นกระจก
 ซึ่งหมายถึงการเสียแรงเปล่า ฝนไปจนตายหินก็ไม่อาจเป็นกระจก
 เช่นกัน การถึงนิพพานนั้นถ้ามีความคิดอยู่ว่าจะต้องมีการไป
 และ มีการถึง หรือต้องมีการปฏิบัติ
 และ มีการบรรลุ ก็ยังเป็นการคิดผิดอยู่
เพราะยังมีการแสวงหาอยู่จึงถึงนิพพานไม่ได้
 เพราะหมดการแสวงหาจึงจะถึงนิพพาน - อธิบายโดย ramsat

"ยิ่งวิ่งไล่ยิ่งยืดไกลออกไป นี่คือตัณหาล่ะ
 ให้เหนื่อยหอบ. ยิ่งอยาก "ยิ่ง" ไม่ได้ ;หยุด แม้อยากเป็นพระอรหันต์
;เพราะพระอรหันต์ คือ ผู้ "หมดอยาก" และเป็นผู้หยุดสนิทแล้ว.
 เอาธาตุอยาก วิ่งไล่ธาตุหยุดอยาก ฉันใด,
 ฝนอิฐเป็นกระจกก็เหนื่อยเปล่าฉันนั้น.

 ถ้าจะฝนต้องฝนให้หมดไม่มีเหลือ ไม่เป็นอิฐ
 ไม่เป็นกระจกอีกเลย." - อธิบายโดยท่านพุทธทาส
http://www.oknation.net/blog/all-about-rice/2009/07/04/entry-5
.............................................................................
ศีล..................................มีไว้ควบคุมสัญชาติญาณดิบ ไม่ตกต่ำสู่อบาย
สมาธิ..............................มีไว้ควบคุมอารมณ์ ให้เย็น มั่นคง
สติ ปัญญา......................มีไว้ควบคุมความคิด ไม่หลงในมายากระแสโลก
จิตแท้ จิตเดิม..................มีไว้ปลุกให้ตื่น มาควบคุมจิตปรุงแต่ง(อธิจิต)ฯ
..........................................................
ศีล.......................................ใช่มีไว้เพื่อ อวด อีโก้
สมาธิ................................,..ไม่ได้มีไว้โชว์ สิทธิอำนาจเหนือธรรมชาติ
สติ ปัญญา...........................ไม่ได้มีไว้ อวดอ้างความฉลาด
ยังตกเป็นทาส จิตปรุงแต่ง.....เสียเวลา เรียนรู้ พุทธธรรมฯ
..................................................
..
..
ศรัทธา..........ย้ายภูเขาได้(พระคริสธรรม)
ชาวเซน........ผู้มีฌานทุกขณะจิต
ต้องรุ้จักวิธีปกป้อง ศรัทธา ในยุค โฆษณา แบบล้างสมอง โดยสื่อนานาชนิด
ศรัทธา เกิดจาก
1.ความไม่รู้
ไม่รู้ทั้งสหวิชาการ(ความรู้รอบตัว)
ไม่รู้ ขบวนการปรุงแต่งของจิต ตนเอง
2.ความกลัว
เป็นจุดขายของ หลายลัทธิ ศาสนา การเมือง และ นักการตลาด
3.ความภักดี
ในสิ่งที่เรา ชอบ เชื่อ และได้ประโยชน์ มีจุดยืนในสังคม
4.รูปลักษ์ กิจกรรม บุคคลต้นแบบ เหนือมนุษย์ คนเหนือคน
5.หลักการ เหตุผล ระบบ ที่น่าเชื่อถือ
6.การตื่นของ ปรีชาญาณฉลาดเลือก
มาศึกษา เข้าใจเหตุผล ทดลองปฏิบัติ รับรู้ผลด้วยตนเอง
ทดลอง ทำซ้ำได้ ไม่ขึ้นกับเวลา
.............................................
เชื่อ ก่อนเกิดปัญญา ชีวิตยังไม่ปลอดภัย
เชื่อเมื่อ ปรีชาญญาณฉลาดเลือกตื่น
เราต้องฝึกฝนด้วยตนเอง
ปลุกปรีชาญาณฉลาดเลือกตื่น
เพื่อให้ เรามี"ฌานทุกขณะจิต"
เป็นชาวเซนที่แท้จริง สาธุ
(ขอบคุณเจ้าของภาพ)
..
..

"อย่างนั้นหรอกหรือ?"
       ปัญญาเซน : การไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก มีลาภ-เสื่อมลาภ
มียศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ ล้วนไม่จีรัง
จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมจึงจะเป็นมงคลชีวิตแก่ตน
       
       ที่มา : หนังสือ 《一日一禅》, 东方闻睿 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国电影出版史, 2004.8, ISBN 7-106-02204-7
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9550000014205


ภาพนี้ อ.พุทธทาส สวนโมกข์ ได้ แปลความหมายว่า
"ข้ามสะพาน ต้องข้ามก่อนแก่ เดี๋ยวแก่ยักแย่ยักยันข้ามไม่ไหว"
หมายถึงถ้าจะข้าม ห้วงมหรรนพ ที่มี กาม ภพ ทิฎฐิ อวิชชา
ต้องรีบฝึกข้ามตอนหนุ่มๆ สาวๆ นี่แหละ _May 19 2016
..
..
The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2016, 08:08:46 am »

                 

ตอบปัญหาแบบเซ็น(อ.พุทธทาส)
ช่วงปี 2521-2522 มีโอกาสอยู่ใกล้ชิด กับ หลวงพ่อพุทธทาส
ที่สวนโมกข์ 9เดือน ทุกวันศุกร์หัวค่ำ เป็นเวลา"พบท่านอาจารย์"
ใครมีปัญหาอะไร ก็ ถามท่านไ้ด้ ที่ถูกใจ มีหลากหลาย
วันนี้สรุปเรื่อง บุญ บาป โทษ คุณ

1.บุญ
วันหนึ่งมีคณะกฐิน ที่ไปทอดกระฐิน จากกทม. มาแวะ
และรายงานท่านอาจารย์
ถามว่า บุญอนิสงค์จากการทำกฐินมีมากแค่ไหน
ท่านอาจารย์จึงตอบแบบ เซ็นว่า
บุญคือใจที่ปกติ หากทำแล้ว ใจไม่ปกติ ก็ยังไม่ได้บุญ

2.บาป
มีโยม มาตัดสินใจ เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ทิ้งไว้ที่"บ่อเสือ"
นะ โรงปั้น ที่หลางตาไสวดูแล มากราบลากลับ
แล้วถามว่า บาป ที่เคยทำ เลิกแล้ว จะมีผลต่อชีวิตไหม
ท่านอาจารย์ ก็ตอบแบบเซ็นว่า
บาป กับตะบะ มาจากรากศัพย์เดียวกันคือ "บันใด"
บาป เป็นบันใด ลงสู่ที่เราจากมา
คือ ที่ร้อนๆ คืออบายภูมิ ต่ำสุดก็นรก
...ตะบะ เป็นบันใด
ที่นำชีวิตออกจาก ความวุ่น สู่ความสงบ สงัด
แต่ว่าตอนทำต้อง"เผา" ทิ้งขยะในจิตให้สิ้น

3.โทษ
มีครูพานักเรียนตัวน้อย มาถามว่า อะไรคือโทษ
ท่านอาจารย์ หัวเราะ แล้วบอกว่า
เอาประสบการณ์ตรง ลองเขกหัวตัวเอง แต่อย่าแรงมาก
แล้วอาจารย์ ถามว่า"เจ็บไหม?"
ทุกคนตอบว่าเจ็บ
ใช่เจ็บแน่ๆ อะไรที่ทำแล้ว เจ็บทั้ง กาย ว่า ใจ ตนและผู้อื่น
ล้วนเป็นโทษ ยกว้นความอดทนฝึกตนสู่ทางสว่างนะ

3. คุณ
อะไรคือคุณ ครูถามแทนนักเรียน
คุณคือสิ่งที่ทำแล้ว ให้ประโยชน์มาก
ทั้งเดี่ยวนี้ ต่อไป และสูงสุด
คุณสามง่ายๆ ที่ควรทำคือ
-รู้ว่าชั่วก็ละ
-รู้ว่าเป็นกุศล ก็เจริญให้ยิ่ง
-รู้ว่า ทำแล้ว จิตปกติเย็น มีสติปัญญา ก็ทำจนเป็นนิสัย
...............................................

บุญ บาป โทษ คุณ แบบเซ็น ของหลวงพ่ออาจารย์พุทธทาส
ใครเอาไปใช้ ท่านคง พอใจ ยินดี ขอบคุณกับพวกเราแน่ๆ
สมหวังในสิ่งประเสริฐ แข็งแรงทุกด้าน ดีด้วยกันทุกคนนะครับ..สาธุ

The Zen - วิถีเซน Discussion G+
Originally shared by Suraphol Kruasuwan
12.5.2016

Originally shared by Suraphol Kruasuwan _ June 2017
55555+
นิทานเซน ยามเย็น
นักธุรกิจ เครียดจาก ความไม่ได้ดังใจ
เพื่อนแนะนำ ให้ไปวัดเซน
ที่วัดก็ไม่ได้สอนอะไร แต่จัดที่พัก อาหารให้
อยู่ได้สามวัน ก็เกิด"ซาโตริ" บรรลุธรรม
หน้าบาน ไปหาหลวงพ่อ ลากลับ
"หลวงพ่อครับ ผมเข้าใจแล้วครั้บว่า
ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนว่างเปล่า
แต่ผม ก็ยังไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ควรจะวางภาระกิจลง
หลวงพ่อ "เอาโยมถือถ้วยชาไว้นะ"
หลวงพ่อ ค่อยๆรินชาร้อนๆ ใส่ถ้วยของโยม ไปเรื่อยๆ
จน โยมทนไม่ไหว ก็วางลง สบัดมือ 55555+
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
จบแค่นี้แหละ 55555+

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2016, 08:40:13 pm »

มุมกาแฟ
"จริงๆปู่ลิง ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ
อาจตกใจสำหรับบางคน
แต่นับถือ"ปรัชญาพุทธ" และเลือกเอา วิถีแบบ"เซน"
เป็นสารณะ มาหลายปีแล้ว
เพราะคำว่าศาสนา หมายถึงสิ่งที่เราพึ่งพา
มีหลายด้าน ทั้งศาสนาธรรม ศาสนาวัตถุ ประเพณี
พิธีกรรมที่งอกเงยตาม
ความเห็นของอาจารย์ที่สอน(อัตโนมติ)
มีทั้งชวนให้บ้าบุญ (เอาสวรรค์มาหลอกขาย)
เป็นนักสิทธิ(มีฤทธิ์ มีอำนาจ)
แทนที่จะเป็นพระอริยะ
พึ่งรูปเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์(เป็นวัฒนธรรมกรีก)
แทนที่จะพึง สติปัญญา เจตนาแท้ๆของพุทธเจ้า
คือ
1."พ้นเพลิงอารมณ์ทุกข์ เพลิงกิเลส"
ด้วยการฝึกล้างขยะในใจตนเอง
เลิกลงโทษ ผู้อื่น
และเร่งฝึกตน(คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร)
2.สุขจากการแบ่งปัน(หิตายะสุขายะ)
ทำหน้าที่ที่เป็นมงคลชีวิต"(มงคล คือโชคดีที่ต้องทำเอง)
3.ไม่ประมาทในสิ่งปรุงแต่ง
อันไม่เที่ยง ไม่แท้ ยึดแล้วทุกกินหัวใจเรา อิๆ
แต่ก็ยินดีเป็นมิตรกับ ผู้ที่เชื่อ ชอบ ในทุกศาสนา นะครับ
...........................................
ส่วนใหญ่ คนเรียนรู้เรื่องเซนจากนิทาน
ซึ่งจริงๆแล้ว เซนนั้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
เพราะจบด้วยคำว่า “ว่าง”
จบด้วยคำว่า “ไม่มีในมี”
คือ มีสภาวะแต่ไม่มีตัวตน
และวิถีชีวิตของเซนจะออกมาในรูปของนิทานหรือปรัชญา
จะไม่ต้องการคำอธิบายมากมาย
คือเซนจะให้ใช้ปัญญา คือนิ่งคิด
คือต้องการให้คนนิ่งมากที่สุด และพูดน้อยที่สุด 

Originally shared by Suraphol Kruasuwan
**************************

เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
เซนกับพุทธศาสนา ตอนที่ 1
22 พ.ค. 2558
 
        ตอนนี้กระแสของเซนนั้นกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวน  การจัดบ้านและการจัดห้องพระแบบเซน  เป็นต้น
 
        ความหมายของเซน  คือ  ปรัชญาหรือธรรมะขั้นสูงที่จะเป็นองค์ประกอบของคำว่าไม่มีอะไร  ซึ่งเป็นแนวทางการใช้ปัญญาที่พิจารณาสรรพสิ่งว่าไม่มีแก่น ไม่มีสาระ และไม่มีตัวตน
 
        และเป็นการใช้ปัญญาพิจารณา กายในกาย  ความหมายของกายในกายคือ  เรากลับไปพิจารณาว่า กายมีอะไรบ้าง และในที่สุด กายของเราก็ไม่เที่ยงเหมือนกับศัพท์คำว่า  ฝุ่นเกาะกระจก ต้องคอยเช็ดให้สะอาด  แต่ลองคิดว่า ถ้าไม่มีกระจกก็จะไม่มีฝุ่นมาเกาะ นี่เป็นวิธีคิดแบบเซ็น คือตัดที่ต้นตอ หรือรากเหง้า
 
        เซน นั้นเป็นลัทธิหนึ่งของญี่ปุ่น  ซึ่งคำว่านิกายหรือว่าลัทธิ จะเป็นลักษณะของปรัชญาที่เด่นในเรื่องอะไร  แต่ทุกอย่างจะอยู่ในเรื่องของสมาธิและการแสวงหาธรรมกับคำว่า “ไม่มี”
 
        ยกตัวอย่างนิทานเซน  มีพระอยู่  2 รูปและไปเจอผู้หญิงแต่งตัวสวยแบบผู้ดี ซึ่งเจอหนองน้ำสกปรกแล้วไม่อยากจะข้ามไป   แล้วพระก็อุ้มผู้หญิงข้ามน้ำไป  พระอีกรูปที่ตามมาด้วยก็ข้องใจว่าท่านเป็นพระแล้ว ท่านไปอุ้มสีกาได้อย่างไร  ต่อมาก่อนจะจำวัด พระรูปนั้นก็เลยถามพระที่อุ้มหญิงสาวองค์นั้น  พระที่อุ้มสีกาก็บอกว่า “ข้าพเจ้าวางไว้ตรงนั้นแล้ว แต่ทำไมท่านยังอุ้มผู้หญิงคนนั้นมาอีกหรือ”  นี่คือเซน  คือการไม่ข้อง จบแล้วจบเลย
 
        อีกกรณีหนึ่ง มีผู้หญิงเป็นลม แต่ว่ามีผู้ชายอยู่ใกล้ๆเยอะเลย แต่ไม่ได้อุ้มผู้หญิงคนนั้นไปส่งโรงพยาบาลเพราะเกรงว่าจะไปล่วงละเมิดผู้หญิงคนนั้น ผู้ชายจะดูไม่สุภาพ  แต่ว่าเวลาคนเจ็บป่วยไม่ปกติ คนจะไม่นึกถึงเกียรติหรือศักดิ์ศรีอะไรแล้ว  จริงๆแล้วเซนลงลึกซึ้งไปถึงจิตใจของคนที่ส่วนลึกของคำว่าว่าง  และวาง  นี่คือคำพูดของเซนง่ายๆที่กินใจ เป็นลักษณะของการปฏิบัติที่มุ่งเน้นที่ใจอย่างเดียว
 
