ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: กันยายน 10, 2010, 09:54:29 pm »

 :45: :45: :45: :45: :13:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 04:41:33 pm »

 
 
 
                   :13: :45:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 08:34:28 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่มด^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2010, 04:36:05 pm »

“เมตตาของเทวดา”ดร.สนอง วรอุไร



นอกจากมนุษย์แล้ว เทวดาก็มีเมตตาได้ ดังจะเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในครั้งพุทธกาลให้ฟังว่า

มีอยู่วันหนึ่งพระสารีบุตรอาพาธและโรคที่เป็นนั้นจะหายไปได้ต้องฉันข้าวมธุปายาส พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกับพระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกคู่กับท่าน ได้แนะนำพระสารีบุตรว่า

“มีโยมคนหนึ่งได้เปิดโอกาสให้ท่านขอในสิ่งที่ต้องการ(ปวารณา)ได้ กระผมจะส่งคนไปบอกให้หุงข้าวมธุปายาสเตรียมไว้ วันพรุ่งนี้กระผมจะไปบิณฑบาตข้าวมธุปายาสมาถวายท่าน”

เมื่อพระสารีบุตรผู้เคร่งครัดในธรรมวินัยได้ยินเช่นนั้น จึงกล่าวห้ามมิให้ท่านโมคคัลลานะ ส่งคนไปบอกบ้านที่ปวารณาไว้ แต่ปรากฏว่า เทวดาประจำองค์พระสารีบุตรมีความปรารถนาจะให้พระสารีบุตรหายจากอาพาธ จึงไปดลใจให้โยมที่ปวารณาไว้ หุงข้าวมธุปายาสไว้ใส่บาตรในวันรุ่งขึ้น
ผลปรากฏว่าเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นจริง พระมหาโมคคัลลานะไปบิณฑบาต และได้ข้าวมธุปายาสมาถวายพระสารีบุตร ท่านรับประเคนแล้วพิจารณาข้าวมธุปายาสที่รับไว้แล้วจึงได้เททิ้ง ด้วยรู้ว่าเทวดาประจำองค์ไปดลใจให้เขาทำเพื่อถวายท่าน

ที่บอกเล่ามาให้ฟังเพื่อจะบอกว่า เทวดาก็มีเมตตา ปรารถนาให้พระสารีบุตรหายจากอาพาธ




ยังมีอยู่อีกกรณีหนึ่ง ที่จะเล่า เรื่องความเมตตาของเทวดาคือ ในครั้งที่พระพุทธะประทับอยู่ในกุฏิบนยอดเขาคิชฌกูฏ ท้าวเวสสุวัณซึ่งเป็นหนึ่งในจตุโลกบาล ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีมเตตาต่อภิกษุที่ไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าเปลี่ยว มีอมนุษย์บางพวก ไม่ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธะ ที่ห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ จึงประพฤติตนหลอกหลอนให้ภิกษุหวาดกลัว ท้าวเวสสุวัณจึงมาถวายมนต์ตราที่เรียกว่า “อาฏานาฏิยปริตร” แด่พระพุทธะ เพื่อประทานให้ภิกษุนำไปสาธยายคุ้มครองตนมิให้อมนุษย์เข้ามาหลอกหลอน นี่เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นความมีเมตตาของเทวดา(ท้าวเวสสุวัณ) ที่มีต่อมนุษย์

 

และจากประสบการณ์ของผู้บรรยายที่เกี่ยวกับเรื่องเมตตาของเทวดา จะบอกเล่าให้ฟังว่า มีเพื่อนของผู้บรรยายไดซื้อที่ดินผืนหนึ่งไว้ใกล้กับมหาวิทยาลัยที่ตัวเองไปรับราชการอยู่ที่นั่น บนที่ดินแปลงนั้นมีบ่อน้ำที่ขุดโดยชาวบ้าน อยู่ในบริเวณด้านหน้าของที่ดิน เพื่อนของผู้บรรยายเล่าให้ฟังว่า เขาอยากถมดินกลบทับบ่อน้ำเพื่อให้ดูสวยงาม และจะปลูกบ้านอยู่บนที่ดินแปลงนั้น ความคิดที่จะถมดินทับบ่อน้ำได้รับการท้วงติงจากชาวบ้านอยู่เสมอ
เมื่อถึงเวลาที่มีการปลูกบ้านลงบนที่ดินผืนนั้น เพื่อนคนนี้ได้แวะเวียนไปดูความก้าวหน้าของการสร้างบ้านอยู่เสมอในห้วงเวลาหลังเลิกงานแล้ว
จนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่เขาแวะไปดูบ้านที่กำลังอยู่ในระหว่างก่อสร้าง ปรากฏว่าหัวหน้าผู้รับเหมาสร้างบ้านได้บอกกับเขาว่า

