ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 24, 2023, 08:46:50 pm »

.
.
พ.ร.บ.ใหม่ หนุน WFH แก้รถติด-มลพิษ หลังเลิกงานมีสิทธิไม่ตอบเจ้านาย
.
.
ที่มา prachachat
วันที่ 23 มีนาคม 2566 - 15:54 น.
.
.
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ สนับสนุนการทำงานแบบเวิร์กฟอร์มโฮม เริ่มบังคับ 18 เม.ย. 2566 เปิดทางนายจ้าง-ลูกจ้างตกลงเวลาทำงาน พักผ่อน วันลา ให้ชัดเจน
.
วันที่ 23 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน แก้ไข​เพิ่มเติม​ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566 โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีความมั่นคงในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเป็นทางเลือกสำหรับนายจ้างและลูกจ้างในการจ้างแรงงาน
.
รูปแบบทำงานเปลี่ยน
.
นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ด้วยพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เพราะรูปแบบการทำงานในองค์กรธุรกิจต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยมีการทำงานจากที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือเวิร์กฟอร์มโฮม (work from home: WFH) หรือจากสถานที่อื่น ๆ ซึ่งอยู่นอกสถานประกอบการของนายจ้างมากขึ้น
.
ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและออก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2566  ซึ่งได้เพิ่มเติมบทบัญญัติที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้างให้ได้ความคุ้มครอง เป็นประโยชน์ในการประกอบกิจการของนายจ้าง ตลอดจนมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาจราจร ลดการใช้พลังงานและเชื้อเพลิงด้วย
.
โดยได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 และจะมีผลบังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศ (หรือมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2566) เป็นต้นไป
.
กฎระเบียบใหม่ใน พ.ร.บ.
.
กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้เพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 23/1 ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
.
1. นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงให้ลูกจ้างนำงานในทางการที่จ้างที่ลูกจ้างสามารถปฏิบัติงานนอกสถานประกอบการหรือนอกสำนักงานของนายจ้าง ไปทำที่บ้านหรือที่พักอาศัยของลูกจ้าง หรือตกลงให้ลูกจ้างทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ ได้
.
2. ในการตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั้น อาจตกลงให้มีรายละเอียด เช่น
.
– ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการตกลง
.
– วันและเวลาการทำงานปกติ วัน-เวลาการทำงานล่วงเวลา และเวลาพัก
.
– เกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานวันหยุด รวมทั้งการลาประเภทต่าง ๆ
.
– ขอบเขตหน้าที่ของลูกจ้าง ขอบเขตการกำกับควบคุมของนายจ้าง
.
– ภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน
.
– เมื่อสิ้นสุดเวลาทำงานปกติตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือสิ้นสุดการทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าในทางใด ๆ กับนายจ้าง หัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน เว้นแต่ลูกจ้างได้ให้ความยินยอมโดยทำหนังสือไว้ล่วงหน้าก่อน
.
– ลูกจ้างซึ่งทำงานที่บ้าน หรือที่พักอาศัย หรือทำงานผ่านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานที่ใด ๆ มีสิทธิและอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานต่าง ๆ เช่นเดียวกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการหรือสำนักงานของนายจ้างด้วย
.
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:18:58 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:18:45 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:18:29 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:18:17 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:18:04 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:17:53 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:17:39 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:17:26 pm »

.
ว่าด้วยเรื่อง PDPA
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2022, 03:16:36 pm »

.
4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA
.
โพสโดย PDPC Thailand
30 พฤษภาคม 2564
.