        ยกตัวอย่างพุทธศาสนา มีพระศาสดา มีการประกาศพระศาสนา  และแบ่งคนออกเป็น  4  เหล่า เป็นการแยกแยะให้ชัดเจนว่าบุคคลที่สอนได้เป็นเวไนยสัตว์ ส่วนที่สอนไม่ได้คือ อเวไนยสัตว์  ดังนั้นเมื่อแยกแยะแล้ว พระองค์จะไปในที่ที่สมควร  ที่สอนแล้วมีผล ส่วนที่สอนแล้วไม่เป็นผล สถานที่นั้นก็เป็นที่อโคจร
 
        แต่ว่าเซนไม่มีระเบียบหรือมีหลักเกณฑ์อะไรตรงนี้  เซนไม่ยึดอะไร  ไม่มีกฏมีเกณฑ์   ไม่เผยแพร่  ไม่พูด  แต่เน้นไปที่จิตใจ  แต่สุดท้ายแล้วก็ไปถึงเหมือนกันกับศาสนาพุทธคือ  “ความว่าง”
 
        มีคนกล่าวถึงศาสนาพุทธว่า  หินยานให้นั่งสมาธิ  มหายานให้ท่องบทภาวนา  เซนบอกว่าให้ท่องตามลำธารน้ำเล่น
 
        มาเริ่มต้นดูที่เซนก่อน  เซน กล่าวว่าให้ท่องตามลำธารน้ำเล่น  คือ  นั่งดูไปตามธรรมชาติและใจไปตามกระแสน้ำ  กลืนกับธรรมชาติ  กับความว่าง กับน้ำ  สิ่งที่อยู่รอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นการไหลของน้ำ  เสียงของลม  แต่ว่าตัวเราไม่แยกระหว่างเรากับธรรมชาติ  แต่ทุกอันคืออันหนึ่งอันเดียวคือ  ความนิ่ง ความเงียบ  อยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน เป็นสมาธิแบบเซน
 
        ส่วนของนิกายมหายานที่ให้ท่องบทภาวนา  คือ  เอาจิตไปผูกกับคำภาวนาเพราะเป็นคำภาวนาที่อ่อนโยน  การสรรเสริญเป็นการผูกใจให้อยู่กับไตรสรณะคม(พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์)  เข้าสู่ความเป็นอุบาสก  อุบาสิกาและปฏิบัติต่อในแนวของหินยาน
 
        ถ้าเปรียบหินยาน ถือว่าพระรัตนตรัยสูงสุดอยู่บนยอดเขา   มหายานจะอยู่ตรงเนินเขาก่อนที่จะก้าวเข้าไปสู่ขั้นสูง  เป็นการเตรียมจิต และจะได้พื้นฐานของจิตที่สงบ ฉะนั้น จึงจำเป็นจะต้องอาศัยสมาธิจากการท่องบ่น หรือสวดมนต์ ออกเสียง เป็นการปรับพื้นฐาน  ให้จิตผูกอยู่กับคำพูดตรงนั้นซึ่งเป็นคำพูดที่เป็นมงคลเป็นภาษาเดียวกัน  สัมผัสด้วย อายตนะ  คือ หู ได้ยินเสียงที่ตนสวด  รูปที่เห็นทั้งบทสวด และรูปพระพุทธรูป
 
       บางครั้งเสียงตัวเองอาจจะไม่ไพเราะ เพียงแต่ว่าเป็นถ้อยคำที่ไพเราะ  ดังนั้นหากเป็นเสียงเพลงที่เป็นบทสวด  และจิตตามก็เป็นสมาธิได้ และที่เปล่งวาจาด้วยตนเองออกมา ด้วยเสียงสวดนั้นทำให้เกิดความเลื่อมใสและศรัทธาในเสียงที่ก้องกังวาลของตน และผู้อื่นรวมกัน อันนี้จะทำให้เกิดสมาธิได้  เป็นอุบายอย่างหนึ่งในการสร้างสมาธิ
 
        ฉะนั้น มหายานคือการรวมจิตเสียก่อนของบุคคลที่มีความทุกข์ยากลำบาก  ที่ไม่รู้จักคำว่าศาสนา  มีแต่ประเพณีที่กระทำต่อมาโดยหาสาเหตุไม่ได้  ประเทศที่กว้างใหญ่  ภาษาที่มากมาย หรือว่าการนับถือบูชาเทพเจ้ายังคงอยู่  อันนี้จำเป็น  การท่องมนต์ในการบูชาพระโพธิสัตว์ก็ดี  หรือว่าพระรัตนตรัยก็ดี เป็นการรวมจิตเพื่อให้สงบนิ่งและเกิดปัญญาในการพิจารณา
 
        ถ้าเปรียบหินยาน พระรัตนตรัยอยู่บนยอดเขา  มหายานอยู่รอบๆเขา  ส่วนเซนอยู่ทั่วไปหมดเป็นธรรมชาติทั้งหมด
 
        ภาษาของเซนจะบอกว่า มีคือมี ไม่มีก็คือไม่มี  ตรงๆ  และ ความมีในไม่มี  ถ้าภาษาเซนบอกว่า ความมีสภาวะแต่ไม่มี คือ  สูญ  ทุกอย่างคือสูญแต่ว่ามันมีสภาวะอยู่  ในคำว่าไม่มีคือไม่มีอัตตา ตัวตน  แต่ที่มีอยู่คือสภาวะ  เช่นทุกคนรู้ว่าอากาศมีอยู่ แต่ก็ไม่มีแต่ว่ามีสภาวะที่จับต้องได้ และนี่คือ มีในไม่มี  คือเซน
 
        และในความหมายของเซนคือ  เรากับทุกอย่างรอบๆตัว คืออันหนึ่งอันเดียวกัน และถ้าเปรียบ  ภูเขาลูกหนึ่ง เซนก็คือทุกอย่าง มหายานคืออยู่ตรงเนินเขา  หินยานก็คืออยู่บนยอดเขา 
..
..

เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
เซนกับพุทธศาสนา ตอนที่ 2
22 พ.ค. 2558
 
        เคยมีคำกล่าวว่าหินยานมีนิพพาน  มหายานเรียกสุขาวดี  เซนบอกว่า ว่างเปล่า
        ในส่วนของหินยาน คือการสิ้นอาสวะทั้งหลายที่ไม่มีอัตตา คือตัวตน แต่มีสภาวะที่ดำรงอยู่แต่ไม่มีอัตตา
 
        ยกตัวอย่าง  พระสารีบุตรท่านจะอยู่หรือจะไปมีค่าเท่ากัน เพราะพระสารีบุตรเวลาใครมาทุบตีท่านเพราะความสงสัยในความเป็นพระอรหันต์ของท่าน ท่านก็ไม่คิดจะไม่หันไปดู  เพราะว่าอารมณ์ทุกอย่างมันไม่เกิดแล้ว ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น ไม่เกิดอารมณ์ใดๆที่ข้องกับร่างกาย ดังนั้นไม่จำเป็นต้องดู  ฉะนั้นท่านจะอยู่หรือจะไป มันคือสภาวะเดียว  เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ ไม่จำเป็นที่จะต้องพูด  ไม่จำเป็นที่จะต้องมีอะไรที่สัมผัสอีกแล้ว นั่นคือความเป็นพระอรหันต์  คือจะมีวงจรของพระอรหันต์ก็คือการนิพพาน  นิพพานทั้งๆที่มีชีวิตอยู่  มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็คือนิพพานไปแล้วเพราะว่าไม่ได้รับอะไรแล้ว
 
        มหายานมีสุขาวดี  ต้องเล่าย้อนกลับไปเมื่อ  10 กัปป์มาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับพระสูภูติและพระอานนท์ว่า มีพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งได้ขอพรกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายให้กับพระองค์เองว่า  สรรพสัตว์มีมากมายที่ยังไม่พ้นภัยและพระองค์ก็ไม่อยากจะไปนิพพาน  ขอให้มีดินแดนอันหนึ่งที่เป็นแดนที่สามารถจะมีพระโพธิสัตว์ที่ไม่ปรารถนาที่จะเป็นปัจเจกหรือไม่ปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้า  มาบำเพ็ญบารมีเพื่อช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ขึ้นมาให้เกิดความเข้าใจในธรรมต่างๆ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
 
