ผู้เขียน หัวข้อ: มิลินทปัญหา  (อ่าน 107250 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #320 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 06:21:20 pm »


   อุปมาเมฆฝนห่าใหญ่

   " ขอถวายพระพร เมื่อเมฆใหญ่อันจะตั้งขึ้นมาในทิศทั้ง ๔ จะให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมานั้นย่อมมีเครื่องหมายเป็นสำคัญ คือเบื้องบนอากาศเป็นกลุ่มเป็นก้อนห้อยย้อยเหมือนสร้อยสังวาลย์ทั้งมีลมใหญ่พัดผ่านมา ประชาชนทั้งหลายก็ดีใจ ช้าง ม้า สกุณา ก็บินร่อนชื่นชม สายฟ้าก็แปลบปลาบทั่วทิศทั้งหลาย ก้อนเมฆก็มีมากมายกว่าหมื่นพัน มีสีสันต่าง ๆ กัน บ้างเขียว บ้างเหลือง บ้างแดง บ้างขาว บ้างเลื่อม มีสีอ่อนแซมซ้อนสลับกัน อึงมี่กึกก้องไปด้วยเสียงฟ้าร้องเป็นอัศจรรย์ เมื่อฝนห่าใหญ่ตกลงมา ก็มีน้ำฝนเต็มไปทั้งโตรกตรอกซอกเขา และห้วยหนองคลองบึงต้นไม้ใหญ่น้อยก็เขียวชอุ่มเป็นพุ่มงาม
   คนทั้งหลายก็อนุมานว่า ฝนครั้งนี้เป็นฝนห่าใหญ่ฉันใด

   อันว่าเมฆใหญ่ คือพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อจะตกลงมาก็มีอาการเหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็ทำให้มนุษย์โลก เทวโลก ชื่นชมยินดีด้วยห่าฝนพระธรรม ทำให้จิตใจของผู้ได้มรรคผล เกิดความอภิรมย์ยิ่ง กำจัดเสียซึ่งกิเลสตัณหา เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน บางพวกก็ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ปาฏิโมกข์สังวรศีล และมรรคผลชั้นสูง ๆ เป็นลำดับขึ้นไป

   จึงควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นจักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่

   ขอมหาบพิตรจงเข้าพระทัยเถิดว่า คนทั้งหลายได้เห็นแผ่นดินชุ่มเย็นดี มีของสดเขียวเกิดขึ้น มีน้ำมาก ก็รู้ด้วยอนุมานว่า แผ่นดินดับร้อนด้วยฝนห่าใหญ่ฉันใด ผู้มีปัญญาได้เห็นเทพยดามนุษย์ร่าเริงบันเทิงใจ ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เอิบอิ่มด้วยฝนห่าใหญ่ คือพระธรรมฉันนั้น ดังนี้ ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน เมฆใหญ่ คือพระธรรม อันตกลงมากำจัดเสียซึ่งอวิชชานี้ก็เป็นการดีแล้ว แต่ขอจงแสดงซึ่งกำลังของพระพุทธเจ้า ตามเหตุการณ์ให้ยิ่งขึ้นไปอีก "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #321 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 06:25:56 pm »


   อุปมารอยพญาช้าง

   " ขอถวายพระพร พญาช้างตัวประเสริฐอันสูง ๗ ศอก ยาว ๙ ศอก มีลักษณะดีถึง ๑๐ แห่ง เป็นเจ้าแห่งฝูงช้างอันมีในธรณี มีตาขาว หางขาว เล็บขาว เหมือนกับสีหมอก และเหมือนกับเศวตฉัตร เหมือนกับวิมานขาว มีกายเต็มไม่บกพร่อง มีอายตนะครบบริบูรณ์ ดูงามเหมือนยอดเขา อันมีหมู่ไม้ขึ้นสะพรั่ง พญาช้างนั้นอาจกำจัดข้าศึกทั้งปวงได้ มีกายใหญ่โต มีงางอกงามดังงอนไถ มีฤทธิ์ กล้าหาญ ชำนาญในการที่จะท่องเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ เป็นพญาช้างหนุ่ม แต่ละเสียซึ่งที่อยู่ของตน เที่ยวไปแสดงหาอาหารในป่าตามสบายใจ

