ก็ในเมื่อความเป็นจริง
ความเป็นธรรมชาติอันคือสัมมาทิฏฐินั้น
มันเป็นธรรมชาติโดยสภาพเนื้อหาของมันเองอยู่แล้ว
อยู่อย่างนั้น
ความเป็นธรรมชาติโดยสภาพของมันเอง
มันจึง "ไม่ใช่วิธี"
แต่เมื่อนักปฏิบัติทั้งหลายหลงไปว่ามันควรมีวิธีปฏิบัติ
ที่ทำให้ผลแห่งการปฏิบัติ
(ซึ่งแท้ที่จริงมันคือความเป็นธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น)
มันเกิดขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงการลงมือไป
ในความเพียรพยายามของนักปฏิบัติเองนั้น
การเข้าใจผิดในความหมายแห่งธรรมชาติ
และการมุ่งทะยานไปข้างหน้า
ที่หาเส้นชัยจุดหมายปลายทางไม่เจอ
เพราะวิธีต่างๆที่นักปฏิบัติเข้าใจและน้อมนำมา
เป็นทิศทางให้กับตนนั้น
มันไม่ใช่การปฏิบัติที่แท้จริงตามวิถีหนทางแห่งธรรมชาติ
แต่มันล้วนคือ ความหมายแห่งการปรุงแต่งของนักปฏิบัติเอง
มันเป็นการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นจิต
เป็นจิตที่ปรุงแต่งไปในการปฏิบัติที่ผิดวิธีอยู่อย่างนั้น
28 ธันวาคม 2013
**********************
เซน แห่ง หนังสือ
"คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
อาจารย์ราเชนทร์
บทที่ 19 นาข้าวแห่งพุทธโคดม
เมื่อลมหนาวของต้นฤดู ได้พัดผ่านมาทางท้ายหมู่บ้าน ซึ่งบริเวณนั้นมีท้องทุ่งนาแปลงหนึ่ง เป็นนาที่อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ภายในนาข้าวแปลงนั้นมีต้นข้าวที่ท้องแก่รวงใหญ่ ขึ้นเบียดเสียดกันอยู่อย่างระลานตา และที่นั่นมีชาวนาที่ชื่อ "สมณพุทธโคดม" ท่านกำลังทรงใช้เคียวเก็บเกี่ยวข้าวในนาแปลงของตนอยู่ นาข้าวแปลงนี้อยู่ ณ บริเวณหมู่บ้านนิคม "อุรุเวลา" เป็นหมู่บ้านซึ่งมีความสงบเงียบ เป็นสถานที่ที่ร่มรื่นเป็นรมณียสถาน สะดวกด้วยโคจรคามในการเดินทางไปมา มีป่าชัฏเยือกเย็น แม่น้ำใสเย็นจืดสนิท และมีต้นโพธิ์ต้นใหญ่ยืนต้น ตั้งตระหง่านอยู่อย่างเห็นได้อย่างเด่นชัด ภายใต้ควงโพธิ์ต้นนี้ ชาวนาคนนั้นได้ใช้เป็นที่พักอาศัยแห่งตน เพื่อหลบแดดหลบฝน
ต่อมาในเวลาตะวันบ่ายคล้อยของวันนั้น มีพราหมณ์คนหนึ่งเดินผ่านมา และเห็นรวงข้าวในท้องนา จึงได้เอ่ยปากกล่าวชมข้าวในนาของพระองค์ท่าน ว่าพระองค์ท่านเป็นชาวนาที่เยี่ยมยอด มีความดูแลเอาใจใส่เพาะปลูกข้าวในนาได้เป็นอย่างดี พราหมณ์จึงถามต่อพระองค์ท่านว่า มีวิธีดูแลอย่างไร จึงได้ผลผลิตเป็นข้าวรวงทองสีเหลืองงามอร่าม พระพุทธองค์จึงทรงตรัสให้ฟังว่า เหตุที่ข้าวในนาของพระองค์ท่าน ทรงมีความอุดมสมบูรณ์ ข้าวมีรวงใหญ่ เมล็ดข้าวมีความสมบูรณ์ไม่เล็กลีบเรียว เพราะเมื่อ "ฤดูฝนแห่งการได้ตรัสรู้" ที่พึ่งได้ผ่านมาถึง ท่านทรงได้ใช้ศาสตร์แห่งการเป็นกสิกรชาวนา ที่ท่านทรงได้อบรมตนเองมาตลอดระยะเวลานานเป็นอสงไขย ลงมือเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชื่อ "เมล็ดพันธุ์ข้าวแห่งพุทธะ" ลงในแปลงนาของท่าน โดยท่านทรงกล่าวว่า ในการทำนาเมื่อต้นฤดูฝนที่ผ่านมานั้น ท่านลงมือหว่านไถโดย
"ใช้ศรัทธาของเราเป็นพืช ใช้ความเพียรของเราเป็นฝน ใช้ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ใช้หิริของเราเป็นงอนไถ ใช้ใจของเราเป็นเชือก ใช้สติของเราเป็นผาลและปฏัก ชาวนาอย่างเราคุ้มครองกาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเรา เป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไป เพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ที่บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การหว่านและไถนานั้น เราหว่านไถแล้วอย่างนี้ การหว่านและไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"
31 ธันวาคม 2013
******************
เซน แห่ง หนังสือ "คำสอนเซน
ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
พระอาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
มีใจ
มีกระบี่
และด้วยความวุ่นวาย
จึงต้องตัดใจ
แต่เมื่อไร้ใจ
จึงไร้กระบี่
และไม่มีอะไรให้ตัด
ในท่ามกลางความสงบ
ตามธรรมชาติของมันอยู่อย่างนั้น
1 มกราคม 2014
******************
เซน แห่ง ไม่ต้องชักกระบี่
นายเมฆ โคโมริ
หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
ในหัวใจของพวกเธอทุกๆคน
มีเมล็ดพันธุ์ของความรัก
และความปรารถนาอันบริสุทธิ์
2 ม.ค. 2014
***********
เซน แห่ง พึ่งจะก้าว
นายเมฆ โคโมริ
หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
เมื่อไม่มีผืนน้ำ
ก็ไม่มีภาพสะท้อน
3 ม.ค. 2014
******************
เซน แห่ง เหตุและปัจจัย
หนังสือ "คำสอนเซน ภาค เซนในสายเลือด ปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
พระอาจารย์ราเชนทร์ สิมะสุนทร
>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน