ใต้ร่มธรรม
ริมระเบียงรับลมโชย => รับสายลมเย็นหน้าระเบียง => ข้อความที่เริ่มโดย: sithiphong ที่ กรกฎาคม 21, 2012, 10:31:03 am
-
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้
สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (6 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)
อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-
.
-
“บ้านพลูหลวง”รากเหง้าแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ตอน 1
“บ้านพลูหลวง” รากเหง้าแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ตอน 1
การรัฐประหารเงียบครั้งสุดท้ายของราชธานีศรีอยุธยา เกิดขึ้นจาก พระเพทราชาผู้เป็นบิดาและหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)ผู้เป็นบุตร ร่วมวางแผนก่อรัฐประหารเงียบ ในปี พ.ศ.2231 ก่อนคิมหันตฤดูจนมาถึงวสันตฤดูในปีเดียวกัน จากเม็ดฝนที่โปรยปรายจะเนรมิตรเสน่ห์ความสดชื่นของท้องฟ้า สายน้ำและพืชพรรณ
กลับกลายเป็นเม็ดฝนเต็มไปด้วยสายเลือดหล่นจากฟ้า สาดใส่กระเด็นเข้าหา บุคคลสำคัญและข้าราชบริพารผู้ภักดีแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์
เริ่มตั้งแต่บริเวณพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ในเมืองลพบุรีราชธานีแห่งที่สอง รองจากกรุงศรีอยุธยาราชธานีและขอบเขตทั้งราชอาณาจักร
บุคคลสำคัญและควรนับเป็นเอกบุรุษที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับของคนไทยและคนต่างชาติก็คือ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์(คอนแสตนติน ฟอลคอน) กลาสีเรือชาวกรีก ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งของขุนนางข้าราชการกรุงศรีอยุธยา ในตำแหน่ง สมุหนายก
และเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ฝั่งธนบุรีสถานที่ที่พระเจ้าตากสินมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงศรีอยุธยามาประทับอยู่ ณ ที่นี่ จนถึงวาระสุดท้าย
จากการที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงเสด็จขึ้นไปประทับยังเมืองลพบุรี ปีหนึ่งประมาณ 7-8 เดือน ทรงเห็นว่า กรุงศรีอยุธยาอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยามากเกินไป หากข้าศึกต่างชาติ(หมายถึงชาวตะวันตก) ยกทัพมาทางเรือ จะป้องกันได้ยาก เมืองลพบุรีอยู่ขึ้นไปประมาณ 100 กม. พอจะมีเวลาป้องกันได้ง่าย ประกอบด้วยพระองค์ทรงมีโรคหอบหืดประจาพระองค์ กรุงศรีอยุธยามีสภาพอากาศชื้น ทำให้พระโรคกำเริบอยู่เสมอ พระองค์มักประทับในกรุงศรีอยุธยาเพียงปีละ 3-4 เดือนเท่านั้น
ช่วง 3-4 เดือนในราชธานีศรีอยุธยา ทรงมอบให้พระเพทราชาและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ดูแลรักษาพระนครต่างพระเนตรพระกรรณ ต่อเมื่อมีราชการสำคัญหรือรับสั่งให้มาปรึกษาข้อราชการ จึงจะเดินทางมาเฝ้า ณ เมืองลพบุรี แต่ทั้งสองต่างก็ระแวง กินแหนงแครงใจซึ่งกันและกัน กล่าวหากันและกัน ว่าฝ่ายหนึ่งเตรียมจะยึดอำนาจแย่งชิงราชสมบัติจากสมเด็จพระนารายณ์ แต่ดูแล้วพ่อลูกคู่นี้มีภาษีกว่า เพราะมีคนเกลียดชังและรังเกียจการเป็นคนต่างด้าวท้าวต่างแดนในตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มากกว่า
ช่วงก่อนสมเด็จพระนารายณ์จะสวรรคต ระหว่างทรงพระประชวรหนักนั้น พระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์ได้เฝ้าอย่างใกล้ชิด ควบคุมภารกิจภายในพระราชวังได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงมีความแน่ใจพระองค์ต้องสวรรคตในเวลาไม่ช้า ก็เกิดกำเริบคิดร้าย แต่ไม่มุ่งประสงค์จะปลงพระชนม์ มีการวางแผนเรียกประชุมขุนนางผู้ใหญ่ท่ามกลางทหารองครักษ์คอยพิทักษ์ ข่มขู่ให้ขุนนางเหล่านั้นเห็นดีเห็นงาม ในอันที่จะมอบราชสมบัติของพระองค์ให้แก่พระเพทราชา บรรดาขุนนางเหล่านั้นไม่สามารถบิดพลิ้วและทำตัวเป็นอย่างอื่นได้ ดีกว่าจะยอมให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ฉวยโอกาสชิงราชสมบัติเสียก่อน บ้านเมืองอาจจะยุ่งยากวุ่นวาย ก็จำต้องยอมคล้อยตามความคิดของสองพ่อลูก
จึงได้เกิดแผนลวงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปยังกรุงศรีอยุธยา ว่าสมเด็จพระนารายณ์มีพระราชโองการให้เข้าเฝ้าที่พระราชวังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ลพบุรี ตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ก็รู้ตัว แต่ด้วยความจงรักภักดี ก็ยอมนำพาชีวิตไปพบกับดักแห่งความตาย ด้านในหน้าประตูพระราชวังฯ ด้วยคมดาบของเหล่าทหารของพระเพทราชาและหลวงสรศักดิ์
-http://www.19-may.com/forum/forum.php?mod=viewthread&tid=1040&page=1-
.
-
“บ้านพลูหลวง” รากเหง้าแห่งการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา ตอน 2
-http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=27142-
พระรามเดโชเห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงส่งหนังสือขอให้พระราชบังสันช่วยหาทางหลบหนีออกจากเมือง พระราชบังสันเห็นแก่ความสัมพันธ์และเป็นชาวมุสลิมที่มีต่อกันมายาวนาน จึงช่วยให้พระยารามเดโชหลบหนีออกทะเลไปได้ ความทราบถึงพระเพทราชา จึงสั่งให้ประหารพระยาราชบังสันเสนีทันที
บุคคลที่กล่าวถึงเล่านี้เป็นนายทหารชั้นยอดของสมเด็จพระนารายณ์ ไม่ได้เป็นคนไทยแต่เป็นแขกเปอร์เซียที่เข้ามาอยู่เมืองไทย ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระเพทราชา ไม่ยอมเข้ามาถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ไม่ยอมตกเป็นผู้ทรยศต่อสมเด็จพระนารายณ์ เท่ากับไม่ยอมเป็น “ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย”
สิ้นราชวงศ์ปราสาททองแล้ว พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.2231
เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง” ชื่อหมู่บ้านในแขวงเมืองสุพรรณบุรี มีจิตใจเหี้ยมอำมหิต เจ้าเล่ห์แฝงอยู่ในสัญชาติญาณนักรบ แต่ช่วงเปลี่ยนผ่านรัชกาล ก็ยังมีขุนนางสุดยอดแห่งการทูต ด้านต่างประเทศ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)ผู้โด่งดังในทวีปยุโรปในราชสำนักฝรั่งเศสรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสำนักวาติกันในกรุงโรม อุปนิสัยเพียบพร้อมไปด้วยความอ่อนโยน มีจิตใจงาม น่าคบหาสมาคม เข้าได้ทุกฝ่ายและเดินสายกลาง ไม่เป็นภัยแก่ผู้ใด
แต่การเมืองในเวลานั้น คงมีสามขั้วอำนาจด้วยกัน กฎแห่งโลกเท่าที่ผ่านมา จะต้องมีพวกสองต่อหนึ่งและพวกหนึ่งต่อหนึ่ง พวกที่เป็นกลางนั้น ยากที่จะอยู่รอดปลอดภัย จึงเป็นเหตุต้องถูกรื้อนั่งร้านที่สำคัญสุดบนยอดเจดีย์ นั่งร้านนี้ค่อยๆถูกอำนาจลี้ลับทลายลงมากองบนพื้นดิน จะเป็นการตรอมใจตายหรืออัตวินิบาตกรรม (SUISIDE) ตนเอง หลักฐานไม่ปรากฏแน่ชัด นี่เป็นตัวโคนสุดท้ายในกระดานหมากรุก ก็ถือว่าเป็นนั่งร้านสุดท้ายดันไปขวางเจดีย์ที่สร้างเสร็จไปแล้ว
การปกครองและการเมืองในสมัยนั้น อำนาจมักจะมาควบคู่กับความระแวง สิ่งที่จะทำให้ความระแวงหมดสิ้นไป มีวิธีเดียวคือการกำจัดเสี้ยนหนามให้สิ้นซากนั่นเอง ทุกรัชกาลในกรุงศรีอยุธยามักเป็นเช่นนั้น พระเจ้าปราสาททองแห่งบางปะอิน
ก็มีส่วนเป็นบ่อเกิดจุดเริ่มต้นความเสื่อมแห่งยุคความอ่อนแอทางด้านการทหาร ได้มุ่งร้ายต่อ ยามาดะ นางามาซะ (ออกญาเสนาภิมุข) หัวหน้ากองอาสาญี่ปุ่น ขุนศึกซามูไรแห่งอโยธยา เป็นนักรบมีฝีมือสมัยพระเจ้าทรงธรรมครองบัลลังค์ พอปลี่ยนรัชกาล ได้นำทัพจากเมืองนครศรีธรรมราชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี สู้รบจนได้รับบาดเจ็บกลับมา ก็ถูกลอบวางยาพิษที่บาดแผล จนเสียชีวิตขณะครองเมืองนครศรีธรรมราช นี่เป็นการกำจัดบทบาทของพวกญี่ปุ่นในราชสำนักจนหมดสิ้น
นับแต่นั้นมาระบบราชการในราชสำนักได้นำความสามารถของ”ไพร่” ขึ้นมาแทนที่ “ผู้ดี”เก่า บางคนมาจากหลายเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติผสมปนเปมั่วไปหมด จึงมีแต่พวกประจบสอพลอ อิจฉาริษยาต้องการมีตำแหน่งสูงขึ้นไปแต่ไร้ฝีมือในการปฏิบัติราชการ ขาดคนเก่งผู้มีฝีมือ ขาดผู้มีความรู้ ทั้งยังขาดความสามัคคี มีแต่ความระแวงในเรื่องส่วนตัวและหน้าที่การงานเป็นส่วนใหญ่
แต่มาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระองค์ ได้รับการเลี้ยงดูแล จากพระนมแม่วัดดุสิต มารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี(ทั้งเหล็กและปาน) ถูกอบรมสั่งสอนมาดี ไม่เหมือนพระนมเปรมพระนมอีกคนหนึ่งมีบุตรชื่อพระเพทราชา นิสัยใจคอตรงกันข้ามจึงแตกต่างกันสิ้นเชิง แต่ด้วยสายตาอันยาวไกลผสมความโชคดีจากบุญบารมี ส่งผลให้ยุคของพระองค์เป็นช่วงรอยต่อเชื่อมความแข็งแกร่งทางด้านการทหาร
ได้มาเสริมบารมีด้วยนักรบมีฝีมือหลายคน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก),เจ้าพระยาสีหราชเดโช,พระยารามเดโช,พระยายมราช,พระยาราชบังสันเสนี ทั้งยังมีพวกตะพุ่นหญ้าช้างจำนวนมากที่ถูกเด็ดร่วงลงมาจากการพ่ายแพ้ในโชคชะตา รวมทั้งชาวมอญอพยพและถูกกวาดต้อนเข้ามาสวามิภักดิ์ มีความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงดูแลช้างและฝึกการบังคับช้างสำหรับการศึก ยังมีเหล่าทหารต่างชาติไม่ว่าจะเป็นทหารโปรตุเกส,ทหารฮอลันดา,ทหารฝรั่งเศสและชาวแขกเปอร์เซียช่วยดูแลทางด้านการเดินเรือและคอยคุ้มครองน่านน้ำในอ่าวไทย รวมแล้วมีหลักพันคนขึ้น
ความเสื่อมของราชวงศ์ “บ้านพลูหลวง” เริ่มฉายแววปรากฏชัดเจน ความระแวงและจิตใจอำมหิตของพระเพทราชา เป็นที่ยำเกรงและมีส่วนบั่นทอนให้ขุนศึก ข้าราชการมีฝีมือ มีสติปัญญาเป็นเลิศในราชสำนักหลายสาขา ได้เอาใจออกห่างด้วยกลัวภัยมาถึงตัว ก็แตกกระสานซ่านเซ็นทยอยหนีหายไป หลังจากเปลี่ยนผ่านรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์ มีถูกตามล่า ถูกเข่นฆ่า ส่วนใหญ่ที่หนีรอดไปได้ ก็เล็ดรอดออกไปจากราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ทำให้ราชสำนักขาดบุคลากรในการขับเคลื่อนกลไกของงานสำคัญหลายเรื่อง และประสิทธิภาพงานต่างๆก็ด้อยลงในทันใด
เหลือเพียงนักรบตัวจริงเสียงจริงเพียงคนเดียวคือ เจ้าพระยาสีหราชเดโช ยุคสมัยของพระเพทราชานี้ ถูกมองว่า เป็นสงครามล้างเผ่าพันธุ์คนในชาติมากที่สุด กว่าจะสงบเรียบร้อย ก็ต้องสูญเสียทหารกล้ามีฝีมือมากมาย ผูกโยงไปเป็นมูลเหตุให้เห็นถึงความอ่อนแอของบุคคลต่างๆในราชสำนัก ยิ่งขาดการคัดกรองสรรหาบุคคลที่ดีพอ และมีความอ่อนด้อยของการเปลี่ยนแปลงด้าน“สมุหกลาโหม”ยุคใหม่ของพระเพทราชานั้นด้วย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งราชวงศ์
“บ้านพลูหลวง” ก็ถึงกาลอวสานในอีก 79ปีต่อมา พร้อมทั้งกรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงครั้งสุดท้ายแก่พม่าเช่นกัน
ที่มา http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index08.html (http://www.snr.ac.th/wita/kalamung/index08.html)
และ
ที่มา
http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=443936&d=1226397190 (http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=443936&d=1226397190)
และ
ที่มา
http://allknowledges.tripod.com/killpunish.html (http://allknowledges.tripod.com/killpunish.html)
และ
ที่มา ! Private video (http://www.youtube.com/watch?v=YOaVNfrWirY#)
.
-
พระราชวงศ์บ้านพลูหลวงหลังกรุงแตกหายไปไหน
-http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/06/K5533752/K5533752.html-
ผมอยากจะทราบเรื่องราวของพระราชวงศ์บ้านพลูหลวงในช่วงหลังกรุงแตกน่ะคับ
1 ราชวงศ์บ้านพลูหลวงหายไปไหนช่วงหลังกรุงแตกและช่วงรัตนโกสินทร์ ผมทราบแต่เพียงว่าบางส่วนถูกกุมตัวไปพม่าและบางส่วนยังตกค้างอยู่ในเมืองไทย
2 ราชวงศ์บ้านพลูหลวงเคยเกี่ยวดองทางการสมรสกับเจ้านายราชวงศ์พระเจ้าตากหรือราชวงศ์จักกรีหรือไม่
3 ปัจจุบันยังพอมีผู้สืบสายเลือดของราชวงศ์นี้อยู่อีกหรือไม่
4พระบรมอัฐิของพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์อยู่ที่ใด
ใครพอทราบช่วยกรุณาตอบด้วยนะคับจะเป็นพระคุณอย่างมากคับ
จากคุณ : odia - [ 21 มิ.ย. 50 20:58:23 ]
ความคิดเห็นที่ 3
1) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นการจัดลำดับพระราชวงศ์โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ราชวงศ์นี้ก็คือราชวงศ์ที่สืบต่อมาจากพระเจ้าปราสาทโดยปกติ
จึงควรเป็นราชวงศ์อยุธยา
เมื่อสิ้นศึกสุริยาศน์อมรินทร์ 2310 พงศาวดารฉบับนายต่อกล่าวถึงการนำพระราชวงศ์กลับสู่อังวะ
".....ครั้นสีหะปะเต๊ะแม่ทัพทำเมรุพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาเสร็จแล้วก็จัดให้พลทหารเข้าเก็บคัดเลือกช้างม้ารี้พลแลแก้วแหวนเงินทองภาชนใช้สอยต่าง ๆ แลสาตราอาวุธต่าง ๆ ในพระคลังมหาสมบัตแลพระคลังข้างที่ทุกหนทุกแห่ง แล้วแม่ทัพคัดเลือกพระอรรคมเหษีแลพระสนม แลพระบรมวงษานุวงษ์ของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานั้น มีรายชื่อเลอียดแจ้งอยู่ข้างล่างนี้ คือ
มเหษีพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ๔ องค์ คือ พระนามว่าพระนางเม้า ๑ พระองค์มิ่ง ๑ พระองค์ศรี ๑ พระองค์ศิลา ๑ พระอนุชาของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ พระอนุชาราชาธิราชที่ได้เสวยราชนั้น ๑ สุรประทุมราชา๑ ชวาลอำดชติ ๑ พระองค์เจ้าตะไล ๑ พระองค์เจ้าสังข์ ๑ พระองค์เจ้าเนียละม่อม ๑ พระองค์เจ้ากร ๑ พระองค์เจ้าจริต ๑ พระองค์เจ้าภูนระ ๑ พระองค์เจ้าสูรจันทร์ ๑ พระองค์เจ้าแสง ๑ พระองค์เจ้าก้อนเมฆ ๑ พระอนุชารวม ๑๒ พระองค์
พระขนิษฐภคินีของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา คือเจ้าฟ้าปรมาศ ๑ เจ้าฟ้าสุรบน ๑ เจ้าฟ้าอินทรสุดาวดี ๑ เจ้าฟ้าหมื่นคอย ๑ เจ้าเกสร ๑ เจ้าอุ่มฉอุ้ม ๑ เจ้าฟ้าฉโอด ๑ องค์เจ้าลำภู ๑ องค์เจ้าเผือก ๑ องค์เจ้าเจีมตระกูล ๑ องค์เจ้าสอาด ๑ องค์เจ้าชมเชย ๑ องค์เจ้าอินทร์ ๑ พระขนิษฐ์ภคินีรวม ๑๔ พระองค์
พระราชโอรสของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา คือพระองค์เจ้าประเพศร ๑ พระองค์เจ้าสุรเดช ๑ พระองค์เจ้าเสษฐ ๑ พระราชโอรสรวม ๓ พระองค์
พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา คือองค์เจ้าประบิ ๑ เจ้าฟ้าน้อย ๑ เจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ๑ เจ้าเลีศตรา ๑ พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยารวม ๔ พระองค์
พระราชนัดดาเจ้าชายของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ หม่อมสีพี ๑ หม่อมจา ๑ หม่อมสูวดี ๑ หม่อมสูจี ๑ หม่อมฉง่าย ๑ หม่อมสูรัตน ๑ หม่อมโกรน ๑ หม่อมชมภู ๑ หม่อมสุพรรณ ๑ หม่อมอุดม๑ หม่อมไพฑูรย์ ๑ รวม ๑๔ พระองค์
พระราชนัดดาเจ้าหญิงของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือหม่อมมาลา ๑ หม่อมไชยา ๑ หม่อมชะแวก ๑ หม่อมอะไภย ๑ หม่อมอรุณ ๑ หม่อมอำพันธ์ ๑ หม่อมสรรพ์ ๑ หม่อมมาไลย ๑ หม่อมสูรวุฒ ๑ หม่อมชะฎา ๑ หม่อมม่วง ๑ หม่อมสิทธิ์ ๑ เจ้าศรี ๑ เจ้าต้น ๑ รวม ๑๔ พระองค์
พระราชภาคิไนยเจ้าชายพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ พระองค์เจ้าตัน ๑ พระองค์เจ้าแม้น ๑ รวม ๒ พระองค์
พระราชภาคิไนยเจ้าหญิงพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาคือ เจ้าดารา ๑ เจ้าศะริ ๑ รวม ๒ พระองค์
พระสนมที่เปนเชื้อพระวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา รวม ๘๖๙ องค์ พระราชวงษานุวงษ์ชายหญิงของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยารวมทั้งสิ้น ๒๐๐๐ เศษ ......"
