ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 09:27:10 am »

 :45:ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 08:06:16 am »




คำถามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับ
สุนทรียสนทนา



มันจะเหมือนการไปปฏิบัติธรรมหรือเปล่า ? ที่ว่าเมื่อไปหลีกเร้นภาวนาเจ็ดวันสิบวัน ใหม่ ๆ ก็รู้สึกดี
เหมือนมีบรรยากาศห่อหุ้มรอบตัว  ทำให้อะไรก็ดูดีไปหมด  ชีวิตแช่มชื่นเบิกบาน โกรธใครไม่เป็น
แต่แล้วมันก็ค่อย ๆ  หดตัว หาญสูญไปในที่สุด ถ้าเป็นเช่นนี้  ทั้งมณฑลแห่งพลังและการปฏิบัติธรรม
เป็นมายาการหรือไม่ ? เมื่อเรากลับสู่โลกความเป็นจริง  มายาการนั้นก็ค่อย ๆ ปลาสนาการไป ?


ในเรื่องนี้ สุนทรียสนทาดูเหมือนจะแตกต่างจากการปฏิบัติธรรม  ทั้งวิธีการ  กระบวนการ  และผลที่ได้
แต่ไม่โดยสิ้นเชิง  อย่างไรก็ตาม  การปฏิบัติธรรมก็มีหลายสำนัก  มณฑลแห่งพลังอาจจะเป็นสำนักหนึ่ง
แห่งการปฏิบัติธรรมก็ได้  ลองมาดูว่ามันแตกต่างกันและเหมือนกันอย่างไร  เราอาจจะได้เรียนรู้อะไร
จากใคร่ครวญประเด็นเหล่านี้บ้างไม่มากก็น้อย  และนำไปสู่การตอบคำถามข้างต้น


ที่แตกต่างประการแรกคือ  มิติของความเป็นองค์กรจัดการตัวเอง  กล่าวคือการเข้าไดอะล็อกอาจจะมี
กติกาชุดหนึ่ง  แต่ก็เป็นกติกาที่ทุกคนรวมทั้งผู้ดำเนินรายการ (ซึ่งเมื่อทุกคนคุ้นเคยกับกระบวนการ
ไดอะล็อกดีแล้วก็ไม่ต้องมีผู้ดำเนินการ )ต้องปฏิบัติตาม  นอกนั้นแล้วผู้เล่นคือองค์กรจัดการตัวเอง
ที่ไม่มีใครเข้ามาจัดการกับตัวเขาหรือเธอ  ในการปฏิบัติจะมีผู้นำ จะมีครูอาจารย์สั่งการให้ปฏิบัติตาม
แผนการเรียนรู้ของท่าน โดยจะมีเนื้อที่ให้กับองค์กรจัดการตัวเองมากน้อยแล้วแต่ความยืดหยุ่นของ
แต่ละเจ้าสำนัก ถ้าหากเข้าใจในกระบวนการศึกษาที่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ใหม่  คือสอดคล้องกับ
ศาสตร์แห่งการเรียนรู้รับรู้ทั้งหลาย ที่มีการวิจัยทางสมองมารองรับนั้น  ก็จะได้วิธีการจัดการศึกษา
แบบใหม่  ที่เปิดเนื้อที่ให้แก่ความเป็นองค์กรจัดการตัวเองมาก ดังจะเห็นได้ว่า  บางสำนักก็อาจจะมี
การพูดคุยกัน  และเสียงของผู้เข้าร่วมก็มีน้ำหนักมากกว่าการเป็นนักเรียนเพียงคนหนึ่งเท่านั้น