        ก็ได้รับพรให้มีดินแดนนั้น  พระพุทธเจ้าองค์นี้ได้รับขนานนามว่าอามิตภะ  แปลว่าแสงสว่าง เพราะดินแดนแห่งนี้มีแสงสว่างประดุจทองคำ  และดินแดนนี้เรียกว่าสุขาวดี  เป็นดินแดนที่อยู่ระหว่างชั้นพรหมกับอกนิพรหมกับชั้นที่เป็นเทวนิพพาน   อกนิพรหมคือ ไม่ถึงนิพพาน ไม่กลับลงมาเกิด  หรือจะลงมาทำหน้าที่นั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง  นี่คือดินแดนที่แยกออกไป ถ้าอนาคามี ไม่จำเป็นต้องลงมาเกิดอีก  แต่สุขาวดีเป็นกลุ่มของพระโพธิสัตว์ที่จะลงมาช่วยสรรพสัตว์
 
        บ้างก็บอกว่า พระกวนอิมแบ่งภาคมาจากอามิตภะ  คือ  อมิตภะพระพุทธเจ้าได้แบ่งภาคมาเพื่อทำหน้าที่โปรดสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะ ให้เข้าใจในธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยการนำคำสอนของพระพุทธเจ้าในแต่ละกัปป์ มาสอน มาขยายความให้เกิดความเข้าใจ นี่คือมหายาน
 
        แต่ในความเป็นจริงแล้ว  มหายานเกิดขึ้นเพราะพระมหากัสสปะได้ขอพระพระพุทธเจ้าไว้ว่า  เมื่อพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนที่ใด หากว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามประเพณีท้องถิ่น ต้องขออนุญาตไว้ในการที่จะปรับวินัย  ปรับกฎประเพณีให้สอดคล้อง
 
        ต่อมาพระปุณณะเถระ และกลุ่มภิกษุภัททวัคคีย์ ได้เพิ่มเติมปรับเปลี่ยนเพื่อความสอดคล้องกับท้องถิ่นที่ท่านไปโปรดสัตว์
 
        ทีนี้ เมื่อพระพุทธศาสนาไปสู่ประเทศจีน  มันต้องปรับให้เป็นเขาแล้วถึงสอนเขา มหายานถึงเกิด  เพื่อให้เข้าถึงพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ในที่สุด เพราะฉะนั้นพระมหายานจึงเป็นเขาก่อน คือ เป็นชาวบ้าน  พระในมหายานจึงมีหน้าที่สองลักษณะก็คือ ทำกิจของสงฆ์ และอันที่สองคือต้องเข้ากับชาวบ้านให้ได้  ต้องเป็นเหมือนเขา แบบคนทั่วไป พระภิกษุในมหายานต้องมีหน้าที่ทุกคน  อย่างจะเห็นว่าพระที่งอไบ้ พระจะมีกิจทุกอย่างเหมือนฆราวาส แต่ว่าทานอาหารสามเมื้อเป็นอาหารเจเพื่อไม่ไปเบียดเบียน  และสอนทุกสิ่ง  ประเพณีท่านก็สอนชงชา  ดึงชาวบ้านเข้าวัดและใส่ธรรมะใส่สมาธิลงไป คือ  เป็นการปรับพื้นฐานให้ทุกคนรับธรรมโดยที่ไม่กระทบกระเทือนกับชีวิตประจำวัน อันนี้คือมหายาน  ทั้งทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า ฆราวาสก็สามารถปฏิบัติได้ไม่จำเป็นต้องบวช
..
..

เกร็ดความรู้จากพุทธศาสนา
เซนกับพุทธศาสนา ตอนที่ 3
22 พ.ค. 2558

        เพราะฉะนั้น มหายานจึงเป็นลักษณะของพระที่พระมหากัสปะขอไว้ร่วมกับพระอานนท์และพระสูภูติ  ที่วัดจีน เราจะมองเห็นภาพของพระพุทธเจ้า คือพระอามิตภะ ณ แดนสุขาวดี  และภาพของพระพุทธเจ้าของเรา ให้ทุกคนระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันคือ พระศักกายมุนี  และเราจะเห็นพระพุทธเจ้าสามพระองค์ ซึ่งมีความหมายดังนี้
            พระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าสัมโพคะ คือ  คือภาคบนสวรรค์ก่อนลงมาบนโลกมนุษย์
            พระพุทธเจ้าองค์ที่สอง คือ  นิรมานกาย คือ ภาคที่ลงมาบำเพ็ญเพียร
            พระพุทธเจ้าที่ประทับนั่งเรียงกันองค์ที่สาม คือ ธรรมกาย  คือภาคที่ได้สำเร็จธรรมตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
        ที่ชาวจีนเรียกง่ายๆว่า พระพุทธเจ้าสามองค์ คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ความจริงมีความหมายดังที่กล่าวมา


 
        ข้างๆจะเป็นพระอรหันต์สองรูป รูปที่มีหน้าที่มีอายุคือ พระมหากัสปะ  และอีกข้างคือพระอานนท์ ไม่ใช่พระโมคลานะกับพระสารีบุตร
        ถ้าเกิดว่ามีพระศักกายมุนีตรงที่ด้านหน้า  ถ้าเราเดินไปคล้อยหลังก็จะเห็นพระพุทธเจ้าที่ฐานตรงกันข้ามกัน  ปกติพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ที่ต้นโพธิ์ด้านตะวันออก  ก็มีคำกล่าวว่าพระพุทธรูปหันไปทางไหนให้ถือทางนั้นเป็นตะวันออก  ดังนั้น พระอามิตภะจึงหันตรงกันข้ามกับพระศักกายะมุนีจึงเรียกพระพุทธเจ้าตะวันตก
        จากที่กล่าวมา พระพุทธศาสนาแยกเป็นหลายทาง แต่สุดท้ายแล้วก็มีจุดรวมจุดเดียวกัน  เซนก็คือธรรมชาติ  อย่างเต๋าก็คือวิถีที่จะไปถึงธรรมชาติ ซึ่งเหมือนกับเซนที่ไปสู่ความว่างเปล่าก็เป็นลัทธิหนึ่ง  แต่ศาสนาไม่เหมือนกัน เพราะว่าศาสนามีอุบายในการปฏิบัติตามจริตหรืออุปนิสัยของบุคคลที่มีความแตกต่างกัน

        ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่ลักษณะของการปฏิบัติในฌานต่างๆมีขั้นตอนอย่างชัดเจน  มีระเบียบปฏิบัติ  มีพระวินัย  มีพระธรรม  และมีพระไตรปิฏก  อันนั้นคือพระพุทธศาสนาหินยาน เพราะว่ามีกฎเกณฑ์ มีพระรัตนตรัย  มีการประกาศศาสนา  มีพระวินัยอย่างชัดเจน  มีเรื่องราวโดยลำดับ ไม่ได้แบ่งเป็นทางใดทางหนึ่งเพื่อที่ใดที่หนึ่ง เป็นการนำคนทั้งหมดเลย
        ทีนี้ ในการนำคนที่จะเข้าสู่ในดินแดนพระพุทธศาสนาก็เป็นมหายานอย่างที่บอก  แต่ว่าลัทธิต่างๆที่แตกออกไป คือเป็นอุบายให้คนเข้าง่ายที่สุดตามท้องถิ่น ซึ่งโดยมากจะเกี่ยวกับธรรมชาติ  และควรทำความเข้าใจง่ายๆว่าธรรมะคือธรรมชาติ
        ส่วนใหญ่ คนเรียนรู้เรื่องเซนจากนิทาน   ซึ่งจริงๆแล้ว เซนนั้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เพราะจบด้วยคำว่า “ว่าง”  จบด้วยคำว่า  “ไม่มีในมี”  คือ  มีสภาวะแต่ไม่มีตัวตน  และวิถีชีวิตของเซนจะออกมาในรูปของนิทานหรือปรัชญา จะไม่ต้องการคำอธิบายมากมาย  คือเซนจะให้ใช้ปัญญา คือนิ่งคิด คือต้องการให้คนนิ่งมากที่สุด และพูดน้อยที่สุด