...........ครั้นสมโภชเสร็จแล้ว สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ทราบข่าวว่าจีนห้อมาติดกรุงอังวะสีหะปะเต๊ะแม่ทัพจึงจัดพลทหารพลเมืองชายหญิง มอบให้นายทัพนายกอง ๔๐๖ คน
ควบคุมรวบรวมพลทหารพลเมืองอยุทธยา ๑๐๖๑๐๐ คน มอบแบ่งให้นายทัพนายกองเสร็จแล้ว ครั้น ณ วัน ฯ ๗ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๒๙ สีหะปะเต๊ะแม่ทัพได้ยกทัพออกจากกรุงศรี อยุทธยาไปยังกรุงรัตนบุระอังวะ ........"
...........ครั้นเดือนห้า จุลศักราช ๑๑๓๐ ปืนใหญ่ก็ถึงกรุงอังวะ
แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระมเหษีแลพระราชบุตรีแลพระสนมที่เปนพระราชวงษ์พระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ที่เปนเจ้าหญิงทั้งปวงนั้น ทรงจัดให้สร้างวังเอาเข้าไว้ในมหาพระราชวังหลวง แต่พระราชวงษานุวงษ์แลขุนนางข้าราชการแลพลเมืองพลทหารอยุทธยาทั้งปวงนั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวังแลทำเย่าเรือนเคหาอยู่ตามภูมิลำเนานอกกำแพงพระราชวัง แล้วทรงโปรดเกล้าฯ เลี้ยงดูให้อยู่เปนศุขทุกคน มิให้ร้อนใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด.........."
ส่วนที่ตกค้องอยู่เมืองไทย จะเป็นเจ้านายในระดับล่างลงมา เช่นพระธิดาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษที่ยังตกค้างอยู่ ที่ค่ายรวบรวมนำส่ง ที่ค่ายปากน้ำประสบ( ค่ายรบ) - โพธิสามต้น(ค่ายรวบรวม)
2) ราชวงศ์อยุธยา มีความเกี่ยวดองกับพระยาตาก และหลวงยกกระบัตรทองด้วง ในฐานะที่พระยาตากเป็นข้าราชการสายการค้า(กรมพระคลังซ้าย)ทางทะเลป้องกับจีนกันสินค้าจากโจรสลัด และหลวงยกกระบัตรเป็นข้าราชการสายมหาดไทย ที่ไปดูแลหัวเมืองราชบุรี
ศึกทัพเจ้าตากสามารถยึดค่ายรวบรวมเชลยที่โพธิสามต้น ก็ได้พบราชวงศ์อยุธยาฝ่ายหญิงอยู่ในค่ายซึ่งพงศษวดารไทย ว่าเป็นลูกของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ จึงนำมาเป็นมเหสีสองคนในช่วงสถาปนากรุงธนบุรี( ชื่อของพระญาตินั้นหาในพงศาวดารนะครับ) ส่วนทองด้วง ไม่ได้มีการเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อยุธยาหลังจากนั้น นอกจากการพยายามสร้าง Ayutthayanization กลับมา พระญาติพระวงศ์ในระดับล่างของราชวงศ์อยุธยา ได้รับการดูแลเช่นในความเห็นที่ 2 ครับ
3) เท่าที่จำได้นะครับ ไม่มีโอรสธิดากับพระยาตาก มี Gossip เรื่องความรังเกียจในฐานะ จึงไม่มีการสืบทอดราชวงศ์ของอยุธยาในกรุงเทพ
..............แต่ที่มัณฑะเลย์ มีครับ ลุกหลานของราชวงศ์อยุธยา ยังสืบเชื้อสายมาถึงปัจจุบัน แต่ก็ผสมกับพม่า มอญไปหลายสายเหมือนกัน เช่นในกรณีศึกษาจากนวนิยาย สายโลหิตไงครับ
4) จากพงศาวดารนายต่อ ".....ในเวลานั้นกองทัพพม่าเที่ยวสืบเสาะค้นหาพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาจนย่ำรุ่งก็ไม่เห็นพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา เพราะฉนั้นแม่ทัพพม่าจึงได้ถอดพวงคอแลเครื่องจำพระองค์เจ้าจันทร์ออกแล้วให้พลทหารคุมพระองค์เจ้าจันทร์นำไปเที่ยวค้นหาพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยานอกกำแพงในกำแพง ก็ไปเห็นพระศพพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยาถูกอาวุธล้มสวรรคตอยู่ที่ประตูเมืองฝั่งตะวันตกกรุงศรีอยุทธยา แล้วแม่ทัพพม่าเชิญเอาพระศพนั้นมาทำเมรุโดยสนุกสนาน....."
ส่วนพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขาของไทย ลิขิตให้พระเจ้าเอกทัศน์เป็นโรคเรื้อน หนีตายจากพระนครไปทางวัดสังฆวาส (ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง คนละทางกับประตูตะวันตก) กับมหาดเล็กสองคน แล้วใกล้อดตาย มอญไปพบจึงนำตัวกลับมาแล้วสวรรคตที่ค่ายโพธิสามต้น เจ้าตากมาขุดพระศพทำเมรุให้หลังจากที่ยึดค่ายได้ ..... ทำเมรุที่ค่ายโพธิสามต้น
พระบรมอัฐิของพระเจ้าเอกทัศน์ อยู่ที่ไหนดี เช่นเดียวกับกษัตริย์ในสมัยปลายอยุธยาอีกหลายพระองค์ ที่พงศาวดารของไทยในยุคหลังชี้ว่า มีพระบรมอัฐิของกษัตริย์อยุยา 16 พระองค์ บรรจุอยู่ที่ท้ายจระนำวิหารวัดพระศรีสรรเพชญ ส่วนที่ติดกับเจดีย์ใหญ่ทางทิศตะวันออก
พระบรมอัฐิอยู่ที่นั่นหรือเปล่า ตามพระราชประเพณีโบราณของกรุงศรีอยุธยา
แต่.....ก็เป็นที่น่าเสียดาย ที่เคยได้ฟังเรื่องเก่า ๆ มาว่า มีการลักลับขุดหาสมบัติโบราณในเกาะเมือง แล้วมีการเอาพระอัฐิออกมาจากกรุที่เก็บแล้วสาดกระจายไปทั่วท้ายจระนำนั้น
ปัจจุบัน อัฐิของพระมหากษัตริย์โบราณ กลายเป็นธุลีดินอยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญ โดยเฉพาะจุดท้ายจระนำ ที่ยังไม่เคยมีใครรู้ว่า ตรงนี้เมื่อในยามรุ่งเรือง พระมหากษัตริย์ทำนุบำรุงพระศาสนาแลปกปักษ์รักษาไพร่ฟ้า เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ปัจจุบันเป็นที่โพสท่าถ่ายรูป และเป็นทางเดินใหม่ ที่ทับไปบนพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์โบราณ
คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ไม่เคยถูกนำใช้กับวิชาการบูรณะ วิชาการท่องเที่ยวและวิชามรดกโลก
ส่วนใครจะเชื่อว่าพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของกรุงอโยธยาศรีรามเทพนครนั้น อยู่ที่ไหน ก็ขอให้อ่านจากข้อความนี้ประกอบการคิดและจดจำเรื่องราวในอดีตซักเล็กน้อย
“ ..... ทั้งนี้ไม่น่าประหลาดใดอันใด ชนชั้นนำในยุคนั้นเพิ่งผ่านความตระหนกอย่างใหญ่หลวงมาจากความพินาศของอยุธยา “เมืองอันไม่อาจต่อรบได้” จึงเป็นยุคสมัยที่ชนชั้นนำหันกลับไปมองอดีตเพื่อสำรวจตนเอง มีการวิจารณ์ตนเองที่เราไม่ค่อยได้พบในวรรณคดีไทยบ่อยนัก เช่น กลอนเพลงยาวของกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่หนึ่ง วิเคราะห์สาเหตุของความล่มจมของอยุธยา ความใฝ่ฝันที่จะจำลองอุดมคติของอดีตกลับมาใหม่ในนิราศนรินทร์ ฯลฯ เป็นต้น พระราชพงศาวดารที่ถูก ” ชำระ” ในยุคนี้จึงเต็มไปด้วยความใฝ่ฝัน ความรังเกียจ ความชัง ความรัก ความภูมิใจ ความอัปยศ และอคติของชนชั้นในยุคนี้เป็นอย่างมาก พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาจึงเป็นหลักฐานชั้นต้นที่ดีของประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ซึ่งได้บันทึกสิ่งที่สถิตอยู่ในความคิดและความเชื่อของคนชั้นนำในยุคนั้นอันเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยปรากฏชัดในหลักฐานทางประวัติศาสตร์โดยทั่วไป เช่น ตราตั้ง หมายรับสั่ง หรือจดหมายเหตุ......
..........ในขณะเดียวกัน การศึกษาเช่นนี้ก็จะช่วยให้เราใช้เป็นหนทางในการวิเคราะห์พระราชพงศาวดารอยุธยาในฐานะที่เป็นหลักฐานชั้นรองด้วยเพราะหากเราแยกอิทธิพลของการชำระในสมัยกรุงธนบุรี – รัตนโกสินทร์ออกจากพระราชพงศาวดารได้ หรือมีหลักอย่างกว้าง ๆ ในการแยกอิทธิพลดังกล่าว เราก็จะสามารถใช้พระราชพงศาวดารในฐานะหลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยุธยาได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ...”
“...ในปัจจุบัน นักศึกษาประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งสำนึกถึงข้อบกพร่องของการนำเอาปัจจุบันไปปะปนกับอดีต แต่นักศึกษาประวัติศาสตร์เหล่านี้จะได้ ”ลูกค้า” สักเพียงใดในสังคมที่เคยชินกับการ ”ใช้” อดีตเพื่อปัจจุบันมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อดีตที่ไม่มีสีสัน ไม่มีความสง่างาม ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ของใคร ไม่สนับสนุนสถาบันอะไรเป็นพิเศษ แต่อาจจะใกล้เคียงความจริงกว่า จะมีคุณค่าให้ผู้ใดมองเห็นได้ในสังคมชนิดนี้หรือ
และแม้จะพยายามสักเพียงใด งานของนักประวัติศาสตร์ที่จะเสนอความจริงอันแห้งแล้งนี้คือความล้มเหลวอยู่ส่วนหนึ่งเสมอ เราตัดตัวเองออกจาก”ปัจจุบัน” ให้เด็ดขาดไม่ได้ และส่วนนี้เองที่บังคับให้เราสนทนากับอดีตโดยไม่รู้ตัว ตราบเท่าที่เราเป็นมนุษย์ ข้อจำกัดนี้เป็นสิ่งที่เราต้องยอมรับไว้ และจนสุดความสามารถที่มนุษย์เล็ก ๆ อย่างเราจะพึงทำได้คือก้าวให้พ้นข้อจำกัดนี้ตลอดไป แม้จะต้องล้มเหลวอีก ในส่วนที่เป็นความล้มเหลวของนักประวัติศาสตร์ตรงนี้เองที่ทำให้การสนทนากับอดีตไม่มีวันสิ้นสุด และในหลักฐานชั้นรองทั้งหลายย่อมมีความเป็นหลักฐานชั้นต้น หรือที่มาร์ค บลอค เรียกว่า หลักฐานที่ไม่ได้ตั้งใจอยู่ด้วยเสมอ...”
( อาจารย์นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา )
จากคุณ : วรณัย - [ 24 มิ.ย. 50 10:09:39 ]
-
สมเด็จพระเพทราชา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระเพทราชา หรือ สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 28 ของอาณาจักรอยุธยาและทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา
พระราชประวัติ
พระเพทราชาเดิมเป็นสามัญชนชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน คือ บ้านพลูหลวงตั้งอยู่ในตำบลสนามชัย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี) เป็นบุตรของพระนมเปรม และมีพระขนิษฐาคือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ (แจ่ม)[3][4] พระสนมเอกในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาพระเพทราชาได้รับราชการในวังโดยรับตำแหน่งสูงและเป็นที่พึงพอพระราชหฤทัย
ในปี พ.ศ. 2231 ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่ที่ลพบุรีและทรงประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์แล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ประหารชีวิต และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ในปัจจุบัน
เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษวิสุทธิเดชอุดม พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2232 เมื่อมีพระชนมายุได้ 56 พรรษา
เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศสอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา
สมเด็จพระเพทราชา เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2246 พระชนมายุได้ 71 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
พระราชกรณียกิจ
การปฏิรูปการปกครอง
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ
นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย
การต่างประเทศ
ประเทศใกล้เคียง มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2234 เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมา ในปี พ.ศ. 2238 กษัตริย์กรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทานการรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน
พระมเหสี
พระเพทราชาทรงมีมเหสีสำคัญๆอยู่ 4 พระองค์ ได้แก่
กรมหลวงโยธาเทพ หรือ มเหสีฝ่ายซ้าย - พระราชธิดาในสมเด็จพระนารายณ์ มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าตรัสน้อย ทรงสนใจทางด้านการศึกษาในหลายๆแขนงวิชา ช่วงหลังย้ายตามพระราชมารดาไปอยู่ ณ พระตำหนักใกล้วัดพุทไธศวรรค์
กรมหลวงโยธาทิพ หรือ มเหสีฝ่ายขวา - พระน้องนางในสมเด็จพระนารายณ์ มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าชายเจ้าพระขวัญ (กรมพระราชวังบวรสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์)
กรมพระเทพามาตย์ หรือ เจ้าแม่วัดดุสิต[5] เป็นผู้อภิบาลพระเจ้าเสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ภายหลังได้ขึ้นเป็นที่กรมพระเทพามาตย์
พระแก้วฟ้า ปรากฎในเอกสารในสมัยอยุธยาได้กล่าวว่า หลังจากการไกล่เกลี่ยเขตแดนระหว่างไทยกับลาว กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์ได้ส่งพระราชธิดาถวายแก่พระเพทราชา แต่เอกสารของลาวกลับไม่ได้ปรากฎหรือกล่าวเอาไว้เลย[1]
อ้างอิง
^ 1.0 1.1 ภาสกร วงศ์ตาวัน. ประเทศราช ชาติศัตรู และพ่อค้านานาชาติ. กรุงเทพฯ:ยิปซี, 2553. หน้า 182
^ ราชอาณาจักรสยาม
^ ภูธร ภูมะธน. โกษาปาน ราชทูตกู้แผ่นดิน. (กรุงเทพฯ:สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้), 2550), หน้า 33
^ พลับพลึง มูลศิลป์. ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส สมัยอยุทธยา. (กรุงเทพ:บรรณกิจ), 2523, หน้า 110, 238
^ เรื่องเก่าเอามาเล่าอีก (1)
http://www1.mod.go.th/heritage/king/ayuthaya/ayuthaya5.htm (http://www1.mod.go.th/heritage/king/ayuthaya/ayuthaya5.htm)
ดูเพิ่ม
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2-
.
-
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมนามาภิไธย นายเดื่อ
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์ พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251
ระยะครองราชย์ 5 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเพทราชา
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ พ.ศ. 2204[1]
ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา[2]
สวรรคต พ.ศ. 2251
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
พระราชบิดา พระเพทราชา
พระราชมารดา พระนางกุสาวดี
พระราชโอรส/ธิดา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
เจ้าฟ้าหญิงแก้ว[3]
พระองค์เจ้าทับทิม[4]
พระราชประวัติ
พระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เชื่อว่าเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระสนมพระองค์หนึ่งโดยพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่[2] โดยคำให้การขุนหลวงหาวัดได้ออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[1]
แต่ในเวลาต่อมาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่ามีเนื้อหาสอดคล้องกัน คือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์ ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา[1] ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า[6]
"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราขา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"
โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์ได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การขุนหลวงหาวัด กล่าวว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น[1]
พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ[6][7] ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ[8] เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก
มีความในพระสยามราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช 1024 ปีชวดโทศก (พ.ศ 2205) สมเด็จพระนารายณ์ เสด็จไปตีเมืองเชียงใหม่กลับมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จไปนมัสการพระชินราชพระชินศรี ทำการสักการบูชาแล้วเล่นการมหรสพสมโภชสามวัน
จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสุรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสุรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา[9] แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[1]
วิเคราห์ตามเวลา การตีเมืองเชียงใหม่ของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นสมัยพระนารายในปี พ.ศ.2205 พระนางกุสาวดี ให้กำเนิดพระเจ้าเสือ พ.ศ.2213 และทรงครองราชจนถึง พ.ศ.2251 พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา จึงควรจะประสูติ พ.ศ.2204 หากรวมเวลาที่พระมารดาทรงพระครรแล้วทำให้เวลาไม่สอดคล้องกัน แต่พอสรุปได้ว่าพระองค์ไม่ใช่พระโอรสของพระนาราย
ครองราชย์
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 - 2246) หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชา พระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
ราชาภิเษก พ.ศ. 2246 ทรงมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า “เสือ”[2] ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว[10]
ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ[10]
ส่วนเรื่องพันท้ายนรสิงห์ และเรื่องที่พระองค์ออกไปชกมวยที่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญนั้น เป็นเรื่องราวที่ถูกแต่งเติมขึ้นภายหลัง ปรากฎครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับสมเด็จพนรัตน์ และขยายความโดยพิสดารเป็นตำนานพันท้ายนรสิงห์ที่เรา[เป็นใคร?] คุ้นเคยกันดีในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งชำระในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และถูกทำให้คิดว่าเป็นเรื่องจริงจนถึงปัจจุบัน[11]
พระอุปนิสัย
พงศาวดารบันทึกว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 มีพระอุปนิสัยชั่ว ทรงมักมากในกามคุณ และทรงฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่เนือง ๆ ผู้คนจึงออกพระนามว่า "พระเจ้าเสือ" เปรียบว่าทรงร้ายดังเสือ[5] โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกว่า[5]
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ทรงพระโกรธ ลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล
"ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร
"ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฎเรียกว่า พระเจ้าเสือ"
ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ทำนองเดียวกันว่า[12]
"ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์ทรงเสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้
"อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"
พระราชกรณียกิจ
ด้านศาสนา
ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม
ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขว้างใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร
สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสึกออกมาทำราชการเป็นจำนวนมาก
ด้านคมนาคม
ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์
ทรงให้ขุดคลองโคกขามซึ่งคดเคี้ยวให้ตรง[11] และขุดลัดคลองอ้อมเกร็ด[11]
ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น
สวรรคต
สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา
ดูเพิ่ม
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
อ้างอิง
^ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109
^ 2.0 2.1 2.2 ประวัติ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) Welcome to Phichit
^ ราชอาณาจักรสยาม
^ สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70
^ 5.0 5.1 5.2 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (2553). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. ISBN 9786167146089.
