ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 06:38:14 pm »





จบกุมภวรรคที่ ๗
หมายเหตุ มิลินทปัญหา ที่มีมาในคัมภีร์ลานนี้มี ๒๖๒ ปัญหา
มีวรรค ๒๒ วรรค แบ่งเป็น ๖ กัณฑ์
ส่วนที่ไม่ได้มีมาในคัมภีร์ลานนี้ ๔๒ ปัญหา รวมทั้งสิ้นเป็น ๓๐๔ ปัญหา

   
   เกิดเหตุอัศจรรย์ในวันปุจฉาวิสัชนาจบแล้ว ในเวลาจบการปุจฉาวิสัชนา ของพระราชาและพระเถระแล้ว แผ่นดินอันใหญ่ อันหนาได้ ๘ หมื่น ๔ พันโยชน์ ก็ได้แสดงอาการหวั่นไหว มีสายฟ้าแลบแปลบปลาบลงมา เหล่าเทพยดานางฟ้าทั้งหลาย ต่างก็ไม้โปรยปรายทิพยบุปผาลงมาบูชา ท้าวมหาพรหมได้เปล่งเสียงสาธุการกึกก้อง ดังเสียงฟ้าร้องในท้องมหาสมุทรฉะนั้น พระเจ้ามิลินท์พร้อมด้วยข้าราชบริพารจึงพร้อมกันประนมอัญชลีถวายนมัสการ พระองค์มีพระราชหฤทัยเบิกบานยิ่ง เป็นผู้ทรงเล็งเห็นสาระประโยชน์ในพระพุทธศาสนาสิ้นความสงสัยในพระรัตนตรัย จึงทรงเลื่อมใสยิ่งในคุณของพระเถระคุณในบรรพชา คุณในข้อปฏิบัติ และอิริยาบถของพระเถระ เป็นผู้หมดทิฏฐิมานะ เหมือนพญานาคที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว พระองค์จึงทรงตรัสขึ้นว่า
   
   " สาธุ...สาธุ...พระนาคเสน ปัญหาอันเป็นพุทธวิสัย พระผู้เป็นเจ้าได้แก้ไขแล้ว ผู้อื่นยก พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ เสียแล้ว ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเถระในการแก้ปัญหา ขอพระผู้เป็นเจ้า จงอดโทษให้แก่โยม ในการที่โยมได้ล่วงเกินด้วยเถิด ขอจงจำโยมไว้ว่าเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
   
   "พระราชาเสด็จออกบรรพชา แล้วได้สำเร็จพระอรหันต์ ในคราวนั้น พระเจ้ามิลินท์พร้อมกับพลนิกาย ก็เข้าห้อมล้อมพระมหาเถระแห่กลับไปสู่ "มิลินทวิหาร" มอบมหาวิหารถวายพระมหาเถระแล้วก็ปฏิบัติพระมหาเถระกับพระอรหันต์ ๑๐๐ โกฏิ ด้วยปัจจัย ๔ ตลอดกาลเป็นนิจ อยู่มาภายหลัง สมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ผู้ปราชญ์เปรื่อง แห่งสาคลนครจอมบพิตรอดิศรจึงทรงมอบราชสมบัติ ให้แก่พระราชโอรส แล้วเสด็จออกบรรพชา เจริญสมถวิปัสสนาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์



สุภาษิต สรรเสริญ ผู้มีปัญญา
เพราะฉะนั้น จึงมีคำกล่าวไว้ว่า

   
" ปัญญาเป็นของประเสริฐในโลก ปัญญาทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่
บัณฑิตทั้งหลายกำจัดความสงสัยด้วยปัญญาแล้วย่อมถึงความสงบ
สติไม่บกพร่องในขันธ์ใด ปัญญาก็ตั้งอยู่ได้ในขันธ์นั้น
ผู้ประกอบด้วยปัญญา เป็นผู้ควรรับบูชาอันวิเศษ และเป็นผู้เลิศประเสริฐหาผู้ใดจะ
เสมอเหมือนมิได้
เพราะฉะนั้น บัณฑิตผู้เล็งเห็นความสุขของตน
จึงควรบูชา " ท่านผู้มีปัญญา " เหมือนกับบูชา" พระเจดีย์ " ฉะนั้น " ดังนี้

มิลินทปัญหา จบบริบูรณ์




-http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-main-page.htm
Credit by : http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=205.405
อกาลิโกโฮม บ้านที่แท้จริง Agaligo Home.
นำมาแบ่งปันโดย : miracle of love
Pics by : Google
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้.. นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ...