   เวลาคนทั้งหลายได้เห็นรอย ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เป็นรอยพญาช้างฉันใด พระพุทธเจ้าก็เปรียบเหมือนกับช้างฉันนั้น เพราะเหตุว่า รอยพระพุทธเจ้ามีลักษณะประเสริฐถึง ๑๐๘ ประการ พระพุทธเจ้านั้นเปรียบด้วยพญาราชสีห์ก็ได้ เปรียบด้วยโคอสุภราชก็ได้ เพราะพระองค์ทรงพร้อมด้วยพระคุณธรรมทั้งปวง พระองค์ทรงสละพระนครกบิลพัสดุ์ อันเป็นพระนครที่น่ายินดีเสียแล้วเที่ยวแสวงหาทางธรรม ได้สำเร็จพระธรรมแล้วก็ทรงแสดงรอยพระบาท คือ โพชฌงค์ ๗ ไว้ รอยพระบาทเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นรอยล้ำเลิศ ทำให้เกิดผลอันเลิศนานาประการ ด้วยเหตุการณ์อันนี้ ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่เป็นแน่ ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน น่าอัศจรรย์ เพราะรอยพญาช้างไม่ตั้งอยู่นาน ปรากฏอยู่เพียง ๕ - ๖ เดือนเท่านั้น นอกนั้นลบเลือนไป ส่วนรอยพระบาท คือพระธรรมของพระพุทธเจ้า ยังปรากฏอยู่ในโลกกระทั่งทุกวันนี้ แต่ขอจงแสดงซึ่งกำลังของพระพุทธเจ้าให้ยิ่งขึ้นไปอีกตามเหตุการณ์ "


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #322 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 06:41:44 pm »


   อุปมาพญาราชสีห์

   " ขอถวายพระพร พญาราชสีห์ไม่มีความสะดุ้งกลัวสิ่งใดฉันใด พระพุทธเจ้าก็ไม่สะดุ้งกลัวต่อสิ่งใดฉันนั้น พญาราชสีห์เป็นใหญ่กว่าสัตว์ทั้งหลายฉันใด พระพุทธเจ้าก็เป็นใหญ่กว่าคณาจารย์ทั้งหมดฉันนั้น เสียงพญาราชสีห์ ย่อมเป็นที่สะดุ้งกลัวของสัตว์เหล่าอื่น แต่เป็นที่ยินดีของหมู่ราชสีห์ด้วยกันฉันใด เสียงแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าก็เป็นที่สะดุ้งกลัวแก่พวกเจ้าลัทธิ แต่ทำให้เกิดความโสมนัสยินดีแก่พวกมีความเลื่อมใสศรัทธาฉันนั้น ด้วยเหตุนี้ ก็ควรทราบว่าพระพุทธเจ้านั้นเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งคุณอันหาที่สุดมิได้ ขอให้มหาบพิตรทรงเข้าพระทัยเถิดว่า เมื่อคนทั้งหลายได้เห็นเนื้อและนก สะดุ้งกลัวด้วยเสียงราชสีห์ ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พวกเดียรถีย์ก็สะดุ้งกลัวพระธรรมของพระพุทธเจ้าฉันนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลือพระสุรเสียง คือการทรงแสดงพระธรรมไว้ให้พวกเดียรถีย์ สะดุ้งกลัวกระทั่งทุกวันนี้ แต่ขอจงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้าให้ยิ่งขึ้นไปอีก "


   อุปมาแม่น้ำใหญ่

   " ขอถวายพระพร แม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ ย่อมไหลมาจากป่าหิมพานต์ พัดเอาสัตว์และสิ่งของต่าง ๆ ลงไปสู่มหาสมุทร คนทั้งหลายก็รู้ว่าเป็นกระแสแม่น้ำใหญ่ฉันใด ธรรมนทีของพระพุทธเจ้าก็พัดเอาหมู่สัตว์ ให้ไหลเข้าไปสู่สาครอันประเสริฐ คือนิพพานฉันนั้น ด้วยเหตุอันนี้ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ประกอบด้วยพระคุณธรรมทั้งปวง ขอมหาบพิตรจงทรงจำไว้ว่า เมื่อบุคคลได้เห็นเปือกตมโคลนเลนติดค้างอยู่ตามยอดไม้ ก็รู้ได้ว่ามีน้ำใหญ่ท่วมมาฉันใด เวลาได้เห็นเทพยดามนุษย์ ผู้ทิ้งเปือกตมคือกิเลสไว้ในโลกก็ควรรู้ได้ด้วยอุปมาว่า พระธรรมนทีอันใหญ่ของพระพุทธเจ้า ได้พัดพาเอาสัตวโลกไปฉันนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน พระธรรมนทีของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตกแต่งไว้เพื่อให้พัดพาเอากิเลสไปมีอยู่หรือ ? "
   " มีอยู่ ขอถวายพระพร " " ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอุปมาให้ยิ่งขึ้นไป "