        ในส่วนตัว ข้าพเจ้าจะประทับใจนิทานของเซน คือรู้จักเซนจากนิทาน  นิทานเรื่องนี้ มีชายคนหนึ่งเข้าไปหาสังคปรินายก แล้วก็ขอไปเป็นศิษย์ ท่านบอกว่าเป็นได้แต่ต้องไม่พูด  คือ  เซนพูดน้อยมาก  ก็ตกลงเป็นศิษย์ จะไม่พูดก็ชงชา ในขณะที่ชงชาและรินชา จิตต้องเป็นสมาธิ  ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ  เขามีความรู้สึกว่าเขาได้เกิดใหม่  เปลี่ยนไปชาติแล้วชาติเล่า เป็นเรื่องราวต่างๆของชีวิตมนุษย์  เกิดมาแล้วทำงาน มีทุกข์ แต่ว่าเขาไม่เคยพูดอะไรเลยทุกชาติ  และในชาติสุดท้ายเขาถูกโจรปล้น เขาแต่งงาน เขาเป็นผู้หญิง แต่ว่าชาติที่เขารินชานั้นเป็นผู้ชาย  เสร็จแล้วผู้หญิงแต่งงานมีสามีและโจรปล้นบ้านก็ฆ่าสามีตายและทำร้ายเขา เขาก็ไม่ได้พูดอะไรสักคำ  แต่สุดท้ายโจรจะทำร้ายลูก เขาก็เปล่งเสียงร้องขึ้นมา  ภาพทุกอย่างก็หายไปหมดเลย อยู่ในภาพที่เขาชงชาอยู่ และ อาจารย์คนนั้นก็บอกว่าเขาเรียนไม่ได้ เพราะจิตเขายังผูกติดกับบางสิ่งบางอย่าง จึงเข้ามาบวชในศาสนาเซนไม่ได้  นั่นหมายความว่าการบวชเข้าไปในเซน มันต้องวางมาขั้นตอนหนึ่งแล้ว  ถ้าหากว่าชายคนนี้กลับไปคิดและกลับไปฝึกมาใหม่  ก็อาจจะได้รับการทดสอบแบบอื่น เพื่อที่ว่าจะไปก้าวสู่ความว่างอย่างแท้จริง

        ที่ชอบเรื่องนี้ เพราะว่าตอนที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ มันเป็นการรินชาอยู่หรือเปล่า ชีวิตเราตอนนี้เป็นเรื่องสมมติ เหมือนคนชงชาหรือเปล่า
        มันเป็นการสอนที่ว่า ชีวิตไม่ใช่ชีวิต และที่เรายืนอยู่ทุกวันและทำอยู่ทุกวัน มันคือความว่างหรือเปล่า  คือตัวเราเป็นตัวเราไหม  หรือไม่ใช่ตัวเรา  เวลาเราฝัน เราไม่มีตัวตนในความฝัน  ในขณะที่เราดำเนินชีวิตอยู่  มันก็ไม่ได้มีตัวตน  จริงๆแล้วตรงไหนเรียกว่าตัวตน  เฉพาะหัวเราหรือเปล่าถึงเป็นเรา หรือว่าเฉพาะแขน หรือว่าเฉพาะขา ลองแยกส่วนออกมา ตรงไหนที่เป็นเรา มันก็เหมือนความฝัน เหมือนกับชายคนนี้ที่รินชา แล้วเห็นภาพเหมือนจริงทุกอย่างจนกระทั่งเขาร้องออกมา  คือ การไม่พูด หมายความว่าการวางเฉย เพราะว่านั่นคือมายา  แต่ว่าเขาทำใจให้คิดเป็นมายาไม่ได้เพราะนั่นคือวัตถุตัวตน
 
        เซนนั้นสอนให้คิด  เราแค่อ่านออกมาประโยคเดียว แต่ว่าเราคิดออกมามากมาย คือมันใช้ความคิดหมดทุกอย่าง  เซน คือความเงียบ หรือเซ้นท์  เราจะแปลว่าอย่างนั้นก็ได้  เซนสอนให้เรารู้จักเริ่มตั้งแต่รินชา ว่าสิ่งที่คุณมาตอนนี้คือเป็นมายา  ไม่ได้เป็นวัตถุ ไม่ได้เป็นอะไรเลย  ก็เลยนึกถึงว่า ศาสนาพุทธของเรามีการฝึกกสิณ เช่น รัตนกสิณหรือกสิณที่เกิดจากการเพ่งพระพุทธรูป  หรือการเพ่งกสิณสีต่างๆ  และเราก็ลองฝึกเพ่งกสิณและเราก็เพ่งไม่ได้  ทั้งนี้เป็น เพราะว่าเราพยายามให้วัตถุที่เราเพ่งมันมาอยู่ในใจเรา ในเมื่อวัตถุมันไม่มี มันแค่นึกเห็น และการนึกเห็นมันคือจินตนาการและตัวของเรานี้ก็อาจจะเป็นการนึกเห็น ไม่ใช่ของจริง  ตัวเรากำเนิดมาด้วยของผลแห่งกรรม มันอาจจะเป็นสิ่งที่สมมติว่า... แล้วเราก็มายึดในสิ่งสมมตินั้น มันไม่ใช่ตัวตนจริงๆ

        ทั้งหมดที่อธิบายนี้ คือ เซน  ที่มีดวงตาสภาวธรรมจริงๆ สอดคล้องกันกับศาสนาพุทธ ไม่แตกต่างกัน
        เคยมีนิทานของท่านพระพุทธทาส  คือ  มีพระรูปหนึ่ง ท่านถามความเห็นจากลูกศิษย์ว่า ใครที่สามารถเห็นถึงแก่นแห่งธรรมได้ดีที่สุด  ถามทุกรูป แต่ละรูปก็ตอบด้วยหลักที่ลึกซึ้งของธรรมะ  แต่พอมาถึงพระรูปหนึ่ง ท่านเงียบและไม่ตอบ  พระอาจารย์ก็เลยบอกว่านี่แหละคือแก่นของธรรม
        มาถึงตอนนี้ คงพอจะเข้าใจแล้ว ถึงความเกี่ยวพันระหว่างพุทธศาสนากับเซน....

http://www.sana-anong.com/v4/works_detail.php?id=24&catg=2
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2016, 05:19:26 pm »



เล่าสู่กันวันหยุด
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

นาคารชุนะ (नागार्जुन; ละติน: NĀGĀRJUNA; เตลูกู: నాగార్జునా; จีน: 龍樹; มีชีวิตในช่วงประมาณ พ.ศ. 700 - 800) เป็นนักปรัชญาอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะ (ทางสายกลาง) ในนิกายมหายาน แห่งพุทธศาสนา และนับเป็นนักคิดชาวพุทธที่มีอิทธิพลสูงสุด ถัดจากพระพุทธเจ้า เป็นที่ศรัทธาและกล่าวถึงในหมู่นักศึกษาพุทธศาสนาชาวยุโรปมาโดยตลอด ท่านเป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานโดดเด่นในด้านปรัชญาและตรรกวิทยา ผลงานสำคัญของท่านคือ มาธยมิกการิกา (มาธยมิกศาสตร์)อันเป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ประกอบด้วยการิกา 400 การิกา ใน 27 ปริเฉท หนังสือเล่มนี้ได้รับการยกย่องตลอดมา และเป็นที่ยอมรับกันว่านักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระนาคารชุนะไม่เคยมีปรากฏในโลก[ต้องการอ้างอิง] ศาสนิกชนมหายานทุกนิกายยกย่องท่านในฐานะคุรุผู้ยิ่งใหญ่เสมอ อย่างไรก็ตาม ประวัติของท่านกลับไม่ชัดเจนเท่าที่ควร(วิกิพีเดีย)
..
..
หลังพุทธกาล พุทธศาสนา
ได้ถูกดึงไปสู่ ลัทธิ เทวะนิยม ที่มาจากกรีก
และ ลัทธิโพธิสัตว์ ซึ่งกำเนิดมหายาน
นาคารชุน เห็นว่า แก่นแท้ คำสอน
"สุญตาวิหาร" จะสูญไปตามกระแสสังคม

