ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มิถุนายน 10, 2020, 08:56:46 pm »

.
.
.
อนามัยโลกใช้ ‘Physical Distancing’ แทน ‘Social Distancing’
โดย PPTV Online
.
เผยแพร่ 31 มี.ค. 2563,09:23น.
.
ปรับปรุงล่าสุด 31 มี.ค. 2563,09:49น.
.
.
องค์การอนามัยโลกหันมาใช้คำว่า ‘Physical Distancing’ แทน ‘Social Distancing’ ในความหมายของการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
.
30 มี.ค. 63 ผู้เชี่ยวชาญยกย่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งหันมาใช้คำว่า ‘Physical Distancing (การเว้นระยะห่างทางกายภาพ)’ แทน ‘Social Distancing (การเว้นระยะห่างทางสังคม)’ เนื่องจากเป็นคำที่อาจมีผลลบต่อสุขภาพจิต
.
ในการแถลงข่าวประจำวันในวันที่ 20 มี.ค. 63 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การรักษาระยะห่างทางกายภาพนั้นเป็น “สิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง” ท่ามกลางการระบาดทั่วโลก แต่ “ไม่ได้หมายความว่าประชาชนจะต้องตัดขาดการเชื่อมต่อกับสังคม ครอบครัว หรือคนที่เรารัก”
.
การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ทำให้หลายประเทศต้องประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ ปิดสนามบิน และคุมเข้มพฤติกรรมของประชาชน
.
มาเรีย แวน เคอร์โคฟ (Maria Van Kerkhove) นักระบาดวิทยาขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “เทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวไกลไปมากจนเราสามารถเชื่อมโยงกับสังคมได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกัน ในห้องเดียวกัน หรือสถานที่เดียวกัน”
.
เธอยังเสริมว่า “เรากำลังเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘การเว้นระยะห่างทางกายภาพ’ แทน ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’ เพราะเรายังคงต้องการให้ผู้คนติดต่อสื่อสารกันอยู่”
.
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนเว้นระยะห่างกันมากกว่า 1 เมตร จากคนข้าง ๆ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนแนะให้เว้นระยะมากกว่า 2 เมตร
.
หลายมาตรการถูกใช้เพื่อสร้างระยะห่างทางกายภาพระหว่างผู้คน รวมถึงการให้อยู่แต่บ้าน ทำงานจากที่พัก คุยกับแฟนทางออนไลน์แทนการพบหน้า จำกัดจำนวนบุคคลที่จะมาเยี่ยมบ้าน หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มกันในที่สาธารณะหรือในขนส่งสาธารณะ และออกห่างจากคนอื่นในที่สาธารณะ
.
เจเรมี ฟรีส (Jeremy Freese) ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า “คำว่า ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’ ฟังแล้วเหมือนต้องการให้ประชาชนต้องการหยุดการติดต่อกับคนอื่น ๆ ในขณะที่ความจริงแล้วเราควรรักษาความสัมพันธ์ในสังคมไว้โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกันทางกาย”
.
เขาเสริมว่า “เราต้องเว้นระยะห่างทางกายภาพ เพื่อปกป้องสุขภาพทางกายของทุกคน แต่สุขภาพใจเองก็สำคัญ และการแยกตัวทางสังคม (Social Isolation) ก็ไม่ดีต่อสุขภาพใจ”
.
มาร์ติน บาวเออร์ (Martin W. Bauer) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคมและระเบียบวิธีวิจัย วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ลอนดอน กล่าวว่า เขายินดีอย่างยิ่งที่องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนคำที่ใช้เสียที
.
“ผมคิดตั้งแต่แรกแล้วว่าคำว่า ‘การเว้นระยะห่างทางสังคม’ ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี เมื่อเราความหมายจริง ๆ ของมันคือ ‘การเว้นระยะห่างทางกายภาพ’” บาวเออร์เสริม
.
“ระยะห่างทางกายภาพคือการวัดด้วยหน่วยเมตริก เมตรหรือเซนติเมตร เป็นระยะห่างทางภูมิศาสตร์ระหว่างคน ๆ หนึ่งกับคนอีกคน ส่วนระยะห่างทางสังคมเป็นการวัดระยะข้ามขอบเขตทางสังคม” ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย
.
บาวเออร์บอกว่า เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องแยกคำ 2 ตำนี้ออกจากกัน “เป็นเรื่องดีที่ในที่สุดองค์การอนามัยโลกก็พยายามแก้ไขความผิดพลาด ในช่วงเวลาแบบนี้ เราต้องการการเว้นระยะห่างทางกายภาพอย่างน้อย 2 เมตร แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องการให้ผู้คนยังคงคบค้าสมาคมกันอยู่”
.
ที่มา:  Aljazeera
.
ที่มา:  pptvhd36
.