^ 6.0 6.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94
^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183
^ ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ, ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68
^ เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64
^ 10.0 10.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย. สกุลไทย ฉบับที่ 2436 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2544
^ 11.0 11.1 11.2 เรื่องเก่าเอามาเล่าอีก (1)
^ พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับที่เป็นสมบัติของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน. (2507). ตรี อมาตยกุล, บรรณาธิการ. พระนคร: ก้าวหน้า.
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_8-
.
-
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
พระบรมนามาภิไธย เจ้าฟ้าเพชร
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาท้ายสระ
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์ พ.ศ. 2251-พ.ศ. 2275
ระยะครองราชย์ 26 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต พ.ศ. 2275
พระราชบิดา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
พระอัครมเหสี กรมหลวงราชานุรักษ์ (พระนามเดิม เจ้าฟ้าทองสุก)[1]
พระราชโอรส/ธิดา เจ้าฟ้าพระนเรนทร กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์
เจ้าฟ้าหญิงเทพ
เจ้าฟ้าหญิงประทุม
เจ้าฟ้าอภัย
เจ้าฟ้าปรเมศร์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาท้ายสระ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเพชร เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ. 2251 ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา โดยมีเจ้าฟ้าพร พระอนุชา เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระราชประวัติ
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 เป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จพระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์ใน ปี พ.ศ. 2251 ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา มีพระนามว่า สมเด็จพระภูมินทรมหาราชา โดยพระนามที่เป็นที่รู้จักกัน คือ พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ โดยมีเจ้าฟ้าพร พระอนุชาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ปลายรัชสมัย มีการแย่งชิงราชสมบัติอย่างรุนแรง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ระหว่างพระราชโอรส 2 พระองค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคมะเร็งที่พระชิวหาและพระศอ ในปี พ.ศ. 2275 รวมระยะเวลาครองราชย์ 24 ปี
พระนาม
สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ มาจากนามพระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์ ซึ่งพระองค์ใช้เป็นประทับอันอยู่ข้างสระน้ำท้ายพระบรมมหาราชวัง
สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9
สมเด็จพระภูมินทราธิราช
ขุนหลวงทรงปลา
พระราชกรณียกิจ
ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ มีเรื่องราวที่น่าสนใจคือ มีการแต่งเรือสำเภาบรรทุกสินค้าไปค้าขายที่เมืองท่ามะริด ไปจรดถึงทวีปแอฟริกาตอนเหนือ มีการขุดคลองสำคัญอันเป็นเส้นทางคมนาคม คือ "คลองมหาไชย" และ "คลองเกร็ดน้อย" มีการแข่งกันสร้างวัด ระหว่างพระองค์กับพระอนุชา คือ วัดมเหยงค์ และวัดกุฏีดาว มีการเคลื่อนย้ายพระนอนองค์ใหญ่ของวัดป่าโมกเพื่อให้พ้นจากการถูกน้ำเซาะตลิ่ง เป็นต้น
ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีนถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2244 เกิดความวุ่นวายในเขมร อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกัน เจ้าเมืองละแวก ขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ส่วนพระแก้วฟ้าผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่ายญวน ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมืองอุดงมีชัย ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้พระแก้วฟ้ากลับมาอ่อนน้อมต่อไทย เขมรจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยเช่นแต่ก่อน
เกร็ดที่น่าสนใจ
ทรงเป็นกษัตริย์ที่โปรดเสวยปลาตะเพียนมาก โดยออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษ คือ ปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท
พระราชทานท้องพระโรงแก่สมเด็จพระสังฆราชแตงโม (ทอง) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์โดยล่องเรือจากอยุธยาไปเพชรบุรีแล้วไปสร้างที่วัดใหญ่สุวรรณาราม (วัดสุวรรณาราม บ้างก็เรียกวัดใหญ่) จึงทำให้คงเหลือพระราชวัง ท้องพระโรงที่แสดงถึงศิลปกรรมของอยุธยาที่เหลือรอดจากการเผาของพม่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี
อ้างอิง
^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ 1-9. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
วิชาการ.คอม
หอมรดกไทย
ดูเพิ่ม
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
.
-
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมนามาภิไธย เจ้าฟ้าพร
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ครองราชย์ พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301
ระยะครองราชย์ 26 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต พ.ศ. 2301
พระราชบิดา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
พระอัครมเหสี กรมหลวงอภัยนุชิต (พระพันวัสสาใหญ่)
กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)[1]
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 หรือ สมเด็จพระภูมินทรมหาราชาบรมโกศ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 31 แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าพร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 ทรงมีพระเชษฐา ได้แก่ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) พระองค์ได้รับการสถานปนาเป็นพระบัณฑูรน้อยในรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 และเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สงครามแย่งราชสมบัติ
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงพระประชวรหนักใกล้สวรรคตนั้น พระราชทานราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระเจ้าบรมโกศ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชอยู่ไม่เต็มพระทัย เพราะปรารถนาจะให้ทรงมอบราชสมบัติแก่เจ้าฟ้านเรนทร (กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์) ซึ่งในขณะนั้นทรงผนวชอยู่
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ คือ เจ้าฟ้าอภัย และเจ้าฟ้าปรเมศร์ อันเนื่องมาจากพระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีสิทธิที่จะขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐาอย่างถูกต้อง แต่เมื่อพระเชษฐาใกล้สวรรคตกลับตัดสินพระทัยยกราชสมบัติแก่ เจ้าฟ้านเรนทร พระโอรสพระองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทรไม่เห็นด้วยชอบด้วย จึงยกราชสมบัติให้แก่เจ้าฟ้าอภัย พระโอรสองค์รอง เป็นเหตุให้เกิดการต่อสู้แย่งชิงราชบัลลังก์จนกลายเป็นสงครามกลางเมือง กินระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ และประหารชีวิตเจ้าฟ้าทั้ง 2 พระองค์
รัชสมัย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาจนกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระองค์นั้นเป็นยุคที่บ้านเมืองดี มีขุนนางคนสำคัญที่เติบโตในเวลาต่อมา ในรัชกาลของพระองค์หลายคน เช่น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี, พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นต้น ในทางด้านวรรณคดี ก็มีกวีคนสำคัญเช่น เจ้าฟ้ากุ้ง ซึ่งเป็นพระโอรส เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2296 พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าบรมอยู่หัวโกศ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สวรรคตในปี พ.ศ. 2301 รวมระยะเวลาการครองราชย์นาน 26 ปี
อ้างอิง
^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
วิชาการ.คอม
หอมรดกไทย[ลิงก์เสีย]
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8-
.
-
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าดอกเดื่อ
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ บ้านพลูหลวง
ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - พ.ศ. 2301
ระยะครองราชย์ 2 เดือน
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต พ.ศ. 2339
พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชมารดา กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย)
พระราชโอรส/ธิดา พระองค์เจ้าตัน
พระองค์เจ้าแม้น
พระองค์เจ้าหญิงดารา
พระองค์เจ้าหญิงสิริ
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ สมเด็จพระอุทุมพรมหาพรพินิต หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าดอกเดื่อ (อุทุมพร หมายถึง "มะเดื่อ") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 32 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) โดยพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ที่มีต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร มัชฌิมประเทศ ต่อมาได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมขุนพรพินิต พระองค์มีพระเชษฐาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) และมีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 6 พระองค์ ได้แก่ เจ้าฟ้าประภาวดี เจ้าฟ้าประชาวดี เจ้าฟ้าพินทวดี เจ้าฟ้าจันทวดี เจ้าฟ้ากษัตรี และเจ้าฟ้ากุสุมาวดี
ครองราชย์
หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. 2289 แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง 11 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2300 จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด
เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศสวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2301 ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 แต่ก่อนหน้าที่จะมีพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและพระอนุชาต่างพระมารดาสามองค์ คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และ กรมหมื่นเสพภักดี ได้พยายามแย่งชิงราชสมบัติ แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงขอให้พระราชาคณะเกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ และพระองค์ได้ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์
เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็ทรงสละราชย์สมบัติแล้ว ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา แล้วพระองค์เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งเป็นที่มาในการเรียกพระองค์ว่า ขุนหลวงหาวัด ในกาลต่อมา
หลังเสียกรุงศรีอยุธยา
หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ถูกกวาดต้อนไปที่พม่าด้วยพร้อมเจ้านายและเชลยชาวไทยอื่น ๆ โดยทางพม่าได้ให้สร้างหมู่บ้านอยู่รอบเมืองมัณฑะเลย์ และพระองค์ได้เป็นผู้ให้ปากคำเรื่องประวัติศาสตร์อยุธยาแก่พม่า ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" ในปัจจุบัน หมู่บ้านดังกล่าวนี้ก็ยังคงมีอยู่ มีชื่อว่า "เมงตาสึ" แปลว่า "เยี่ยงเจ้าชาย" และก็ยังคงมีหลักฐานปรากฏถึงวัฒนธรรมไทยอยู่ เช่น ประเพณีการขนทรายเข้าวัดในวันสงกรานต์ หรือการตั้งศาลบูชาพ่อปู่ หรือ หัวโขน เป็นต้น แม้ผู้คนในหมู่บ้านนี้จะไม่สามารถพูดไทยหรือมีวัฒนธรรมไทยเหลืออยู่แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นที่รับรู้กันว่าบรรพบุรุษของพวกเขาเป็นเชลยมาจากไทย ปัจจุบันคนไทยกลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า "โยเดีย" (Yodia)
ปี พ.ศ. 2540 มีข่าวว่าพบพระบรมสถูปบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร บริเวณสุสานร้าง เมืองอมรปุระ ไม่ไกลจากสะพานไม้สักอูเบ็ง ข้อสันนิษฐานเกิดจากการพิจารณารูปพรรณสัณฐานไม่ได้ว่าเป็นแบบมอญ หรือพม่า คนเฒ่าคนแก่ในย่านนั้นก็เรียกสถูปนี้ว่า "โยเดียเซดี" (Yodia Zedi) แปลว่า สถูปอยุธยา แต่ทว่า ข้อห้ามของทางการพม่าที่ไม่ให้ขุดค้นหลักฐานโบราณคดีในสถูป ทำให้กลายเป็นข้อสันนิษฐานที่รอการพิสูจน์
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรสวรรคตในขณะทรงเป็นบรรพชิต ใน พ.ศ. 2339 ตามพงศาวดารพม่า
อ้างอิง
เทปสนทนาเรื่อง วาระสุดท้าย...ของ อาณาจักรอยุธยาและราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ วีระ ธีรภัทร (เมษายน พ.ศ. 2544)
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3-
.
-
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์)
พระบรมนามาภิไธย เจ้าฟ้าเอกทัศ กรมขุนอนุรักษ์มนตรี
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ระยะครองราชย์ 9 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช(กรุงธนบุรี)
ข้อมูลส่วนพระองค์
สวรรคต พ.ศ. 2310
พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระราชมารดา กรมพระเทพามาตย์ (พลับ)
พระอัครมเหสี กรมขุนวิมลภักดี[1]
พระราชโอรส/ธิดา พระองค์เจ้าประเภท
พระองค์เจ้าสุรเดช
พระองค์เจ้าเศรษฐ์
พระองค์เจ้าหญิงประพิมพ์
พระองค์เจ้าหญิงน้อย
พระองค์เจ้าหญิงดอกมะเดื่อ
พระองค์เจ้าหญิงเลิศะตรา
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือ พระเจ้าเอกทัศ[2] มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าเอกทัศ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 33 พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2301-พ.ศ. 2310 ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ประสูติแต่กรมหลวงพิพิธมนตรี (พระพันวัสสาน้อย) (ต่อมาพระราชมารดาได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพามาตย์) โดยพระมารดาของพระองค์สืบเชื้อสายมาจากสกุลพราหมณ์บ้านสมอพลือ ที่มีต้นสกุลมาจากเมืองรามนคร มัชฌิมประเทศ ต่อมาเจ้าฟ้าได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมเป็น กรมขุนอนุรักษ์มนตรี
พระนามที่ทรงเป็นที่รู้จัก
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
พระเจ้าเอกทัศ (ชื่อที่นิยมเรียกโดยทั่วไป)
สมเด็จพระบรมราชากษัตริย์บวรสุจริต (พระนามเมื่อขึ้นครองราชย์)
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร
ขุนหลวงขี้เรื้อน (ชื่อติดปาก; เนื่องจากเป็นที่เชื่อกันว่าพระองค์ทรงเป็นโรคเรื้อน)
กรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระนามก่อนครองราชย์
พระที่นั่งสุริยามรินทร์ เมื่อพระเจ้าอุทุมพรกำลังครองราชย์
พระบรมราชาที่ 3 เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์
พระราชประวัติ
การเสด็จขึ้นครองราชย์
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หนึ่งปีก่อนหน้าการเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งให้เจ้าฟ้าอุทุมพร ผู้เป็นอนุชาของเจ้าฟ้าเอกทัศ ให้ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ทูลว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระเชษฐา ยังคงอยู่ขอพระราชทานให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลน่าจะสมควรกว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงตรัสว่า กรมขุนอนุรักษ์มนตรีนั้นโฉดเขลา หาสติปัญญาแลความเพียรมิได้ ถ้าจะให้ดำรงฐานุศักดิ์มหาอุปราชสำเร็จราชกิจกึ่งหนึ่งนั้น บ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติฉิบหายเสีย และมีพระราชดำรัสสั่งให้กรมขุนอนุรักษ์มนตรีออกผนวชเสียเพื่อไม่ให้กีดขวางเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล[3]
หลังจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่อีกสองเดือนถัดมา พระองค์กลับมาแสดงพระประสงค์ขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จนทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรยอมสละราชสมบัติและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2301
สงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สอง
ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์ พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2303 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ โอรสของพระเจ้าอลองพญา ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พม่า และได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก ให้เกณฑ์กองทัพกว่า 70,000 นาย ยกเข้าตีเมืองไทย 2 ทาง ทางทิศใต้เข้าตีเข้าทางเมืองมะริด ส่วนทางตอนเหนือตีลงมาจากแคว้นล้านนา และบรรจบกันที่กรุงศรีอยุธยาเป็นศึกขนานกันสองข้างโดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 1 ปี 2 เดือน ก็เข้าพระนครได้ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและคองบองของพม่า ได้บรรยายให้เห็นว่าในสงครามครั้งนี้ ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาเองก็ได้เตรียมการและกระทำการรบอย่างเข้มแข็ง มิได้เหลวไหลอ่อนแอแต่ประการใด[4]
การเสด็จสวรรคต
สาเหตุการเสด็ตสวรรคตของพระเจ้าเอกทัศมีหลายข้อสันนิษฐาน ในหลักฐานของไทยส่วนใหญ่บันทึกไว้ว่าพระองค์เสด็จสวรรคตจากการอดพระกระยาหารเป็นเวลานานกว่า 10 วัน ภายหลังจากที่เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้กับวัดสังฆาวาส[5] ทหารพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิ์สามต้น เมื่อเสด็จสวรรคตนายทองสุกได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ ตรงหน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร[6] ต่อมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพขึ้นถวายพระเพลิงตามโบราณราชประเพณี[7][8]
ฝ่ายพงศาวดารพม่าระบุว่า เกิดความสับสนระหว่างการหลบหนีในเหตุการณ์กรุงแตก จึงถูกปืนยิงสวรรคตที่ประตูท้ายวัง
ส่วนคำให้การของแอนโทนี โกยาตัน ตำแหน่ง Head of the foreign Europeans เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2311 ได้กล่าวว่า "กษัตริย์องค์ที่สูงวัย (พระเจ้าเอกทัศ) ถูกลอบปลงพระชนม์โดยชาวสยามเช่นเดียวกัน" หรือไม่พระองค์ก็ทรงวางยาพิษตนเอง[9]
พระราชกรณียกิจ
ในทัศนะของ สุเนตร ชุตินธรานนท์ มีความเห็นว่า ผู้ชำระพงศาวดารไทยไม่ได้ระบุพระราชกรณียกิจของพระเจ้าเอกทัศ ซ้ำยังกล่าวพาดพิงในแง่ร้ายอยู่บ่อยครั้ง หากแต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ กลับมีการกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์นี้อย่างชื่นชม
คำให้การชาวกรุงเก่า ปรากฏความว่า "[กษัตริย์พระองค์นี้] ทรงพระกรุณากับอาณาประชาราษฎร์ทั้งปวง แผ่เมตตาไปทั่วสารพัดสัตว์ทั้งปวง"
ใน คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม ปรากฏความว่า "พระองค์ตั้งอยู่ในธรรมสุจริต บพิตรเสด็จไปถวายนมัสการพระศรีสรรเพชทุกเพลามิได้ขาด พระบาทจงกรมอยู่เป็นนิจ บพิตรตั้งอยู่ในทศพิธสิบประการ แล้วครอบครองกรุงขันธสีมา ทั้งสมณพราหมณ์ก็ชื่นชมยินดีปรีเปนศุขนิราชทุกขไภย ด้วยเมตตาบารมีทั้งฝนก็ดีบริบูรณภูลความศุกมิได้ดาล ทั้งข้าวปลาอาหารและผลไม้มีรสโอชา ฝูงอาณาประชาราษฎร์และชาวนิคมชนบทก็อยู่เยนเกษมสานต์ มีแต่จะชักชวนกันทำบุญให้ทาน และการมโหรสพต่าง ๆ ทั้งนักปราชผู้ยากผู้ดีมีแต่ความศุกที่ทุกขอบขันธสีมา"
นอกจากนี้ จากหลักฐานทั้งสอง ยังได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระเจ้าเอกทัศ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องชั่ง ตวง วัดต่าง ๆ, มาตราเงินบาท สลึง เฟื้องให้เที่ยงตรง และโปรดให้ยกเลิกภาษีอากรต่าง ๆ เป็นเวลา 3 ปี
รวมทั้ง "ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"[10]
ทัศนะ
ฝ่ายซึ่งเห็นว่าพระองค์ทรงมีพระราชประวัติความประพฤติไม่ดีก็ว่า ราษฎรไม่เลื่อมใสศรัทธาเพราะพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติตนไม่เหมาะสม บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย มีข้าราชการลาออกจากราชการอยู่บ้าง สังคมสมัยนั้นมีการกดขี่รีดไถ ข่มเหงรังแกราษฎรอย่างไม่เป็นธรรม เมื่อขุนนางชั้นผู้น้อยเห็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ทำก็เลียนแบบ ราษฎรและข้าราชการทั้งหลายหมดที่พึ่งจึงแตกความสามัคคี ดังที่บาทหลวงฝรั่งเศสได้เขียนจดหมายเหตุบันทึกไว้ว่า: "... บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดินผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตายเอาไฟเผาบ้านเรือนจะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น..."[11]
ในประวัติศาสตร์ไทย พระเจ้าเอกทัศเป็นกษัตริย์ที่ถูกกล่าวถึงในแง่ร้ายเรื่อยมา และถูกจดจำในฐานะ "บุคคลที่ไม่มีใครอยากจะตกอยู่ในฐานะเดียวกัน" เหตุเนื่องจากไม่สามารถป้องกันกรุงศรีอยุธยาให้พ้นจากข้าศึก ทั้งนี้ คนไทยที่เหลือรอดมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นถือเอาว่า พระองค์ควรรับผิดชอบจากการเสียกรุงครั้งที่สองร่วมกับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร[12]
ครั้ง พ.ศ. 2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก เหตุเพราะช้ำพระราชหฤทัยที่สยามยกดินแดนให้ฝรั่งเศสไป โดยทรงพระราชนิพนธ์บทกวีรำพันความทุกข์ร้อน และท้อพระทัยว่าจะถูกนินทาไปตลอดกาล ดังเช่นสองพระมหากษัตริย์ (พระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศ) ผู้ไม่อาจปกป้องกรุงศรีอยุธยาจากศัตรู
เมื่อ ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรหนัก ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมหลายวันหลายคืนติดต่อกัน มีสาเหตุจากเจ็บช้ำพระราชหฤทัยเรื่องฝรั่งเศสรังแกสยาม ในช่วงนั้นก็ทรงพระราชนิพนธ์บทกวีรำพึงถึงความกลัดกลุ้มทุกข์ร้อน ทั้งกลัวว่าจะถูกติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เหมือนสองกษัตริย์ผู้ไม่สามารถจะปกป้องกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ได้จากข้าศึกศัตรู ความดังนี้[12]
"เจ็บนานนึกหน่ายนิตย์ มะนะเรื่องบำรุงกาย
ส่วนจิตบ่มีสบาย ศิระกลุ้มอุราตรึง
แม้หายก็พลันยาก จะลำบากฤทัยพึง
ตริแต่จะถูกรึง อุระรัดและอัตรา
กลัวเป็นทวิราช บ่ตริป้องอยุธยา
เสียเมืองจึงนินทา บ่ละเว้นฤๅว่างวาย
ดูเพิ่ม
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
อ้างอิง
^ เล็ก พงษ์สมัครไทย. เฉลิมพระยศ เจ้านายฝ่ายในในรัชกาลที่ ๑-๙. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์, 2552. หน้า 16
^ พระนามพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา
^ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ภาค 2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิมพ์ขึ้นเป็นส่วนพระราชกุศลทานมัยในงานพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวรเสฐสุดา, พระอรรคชายาเธอ กรมขุนอรรควรราชกัญญา, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนพิจิตรเจษฎจันทร์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี. พ.ศ. 2455.
