กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10
51


21 ธันวาคม 2566 |  วัฒนธรรมร่วมสมัย

รศ.ดร.เอกรินทร์ พึ่งประชา

“Soft power” ถอดรหัสโครงสร้าง “อำนาจละมุนละไม” ในมิติวัฒนธรรม

           “Soft power” หรือที่ผู้เขียนเรียกในบทความนี้ว่า “อำนาจละมุนละไม” เป็นแนวคิดที่ริเริ่มจากงานสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมานานกว่า 3 ทศวรรษ ก่อนขยายสู่งานสายอื่น ด้วยเหตุผลสำคัญคือเป็นการนำ “แหล่งทรัพยากร” โดยเฉพาะ “วัฒนธรรม” มาบริหารจัดการอย่างเหมาะสม จนอำนาจดังกล่าวเกิดพลังในการโน้มน้าวใจคู่ปฏิสัมพันธ์เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและเคารพซึ่งกันและกัน โดยปราศจากการใช้กำลังบังคับ กระทั่งเมื่อโลกก้าวสู่เทคโนโลยีข่าวสาร “อำนาจละมุนละไม” จึงแพร่อิทธิพลความคิดให้ใครต่อใครได้หยิบมาใช้เพื่อให้อุดมการณ์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ส่วนสังคมไทยพบว่าแนวคิดดังกล่าวเริ่มมีการกล่าวถึงในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมา แต่กลับเป็น “กระแส” แห่งยุคสมัยในปัจจุบัน จนมีคนกล่าวว่า “เดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็ Soft power”

           บทความนี้ ไม่ต้องการตอบคำถามต่อคำพูดดังกล่าวว่า “ถูก” หรือ “ผิด” แต่จะชวนตั้งคำถามและวิเคราะห์ว่า ทำไม “Soft power” หรืออำนาจละมุนละไมในมิติทางวัฒนธรรมถึงมี “พลัง” และ “พลัง” ดังกล่าวก่อตัวขึ้นจากอะไร

-1-

           โจเซฟ เอส. เนย์ จูเนียร์ (Joseph S. Nye Jr.) นักรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้บัญญัติคำ “Soft power” หรือ “อำนาจละมุนละไม” ขึ้นในช่วงต้นคริสตวรรษที่ 1990 เพื่ออธิบายปรากฎการณ์การใช้อำนาจของรัฐในการโน้มน้าวรัฐคู่ความสัมพันธ์ให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจและเกิดการเคารพซึ่งกันและกัน โดยใช้วัฒนธรรม อุดมการณ์ทางการเมืองและนโยบายระหว่างรัฐกับรัฐซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้มาเป็นแนวทางบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Nye, 2004; Nye, 2021) ซึ่งตรงข้ามกับ “Hard power” หรืออำนาจแข็งกระด้าง (นิยามโดยผู้เขียน) ที่รัฐจะใช้อำนาจที่มีลักษณะจับต้องได้ เช่น อำนาจทหารข่มขู่หรือใช้กำลังให้รัฐคู่ความสัมพันธ์ปฏิบัติตามนโยบายของตน (Cooper, 2004; Nye, 2008; Lock, E. 2010)

           อย่างไรก็ตาม นักวิชาการหลายคนมองว่า อำนาจละมุนละไมของ โจเซฟ เนย์ หาใช่แนวคิดที่ริเริ่มใหม่ เพราะอำนาจดังกล่าวมีส่วนละม้ายกับแนวคิด “อำนาจ” ของ อี.เอช. คารร์ (E.H. Carr) และแอนโตนิโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) กล่าวโดยสรุป คือ

           อี.เอช. คารร์ นักคิดสำนักสัจนิยมมองว่า อำนาจในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมี 3 ประเภท คือ อำนาจทางทหาร อำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางความคิด โดยรัฐจะใช้อำนาจเหล่านี้ต่อรองหรือควบคุมรัฐคู่ความสัมพันธ์ และขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันความมั่นคงและปลอดภัยให้กับรัฐของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงอำนาจทางความคิดผ่านวาทศิลป์นั้นถือเป็นการใช้ศิลปะการโน้มน้าวใจคู่ความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญทำให้ผู้นำรัฐและการเมืองได้รับความนิยมชมชอบ วาทศิลป์หรืออำนาจทางความคิดจึงมีอานุภาพดั่งอาวุธสมัยใหม่ที่ไม่ต้องใช้กำลัง (ทหาร) บังคับแต่ประการใด (Carr, 1946)

           ส่วนแอนโตนีโอ กรัมชี นักคิดการเมืองแนวมาร์กซิสต์ให้ความสำคัญศักยภาพของกลุ่มทางสังคม โดยใช้เจตจำนงของกลุ่มครอบงำและรักษาอำนาจเหนือกลุ่มอื่น ๆ กรัมชียังมองว่า อำนาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบังคับหรือกำลังทางกายภาพเท่านั้น แต่อำนาจยังรวมถึงศักยภาพในการออกแบบรูปแบบและควบคุมความเชื่อ ค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคมผ่านวิธีการและแสดงออกทางวัฒนธรรมและอุดมการณ์ อำนาจของกรัมชีจึงเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับบทบาทของปัญญาชน สถาบันวัฒนธรรมและอุดมการณ์ ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนภาคประชาสังคมในการรักษาและผลิตซ้ำอำนาจของกลุ่มที่มีอำนาจเหนือกว่า (Gramsci, 1971: 80; Cox, 1983; Bieler and Morton, 2004)

           จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า อำนาจละมุนละไมที่เป็น “กระแส” แห่งยุคสมัยมีส่วนละม้ายกับ “อำนาจ” ในฐานคิดของ อี.เอช. คารร์ นักคิดสำนักสัจนิยมในเรื่องอำนาจทางความคิดและ แอนโตนีโอ กรัมชี นักคิดการเมืองแนวมาร์กซิสต์ ในมิติของแสดงออกวัฒนธรรมและอุดมการณ์ (Zahran and Ramos, 2010) ทั้งหมดมีจุดร่วมเดียวกันคือ อำนาจดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้และหากมีการจัดการที่เหมาะสมจะสามารถถ่ายทอดเป็นพลังได้อย่างมหัศจรรย์

           คำถามสำคัญคือ ถ้าเช่นนั้น อำนาจละมุนละไมมีการทำงานเป็นเช่นไร ถึงทำให้เกิดพลังในการโน้มน้าวใจและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยปราศจากกำลังบังคับ

-2-

           จากนิยามอำนาจลำมุนละไมในมุมมองของโจเซฟ เนย์ พบว่า อำนาจดังกล่าวมีโครงสร้างการทำงานประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) แหล่งทรัพยากร 2) ตัวแทน 3) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และ 4) สื่อและเทคโนโลยี (Bially,2005; Nye, 2006; Bilgin and Elis, 2008) กล่าวโดยสรุปคือ

           โครงสร้างแรก “แหล่งทรัพยากร” ที่มาของอำนาจละมุนละไมมี 3 แหล่ง คือ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมืองและนโยบายต่างประเทศ ซึ่งในมิติวัฒนธรรมนั้นสามารถนำวัฒนธรรมชั้นสูงและวัฒนธรรมมวลชนในทุกระดับมาเป็นต้นทุนในการสร้างอำนาจ เพียงแต่ว่าผู้สร้างจำเป็นต้องหา “คุณค่าร่วม” ซึ่งได้รับการยอมรับของทุกฝ่ายในคู่ปฏิสัมพันธ์ พลังโน้มน้าวใจถึงจะก่อตัวขึ้น (Nye, 2004)

           โครงสร้างที่สอง “ตัวแทน” ทำหน้าที่เป็น “สะพาน” เชื่อมโยงและถ่ายทอด “วัฒนธรรม” สู่คู่ความสัมพันธ์ ซึ่งในช่วงต้นของการใช้อำนาจนี้ ตัวแทนส่วนใหญ่มักจำกัดเพียงรัฐ ดารานักแสดงแนวหน้า (superstar) และบุคคลที่มีชื่อเสียงเท่านั้น ในมุมหนึ่ง “ตัวแทน” ดังกล่าวถือมีส่วนสำคัญต่อการสร้างหรือนำความคิดไปปรับใช้ (trendsetter) แต่อีกมุมหนึ่ง หากเลือกตัวแทนผิดพลาดก็จะส่งผลทำให้อำนาจละมุนละไมอ่อนพลัง (Lock, 2010) “ตัวแทน” จึงเป็นดาบสองคม เพราะหากตัวแทน (รวมถึงรัฐผู้เลือกตัวแทน) ขาดความเข้าใจต่อ “วัฒนธรรม” ที่นำมาสร้างอย่างถ่องแท้และไม่เข้าใจท่าที่ของ “คู่ความสัมพันธ์” อาจถึงขั้นส่งผลเชิงลบต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว (Herman, 2000; Van Ham, 2002)

           โครงสร้างต่อมาคือความสัมพันธ์เชิงอำนาจ สืบเนื่องจากการเลือก “ตัวแทน” ผิดพลาด ย่อมส่งผลกระทบต่ออำนาจละมุนละไมอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคู่ความสัมพันธ์ เนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลต่อการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมและโลกรอบตัว อีกทั้งโครงสร้างดังกล่าวยังเป็นความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานสุดของการอยู่ร่วมกัน อำนาจจึงมักจะแสดงออกในรูปแบบที่หลากหลายและซับซ้อน (Zahran, 2010) ดังนั้น หากพิจารณาความสัมพันธ์อย่างฉาบฉวย ความเข้าใจผิดก็อาจเกิดขึ้นได้ เหตุนี้ อำนาจละมุนละไมจะมีพลังได้ตามที่ผู้สร้างประสงค์หรือไม่ ผู้สร้างจำเป็นต้องใส่ใจทุกรายละเอียดของคู่ความสัมพันธ์ว่า “เขา” คือใคร มีท่าที มีอำนาจและมีคุณลักษณะอย่างไร เป็นการเรียนรู้แบบ “เข้าใจเขา เข้าใจเรา” สะท้อนถึงความจริงใจซึ่งจะนำไปสู่ความไว้เนื้อเชื่อใจที่นำพลังละมุนละไมไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