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 04:54:12 pm »



  องค์ ๔ แห่งนายขมังธนู
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๔ แห่งนายขมังธนูได้แก่อะไร? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา นายขมังธนู เมื่อจะยิงธนู ย่อมเหยียบพื้นด้วยเท้าทั้งสองให้มั่น ทำเข่าไม่ให้ไหว ยกธนูขึ้นเพียงหู ทำกายให้ตรง วางมือทั้งสองลงที่คันธนู จับคันธนูให้แน่น ทำนิ้วให้ชิดกัน เอี้ยวคอ หลิ่วตา เม้มปาก ทำเครื่องหมายให้ตรงแล้วเกิดความดีใจว่า เราจักยิงไปในบัดนี้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเหยียบพื้นดินคือศีล ด้วยเท้าคือวิริยะให้มั่น ทำขันติโสรัจจะ**ไม่ให้ไหว ตั้งจิตไว้ในความสำรวม น้อมตนเข้าไปในความสำรวม บีบกิเลสตัณหาให้แน่น กระทำจิตไม่ให้มีช่องว่างด้วยโยนิโสมนสิการ ประคองความเพียรไว้ ปิดทวารทั้ง ๖ เสีย ตั้งสติเข้าไว้ ทำให้เกิดความร่าเริงว่า เราจักยิงกิเลสทั้งปวงด้วยลูกศร คือญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนายขมังธนู
   
   ธรรมดานายขมังธนู ย่อมรักษาไม้ง่ามไว้ เพื่อดัดลูกธนูที่คดที่งอให้ตรงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรรักษาไม้ง่าม คือสติปัฏฐานไว้ในกายนี้ เพื่อทำจิตที่คดงอให้ตรงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนายขมังธนู
   
   ธรรมดานายขมังธนู ย่อมเพ่งที่หมายไว้ให้แน่ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเพ่งกายนี้ฉันนั้น ควรเพ่งอย่างไร... ควรเพ่งว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เป็นของทำให้ลำบาก เป็นของแปรปรวน เป็นของแตกหัก เป็นของจัญไร เป็นของอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของผุพัง เป็นของไม่ยั่งยืน ไม่มีที่หลบลี้ ที่ต้านทาน ที่พึ่ง ที่อาศัย เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของมีโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่มีแก่น เป็นรากเหง้าแห่งภัย เป็นผู้ฆ่า เป็นของมีอาสวะเครื่องดอง เป็นของน่าสงสัย เป็นของมีเหตุปัจจัยตกแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศกเศร้ารำพันคับแค้น เป็นธรรมดา ดังนี้ อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนายขมังธนู
   
   ธรรมดานายขมังธนู ย่อมหัดยิงธนูทั้งเย็นทั้งเช้าฉันใด พระโยคาวจรก็ควรฝึกหัดในอารมณ์ ทั้งเย็นทั้งเช้าฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๔ แห่งนายขมังธนู
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า   
   " นายขมังธนูย่อมหัดยิงทั้งเย็นทั้งเช้าไม่ทิ้งการฝึกหัด จึงได้ค่าจ้างรางวัลฉันใด ฝ่ายพระพุทธบุตรก็พิจารณากาย ไม่ทิ้งการพิจารณากาย แล้วได้ความเป็นพระอรหันต์ฉันนั้น" ดังนี้ ขอถวายพระพร "

(ขันติ โสรัจจะ ขันติ แปลว่า “ความอดทน”
           โสรัจจะ แปลว่า "ความสงบเสงี่ยม"
)

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 04:17:37 pm »



   องค์ ๓ แห่งโภชนะ
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งโภชนะได้แก่สิ่งใด? "
   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา โภชนะ ย่อมเลี้ยงชีวิตสัตว์ทั้งปวงไว้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอุปถัมภ์สัตว์ทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งโภชนะ   
   ธรรมดาโภชนะ ย่อมให้เจริญกำลังแก่สัตว์ทั้งหลายฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เจริญบุญ แก่บุคคลทั้งหลายฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งโภชนะ   
   ธรรมดาโภชนะ ย่อมเป็นที่ต้องการแห่งสัตว์ทั้งปวงฉันใด พระโยคาวจรก็ควรให้เป็นที่ต้องการแห่งโลกทั้งปวงฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งโภชนะ
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระโมฆราชเถระ ว่า   
   " พระโยคาวจรแน่ใจในความเป็นสมณะของตน ด้วยศีลและข้อปฏิบัติ ควรให้เป็นที่ปรารถนาของโลกทั้งปวง " ดังนี้ "

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 04:05:30 pm »



   องค์ ๒ แห่งยาดับพิษ
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งยาดับพิษได้แก่อะไร? "
   
   " ขอถวายพระพร ตัวหนอนต่าง ๆ ย่อมไม่อยู่ในยาดับพิษฉันใด พระโยคาวจรก็ไม่ควรให้กิเลสตั้งอยู่ในใจฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งยาดับพิษ
   
