ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:16:24 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:23:24 am »

ใกล้ๆวันสุดท้ายที่จะกลับเมืองไทย ข้าพเจ้าและเหล่ากัลยาณมิตร ก็ได้มีโอกาสไปที่วัดอีกแห่งหนึ่งของสิกขิม เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญอีกเช่นกัน  วัดนี้ชื่อวัด Pemayangtse
 

 
ตอนเราไปถึงที่ประตูทางเดินเข้าวัด ท่านลามะวัยชราอายุน่าจะประมาณ 80 กว่าๆ ยืนอยู่ที่นั่น  เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้พบเห็นพระลามะสูงวัยขนาดนี้  เพราะตลอดหลายวันที่ผ่านมา ในการไปเยี่ยมชมวัดต่างๆ  เราพบแต่พระลามะตัวน้อยๆ วัยเยาว์ หรือไม่ก็เป็นพระลามะที่อยู่ในวัยรุ่นๆ  ซึ่งมักจะมาแนะนำสถานที่ภายในวัดให้เราทราบ และตอบข้อซักถามที่เราสนใจ
 
 

 
 
ที่นี่เราได้พบกับพระลามะอาวุโสสูงวัย และท่านมีท่าทางเมตตามาก  พร้อมกับพระลามะวัยกลางคนอีกรูปที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องทีเดียว  ท่านทั้งสองพอรู้ว่าเรามาจากเมืองไทยต่างมีท่าทางดีใจมาก ท่านยิ้มกว้างและเชื้อเชิญเราเข้าไปเยี่ยมชมวัด
 
     ช่วงเวลาที่เราไปถึง เป็นช่วงเวลาที่ท่านกำลังจะทำวัตรเช้า  เราได้รับโอกาสให้เข้าไปนั่งในที่นั้นด้วย  แต่น่าเสียดายที่เวลาเรามีน้อยไป จึงอยู่ตรงนั้นได้ไม่นานนัก
 
เสียงสวดมนต์แบบธิเบตประกอบกับมีเสียงเครื่องเป่าเป็นระยะนั้น อาจจะแตกต่างไปจากการสวดมนต์แบบบ้านเรา แต่โทนเสียงสวดมนต์นั้นให้ความรู้สึกผ่อนคลายและสงบเย็นได้ดีทีเดียว
 
 

 
ท่านลามะวัยกลางคนบอกเราว่า ปีก่อนนั้นท่านเพิ่งไปประชุมที่เมืองไทยมา  ท่านไปประชุมกับกลุ่มสังฆะนานาชาติที่อยุธยา ในหัวข้อ Cultural  Survival and Revival in the Buddhist Sangha และได้นำรูปที่ท่านได้ไปประชุมและโปสเตอร์มาให้เราดูด้วย   ท่านเล่าติดตลกหน่อยๆว่า การไปหนนั้นทำให้ท้องไส้ท่านปั่นป่วนไปไม่น้อยเนื่องจากอาการท้องเสีย  เพราะปกติที่นี่ท่านทานมังสะวิรัต แต่พอไปอยู่เมืองไทยช่วงนั้น ท่านเลยได้ทานอาหารแบบที่เราทานกัน ปรากฏว่าท้องไส้ท่านยังปรับตัวไม่ได้เลยท้องเสีย
 
 
วัดนี้ให้ความรู้สึกที่ดีๆ กับข้าพเจ้าหลายอย่าง  ข้าพเจ้ารับรู้ถึงความจริงใจและเป็นมิตร ความรู้สึกยินดีที่ได้พบกันอีกครั้ง เหมือนชาวพุทธกับชาวพุทธได้มาพบกัน แม้จะต่างนิกาย ต่างวิถีแห่งการปฎิบัติ แต่เราต่างรับรู้ว่าเราคือศิษย์ของพระศากยมุนีพุทธเจ้า เช่นเดียวกัน
 
 
แต่อย่างไรไม่รู้  ข้าพเจ้าคิดเห็นไปว่า พระลามะผู้อาวุโสที่วัดนี้ เหมือนจะรู้ล่วงหน้าว่าเราจะมาเยี่ยม  เพราะท่านยืนรออยู่ตรงนั้นพอดี  ตอนที่เราไปถึงและกำลังจะเดินเข้าไป
 
 
ใครจะรู้..อาจจะนานมากๆแล้ว ที่เราอาจเคยอยู่ที่นี่มาก่อน และนี่ก็คือการกลับมาเยี่ยมบ้านของเรา
 
http://gotoknow.org/blog/sunmoola/170512
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2010, 09:20:48 am »

ไม่กี่แห่งในโลก ที่เมื่อเราไปเยือนที่นั่นแล้ว ทำให้เรารู้สึกปลอดภัยและอบอุ่นใจเหมือนบ้านเกิดเมืองนอนของเราเอง
เราทุกคนมีบ้านอยู่ในใจแตกต่างกันไป  แต่ลักษณะสิ่งสำคัญที่มีร่วมกันก็คือ บ้านหลังนั้นต้องมีความอบอุ่น ปลอดภัยและเป็นมิตร  บ้านแบบนี้คือสถานที่ที่จะช่วยให้เราได้พักผ่อนในยามที่เหนื่อยล้า แถมเป็นที่ปลอบใจเมื่อเรามีความทุกข์  และเป็นที่ฟื้นฟูกำลังวังชาของเราให้เดินกลับออกมาเผชิญโลก 
 