           โครงสร้างท้ายสุด คือ สื่อและเทคโนโลยี ในยุคต้นสื่อส่วนใหญ่มักเป็นสื่อกระแสหลัก โดยสร้างสรรค์ผ่านหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งถือว่ามีอิทธิพลทางความคิดเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามก็ทำให้เกิดข้อวิจารณ์สำคัญข้อหนึ่งคือ สื่อดังกล่าวนำเสนอไม่รอบด้านหรือไม่เข้าใจวัฒนธรรมที่ต้องการสื่อ เสมือนเป็นการรับใช้อุดมการณ์ของรัฐซึ่งอาจเป็น “จุดบอด” ของการสร้างอำนาจละมุนละไม เนื่องจากถูกมองว่าเป็นเพียงกระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของรัฐ กระทั่งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ทำให้การทูตสาธารณะมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสะดวกที่ (เกือบ) ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล กล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระดับต่าง ๆ ประการสำคัญยังเป็นศูนย์กลางข้อมูลและส่งผลกระทบต่อประชากรโลก ทำให้ผู้คนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ไม่ได้จำกัดการนำเสนอเฉพาะสื่อกระแสหลักเช่นยุคต้น (Herr, 2019) ยิ่งกว่านั้น ในรอบ 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อสังคมก้าวสู่ยุคโชเชียลมีเดียเกิดแพลตฟอร์ตต่าง ๆ มากมาย ยิ่งทำให้การใช้อำนาจละมุนละไมขยายขอบเขตการสื่อสารและโน้มใจอย่างไร้ขอบเขตตามเช่นกัน

           จากโครงสร้าง “อำนาจละมุนละไม” ทำให้เห็นว่า แต่ละโครงสร้างมีการทำงานสัมพันธ์แนบแน่นจนกลายเป็นเนื้อเดียวอย่างไม่อาจแยกออกจากกัน ถึงจะทำให้ “อำนาจ” เกิด “พลัง” ยิ่งกว่านั้น อำนาจดังกล่าวเปรียบเสมือน “การสร้างตราสินค้า” ของประเทศ เพื่อใช้เป็นการฑูตสาธารณะอย่างแยบยล เพราะใช้โดยปราศจากอำนาจบังคับ (Herman, 2000; Van Ham, 2002)

           “ความหวือหวา” ดังกล่าวส่งผลทำให้อำนาจละมุนละไมขยายตัวจากเดิมจำกัดเฉพาะงานสายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สู่การทำงานภาคส่วนอื่น ๆ ของรัฐและเอกชน หรือแม้กระทั่งตัวบุคคลได้นำแนวคิดนี้ขับเคลื่อน (Herr, 2019) นั่นหมายความว่า การให้นิยามและความหมายเดิมของอำนาจละมุนละไมย่อมแปรเปลี่ยนไปตามบริบทขององค์การและ/หรือผู้ที่ต้องสื่อว่าต้องการสร้างอำนาจดังกล่าวในการขับเคลื่อนเรื่องใด

-3-

           บทสรุปการทำความเข้าใจ “Soft power” หรืออำนาจละมุนละไมในมิติวัฒนธรรมพบว่า ในด้านความหมายสะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดนี้สืบเนื่องมาจากวิธีคิดของ โจเซฟ เนย์ อำนาจดังกล่าวมีเค้าลางใกล้เคียงกับอำนาจของ อี.เอช. คารร์ นักคิดสำนักสัจนิยมในเรื่องอำนาจทางความคิดและแอนโตนีโอ กรัมชี นักคิดการเมืองแนวมาร์กซิสต์ในมิติของแสดงออกวัฒนธรรมและอุดมการณ์ เพียงแต่ เนย์ตอกย้ำให้เห็นว่า“วัฒนธรรม” คือแหล่งทรัพยากรสำคัญที่รัฐหรือผู้ที่ต้องการสร้างอำนาจละมุนละไมนำมาจัดการอย่างเหมาะสมและเข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็จะทำให้อำนาจนี้ทรงพลัง ส่งผลทำให้แนวคิดนี้ได้รับความนิยมในแวดวงการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก่อนขยายสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ของรัฐและเอกชน จนกระทั่งเมื่อบริบทสังคมเปลี่ยนไป ความเจริญด้านสื่อและเทคโนโลยี ตลอดจนเกิดขึ้นแพลตฟอร์มโชเชียลมีเดียต่าง ๆ ยิ่งทำให้ “อำนาจละมุนละไม” กลายเป็นกระแสสังคมและถูกหยิบยกมาใช้จนเกิดการการพูดลอย ๆ ว่า “เดี๋ยวนี้ อะไร ๆ ก็ Soft power”

           บทความนี้ไม่มีคำตอบ “ถูก” หรือ “ผิด” ต่อคำพูดดังกล่าว แต่สิ่งที่ควรฉุกคิดคือ “Soft power” ที่ว่ามานี้จะเป็นอำนาจละมุนละไมที่มี “พลัง” หรือไม่?

           คำตอบคงต้องหันกลับไปทบทวนโครงสร้าง “อำนาจละมุนละไม” ที่ประกอบด้วย 4 โครงสร้างตามที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ 1) แหล่งทรัพยากร 2) ตัวแทน 3) ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และ 4) สื่อและเทคโนโลยี ก็จะเผยให้รู้ว่า อำนาจละมุนละไมที่อ้างมานั้นเป็น “ของจริง” อันทรงพลังหรือเป็นเพียง “ของปลอม” เพื่อสร้างภาพในการโฆษณาชวนเชื่อแบบดาษ ๆ

จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/552
52
วัชรยาน / ภพ 6 :  สภาวะจิตที่ “กลายร่าง” ไปในภพภูมิต่างๆ
« กระทู้ล่าสุด โดย มดเอ๊กซ เมื่อ มกราคม 15, 2024, 03:05:39 am »
ภพ 6 :  สภาวะจิตที่ “กลายร่าง” ไปในภพภูมิต่างๆ

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย THANYA วัชรสิทธา



“ระวังเถอะ ตายแล้วชาติหน้าจะเกิดเป็นเปรต”

“ถ้าทำกรรมดี ตายแล้วจะได้ไปสวรรค์”

เราได้ยินเรื่องภพภูมิในสังคมไทยกันมาจนชิน ตามความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดตามคติพุทธ แม้ชาตินี้จะเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ไม่มีอะไรการันตีว่าชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก เรามีโอกาสจะไปเกิดในภพภูมิอื่นที่สูงกว่าหรือต่ำกว่า ไม่ว่าจะเป็น สวรรค์  อสูร นรก เปรต เดรัจฉาน แล้วแต่ว่าในชาตินี้ได้สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่ว ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าจะไปเกิดครั้งต่อไปที่ไหน

ภาพของภพภูมิทั้งหกปรากฏอยู่ในวงล้อปฏิจจสมุปบาท ที่พวกเราเพิ่งได้เรียนกันไปในชั้นเรียน First turning of the Wheel of Dharma ห้องเรียนพุทธศาสน์ร่วมสมัย สอนโดย วิจักขณ์ พานิช เนื้อหาในคลาสเป็นคำสอนจากการหมุนกงล้อพระธรรมครั้งที่หนึ่ง หรือ “คำสอนหินยาน” จากทัศนะไตรยานของพุทธธิเบต อันประกอบด้วยคำสอนอภิธรรม อริยสัจสี่ ข้อเตือนใจสี่ประการ ขันธ์ห้า อนัตตา และปฏิจจสมุปบาท

คำสอนภพภูมิปรากฏในข้อเตือนใจสี่ประการข้อสุดท้าย “ข้อเตือนใจข้อที่สี่: ความว่ายวนของสังสารวัฏ” ที่เตือนให้เราตระหนักถึงการหมุนวนไม่มีสิ้นสุดของการเวียนว่ายตายเกิด และไม่มีสิ่งภายนอกใดเลยที่จะตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง เงินทอง ฯลฯ ตราบใดที่เรายังอยู่ในวังวนนี้ อย่างเดียวที่การันตีได้คือความทุกข์

กรรมและแรงขับของสังสารวัฏจะพาให้เราตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิด ต่อไปเรื่อยๆ วนเวียนอยู่ในภพภูมิต่างๆ หากทำดีในชาตินี้ ก็อาจได้ไปเกิดในภพที่สูงขึ้นในชาติหน้า หากทำชั่ว ก็ไปเกิดในภพที่ต่ำลง เราจำเป็นต้องไปเกิดเพื่อรับผลกรรมของตัวเอง จนกว่าจะเกิดความเข้าใจในการหลุดพ้นและการคลี่คลายกรรม จนไม่เหลือพลังงานที่จะผลักให้เวียนว่ายต่อ นั่นจึงจะสามารถทำให้เราหลุดออกจากสังสารวัฏได้

“ตามคำสอนของพุทธทิเบต สังสารวัฏประกอบไปด้วยภพภูมิ 6 ประเภท หรือที่เรียกว่า “ภพ 6” โดยมีภพเบื้องล่างสามภพคือ นรกภูมิ เปรตภูมิ และเดรัจฉานภูมิ ภพเบื้องบนสามภพ คือ มนุษยภูมิ อสุรกายภูมิ และเทวภูมิ”

นอกจากในข้อเตือนใจข้อที่สี่ “ภพ” ยังปรากฎเป็นหนึ่งในนิทาน 12 ของวงล้อปฏิจจสมุปบาท ช่องที่ 10 ซึ่งอธิบายอย่างเร็วๆ ได้ว่าเป็นช่องสุดท้ายของนิทานในชาติปัจจุบัน ที่ทั้งเป็นเหตุที่จะส่งผลให้เราไปเกิดในชาติหน้า และเป็นผลของการกระทำต่างๆ ในชาตินี้ ในหนังสือ Indestructible Truth อ.เรจินัลด์ เรย์ ใช้คำภาษาอังกฤษ ภพ ว่า “Becoming” หรือ “การเป็น” ซึ่งหมายถึง พัฒนาการของอัตตาที่มาถึงจุดสูงสุด จากความยึดมั่นถือมั่น ความคิดว่ามีตัวคน จนกลายร่างมาเป็นภพ เป็น display ของตัวตน ที่แข็งทื่อที่สุด สมจริงที่สุด

ซึ่ง “ภพ” ในฐานะนิทานที่ 10 ของวงล้อปฏิจจสมุปบาท มีความเกี่ยวข้องกับการอธิบายภพภูมิในลักษณะที่เรากำลังจะพูดถึงกันต่อไป

ความน่าสนใจของคำสอนเรื่องภพภูมิ เกิดขึ้นเมื่อพุทธธรรมธิเบตเดินทางไปสู่โลกตะวันตก คำสอนหลายอย่างถูกตีความหมายในเชิงประสบการณ์และเชิงจิตวิทยามากขึ้น เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ธรรมาจารย์ผู้ที่ได้หลอมละลายตัวเองเข้ากับโลกตะวันตกอย่างหมดจด ได้ให้คำสอนเรื่องภพภูมิในลักษณะใหม่ ท่านมองว่าภพภูมิทั้งหก คือ สภาวะจิต (State of mind) หรือแบบแผนร่องนิสัย (Habitual Pattern) ที่แตกต่างกันหกประเภท นั่นหมายความว่าภพภูมิไม่ใช่แค่อธิบายว่าเป็น “ภพ” ที่เราจะไปเกิด แต่เป็นสภาวะที่ปัจเจกแต่ละคนเผชิญและ “กลายร่าง” ไปเป็นในชีวิตนี้เลย

“…ในขณะที่เขายืนยันความจริงที่เป็นภววิสัยของแต่ละคน ด้วยการนำเสนอแก่นักเรียนว่าหลักการคือประสบการณ์ของสภาวะจิตที่ถูกครอบงำแตกต่างกันในแต่ละประเภทของผู้คน ภพ 6 จึงกลายมาเป็นรูปแบบของมนุษย์หกประเภทที่แตกต่างกัน แต่ละแบบประกอบสร้างขึ้นมาจากหลักจิตวิทยาของภพหนึ่ง ไม่ก็อีกภพหนึ่ง สำหรับตรุงปะแล้ว วิธีที่จะสื่อสารเรื่องความบกพร่องของสังสารวัฏคือชี้ให้เห็นถึงความบ้าคลั่ง ความซ้ำซาก และการยึดติดกับตัวเองอย่างถึงที่สุด”





เชอเกียม ตรุงปะ ให้คำอธิบายลักษณะของทั้ง ภพ 6 ที่เป็นนิสัยของคนหกประเภทที่แตกต่างกันดังนี้



เทวภูมิ – หลงละเมอในภาพมายา

ลักษณะนิสัยแบบเทวภูมิคือการหลงและหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง ยึดติดอยู่กับความสะดวกสบายทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ตรุงปะอธิบายว่า นี่เป็นลักษณะของคนที่มัวเมาอยู่ในวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ (Spiritual Materialism) ใช้การภาวนามาทำให้ตัวเอง “สูงส่งขึ้น” ทำให้ตัวตนชัดเจนแข็งทื่อขึ้น มีจุดอ้างอิงที่ตายตัว แทนที่จะเปิดกว้างและลื่นไหลไปกับสถานการณ์

ในทางโลกก็เช่นกัน คนที่อยู่ในเทวภูมิจะไขว่คว้าหาสิ่งที่จะมาสร้างความพึงพอใจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ชื่อเสียง หน้าตา สุขภาพ ฯลฯ พวกเขาจะถูกจูงไปมาด้วยสิ่งน่าปรารถนาเหล่านั้น ที่เฝ้าฝันว่าจะมาปรนเปรออัตตา แล้วสุดท้ายก็ติดอยู่ในภาพมายา โดยมองไม่เห็นว่าตัวเองว่ากำลังอยู่ในนั้น

“เทวภูมิไม่ได้เป็นทุกข์ในตัวมันเอง ในท้ายที่สุดแล้วความทุกข์นั้นมาจากความท้อแท้และความหดหู่ เธอคิดว่าเธอได้รับความสุข สภาวะแห่งความปีติไม่ว่าจะในทางโลกหรือทางจิตวิญญาณ เธอได้พักพิงอยู่ในนั้น แต่ทันใดนั้น อะไรบางอย่างเขย่าเธอ และเธอก็ตระหนักว่าสิ่งที่ได้มาเหล่านั้นไม่มีทางจะอยู่กับเธอตลอดไป”





อสุรกายภูมิ – อิจฉาริษยาและหวาดระแวง

ในภาษาอังกฤษคำว่า อสูร คือ “jealous god” หรือเทพแห่งความอิจฉาริษยา ตรุงปะอธิบายว่าจิตที่โดนภพนี้ยึดครอง คือความหวาดระแวง “ถ้าเธอพยายามจะช่วยคนที่มีจิตใจแบบอสุรกายภูมิ พวกเขาจะตีความไปว่าเธอกำลังจะมากดขี่ หรือแทรกซึมเข้ามาในอาณาเขตของพวกเขา แต่ถ้าเธอเลือกจะไม่ช่วย เขาก็จะตีความเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัว ไม่มาลำบากกับพวกเขา ถ้าเธอเสนอทั้งสองทางเลือกให้แก่พวกเขา เขาก็จะคิดไปว่าเธอกำลังเล่นเกมกับพวกเขาอยู่”

จิตแบบอสุรกายภูมิจะคิดเปรียบเทียบ เพื่อที่จะรักษาความปลอดภัยของขอบเขตตัวตน พวกเขามีจุดอ้างอิงที่ชัดเจนเพื่อกำหนดว่าจะทำอะไร เพื่อกำหนดสิ่งที่เป็นฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นมาตรวัดความก้าวหน้า คนพวกนี้ฉลาด พวกเขาจะแยกขาดตัวเองออกจากทุกสิ่ง ชีวิตกลายเป็นเกมแข่งขันกับฝ่ายตรงข้าม ฉันกับพวกเขา ฉันกับเพื่อนของฉัน ฉันกับตัวฉันเอง

ผู้ที่อยู่ในภพภูมินี้จะไม่รับสัญญาณจากสถานการณ์หรือโลกภายนอก พวกเขาหวาดระแวงและแยกขาดตัวเองออกมา พวกเขาจะเมินสิ่งเหล่านั้น และไม่ยอมรับอะไรสักอย่าง เพราะทุกสิ่งล้วนเป็นศัตรู





มนุษยภูมิ – ขับเคลื่อนด้วยแรงปรารถนาและความทุกข์

สภาวะจิตของภพมนุษย์นั้นถูกปกครองด้วยความปรารถนา เป็นความเฉลียวฉลาดที่มีความคิดในทางตรรกะเพื่อจะหาหรือสร้างความสุข แต่ด้วยความเป็นตัวตน วัตถุทางความสุขจึงเป็นสิ่งภายนอก ทำให้เกิดความคิดของความยากจนและขาดแคลนเข้ามาพร้อมๆ กัน

“เธอรู้สึกว่าสิ่งที่น่ารื่นรมย์เท่านั้นที่จะสามารถให้ความสุขและความสบายแก่เธอได้ แต่ก็รู้สึกว่ามันไม่พอ และไม่มีกำลังที่จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นเข้ามาหาเธออย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ว่าอย่างไรเธอก็พยายามที่จะลากมันเข้ามา ซึ่งมักจะนำไปสู่ความคิดวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น เธอต้องการสถานการณ์ที่ดีที่สุด น่าพึงพอใจที่สุด ดีที่สุด”

ความแตกต่างจากอสุรภูมิคือ ความฉลาดกว่าและการช่างเลือกสรร พวกเขาเต็มไปด้วยความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในคิดและเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกันจิตก็จะสนั่นไปด้วยเสียงของความคิดฟุ้งซ่าน ความคิดแบบมนุษย์จะสร้างสิ่งที่เป็น “สไตล์” ของตัวเองขึ้นมา ชื่นชมคนที่ใกล้เคียงกับตัวเอง ปฏิเสธคนที่ไม่ใช่ออกไป พวกเขามีความทะเยอทะยานที่จะไปสู่อุดมคติที่สูงกว่า เช่น บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือสร้างพระเยซูหรือพระพุทธเจ้าขึ้นมา และในพร้อมๆ กันนั้น ก็เต็มไปด้วยความทุกข์และความขาดแคลน




เดรัจฉานภูมิ – มองไม่เห็นภาพสะท้อนตัวเอง

คนที่อยู่ในเดรัจฉานภูมิจะมองไม่เห็นตัวเอง ในระดับง่ายๆ ของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การกิน การเดิน การพูด พวกเขาจะตกใจมากเวลาใครถ่ายสิ่งที่พวกเขาทำไว้แล้วเอามาให้ดู พวกเขาจะมีความมืดบอด และความตื้นเขินที่เกิดจากความไม่มีปัญญา “สภาวะจิตแบบเดรัจฉานจะมองตรงไปข้างหน้า ราวกับใส่ที่บังตา พวกเขาจะไม่หันซ้ายหันขวา แต่จะพุ่งไปข้างหน้าอย่างจริงจังที่สุด พยายามจะไปให้ถึงสถานการณ์ถัดไป และพยายามจะจัดการสถานการณ์ให้เข้าร่องกับความคาดหวังที่ตั้งไว้”

ในภพนี้จะเต็มไปด้วยความจริงจัง แม้แต่การเล่นมุกตลกก็จะถูกทำให้กลายเป็นความจริงจังไปด้วย พวกเขาอาจจะพยายามพูดตลก หรือทำตัวเป็นมิตร แต่มันจะขาดเซ้นส์ของความตลกที่ละเอียดอ่อนไป พวกเขาจะเผชิญโลกด้วยความดื้อดึง เหมือนถังน้ำที่กลิ้งไปเรื่อยๆ ไม่สนว่าจะโดนอะไรบ้าง แค่กลิ้งไปข้างหน้าอย่างนั้น



เปรตภูมิ – หิวโหยอย่างไม่สิ้นสุด

“ในธรรมเนียมปฏิบัติ จิตยากจนถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ของเปรต มันมีปากเล็กเท่ารูเข็ม คอผอมและยาว แขนขาผอมๆ และท้องใหญ่โต ปากกับคอของมันเล็กเกินกว่าจะส่งอาหารที่เพียงพอไปยังท้องอันใหญ่โตนั้นได้ มันเลยหิวอยู่ตลอดเวลา”

สภาวะจิตของภพภูมิเปรตเป็นความยากจนที่หิวโหย ต้องการชื่อเสียง มิตรภาพ ความมั่งคั่ง เสื้อผ้า เซ็กส์ อำนาจ หรืออะไรก็ตามที่จะอยากได้อยากมี ทุกอย่างที่ปรากฏในชีวิตล้วนเป็นสิ่งที่จะบริโภคเข้าไป อาหาร ขนม แม้แต่ความสุนทรียะของชีวิตพวกเขาก็พยายามจะตักตวงมันเข้าไปเก็บไว้กับตัวเอง พอสิ่งที่มีมันเริ่มซ้ำเดิมน่าเบื่อหน่าย พวกเขาก็จะหาอะไรใหม่ๆ เพื่อบริโภคเข้าไปอีก

กระทั่งสามารถเติมเต็มความหิวโหยได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง พวกเขาจะเกิดความรู้สึกหนักอึ้งและกระสับกระส่าย ไม่สามารถจะชื่นชมสิ่งที่มีอยู่ในมือได้ พวกเขาอยากที่จะหิวอีกครั้งเพื่อที่จะหาอะไรกินเข้ามาอีก ไม่ว่าจะเป็นการเสพ หรือการอยู่กับสิ่งที่ได้รับมา ทั้งสองทางล้วนนำพามาซึ่งความน่าหงุดหงิดใจ




นรกภูมิ – กลางไฟแห่งความโกรธ

สภาวะนี้ถูกปกครองด้วยความโกรธและความก้าวร้าว ราวกับอยู่ในดินแดนที่พื้นและท้องฟ้าลุกเป็นไฟอยู่ตลอดเวลา จนถึงจุดที่ไม่รู้แล้วว่าความร้อนนี้มาจากข้างนอกหรือข้างใน บางครั้งแม้ว่าจะสามารถทำให้ข้างในเย็นลงได้ สภาพแวดล้อมก็จะเผาให้ร้อนขึ้นมาอีก