^ สุเนตร ชุตินธรานนท์. ดร. พม่ารบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ:มติชน, 2554. หน้า 88
^ พระเจ้าเอกทัศน์ครองเมืองกรุงศรีอยุธยา
^ จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 185
^ กรมตำรา กระทรวงธรรมการ, พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช ๑๑๒๘-๑๑๔๔. พิมพ์ครั้งที่ ๔ ; พระนคร : โรงพิมพ์กรมตำรากระทรวงพระธรรมการ, ๒๔๗๒. หน้า ๒๓.
^ สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา ๒๕๑๙) หน้า ๑๒๓-๑๒๔.
^ จรรยา ประชิตโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 198
^ จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 3.
^ ขจร สุขพานิช. ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยบางกอก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2531. หน้า 269.
^ 12.0 12.1 สองกษัตริย์สุดท้าย วิชาการ.คอม
สุเนตร ชุตินธรานนท์. (2541). สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐: ศึกษาจากพงศาวดารพม่าฉบับราชวงศ์คองบอง. สำนักพิมพ์ศยาม. หน้า 81-82.
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C-
.
-
เหตุจากราชวงศ์บ้านพลูหลวง
จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์เรื่องของ
"องค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"
และ
"ชาวบ้านบางระจัน"
.
-
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า สิน ( ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน ) เป็นบุตรของขุนพัฒน์ ( นายหยง หรือ ไหฮอง แซ่อ๋อง บางตำราก็ว่า แซ่แต้ ) และ นางนกเอี้ยง ( กรมพระเทพามาตย์ ) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ มีนาคม พ.ศ. 2277 ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา เจ้าพระยาจักรีผู้มีตำแหน่งสมุหนายกเห็นบุคลิกลักษณะ จึงขอไปเลี้ยงไว้เหมือนบุตรบุญธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเยาว์วัยได้รับการศึกษาขั้นต้นจากสำนักวัดโกษาวาส (วัดคลัง ) และ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 13 ขวบ ที่วัดสามพิหาร หลังจากสึกออกมาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็ก และ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีตามขนบประเพณี ของไทยบวชอยู่ 3 พรรษา หลังจากสึกออกมาได้เข้ารับราชการ ต่อ ณ. กรมมหาดไทยที่ศาลหลวงในกรมวัง ต่อมาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากจนได้เป็นพระยาตาก ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นได้ถูกเรียกตัวเข้ามาในกรุงศรีอยุธยา เพื่อแต่งตั้งไปเป็น พระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถึงแก่อนิจกรรมลงใน พ.ศ. 2310 ครั้นเจริญวัยวัฒนา ก็ได้ไปถวายตัวทำราชการกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความดีความชอบจนได้รับเลื่อนหน้าที่ราชการไปเป็นผู้ปกครองหัวหน้าฝ่ายเหนือคือ เมืองตาก และเรียกติดปากมาว่า พระยาตากสิน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชครองราชย์สมบัติกรุงธนบุรีได้ 15 ปีเศษ ก็สิ้นพระชนม์มีชนมายุ 48 พรรษา กรุงธนบุรีมีกำหนดอายุกาลได้ 15 ปี
[แก้ไข] ผลงานอันสร้างชื่อของพระเจ้าตากสิน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีความสำคัญที่ชาวไทยไม่สามารถจะลืมในพระคุณงามความดีที่ทรงกอบกู้เอกราชเริ่มแต่ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2309 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศก พระยาวชิรปราการ (ยศในขณะนั้น) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่า จึงตัดสินใจรวบรวมทหารกล้าราว 500 คน ตีฝ่าวงล้อมทหารพม่า โดยตั้งใจว่าจะกลับมากู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนให้ได้โดยเร็ว ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรี เริ่มสะสมเสบียงอาหาร อาวุธ กำลังทหาร เพื่อเข้าทำการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปีกุน นพศก จุลศักราช 1129 ตรงกับ พ.ศ.2310 และสมเด็จพระเจ้าตากสิน สามารถกู้กลับคืนมาได้ เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2310 รวมใช้เวลารวบรวมผู้คนจนเป็นทัพใหญ่กลับมากู้ชาติด้วยระยะเวลาเพียง 7 เดือนเท่านั้น เมื่อทรงจัดการบ้านเมืองเรียบร้อยพอสมควร บรรดาแม่ทัพ นายกอง ขุนนาง ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ตลอดทั้งสมณะพราหมณาจารย์และอาณาประชาราษฎร์ทั้งหลาย จึงพร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นทรงปราบดาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ ณ วันพุธ เดือนอ้าย แรก 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2310 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่เรียกขานพระนามของพระองค์ติดปากว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
[แก้ไข] พระราชกรณียกิจที่สำคัญ ๆ
นอกจากพระราชกรณียกิจในด้านกู้ชาติแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสิน ยังได้ปราบอริราชศัตรูที่มักจะล่วงล้ำเขนแดนเข้ามาซ้ำเติมไทยยามศึกสงครามอยู่เสมอ จนในสมัยของพระองค์ได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไพศาล กล่าวคือ
ทิศเหนือ ได้ดินแดนหลวงพระบาง และเวียงจันทน์
ทิศใต้ ได้ดินแดนกะลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร ทางฝั่งแม่น้ำโขงจดอาณาเขตญวน
ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี
พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีการฟื้นฟูและสร้างวรรณกรรม นาฏศิลป์ และการละครขึ้นใหม่ แม้ว่าจะมีศึกสงครามตลอดรัชกาล กระนั้นก็ยังทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ถึง 4 เล่ม สมุดไทย ในปี พ.ศ.2312 นับว่าทรงมีอัจฉริยภาพสูงส่งเป็นอย่างมาก และในรัชสมัยของพระองค์มีกวีที่สมควรได้รับการยกย่อง 2 ท่าน คือ
นายสวน มหาดเล็ก ซึ่งแต่งโคลงสี่สุภาพ แต่งขึ้นเพื่อยกพระเกียรติและสรรเสริญ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี 85 บท เป็นสำนวนที่เรียบง่าย แต่ทรงคุณค่าด้วยเป็นหลักฐานที่คนรุ่นต่อมาได้ทราบถึงสภาพบ้านเมืองและความเป็นไปในยุคนั้น
หลวงสรวิชติ (หน) ซึ่งต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน) งานประพันธ์ของท่านเป็นที่รู้จักและแพร่หลาย จนถึงปัจจุบัน เช่น สามก๊ก เป็นต้น
พระเจ้าตากสิน ยังโปรดให้มีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การติดต่อการค้ากับต่างประเทศ ในด้านการปกครอง หลังจากสถาปนาเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว ทรงจัดวางตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ทรงสอดส่องทุกข์สุขของราษฎร และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดา เจ้าฟ้า พระองค์ฟ้า พระราชโอรส ตลอดทั้งพระเจ้าหลานเธอของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ ด้วยความกตัญญูกตเวที
[แก้ไข] ถวายพระนามมหาราช และการสร้างพระราชอนุสาวรีย์
ภาพ:พระยาตากสิน3.gif
ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ตามที่กล่าวมาแล้ว ประชาชนทุกหมู่เหล่าจึงพร้อมใจกันถวายพระนาม “มหาราช” แด่ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช” และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
[แก้ไข] กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน สถานที่ราชการ
จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระเกียรติคุณของพระเจ้าตากสินมหาราช อันมีต่อปวงชนชาวไทย
ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การนำพวงมาลาไปถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อสังคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
ไทยโพเอ็มดอทคอม
42ประวัติบุคคลสำคัญ : ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา,กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์บรรณกิจ,2531
ประวัติวรรณคดีไทย : เปลื้อง ณ. นคร, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช,2525
-http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-
.
-
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระบรมนามาภิไธย สิน
(ดูเพิ่ม...)
ราชวงศ์ ราชวงศ์ธนบุรี
ครองราชย์ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 - 6 เมษายน พ.ศ. 2325
บรมราชาภิเษก 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310
ระยะครองราชย์ 15 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
วัดประจำรัชกาล วัดอินทารามวรวิหาร[1]
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277[2]
17 เมษายน พ.ศ. 2277
สวรรคต 6 เมษายน พ.ศ. 2325[3]
พระราชบิดา หยง แซ่แต้ (鄭鏞)[4]
พระราชมารดา นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์
พระมเหสี สมเด็จกรมหลวงบาทบริจา (สอน)
พระราชโอรส/ธิดา
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (จีน: 鄭昭; พินอิน: Zhèng Zhāo; แต้จิ๋ว: Dênchao) มีพระนามเดิมว่า สิน (ชื่อจีนเรียกว่า เซิ้นเซิ้นซิน)[6] พระราชบิดาเป็นจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมสมเด็จพระเทพามาตย์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา[7] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา รวมสิริดำรงราชสมบัติ 15 ปี พระราชโอรส-พระราชธิดา รวมทั้งสิ้น 30 พระองค์[5]
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์ คือ การกอบกู้เอกราชจากพม่าภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง โดยขับไล่ทหารพม่าออกจากราชอาณาจักรจนหมดสิ้น และยังทรงทำสงครามตลอดรัชสมัยเพื่อรวบรวมแผ่นดินซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของขุนศึกก๊กต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่น เช่นเดียวกับขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟูประเทศในด้านต่าง ๆ ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติหลังสงคราม ทรงส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และการศึกษา เนื่องจากพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อแผ่นดินไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสิน" และยังทรงได้รับสมัญญานามมหาราช
พระปรมาภิไธย
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเรียกที่แตกต่างกัน ดังนี้
เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ ทรงใช้พระนามว่า "พระศรีสรรเพชร สมเด็จบรมธรรมิกราชาธิราชรามาธิบดี บรมจักรพรรดิศร บวรราชาบดินทร์ หริหรินทร์ธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณรุจิตร ฤทธิราเมศวร บรมธรรมิกราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศร์ โลกเชษฏวิสุทธิ์ มกุฏประเทศคตา มหาพุทธังกูร บรมนาถบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกนพรัฐ ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศมหาสถาน"[8]
พระราชพงศาวดาร กรุงศรีสัตนาคนหุต เรียกว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) เรียกว่า พระบรมหน่อพุทธางกูรเจ้า
จดหมายเหตุกรุงธนบุรีในสมุดไทยดำ ชื่อพระราชสาสน์และศุภักษรโต้ตอบกรุงธนบุรีและกรุงศรีสัตนาคนหุตจุลศักราช 1140 ใช้ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร และ พระบาทสมเด็จพระเอกาทศรุทอิศวรบรมนาถบรมบพิตร
ตอนปลายรัชกาล พระรัตนมุนี ได้ถวายพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระสยามยอดโยคาวจร
พระราชพงศาวดาร ฉบับราชหัตถเลขา เรียกว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4
พระนามที่เรียกกันตามหนังสือประวัติศาสตร์ทั่วไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ประชาชนทั่วไปขนานนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์
ดูเพิ่มที่ พระราชประวัติก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในอภินิหารบรรพบุรุษ
พระราชสมภพและขณะทรงพระเยาว์
ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีชาวจีนแต้จิ๋วคนหนึ่งนามว่า หยง แซ่แต้[4] (นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายว่า ไหฮอง หรือ ไหยฮอง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแต้จิ๋ว มิใช่ชื่อของพระราชบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) [4] เป็นผู้อพยพมาจากเมืองเฉิงไห่ ซัวเถา[9] ครั้นเมื่อถึงวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2277 ได้มีบุตรชายคนหนึ่ง ได้ชื่อว่า สิน เกิดแต่ นาง นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวไทย ผู้ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานศักดิ์เป็น กรมสมเด็จพระเทพามาตย์[10] สำหรับถิ่นกำเนิดของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้นน่าจะเกิดในแถบภาคกลางมากกว่าเมืองตาก ซึ่งมักว่ากันว่าอยู่ในกรุงศรีอยุธยา[11]
จากหลักฐานที่อาลักษณ์ของจีนจดบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารวงเช็ง แผ่นดินจักรพรรดิเฉียนหลง กล่าวถึงพระราชประวัติของพระองค์ไว้ว่า "บิดาเจิ้งเป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ไปทำมาค้าขายอยู่ที่เสียมล่อก๊ก [ประเทศไทย] และเกิดเจิ้งเจา [สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี; สำเนียงปักกิ่ง] ที่นั่น เมื่อเจิ้งเจาเติบใหญ่ เป็นผู้มีความสามารถ ได้เข้ารับราชการอยู่ในเสียมล่อก๊ก เมื่อเจิ้งเจารบชนะพม่า ฯ แล้ว ราษฎรทั่วประเทศยกขึ้นเป็นเจ้าครองประเทศ..." [12]
สำหรับการศึกษาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะทรงได้เคยบวชเรียนมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ทรงสามารถแต่งกลอนบทละครและอุดหนุนการเก็บรวบรวมคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาในภาษาไทยและภาษาบาลีครั้นเมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว[13] ส่วน อภินิหารบรรพบุรุษ ระบุว่า เด็กชายสินได้เล่าเรียนหนังสือในวัดโกษาวาส สำนักของพระอาจารย์ทองดี อีกทั้งยังได้อุปสมบท และยังศึกษาภาษาต่างประเทศเป็นจำนวนมากในระหว่างเป็นมหาดเล็ก[14] เพียงแต่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าพระองค์ทรงตรัสได้ 4 ภาษา คือ ไทย จีน ญวน และลาว[13]
อาชีพค้าขาย
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายว่า พระราชบิดาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีน่าจะประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก มิใช่นายอากรบ่อนเบี้ย เป็นคำอธิบายที่ว่าเหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงประมูลอากรสืบต่ออาชีพจากบิดา จึงน่าจะเป็นพ่อค้าเกวียนมากกว่า[15] ทั้งนี้ พระองค์และพรรคพวกเป็นกลุ่มพ่อค้าเร่ร่อนในแถบหัวเมืองเหนือ[16] การเป็นพ่อค้าดังกล่าวทำให้พระองค์มีชาวจีนเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวก และมีความเชี่ยวชาญในภูมิอากาศและภูมิประเทศแถบหัวเมืองเหนือ และทำให้ทรงมีความสามารถด้านการรบอีกทางหนึ่ง[17] การค้าขายดังกล่าวจึงเป็นโอกาสให้พระองค์สามารถเป็นเจ้าเมืองตากได้ ซึ่งตรงกับตามประสงค์ที่จะเป็นเจ้าเมืองของพระองค์ด้วยเช่นกัน[18]
รับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
ดูเพิ่มที่ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
สำหรับการรับราชการเป็นเจ้าเมืองตากนั้น พระราชพงศาวดารฉบับหนึ่งได้กล่าวไว้ในทำนองว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงวิ่งเต้นให้ได้รับตำแหน่งเจ้าเมืองตาก โดยติดต่อผ่านทางมหาดเล็กถึงพระยาจักรี สมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงทราบว่าเจ้าเมืองตากคนก่อนป่วยตาย จึงให้พระยาจักรีหาผู้มีสติปัญญาพอจะรับตำแหน่งแทน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้เป็นเจ้าเมืองตาก[19] ส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวินิจฉัยว่า พระองค์ทรงเคยเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตากก่อนที่จะทรงได้รับการเลื่อนตำแหน่ง[20]
ครั้นเมื่อกองทัพพม่ายกมารุกรานกรุงศรีอยุธยา ได้ยกทัพผ่านเมืองตาก พระยาตากเห็นสู้ไม่ไหวจึงได้นำไพร่พลลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา[21] ทั้งยังปรากฏในพงศาวดารว่า พระยาตากมีความชอบในการนำทหาร 500 นาย มาช่วยป้องกันพระนคร จึงได้รับพระราชทานของบำเหน็จ[22] ในระหว่างการปิดล้อมนั้นก็ได้ปรากฏฝีมือเป็นนายทัพเข้มแข็ง ปฏิบัติงานตามคำสั่งของราชการ
ตั้งตนเป็นใหญ่และกอบกู้เอกราช
ดูเพิ่มที่ การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก
เดือนยี่ พ.ศ. 2309 ขณะพระยาตากตั้งค่ายอยู่ในค่ายวัดพิชัย[23] ก็ได้รวบรวมไพร่พลจำนวนหนึ่ง (มักระบุเป็น 500 นาย) มุ่งหน้าไปทางเมืองระยอง ทางหัวเมืองฝั่งทะเลด้านตะวันออก[24] ระหว่างเส้นทางที่ผ่านไปนั้นได้ปะทะกับกองกำลังของพม่าหลายครั้ง แต่ก็สามารถตีฝ่าไปได้ทุกครั้ง และสามารถรวบรวมไพร่พลตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์ได้มากขึ้น
หลังจากพระองค์ยึดเมืองระยองได้ ขณะพระยาวชิรปราการพักอยู่บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล[25] ได้เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์พายุหมุนจนบิดต้นตาลเป็นเกลียวโดยไม่คลายตัว ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ตาลขด[26] บรรดาทหารทั้งหลายต่างก็ยกพระยาวชิรปราการเป็น เจ้าตาก[27] มีศักดิ์เทียบเท่าพระบรมวงศานุวงศ์ อย่างไรก็ตาม ก็อาจพิจารณาจากแนวคิดทางการเมืองได้เช่นกันว่า พระยาตากประกาศตนเป็นพระเจ้าแผ่นดินนับตั้งแต่ยกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้ว[28]
เจ้าตากมุ่งยึดเมืองจันทบูร[29] ซึ่งก่อนเข้าตีเมือง ได้มีรับสั่งให้ทหารทุกคนทำลายหม้อข้าวให้หมด หมายจะให้ไปกินข้าวในเมืองจันทบูร[30] จนตีได้เมืองจันทบูรเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2310[31] หลังจากนั้น ก็มีผู้คนสมัครใจเข้ามาร่วมด้วยกับพระองค์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเมืองจันทบูรและเมืองตราดไม่ถูกยึดครองโดยทหารพม่า
เจ้าตากทรงรวบรวมกำลังพลจนมีจำนวน 5,000 นาย จึงได้ยกกองทัพเรือออกจากจันทบูร ล่องมาตามฝั่งทะเลในอ่าวไทย จนถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อสู้จนยึดธนบุรีคืนจากพม่าได้ นายทองอิน เจ้าเมืองธนบุรีซึ่งพม่าแต่งตั้งให้นั้น ถูกประหารชีวิต[32][33] ต่อจากนั้น ได้ยกกองทัพเรือต่อไปถึงกรุงศรีอยุธยา เข้าโจมตีค่ายโพธิ์สามต้นจนสามารถขับไล่ทหารพม่าออกจากอาณาจักรได้ และสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากการยึดครอง ใช้เวลาเพียงเจ็ดเดือนหลังเสียกรุง[34]
ปราบดาภิเษก
ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์และการเมืองเป็นสำคัญ[35] ทำให้เจ้าตากมา "ยับยั้ง" อยู่ ณ เมืองธนบุรี ซึ่งมีลักษณะเป็นราชธานีไม่ถาวร[36] ก่อนหน้านั้น เมืองธนบุรีถูกทิ้งร้าง มีต้นไม้ขึ้นและซากศพทิ้งอย่างเกลื่อนกลาด ทำให้ต้องมีการเกณฑ์แรงงานจัดการพื้นที่ขึ้นมาใหม่[37] เจ้าตากยังมีรับสั่งให้คนไปอัญเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ในสมัยตอนปลายอยุธยาจากเมืองลพบุรีมายังเมืองธนบุรี และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศตามโบราณราชประเพณี[38][39]
หลังจากที่อพยพผู้คนและทรัพย์สินลงมาทางใต้และตั้งราชธานีใหม่ขึ้นที่เมืองธนบุรี เรียกนามว่า กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เจ้าตากทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ตามแบบพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า จดหมายเหตุโหรระบุว่าเป็นวันอังคาร แรมสี่ค่ำ จุลศักราช 1129 ซึ่งตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4[40] ในขณะที่ยังทรงมีพระชนมายุ 34 พรรษา ความสำเร็จดังกล่าวทำให้มีผู้ที่มีแนวคิดต้องการรื้อฟื้นราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใหม่มาเข้าร่วมด้วยกับชุมนุมของพระองค์เป็นอันมาก ทำให้สถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์เด่นชัดยิ่งขึ้น[40] อีกทั้งพระองค์ยังทรงเริ่มประกอบพระราชกรณียกิจตามแบบอย่างพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อแสดงถึงสิทธิธรรม[40] การเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานียังถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามกับพม่าด้วย[41]
หลังจากทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิมขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2310 เป็นพระราชวังหลวงซึ่งใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ พร้อมกับปรับปรุง "ป้อมวิไชยเยนทร์" และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ป้อมวิไชยประสิทธิ์" ตำแหน่งของพระราชวังนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญอีกด้วย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ [42]
-
พระราชสันตติวงศ์
ดูบทความหลักที่ พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระราชกรณียกิจ
การสงคราม
ดูบทความหลักที่ การสงครามสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นพระเจ้ามังระทราบข่าวว่ามีคนไทยตั้งตนเป็นใหญ่อีกครั้ง จึงได้มีพระบรมราชโองการให้ แมงกี้มารหญ้า[43] เจ้าเมืองทวาย ยกทัพมาปราบปราม กองทัพพม่ายกมาถึงอำเภอบางกุ้ง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงธนบุรี มีกำลังตามพระราชพงศาวดาร 2,000 คน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จนำกองทัพออกตีพม่าจนแตกพ่าย กิตติศัพท์ที่ทรงรบชนะ ทำให้พระราชอำนาจทางการเมืองในภาคกลางยิ่งเข้มแข็งยิ่งขึ้น[44]
รวมชาติ
ดูเพิ่มที่ สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
จากผลของการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ทำให้อาณาจักรอยุธยาไม่อาจกลับมาตั้งใหม่เป็นอาณาจักรของคนไทยได้อีก ทั้งยังเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยในชีวิตตามมา ซึ่งตามทัศนะของนิธิ เอียวศรีวงศ์นั้น ได้อธิบายว่า มีการรวมกลุ่มของประชาชนขึ้นด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกัน แต่สำคัญคือเพื่อเอาชีวิตรอด นอกจากนี้ กลุ่มการเมือง หรือ "ชุมนุม" ขนาดใหญ่ ๆ นั้นยังแตกออกเป็น 4-6 ก๊กใหญ่ แต่ไม่มีก๊กใดเลยที่คิดจะกอบกู้เอกราชหรือฟื้นฟูชาติกลับคืนมาดังเดิม
ราวปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเริ่มจากยกทัพไปตีชุมนุมพิษณุโลกเป็นก๊กแรก แต่กระสุนปืนต้องถูกพระองค์ จึงต้องยกทัพกลับและรักษาพระองค์ยังพระนคร ชุมนุมพิษณุโลกนี้ภายหลังอ่อนแอลงจนกระทั่งถูกชุมนุมเจ้าพระฝางผนวกไป หลังหายจากพระอาการประชวรแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงใช้เวลาในการปราบปรามชุมนุมอื่น ๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นต่อไป โดยเริ่มจากชุมนุมเจ้าพิมาย กรมหมื่นเทพพิพิธทรงถูกปราบปรามและถูกสำเร็จโทษในปี พ.ศ. 2311[45] ตามด้วยชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งพระปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราชได้ตั้งตัวเองขึ้นเป็นเจ้า[46] เจ้านครศรีธรรมราชสู้ไม่ได้หนีต่อลงไปยังหัวเมืองทางใต้ พระยาปัตตานีกลัวก็จับตัวมาส่งให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี[47] ในปี พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง รักษาเมืองสวางคโลกได้เพียง 3 วัน ก็แตกหนี[47] เมื่อทรงปราบปรามชุมนุมต่าง ๆ ลงอย่างราบคาบแล้ว รัฐบาลจีนก็เริ่มให้การยอมรับสถานะพระมหากษัตริย์ของพระองค์อย่างเป็นทางการ[48]
สงครามป้องกันประเทศ
ในปี พ.ศ. 2312 เจ้านายเขมรได้เกิดวิวิทกัน คือ นักองตนไปขอกองทัพญวณมาตีเขมร และนักองนนท์สู้มิได้ก็พาครอบครัวหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ณ กรุงธนบุรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยรณฤทธิ์กับพระยาอนุชิตราชา (ตอนนี้เป็นตอนต้นรัชกาล สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยังมียศศักดิ์เพียงพระยาอภัยรณฤทธิ์) ยกทัพไปตีเขมรและทำการโจมตีได้เมืองเสียมราฐแล้วพักรอฤดูฝนอยู่ พอดีได้ข่าวว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยกทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราช แล้วสิ้นพระชนม์ลง การตีเขมรครั้งนั้นจึงยังไม่เสร็จ
เมื่อชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตก อภัยคามณี โปมะยุง่วน เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่พม่าตั้งขึ้น เห็นเป็นโอกาสจะแผ่อาณาเขตลงมา จึงยกทัพลงมาล้อมสวรรคโลกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2313 แม่ทัพธนบุรีรักษาเมืองไว้มั่นคง ครั้นกองทัพธนบุรีที่ยกมาช่วยเหลือ พอถึงก็เข้าตีกระหนาบพ่ายกลับไป ฝ่ายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นสบโอกาส ก็ยกทัพขึ้นไปจะตีเอาเมืองเชียงใหม่บ้าง แต่ล้อมได้เพียงเก้าวันก็ต้องยกถอยกลับลงมา
ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่นั้น ฝ่ายสมเด็จพระนารายณ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา ได้ฉวยโอกาสยกทัพมาตีเมืองตราดและจันทรบูร แต่ถูกตีแตกกลับไป พอสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ขัดเคือง หลังจากพักรี้พลพอสมควรแล้วก็ทรงเตรียมทัพจะไปตีกัมพูชา สามารถเข้าไปจนถึงเมืองบันทายเพชร ราชธานีกรุงกัมพูชา สมเด็จพระนารายณ์ราชาเห็นว่าสู้ไม่ได้ก็หนีไปพึ่งญวน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งให้พระรามราชาเป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาต่อไป แล้วเลิกทัพกลับเมื่อปี พ.ศ. 2314 แต่ต่อมาญวนเกิดกบฎไตเซิน สมเด็จพระนารายณ์ราชาขาดกำลังสนับสนุน ก็กลับมาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ก็ทรงให้เป็นมหาอุปโยราช มีฐานะรองจากพระรามราชา[47]
ในปี พ.ศ. 2314 นักองตนซึ่งครองเขมรอยู่ได้ข่าวพม่ายกมาตีไทย จึงถือโอกาสยกทัพมาตีเมืองจันทบุรีและตราด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปตีเขมร ทัพไทยตีได้เมืองโพธิสัตว์ เมืองพระตะบอง เมืองบริบูรณ์ เมืองกำพงโสม และเมืองบันทายมาศ นักองตนพ่ายแพ้หนีไปอยู่กับญวณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักองนนท์ครองเขมรสืบไป
ในปีเดียวกันนี้ ได้เกิดวิวาทกันในหมู่เจ้าเมืองแคว้นกรุงศรีสัตนาคนหุต ฝ่ายหนึ่งสู้ไม่ได้ก็ขอกำลังพม่ามาช่วย พอปราบปรามสำเร็จแล้ว แม่ทัพพม่าก็ยกทัพมาตั้งที่เชียงใหม่ เมื่กองทัพยกผ่านเมืองน่านก็แบ่งกำลังให้นายทัพหน้าตีเมืองบางส่วนของธนุบรี ลึกเข้าไปถึงพิชัย ปลายปี พ.ศ. 2315 เจ้าเมืองพิชัยป้องกันเมืองไว้มั่นคงแล้วก็ขอกำลังพิษณุโลกไปช่วย พอมาถึงก็ออกตีกระหนาบ กองทัพพม่าเป็นฝ่ายแตกกลับไป ในปี พ.ศ. 2316 ได้เกิดเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกัน และพม่ายกเข้ามาตีเมืองพิชัยอีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพธนบุรีตั้งซุ่มสกัดข้าศึกตรงบริเวณชัยภูมิ พอมาถึงก็ตีทัพพม่าแตกกลับไป การรบครั้งนี้เองที่เกิดวีรกรรม พระยาพิชัยดาบหัก[47]
พม่ากับมอญเกิดรบกัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้ยกทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง ได้พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละเข้ามาสวามิภักดิ์ เมื่อยกไปถึงเชียงใหม่แล้วก็ตั้งค่ายล้อมไว้ เมื่อทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งเดิมตั้งคอยรับชาวมอญที่เมืองตากมาถึงเชียงใหม่แล้ว ทัพธนบุรีก็ระดมตีค่ายพม่า จนโปมะยุง่วนต้องทิ้งเมืองหนี เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2317 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่านและแพร่ก็ปลอดจากพม่าตั้งนั้บแต่นั้น[47]
ในปี พ.ศ. 2317 หลังจากได้ทำสัญญาสันติภาพกับจีนแล้ว พระเจ้ามังระก็ทรงส่งทหารมาอีก 5,000 นาย แต่ถูกล้อมที่บางแก้ว ราชบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีดำริให้ตั้งล้อมไว้เฉย ๆ ไม่ให้เข้าตี และรอจนพม่าเป็นฝ่ายอดอาหารยอมจำนนเอง หลังจากล้อมอยู่นาน 47 วัน พม่าก็ยอมจำนน โดยพระองค์ทรงหวังว่าจะเป็นการปลุกขวัญคนไทยให้หายกลัวพม่า[47]
อะแซหวุ่นกี้ตีหัวเมืองเหนือ พ.ศ. 2318 เป็นสงครามที่ใหญ่มาก อะแซหวุ่นกี้เป็นผู้นำที่เชี่ยวชาญศึก มีอัธยาศัยสุภาพ ส่วนทางด้านฝ่ายไทยนั้นมีเจ้าพระยาจักรี(ทองด้วง)และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช(บุญมา) ในการครั้งนี้พม่ายกพลมา 30,000 คนเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก อีก 5,000 คนล้อมเมืองสุโขทัย ส่วนเมืองพิษณุโลกมีพลประมาณ 10,000 คนเท่านี้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงยกทัพไปช่วยและในที่สุดอะแซหวุ่นกี้ต้องยกทัพกลับ เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินพม่าสวรรคต กองทัพพม่าส่วนที่ตามไปไม่ทันจึงถูกกองทัพทหารจับ[49]
พระเจ้าจิงกูจาโปรดให้เกณฑ์ทัพพม่ามอญ 6,000 คนยกมาตีเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2319 พระยาวิเชียรปราการได้พิจารณาแลเห็นว่านครเชียงใหม่ไม่มีพลมากมายขนาดที่จะว่าป้องกันเมืองได้ จึงให้ประชาชนพลเรือนอพยพลงมาอยู่ที่เมืองสวรรคโลก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรสีห์คุมกองทัพเมืองเหนือขึ้นไปสมทบกองกำลังพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางยกไปตีเมืองเชียงใหม่คืนสำเร็จ และทรงให้นครเชียงใหม่เป็นเมืองร้างถึง 15 ปีจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ฟื้นฟูใหม่[50]
หลังจากทัพไทยกลับจากเขมรในปี พ.ศ. 2323 แล้ว นักองตนก็ยกทัพมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองบันทายมาศ ส่วนนักองนนท์เกรงกลัวญวณจึงคงตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกำปอด ต่อมาองไกเซนเป็นกบฏยึดญวณไว้ได้ นักองตนสิ้นที่พึ่ง จึงขอประนีประนอมยอมให้นักองนนท์ครองกรุงกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระรามราชา(นักองนนท์) เป็นเจ้ากรุงกัมพูชาและพระนารายณ์ราชาธิบดี(นักองตน) เป็นมหาอุปโยราชและนักองธรรมเป็นมหาอุปราช
ต่อมานักองธรรมถูกลอบฆ่าตายและนักองตนก็เป็นโรคตาย เป็นที่สงสัยว่าถูกวางยาพิษ ฟ้าทะละหะเข้าใจว่าพระรามราชาแกล้งฆ่าคนทั้งสอง จึงพร้อมด้วยข้าราชการรวมกันจับพระรามราชาถ่วงน้ำเสีย แล้วยกนักองเองราชบุตรขึ้นเป็นเจ้ากรุงกัมพูชา มีฟ้าทะละหะเป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาฟ้าทะละหะได้เอาใจออกห่างไทยไปฝักใฝ่ญวณ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ยกทัพไปตีเขมร ตีได้หลายหัวเมืองแล้ว พอจะตีเข้าเมืองหลวงก็พอดีเกิดการจลาจลขึ้นในกรุงธนบุรีจำเป็นต้องยกทัพกลับ
การขยายพระราชอาณาเขต
นอกจากขับไล่พม่าออกไปจากอาณาจักรได้แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินยังได้ขยายอำนาจเข้าไปในลาว ได้หัวเมืองลาวเข้ามาอยู่ในอำนาจอาจกล่าวได้ว่า สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นสมัยแห่งการกู้เอกราชของชาติ รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ขับไล่ข้าศึกออกไปจากอาณาเขตไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยของพระองค์ ไทยจึงยิ่งใหญ่เท่าเทียมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยามีความรุ่งเรือง[51]
พ.ศ. 2319 ในขณะที่ไทยติดศึกพม่าที่เมืองพิษณุโลกนั้น มีเหตุเกิดขึ้นทางนครราชสีมา คือ เจ้าเมืองนางรอง (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์) ซึ่งเป็นเมืองขึ้นต่อนครราชสีมา วิวาทกับพระยานครราชสีมา แล้วเอาเมืองไปขึ้นต่อเจ้าโอ เมืองนครจำปาศักดิ์ซึ่งตั้งตนเป็นอิสระอยู่ พระยานครราชสีมามีใบ้บอกเข้ามายังกรุงธนบุรี
ในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรียกทัพไปปราบ เมื่อปราบได้ให้ประหารเจ้าเมืองนางรองเสีย เจ้าพระยาจักรีปราบได้สำเร็จ พอปราบเสร็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทราบว่าเจ้าโอกับเจ้าอินอุปราช เมืองนครจำปาศักดิ์เตรียมพล 10,000 นายจะมาตีนครราชสีมา สมเด้จพระเจ้าตากสินจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์คุมทัพไปสมทบอีก 1 ทัพและให้ปราบจำปาศักดิ์เสีย ทัพไทยตีจำปาศักดิ์แตกและจับตัวเจ้าโอกับเจ้าอินได้ที่เมืองสีทันดร และยังตีได้เมืองอัตตะปือด้วยพร้อมกันนั้น เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ออกเกลี้ยกล่อมเมืองเขมรป่าดง ระหว่างจำปาศักดิ์กับนครราชสีมาเป็นพวกได้อีก 3 เมือง คือ สุรินทร์ สังขะ ขุขันธ์ ทั้ง 3 เมืองยอมเข้าเป็นเขตเมืองไทย เสร็จศึกครั้งนี้เจ้าพระยาจักรีได้เลื่อนเป็น "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ" มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม
พ.ศ. 2321 พระวอเสนาบดีเมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ แต่สู้เจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตไม่ได้ ก็พาสมัครพรรคพวกหนีมาอยู่ที่ตำบลดอนมดแดง (จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) และขอขึ้นต่อไทย ต่อมาพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ได้ยกทัพมาตีตำบลดอนมดแดงและจับฆ่าพระวอเสีย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขัดเคืองมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์กองทัพไทยได้แสดงความสามารถตีเมืองเวียงจันทน์ได้ และหัวเมืองลาวทั้งหลายได้พากันมาขึ้นต่อไทย และในครั้งนี้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางลงมายังกรุงธนบุรีด้วย
การศึกสงครามดังกล่าวนี้ ส่งผลให้พระราชอาณาจักรไทยเป็นเอกราชและมีความมั่นคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น อาณาเขตของประเทศไทยในสมัยกรุงธนบุรี มีดังนี้
ทิศเหนือ ตลอดอาณาจักรล้านนา
ทิศใต้ ได้ดินแดนกลันตัน ตรังกานู และไทรบุรี
ทิศตะวันออก ได้ดินแดนลาว เขมร จรดอาณาเขตญวน
ทิศตะวันตก จรดดินแดนเมาะตะมะ ได้ดินแดน เมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี[52]
-
การฟื้นฟูบ้านเมือง
การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงกู้เอกราชกรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้นั้นทำให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่ว พระเกียรติยศของพระองค์จึงแพร่ไปว่าเป็นผู้สามารถกู้แผ่นดินไทยให้พ้นจากอำนาจพม่าข้าศึกได้ ทำให้ไพร่บ้านพลเมืองที่ยังหลบลี้อยู่ตามที่ต่างๆ พากันมาอ่อนน้อมเข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นกำลังในการบูรณะบ้านเมืองต่อไป ซึ่งพระราชกรณียกิจมีทั้งหมด 7 ด้าน ดังนี้
ด้านการปกครอง
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาแตก กฎหมายบ้านเมืองกระจัดกระจายสูญหายไปมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการสืบเสาะ ค้นหามารวบรวมไว้ได้ประมาณ 1 ใน 10 และโปรดฯ ให้ชำระกฎหมายเหล่านั้น ฉบับใดยังเหมาะแก่กาลสมัยก็โปรดฯ ให้คงไว้ ฉบับใดไม่เหมาะก็โปรดให้แก้ไขเพิ่มเติมก็มี ยกเลิกไปก็มี ตราขึ้นใหม่ก็มี และเป็นการแก้ไขเพื่อราษฎรได้รับผลประโยชน์มากขึ้น เช่น โปรดฯ ให้แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการพนันให้อำนาจการตัดสินลงโทษขึ้นแก่ศาลแทนนายตราสิทธิ์ขาด และยังห้ามนายตรานายบ่อนออกเงินทดลองให้ผู้เล่น เกาะกุมผูกมัดจำจองเร่งรัดผู้เล่น กฎหมายพิกัดภาษีอากรก็เกือบไม่มี เพราะผลประโยชน์แผ่นดินได้จากการค้าสำเภามากพอแล้ว กฎหมายว่าด้วยการจุกช่องล้อมวงก็ยังไม่ตราขึ้น เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เฝ้าแหนตามรายทาง โดยไม่มีพนักงานตำรวจแม่นปืนคอยยิงราษฎร ซึ่งแม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยังชื่นชมในพระราชอัธยาศัยนี้ เช่น มองเซนเยอร์ เลอบอง ได้บรรยายไว้ในจดหมายถึงผู้อำนวยการคณะต่างประเทศว่า[53]
Cquote1.svg
บรรดาคนทั้งหลายเรียกพระเจ้าตากว่าพระเจ้าแผ่นดิน แต่พระเจ้าตากเองว่าเป็นแต่เพียงผู้รักษากรุงเท่านั้น พระเจ้าตากหาได้ทรงประพฤติเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินก่อน ๆ ไม่ และในธรรมเนียมของพระเจ้าแผ่นดินฝ่ายทิศตะวันออกที่ไม่เสด็จออกให้ราษฎรเห็นพระองค์ด้วยกลัวจะเสื่อมเสียพระเกียรติยศนั้น พระเจ้าตากไม่ทรงเห็นชอบด้วยเลย พระเจ้าตากทรงพระปรีชาสามารถยิ่งกว่าคนธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ทรงเกรงว่าถ้าเสด็จออกให้ราษฎรพลเมืองเห็นพระองค์ และถ้าจะทรงมีรับสั่งด้วยแล้วจะทำให้เสียพระราชอำนาจลงแต่อย่างใด เพราะพระองค์มีพระราชประสงค์ทอดพระเนตรการทั้งปวงด้วยพระเนตรของพระองค์เอง และจะทรงฟังการทั้งหลายด้วยพระกรรณของพระองค์เองทั้งสิ้น
Cquote2.svg
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงปกครองบ้านเมืองคล้ายคลึงกับพระราโชบายของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ แบบพ่อปกครองลูก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียวที่ไม่ถือพระองค์ มักปรากฏพระวรกายให้พสกนิกรเห็น และมักถามสารทุกข์สุขดิบของพนกนิกรทั่วไป ทรงหาวิธีให้ไพร่บ้านพลเมืองได้ทำมาหากินโดยปกติสุข ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ผู้ใดทำไม่พอพระทัย ก็ดุด่าว่ากล่าวดังพ่อสอนลูก อาจารย์สอนศิษย์ ซึ่งสมกับโคลงยอพระเกียรติของนายสวนมหาดเล็กที่ว่า
พระเดียวบุญลาภเลี้ยง ประชากร
เป็นบิตุรมาดร ทั่วหล้า
เป็นเจ้าและครูสอน สั่งโลก
เป็นสุขทุขถ้วนหน้า นิกรทั้งชายหญิง
เนื่องจากตลอดรัชสมัยของพระองค์ เป็นช่วงเวลาที่มีการทำศึกสงครามเกือบตลอดเวลา จึงทำให้ไม่มีเวลาที่จะชำระพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ทำให้ต้องใช้กฎหมายที่มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยให้กรมวังหรือกระทรวงวังเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาว่าคดีใดควรขึ้นศาลใด แล้วส่งคดีไปยังศาลกรมนั้น ๆ โดยได้แบ่งงานศาลออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ฝ่ายรับฟ้อง มีหน้าที่ในการเขียนคำฟ้องและพิจารณารูปคดีว่าควรจะฟ้องหรือไม่ ก่อนจะส่งขึ้นศาลเพื่อพิจารณา เรื่องปรับไหมและลงโทษผู้กระทำผิด
ฝ่ายตรวจสำนวนและพิพากษา ฝ่ายนี้เดิมเป็นหน้าที่ของพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแขนงต่าง ๆ จำนวน 12 คน โดยเรียกว่า "ลูกขุน ณ ศาลหลวง" ต่อมาได้มีคนไทยที่เชี่ยวชาญกฎหมายเข้ามาทำหน้าที่นี้ด้วย คณะลูกขุน ณ ศาลหลวงนี้จะไม่มีอำนาจในการปรับหรือลงโทษแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระองค์จะทรงใช้ ศาลทหาร เป็นส่วนใหญ่ โดยในการตัดสินคดีทุกครั้ง แม้พระองค์จะตัดสินให้ลงโทษสูงสุดแล้ว แต่ก็จะมีรับสั่งให้ทยอยการลงโทษจากขั้นต่ำสุดก่อน ซึ่งหลายครั้งจะปรากฏว่านักโทษที่มีความผิดร้ายแรงก็มักจะได้รับการพระราชทานอภัยโทษหนัก โดยให้ไปกระทำการอย่างอื่นเป็นการไถ่โทษแทน
การออกพระราชกำหนดสักเลก พ.ศ. 2316 เพื่อสะดวกในการควบคุมกำลังคน การขยายอำนาจเข้าไปในดินแดนที่เคยเป็นประเทศราชของไทยในลาวและเขมรเพื่อทำให้ประเทศเข้มแข็งมั่นคง และการเตรียมการให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ไปปกครองเขมรในฐานะเมืองประเทศราช [54] แต่ได้เกิดจลาจลในกรุงธนบุรีเสียก่อนจึงไม่สำเร็จ ส่วนหัวเมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นทางผ่านของทัพพม่าก็โปรดให้แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถไปปกครอง เช่น เจ้าพระยาสุรสีห์ไปครองเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยาพิชัยราชาไปครองเมืองสวรรคโลก
ด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบโดยตรงของสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง คือ การเกิดทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย[55] นอกจากนี้เศรษฐกิจยังเสียหายอย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากการปล้นสะดม และเมืองท่าที่สำคัญตกเป็นของพม่าอย่างเด็ดขาดถึงสองเมือง ได้แก่ มะริดและตะนาวศรี และยังเสียปืนใหญ่และปืนคาบศิลารวมหลายหมื่นอีกด้วย[56]
เพื่อที่จะหาทรัพย์มาใช้จ่าย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกประเพณีงดเก็บส่วยอากร 3 ปีเมื่อมีพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่เสด็จขึ้นครองราชย์ อันเป็นประเพณีซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[57] ทรงแจกจ่ายข้าวของเงินทองอันได้มาสี่ครั้ง ได้แก่ เมื่อครั้งตีค่ายชาวบ้านกง ครั้งตีเมืองจันทบุรี ครั้งปล้นเรือสำเภาพ่อค้าจีนที่ตราด และครั้งตีเมืองนครศรีธรรมราช สามารถช่วยราษฎรได้หลายหมื่นคน[57] บรรดาข้าราชการทหารพลเรือนได้รับแจกข้าวสารหนึ่งถังกินยี่สิบวัน และโปรดให้ซื้อข้าวสารบรรทุกมาขายจากพุทไธมาศ ถังละ 3-5 บาท เมื่อราษฎรทั้งหลายทราบก็ได้อพยพตามหัวเมืองต่าง ๆ มายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก[41] ต่อมา ทรงให้ข้าราชการทั้งหลายทำนาปรังทุกแห่งทุกตำบล ราคาข้าวเริ่มถูกลงใน พ.ศ. 2311 ก่อนจะกลับมีราคาสูงผิดปกติอีกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2312 เนื่องจากมีหนูระบาด[58] เมื่อหนูหายไปแล้ว ราคาข้าวก็กลับลดลงอีก
พระองค์ทรงวางแผนเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวในกรุงธนบุรี โดยในปี พ.ศ. 2314 ทรงให้ปรับพื้นที่สวนป่านอกกำแพงพระนครให้เสมอกันไว้ทำนา ครั้นบ้านเมืองสงบก็ทรงให้แม่ทัพคุมกองทัพมาทำนา ซึ่งทำให้กรุงธนบุรีกลายสภาพเป็นแหล่งทำนาแห่งใหม่ และได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ดีที่สุดของประเทศไทย[58]
พระองค์ยังทรงทำนุบำรุงการค้าขายทางเรืออย่างเต็มที่ ทรงแต่งสำเภาหลวงออกไปหลายสาย ทางตะวันออกถึงจีน ทางตะวันตกถึงอินเดีย ผลกำไรจากการค้าช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมีรายได้จากภาษีเข้าออกของเรือต่างชาติ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียังทรงส่งเสริมการนำสินค้าพื้นเมืองไปขาย ทำให้ราษฎรมีงานทำ มีรายได้ ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ที่จะฝึกให้คนไทยเชี่ยวชาญการค้าขาย ป้องกันมิให้การค้าตกอยู่ในมือชนต่างชาติ และรักษาประโยชน์ของสินค้าพื้นเมืองมิให้ถูกทอดทิ้ง พระองค์ทรงพยายามผูกไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงของชาติและประโยชน์ในด้านการค้า[59][60][61]
ด้วยความสัมพันธ์อันดีกับจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกระตุ้นให้ชาวจีนเข้ามาตกรกร้างในธนบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเมืองแต้จิ๋ว[62] ซึ่งบางส่วนมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ซบเซา[63]
ด้านคมนาคม
ในยุคนี้ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกเลิกความคิดแนวเก่าที่ว่าหากถนนหนทาง ทางคมนาคมดีมากแล้วจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้ข้าศึกศัตรูและพวกก่อการจลาจล แต่กลับทรงเห็นเป็นประโยชน์ในทางค้าขายมากกว่า ดังนั้น ในฤดูหนาวหากว่างจากศึกสงคราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนและขุดคลอง จะเห็นได้จากแนวถนนเก่าๆ ในเขตธนบุรีซึ่งมีอยู่หลายสาย ส่วนการขุดชำระคลองมักมีวัตถุประสงค์เบื้องต้นเพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ เช่น คลองท่าขาม จากนครศรีธรรมราชไปออกทะเล เป็นต้น
ด้านการศึกษา
สมัยกรุงธนบุรีเป็นระยะเวลาที่บ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อย การฟื้นฟูการศึกษาจึงทำได้ไม่มากนัก แต่วัดก็ยังเป็นแหล่งที่ให้การศึกษาอยู่ โดยมีแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่มีโอกาสศึกษา เพราะต้องอยู่กับพระที่วัดเรียนหนังสือและได้รับการอบรมความประพฤติ เรียนพระธรรม ภาษาบาลีสันสกฤต และศัพท์เขมร เพื่อประโยชน์ในการอ่านคัมภีร์พระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีวิชาเลข เน้นมาตรา ชั่ง ตวง วัด มาตราเงินไทย และการคิดหน้าไม้ ซึ่งจะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิชาช่างฝีมือสำหรับเด็กโต ส่วนใหญ่เกี่ยวกับงานช่างก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ในการบูรณะซ่อมแซมเสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างภายในวัด สำหรับการเรียนวิชาชีพโดยตรงนั้นเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ ใครมีอาชีพอะไรก็ถ่ายทอดวิชานั้นๆ ให้แก่ลูกหลานของตนตามสายตระกูล เช่น วิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาช่างปั้น ช่างถม ช่างแกะสลัก ช่างปูนปั้น ช่างเหล็ก ช่างเงิน ช่างทอง ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กหญิง จะถือตามประเพณีโบราณคือ เรียนเย็บปักถักร้อย ทำกับข้าว การจัดบ้านเรือน การฝึกอบรมมารยาทของกุลสตรี สังคมสมัยนั้นไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ จึงมีน้อยคนที่อ่านออกเขียนได้ [64]
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าฯให้บำรุงการศึกษาตามวัดต่างๆ และยังโปรดเกล้าฯให้ตั้งหอหนังสือขึ้นเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ซึ่งคงเทียบได้กับหอพระสมุดในระยะหลัง นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯให้แสวงหาและรวบรวมตำราต่างๆ ที่กระจัดกระจายไปเมื่อคราวกรุงแตกไว้ที่พระอารามหลวงหรือหามาจำลองไว้เป็นแบบฉบับเพื่อใช้ศึกษาเล่าเรียน[65]
ด้านศาสนา
ถึงแม้ว่าในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองจะตกอยู่ในภาวะสงครามเกือบตลอดเวลา แต่พระองค์กลับมิได้ทรงละเลยงานด้านศาสนจักร ได้ทรงมุ่งมั่นทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจด้านฟื้นฟูพระพุทธศาสนามีดังนี้
บทสวดมนต์ พุทธชัยมงคลคาถา และสร้างพระยอดธง มีบันทึกโบราณบอกไว้ดังนี้ "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเล็งเห็นว่า สงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลา มาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วยการเจริญพาหุงมหากา จึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"[66][67]
การจัดระเบียบสังฆมณฑล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบสังฆมณฑลทันทีภายหลังการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งที่ยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเมื่อทรงเห็นว่าพระสงฆ์ทางฝ่ายหัวเมืองเหนือมัวหมอง ก็ไดอาราธนาพระราชาคณะจากในกรุงไปสั่งสอน ทำให้พระสงฆ์กลับบริสุทธิ์และเป็นปกติสุขขึ้น[67]
การรวบรวมพระไตรปิฎก สมเด็จพระเจ้าตากสินยังได้ทรงมุ่งมั่นในการสืบเสาะค้นหาต้นฉบับพระไตรปิฎกที่ยังเหลืออยู่หลังจากเสียกรุง เพื่อนำมาคัดลอกจำลองไว้สำหรับการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งจะเห็นได้จากเมื่อคราวที่เสด็จไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชในปี พ.ศ. 2312 ได้มีรับสั่งให้ขอยืมคัมภีร์ พระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชบรรทุกเรือเข้ามาคัดลอกในกรุงธนบุรี และในปีถัดมาในคราวที่เสด็จฯ ไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝางที่เมืองอุตรดิตถ์ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกลงมาด้วย ต้นฉบับที่ได้จากเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยต่อมา[67]
-
การสมโภชพระแก้วมรกต
ดูเพิ่มที่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ภายหลังจากที่รบชนะเมืองเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบางกลับมายังกรุงธนบุรีด้วย โดยให้จัดขบวนเรือพยุหยาตรามโหฬารถึง 246 ลำ และเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับด้วยพระองค์เอง แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม ต่อมารัชกาลที่ 1 ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง [68][67]
การบูรณะปฏิสังขรณ์วัด สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ เป็นจำนวนมาก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอินทารามวรวิหาร ,วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร, วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ,วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ,วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร ,วัดราชคฤห์วรวิหารและ วัดเสาธงหิน เป็นต้น[67]
พระราชกำหนดว่าด้วยศีลสิกขา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวัตรปฏิบัติในทางธรรมวินัยของพระสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ. 2316 โดยถือเป็นต้นฉบับกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย[69] และทรงนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นหลักในการจัดระเบียบสังคมในสมัยนั้นด้วย[70] และหลังจากกอบกู้แผ่นดินได้แล้ว พระองค์ได้ทรงอัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าเอกทัศมาจัดถวายพระเพลิงอย่างสมพระเกียรติและยังทรงรับอุปการะบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ในพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทุกพระองค์ด้วยความกตัญญู [71][67]
ด้านศิลปกรรม
นาฏดุริยางค์ ภายหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปปราบชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชเมื่อ พ.ศ. 2312 ได้ทรงนำตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นครูฝึกหัดร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมได้จากที่อื่น แล้วจัดตั้งเป็นละครหลวงของกรุงธนบุรี โดยยึดแบบฉบับการฝึกละครของกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้คณะละครหลวงได้นำไปฝึกหัดออกแสดงด้วย[72] ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่เพื่อสร้างบรรยากาศให้รื่นเริงครึกครื้นเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดฯให้ประชาชนทั่วไปเปิดการฝึกสอนและออกโรงเล่นได้อิสระ เครื่องแต่งกายไม่ว่าจะเป็น เครื่องต้น เครื่องทรง ก็แต่งกันได้ตามลักษณะเรื่อง ส่งผลให้ศิลปะการละครของไทยซึ่งเคยเจริญรุ่งเรืองมากตอนปลายอยุธยากลับฟื้นตัวขึ้นใหม่
ศิลปการช่าง ภาพเขียนที่งดงามประณีตในสมัยธนบุรีที่สำคัญยิ่ง คือ "สมุดภาพไตรภูมิ" เป็นภาพเขียนที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2319 ซึ่งนับได้ว่าเป็นสมุดภาพไตรภูมิขนาดใหญ่เล่มหนึ่งของเมืองไทย เมื่อคลี่ ออกจะมีความยาวถึง 34.72 เมตร เขียนด้วยสีลงในสมุดทั้ง 2 ด้าน โดยฝีมือช่างเขียน 4 คน ปัจจุบันได้เก็บ รักษาไว้ ณ หอสมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ[73]