ถ้ามองจากมุมมองของสุนทรียสนทนา  นอกจากจะมีมีเนื้อที่ให้แต่ละคนตลอดจนแต่ละกลุ่มสนทนา
ได้เป็นองค์กรจัดการตัวเองอย่างมหาศาลแล้ว  สุนทรียสนทนายังให้พื้นที่ของเนื้อหาแก่กลุ่มคนอีกด้วย
เพราะว่าสุนทรียสนทนาเป็นกระบวนการ  ไม่ได้เป็นองค์ความรู้ที่ตายตัวเกี่ยวกับชีวิต  การงานและโลก
ในแต่ละกลุ่มแต่ละวง  เนื้อหาจะมีความแตกต่างหลากหลายกันไป สุนทรียสนทนาเป็นเพียงกระบวนการ
ที่เปิดเวทีให้คนได้คุยและรับฟังกัน  จริง ๆ จัง ๆ  ผลที่ได้ทางเนื้อหาที่พูดคุยกัน  จึงเป็นเรื่องของแต่ละ
กลุ่มเอง  การเป็นคำตอบหรือแนวทางหรือเบาะแสแห่งคำตอบในแต่ละเรื่องเช่นนี้  ทำให้ผลที่ได้
ในแต่ละคนรวมถึงกลุ่มจะรู้สึกเป็นเจ้าข้างเจ้าของ  ซึ่งจะเป็นดีกับความรู้สึกร่วมและความยั่งยืนที่
จะเกิดขึ้นจากการนำคำตอบเหล่านี้ไปปฏิบัติด้วย


สิ่งที่เกิดขึ้นในวงสุนทรียสนทนา ที่แตกต่างอีกก็คือ  เมื่อเกิดปัญญาจากการสนทนา  คนที่เคยไป
ปฎิบัติธรรมก็จะเห็นได้ว่ามันเป็นวิปัสสนากรรมฐานในรูปแบบหนึ่งแน่ ๆ  เพราะเมื่อเข้าวงสนทนา
และเริ่มฟังอย่างมีทัศนคติที่ถูกต้อง  คือ  การฟังอย่างมีสมาธินั่นเอง  การพูดคุยก็ไม่เน้นข้อโต้แย้ง
หรือเอาชนะคะคาน  ผลที่ได้คือความรู้สึกบวกและดีต่อกัน  เป็นการเจริญพรหมวิหารไปด้วยในตัว
ในความนิ่งสงบแห่งจิตใจ ในการฟัง  และความเป็นกุศลจิตเมื่อดำรงอยู่ในพรหมวิหาร คือ
เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา  คำอุเบกขานี้หมายความว่า  ไม่ตัดสินถูกผิดผู้อื่น  ให้ห้อยแขวน
เอาไว้ก่อน  แต่ให้ความใส่ใจสนใจผู้อื่น  สุขทุกข์  ความคิดความอ่านของเขาหรือเธอ 
เมื่อการสนทนาดำเนินไปถึงช่วงวุฒิภาวะที่สี่  ตรงนี้เอง  ที่การฟังจะเป็นความใส่ใจอย่างยิ่ง
การเหนี่ยวนำของกลุ่ม  ทำให้ทั้งกลุ่มมีสมาธิ  มีอุเบกขาไปด้วยโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดโยนิโสมนสิการ
เกิดการใคร่ครวญทางปัญญา มีการโผล่ปรากฏแห่งญาณทัศนะ  อันเป็นปัญญาที่ก่อผลอย่างยั่งยืน


อีกประการหนึ่ง  เมล็ดพันธุ์อันเกิดจากการใคร่ครวญดังกล่าว  มิได้สิ้นสุด  เมื่อการสนทนายุติ
มีรายงานมากหลาย  จนเรียกได้ว่าทุกคนที่เข้าสู่การสนทนาด้วยความจริงใจ  คำถาม  ปริศนา
ทั้งที่คิดขึ้นในวงสนทนา  และคิดขึ้นมาได้ในภายหลัง มันเกิดการบ่มเพาะและรอเวลาแห่ง
การโผล่ปรากฏ  สำหรับหลายคน  คืนวันนั้นหรือคืนต่อไป  คำถามคำตอบจะผุดพรายขึ้นมา
มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ  และไม่ได้สิ้นสุดลงตรงนั้น  ด้วยปัญญาด้วยวิถีใหม่แห่งการฟัง
และการสนทนา การบ่มเพาะยังดำเนินต่อไป  ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์เป็นเดือนและเป็นปี
อยากจะเรียกได้ว่าตลอดชีวิต

- จากสุนทรียสนทนา  -
- วิศิษฐ์  วังวิญญู  เขียน-
- หน้า 126 ถึง 128 -