ความรู้สึกของคนที่อยู่ในจิตของภพภูมินรกจะรู้สึกคับแคบ ไม่มีที่จะหายใจ ไม่มีที่ให้ขยับ และรู้สึกท่วมท้นกับชีวิตจนจะทนไม่ไหว ความโกรธข้างในนั้นมากจนอยากที่จะลงมือฆ่าอะไรสักอย่างเพื่อทำให้ความรู้สึกนั้นเบาบางลงบ้าง แม้กระทั่งฆ่าตัวเอง แต่อย่างไรก็ตามผู้ฆ่าคนนั้นก็จะไม่หายไป ไม่มีวันหมดสิ้นความรู้สึกเกรี้ยวกราดอยากทำลาย

ชีวิตในภพนี้จะเป็นเหมือนการเล่นเกม คล้ายๆ กับในภพอสูร พวกเขาแยกขาดจากสิ่งอื่นและตอบโต้ต่อผู้คนและสถานการณ์ด้วยความก้าวร้าว และถ้าหากไม่ได้รับการโต้ตอบจากสิ่งอื่น ก็จะสู้สับตัวเอง พวกเขาไม่ได้สู้เพื่อความบันเทิง แต่เพราะรู้สึกไม่ได้รับการปกป้อง เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกไม่ปลอดภัย พวกเขาจะเย็นและเยือกแข็ง ดังนั้นจึงต้องรักษาไฟความก้าวร้าวให้เผาไหม้อยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาตัวตนนี้ไว้ และเล่นอยู่ในเกมนี้ไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด



นี่คือสภาวะของทั้งหกภพในชีวิตนี้ ซึ่งเราแต่ละคนสามารถเข้าไปติดอยู่ในภพไหนก็ได้ ขึ้นกับว่าการกระทำของเราจะสร้างพฤติกรรมการยึดมั่นแบบไหนขึ้นมา รูปแบบการอธิบายของ เชอเกียม ตรุงปะ เป็นที่ยอมรับโดยนักเรียนของเขา ที่เป็นนักจิตวิทยา ซึ่งถือเป็นความหลักแหลมในการนำหลักคำสอนในพุทธศาสนามาตีความในเชิงประสบการณ์ ทำให้คำสอนเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ในทุกๆ มิติของผู้คน

ข้อเตือนใจสี่ประการข้อที่หนึ่งกล่าวไว้ว่า “ในทรรศนะแบบพุทธทิเบต การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ คือหนึ่งในความเป็นไปได้ของการเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตอื่นๆ อีกมากมาย ชาวทิเบตมีคำสอนว่าการได้เกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ คือหนึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ ของการเดินทางทางจิตวิญญาณ ที่จะต้องผ่านการเกิดแล้วตายอีกนับล้านๆ ครั้ง ในภพชาติปัจจุบันเราอาจเกิดมาเป็นมนุษย์ แต่ในความยาวนานอันประมาณมิได้นี้ พวกเราล้วนตกอยู่ภายใต้การจองจำของสังสารวัฏ และผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมาแล้วหลากหลายรูปแบบ”

กลับมาที่คำอธิบาย ภพ6 ในแบบภพชาติ การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นโอกาสอันล้ำค่าที่สุดในบรรดาภพทั้งหมด โดยเฉพาะโอกาสที่ได้มาพบเส้นทางสู่การหลุดพ้น มนุษย์เต็มไปด้วยศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา การคิดใคร่ครวญ และความสามารถที่จะสร้างความตระหนักรู้ มีร่างกายที่สามารถมีประสบการณ์ต่อสถานการณ์ต่างๆ เพื่อทำงานกับอะไรก็ตามที่ต้องเผชิญสู่การคลี่คลาย และการเกิดเป็นมนุษย์ที่ได้ฟังคำสอนอันลึกซึ้งเหล่านี้ ก็เป็นดั่งพรแก่การเกิดมาในชีวิตนี้

เราสามารถใช้โอกาสการเกิดเป็นมนุษย์ในชีวิตนี้ เรียนรู้ที่จะยอมรับและเป็นตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ บ่มเพาะความตระหนักรู้เพื่อก้าวเดินบนเส้นทางแห่งการตื่นรู้ เป็นได้ และปล่อยได้ ไม่ติดอยู่ในภพไหน กระทั่งตระหนักถึงธรรมชาติเดิมแท้ ที่ไพศาล เปิดกว้าง และเป็นอิสระ “อยู่แล้ว” และ “เสมอมา” ได้ในที่สุด




อ้างอิงจากหนังสือ

– Indestructible Truth เขียนโดย Reginald A. Ray

The Essential Chogyam Trungpa เรียบเรียงโดย Carolyn Rose Gimian

++++++++++++++++++++++++++++++++

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-bhava6/

วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน

ภาพเพิ่มเติม จาก ทังก้า มันดาร่า https://www.thangka-mandala.com/blog/the-wheel-of-life/
53
โอม มณี ปัทเม ฮุม (มองโกล) // Om Mani Padme Hum (Mongolian)




"โอม มณี ปัทเม ฮุม" ความหมายของคาถา "โอมมณีปัทเมฮุม" ให้ฟังว่าหมายความว่ายังไง ทำไมเราถึงภาวนาบทนี้ที่แสนจะสั้นแต่เต็มไปด้วยความหมาย

คาถา 6 พยางค์ ออกเสียงว่า โอม มณี ปัทเม หุม (Om mani padme hum) แปลว่า โอม มณีอยู่ในดอกบัว หมายความว่า ถือมณีในดอกบัวเป็นสรณะ เป็นพื้นฐานแห่งวาสนาและปัญญาทั้งปวง

โอม มณีปัทเม ฮุม เป็นภาษาสันสฤกต คืคำภาวนาหรือคาถาหัวใจของพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ คนจีนจะเรียกว่า กวนอิม ส่วนทิเบตจะเรียกว่า เชนเรนซี ส่วนทิเบตจะออกเสียง โอม มณี ปัทเม ฮุง

การที่คนเราหันมาสนใจภาวนาปฏิบัติธรรม เพื่อออกจากสังสารวัฏ ก่อนหน้าที่เราจะไม่เข้าใจว่าอะไรคือต้นเหตุ หรือรากของการเกิดสังสารวัฏ แต่พอตระหนักได้ว่า สังสารวัฏเป็นเรื่องของ "ทุกข์" ที่เรากระทำ มีตัวตนเป็น "เมล็ดพันธ์" ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิด

สำหรับมหายาน ถือแนวทางเดินตามพระพุทธเจ้า อธิษฐานเป็นโพธิสัตว์ เข้าถึงการเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งต้องเข้าถึงความหมายขอคำว่า "มหากรุณา-มหาปัญญา" ซึ่งมีไว้เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งปวง แล้วพระอวโลกิเตศวรคือสัญลักษณ์ที่แสดงออกให้เห็นแบบนั้น

คำว่า โอม คือ กาย วาจา ใจ ของพระพุทธเจ้าและของเรา ที่มีเนื้อหาของพุทธภาวะด้วยกันทุกคน มณีแปลว่ารัตนตรัย แก้วไพบูลย์อันเรืองค่า แทนมหากรุณาที่มอบให้กับสรรพสัตว์

ปัทเม คือดอกบัว แทนปัญญาของพระพุทธเจ้าที่โปรดสัตว์

รวมคำ "มณีปัทเม" คือมหากรุณาและมหาปัญญา ที่พวกเราจะต้องตระหนักที่อุทิศตนเอง ปฏฺิบัติ บำเพ็ญ ให้เข้าถึงคำว่า "มหากรุณา-มหาปัญญา" ระดับพระพุทธเจ้าให้ได้ ให้เข้าถึงพระอวโลกิเตศวร ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อตนเองแต่เพื่อประโยชน์สุขของสรรพสัตว์และขอให้สรรพสัตว์ได้ถึงพระอวโลกกิเตศวรด้วยในฉับพลัน

 คำว่า "ฮุง" คล้ายๆเวลาพระเซน ดีดนิ้ว คือฉับพลัน คำว่าฉับพลันนี้หมายถึงการเข้าใจเรื่อง ขันธ์ 5 ให้กลายเป็นพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

ฮุงคือการ เปลี่ยน purify ขันธ์ 5 ให้เป็นพระพุทธเจ้า 5 ตระกูล ฉับพลัน
- รูป เปลี่ยนเป็น พระพุทธเจ้าไวโรจนะ
 - เวทนา เปลี่ยน พระพุทธเจ้ารัตนสัมภวะ
- สัญญา เปลี่ยนเป็น พระพุทธเจ้าอมิตาภะ
- สังขาร เปลี่ยนเป็น พระพทธเจ้าอโมกขสิทธิ
 -วิญญาณ เปลี่ยนเป็นพระพุทธเจ้าอักโษภยะ

พระสูตร Mani Kambum ของทิเบตได้อธิบายไว้ว่า คาถา ๖ พยางค์สามารถปิดทวารเวียนว่ายตายเกิดของคติ 6 ได้ คือ คำว่า โอม ปิดสวรรคคติ ม ปิดอสุรกายคติ ณิ ปิดมนุษยคติ ปัท ปิดเดียรัจฉานคติ เม ปิดเปรตคติ หุม ปิดนรกคติ

ชาวทิเบตนิยมเขียนคาถา 6 พยางค์นี้ไว้บนผืนผ้ายาวเก็บไว้ในกระบอกบรรจุคัมภีร์ที่เรียกว่า ธรรมจักร โดยใช้สีขาวเขียนคำว่า โอม แสดงเป็นสวรรคคติ ใช้สีเขียวเข้มเขียนคำว่า ม แสดงเป็นอสุรกายคติ ใช้สีเหลืองเขียนคำว่า ณิ แสดงเป็นมนุษยคติ ใช้สีเขียวอ่อนเขียนคำว่า ปัท แสดงเป็นเดียรัจฉานคติ ใช้สีแดงเขียนคำว่า เม แสดงเป็นเปรตคติ และใช้สีดำเขียนคำว่า หุม แสดงเป็นนรกคติ ด้วยเชื่อว่า การสวดคาถาดังกล่าวจะได้บุญมหาศาล แม้พกไว้กับตัว กำไว้ในมือ หรือเก็บรักษาคาถา 6 พยางค์นี้ไว้ในเรือน ก็จะได้รับบุญที่จะนำพาให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์แห่งการเวียนว่ายตายเกิด



<a href="https://www.youtube.com/v//V_kfMo49fKQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//V_kfMo49fKQ</a> 

https://youtu.be/V_kfMo49fKQ?si=Hc4Hp0-8pMhVbhKc

เพิ่มเติม https://youtube.com/playlist?list=PLRTsA_0SL8Bc0GhbX3Q4-QwLOTR9Pn27S&si=1aE2PIzTCeix7OlY
54
ดร.อัมเบดการ์ จากแสนศรัทธาสู่ 10 ล้าน ตามรอยพระพุทธเจ้า