   อุปมากลิ่นดอกไม้

   " ขอถวายพระพร เมื่อลมพัดเอากลิ่นดอกไม้ไปถึงไหน ก็หอมไปถึงนั้น แต่ว่าหอมไปได้ตามลมเท่านั้น หอมทวนลมไปไม่ได้ ส่วนกลิ่นธรรมของพระพุทธเจ้า ย่อมหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลม ด้วยเหตุนี้ก็ควรรู้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่ ขอได้โปรดใส่พระทัยว่า คนทั้งหลายได้กลิ่นหอมมาตามลม ก็รู้ด้วยอนุมานว่า เป็นกลิ่นหอมดอกไม้ฉันใด ผู้มีปัญญาทั้งหลายได้กลิ่นหอมคือศีล ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ก็รู้ได้ด้วยอนุมานว่า พระพุทธเจ้าผู้เยี่ยมมีอยู่ ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่อาจแสดงให้สิ้นสุดกำลังของพระพุทธเจ้าได้ด้วยเหตุตั้งพัน จะอ้างเหตุอย่างไรก็ได้ เพราะว่าพระคุณธรรมของพระพุทธเจ้ามีมาก หาประมาณมิได้ ข้อนี้เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ผู้ฉลาดเมื่อดอกไม้มีอยู่มาก จะร้อยให้เป็นดอกไม้อย่างไรก็ได้ฉันนั้น ขอถวายพระพร "

   " ข้าแต่พระนาคเสน เท่าที่พระผู้เป็นเจ้าแสดงกำลังของพระพุทธเจ้ามานี้ ก็เป็นที่พอใจของโยมแล้ว โยมสบายใจด้วยการแก้ปัญหาอันวิจิตรยิ่งแล้ว "

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 09, 2012, 06:45:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #323 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 07:05:07 pm »


   ปัญหาที่ ๙ ถามเกี่ยวกับธุดงค์

   พระเจ้ามิลินท์ได้ทรงเห็นพวกภิกษุที่ถือธุดงค์อยู่ในป่ามีอยู่ ทั้งรู้ว่าคฤหัสถ์ผู้ได้สำเร็จอนาคามีผลมีอยู่ จึงทรงสงสัยว่า ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จธรรมได้ ธุดงค์ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เราจักถามถึงพระศาสนาอันละเอียดอันย่ำยีเสียซึ่งถ้อยคำของผู้อื่น อันเป็นของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงแสดงไว้ เพื่อให้สิ้นสงสัยของเรา

   ครั้นทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้รีบเสด็จไปหาพระนาคเสนด้วยความรีบร้อน เหมือนกับโคที่กระหายน้ำ และเหมือนกับคนที่หิวข้าว เหมือนกับคนเดินทางไปพบพวกเดียว หรือเหมือนกับคนเจ็บไข้ต้องการหมอ เหมือนกับคนไม่มีทรัพย์แสดงหาทรัพย์ เหมือนกับผู้จะข้ามฟากต้องการเรือ เหมือนกับคนกำลังเกิดความรัก ต้องการความรัก หรือเหมือนกับคนเป่าปี่ ต้องการให้ปี่มีเสียงไพเราะ หรือเหมือนกับคนกลัวภัยแสวงหาที่พึ่ง หรือเหมือนกับพระภิกษุผู้ต้องการความดับกิเลสฉะนั้น

   ครั้นเสด็จเข้าไปถึงแล้ว จึงทรงนึกถึงคุณอันประเสริฐ ๑๐ ประการ ว่า
   ถ้าเราถามแล้ว ท่านแก้ให้เราฟัง

   เราก็จักหมดสงสัย ๑ ใจของเราจักบริสุทธิ์ ๑ เราจักไม่มีวิตกที่ชั่ว ๑ จักถึงซึ่งกระแสธรรม ๑ จักได้ปัญญาจักษุ ๑ จะได้ชื่อว่าอาจารย์อนุเคราะห์ ๑ จักเป็นผู้ไม่มีเครื่องกีดขวางกุศลธรรมทั้งปวง ๑ จะได้ประกอบด้วยโลกุตตรธรรม ๑ จักไม่สะดุ้งกลัวต่อภพทั้งปวง ๑ เวลาเข้าสู่ที่ประชุมจะอาจแทงตลอดเหตุผลทั้งปวง ๑

   ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสถามขึ้นว่า
   " ข้าแต่พระนาคเสน คฤหัสถ์ได้สำเร็จนิพพานมีอยู่หรือ? "

   " มีอยู่ มหาบพิตร มีอยู่มากทีเดียว นับเป็นจำนวนร้อยหมื่นแสนล้านโกฏิไม่ได้"
   " ขอพระผู้เป็นเจ้า จงแสดงให้โยมแจ่มแจ้งด้วยเถิด "

   " ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้นอาตมภาพจักแสดงถวาย คือพระธรรมในพระพุทธศาสนาอันประกอบด้วยองค์ ๙ ย่อมรวมลงใน ธุดงค์ ทั้งนั้น เหมือนกับน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งสิ้น ย่อมไหลไปรวมมหาสมุทรฉันนั้น
   อาตมภาพจักจำแนกเนื้อความข้อนี้ให้แจ่มแจ้ง เหมือนอาจารย์เลขผู้ฉลาดสอนเลขให้แก่ลูกศิษย์ฉะนั้น

   คฤหัสถ์ผู้ได้มรรคผลในสมัยพุทธกาล
   ขอถวายพระพร ที่กรุงสาวัตถีมีอริยสาวก ๕ โกฏิ มีอุบาสกอุบาสิกาตั้งอยู่ในอนาคามีผลถึง ๓๕๗,๐๐๐คน พวกนั้นล้วนแต่เป็นคฤหัสถ์ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นบรรพชิตเลย

   ยังมีอีกคือคราวที่พระพุทธองค์ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ก็มีพวกคฤหัสถ์บรรลุมรรคผลถึง ๒๐ โกฏิ

   คราวทรงแสดงราหุโลวาทสูตร มหามงคลสูตร สมจิตตปริยายสูตร ปราภวสูตร จูฬสุภัททสูตร กลหวิวาทสูตร จูฬพยูหสูตร มหาพยูหสูตร ตุวัฏฏกสูตร สารีปุตตสูตร มีเทวดาบรรลุมรรคผลนับไม่ถ้วน ในกรุงราชคฤห์มีอริยสาวก ซึ่งล้วนแต่เป็นอุบาสกอุบาสิกา ๓๕๐,๐๐๐ คน


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #324 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 07:43:53 pm »


  ยังมีอีกคือในคราวทรงทรมานช้างธนบาล มีผู้ได้บรรลุมรรคผลอีก ๙๐ โกฏิ
   คราวทรงแก้ปัญหาแห่งมาณพ ๑๖ คน ( ศิษย์ของพราหมณ์พาวรี) ที่ปาสาณกเจดีย์มีผู้บรรลุมรรคผลอีก ๑๔ โกฏิ
   คราวทรงแสดงสักกปัญหาสูตร ที่ถ้ำอินทสาลคูหา มีเทวดาบรรลุมรรคผลถึง ๘๐ โกฏิ

   คราวทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตรที่ป่าอิสิปตนมิคทายวันครั้งแรก มีพรหม ๑๘ โกฏิ กับเทวดาประมาณมิได้บรรลุมรรคผล
   ในคราวทรงแสดงพระอภิธรรม ที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์สวรรค์ มีเทวดาบรรลุมรรคผล ๘๐ โกฏิ
   ในคราวเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ก็มีผู้บรรลุมรรคผล ๓๐ โกฏิ
   ในคราวทรงแสดงพุทธวงศ์ที่นิโครธารามกรุงบิลพัสดุ์ และในคราวทรงแสดงมหาสมัยสูตร ก็มีเทวดาได้บรรลุมรรคผลนับไม่ได้

   ในคราวนายสุมนมาลาการบูชาด้วยดอกมะลิ อันเรียกว่าในสมาคมแห่งสุมนมาลาการ และในสมาคมคราวทรงแสดงเรื่องอานันทเศรษฐี ในสมาคมคราวโปรดชัมพุกาชีวา ในคราวมัณฑุกเทพบุตรลงมาเฝ้า ในสมาคมคราวมัฏฐกุณฑลีเทพบุตรลงมาเฝ้า คราวสมาคมนางสุรสานครโสเภณี และนางสิริมานครโสเภณี ธิดาช่างทอผูก ( เปสการี ) นางจูฬสุภัททา สาเกตพราหมณ์ อาฬาหณทัสสนะ สุนาปรัตปะ สักกปัญหา ติโลกุฑฑสูตร มีผู้บรรลุมรรคผลถึง ๘๔,๐๐๐คน

   พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในโลก อันมีใน ๑๖ ชนบทนั้น หรือไม่ว่าประทับอยู่ในที่ใด ๆ โดยมากมีเทพยดามนุษย์ สำเร็จนิพพานในที่นั้น ๆ คราวละ ๒ - ๓ ตลอดถึงคราวละแสน เทพยดามนุษย์เหล่านั้น เป็นพวกคฤหัสถ์ทั้งนั้นขอถวายพระพร "

   พระเจ้ามิลินท์ตรัสแย้งว่า
   " ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จนิพพานได้ ธุดงคคุณ ๑๓ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
   ถ้าหากว่าความเจ็บไข้หายไปได้ด้วยการร่ายมนต์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับยาถ่าย
   และคนผู้มีความรู้ ถ้าปราบศัตรูได้ด้วยกำปั้น ดาบ หอก แหลน หลาว เกาทัณฑ์ ธนู หน้าไม้ ค้อนเหล็ก ไม้ค้อน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

   ถ้าขึ้นต้นไม้ได้ด้วยการผูกไม้ หรือกิ่งไม้ที่เป็นข้อเป็นปม คด ๆ งอ ๆ เป็นโพรงได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการที่แสวงหาบันไดยาว ๆ
   ถ้าธาตุจะเสมอดีได้ด้วยการนอนตามพื้นดิน ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาที่นอนที่สุขสบายดี
   ถ้าสามารถเดินผ่านพ้นทางที่มีอันตรายลำพังผู้เดียวได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาพรรคพวกที่มีศาตราวุธ

   ถ้าสามารถข้ามแม่น้ำไปได้ด้วยแขนของตน ก็ไม่จำเป็นอะไรกับการแสวงหาสะพานหรือเรือ
   ถ้าการกินอยู่ของตนมีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องเที่ยวขอผู้อื่น
   ถ้าได้น้ำในที่ไม่มีห้วงน้ำแล้ว ก็ไม่จำเป็นอะไรที่จะขุดบ่อน้ำ หนองน้ำ สระน้ำ

   ข้อความเหล่านี้ฉันใด ข้าแต่พระนาคเสน ถ้าคฤหัสถ์สำเร็จนิพพานได้ ก็ไม่จำเป็นอะไรที่ต้องถือธุดงคคุณ"


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #325 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 07:50:43 pm »


   คุณแห่งธุดงค์ ๒๘ ประการ

   " ขอถวายพระพร ธุดงค์ประกอบด้วยคุณเหล่าใด ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงต้องการคุณแห่งธุดงค์เหล่านั้น มีอยู่ ๒๘ ประการคือ

   ๑. การหาเลี้ยงชีพบริสุทธิ์
   ๒. มีผลเป็นสุข
   ๓. เป็นของไม่มีโทษ
   ๔. บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย
   ๕. เป็นของไม่มีภัย

   ๖. เป็นของไม่เบียดเบียน
   ๗. มีแต่เจริญฝ่ายเดียว
   ๘ ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม
   ๙. ไม่ขุ่นมัว
   ๑๐. เป็นเครื่องป้องกัน

   ๑๑. ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา
   ๑๒. กำจัดเสียซึ่งอาวุธทั้งปวง
   ๑๓. มีประโยชน์ในทางสำรวม
   ๑๔. สมควรแก่สมณะ
   ๑๕. สงบนิ่ง

   ๑๖ พ้นจากความเศร้าหมองใจ
   ๑๗. เป็นเหตุให้สิ้นราคะ
   ๑๘ เป็นเหตุให้สิ้นโทสะ
   ๑๙. ทำโมหะให้พินาศ
   ๒๐. กำจัดเสียซึ่งมานะ
   
   ๒๑. เป็นเหตุตัดเสียซึ่งวิตกชั่ว
   ๒๒. ทำให้ข้ามสงสัยเสียได้
   ๒๓. กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน
   ๒๔. กำจัดเสียซึ่งความไม่ยินดีในธรรม
   ๒๕. เป็นเหตุให้อดทน