   ธรรมดายาดับพิษย่อมกำจัดพิษทั้งปวงอันเกิดจากถูกกัด หรือถูกต้อง หรือพบเห็น หรือกินดื่ม เคี้ยว ลิ้มเลีย ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกำจัดพิษ คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งยาดับพิษ
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธภาษิตว่า
   
   " พระโยคีผู้ใคร่จะเห็นความเป็นจริงแห่งสังขารทั้งหลาย ควรเป็นเหมือนยาดับพิษ อันทำให้กิเลสพินาศ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2012, 03:38:21 pm »



 องค์ ๓ แห่งนา
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งนาได้แก่สิ่งใด ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา นา ย่อมมีเหมือง ชาวนาย่อมไขน้ำจากเหมืองเข้าไปสู่นาเลี้ยงต้นข้าวฉันใด พระโยคาวจรก็ควรมีเหมือง คือสุจริตด้วยข้อวัตรปฏิบัติฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งนา
   
   ธรรมดานาย่อมมีคันนา ชาวนาย่อมรักษาน้ำให้อยู่เลี้ยงต้นข้าวด้วยคันนาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสมบูรณ์ด้วยคันนาคือศีลควรรักษาความเป็นสมณะไว้ด้วยคันนาคือศีลจึงจักได้สามัญผล ๔ ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งนา
   
   ธรรมดาซึ่งเป็นนาดี ย่อมทำให้เกิดความดีใจแก่เจ้าของ ถึงหว่านข้าวลงไปน้อยก็ได้ผลมาก ยิ่งหว่านลงไปมากก็ยิ่งได้ผลมากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรเป็นนาดี ควรเป็นผู้ให้ผลมาก ให้เกิดความดีใจแก่พวกทายกถึงเขาจะถวายทานน้อยก็ให้เขาได้ผลมาก อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งนา
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระอุบาลีเถระ ผู้เป็นวินัยธรว่า   
   " พระภิกษุควรเป็นผู้เปรียบด้วยนา ควรให้ผลอันไพบูลย์เหมือนกับนาดี ผู้ใดให้ผลอันไพบูลย์ได้ ผู้นั้นชื่อว่านาประเสริฐ" ดังนี้ ขอถวายพระพร "

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2012, 08:03:23 pm »



   องค์ ๓ แห่งร่ม
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๓ แห่งร่มได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา ร่ม ย่อมอยู่บนศีรษะฉันใด พระโยคาวจรก็ควรอยู่บนกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งร่ม
   
   ธรรมดาร่มย่อมคุ้มกันศีรษะฉันใด พระโยคาวจรก็ควรคุ้มกันตนด้วยโยนิโสมนสิการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งร่ม   
   ธรรมดาร่มย่อมกำจัด ลม แดด เมฆ ฝนฉันใด พระโยคาวจรก็ควรกำจัดลัทธิสมณพราหมณ์ภายนอก และควรกำจัดเครื่องร้อน คือไฟ ๓ กอง ควรกำจัดฝน คือกิเลสฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๓ แห่งร่ม
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระสารีบุตรเถระ ว่า   
   " ร่มใหญ่อันไม่ขาด ไม่ทะลุ แน่นหนา แข็งแรง ย่อมกันลม กันแดด กันฝนห่าใหญ่ได้ฉันใด พระพุทธบุตรผู้กั้นร่มคือศีล ผู้บริสุทธิ์ก็กันฝนคือกิเลส กันไฟ ๓ กอง อันทำให้เร่าร้อนได้ฉันนั้น" ขอถวายพระพร"

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2012, 07:51:33 pm »



   องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำ
   
   " ขอถวายพระพร องค์ ๒ แห่งกาลักน้ำได้แก่อะไร ? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา กาลักน้ำ ย่อมดูดน้ำขึ้นมาฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดูดใจขึ้นมาไว้ในโยนิโสมนสิการฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งกาลักน้ำ   
   ธรรมดากาลักน้ำดูดน้ำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่ปล่อยน้ำลงไปฉันใด พระโยคาวจรเกิดความเลื่อมใสขึ้นมาแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยความเลื่อมใสนั้นเสีย ควรทำให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้นใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ว่า
   
   " คุณแห่งสมเด็จพระบรมศาสดาเลิศประเสริฐยิ่ง คุณแห่งพระธรรมทั้งพระองค์ทรงสั่งสอนไว้เป็นอันดี และพระอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณ คือปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง "   
   ครั้นเห็นดังนี้แล้วก็ไม่ควรปล่อยการพิจารณานั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งกาลักน้ำ
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า   
   " ผู้บริสุทธิ์ในความเห็น ผู้แน่ในอริยธรรม ผู้ถึงคุณวิเศษ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยสิ่งใด ย่อมเป็นผู้คงที่ในที่ทั้งปวง" ดังนี้ ขอถวายพระพร "