ย้อนรำลึกเหตุการณ์ ชาวพุทธในอินเดียครั้งสำคัญ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2499 ดร.อัมเบดการ์ ได้นำชาวอินเดีย วรรณะจัณฑาล กว่า 300,000 คน เข้าร่วมพิธีเปลี่ยนศาสนามาเป็น พุทธศาสนิกชน ที่เมืองนาคปุระ ทำให้จำนวนชาวพุทธในอินเดีย เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปัจจุบัน (ในช่วงที่ถ่ายทำรายการฯ เมื่อปี พ.ศ.2547) มีชาวพุทธมาลงทะเบียนไว้ มากกว่า 10,000,000 คนทั่วประเทศ ..พร้อมเปิดใจ ผู้เปลี่ยนมาศรัทธา ตามรอยพระพุทธเจ้า

<a href="https://www.youtube.com/v//FtdBIFhxtJA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//FtdBIFhxtJA</a> 

https://youtu.be/FtdBIFhxtJA?si=SkvRouh4PzImA1cp

เพิ่มเติม https://youtube.com/playlist?list=PLRTsA_0SL8Bc0GhbX3Q4-QwLOTR9Pn27S&si=1aE2PIzTCeix7OlY
55
10 quotes ทรงพลังของติช นัท ฮันห์ เพื่อบ่มเพาะความกรุณา ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ และสันติภาพ

โพสต์โดย วัชรสิทธา

เรียบเรียง โดย ทีมงานวัชรสิทธา



ติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุในพุทธศาสนา นักเขียน กวี และผู้นำทางจิตวิญญาณของโลก คำสอนของท่านเน้นย้ำไปที่การเปลี่ยนแปลงภายใน และมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการเผยแพร่ความหมายที่ลึกซึ้งของคำว่าสติและสันติภาพไปสู่ผู้คนทั่วทั้งโลก ท่านเป็นที่รู้จักในการทำให้การปฏิบัติภาวนาเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราสามารถนำไปใช้ฝึกฝนพัฒนาจิตใจได้ในชีวิตประจำวัน

นี่คือ 10 คำคมทรงพลังของ ติช นัท ฮันห์ ที่จะช่วยให้เกิดการบ่มเพาะความกรุณา ความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ และสันติภาพ ในยุคสมัยที่ท้าทายอย่างยิ่ง

1. “In true dialogue, both sides are willing to change.”
ในการสนทนาที่แท้ ทั้งสองฝ่ายต้องเต็มใจที่จะเปลี่ยน


โคว้ทแรกจากติช นัท ฮันห์ เผยกุญแจสำคัญของพุทธศาสนา นั่นคือการทำงานกับการยึดมั่น

พุทธะสอนเราว่า การยึดมั่นคือเหตุแห่งทุกข์ เราต่างยึดถือความเชื่อของตัวเองและหนทางที่เราคิดชีวิตเราควรจะเป็น การยึดติดความเชื่อเหล่านั้นปิดจิตใจเรา และหยุดยั้งศักยภาพของเราที่จะเปิดหัวใจและทำความเข้าใจกันและกันอย่างแท้จริง หากเราสามาถปล่อยการยึดต่อสิ่งที่เราคิดว่าเรารู้ แล้วให้พื้นที่ตัวเองในการพิจารณาถึงมุมมองของอีกฝ่าย เราจะสามารถมีการสนทนาที่มีประสิทธิภาพและเปี่ยมความหมาย

2. “You listen with only one purpose: to help him or her to empty their heart.”
เธอฟังด้วยเป้าหมายเดียว นั่นคือช่วยเขาหรือเธอปลดปล่อยหัวใจให้ว่าง


การสนทนาที่แท้จริงคือการแลกเปลี่ยนและฟังทัศนะที่แตกต่างของอีกฝ่าย ไม่ได้ด้วยเจตนาที่จะวิเคราะห์หาข้อบกพร่องในเหตุผล แต่เป็นการฟังเพื่อการทำความเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายอย่างเต็มที่

การเป็นพื้นที่ให้อีกคนสื่อสารสิ่งที่เขาหรือเธอเป็นและที่มาของการเป็นเช่นนั้น เป็นการช่วยปลดปล่อยความทุกข์ที่อัดแน่นอยู่ในใจ และนั่นคือเป้าหมายของการฟังและการสื่อสารอย่างตระหนักรู้

3. “Compassion is a verb.”
ความกรุณา เป็นคำกริยา


เป็นเรื่องยากที่จะรู้สึกถึงความกรุณาต่อผู้ที่กดขี่ ทำร้ายเรา หรือมีมุมมองทางการเมืองหรือความเชื่อที่แตกต่างจากเรา แต่ประเด็นจริงๆ ในเรื่องนี้ คือ เรามักเชื่อว่าความกรุณาเป็น “ความรู้สึกอย่างหนึ่ง” ที่บางครั้งเราก็อาจจะมีหรืออาจจะไม่มีมัน

เราไม่ควรรีรอหรือพยายามที่จะรู้สึกถึงความกรุณา ความรู้สึกนั้นเดี๋ยวก็มาและเดี๋ยวก็ไป ทว่าความกรุณาคือบางสิ่งบางอย่างที่เราควร ลงมือทำเดี๋ยวนี้! มันต้องอาศัยความพยายามที่จะพบความกรุณาและฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวันเพื่อบ่มเพาะมัน เราต้องเลิกเฝ้ารอว่ามันจะมาถึงในสักวัน แต่ควรเริ่มทำให้ความกรุณาและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเกิดขึ้นภายในตัวเราตั้งแต่ตอนนี้เลย

4. “When another person makes you suffer, it is because he suffers deeply within himself, and his suffering is spilling over.”
การที่อีกคนทำให้เธอทุกข์ ก็เพราะเขาหรือเธอเป็นทุกข์อย่างหนักข้างในตัวเองจนทะลักออกมา


โคว้ทนี้ยังมีต่ออีกหน่อยว่า “เขาหรือเธอไม่ได้ต้องการการลงโทษ แต่ต้องการความช่วยเหลือ”

ติช นัท ฮันห์ บอกเราว่า การกระทำอันก้าวร้าวใดๆ คือการแสดงออกของความทุกข์ หากไม่มีความเจ็บปวดลึกๆ อยู่ข้างใน เขาหรือเธอคงไม่แสดงออกมาเช่นนั้น ความเกลียดชัง ความโกรธ คำด่าทอ ความรุนแรง ล้วนมีรากเหง้าจากความกลัว ซึ่งหล่อเลี้ยงความรู้สึกไม่มั่นคงและไร้ค่า คนที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ผู้อื่น ก็เพราะลึกๆ แล้ว เขาหรือเธออยู่ในความเจ็บปวด

เราล้วนนำบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ภายในตัวเราออกมาแบ่งปันแก่โลก ยิ่งตระหนักได้เร็วเท่าไหร่ เราก็จะหยุดตัดสินและต่อว่ากันและกัน เราจะเริ่มรู้สึกเห็นอกเห็นใจกันและกัน และตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดที่เราจะสามารถนำมาสู่โลกใบนี้ได้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างภายในตัวเราเอง

5. “When you begin to see that your enemy is suffering, that is the beginning of insight.”
เมื่อเธอเริ่มมองเห็นว่าศัตรูของเธอคือความทุกข์ นั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญญา


การยอมรับการมีอยู่ของความทุกข์ในตัวเองและผู้อื่น คืออีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของการมีทัศนคติที่ถูกต้อง จากที่เราเคยมองมันอย่างคับแคบผ่านมุมมองแบบเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางมาโดยตลอด

โลกทัศน์ของเธอนั้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะต่อตัวเธอ ไม่มีใครที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้ที่จะใช้ชีวิตในแบบเธอ มันคือความจริงผ่านการมองของเธอ และมีเธอคนเดียวเท่านั้นที่รู้ในรายละเอียดของมันจริงๆ ทว่าความเข้าใจนี้เป็นจริงกับทุกๆ คนบนโลกใบนี้ด้วย

สิ่งที่ ติช นัท ฮันห์ บอกกับเราคือ เราไม่สามารถล่วงรู้ทัศนะการมองโลกของคนอื่นได้จริงๆ หรอก แต่เราสามารถเข้าใจและยอมรับการมีอยู่ของมัน และมันจริงสำหรับพวกเขา พอๆ กับที่ การมองโลกของเธอเป็นจริงสำหรับเธอ

6. “Understanding means throwing away your knowledge.”
การเข้าใจหมายถึง โยนความรู้ของเธอทิ้งไป


เมื่อใดกันที่เราสูญเสียความสามารถที่จะบอกว่า “ฉันไม่รู้” ?

ในโลกแห่งการเชื่อมต่อที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่อยู่ใกล้แค่ปลายนิ้ว เราดูจะไม่เต็มใจยอมรับว่า เราไม่รู้จักคนคนนั้นหรือเรื่องเรื่องนั้นมากพอ ที่จะแสดงความเห็นอันชาญฉลาดของเรา

ทว่ามีความแข็งแกร่ง กล้าหาญ และทรงพลังในการยอมรับว่า “เราไม่รู้”

โคว้ทนี้ของ ติช นัท ฮันห์ แสดงให้เราเห็นว่าการยอมรับว่าเราไม่รู้ จะเป็นกุญแจสำคัญในการเปิดประตูแห่งการเรียนรู้ การเติบโต ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความกรุณา

7. “For things to reveal themselves to us, we need to be ready to abandon our views about them.”
เพื่อที่สิ่งต่างๆ จะเผยตัวต่อเรา จำเป็นที่เราต้องพร้อมละทิ้งมุมมองที่เรามีต่อสิ่งนั้น


สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้โดยมากแล้วก่อรูปขึ้นจากอดีต และถูกตัดสินโดยประสบการณ์ที่จำกัดมากๆ นั่นคือวิธีที่สมองของเราทำงาน มันอาจเป็นประโยชน์ในบางแง่มุม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นอุปสรรคกั้นขวางต่อการเข้าใจผู้อื่น และเข้าใจชีวิต

มีความเป็นไปได้ที่กว้างใหญ่กว่านั้นมากในชั่วขณะปัจจุบัน ปัจจุบันคือสถานที่เดียวที่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงสามารถเกิดขึ้นได้ ทว่าเราก็ยังมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตแบบผูกผ้าปิดตา ทึกทักว่าเรารู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น หรือคนคนนั้นเป็นคนยังไง โดยไม่รู้ตัว เรากำลังเสียโอกาสที่จะได้เห็นสิ่งต่างๆ ที่อาจกำลังเผยตัวให้เราเห็นในชั่วขณะนั้น ตามที่เป็นจริงๆ