   ๒๖. เป็นของชั่งไม่ได้
   ๒๗. เป็นของหาประมาณมิได้
   ๒๘. ทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #326 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 07:58:55 pm »


   องค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์

   ขอถวายพระพร บุคคลเหล่าใดสมาทานถือมั่นธุดงคคุณ บุคคลเหล่านั้นย่อมประกอบด้วยองค์ ๑๘ คือ

   ๑. มีมรรยาทบริสุทธิ์
   ๒. มีปฏิปทาบริบูรณ์ดี
   ๓. รักษากาย วาจา ดี
   ๔. มีใจบริสุทธิ์ดี
   ๕. ประคองความเพียรดี

   ๖. ระงับความกลัว
   ๗. ปราศจากความยึดถือในตัวตน
   ๘. ระงับความอาฆาต
   ๙. มีจิตเมตตา
   ๑๐. รอบรู้อาหาร


   ๑๑. เป็นที่เคารพแห่งสัตว์ทั้งปวง
   ๑๒. เป็นผู้รู้จักพอดีในโภชนะ
   ๑๓. เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร
   ๑๔. ไม่ห่วงที่อยู่
   ๑๕. อยู่ที่ไหนสบายก็อยู่ที่นั่น


   ๑๖. เกลียดชังความชั่ว
   ๑๗. ยินดีในวิเวก
   ๑๘. ไม่ประมาทเนือง ๆ


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #327 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2012, 08:15:46 pm »


   ผู้ควรแก่ธุดงคคุณ ๑๐

   ขอถวายพระพร
   บุคคลผู้ที่ควรแก่ธุดงคคุณ มีอยู่ ๑๐ คือ

    ๑. ผู้มีศรัทธา
    ๒. ผู้มีหิริ ( ละอายชั่ว )
    ๓. ผู้มีความอดทน
    ๔. ผู้ไม่คดโกง
    ๕. ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล

    ๖. ผู้ไม่ละโมภ
    ๗. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา
    ๘. ผู้มีใจมั่นคง
    ๙. ผู้ไม่ชอบยกโทษผู้อื่น
   ๑๐. ผู้อยู่ด้วยเมตตา


   ขอถวายพระพร พวกคฤหัสถ์ที่กระทำให้แจ้งนิพพานทั้งสิ้น ล้วนได้กระทำให้ธุดงคคุณ ๑๓ ไว้ในชาติก่อน ๆ แล้วทั้งนั้น มาในชาตินี้ได้กระทำความประพฤติ และการปฏิบัติให้บริสุทธิ์ซึ่งอีก จึงจะสำเร็จนิพพานได้
   อุปมาธุดงคคุณ เปรียบเหมือนพวกนายขมังธนูผู้ฉลาดได้ฝึกหัดวิชาธนูไว้ก่อนแล้ว ครั้งเข้าไปสู่พระราชฐาน ก็ยิงถวายพระมหากษัตริย์ได้แม่นยำ แล้วได้รับพระราชทานรางวัลเป็นอันมาก

   ฉะนั้นผู้ไม่ได้กระทำในธุดงค์ไว้เมื่อชาติก่อน ย่อมไม่สำเร็จอรหันต์ในชาตินี้ จะสำเร็จก็เพียงโสดาปัตติผลเท่านั้น
   อีกประการหนึ่ง ผู้ได้กระทำธุดงค์ ๑๓ ไว้ในชาติก่อนมาชำนาญแล้ว มาชาตินี้ได้อบรมความประพฤติและข้อปฏิบัติซ้ำอีก ก็กระทำให้แจ้งนิพพานได้ เหมือนกับแพทย์ที่เรียนจนชำนิชำนาญในสำนักอาจารย์มาแล้ว ก็รักษาโรคได้ดีฉะนั้น

   การสำเร็จธรรมย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่บริสุทธิ์ในธุดงคคุณ เหมือนกับการไม่งอกขึ้นแห่งพืชด้วยไม่ถูกรดน้ำฉะนั้น
   หรือเหมือนกับการไปสู่สุคติ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ได้ทำกุศลไว้ฉะนั้น ขอถวายพระพร


-http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=205.345
(ต่อที่ # ๓๔๕ หน้า ๒๔ ธุดงคคุณ)


