ผู้เขียน หัวข้อ: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)  (อ่าน 25660 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 03:26:08 pm »




บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 39 สัมมาสมาธิ
การที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า การที่จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 สิ้นไปดับไปเป็นธรรมดานั้น มันเป็นเนื้อหาแห่ง “ มรรคมีองค์ 8” อยู่แล้ว ซึ่งมันประกอบไปด้วยอินทรีย์ธรรมแห่ง สัมมาสมาธิอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น “สัมมาสมาธิ” มันจึงเป็น “ธรรมชาติแห่งความตั้งมั่น” ตั้งมั่นในความดับไปเป็นธรรมดาแห่งจิตต่างๆแห่งขันธ์ทั้ง 5 เมื่อจิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 มันดับไปเป็นธรรมดาโดยสภาพมันเองมันก็บ่งบอกความหมายที่แสดงถึง “ไม่มีความเป็นเรา” “ความเป็นเราดับไป” ด้วยเหตุผลนี้จึงไม่สามารถเอาความเป็นเราเข้าไปฝึกเข้าไปทำ “สัมมาสมาธิ”ได้

เพราะฉะนั้นสัมมาสมาธิจึงไม่ใช่การเข้าไปทำ ไม่มีการเข้าไปฝึกเข้าไปทำ การเข้าไปทำสัมมาสมาธิล้วนเป็นความไม่เข้าใจในธรรมและเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง อีกทั้งสัมมาสมาธิไม่มีการเข้าและการออกเหมือนองค์ฌาน ที่มีลำดับในการเข้าไปในระดับของสมาธิในภาวะแห่งอัตตาอันประณีตนั้น เช่น เข้าไปในภาวะวิตกวิจารณ์ ปีติ สุข และเป็นภาวะหนึ่งเดียวที่ไม่ไปใหนไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากองค์ภาวนาคือจิตรวมเป็นอาการหนึ่งเดียวในลักษณะจิตจดจ่ออยู่อย่างนั้น เรียกว่า เอกคัตตา และสามารถออกมาจากภาวะฌานดังกล่าวได้



“จงฟังโศลกแห่งสมาธิธรรมชาติ”
*****
ธรรมชาติของสมาธิ ไม่มีทั้งการเข้า และไม่มีทั้งการออก
ไม่มีทั้งความเงียบ และ ไม่มีทั้งความวุ่นวาย ไม่มีทั้งสภาวะธรรมคู่แห่งการปรุงแต่ง
ธรรมชาติของสมาธิ ไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ใครจะสร้างขึ้นได้ มันเป็นธรรมชาติแห่งความสงบตลอดกาล
ซึ่งในภาวะเช่นนั้นไม่มีทั้งการเข้าอยู่และการออกมา
อาการที่ท่านยังเข้าๆ ออกๆ ได้อยู่นั้น ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเยี่ยม

************



ธรรมชาติแห่งสมาธิ มันเป็นอาการที่นิ่งแต่เคลื่อนไหวได้
มันเป็นสมาธิที่ประกอบไปด้วย สติและปัญญา
มันจึงทำหน้าที่ตามธรรมชาติแห่งความตั้งมั่นอยู่ตลอดเวลา ในทุกอิริยาบถ
ไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน กินข้าว ล้างหน้า แปรงฟัน
ขับรถ ทำงาน คุยกับเพื่อน ดูทีวี อ่านหนังสือ

และสมาธิธรรมชาตินี้ ไม่มีความเป็น “เรา” จะเข้าไปจับฉวยจับกุม
เพื่อวัดขนาดความเข้มข้นระดับชั้นมันได้
มันเป็นเพียงธรรมชาติอันตรงแน่วในความไม่มีไม่เป็นเท่านั้น

สมาธิธรรมชาติ มันก็ทำหน้าที่ของมันอยู่อย่างนั้นตามธรรมชาติ
หน้าที่ ที่เป็นความตั้งมั่นแห่ง..
“ความกลายเป็นเนื้อหาเดียวกัน”
กับความว่างเปล่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น


คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 04:36:46 pm »




บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 40 สัมมาสติ
ในส่วนธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสถึง “สติ” ในธรรมอันคือสติปัฎฐาน ท่านทรงตรัสไว้ในหมวดกายานุปัสนาสติว่า “เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่าเรานอน และความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ”

ในส่วนพิจารณาอริยบทนี้ พระพุทธองค์มีความประสงค์ให้เราเรียนรู้ถึงสภาพธรรมอันคือการระลึกรู้แบบถ้วนทั่วซึ่งมันคือ สติสัมปชัญญะ เพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้เข้าใจตระหนักชัดขึ้นถึง “ลักษณะความเป็นไป” ในอินทรีย์แห่ง สัมมาสติ
เพราะฉะนั้นการเดินจงกรม การนั่ง การนอน ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเพื่อฝึกสติ มันจึงเป็นเพียง "สติสัมปัชชัญญะ" เป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจธรรมในลักษณะที่เป็น “การระลึกรู้แบบถ้วนทั่ว” เป็นการเอา “ความเป็นเราเป็นอัตตาตัวตน” เข้าไปฝึกเข้าไปทำ แต่ทั้งนี้เป็นพุทธะประสงค์ให้เรียนรู้ทำความเข้าใจเพื่อเป็นบาทฐานเทียบเคียงให้เราได้เข้าใจตระหนักชัดขึ้นถึงลักษณะความเป็นไปในอินทรย์แห่งสัมมาสติ ในภายภาคหน้าเท่านั้น พึงเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า การฝึกสติสัมปัชชัญญะ ในอริยบทต่างๆเหล่านี้ยังไม่ใช่สัมมาสติแต่อย่างใด

สัมมาสติ เป็น "ธรรมชาติแห่งการรู้ในการที่จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 นั้นดับไปเป็นธรรมดาอยู่แล้วตามสภาพธรรมชาติมันเอง"
จึงไม่สามารถเอาความเป็นเราเข้าไปฝึกทำได้ เพราะมันเป็นอินทรีย์แห่งธรรมที่เกิดจากความดับไปเป็นธรรมดา จิตต่างๆหรือขันธ์ทั้ง 5 เมื่อมันดับไปโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา แสดงว่า "ไม่มีความเป็นเรา" “ความเป็นเราดับไป” และจะเอาความเป็นเราไปฝึก "สัมมาสติ" ได้ที่ใหนกัน



สัมมาสติ คือ"การที่รู้แบบธรรมดาธรรมชาติ"ว่าความคิดนั้นล้วนไม่เที่ยง
ดับไปเป็นธรรมดา.. โดยสภาพมันเองตามธรรมชาติ
ไม่ใช่เป็นการเอาจิตไปปรุงแต่งขึ้นมาอีกชั้นหนี่ง "เพื่องัดตัวสติ" ขึ้นมา
สัมมาสติ ก็คือ สติที่มีเองทุกขณะ
โดยไม่ต้องออกแรงตั้งใจให้มีสติ
และมีอยู่เองโดยไม่มีความต้องการที่จะให้มีสติ

เพราะเห็นว่าสตินั้นมีประโยชน์ การเอาสติไปตั้งเพื่อคอยจ้องดูความคิด
การตั้งสติแบบนี้ การเข้าไปจัดแจงเพื่องัดและดึงตัวสติขึ้นมา
เป็นการปรุงแต่งในธรรม..
เป็นการปรุงแต่งในรายละเอียดในวิธีปฏิบัติ มันไม่ใช่สัมมาสติ

แต่มันเป็นอวิชชาตัณหาอุปาทานตัวหนึ่งเลยทีเดียว เพราะขันธ์ 5 ไม่ดับ
แต่กลับเข้าไปยึดขันธ์ 5 ให้กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรม
ซึ่งเป็นอวิชชาอันละเอียด
มันเป็นได้แค่สติสัมปัชชัญญะ ไม่ใช่สัมมาสติ


การเข้าใจผิดด้วยการเข้าไปทำทีละขั้นทีละตอน เช่น การฝึกสติสัมปัชชัญญะด้วยการเดินจงกรม การนั่ง การนอน ในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการกิน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง การฝึกสติสัมปัชชัญญะดังกล่าวนี้จึงเป็นลักษณะของจิตปรุงแต่งที่เนื่องด้วย อวิชชา ตัณหา อุปทานทั้งสิ้น มิใช่เส้นทาง “ธรรมชาติ” อันคือธรรมชาติแห่งสติ หรือ สัมมาสติ แต่อย่างใด

แต่ถ้าเราพึงพิจารณาเห็นถึง ความเกิดขึ้นแห่งอิริยาบทของร่างกาย และอริยาบทที่เกิดขึ้นของร่างกายก็เปลี่ยนสภาพไปตั้งอยู่ในอริยบทเดิมได้ไม่นานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปจากอริยบทเดิมนั้น “ ด้วยความตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา ” อันเกิดจากการพิจารณากายในส่วนกายานุปัสสนาสติแห่งอริยบทแบบนี้เป็นบาทฐาน ก็ให้เราควรละทิฏฐิที่เห็นว่ากายนี้คือเรา
ไม่ควรเข้าไปเนื่อง ไม่ควรเข้าไปเนิ่นช้า ไม่ควรเข้าไปสาละวน ในทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งแบบนี้อีก กายนั้นเป็นเพียงแค่ได้อาศัยอยู่ชั่วคราว มีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดา การละทิฏฐิซึ่งเป็นจิตปรุงแต่งขึ้นมาตรงนี้ได้ คือ สัมมาสติ




เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ว่า.. มันว่างเปล่าตามธรรมชาติ
โดยสภาพมันเองอยู่แล้ว
มันก็บ่งบอกว่า อินทรีย์ แห่ง สติ หรือ สัมมาสติ
มันก็ยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ตามธรรมชาติอยู่แล้วเช่นกัน



คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398


ออฟไลน์ นิกายเซน

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 40
  • พลังกัลยาณมิตร 2
    • ดูรายละเอียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2013, 07:45:56 pm โดย นิกายเซน »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 05, 2013, 11:49:09 pm »



บทความจากหนังสือใจต่อใจในการฝึกตน (The core of Zen)
เขียนโดย..พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

บทที่ 41 การปรุงแต่ง “เพื่อรักษาจิต”
ความเป็นจริงแล้วหัวใจหลักที่เป็นคำสอนแห่งพระพุทธศาสนานั้น คือ ความเป็นเช่นนั้นของมันเองอยู่อย่างนั้น มันคือความไม่ใช่ตัวไม่ตนแบบถ้วนทั่วของมันอยู่อย่างนั้นเอง ไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะเกิดขึ้นและไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลยที่จะดับไป มันล้วนแต่เป็นธรรมชาติแห่งความว่างเปล่าที่เป็นความหมายแห่งความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนเป็น “ธรรมชาติดั้งเดิมแท้” ของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าหากบุคคลใดมีความไม่เข้าใจในคำสอนอันเป็นหลักธรรมอันแท้จริงข้อเดียวนี้ และยังเข้าไปหลงด้วยอวิชชาความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ก่อให้เกิดเป็นจิตปรุงแต่งเป็น “ความมีตัวตนอัตตา”เกิดขึ้น เมื่อยังไม่เข้าใจในธรรมชาตืที่แท้จริงและยังหลงเห็นว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น พระพุทธองค์ก็จะทรงชี้แนะว่า “สิ่งที่เห็นนั้นล้วนมีความแปรปรวนตั้งอยู่ได้มานานและมีความเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว”

แต่ถ้าบุคคลนั้นยังไม่เข้าใจและไม่สามารถตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งความแปรปรวนเสื่อมไปสิ้นไปเป็นธรรมดาของทุกสรรพสิ่งที่เห็นว่ามัน “เกิดขึ้น” แล้วได้ พระพุทธองค์ก็จะทรงสอนบุคคลเหล่านี้เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าไปเรียนรู้และทำความเข้าใจในธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนด้วยการแนะนำให้เข้าไปฝึกทำกรรมฐาน 40 กองตามจริตที่ตนเองชอบ เพื่อให้เกิดจิตอันประณีตปราศจากความวุ่นวายแห่งการปรุงแต่งเป็นตัวตนแบบซ้ำๆซากๆ เมื่อจิตสงบอันเกิดจากการเข้าไปทำกรรมฐานปราศจากการปรุงแต่งชั่วคราวแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำให้น้อมนำธรรมอันมีสภาพไม่เที่ยงแท้แน่นอนมาพิจารณาถึงเนื้อหาและความหมายของมันว่าเป็นเช่นไร

แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลซึ่งเปรียบเสมือนบัวใต้น้ำอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าไปทำกรรมฐานเพื่อให้จิตสงบลงได้และไม่สามารถทำความเข้าใจเพื่อตระหนักชัดและกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาของจิตต่างๆหรือของขันธ์ทั้ง 5 ได้เลย พระพุทธองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณที่จะโปรดสัตว์ผู้มีปัญญาอันมืดบอดเหล่านี้ โดยท่านทรงชี้แนะสอนให้สรรพสัตว์พวกนี้ “ปรุงแต่งจิต” เพื่อให้รักษาจิตไปในทางกุศลกรรมอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เรียนรู้เรื่องภพชาติเรื่องกฏแห่งกรรมที่จะทำให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิด พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้เลือกที่จะปรุงแต่งจิตไปในทางกุศลกรรม


เพื่อเลือกที่จะประกอบกรรมดีให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เป็นการสอนเพื่อให้เข้าไปปรุงแต่งรักษาจิต เป็นการสอนเพื่อให้เกิดความสำรวมระวังจิตมิให้ปรุงแต่งจิตไปในทางอกุศลกรรมไปในทางที่ไม่ดีไม่ชอบ ทั้งนี้เป็นพุทธประสงค์เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ไม่ตกไปสู่ภพภูมิที่ลำบากเมื่อละขันธ์ 5 ตายจากโลกนี้ไปแล้ว ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้เข้าไปกระทำปรุงแต่ง เช่น ให้รักษาศีลต่างๆ ให้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป ให้มีความสงบเสงี่ยมแสดงออกทาง กาย วาจา ใจ แบบสวยงามเหมาะสมลงตัวในมาตรฐานความดีในสังคมนั้นๆ แนะนำให้ให้สละทรัพย์เพื่อบริจาคทาน แนะนำให้เคารพและเลี้ยงดูบำรุงบิดา มารดา แนะนำให้เคารพผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์ แนะนำให้คบหาแต่บัณฑิต เหล่านี้เป็นต้น

                   

แต่สำหรับบุคคลผู้มีปัญญาที่สามารถตระหนักชัดถึงความสิ้นไปเสื่อมไปเป็นธรรมดา บุคคลผู้เปรียบเสมือนเป็นบัวปริ่มน้ำนี้ย่อมเข้าใจและเห็นชัดว่า จิตที่ปรุงแต่งไปในทางกุศลกรรมเหล่านี้ข้างต้น มันก็ล้วนมีสภาพเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ไม่นานมีความแปรปรวนสิ้นไปเสื่อมไปดับไปเป็นธรรมดาอยู่เองแล้วตามสภาพธรรมชาติ ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตอันเป็นกุศลกรรมเหล่านี้เพื่อที่จะส่งผลให้ต้องไปเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์ขึ้นมาอีก พวกเขาสามารถตระหนักชัดและซึมซาบกลายเป็นเนื้อหาเดียวกันกับความดับไปสิ้นไปเป็นธรรมดาของจิตอันเป็นกุศลต่างๆเหล่านี้ได้

ผู้ที่มีใจเที่ยงธรรม ผู้ที่มีความตระหนักชัด
และกลายเป็น.. เนื้อหาเดียวกัน กับธรรมอันคือธรรมชาติ
การรักษาศีลไม่เป็นของจำเป็น


คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2014, 12:47:50 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




สิ่งที่เรียกว่า “เซน” นั้น
ไม่อาจถือว่าเป็นนิกายหนึ่งของพุทธศาสนา
เซนไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่กับพุทธศาสนานิกายเซนเท่านั้น
หากแต่เป็นสัจจะอันสากล
ซึ่งจะนำปรีชาญาณที่แท้และนำสันติสุข
มาสู่ชีวิตของมหาชนในโลก...
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)