“เมื่อกี้มีผู้ชายผมขาว แต่งกายในชุดสีขาว มาบอกกับเขาว่า ถ้าจะถมบ่อน้ำให้ใช้ท่อหย่อนปลายข้างหนึ่งให้จมอยู่ใต้ผิวน้ำ และให้ปลายท่ออีกข้างหนึ่งโผล่ขึ้นเหนือผิวดิน แล้วก่อซีเมนต์ปิดทับบ่อน้ำได้”

เมื่อเพื่อนได้ยินคำบอกเล่าจากหัวหน้าผู้รับเหมาฯจึงรีบตามหาผู้ชายที่อยู่ในชุดแต่งกายสีขาว หาอย่างไรก็หาไม่พบ เพราะเขามิใช่มนุษย์ แต่เป็นภุมมเทวดา เนรมิตกายหยาบมาเป็นมนุษย์เพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้าน หลังจากปลูกบ้านแล้วเสร็จ เจ้าของบ้านและบริวารจึงได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านหลังที่ปลูกขึ้นนั้น
มีอยู่วันหนึ่ง แม่บ้านและคนทำอาหาร ได้เห็นชายสูงวัยคนหนึ่งในชุดสีขาว นั่งอยู่โคนต้นมะมื่นใหญ่ที่ขึ้นอยู่หน้าบ้าน เจ้าของบ้านจึงได้รู้ ชายที่มาบอกวิธีแก้ปัญหาเรื่องบ่อน้ำก็คือเทวดา(เจ้าที่)นั่นเอง

คนที่อยู่ทางภาคเหนือ มีความเชื่อว่า การถมบ่อน้ำที่เคยดื่ม เคยใช้จะนำความวิบัติมาสู่ชีวิตได้ เรื่องเช่นนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่อาจพิสูจน์ได้ จึงเป็นเรื่องทีน่าคิด ดังที่ผู้บรรยายจะบอกเล่าให้ฟังว่า

มีอยู่วันหนึ่งผู้บรรยายได้รับเชิญไปบรรยายธรรมที่วัดแห่งหนึ่ง ในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นงานพระราชทานเพลิงศพของพระผู้ใหญ่แห่งอำเภอบ้านโฮ่ง ก่อนการบรรยายจะมาถึง มีผู้นำพาผู้บรรยายไปดูสถานที่ตั้งของวัดก่อนล่วงหน้าหนึ่งวัน ขณะที่ผู้นำไปดูวัดได้จอดรถอยู่หน้าบ้านหลังใหญ่แห่งหนึ่ง ได้ชี้ให้ดูบ้านนั้นพร้อมพูดว่า
“อาจารย์เห็นบ้านหลังนี้แล้วคิดอะไร” ผู้บรรยายพูดว่า “เป็นบ้านร้าง”เขาได้อธิบายต่อไปว่า เจ้าของบ้านนั่งตายอยู่ในบ้าน ภรรยาเจ้าของบ้านเป็นอัมพาต จึงไม่มีผู้ใดเข้าอยู่อาศัย เป็นบ้านร้างอย่างที่อาจารย์เข้าใจ

เมื่อได้พูดคุยกันจึงได้รู้ถึงสาเหตุแห่งความวิบัติของคู่สามีภรรยาว่า เขาทั้งสองเป็นคนไม่เชื่อเรื่องอาถรรพ์ เขาได้ปลูกบ้านคร่อมลำเหมืองที่มีน้ำไหล ซึ่งใช้เป็นทางสัญจรของอมนุษย์(พญานาค)

ส่วนภรรยาเอาสังกะสีมาทำคล้ายฝาชีปิดบ่อน้ำที่ชาวบ้านใช้ดื่มใช้อาบ ซึ่งเป็นช่องทางหายใจของเมืองบาดาล เหตุผลลึกๆเช่นนี้ วิทยาศาสต์ไม่สามารถรู้เห็นเข้าใจว่ามีอยู่จริง เขาทั้งสองจึงต้องพบกับความวิบัติของชีวิต