งานฝีมือช่าง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเล็งเห็นว่า ช่างไทยสมัยธนบุรีมีเหลืออยู่น้อยมากจึงโปรดเกล้าฯ ให้ รวบรวมและฟื้นฟูการช่างสิบหมู่ขึ้นใหม่ แต่เนื่องจากมีเวลาจำกัด บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงคราม สิ่งของที่เป็นฝีมือช่างชั้นดีประณีตงดงามในสมัยธนบุรีจึงหาได้ยาก แต่ที่มีให้เห็นอยู่บ้าง ได้แก่[74]
พระแท่นบรรทมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทาราม
พระแท่นสำหรับทรงเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารเล็กหน้า
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
ตู้ลายรดน้ำ ที่มีศักราชแจ้งชัดว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี อยู่ในหอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี กรุงเทพฯ
ท้องพระโรงพระราชวังเดิม ซึ่งเคยเป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ ปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกองทัพเรือ
ด้านอื่น ๆ
โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังเดิม[42]
พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์วัดซางตาครู้ส[75]
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระเมรุมาศที่ วัดอินทารามวรวิหาร เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชชนนี[76]
พระราชนิพนธ์
เรื่องที่พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ไว้นั้นก็คือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ วันที่ทรงพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์ฉบับนี้คือ วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1132 ตรงกับปี พ.ศ. 2313 เป็นปีที่ 3 แห่งรัชกาลของพระองค์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ 4 เล่มสมุดไทย คือ[72]
เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ
เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยววารินจนท้าวมาลีวราชมา
เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษา
เล่ม 4 ตอนทศกรรฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมณโฑ
เสด็จสวรรคต
ดูเพิ่มที่ การสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2325 ขณะนั้นกรุงธนบุรีมีอายุได้ 15 ปี พระยาสรรค์กับพวกได้ก่อกบฎ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกซึ่งขณะนั้นไปทำศึกกับเขมรจึงกลับมายังกรุงธนบุรี เห็นว่าความไม่สงบของบ้านเมืองเกิดจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระสติวิปลาส จึงให้นำไปสำเร็จโทษด้วยการตัดพระเศียร[77] ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วฝังพระบรมศพที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เสด็จสวรรคตขณะมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา สิริรวมครองราชย์ได้ 15 ปี กรุงธนบุรีก็สิ้นสุดลง จากนั้นจึงได้สืบสวนความผิดของผู้ก่อกบฏ แล้วตัดสินให้นำพระยาสรรค์กับพวกไปประหารชีวิตในเวลาต่อมา[78]
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากแนวคิดดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวคิดอื่น เช่น ที่เสนอว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูกสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทำรัฐประหาร และแนวคิดที่ว่าพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์และลาผนวชไปยังนครศรีธรรมราช เป็นต้น[79]
การเฉลิมพระเกียรติ
ดูบทความหลักที่ พระบรมราชานุสาวรีย์และพระบรมราชานุสรณ์รำลึกถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ ให้เป็น "วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" นอกจากนั้นคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"[80] นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของชาติไทยที่ประชาชนรู้จักดีที่สุด และมีศาลเทพารักษ์และพระบรมราชานุสาวรีย์ถวายแด่พระองค์มากที่สุดยิ่งกว่าอดีตพระมหากษัตริย์ของไทยพระองค์อื่น ๆ ทุกพระองค์[81] และรัฐบาลอันมี ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งเหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้พร้อมใจกันสร้างพระราชอนุสาวรีย์ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบ ทางราชการได้ประกอบพระราชพิธีเปิดและถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2497 และในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2497 จึงมีรัฐพิธีเปิดเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินทรงวางพวงมาลา ถวายราชสักการะ ต่อมาทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชย์ปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ไทย เป็นวันถวายบังคมพระบรมราชอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช[82]
ความสัมพันธ์เชื้อสายจีน
เนื่องจาก สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว จึงได้รับความเคารพบูชาอย่างยิ่งโดยเฉพาะจากคนไทยเชื้อสายจีน มีการเรียกพระนามตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แต่อ่วงกง หมายถึง กษัตริย์ชาวแต้จิ๋วที่ได้รับการเคารพบูชา [83]
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานข้อมูลแก่หมอสมิท (นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ) ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีชื่อเรียกขานกันในหมู่ชาวจีนว่า เตีย ซิน ตัด หรือ เตีย ซิน ตวด ซึ่ง “เตีย” คือ แซ่แต้ “ซิน” คือ สิน “ตัด” คือเมืองตาก และยังมีชื่อที่ปรากฏว่า เจิ้งกว๋ออิง แปลว่า เจิ้งวีรบุรุษของประเทศ ตามหลักฐานจีน พระราชบิดาชื่อ ไหฮอง สำเนียง แต้จิ๋วว่า “แต้” หรือนายไหฮอง แซ่แต้ จากอำเภอไฮ้ฮง หรือจีนกลางว่า ไห่เฟิง เป็นอำเภอที่อยู่ล่างสุดและเล็กที่สุดของซัวเถา อาชีพหลักคือค้าขาย ไหฮองแต่งงานกับหญิงไทย ชื่อนกเอี้ยง (ระบุนามในหนังสือเดิมที่เขียนในเมืองจีนว่า ลั่วยั้ง หรือ นางนกยาง) ก่อนเสด็จรับราชการเคยทรงประกอบอาชีพค้าขายต่อจากพระราชบิดา และยังมีหลักฐานที่ส่อว่าเคยทรงเป็นพ่อค้าเกวียน ทรงรับสั่งได้คล่องแคล่ว ทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนกวางตุ้ง และจีนฮกเกี้ยน[84]
อย่างไรก็ตาม ต้วนลี่เซิงได้พบสุสานบรรจุฉลองพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ตำบลหัวฟู่ อำเภอเฉิงไห่ จังหวัดแต้จิ๋ว (เฉาโจว) อยู่ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน รวมทั้งศาลประจำตระกูลซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2464 คงเป็นผู้สืบราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสิน ส่งไปฝังแทนพระบรมศพตามธรรมเนียมจีน สิ่งนี้อาจเป็นหลักฐานว่า สายวงศ์พระราชบิดาอยู่ที่ตำบลนั้น ซึ่งเป็นถิ่นที่แห้งแล้ง ทำให้อพยพมาอยู่พระนครศรีอยุธยา[85]
อ้างอิง
^ ศาสนสถานที่สำคัญในสมัยธนบุรี, มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 61.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 61.
^ 4.0 4.1 4.2 นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 63.
^ 5.0 5.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ (ในภาษาThai). ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. Bangkok: สำนักพิมพ์บรรณกิจ. p. 490. ISBN 974-222-648-2.
^ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - คลังปัญญาไทย
^ จรรยา ประชิตโรมรัน. (2548). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 55
^ พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันปราบดาภิเษก, 19 ธันวาคม 2549
^ Lintner, p. 112
^ David K. Wyatt. Thailand: A Short History. Yale University Press. pp. 140. ISBN 0300035829.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 77.
^ ประยุทธ์ สิทธิพันธ์, มหาราชและพระราชกรณียกิจสมเด็จพระภัทรมหาราช (กรุงเทพฯ : เทพพิทักษ์การพิมพ์, 2520) หน้า 223.
^ 13.0 13.1 นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 81.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 80.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 82-83.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 87.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 84-86.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 87-88.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 88-89.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 89.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 98.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 98-99.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 121.
^ John Bowman. Columbia Chronologies of Asian History and Culture. Columbia University Press. pp. 514. ISBN 0231110049.
^ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล, เครื่อข่ายกาญจนาภิเษก
^ บัญชา แก้วเกตุทอง,พลตรี. หนังสือที่ระลึกในงานหล่อประทานพร สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ วัดลุ่มมหาชัยชุมพล จังหวัดระยอง วันที่ ๖-๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๑.
^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2546). บรรพบุรุษไทย: สมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 5
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 126.
^ (ปัจจุบันคือจังหวัดจันทบุรี) ภูมิศาสตร์ประเทศไทย 11 ชื่อเดิมของจังหวัดต่างๆและชื่อเดิมของเมืองในประวัติศาสตร์
^ ศรรวริศา เมฆไพบูลย์,ศิริโชค เลิศยะใส. NATIONAL GEOGRAPHIC ฉบับที่ 77 ธันวาคม 2550. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),หน้า 51.ISSN 1513-9840
^ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. p. 385
^ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. p. 401-402.
^ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์, สามกรุง (พระนคร:คลังวิทยา ๒๕๑๑) หน้า ๙๘.
^ W.A.R. Wood (1924). A History of Siam. Chiang Mai. p. 253
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 143.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 143-145.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 146.
^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 23
^ สุนทรภู่, นิราศสุนทรภู่ ตอนนิราศพระบาท (พระนคร:คุรุสภา 2519) หน้า 123-124.
^ 40.0 40.1 40.2 นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 147.
^ 41.0 41.1 ชัย เรืองศิลป์. หน้า 6.
^ 42.0 42.1 พระราชวังเดิม
^ ธีระชัย ธนาเศรษฐ. เปิดวังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. สำนักพิมพ์ ธีรกิจ (ประเทศไทย) จำกัด. หน้า 134.
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 148.
^ Damrong Rajanubhab, pp. 418-419
^ W.A.R.Wood, p. 254
^ 47.0 47.1 47.2 47.3 47.4 47.5 งานกู้ชาติในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. หอมรดกไทย. สืบต้น 15-5-2554.
^ นิธิ เอียวศรีวงษ์. หน้า 173.
^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 128-146
^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 177
^ มูลนิธิกตเวทินในพระบรมราชูปถัมป์, ประวัติศาสตร์ชาติไทย, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) , 2547 หน้า 79 - 93. ISBN 974-92746-2-8
^ KING TAKSIN DAY webhost.m-culture.go.th Retrieved 2007-12-28
^ กรมศิลปากร, ประชุมพงศวดาร ภาคที่ 39 หน้า 63-64.
^ Thomas J. Barnes. Tay Son: Rebellion in 18th Century Vietnam. Xlibris Corporation. pp. 74. ISBN 0738818186.
^ ชัย เรืองศิลป์. หน้า 2.
^ ชัย เรืองศิลป์. หน้า 4.
^ 57.0 57.1 ชัย เรืองศิลป์. หน้า 5.
^ 58.0 58.1 ชัย เรืองศิลป์. หน้า 7.
^ Chris Baker (writer), Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand. Cambridge University Press. pp. 32. ISBN 0521816157.
^ Editors of Time Out. Time Out Bangkok: And Beach Escapes. Time Out. pp. 84. ISBN 1846700213.
^ Paul M. Handley. The King Never Smiles. Yale University Press. pp. 27. ISBN 0300106823.
^ Bertil Lintner. Blood Brothers: The Criminal Underworld of Asia. Macmillan Publishers. ISBN 1403961549., p. 234
^ Chris Baker, Pasuk Phongpaichit. A History of Thailand. Cambridge University Press. ISBN 0521816157., p. 32
^ 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ครองใจไทยทั้งชาติ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543. หน้า : 244-245
^ วีณา โรจนราธา. กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : กรุงสยามพริ้นติ้ง กรุ๊พ, 2540 หน้า 99 ISBN 978-974-02-0003-1
^ อ้างอิงจาก jarun.org
^ 67.0 67.1 67.2 67.3 67.4 67.5 การกู้พระศาสนาของพระเจ้าตากสินมหาราช : อาจารย์สมพร เทพสิทธา
^ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี, หน้า 186-187
^ วนา. พระเจ้าตากสิน ใช้ศาสนา กำหนดจริยธรรมของคนไทย, prajan.com, 7 กุมภภาพันธ์ 2549
^ วนา. พระมหากษัตริย์ กับศาสนา, oknation.net, 12 เมษายน 2551
^ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ (พิมพ์ในงานศพ นางช้อย ชูโต พ.ศ. 2464) หน้า 7.
^ 72.0 72.1 เปลื้อง ณ นคร. ประวัติวรรณคดีไทยสำหรับนักศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2517. หน้า 216
^ สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงศรีอยุธยา-ฉบับกรุงธนบุรีเลม 1-2
^ กรมช่างสิบหมู่ changsipmu.com
^ ชมโบสถ์ซางตาครู้ส ชิมขนมฝรั่งกุฎีจีน
^ สมเด็จพระเจ้าตากสินพระราชทานเพลิงศพพระราชมารดา (นกเอี้ยง) ณ วัดบางยี่เรือใต้ (อินทาราม)
^ พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230
^ สมชาย พุ่มสอาด, เบื้องหลังกบฏพระยาสรรค์, ศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 4 ฉบับที่ 6, เมษายน 2526 หน้า 8-15
^ ทศยศ กระหม่อมแก้ว. พระเจ้าตาก สิ้นพระชนม์ที่เมืองนคร. กรุงเทพฯ : กรีนปัญญาญาณ จำกัด, 2555. ISBN : 978-616-526-030-5
^ Donald K. Swearer (2004). Becoming the Buddha: The Ritual of Image. Princeton University Press. ISBN 0-691-11435-8. p. 235
^ นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 55.
^ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - คลังปัญญาไทย
^ ตามรอยสุสานพระเจ้าตาก sarakadee.com
^ Mulcolm Smith, Dr.. A Physician at the Court of Siam. University of Michigan Library. pp. 13.
^ พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร. สำเภาสยาม ตำนานเจ๊กบางกอก . กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. หน้า 93 ISBN 974-472-331-9
บรรณานุกรม
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 (พระเจ้าตากสิน) จุลศักราช 1128-1144.. กรมตำรากระทรวงธรรมการ. 2472.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. มติชน. ISBN 9789740201779.
ชัย เรืองศิลป์ (2541). ประวัติศาสตร์ไทยสมัย พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๔๕๓ ด้านเศรษฐกิจ. ไทยวัฒนาพานิช. ISBN 9740841244.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (2463). ไทยรบพม่า. มติชน. ISBN 9789740201779.
ส.พลายน้อย (2550). พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งชาติไทย. พิมพ์คำ. ISBN 9747507201.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550). กรุงแตก,พระเจ้าตากฯและประวัติศาสตร์ไทย. ศิลปวัฒนธรรม40201779.
แดน บีช บรัดเลย์ (2551). พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบลัดเล. มติชน. ISBN 9789740201779.
ดูเพิ่ม
ศาลพระเจ้าตากสิน พระราชวังเดิม
ลำดับพระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรธนบุรี
ความสัมพันธ์กับต่างชาติสมัยกรุงธนบุรี
แหล่งข้อมูลอื่น
Commons
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระราชประวัติ, มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ
พระกู้ชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน, ผู้จัดการออนไลน์
รามเกียรติ์ ฉบับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ของสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-
.