เซนมีบางสิ่งบางอย่าง
ที่สงบล้ำและปราศจากการปรุงแต่งทั้งมวล
ในขณะเดียวกับที่ห่อหุ้มปรีชาญาณอันลึกซึ้งไว้ภายใน
และถ้าหากเราพยายามที่จะยึดมันไว้
เพื่อนำมาดูว่าสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่
มันก็จะสูญหายไปจนไร้ร่องรอย
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)




เซนปฏิเสธการใช้สมองขบคิดใคร่ครวญ
เพราะกระทำดังนั้น
เท่ากับตกเป็นทาสของจิตใจแบบแบ่งแยก
..
..
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)




ดอกไม้เบ่งบานขึ้นอย่างเงียบงัน
และจะหลุดร่วงไปโดยไร้สำเนียง
มาบัดนี้ ณ กาลนี้ และ ณ สถานที่นี้
ดอกไม้ทั้งหมด โลกทั้งหมด ล้วนเบิกบานขึ้น
นี่คือคำจำนรรจาแห่งดอกไม้
คือสัจจะแห่งการเบ่งบาน
แสงอันเรืองรองแห่งชีวิตนิรันดร์
ได้ฉายฉานลง ณ ที่นี้แล้ว
เซน แห่ง เซนไค ชิบายามะ(ดอกไม้ไม่จำนรรค์)




ในโลกนี้มีคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่แค่ฟังพุทธพจน์
แล้วสามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของพระพุทธองค์ได้
ผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้จะต้องเป็นผู้มีปัญญาดุจพระราชา
ที่สามารถคัดเลือกแยกแยะคำแนะนำที่ดีๆของคณะที่ปรึกษา
มาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยไม่ถูกจูงจมูก
อย่างมีวิจารณญาณที่เป็นตัวของตัวเอง
~~~~~ เซน แห่ง โดเง็น ~~~~~




การแค่มีแนวคิดเกี่ยวกับพุทธธรรม
ยังไม่เพียงพอหรอก
ตราบใดที่คนผู้นั้นยังไม่สามารถ
สำแดงความเป็น “ผู้อยู่บนทาง” นี้
ต่อหน้า “คุรุ” หรือครูที่แท้ได้
ด้วยหัวใจและจิตวิญญาณทั้งหมดที่เขามี
~~~~~ เซน แห่ง โดเง็น ~~~~~




ธรรมชาติเดิมแท้ของเธอนั้น
เป็นสิ่งซึ่งมิได้หายไปจากเธอ
แม้ในขณะที่เธอกำลังหลงผิดด้วยอวิชชา
และมิได้รับกลับมาในขณะที่เธอมีการตรัสรู้
เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท




คำสอนเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
-http://www.facebook.com/profile.php?id=100003001500398



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: เมษายน 18, 2013, 03:32:51 am »



การเจริญด้วยสติว่ามีมันอยู่ แล้วรอดูการดับไป
ก็ไม่ได้ทำให้เข้าถึงธรรมชาติอันแท้จริง
เพราะสิ่งอันเป็นมายาทั้งหลายก็จะมาวนเวียนมาให้เราดูอยู่เสมอ
จนกว่าเราจะใช้ปัญญาซึ่งเป็นเสมือนกุญแจ ปลดความมีตัวตนออกมา
เพื่อให้เห็นสิ่งอันจริงแท้
ที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น
ว่าแท้จริงแล้วมันไม่มีอะไรเลยสักสิ่งเดียว




ความคิดปรุงใด ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย
ที่กำลังกระหายต่อความหลุดพ้น
ย่อมสร้างภาวะพุทธะแห่งความเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
..
..




จิตเราย่อมทำหน้าที่รู้สึกนึกคิด
เรามักพยามไล่ตามมัน โดยใช้สติควบคุม หรือกดมันไว้
ก็ได้แค่เพียงชั่วขณะ แต่พอเผลอมันก็เตลิดไปอีก
บางทีไล่ตามมันจนเกิดความชำนาญ
คิดว่านั่นคือความสงบหรือความว่าง
แท้จริงแล้ว เราได้ใช้ความมีตัวตนเข้าไปจัดการมันต่างหาก
เพราะมีเราได้เข้าไปเริ่มและจบให้กับมัน
ก็เป็นการสมมุติปรุงแต่งทั้งนั้น
ทำให้บดบังความเป็นธรรมชาติอันแท้จริง




หลักธรรมที่กล่าวนี้
ก็คือ ธรรมชาติแห่งพุทธะ
ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว
ก็ไม่มีหลักธรรมหรือหลักเกณฑ์ใดๆ เลย
ที่ต้องเข้าไปปฏิบัติให้ยุ่งยากซับซ้อน




การเห็นแจ้งธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ
ภายในของตนเหล่านี้
ไม่ได้หมายความว่าได้อะไรมาใหม่
..
..




เซน แห่ง หนังสือ "ใจต่อใจในการฝึกตน"
พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2013, 07:22:08 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2013, 01:01:15 am »




การที่เกิดการปรุงแต่งใดๆขึ้นมาเป็นจิต
แล้วเราก็ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในจิตชนิดนั้นๆ
ปล่อยให้มันไม่เที่ยงดับไปเป็นธรรมดาตามสภาพธรรมชาติ
แล้วเรียกมันว่า “การรักษาจิตให้บริสุทธิ์”
แล้วยังคิดอีกว่าความบริสุทธิ์ของจิตชนิดที่
ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น
มันจะเป็นเหตุให้ได้ตระหนักชัดในเนื้อหา..
ธรรมชาติดั้งเดิมแท้




ซึ่งแท้จริงมันก็ยังเป็น ความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง อีกเช่นเดิม
ก็เพราะว่าโดยเนื้อหาแห่งธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันคือความว่างเปล่า
อันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่อย่างนั้น




มันคือความว่างเปล่า..
อย่างนี้มานานแสนนานแล้ว
เป็นคุณสมบัติอันดั้งเดิมของมันอัน
หาจุดเริ่มต้นมิได้ด้วยซ้ำ
เป็นคุณสมบัติของตัวมันเอง
ตามธรรมชาติดั้งเดิมแท้




โดยมิได้อาศัยกับความเกิดขึ้นดับไป
แห่งปรากฎการณ์ทางจิตต่างๆ อันจะถือว่า..
เป็นจิตบริสุทธิ์
ก็เพราะธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันคือเนื้อหาแห่ง ความเป็นธรรมดา
ตามธรรมชาติ..
แห่งความว่างเปล่าของมันอยู่อย่างนั้น
หาใช่ความบริสุทธิ์ใดๆไม่





เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 02:13:27 pm »



จากจิต สู่จิต

ท่านซูอิกันโรชิ ขณะนั้นอยู่ในวัย 70 ปีแล้ว ได้ตั้งคำถามหลังที่ได้ฟังเรื่องราวของหนุ่มน้อยผู้แจ้งความประสงค์จะบวชอยู่ที่วัดว่า “ดูเหมือนว่าเธอจะสิ้นศรัทธาต่อทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งผู้คนด้วย แต่ที่นี้การฝึกปฏิบัตินั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากเธอไม่วางใจในครู เธอจะไว้เนื้อเชื่อใจฉันได้ไหมล่ะ ถ้าได้ ฉันจะรับเธอไว้ที่นี่ แต่ถ้าไม่ ก็เป็นการสูญเปล่า เธอก็กลับบ้านเสียดีกว่า

แม้จะไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของ ‘ความวางใจ’
แต่ด้วยความกลัวจะถูกปฏิเสธ โชโกโรชิจึงตอบแข็งขันว่าท่านวางใจในอาจารย์

บทเรียนในวันแรกที่ไดชูอิน อาจารย์ซูอิกันไม่ได้สอนด้วยการนั่งเทศนา พรรณนาด้วยคำพูดอันมากมาย แต่ด้วยวิธีการชี้นำที่ล้ำลึกควรแก่การเอ่ยถึง นั่นคือท่านบอกให้โซโกโรชิไปกวาดบริเวณรอบ ๆ ไดชูอิน ในวัดเซนทุกวัดนั้นพระท่านตั้งใจปลูกต้นไม้หลากหลายพันธุ์ เพื่อที่จะให้มีใบไม้ร่วงให้พระได้กวาดเป็นการฝึกปฏิบัติตลอดทุก ๆ ฤดูกาล