จึงตั้ง "ลัทธิศูนยวาท" คือ อยู่กลางระหว่าง
อุจเฉททิฎฐิ (กายคือชีวิตแท้)
สัสสตทิฎฐิ(จิตคือชีวิตแท้)
ทั้งคู่คือมายา ที่อัตตาหลอก จิตแท้จิตเดิม
เพราะ ไม่มีอะไรเที่ยงแท้อยู่ได้ด้วยตัวมันเอง

เมื่อจิตว่างจากการปรุงแต่ง ย่อมเห็น ความจริงนั้น
และ เป็นการเริ่มต้น ของ ความคิดแบบเซน
คือมีฌานทุกขณะจิต เห็นความไม่มีแก่นสารของกาย และจิต
จนมายา ลีลา ธรรมชาติ
หลอก  สร้างอารมณ์ทุกข์ได้อีก
........................................

มีนิทานเซ็น ท่านเมตไตรย
(พระจีนที่มีชีวิตอยู่จริง ที่มีกระสอบแบกอาหาร ที่เหลือ
ไปแจกเด็ก คนชรา คนด้อยโอกาส)
วันหนึ่ง มีคนถามท่านว่า "เซ็นคืออะไร"
ท่านก็วางกระสอบลง นั่งทำท่าครุ่นคิด
จนคนถามรอนาน ก็ เดินจากไป
ท่านก็แบกกระสอบ ไปแจกอาหารให้เด็กๆต่อไป
.................................

สมณะชี่ฉื่อ 契此 หรือภิกขุถุงย่าม 布袋和尚 เป็นชาวมณฑลเจ้อเจียง เกิดปีไม่ทราบชัด มรณะภาพในราวปี ค.ศ.916-917 ซึ่งอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ถัง ต่อเนื่องไปถึงโฮ่วเหลียง 后梁 ของยุคห้าราชวงศ์สิบแคว้น

ราชวงศ์ถังที่ยิ่งใหญ่วัฒนาสถาพรอยู่ได้ร่วมสามร้อยปี ที่สุดก็ล่มสลายลงในปี ค.ศ.907 แต่กว่าราชวงศ์ซ่ง (แบ่งเป็นซ่งเหนือและซ่งใต้) จะตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นได้ ก็เป็นตกเข้าไปปี ค.ศ. 960 ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียงห้าสิบกว่าปีระหว่าง ค.ศ. 907-960 มีราชวงศ์ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักเกิดขึ้นถึง 5 ราชวงศ์ ทั้งยังมีแว่นแคว้นอีก 10 แว่นแคว้น ประวัติศาสตร์จีนเรียกยุคสมัยนี้ว่า “อู่ไต้สือกั๋ว” 五代十国

สมัยราชวงศ์โฮ่วเหลี่ยง ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าราชวงศ์สมัยนั้น (ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ.907-923) ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ลักษณะท่าทางแปลกกว่านักบวชทั่วไป กล่าวคือมีรูปร่างอ้วนพุงพลุ้ย แถมยังครองจีวรค่อนข้างหลุดลุ่ย คือเปิดเผยส่วนหน้าอกและส่วนท้อง มือข้างหนึ่งถือลูกประคำ ส่วนอีกข้างหนึ่งถือไม้เท้า ส่วนปลายไม้เท้า มีถุงผ้าหรือย่ามอยู่หนึ่งใบ มักเดินไปมาตามถนนหนทาง บอกบุญขอบิณฑบาตกับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ พอได้ปัจจัยและอาหาร ก็รีบเก็บใส่เข้าไปในถุงย่าม หิวเมื่อใดก็หยิบอาหารออกมาฉันท์ ฉันท์เหลือก็เก็บใส่ถุงย่ามดังเดิม นักบวชรูปนี้วางตัวตามสบาย ไม่อนาทรร้อนใจ ใบหน้ายิ้มเริงร่าตลอดเวลา แต่มีคุณลักษณะพิเศษคือ สามารถบอกฤกษ์งามยามดีให้แก่ชาวบ้าน อีกทั้งสามารถเตือนให้รู้ถึงดินฟ้าอากาศ ฝนตกฟ้าร้องได้ล่วงหน้า เป็นผู้ให้กำเนิดกรมอุตินิยมฯ ของเมืองจีนประมาณนั้น

บางครั้ง พระภิกษุถุงย่ามเดินไปทางใด จะมีเด็กๆ เดินตามเป็นทิวแถว เพราะหลวงพี่มักล้วงเอาของจากย่ามมาแจกเด็กๆ แถมแจกเท่าไหร่ก็ไม่หมด (สังเกตดูเครื่องกระเบื้องรูปพระอ้วนยิ้มร่าบางรูป มีเด็กเล็กเกาะเต็มตัวยั้วเยี้ยไปหมด)

ราวปี ค.ศ. 916-917 สมณะขี่ฉื่อ หรือพระภิกษุถุงผ้า(ย่าม) มรณะภาพที่วัดเวี่ยหลินเมืองหมิงโจว 明州岳林寺 (ปัจจุบันอยู่ในเมืองหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง) ก่อนท่านจะละสังขาร ท่านได้เอื้อนเอ่ยปริศนาธรรมขึ้นว่า
「弥勒真弥勒,分身千百亿,时时示时人,时人自不识。」
.......................................................
http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=294686&Mbrowse=33
สาธุ
19.11.59
Suraphol KruasuwanOWNER
https://plus.google.com/u/0/+SurapholKruasuwan
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2014, 09:57:15 am »



 
Zen เซ็น จิตดุจสายฟ้า
นิกายธฺยาน
"ทำบุญแล้วต้องมีกุศล คือ ฉลาดขึ้น"
"ฉลาดรู้ถ้วนทั่ว...................ทำดี
ฉลาดรู้ราวี..........................กำหราบชั่ว
ฉลาดรู้พัฒนาศักยภาพ.........ของตัว
ฉลาดพาจิต พ้น...................ความพันพัวกระแสโลก สู่วิมุติธรรมฯ"

สาธุ

นิกายธฺยานหรือเรียกอีกอย่างก็คือนิกาย "เซ็น" นั่นเอง
มาจากศัพท์ว่า ธฺยาน(สันสกฤต) หรือ ฌาน(บาลี)
นิกายนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากแม้กระทั่งในปัจจุบันนี้ ได้แพร่หลายออกไปยังนานาอารยประเทศ เช่น
ในยุโรปและอเมริกา ผู้ตั้งต้นนิกายนี้คือพระโพธิธรรม ชาวอินเดียภาคใต้ ได้เข้ามาเผยแพร่ในเมืองจีน
ในรัชมัยของพระเจ้าเหลียงบูเต้ ครั้งพระโพธิธรรมได้เข้าไปเฝ้าพระองค์ พระเจ้าเหลียงบูเต้รับสั่งถามว่า
โยมสร้างวัดเป็นจำนวนมาก บวชพระเป็นจำนวนมาก จะมีอานิสงส์เป็นอย่างไร
พระโพธิธรรม ตอบว่า ไม่มีเลย เพราะเป็นฝ่ายวัฏฏคามินีทั้งนั้น (ใด้บุญ แต่ไม่ใด้กุศล
คือไม่ใด้ฉลาดขึ้น)

คำตอบของพระโพธิธรรมไม่เป็นที่พอใจของพระเจ้าเหลียงบูเต้
หลังจากนั้นพระโพธิธรรมก็เดินทางไปจำพรรษาที่วัดเสี่ยวลิ่มยี่ นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าหาฝาผนังอยู่ ๙ ปี
ไม่ลุกขึ้น ท่านโพธิธรรมได้แต่งตั้งพระภิกษุฮุ้ยค้อ เป็นสังฆนายกนิกายเซ็นเป็นลำดับที่ ๒
แต่นั้นก็มีอาจารย์สืบมาจนถึงองค์ที่ ๖ คือ ท่านเว่ยหล่าง