-
ประวัติชาวบ้านบางระจัน
-http://www.abhakara.com/webboard/index.php?topic=1017.0-
ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า
".เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำเจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......" ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย ดังนี้
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี
บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหินและดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น
สมัยทวาราวดี
พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้ง
ถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ
โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติ และที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี
เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน
มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอย
กำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด และดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯแหล่งโบราณคดีบ้านคีม ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาด กว้าง 5 เมตร
สมัยสุโขทัย
มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ปรากฎเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระมหารามาธิบดีที่ 1(พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองชั้นในหน้าด่าน รายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยก็ได้ แต่ไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา
ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี จึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็น เมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไป สืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกัน ก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฎในพระราช พงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา สมับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2110 หลังจากสมเด็จพระ-นเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง
ครั้งนี้พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมีพระยาพสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพสิมถูกกองทัพ กรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้า เชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้ามาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2308 สมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกัน
ต่อสู้กับพม่า ที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้านและปรากฎชื่อ คือ
1. พระอาจารย์ธรรมโชติ
2. นายแท่น
3. นายโชติ
4. นายอิน 5. นายเมือง
6. นายทองแก้ว
7. นายดอก
8. นายจันหนวดเขี้ยว
9. นายทองแสงใหญ่
10. นายทองเหม็น
11. ขุนสรรค์
12. พันเรือง โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309
สมัยกรุงธนบุรี
เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนาท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออก และคุมพรรคพวกซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
มีหลักฐานที่ปรากฎคือ พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (รัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรี
และเมืองพรหมบุรี เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอสิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปี พ.ศ. 2444 อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทรา และในปี พ.ศ. 2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้..
(http://www.tourdoi.com/webboard2/board_1/images/10423-231533-Sv300018.jpg)
อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ กองทัพพม่าได้ออกลาดตะเวนปล้นสะดม ข่มแห่งชาวไทย ฉุดคร่าอนาจาร เผาบ้านเรือนทำให้ชาวเมืองสิงห์บุรีโกรธแค้น ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกต่อสู้กับทหารพม่าจนเกิดเป็นค่ายบางระจันขึ้น มีนายแท่น นายเมือง นายโชติ นายอิน นายดอก นายแก้ว ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันทร์หนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ เป็นหัวหน้าค่ายบางระจัน พวกชาวบ้านบางระจันได้สู้รบกับพม่าถึงแปดครั้ง ครั้งสุดท้ายพม่าใช้ปืนใหญ่ยิงถล่ม ชาวบางระจันได้ขอปืนใหญ่ไปทางกรุงศรีอยุธยา แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่ให้ ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจกันหล่อปืนใหญ่ใช้เอง แต่ด้วยความไม่ชำนาญ ปืนใหญ่จึงร้าวและใช้การไม่ได้ ทำให้ชาวบ้านเสียขวัญและกำลังใจ ทว่าชาวบ้านบางระจันก็ยังคงต่อสู้กับพม่าอย่างไม่คิดชีวิต ในที่สุดค่ายบางระจันก็ถูกทำลายลงเมื่อวันจันทร์เดือน 8 แรม 2 ค่ำ พ.ศ.2309 รวมเวลาที่รบกับพม่านานถึงห้าเดือน แม้ค่ายบางระจันจะถูกกองทัพพม่าทำลายอย่างย่อยยับ แต่ภาพของบรรดาผู้กล้าไม่ว่าจะเป็นพระยารัตนาธิเบศร์ ขุนสรรค์พันเรือง ฯลฯ รวมทั้งชาวบ้านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ล้วนสู้ตาย ไม่ยอมถอยเพื่อรักษาบ้านเมืองของตน เป็นวีรกรรมของชุมชนที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย
ที่มา..
มุมกินเที่ยวทั่วโลก
( จังหวัดสิงห์บุรี )แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและอาหารอร่อยประจำท้องถิ่น+ร้านเด็ดๆ
-http://www.navy22.com/smf/index.php/topic,13532.0.html-
.
-
การรบที่บางระจัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99-
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม
ที่ตั้งค่ายบางระจัน เมื่อเทียบกับในปัจจุบัน
วันที่ ? - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309 (รวมเวลาได้ 5 เดือน)[1]
สถานที่ หมู่บ้านบางระจัน อาณาจักรอยุธยา
ผลลัพธ์ ค่ายบางระจันแตก
คู่สงคราม
ชาวเมืองวิเศษชัยชาญและชาวเมืองใกล้เคียง
กองทัพฝ่ายเหนือของอาณาจักรพม่า
ผู้บัญชาการ
นายแท่น †[1]
นายอิน
นายเมือง
นายโชติ
นายดอก
นายทองแก้ว
นายจันหนวดเขี้ยว †[1]
นายทองแสงใหญ่
นายทองเหม็น †[2]
พันเรืองกำนัน
ขุนสรรค์ †[1]
เนเมียวสีหบดี
งาจุนหวุ่น (ครั้งที่ 1)
เยกินหวุ่น (ครั้งที่ 2)
ติงจาโว (ครั้งที่ 3)
สุรินทรจอข้อง †[3] (ครั้งที่ 4)
แยจออากา (ครั้งที่ 5)
จิกแก (ครั้งที่ 6)
อากาปันคยี †[4] (ครั้งที่ 7)
สุกี้ (ครั้งที่ 8)
กำลัง
ทหารชาวบ้าน 1
,000 คน (ครั้งที่ 7)[5]
600 คน (ครั้งที่ 4)
1,000 คน (ครั้งที่ 7)[6]
รวมทั้งสิ้น: 6,100+ นาย[6]
500 นาย (ครั้งที่ 1)
700 นาย (ครั้งที่ 2)
900 นาย (ครั้งที่ 3)
1,000 นาย ม้า 60 ตัว (ครั้งที่ 4)
1,000 นาย (ครั้งที่ 5)
1,000 นาย ม้าไม่ทราบจำนวน (ครั้งที่ 6)
1,000 นาย (ครั้งที่ 7)
ทหารไม่ทราบจำนวน ปืนใหญ่จำนวนหนึ่ง (ครั้งที่ 8)
ความสูญเสีย
1,000+ คน[7] 3,000+ นาย[7]
การรบที่บางระจัน เป็นการรบเพื่อป้องกันตัวเองของชาวบ้านเมืองสิงห์บุรีและเมืองต่าง ๆ ที่พากันมาหลบภัยกองทัพพม่าที่บางระจัน ในคราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[ต้องการอ้างอิง] สามารถต้านทานการเข้าตีของกองทัพพม่าได้หลายครั้ง จนได้ชื่อว่า "เข้มแข็งกว่ากองทัพของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น"[6] และมีกิตติศัพท์เลื่องลือในด้านวีรกรรมความกล้าหาญในประวัติศาสตร์ไทย โดยมีอนุสาวรีย์สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมในครั้งนี้ในจังหวัดสิงห์บุรี
เบื้องหลัง
พ.ศ. 2307 กองทัพพม่าภายใต้การนำของเนเมียวสีหบดียกมาจากพม่า ซึ่งแต่เดิมแล้วมีภารกิจที่จะปราบปรามกบฎต่ออาณาจักรพม่าเท่านั้น แต่เนื่องจากความอ่อนแอของอาณาจักรอยุธยา เนเมียวสีหบดีจึงตั้งเป้าหมายที่จะเข้าตีกรุงศรีอยุธยาไปด้วย
ต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2308 กองทัพของเนเมียวสีหบดีรุกเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาจากทางเหนือ ได้มาหยุดอยู่ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และจัดให้ทหารพม่ากองหนึ่งเที่ยวกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนทางเมืองวิเศษชัยชาญ ราษฎรต่างพากันโกรธแค้นต่อการกดขี่ข่มเหงของทหารพม่า จึงแอบคบคิดกันต่อสู้ ในเดือน 3 พวกชาวเมืองวิเศษชัยชาญ เมืองสิงห์บุรี เมืองสรรคบุรี และชาวบ้านใกล้เคียงพากันคบคิดอุบายเพื่อล่อลวงทหารพม่า ทั้งรวบรวมผู้คนไว้เพื่อทำการต่อไป ในบรรดาชาวบ้านที่ร่วมกันอยู่นี้มีหัวหน้าที่สำคัญคือ นายแท่น นายโชติ นายอิน นายเมือง ซึ่งได้หลอกลวงทหารพม่านำไปหาทรัพย์สิ่งของที่ต้องการ ทหารพม่าหลงเชื่อตามไป ก็ถูกนายโชติและพรรคพวกซุ่มอยู่บุกเข้ามาฆ่าฟันพม่าตายประมาณ 20 คน แล้วจึงพากันหนีไปยังบางระจัน
ในเวลานั้นชาวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่างก็เข้ามาหลบอาศัยอยู่ที่บางระจันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีอาหารอุดมสมบูรณ์ ข้าศึกตามเข้าไปได้ยาก ชาวบ้านทั้งหลายจึงพาพรรคพวกครอบครัวอพยพหันมาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติ ซึ่งมีกิตติศัพท์ว่ามีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมมาก ต่อมานายแท่นและผู้มีชื่ออื่น ๆ ชักชวนชาวบ้านได้อีกประมาณ 400 คนเศษพากันมาอยู่ที่บ้านบางระจัน หลังจากนั้นก็ตั้งค่ายขึ้นล้อมรอบบ้านบางระจัน 2 ค่าย เพื่อป้องกันทหารพม่าที่จะยกติดตามมาและเพื่อจัดหากำลังและศัตราวุธในแถบตำบลนั้น นอกจากนี้มีคนไทยชั้นหัวหน้าที่เข้ามาร่วมด้วยอีก 7 คน คือ ขุนสรรค์ พันเรือง นายทองเหม็น นายจันหนวดเขี้ยว นายทองแสงใหญ่ นายดอก และนายทองแก้ว รวมหัวหน้าที่สำคัญของค่ายบางระจันครั้งนั้นรวม 11 คน ตั้งซ่องสู้กับกองทัพพม่า
การเข้าตีค่ายบางระจัน
การรบครั้งที่ 1
ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ 100 เศษ มาตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน 200 ข้ามแม่น้ำไปรบกับพม่า ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้นทั้งนั้นก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมดเหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่ายแขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย
การรบครั้งที่ 2
เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล 500 มาตีค่ายบางระจัน นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น 700 คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ 2
การรบครั้งที่ 3
เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น 900 คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้งก่อนๆ
การรบครั้งที่ 4
การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึงหยุดพักรบประมาณ 2-3 วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลังพลประมาณ1,000 คน ทหารม้า 60 สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมาตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง) ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นายแท่นเป็นนายทัพคุมพล 200 พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล 200 ชาวไทยเหล่านี้มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบครั้งก่อนๆ บ้าง นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่ายไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้ามรบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพพม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไปฟันตาย ณ ที่นั้น ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออกมาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึงถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหารออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้ามคลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูกอาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไปมีชาวบ้านอื่นๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีกเป็นลำดับ
การรบครั้งที่ 5
พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ 10-11 วัน ด้วยเกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็นนายทัพ คุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ 1,000 คนเศษ พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตกพ่ายไป
การรบครั้งที่ 6
นายทัพพม่าครั้งที่ 6 นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล 100 เศษ ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย
การรบครั้งที่ 7
เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล 1,000 เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ บ้านขุนโลก ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่นปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 1,000 เศษออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้ ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน
การรบครั้งที่ 8
การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง แต่ต้องแตกพ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้านบางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทยและภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รับตำแหน่งสุกี้ หรือพระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพคุมพล 2,000 พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลางแปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง 3 ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไปสร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลางแปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับทำให้ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่ายพม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน แต่ในที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมาว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกันภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง) ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่ ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็แตกพ่ายลงนอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจันเสียกำลังใจลงอีกคือ นายแท่นหัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพยกมาเมื่อการรบครั้งที่ 4 นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน 6 ปีจอ พ.ศ. 2309 หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีกหลายครั้ง วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์และนายจันหนวดเขี้ยวได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่ 2 กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนครปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลางทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็นกำลังรบพระนคร พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่ายบางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาสองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบกับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนในค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 (วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2309) รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. 2309 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 เดือน พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพอยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้
อนุสาวรีย์
กองหัตถศิลป กรมศิลปากรเริ่มดำเนินการหล่ออนุสาวรีย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509 จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะนำไปติดตั้งได้ใน พ.ศ. 2512[8] โดยกรมศิลปากรสร้างอนุสาวรีย์ไว้ตรงกันข้ามวัดโพธิ์เก้าต้น อยู่ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายสิงห์บุรี-สุพรรณบุรี หมายเลข 3032 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาในวโรกาสเปิดอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2519[9] ทรงมีพระราชดำรัสไว้ว่า "วีรกรรมในครั้งนั้นเป็นของผู้ที่รักแผ่นดินไทย เป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยทั้งมวล ทั้งในอดีตและปัจจุบันมีกำลังใจและเตือนสติให้มีความสามัคคีและรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง เพื่อรักษาประเทศไทยให้ตนเองและเพื่อความมั่นคงของแผ่นดิน....."[ต้องการอ้างอิง]
ฐานของอนุสาวรีย์มีคำจารึกไว้ว่า "สิงห์บุรีนี่นี้ นามใด สิงห์แห่งต้นตระกูลไทย แน่แท้ ต้นตระกูล ณ กาลไหน วานบอก หน่อยเพื่อน ครั้งพม่ามาล้อมแล้ ทั่วท้องบางระจัน"
จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน:
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิด
ณ วันที่... เดือน... พุทธศักราช ๒๕๑๙
เมื่อเดือนสาม ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘
นายจันหนวดเขี้ยว นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว
นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่ นายแท่น นายเมือง
พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน
ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ
ตั้งแต่เดือนสี่ ปีระกา พุทธศักราช ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙
วีรชนค่ายบางระจันได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญและด้วยกำลังใจอันเด็ดเดี่ยว
ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ
รัฐบาลและประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน.[8]"
ในวรรณกรรมร่วมสมัย
วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้ถูกรับรู้ในสำนึกของคนไทยยุคปัจจุบัน ด้วยการกล่าวถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยมากมาย เช่น เพลงศึกบางระจัน ของขุนวิจิตรมาตรา ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543) โดย ธนิตย์ จิตนุกูล เป็นต้น
การวิเคราะห์
เรื่องราวของชาวบ้านบางระจัน มีบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เท่านั้น ไม่ปรากฏในพงศาวดารหรือบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับอื่น แม้แต่พงศาวดารร่วมสมัยคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เช่น คำให้การชาวกรุงเก่า หรือแม้แต่ในพงศาวดารของฝ่ายพม่าเองด้วย
ดังนั้น ปัจจุบัน นักวิชาการทางประวัติศาสตร์จึงมีความเชื่อโน้มเอียงไปในทางที่ว่า วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันไม่มีอยู่จริง หรือมีอยู่จริง ก็ไม่ใช่วีรกรรมเพื่อชาติ แต่เป็นไปในลักษณะเป็นชุมนุมป้องกันตนเองจากผู้รุกราน และก็มีชุมนุมลักษณะนี้มากมาย ไม่เพียงเฉพาะบ้านบางระจัน และการต่อต้านทัพพม่าของชาวบ้านบางระจันก็ไม่น่ายาวนานถึง 5-6 เดือน น่าจะไม่เกิน 3 เดือน
วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ระบาดอย่างมากในประเทศไทย เพื่อเป็นการปลุกใจให้รักและหวงแหนในชาติ เช่น มีการบรรจุในแบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง ฯลฯ ความรับรู้ของคนทั่วไปจะรับรู้ผ่านทางแบบเรียน นิยาย ละคร รวมทั้งภาพยนตร์ และเชื่อตามการนำเสนอนั้นว่าวีรกรรมและตัวละครมีตัวตนจริง
ดูเพิ่ม
พระอาจารย์ธรรมโชติ
อ้างอิง
^ 1.0 1.1 1.2 1.3 จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 92
^ จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 91
^ จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 89
^ จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 90
^ จรรยา ประชิดโรมรัน. (2547). การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๑๐. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 90
^ 6.0 6.1 6.2 มาตยา อิงคนารถ, ทวี ทองสว่าง, วัฒนา รอดสำอางค์. (2529). ประวัติศาสตร์ไทย. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. หน้า 168-169
^ 7.0 7.1 ชัย เรืองศิลป์. หน้า 3
^ 8.0 8.1 การฟื้นฟูบูรณะค่ายบางระจันและวัดโพธิ์เก้าต้น
^ อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจันและอุทยานค่ายบางระจัน
ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี
.
-
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้
สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (6 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)
อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-
.
ราชวงศ์ก่อนหน้า ก็คือราชวงศ์ปราสาททอง
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ก็คือ พระเจ้าปราสาททอง
ติดตามอ่านได้ในกระทู้ จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new-
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new)
.
-
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อราชวงศ์ลำดับที่ 5 แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ใน ปี พ.ศ. 2310 มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ใน ปี พ.ศ. 2231 ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ใน ปี พ.ศ. 2310 รวมระยะเวลา 79 ปี
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
โดยชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของสมเด็จพระเพทราชา โดยลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้
สมเด็จพระเพทราชา - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246 (15 ปี)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251 (6 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275 (25 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301 (26 ปี)
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 (2 เดือน)
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) - ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2301 - ปี พ.ศ. 2310 (9 ปี)
อาณาจักรอยุธยาภายใต้ราชวงศ์บ้านพลูหลวงอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ด้วยมีความขัดแย้งตลอดราชวงศ์ ผู้คนแตกแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย เช่น การชิงราชสมบัติเมื่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ระหว่างพระโอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่กินระยะเวลายาวนานถึง ๑ ปี หรือการช่วงชิงราชสมบัติมาจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เมื่อตอนต้นราชวงศ์ด้วย
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-
.
ราชวงศ์ก่อนหน้า ก็คือราชวงศ์ปราสาททอง
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ก็คือ พระเจ้าปราสาททอง
ติดตามอ่านได้ในกระทู้ จมื่นศรีสรรักษ์ หรือ พระเจ้าปราสาททอง
-http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new-
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new (http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7427.new.html#new)
.
สมัยก่อนหน้านี้ (เป็นสิบกว่าปี) มีความรู้สึกที่เกลียดราชวงศ์บ้านพลูหลวงเป็นอย่างมาก ตอนที่ไปเที่ยวที่อยุธยา ไปเห็นวัดวาอารามต่างๆ พระพุทธรูปต่างๆ ที่โดนพม่าเผา(เพื่อลอกทองคำ) อีกทั้งมีการฆ่าคนไทย และกวาดต้อนคนไทยกลับไปยังพม่า
แต่หลังจากนั้น ก็กลับมาคิดว่า หากไม่มีราชวงศ์บ้านพลูหลวงและราชวงศ์ปราสาททอง ก็คงไม่มีการกู้ชาติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และราชวงศ์จักรี และวีรกรรมการป้องกันประเทศของชาวบ้านบางระจัน ให้คนไทยทั้งหลายได้ระลึกนึกถึงคุณงามความดี ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวบ้านบางระจัน อีกทั้งทำให้คนไทยโชคดีที่ได้พบกับราชวงศ์จักรี เปรียบได้กับ มารไม่มี บารมีไม่เกิด ครับ
.