เพื่อจะเป็นที่ยอมรับของอาจารย์ โซโกโรชิจับไม้กวาดลงมือปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างแข็งขัน ไม่นานก็ได้ใบไม้กองใหญ่เท่าภูเขา แล้วจึงไปถามอาจารย์ท่านว่าจะให้เอาขยะกองนี้ไปไว้ที่ไหน อาจารย์ซูอิกัน ส่งเสียงดังทันใด “ใบไม้ไม่ใช่ขยะ นี่เธอไม่เชื่อใจใช่ไหม” เขาจึงเปลี่ยนคำถามใหม่ว่าจะให้กำจัดใบไม้เหล่านี้อย่างไร อาจารย์ก็แผดเสียงอีกว่า “เราไม่กำจัดมันหรอก!” และบอกให้ท่านไปเอาถุงมาใส่ใบไม้ที่กวาดได้นำไปเก็บไว้เป็นเชื้อเพลิง ส่วนที่เหลือเป็นก้อนกรวดก้อนหินที่หลังเก็บไปแล้วท่านให้นำไปไว้ตรงชายหลังคา เป็นทั้งที่รองรับน้ำฝน และเพิ่มความงามให้กับสถานที่ และท้ายสุดท่านอาจารย์ก้มลงเก็บเศษของกรวดหินชิ้นเล็ก ๆ นำไปฝังไว้ในดินจนบริเวณนั้นเกลี้ยงเรียบหมดจดแล้วจึงพูดขึ้นว่า “เธอเข้าใจบ้างแล้วหรือยังว่า สภาพที่แท้และดั้งเดิมของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้นปราศจากขยะ”

                     

นี่เป็นบทเรียนแรกในชีวิตสมณะของท่านโซโกโรชิ อีกนานกว่าท่านจะค่อย ๆ เข้าใจว่า นี่คือถ้อยคำที่เป็นสัจธรรมในพุทธศาสนา และเป็นสาระเดียวกันกับที่ศากยมุนีได้เปล่งเป็นวาจาในคืนวันตรัสรู้ ดังที่บันทึกไว้ในพระสูตรมหายานของจีนว่า “ตถาคต บรรลุถึงซึ่งมรรควิถี พร้อมโลกทั้งโลก และสรรพชีวิต สรรพสิ่งทั้งหลาย ภูผาป่าดง แม่น้ำลำธาร ไม้ใหญ่ และหย่อมหญ้าล้วนตรัสรู้ด้วยกันหมดทั้งสิ้น”



พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท
ที่มา: หนังสือ ใจต่อใจในการฝึกตน
F/B >>> Sathid Tongrak

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 03:57:54 pm »



ถึงแม้จะเห็นว่ามี
“ความเปลี่ยนแปลง”
เกิดขึ้นดับไปเป็นธรรมดา
แต่มันก็ยังเป็นการเห็น
บนความเข้าใจในธรรมว่า
ยัง “มี” สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่
เพื่อให้เราเข้าไปรับรู้ถึง
“ความเปลี่ยนแปลง”
ในการเกิดขึ้นดับไปของมัน
ถึงจะรู้เห็นตามธรรมชาติว่ามันมีความเปลี่ยนแปลง
แต่โดยความเป็นจริงมันก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม

8 พฤษภาคม 2013
***********




เพราะถ้ายังมี
ความแตกต่างระหว่าง
ดีกับเลว ถูกกับผิด
มันก็ยังมีตัณหาเหมือนเดิม

14 พฤษภาคม 2013
****************




ธรรมชาติดั้งเดิมแท้
มันเป็นเนื้อหาที่บริบูรณ์อยู่แล้วโดยตัวมันเอง
เป็นความบริบูรณ์เต็มเปี่ยมชนิดที่
ไม่ต้องการเหตุและผล
เพื่อมาเติมเต็มในความบริบูรณ์แห่งมันได้อีกเลย