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2012, 07:21:00 pm »



                       

อุปมากถาปัญหา    
กุมภ วรรคที่ ๗
   
   องค์ ๑ แห่งหม้อน้ำ
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๑ แห่งหม้อน้ำได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา หม้อน้ำ มีน้ำเต็มแล้วย่อมไม่มีเสียงดังฉันใด พระโยคาวจรเมื่อได้ความรู้ความดีเต็มแล้ว ก็ไม่มีเสียง ไม่มีมานะ ไม่ดูถูกผู้อื่น ไม่ปากกล้า ไม่โอ้อวด ฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ ๑ แห่งหม้อน้ำ
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า   
   " หม้อที่มีน้ำพร่องย่อมมีเสียงดัง หม้อที่มีน้ำเต็มย่อมเงียบ คนโง่เปรียบเหมือนน้ำครึ่งหม้อ บัณฑิตเปรียบเหมือนน้ำเต็มหม้อ" ดังนี้ ขอถวายพระพร "

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 01:48:27 pm »



  องค์ ๒ แห่งช่างไม้
   
   " ขอถวายพระพร องค์ ๒ แห่งช่างไม้ได้แก่อะไร ?"
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา ช่างไม้ ดีดบรรทัดแล้วจึงถากไม้ฉันใด พระโยคาวจรก็ควรดีดบรรทัดลงในคำสั่งสอนของสมเด็จพระชินวรเจ้า แล้วยืนอยู่ที่เหนือพื้นปฐพีคือศีล จับเอามีดคือปัญญาด้วยมือ คือศรัทธาแล้วถากกิเลสทั้งหลายให้สูญหายไปฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งช่างไม้

   ธรรมดาช่างไม้ถากเปลือกกระพี้ออกทิ้งถือเอาแต่แก่นฉันใด พระโยคาวจรก็ควรถากซึ่งลัทธิต่าง ๆ เช่น มีความเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง เห็นว่าตายแล้วสูญบ้าง เป็นต้น แล้วถือเอาแต่แก่น คือความเป็นเองแห่งสังขารทั้งหลายว่า ไม่มีอะไรเป็นสัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา มีแต่ของว่างเปล่า เป็นของที่ไม่เที่ยงทั้งนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งช่างไม้
   
   ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ใน สุตตนิบาต ว่า
   " ท่านทั้งหลายควรปัดเป่าเสียซึ่งความมืด ควรกวาดเสียซึ่งหยากเยื่อเชื้อฝอย ควรทิ้งเสียซึ่งผู้ไม่ใช่สมณะแต่ถือตัวว่าเป็นสมณะ ควรทิ้งเสียซึ่งผู้มีนิสัยลามก มีความประพฤติและโคจรลามก ควรเป็นผู้บริสุทธิ์ อยู่กับผู้บริสุทธิ์ ควรเป็นผู้มีสติ อยู่กับผู้มีสติ " ดังนี้ ขอถวายพระพร "
   
   จบมักกฏวรรคที่

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 01:14:05 pm »



   องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ด
   
   " ข้าแต่พระนาคเสน องค์ ๒ แห่งพรานเบ็ดได้แก่อะไร? "   
   " ขอถวายพระพร ธรรมดา พรานเบ็ด ย่อมดึงปลาขึ้นมาได้ด้วยเหยื่อฉันใด พระโยคาวจรก็ควรถึงผลสมณะ อันยิ่งขึ้นมาให้ได้ด้วยญาณฉันนั้น อันนี้เป็นองค์ที่ ๑ แห่งพรานเบ็ด
   
   ธรรมดาพรานเบ็ดสละสัตว์ที่เป็นเหยื่อเพียงเล็กน้อย ก็ได้ปลามากฉันใด พระโยคาวจรก็ควรสละเหยื่ออันเล็กน้อย คืออามิสในโลกฉันนั้น เพราะพระโยคาวจรสละสุขของโลกเพียงเล็กน้อยแล้วก็ได้สมณคุณอันไพบูลย์อันนี้เป็นองค์ที่ ๒ แห่งพรานเบ็ด
   
   ข้อนี้สมกับคำของ พระราหุลเถระ ว่า   
   " พระภิกษุสละโลกามิสแล้ว ย่อมได้อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะไม่ถือนิมิตในร่างกาย ) สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นเพราะว่างจากกิเลส ) อัปปณิหิตวิโมกข์ ( หลุดพ้นเพราะไม่ปรารถนาในร่างกาย) และผลอภิญญา " ดังนี้ ขอถวายพระพร "