ที่สิกขิมข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือนบ้านหลังหนึ่ง  บ้านหลังเล็กๆ ในชนบทที่ห่างไกล ณ หมู่บ้าน Lachung
 
ในวันนั้นเรามีโปรแกรมช่วงเช้าไปที่ Yumthang Valley ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง  3579 เมตร  ที่นี่คือ Valley of flower ในฤดูใบไม้ผลิ จะมีดอกไม้บานสะพรั่งทั้งหุบเขา โดยเฉพาะดอกกุหลาบพันปี  ว่ากันว่าสวยงามมาก
 
 

 
 
โชคไม่ดีนัก..วันเวลาที่เราไปนั้น ฤดูใบไม้ผลิยังไม่ได้เริ่มต้น หิมะยังไม่ละลาย ถนนเส้นทางที่ไปจึงเต็มไปด้วยหิมะ และไปไม่ได้  เราต่างลงจากรถมาเดินเล่นบนหิมะแถวๆนั้น เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี
 
 

 
การได้เล่นหิมะก็ถือว่าไม่เลว เราเดินเล่นไปรอบๆ บริเวณนั้น  ช่วยกันปั้นตุ๊กตาหิมะ แล้วก็ถ่ายรูป
 
ขากลับลงมายังหมู่บ้าน Lachung เรามีเวลาเหลือเฟือ แต่แล้วก็ได้โปรแกรมใหม่ คนขับรถนำเที่ยวได้พาเราไปเยี่ยมบ้านของเขา ซึ่งอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้
 
 

 
 
บ้านหลังนั้นเป็นบ้านหลังเล็กๆ ทาด้วยสีฟ้า ตั้งอยู่บนเนิน เมื่อเราไปถึงที่นั่น เด็กตัวน้อยน่ารักวิ่งมาหาเจ้าของบ้านผู้เป็นพ่อ ด้วยความดีใจ  เป็นภาพที่น่ารักจริงๆ
 
 

 
เมื่อมองจากทางเดินขึ้นบ้านออกไป เราพบว่าบ้านของเขามีวิวทิวทัศน์ที่ดีเยี่ยม มีท้องฟ้าสีครามกับภูเขาสูงและเห็นหิมะปกคลุมอยู่ไกลๆ
 
 
คุณป้าร่างท้วมๆผู้เป็นแม่ของชายคนนี้ เชื้อเชิญเราเข้าบ้านด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและกระตือรือร้น นอกบ้านอาจจะมีความหนาวเย็นอยู่บ้าง แต่เมื่อเราเข้าไปในบ้าน พบว่าในตัวบ้านนั้นอบอุ่นมาก
 
 

 
 
เรานั่งลงในฐานะแขก  คงมีไม่บ่อยนักที่คุณป้าท่านนี้จะต้องต้อนรับแขกถึงสิบกว่าคนในคราวเดียวกัน แถมเป็นแขกที่มาเยือนจากแดนไกลมาก
 
 

 
เธอต้อนรับเราด้วยขนมและชงชาแท้ๆ แบบทิเบตให้เราลิ้มลอง รสชาดอาจจะไม่คุ้นเคยนัก แต่ข้าพเจ้าพบว่าหลายท่านที่ไปด้วยกันก็พยายามดื่มจนหมด
 
 
เราทักทายและพูดคุยกัน มีลูกชายและไกด์ช่วยแปลให้ บ้านหลังนี้ให้การต้อนรับเราอย่างอบอุ่นและจริงใจเหลือเกิน
 
นานมากๆแล้วที่เราต่างเคยได้ยินคำนี้
 
 " เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ "  แต่ปัจจุบันเราไม่เห็นวิถีชีวิตแบบนี้กันแล้ว ยกเว้นในพื้นที่ชนบทมากๆ นานแค่ไหนแล้วที่ข้าพเจ้าไม่ได้เคยเห็น ไม่ได้เคยเข้าไปอยู่ในบรรยากาศแบบนั้น
 
 
ในบ้านหลังนี้มีความรัก ความอบอุ่น คุณยายคุณหลานต่างโอบกอดกัน และยิ้มแย้มแจ่มใส
 
 
บนผนังด้านหนึ่งที่สูงขึ้นไป ข้าพเจ้าเห็นปฎิทินของธิเบตแขวนอยู่ และยังได้เห็นรูปเล็กๆของท่านดาไล  ลามะที่ 14  ติดอยู่ที่ผนังอีกด้านหนึ่งด้วย
 
 

 
ขอบคุณโอกาสดีๆ ที่ทำให้ข้าพเจ้าได้มีวันนั้น  วันที่ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนได้กลับบ้าน นี่เป็นครั้งแรกที่ทำให้เข้าใจในคำที่ว่า Feel like home ได้ชัดเจนขึ้น
 
 
แม้จะอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนแบบนั้น แต่ที่นี่ให้ความรู้สึกเหมือนบ้านแท้ๆ ในใจของข้าพเจ้าเอง
 
 
http://gotoknow.org/blog/sunmoola/170411