20 พฤษภาคม 2013
********************




ถ้าพวกเธอทราบโดยประจักษ์ว่า
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นของอันเดียวกัน
กับโพธิมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พวกเธอจะหยุดคิดถึงโพธิ
ในฐานะเป็นสิ่งที่ต้องลุถึงทันที

7 มิถุนายน 2013
***************




ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา
จงบินเอาเท่าที่บินเราบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
จงบินไปอย่าง...อิสระและเสรี

1 กรกฎาคม 2013
***************




ความสงบของฉัน
อยู่ตรงใหน...
อยู่กลางใจ
ที่ฉันกำหนดอยู่
ใช่หรือเปล่า

4 กรกฎาคม 2013
*******************



เซน แห่ง หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
ครูสอนเซน พระอาจารย์ราเชนทร์ อานนฺโท

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: “ใจต่อใจในการฝึกตน” (The core of Zen)
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มกราคม 03, 2014, 05:35:18 pm »



เมื่อทุกคนมีจิตวิญญาณแห่ง.. ความปรารถนา
อันบริสุทธิ์ร่วมกัน
บนพื้นฐานแห่ง.. ความอ่อนโยนของจิตใจมนุษย์
สิ่งดีงาม..  ที่มีคุณค่าทั้งหลายที่เป็น..
แก่นกลาง ของชีวิต
และความรู้ ที่จะทำให้พ้นทุกข์ ได้อย่างแท้จริง.. นั้น
สองสิ่งนี้ ล้วนก่อให้เกิด การพัฒนาปรับปรุง
จิตวิญญาณแห่ง.. ความเป็นมนุษย์ของตน
ไปสู่.. ความเป็นจิตวิญญาณแห่ง ความเป็นพุทธะ
ที่สมบูรณ์พร้อมเพรียงได้ในที่สุด

เซน แห่ง ความเป็นมนุษย์
29 ตุลาคม 2013
************************




ร้องให้กับฝัน กับวันที่.. เดินหลงทาง
ค่ำคืนอ้างว้าง ยังมีสายลมหายใจ
ผ่านทางมืดมิด ชีวิตต้องเดิน ก้าวไป
ยังมีแสงไฟความหวังจุดส่องนำทาง

เซน แห่ง ยิ้มให้กับฝัน (มาลีฮวนน่า)
นายเมฆ โคโมริ
***************




แม้.. หัวใจอ่อนล้า
ถึงเส้นทางข้างหน้า เลือนลาง
ก็จะก้าวข้ามไป

9 กันยายน 2013
******************
บทกวีไฮกุ แห่ง อ้างว้าง
นายเมฆ โคโมริ




มนุษย์ควรมองให้เห็นถึง
คุณค่าและศักยภาพอันยิ่งใหญ่
ที่แฝงอยู่ในธรรมชาติ
อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน

14 สิงหาคม 2013
*****************
เซน แห่ง ภายใต้ธรรมชาติ
นายเมฆ โคโมริ




ทุกคนมีเป้าหมาย แต่..
เรา ลืม อะไรไปบ้าง
ระหว่างทาง ไปสู่เป้าหมาย
ลืมกินข้าว ลืมกลับบ้าน
ลืมรดน้ำต้นไม้ ลืมเก็บกวาดบ้าน
ลืมใส่ใจ ลืมดูแลตัวเอง ลืมเรื่องเก่าๆ ลืมเวลา
ลืม.. ความหวังของใครบางคน
ลืม.. คนที่เรารักที่สุด

เซน แห่ง คลื่นหัวใจ
1 พฤศจิกายน 2013
***********************




กาลเวลา... ที่ยังมาไม่ถึง
จะพาเรามาพบกัน
ในเส้นทางอนันตกาล

เซน แห่ง ระหว่างห้วงกาลเวลา
10 พฤศจิกายน 2013
*******************




วัน... เวลา...
แห่ง...
การ... รอคอย
ยาวนาน... เทียบเท่า
อสงไขยเวลา

เซน แห่ง สังคมธรรมาธิปไตย
11 พฤศจิกายน 2013
***********************


>>> F/B นิกายเซน หนังสือใจต่อใจในการฝึกตน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2014, 09:26:55 pm โดย ฐิตา »