8. “We are here to awaken from the illusion of our separateness.”
เราอยู่ที่นี่ตรงนี้ก็เพื่อตื่นขึ้นจากภาพลวงตาของการแยกขาด


เราอาจแตกต่างกัน แต่เราก็เชื่อมโยงกันทั้งหมด นี่อาจเป็นคอนเซ็ปต์ที่ยากจะเข้าใจ แต่ถ้าพิจารณาดีๆ เราต่างก็เคยมีประสบการณ์นี้กันมาไม่มากก็น้อย ทุกคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราคือกระจกสะท้อน ที่แสดงให้เราเห็นเสี้ยวส่วนต่างๆ ของเราที่ยังไม่ได้เยียวยา และจุดเจ็บปวดที่เราถูกทริกเกอร์ได้ง่ายในชีวิต

ผู้คนเหล่านั้นคือส่วนสำคัญของเรา มีบทเรียนที่ยากที่เกิดขึ้นระหว่างผู้คนเหล่านั้นกับตัวเรา แต่มันมีอยู่ก็เพื่อช่วยให้เราได้ทำงานกับมัน เราอยู่ที่นี่เพื่อช่วยให้กันและกันเติบโตขึ้น

เราอยู่ในนี้ด้วยกันทั้งหมด…

9. “Attachment to views is the greatest impediment to the spiritual path.”
การยึดมั่นต่อมุมมองของตัวเอง คืออุปสรรคใหญ่หลวงที่สุดต่อ “เส้นทางจิตวิญญาณ“


โคว้ทนี้ของติช นัท ฮันห์ เตือนให้เราตระหนักว่า เราล้วนอยู่บนเส้นทางจิตวิญญาณ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เราไม่ใช่ “human beings ที่กำลังมี spiritual experiences” แต่เราคือ “spiritual being ที่กำลังมี human experiences” ต่างหาก เราเกิดมาที่นี่ บนโลกนี้ ก็เพื่อเรียนรู้และเติบโต

เป้าหมายสูงสุดของทุกศาสนาและปรัชญาสอนเราว่า เส้นทางและเป้าหมายต่างมุ่งไปสู่ความรัก และนั่นคือเป้าหมายของการมีชีวิตอยู่ของเราด้วยเช่นกัน เส้นทางดังกล่าวต้องอาศัยหัวใจที่เปิดกว้าง ความสามารถที่จะฟังกันและกัน และความปรารถนาที่จะเข้าใจคนอื่น เห็นอกเห็นใจคนอื่น ความแข็งแกร่งที่จะยอมรับเมื่อตัวเองผิดพลาด และความยืดหยุ่นที่จะเปลี่ยนแปลง

10. “At any moment, you have a choice that either leads you closer to your spirit or further away from it.”
ในแต่ละขณะ มีทางเลือกที่จะนำพาตัวเธอเข้าใกล้จิตวิญญาณของเธอเองยิ่งขึ้น หรือจะออกห่างจากมัน


ในทุกๆ ปฏิสัมพันธ์และการสนทนา เรากำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ศักยภาพที่จะรัก หรือเคลื่อนออกห่าง?

เรากำลังเปิดหัวใจ หรือ กำลังปิดหัวใจ?

เรากำลังมองคนอื่นว่า “ผิด” หรือ “แยกขาด” จากเรา หรือ “เชื่อมโยง” และ “แตกต่าง” จากเรา?

นี่คือทางเลือกที่สำคัญที่สุดที่เราทำต่อชีวิตของเราอยู่ในทุกๆ ชั่วขณะ

ไม่ว่าใครจะคิด พูด หรือปฏิบัติต่อเราเช่นไร ไม่ว่าสถานการณ์ที่เราเจอจะเป็นอย่างไร เรามีทางเลือกเสมอ

เรียบเรียงจาก “10 Thich Nhat Hanh Quotes to Cultivate Compassion, Empathy, and Peace” โดย Kacie Main

จาก https://www.vajrasiddha.com/articles-tnh10quotes/

วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน
56
ไม่ใช่ “โลกสวย” แต่คือ “แสงสว่างความรัก” ท่ามกลางความหดหู่สิ้นหวังในโลก – แด่ ติช นัท ฮันห์

โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย พรทิภา จันทรพราม




อย่างที่ทุกท่านทราบกันดี เมื่อเวลา 0.00 นาฬิกา ของวันที่ 22 มกราคม 2565 หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ วัดตื่อเฮี้ยว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ดังนั้นในช่วงของการพูดคุยของสังฆะปฏิบัติสัปดาห์นี้ พี่น้อง อุษณี มีแรงบันดาลใจที่จะแสดง Gratitude ต่อท่านติช นัท ฮันห์  ผ่านการแชร์ประสบการณ์และความประทับใจที่ได้ฟังคำสอนจากกิจกรรมมกลุ่มเมื่อครั้งที่ได้ไปฝึกปฏิบัติที่หมู่บ้านพลัม  เป็นคำสอนเกี่ยวกับ “เมล็ดข้าวที่ไม่สมบูรณ์ คือ ในชามมีทั้งเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ (เมล็ดที่แคระแกร็น) เมล็ดทั้ง 2 แบบเมื่อหุงออกมากลับเป็นข้าวสวยหอมกรุ่นในชาม“

พี่น้องเล่าว่าคำสอนนั้นได้ช่วยปลดล็อคความคิดว่า “ตัวเองไม่ดีพอ และไม่เคยยินดีและชื่นชมความดีงามในตัวเองเลย ” คำสอนนั้นทำให้พี่น้อง อุษณี สามารถกลับมาเห็นตัวเอง และเริ่มชื่นชมความดีงามบางอย่างในตัวเอง ทั้งหมดที่นำพาเรามาถึงจุดนั้นในวันนั้น และถึงแม้ว่าจะไม่ได้เดินทางต่อในสายปฏิบัติของท่านติช นัท ฮันห์ แต่สิ่งนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของพี่น้อง จนเมื่อกระทั่งเวลาผ่านไปที่พี่น้องได้มีโอกาสกลับมาอ่านหนังสือของท่านที่ชื่อ “Understanding Our Mind” อีกครั้ง

ในหนังสือเล่มนั้น ท่านติช นัท ฮันห์ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องรดน้ำเมล็ดพันธุ์ที่เป็นบวก (Positive Seed) เพราะว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นเราจริงๆ เป็นความดีงามพื้นฐาน, เป็น 95% ของเรา, เป็นสิ่งที่เป็นจิตเดิมแท้ จิตประภัสสรของเรา พี่น้องย้ำว่า การรดน้ำเมล็ดพันธุ์บวก ไม่ใช่การมองโลกในแง่บวก คือเราไม่ได้ “เพิ่ม” อะไรลงไป สิ่งเดียวที่เราทำคือเรารดน้ำเมล็ดพันธุ์บวก เพราะมันคือเราเช่นกัน “ที่คำสอนนี้มีพลังกับเรา เพราะโดยปกติเรามัวแต่หมกมุ่นอยู่กับการทำงานกับเมล็ดพันธุ์ลบ ไม่เคยคิดว่าต้องรดน้ำเมล็ดพันธุ์บวกด้วย  เราคิดว่าถ้าเราเข้าใจเมล็ดพันธุ์ลบดีแล้ว ทุกอย่างจะคลี่คลาย”

พี่น้องเล่าต่อว่าจากคำสอนนี้เมื่อประกอบกับสิ่งที่ได้ไปเรียนกับ Victoria ในคอร์ส Life Mission ก็ยิ่งยืนยันว่ามันคือสิ่งเดียวกัน

“ด้วยการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่เป็นบวก (Positive Seed)  สิ่งที่เรามองเห็นมาตลอดว่าเป็นด้านที่ไม่ดีของเรา เราจะเริ่มมองเห็นว่าอีกด้านหนึ่งมันคือพลัง คือสิ่งที่มาทำให้เราเรียนรู้ ไม่ได้มาทำให้เรารู้สึกด้อย ไม่ได้มาเป็นอุปสรรคกับเรา แต่มันเข้ามาในชีวิตแล้วเราก็เรียนรู้มัน เราพบว่าข้อจำกัดของเรากับพลังของเรา แท้จริงแล้วคือสิ่งเดียวกัน” 

“เมื่อเราเริ่มมองเห็นแบบนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้คน เหตุการณ์หรืออะไรก็ตามที่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้วทำให้เรารู้สึกไม่ดี รู้สึกแย่ เราจะเริ่มเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เข้ามาให้เราได้เรียนรู้อีกด้านของชีวิต และมันมีความงามเสมอ แล้วพอเริ่มเห็นทั้งสองด้าน การที่จะไปผูกติดว่าเราต้องการความดี ไม่ต้องการความเลว เราต้องการความงาม ไม่ต้องการความน่าเกลียด เราต้องการความสว่าง ไม่ต้องการความมืด ท่าทีเหล่านี้ของเราก็จะลดลงโดยอัตโนมัติ เราจะเริ่มเห็นความเป็นสองด้านในทุกๆ สิ่ง เห็นความงามในความไม่งาม เห็นทุกอย่างได้ตามความเป็นจริง เมื่อเราเปิดใจกับสถานการณ์ตรงหน้า เปิดใจกับคนตรงหน้า เราให้ความเคารพกับสิ่งที่เกิดขึ้น เราต้องเอาตัวเองออกไป เอาตัวตนของเราออกไปก่อน




จากนั้นครูตั้ม วิจักขณ์ พานิช ได้เสริมต่อว่า มีสิ่งหนึ่งที่คนมักจะเข้าใจผิดว่าคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์  เป็นคำสอนแนวโลกสวย แต่สำหรับคนที่สนใจประวัติชีวิตของท่านติช นัท ฮันห์ จะรู้ว่าในความอ่อนนุ่มทั้งหมด มีความแตกสลายของความทุกข์ความเจ็บปวด

มีช่วงหนึ่งในชีวิตท่านติช นัท ฮันห์ ที่ท่านต้องต่อสู้ความขัดแย้งของเพื่อนร่วมชาติ (ซึ่งอาจจะเอาเข้ามาผสานกับที่เจออยู่ในประเทศเราได้เช่นกัน) การที่คนในชาติแตกแยกกัน เกลียดกัน ฆ่ากัน มีสงครามกลางเมือง ทางด้านผู้ปฏิบัติที่ต้องการต่อสู้เพื่อสันติภาพและความเป็นธรรมถูกมองว่าเป็นภัยของชาติ คนเหล่านั้นถูกจับ ถูกห้ามภาวนา ห้ามปฏิบัติพิธีกรรม มีหลายๆ อย่างที่ท่านติช นัท ฮันห์  ถูกขับเคลื่อนด้วยความแตกสลายหรือความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจากประสบการณ์ที่ท่านประสบพบเจอในช่วงนั้น และครูตั้มเชื่อว่า นั่นเองที่ทำให้คำสอนเรื่องความรักและความกรุณาอันไม่มีเงื่อนไข คือ Life Mission ของท่านติช นัท ฮันห์ 