ออฟไลน์ mmm

  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • ***
  • กระทู้: 206
  • พลังกัลยาณมิตร 109
  • <( O-O )>
    • ดูรายละเอียด
Re: มิลินทปัญหา
« ตอบกลับ #328 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 09:07:17 am »
สาธุครับ  :07: :07: :07:
กรรมใดใครก่อ กรรมนั้นย่อมตามสนอง
ผู้ก่อกรรมดี   ย่อมได้รับกรรมดี
ผู้ก่อกรรมชั่ว ย่อมใด้รับกรรมชั่ว
"ใช้ใจดู จะรู้จิต  ใช้จิตดู จะรู้ใจ"

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ธุดงคคุณ
« ตอบกลับ #329 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 04:47:18 pm »


   ธุดงคคุณ
   
   เปรียบเหมือนปฐพี เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผู้มุ่งความบริสุทธิ์   
   และเปรียบเหมือนน้ำ เพราะเป็นเครื่องชำระกิเลสมลทิน   
   เปรียบเหมือนไฟ เพราะเป็นเครื่องเผากิเลสทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนลม เพราะเป็นเครื่องพัดเอามลทินคือกิเลสไป   
   เปรียบเหมือนยาแก้พิษงู เพราะเป็นเครื่องแก้ความเจ็บไข้คือกิเลส
   
   เปรียบเหมือนดังน้ำอมฤต เพราะทำลายกิเลสทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนนา เพราะเป็นที่งอกขึ้นแห่งคุณของสมณะทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนแก้วมโนหรจินดา เพราะให้สำเร็จสมบัติตามความปรารถนา   
   เปรียบเหมือนเรือ เพราะให้ข้ามฟากคือสงสารได้   
   เปรียบเหมือนเครื่องป้องกันภัย เพราะทำให้เกิดความเบาใจแก่ผู้กลัวชรามรณะ

   
   เปรียบเหมือนมารดา เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ ซึ่งผู้กำจัดกิเลสแห่งทุกข์   
   เปรียบเหมือนบิดา เพราะทำให้เกิดผลแห่งความเป็นสมณะ   
   เปรียบเหมือนมิตร เพราะไม่ทำให้ผิดพลาด จากการแสวงหาคุณธรรม   
   เปรียบเหมือนดอกปทุม เพราะไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส   
   เปรียบเหมือนของหอม ๔ อย่าง เพราะกำจัดกลิ่นเหม็นคือกิเลส
   
   เปรียบเหมือนพระยาเขาสิเนรุราช เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘   
   เปรียบเหมือนอากาศ เพราะปราศจากการยึดถือในสิ่งทั้งปวง   
   เปรียบเหมือนแม่น้ำ เพราะเป็นที่ล้างเครื่องเศร้าหมองคือกิเลส   
   เปรียบเหมือนผู้นำทางเพราะช่วยให้ข้ามพ้นหนทางที่กันดาร คือหลงผิดไปกับการเกิด   
   เปรียบเหมือนหมู่เกวียนเพราะส่งให้ถึงพระนครคือนิพพาน อันประเสริฐอันไม่มีภัย ไม่มีกิเลสและกองทุกข์

   
   เปรียบเหมือนกระจกที่บริสุทธิ์สะอาดเพราะทำให้เห็นความจริงแห่งสังขารทั้งหลาย   
   เปรียบเหมือนโล่ห์ เพราะเป็นเครื่องกั้นซึ่งไม้ค้อน ลูกศร อาวุธ คือกิเลศ   
   เปรียบเหมือนดวงจันทร์เพราะทำให้เกิดความเย็นใจ   
   เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เพราะกำจัดความมืดทั้งปวง

   
   ขอถวายพระพร ธุดงคคุณย่อมมีคุณมาก เป็นของทำความเกื้อกูล ทำความสบาย ทำความรัก ทำความไม่มีโทษ ทำให้ไปจากบาป เป็นที่ตั้งนำมาซึ่งยศ นำมาซึ่งสุข มีสุขเป็นผล มีคุณมากมายก่ายกอง มีพระคุณหาประมาณมิได้ เป็นของประเสริฐในที่ทั้งปวง เป็นเครื่องกำจัดภัย กำจัดโศก กำจัดทุกข์ กำจัดความกระวนกระวาย กำจัดความเร่าร้อน กำจัดความไม่ยินดีทางธรรม กำจัดภพ กำจัดตะปู กำจัดราคะ โทสะ โมหะ ทิฏฐิ กำจัดอกุศลทั้งปวง ขอถวายพระพร