"นิกายเซ็นนั้น ถือว่าการบรรลุมรรรคผลนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติ
แต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลาจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ"
แม้จะเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแต่เป็นผู้รกรุงรังอยู่ภายในจิตใจก็ใช้ไม่ได้ ต้องบริสุทธิ์ทั้งภายนอกและภายใน
"นิกายเซ็นถือเป็นนิกายแห่งปัญญาวิมุตติ"ถือปัญญาเป็นเรื่องสำคัญ มีวาจาที่เป็นประดุจดาบสองคม
คือพูดสอนตรงประเด็นเลย คนรับได้ก็ดีไป คนที่ไม่เข้าใจหรือรับไม่ได้ก็อาจเป็นปรปักษ์ไปเลยทีเดียว

มีคำขวัญประจำนิกายเซ็นว่า "ปุกลิบบุ้นยี่ ติกจี้นั้งซิม เกียงแส่ ซั่งฮุด"๒ แปลว่า
"ไม่ต้องอาศัยหนังสือ แต่ชี้ไปตรงจิตของมนุษย์ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง
แล้วจะบรรลุเป็นพุทธะ" นิกายเซ็นถือว่าสรรพสัตว์มีพุทธภาวะอยู่ภายในตัวทุก ๆ คน
คำพูดหรือตัวหนังสือไม่เพียงพอที่จะอธิบายสัจภาวะอันนี้ได้ เพราะฉะนั้น
บางคราวจำต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ วิธีนี้นิกายเซ็นเรียกว่า
"โกอาน" แปลว่า ตามตัวควรจะมีปริศนาธรรม สำหรับมอบไปให้ศิษย์ไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตก
ผู้นั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมได้

ดังมีตัวอย่างปริศนา โกอาน ครั้งหนึ่งในฤดูหนาวมีหลวงจีนท่านหนึ่ง
เมื่อหิมะตกจัดจึงเดินเข้าไปในโบสถ์แล้วนำเอาพระพุทธรูปมาทำฟืนเผาไฟ
บังเอิญสมภารในวัดเดินผ่านมาพบเข้าจึงทักท้วงว่าทำไมกระทำเช่นนั้น
หลวงจีนท่านนั้นจึงบอกว่าจะเผาหาพระบรมธาตุ สมภารบอกว่าจะหาพระบรมธาตุมาจากไหนได้พระพุทธรูปเป็นไม้
หลวงจีนท่านนั้นก็กล่าวกะสมภารอีกว่า งั้นก็ขอเอาพระพุทธรูปมาเผาอีกสัก ๒ - ๓ องค์
สมภารเมื่อได้ฟังดังนั้นก็มีดวงตาเห็นธรรมในทันที
"ปริศนาธรรมตรงนี้หมายความว่า จะหาพุทธะในภายนอกนั้นไม่ได้ พุทธะอยู่ภายในตัวของเรานี้เอง
วัตถุบูชาเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น"
---------------------------------------------------------

ยกประวัติ เซ็น ในจีนมาไว้นิดหนึ่ง เป็นแนวทางก่อน
---------------------------------------------------------
คนที่เข้ามาสู่ การใฝ่ธรรม มักจะแยกเป็นสองสาย
1.นำไปสู่ ความศัทธาใน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ลึกลับ พิศดาร
พิธีกรรม และปฏิบัติ เพื่อผลอันเป็นทิพย์นั้น
2.นำไปสู่ สติปัญญา ชีวิตมีชีวา เห็นคุณค่าเคารพธรรมชาติ
ในอริยะธรรม มนุษย์ธรรม และลงมาทำหน้าที่
ด้วยความไม่ติดยึด ทั้งชั่วดี และอัตโนมติของใคร
และพบเสรีธรรมแห่งชีวิต ด้วยตนเอง
----------------------------------------------------------

เซ็นก็อยู่ในกลุ่มที่สอง ดังนั้นพฤติกรรมคนที่ถึงเซ็นแท้
ไม่ใช่อ่านหนังสือแล้วคิดว่า ตนเป็นเซ็น ทั้งๆยังไม่ผ่าน
ระบบระเบียบ แลเข้าถึง"ซาเซ็น" หรึอฝึกสมาธิจนเกิดเป็น
ฌานทุกขณะจิต หรึอมีชีวิตอยู่ในองค์ฌาน1-4 ตลอดเวลา
มีนิทานเซ็นรับรองคือ
มีศิษย์เซ็น คิดว่าตนสำเร็จ จะมาลาอาจารย์
เมื่อแจ้งความประสงค์แล้ว
อาจารย์ก็ถามว่า "ท่านเอาร่มวางไว้ตรงไหน"
ศิษย์ก็คิดสักครู่ แล้วก็กราบอาจารย์
กลับไปทำงานวัดตามเดิม
เพราะท่านรู้ว่า"ตนยังไม่สำเร็จเซ็น"
ด้วยความประหม่า เลยไม่สังเกตุเห็นว่า ตนวางร่มไว้ตรงไหน? ทำให้ ไม่อยู่ในองค์ฌาน ที่อุดมด้วยสัมมาสติ
ทุกขณะจิตเป็นธรรมชาติธรรมดา ตามวิถีเซ็น สวัสดีครับ
"""""""""""""""""""""""""""

พระพุทธเจ้าแยก จิต ไว้ง่ายๆ สามระดับ
1.จิตแบบแผลเก่า ที่ทุกข์ทรมาน ด้วยเพลิงทุกข์ เพลิงกิเลส ที่ตนเองชงขึ้น
2.จิตแบบสายฟ้า(พลิกจิต กลับร้ายเป็นดีได้ ทันด้วยสติที่ว่องไว ปัญญาเฉียบคม ดังสายฟ้าฟาด)เห็นอริยสัจจะ ที่เกิด ดับในจิตทันทีด้วยสติที่ว่องไว ดุจสายฟ้า
3.จิตแบบเพชร(แข็งแรง มั่นคง สว่าง ไม่เก็บแสง ทุกอย่างผ่าน ไป ไม่ปรุงแต่ง อารมณ์ทุกข์ กิเลสได้อีก) หรือมีเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ พร้อมกัน
เซ็น ตั้งเป้าหมายอยู่ที่"จิตแบบสายฟ้า"
.....................

เซน เซ็น

Suraphol KruasuwanOWNER
การสนทนา  -  Nov 28, 2014
คนรัก รักษ์ สุขภาพ กีฬา และจักรยาน
สุขภาพดี คือลาภอันประเสริฐ ที่เราทำได้เอง
https://plus.google.com/u/0/communities/102080888916677168217
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2014, 10:09:54 am »