หลังจากที่สงครามซาลง ท่านติช นัท ฮันห์ เลือกที่จะไปตั้งชุมชน Plum Village ที่ประเทศฝรั่งเศส และพบว่าคนกลุ่มใหญ่มากที่มาหาท่านติช นัท ฮันห์  ที่ Plum Village เป็นคนที่ Traumatize (เกิดบาดแผลทางใจ) จากสงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ สงครามเวียดนาม และอีกหลายๆสงคราม คนเหล่านั้นมาที่ Plum Village เพื่อเยียวยาทรอม่าจากสงคราม เยียวยาตัวเองจากความโกรธแค้นและความเกลียดชัง ซึ่งนี่มันไม่ใช่แค่ความเกลียดชังในระดับปัจเจก แต่ว่ามันเป็น Deep Trauma, Deep Sorrow, Deep Anger ที่มาจากการที่เค้ารู้สึกไม่มีหวังต่อมนุษยชาติ รู้สึกว่าเค้าเป็นเหยื่อของความรุนแรงระดับใหญ่มากของโลกใบนี้ ฉะนั้นการเกิดขึ้นของ Plum Village และคำสอนหลายๆ อย่างของท่านติช นัท ฮันห์ ที่เน้นย้ำเรื่องความรัก สันติภาพ และสติ ทั้งหมดคือการเยียวยาทรอม่า ความทรงพลังของคำสอนนี้คือ การแปรเปลี่ยนความเกลียดชังให้กลายเป็นความรักและการให้อภัย

“เห็นได้ชัดว่าเวลาที่เราอยู่ในความดำมืด สิ้นหวัง ความโกรธเกลียด การบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่เป็นบวก (Positive Seed) ทีละนิดๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก การฝึกที่จะขอบคุณ, ขอโทษ, ฝึก Gratitude, การฝึกปฏิบัติเล็กๆ ในชุมชนที่เรารู้สึกชื่นชมขอบคุณสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่มนุษย์พึงปฏิบัติต่อกัน มันเยียวยา ฟื้นฟูหัวใจความเป็นมนุษย์ สิ่งเหล่านี้เป็นมิชชันที่ใหญ่มากของ Plum Village มันไม่ใช่แค่การรวมตัวกันของคนชั้นกลางโลกสวยแบบที่เราเข้าใจกัน การฝึกสติในแต่ละย่างก้าวของท่านติช นัท ฮันห์  คือการทำงานกับความสิ้นหวัง ทำงานกับบาดแผลของความรุนแรง คำสอนของท่านทำงานกับ Sorrow ของโลกใบนี้ …การบ่มเพาะพลังแห่งความรักความกรุณาและรดน้ำให้หัวใจความเป็นมนุษย์ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง คือพันธกิจชีวิตของท่าน”



คำสอนที่สำคัญของท่านติช นัท ฮันห์ อีกอันหนึ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือคำสอนเรื่อง Interbeing ซึ่งเป็นการถอดคำสอนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท มาสื่อสารในอีกรูปแบบหนึ่ง “สิ่งต่างๆ นั้นเอื้ออิงอาศัยกัน เชื่อมโยงกัน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตน ไม่มีสิ่งใดที่จะดำรงอยู่เดี่ยวๆ ด้วยตัวมันเองได้ ไม่มีตัวตนที่แยกขาดจากสิ่งอื่น”   
            
ตะกี๊ตอนที่พี่น้อง อุษณี อธิบายว่าในการภาวนา “เราต้องเอาตัวเองออกไป เอาตัวตนออกไป” เมื่อเราเอาตัวตนออกไปแล้ว เราจะพบกับสภาวะ Interbeing อันนี้ เราเป็นส่วนหนึ่งในส่วนอื่นๆ ทั้งหมด เราเป็นเมล็ดข้าวเล็กๆในข้าวถ้วยนั้น เราเป็นพลังงานเล็กๆ ในพลังงานของสังฆะ เราเป็นจุดเล็กๆ ของการเปลี่ยนแปลงของสังคม เราเป็นจุดเล็กๆ ในการสร้างแสงสว่างให้แก่โลกใบนี้ในยามมืดมน แต่มากไปกว่านั้น Interbeing ของท่านติช นัท ฮันห์ บ่งบอกว่า “ความเป็นเราอยู่ในตัวคนอื่นๆ ทั้งหมดเลย” และ “คนอื่นๆ ทั้งหมดก็อยู่ในเราด้วย”  สิ่งที่เราเป็นหนทางที่เราสัมพันธ์กับคนอื่น สัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ บนพื้นฐานของใจที่ตื่นรู้และเปิดกว้างแบบมหายาน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเป็น ปัจเจกนิยมแบบที่เราเคยเข้าใจ ทว่าทุกสิ่งเชื่อมต่อ เอื้ออิงอาศัยกันหมด ความเป็นพ่อ ความเป็นแม่ของเราก็อยู่ในตัวเรา ความเป็นเราก็อยู่ในตัวพวกเขา ทุกครั้งที่มีความสัมพันธ์เกิดขึ้น มันเกิดการแลกเปลี่ยนของ Being และกลายเป็น Interbeing อยู่ตลอดเวลา ทุกวันในชีวิตประจำวัน เราล้างชาม เราทำความสะอาดบ้าน เราคุยกับเพื่อนบ้าน ทุกอย่างคือการไหลเลื่อน เปลี่ยนแปลง และเติบโตของ Interbeing

“ถ้าเราเข้าใจเรื่องการเอาตัวตนออกไป ภาวะของ Interbeing นี่แหละคือสิ่งที่เป็นความงามของโลกนี้ แล้วมันก็คือศักยภาพของการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเกิดขึ้นได้ในแต่ละขณะตลอดเวลา“

ท่านติช นัท ฮันห์ ได้พูดเรื่องการตายว่า “A Cloud Never Dies” (ก้อนเมฆไม่มีวันตาย) เราไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าก้อนเมฆตายแล้ว ถ้าเราเข้าใจความไม่มีตัวตน เราจะเข้าใจว่าเราจะไม่สามารถบอกได้ว่าคนนี้ตาย เพราะคนนี้ก็จะยังดำรงอยู่ในตัวเรา ยังอยู่ในใจเรา การกระทำของเค้าจะยังอยู่ในผู้คน เหมือนที่ก้อนเมฆที่ยังอยู่ในน้ำ อยู่ในต้นไม้ อยู่ในสายธาร อยู่ในมหาสมุทร

“ถ้าเปรียบท่านติช นัท ฮันห์ เป็นเหมือนก้อนเมฆ แม้เมฆก้อนนี้จะหายไป ทว่าความดีงาม สิ่งที่ท่านสร้างไว้ในโลกนี้ Life Mission ของท่าน ทุกอย่างที่ท่านทำไว้ หนังสือที่ท่านเขียน คำสอนของท่านที่อยู่ใน youtube ต่างๆ ก็ยังคงอยู่ มันยังคงดำเนินต่อไปในหัวใจที่มีเจตจำนงในการปฏิบัติตามคำสอนของท่าน สิ่งเหล่านี้จะยังคงอยู่ เราโชคดีมากที่ได้เกิดมาในยุคสมัยของครูบาอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ มหัศจรรย์มากคนหนึ่ง ซึ่งผมก็อยากจะแสดง Gratitude อย่างสุดซึ้งต่อท่านติช นัท ฮันห์ ในวันนี้ด้วย”

จากนั้นพี่น้อง อุษณี ก็เปิดพื้นที่ให้กับสมาชิกสังฆะท่านอื่นได้แสดง Gratitude ต่อท่านติช นัท ฮันห์ กันต่อ บรรยากาศในค่ำคืนนี้เต็มไปด้วยความรู้สึกอบอุ่น และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังแห่งความรัก ความเคารพรัก และขอบคุณอย่างสุดซึ้งที่แต่ละท่านมีต่อท่านติช นัท ฮันห์


ถอดความและเรียบเรียง โดย พรทิภา จันทรพราม
จากสังฆะปฏิบัติ วันอังคารที่ 25 มกราคม 2565