เมตตาเป็นคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ (หน้า ๗๐-๗๑)

จากประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเมตตาที่บอกเล่ามาเป็นสัจจะ และมิได้คิดว่าตัวเองเป็นผู้วิเศษแต่อย่างใด หากทุกท่านให้อภัยต่อสิ่งที่เป็นเหตุขัดใจในทุกเรื่องได้ เมตตาบารมีย่อมเกิดขึ้นแน่นอน แล้วทำให้มีอารมณ์สงบเย็น

อานิสงส์ของการมีเมตตา อาทิ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข นอนไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และ อมนุษย์ มีเทวดาคุ้มรักษา ไฟ ยาพิษ ศัตราไม่แผ้วพาน มีจิตตั้งมั่น สีหน้าผ่องใส ฯลฯ ย่อมเป็นผลให้ผู้มีเมตตาได้รับสรรพสัตว์ที่เวียนตายเวียนเกิดอยู่ในภพต่างๆของวัฏสงสาร โดยเฉพาะสัตว์มนุษย์และเทวดา สามารถพัฒนาเมตตาบารมีให้เกิดขึ้นได้
ส่วนสัตว์ที่เป็นพรหม มีพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เป็นคุณสมบัติประจำตนอยู่แล้ว ซึ่งเป็นผลที่ได้มาในครั้งที่เกิดเป็นมนุษย์

เมตตาเป็นหนึ่งในคุณธรรมที่นำสู่ความตั้งมั่นเป็นสมาธิของจิต มนุษย์ที่พัฒนาจิต(สมถภาวนา)จนเข้าถึงความเป็นสมาธิแน่วแน่(อัปปนาสมาธิ)หรือเรียกว่า “สมาธิระดับฌาน” หากทิ้งขันธ์ลาโลกในขณะที่จิตทรงอยู่ในฌาน ย่อมไปอุบัติเป็นสัตว์ในพรหมโลกชั้นต่างๆ ตามกำลังของฌานที่พัฒนาได้
ตรงกันข้ามกับมนุษย์ที่ไม่มีเมตตา เมื่อถึงวาระสิ้นอายุขัยและต้องทิ้งขันธ์ลาโลกไป จิตวิญญาณย่อมโคจรไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในภพต่ำ นับแต่ภพเดรัจฉานไปจนภพนรก

ดังนั้นมนุษย์ผู้มีเมตตา เป็นคุณธรรมประจำใจ จึงมีแต่คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้ประโยชน์โดยไม่มีประมาณ

ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างของพระพุทธะ ขณะกำลังจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ยินเสียงสนทนาระหว่างพระอานนท์พุทธอุปัฎฐาก ที่ไม่ยินยอมให้สุภัททปริพาชกชาวเมืองกุสินารา เข้าถามปัญหาธรรมกับพระพุทธเจ้าถึงสามหน ด้วยเหตุที่พระอานนท์เกรงว่าพระพุทธเจ้าจะทรงเหน็ดเหนื่อย

พระพุทธะผู้เปี่ยมด้วยเมตตาได้ตรัสกับพุทธอุปัฎฐากว่า

“ อานนท์ ให้สุภัททะเข้ามาหาเราเถิด”

พระองค์ได้ตรัสสอนสุภัททะว่า..

“ธรรมวินัยใด ประกอบไปด้วยมรรคมีองค์แปด ผู้ใดประพฤติถูกตรงตามธรรมแล้ว โลกย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์”

สุภัททะเกิดศรัทธาต่อพุทธวจนะที่กล่าว จึงขอบวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา หลังจากบวชแล้วจึงเร่งปฏิบัติธรรมจนบรรลุอรหัตตผล อภิญญา ๖ พร้อมกับมีปฏิสัมภิทา๔ ในคืนเดียวกันนั้น ก่อนพุทธปรินิพพาน ปัจฉิมสาวกในพุทธศาสนาจึงได้เกิดขึ้น ด้วยเหตุแห่งเมตตาของพระพุทธะนั่นเอง..

-------------------
พิมพ์คัดลอกมาจากหนังสือ
“สัจจบารมีเมตตาบารมี”ของ ดร.สนอง วรอุไร หน้า๗๐-หน้า ๗๕

http://www.bhodhiyalaya.com/index.php?topic=395.0