 
ธรรมะ..คือ
แบบเซ็น
.......................
ตักม้อโจ้วซือ...พระโพธิธรรมเถระ...ผู้ให้กำเนิดวิชาบู้ของเส้าหลิน
ถามศิษย์ว่า........ธรรมะคืออะไร?
ศิษย์สี่คน ตอบว่า
1.สิ่งที่อยู่เหนือของคู่ (คือ หนังห่อหุ้มธรรมะ)
2.สิ่งที่มองเห็น ทั้งตาเนื้อ และตาปัญญา (คือ เนื้อของธรรมะ)
3.ว่างจากสรรพสิ่ง (คือ กระดูกของธรรมะ)
4.ธรรมะแท้ รู้ได้เฉพาะตน (คือ ไขกระดูกของธรรมะ)
..............................
ของคู่ หรือ นันทวันธรรม....เป็นสิ่งตรงข้าม แต่สร้างสรรพสิ่ง รวมทั้ง ความรู้สึก ดี ชัว/ชอบ ชัง/ ผิด ถูก/ทุกข์ สุข/
ตาปัญญามีห้า ...............พุทธะจักษุ ธรรมะจักษุ สมันตจักษุ(ความรู้รอบตัว) ฌานจักษุ(ผลจากการฝึกฌานสมาบัติ)
ทิพย์จักษุ(การเห็นด้วยปรีชาญาณที่ละเอียดลึกซึ้ง)
ว่าง.............................คือว่างจากสิ่งที่ไม่ควรอยู่ในจิต
คือว่างจาก อุปาทานในตัณหา อุปาทานในขันธ์ห้า
ธรรมะแท้......................อธิบายไม่ได้..ที่บอกได้ คือ ทางเข้าถึงธรรมะ
ภาคปฏิบัติคือ โพธิปักขิยะธรรม37 หรือนิปปปัญจธรรม ไปฝึกเอาเอง สาธุ
.......................................
ฝึก...... อยู่เหนือของคู่ ที่เป็นสิ่งเร้าภายนอก ความปรารถนาภายใน
ฝึก...... เปิดตาปัญญา มองเห็นธรรมชาติ ทั้ง สมมุติ ธรรม ปรมัตถ์ อริยะ
ฝึก...... ทำใจให้ว่าง จากกิเลส ตัณหา อุปาทาน
ฝึก...... สติปัญญา ให้ตื่น เป็นปรีชาญาณ รับรู้ประสบการณ์การเปลี่ยนแปลง ภายใน ด้วยตนเอง
สาธุ


http://www.buddhadasa.com/zen/zen10.html
รู้ละ....รู้วาง....รู้ว่าง.....รู้เย็น....รู้ก่อนชนะก่อน สาธุ
Suraphol Kruasuwan
สนทนาธรรมตามกาล  -  Jun 2, 2014


The Zen - วิถีเซน
Aug 20, 2015
Originally shared by Suraphol Kruasuwan

....ทางสู่เซน มีโศลกธรรม สี่บรรทัด"
1.ไม่เกี่ยวกับอักษร(ในตำรา)
2.ตรงเข้าสู่จิต(สติกุมสภาพจิตเสมอ)
3.บรรลุโดยฉับพลัน(ปฏิภาณตื่นตัว พลิกจิตว่องไวยามกระทบโลก ธรรม )
4.เพราะทุกคนมีธาตุพุทธะ อยู่แล้ว(จิตเอื้อเฟื้อ ใช้สติปัญญาว่องไว ความมั่นคงในอารมณ์ มโนธรรม)

จริงหนอ เวไนยสัตว์ทั้งปวงต่างมีอนุตตรสัมมาสัมโพธิเหมือนกันหมดทุกคน
ต่างกันแต่เพียงมี ผู้รู้ กับไม่รู้เท่านั้น"
.................................
เซน เซ็น....มีฌานทุกขณะจิต
1.รูปฌาน...............เพื่อมีอารมณ์ ที่มั่นคง
เหลือแค่ ปิติ สุข อุเบกขา จิตเป็นหนึ่งเดียวกับทุกธรรมชาติ
2.อรูปฌาน.............เพื่อ มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ที่ถูกต้อง
-รู้ว่า จักรวาลที่ปรุงแต่งเปลี่ยนแปลง แปรปรวน ไม่สิ้นสุด
-รู้ว่า ความรู้ ของจักรวาล ไม่มีที่สิ้นสุด
-รู้ว่า ธรรมอันเป็นของคู่ สร้าง มายา ลีลา เกิดเป็นสรรพสิ่ง
-รู้ว่า ทุกสิ่ง มีบทบาทหน้าที่ แต่มนุษย์โชคดี"เขียนบทให้ตนเองเล่นได้ในบางเรื่อง"
3.โลกกุตระฌาน.....เพื่อ ญาน หยั่งรู้ตื่น พ้นอาสวะ สาสวะ ทั้งปวง เย็นฯ
รู้วิธี ปลุกสัมมาสติโพธิปัญญาตื่น มากุมสภาพ จิตปรุงแต่ง
ล้างขยะปรุงแต่งจิต ทั้งที่เป็น อกุศล และกุศล
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2014, 10:03:29 am »



:46: :46: :46:


ขออนุญาตนำไปแปะที่เว็บ ฯ ผม ครับ พี่ แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2014, 09:49:21 am »



1000นิทานปู่ลิง
วาสนาและวิบาก
พุทธศาสนา จะเชื่อว่า
ใครเจริญ วาจา ใจ กาย ในทางกุศล ย่อมเป็นฤกษ์ดี และเป็นที่มาของวาสนา ของคนนั้น

//-ในกรีก มีนิทาน เปรียบเปรยไว้น่าสนใจ
ในการเสด็จ ท่องชมโลก ของซูส(มหาเทพ ผู้ปกครองสวรรค์)
กับเฮอร์เมส(เทพสื่อสาร)ผู้เป็นบุตร
โดยปลอมตัว เป็น"ผู้เดินทาง ยากไร้"
วันหนึ่งมาถึง บึง อุดม มีนกอินทรีย์ กำลังโศก เฝ้า ซากเต่า
มีสัตว์ในบึง มาร่วมไว้อาลัยไม่น้อย เป็นเรื่องแปลก

จึงถามนกอินทรีย์ว่า อาหารอยู่ตรงหน้าไย ท่านจึงโศกเล่า
-มิใช่อาหาร เป็นสหายรักของข้า
-เรื่องเป็นยังไง?
-"ข้ากับเต่า คบหากันมานาน เต่าเป็นผู้สนใจใฝ่รู้
มักจะให้ข้าพูดถึงโลก อันงดงามกว้างไกล ให้ฟังเสมอ
วันหนึ่งเต่า อยากจะเห็นด้วยตาตนเอง
จึงคิดแผน ให้เต่าคาบไม้ และข้าก็ใช้กรงเล็บ หิ้วท่อนไม้นั้น พาเต่าเหิรฟ้า ชมโลก"
-"แต่ข้าก็ห่วง เพราะเต่า มีนิสัยปากเสีย ชอบด่าว่าผู้อื่น เรื่องวาสนาด้อยกว่าตน
ตนแม้นจะไม่ได้ท่องโลก ก็มีความรู้ยิ่งกว่า สัตว์ทุกตัวในบึง
เพราะฟังเรื่องราวจากข้า"
-จึงตกลงกันว่า ระหว่างข้าพาเหิรฟ้า เต่าต้องสำรวม
ไม่เอ่ยวจีใดๆ
........................................
-เต่าก็ไปคุยโวให้สัตว์ ในบึงว่า"พรุ่งนี้ข้าจะบิน"
สัตว์ในบึง ก็ มาชุมนุม ตั้งใจดู"เต่าบิน"
..................................
แล้วนกอินทรีย์ก็เต่าบิน ตามวิธีที่ตกลงกัน
.............................
ตอนกลับมา จะร่อนลง
พวกสัตว์ในบึง ก็ตะโกน เยาะเย้ยเต่า
"เองถ้าไม่มีนกอินทรีย์วางแผนให้ และพาไป
ปัญญาแค่หางเต่าเอง ไยจะได้ท่องโลก"
เจ้าเต่าปากไว้ เดือดฝุดๆ ตอบสวนไปทันที่
ก็ข้ามีวาสนามากกว่าพวกเอง"
พออ้าปาก เต่าก็ร่วง ลงกระแทกพื้น กระดูกมากองนอกตัว สิ้นชีพ อย่างที่เห็น
...............................
ซูสจึงกล่าวแก่ เฮอร์เมส เป็น เรื่องสอนใจมนุษย์อย่างดี
วาสนามาเพราะปาก(ความฉลาดของเต่า)สนทนากับผู้รู้
วาสนา ก็จากไปเพราะปาก(เสีย)
จึงทรงชุบชีวิตเต่าขึ้นใหม่
เป็นผู้มีกระดูกหุ้มเนื้อ อย่างที่เห็น
และมีปาก งุ้มคม ไว้กัดลิ้นตน หากพูด สิ่งที่ไม่เป็นมงคล
.....................................

วาสนา มาเพราะปาก
ปากก็พาวิบากมาสู่ ชีวิตได้เช่นกัน สาธุ
Suraphol Kruasuwan
Shared publicly  -  Jun 10, 2014