จาก https://www.vajrasiddha.com/articles-tnhgratitude/


วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน
57
.
.
โกกาลิกสูตร - ว่าด้วยพระโกกาลิกะ ระยะเวลาขุมนรก
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
.
.
๑๐. โกกาลิกสูตร๑-
ว่าด้วยพระโกกาลิกะ
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต [๓. มหาวรรค]
๑๐. โกกาลิกสูตร
.
            ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
.
            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น แล โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่วลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
.
            เมื่อโกกาลิกภิกษุกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูเทียบ สํ.ส. (แปล) ๑๕/๑๘๑/๒๔๘, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๘๙/๒๐๐-๒๐๔
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๕}
.
.
            แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ มีพระพุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง แต่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
.
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
.
            แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ มีพระพุทธพจน์ที่ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง แต่ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ลุอำนาจความปรารถนาชั่ว”
.
            พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
.
            ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วจากไป
.
            เมื่อโกกาลิกภิกษุจากไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด แล้วก็โตเท่าเมล็ดถั่วเขียว โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผลมะขามป้อม โตเท่าผลมะตูมอ่อน เท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือดไหลออกมา โกกาลิกภิกษุเพราะทนพิษตุ่มแตกนั้นไม่ไหวจึงมรณภาพลงในขณะนั้น และเมื่อ
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๖}
.
.
มรณภาพลงแล้วได้ไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
.
            ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป๑- ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้วไปเกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ”
.
            ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นแล
.
            ครั้นคืนนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
.
            “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหม ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหม ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กระทำประทักษิณแล้วหายไปณ ที่นั้นแล”
.
            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ”
.
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานมาก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้น ยากที่จะนับได้ว่า ‘ประมาณเท่านี้ปี ประมาณ ๑๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้”
.
            ภิกษุนั้นทูลถามอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูเชิงอรรถที่ ๔ หน้า ๖ ในเล่มนี้
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๗}
.
.
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงาของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี๑- ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออกจากเกวียนนั้น ๑ เมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา๒๐ ขารีนั้น จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก๒- หาหมดไปไม่ ๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก ๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพพนรก ๒๐ อพพนรก เป็น ๑ อหหนรก ๒๐ อหหนรก เป็น ๑ อฏฏนรก ๒๐ อฏฏนรกเป็น ๑ กุมุทนรก ๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก ๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลกนรก ๒๐ อุปปลกนรก เป็น ๑ ปุณฑรีกนรก ๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก
.
            ภิกษุ โกกาลิกภิกษุนี้เกิดในปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ”
.
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ขารี เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้
@๔ กุฑุวะ หรือปสตะ(ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
@๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ
@๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
@๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
@๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
@๒๐ ขารี เป็น ๑ เกวียน
@(ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗, อภิธา.ฏีกา คาถา ๔๘๐-๔๙๔)
@๒ อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพพนรก อหหนรก อฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลกนรก ปุณฑรีกนรก
@ปทุมนรก ทั้งหมดนี้อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง แต่เป็นที่ซึ่ง
@สัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรก เป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอกระยะ
@เวลาในการทรมานสัตว์ (องฺ.ทสก.อ. ๓/๘๙/๓๖๖, ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗)
@อนึ่ง นรกเหล่านี้ปรากฏชื่อตามจำนวนสังขยา อรรถกถาให้นัยไว้ว่า นรกเหล่านี้มีวิธีนับระยะเวลาปี
@ของอัพพุทนรกเป็นตัวอย่างดังนี้ คือ
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ปี เป็น ๑ โกฏิ-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิ-ปี เป็น ๑ ปโกฏิ-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ปโกฏิ-ปี เป็น ๑ โกฏิปโกฏิ-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ โกฏิปโกฏิ-ปี เป็น ๑ นหุต-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ นหุต-ปี เป็น ๑ นินนหุต-ปี
@๑๐,๐๐๐,๐๐๐ นินนหุต-ปี เป็น ๑ อัพพุทะ-ปี
@ต่อจากอัพพุทะไปใช้ ๑ x ๒๐ เช่น ๒๐ อัพพุทะ (๑ อัพพุทะ x ๒๐) ได้เท่ากับ ๑ นิรัพพุทะ เป็นต้น
@(ขุ.สุ.อ. ๒/๖๖๒/๓๐๗, กัจ. ๕/๘/๓๙๕)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๘}
.
.
            พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
.
            [๖๖๓] ผรุสวาจา(คำหยาบ)เป็นเหมือนผึ่ง ๑ เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดที่ปากของคนพาล
.
            [๖๖๔] ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
.
            [๖๖๕] การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้ เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น เป็นความผิดมากกว่า
.
            [๖๖๖] บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่วติเตียนพระอริยะย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป กับอีก ๕ อัพพุทกัป
.
            [๖๖๗] คนที่ชอบกล่าวคำไม่จริงหรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า ‘ฉันไม่ได้ทำ’ ต่างก็ตกนรก ๒-
.
.
@เชิงอรรถ :
@๑ คำว่า “ผึ่ง” หมายถึงชื่อเครื่องมือสำหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปคล้ายจอบ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตย-
@สถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)
@๒ ดูธรรมบท ข้อ ๓๐๖ หน้า ๑๒๘, อุทาน ข้อ ๓๘ หน้า ๒๔๘, อิติวุตตกะ ข้อ ๔๘ หน้า ๓๙๙
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๕๙}
.
.
                      คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่วตายไปแล้วมีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า
.
            [๖๖๘] บุคคลใดประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้ายเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินบาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลม ฉะนั้น๑-
.
            [๖๖๙] ผู้หมกมุ่นในความโลภต่างๆ ไม่มีศรัทธามีนิสัยหยาบกระด้าง ไม่รู้พุทธพจน์ มีความตระหนี่ ชอบพูดส่อเสียด ย่อมใช้วาจากล่าวร้ายผู้อื่น
.
            [๖๗๐] โกกาลิกะผู้มีปากเป็นหล่ม ชอบพูดเท็จ ไม่ใช่คนดี ชอบกำจัดความเจริญของตนเป็นคนชั่ว ชอบทำแต่กรรมชั่ว เป็นคนต่ำช้า เป็นคนอาภัพ เป็นอวชาตบุตร เธออย่าพูดมากในที่นี้ อย่าต้องเป็นสัตว์นรกเลย
.
            [๖๗๑] เธอย่อมเกลี่ยธุลีคือกิเลสลงใส่ตน ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเลย เธอชอบทำกรรมหยาบช้าแล้ว ยังติเตียนสัตบุรุษ เธอประพฤติทุจริตมากมาย ต้องไปเกิดในมหานรกเป็นเวลายาวนานแน่นอน
.
            [๖๗๒] กรรม๒- ของใครๆ ย่อมไม่สูญหายไปไหน เขาต้องได้รับผลกรรมนั้น และเป็นเจ้าของกรรมนั้น
.
.
@เชิงอรรถ :
@๑ ดูธรรมบท ข้อ ๑๒๕ หน้า ๗๐ ในเล่มนี้
@๒ กรรม ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรม และอกุศลกรรม (ขุ.สุ.อ. ๒/๖๗๒/๓๐๙)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๐}
.
.
                     คนโง่เขลาผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบ  จะประสบทุกข์ที่ตนได้รับในปรโลก
.
            [๖๗๓] ผู้ทำกรรมชั่วย่อมเข้าถึงสถานที่ที่นายนิรยบาล เอาขอเหล็กอันคมกริบมาเกี่ยวไว้ ถูกหลาวเหล็กอันคมกริบเสียบไว้ และมีก้อนเหล็กแดงโชติช่วงเป็นอาหาร ตามสมควรแก่ความชั่ว ตามสมควรแก่กรรมชั่วที่ตนทำไว้
.
            [๖๗๔] นายนิรยบาลทั้งหลายเมื่อพูดกับสัตว์นรก ก็พูดไม่ไพเราะ สัตว์นรกเหล่านั้นจะวิ่งหนีไปก็ไม่ได้ จะเข้าไปขอความช่วยเหลือก็ไม่ได้ จึงนอนอยู่บนถ่านเพลิงอันลาดไว้ เข้าไปสู่กองไฟอันลุกโพลง
.
            [๖๗๕] นายนิรยบาลเอาข่ายเหล็กพันสัตว์นรก แล้วทุบด้วยค้อนเหล็กในที่นั้นๆ สัตว์นรกทั้งหลายเข้าไปสู่นรกหมอกควันที่มืดทึบ ซึ่งปกคลุมอบอวลไปทั่วดุจกลุ่มหมอก
.
            [๖๗๖] ต่อจากนั้น สัตว์นรกเหล่านั้นก็เข้าไปสู่โลหกุมภีนรกที่มีเปลวไฟลุกโพลง ลอยวนขึ้นลงพร้อมกับถูกไฟไหม้อยู่ในหม้อเหล็กที่ติดไฟลุกนั้นเป็นเวลานานแสนนาน
.
            [๖๗๗] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำ จะพลิกหนีไปทางทิศใดๆ ก็ถูกไฟตามเผาไหม้อยู่ในหม้อเหล็กร้อนแดงที่ปนด้วยหนองและเลือดได้รับทุกข์ระกำลำบากซ้ำยังแปดเปื้อนหนองและเลือดอยู่ในโลหกุมภีนรกนั้น
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๑}
.
.
            [๖๗๘] สัตว์นรกผู้ทำกรรมชั่วหยาบไว้ประจำย่อมหมกไหม้อยู่ในน้ำที่มีหมู่หนอนยั้วเยี้ยในโลหกุมภี นรกแต่ละขุมนั้นๆ ไม่มีฝั่งที่จะให้ขึ้นอาศัยเลย เพราะมีกระทะครอบอยู่อย่างมิดชิดรอบทุกทิศ
.
            [๖๗๙] ยังมีป่าไม้ที่มีใบคม เหมือนดาบขึ้นอยู่ทั่วไป ซึ่งพวกสัตว์นรกเข้าไปก็จะถูกตัดลำตัวขาดทันที นายนิรยบาลก็จะเอาเบ็ดเกี่ยวลิ้นทรมานด้วยการดึงออกมาเรื่อยๆ
.
            [๖๘๐] ต่อจากนั้น สัตว์นรกนั้นต้องตกนรกน้ำกรดซึ่งเป็นแอ่งถูกคมมีดโกนคมกริบกรีดตามตัว สัตว์ที่โง่เขลาชอบทำบาปไว้มาก จึงต้องตกลงไปบนคมมีดโกนนั้น
.
            [๖๘๑] เพราะได้เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ สัตว์นรกจึงถูกสุนัขดำด่าง และสุนัขจิ้งจอกรุมทึ้งกัดกิน ร้องคร่ำครวญอยู่ในที่นั้นๆ ซ้ำยังถูกฝูงแร้ง กา และนกตะกรุมรุมทึ้งจิกกินอีก
.
            [๖๘๒] คนผู้ชอบทำกรรมชั่วหยาบเป็นประจำ ต้องรู้แก่ใจว่า การดำรงอยู่ในนรกนี้ทุกข์ยากลำบากจริงๆ เพราะฉะนั้น นรชนจึงควรรีบทำกิจที่ควรทำแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่นี้และไม่ควรประมาท
.
            [๖๘๓] เกวียนบรรทุกงาที่ผู้รู้ทั้งหลายนับคำนวณ แล้วนำเข้าไปเปรียบกับอายุสัตว์ที่เกิดในปทุมนรก ก็ได้เท่ากับ ๕๑,๒๐๐ โกฏิ
.
            [๖๘๔] สัตว์นรกทั้งหลาย ต้องอยู่ในนรกซึ่งมีทุกข์มากมายตามที่เรากล่าวไว้ในที่นี้ ตลอดระยะเวลายาวนาน เพราะฉะนั้น บุคคลควรกำหนดรักษาวาจาใจให้เป็นปกติในท่านผู้บริสุทธิ์ มีศีลเป็นที่รัก และมีคุณงามความดี
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๖๖๒}
.
.
โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
.
.
58
ศิลปะกับพุทธะ : บทสะท้อนว่าด้วยการปั้นพระพุทธรูป – ถิง ชู



เราไม่เคยรู้สึกมาก่อนเลยว่าเราใกล้ชิดกับพระได้ จะเป็นพระสงฆ์ พระพุทธรูป หรือพระพุทธเจ้า ความสัมพันธ์เดียวที่เรามีกับพระทั้งสามคือ เอาไว้กันผี ยิ่งตอนเราไปเรียนคอร์สวาดทังก้าที่วัชรสิทธา ก็ไปเพราะอยากวาดทังก้าเป็น ไม่ได้คิดว่าคนบาปหนาอย่างเราจะสามารถวาดรูปพระเจ้าที่มีความขลังศักดิ์สิทธิ์แต่อย่างใด ดังนั้นจึงฟังดูตลกมากที่ต่อมาวันหนึ่ง เราจะปั้นพระพุทธรูป เราเนี่ยนะ จะมีความชอบธรรมมากพอที่จะปั้นอะไรที่สูงส่งและศักดิ์สิทธิ์

เรื่องนี้ได้ปลุกอะไรบางอย่างในตัวเราขึ้นมา ซึ่งก็คือความหมายที่เราใช้มองตัวเอง และความหมายที่เราใช้มองพุทธะและมองศิลปะ ทั้งศิลปะและพุทธะเป็นสิ่งที่เราต้องบากบั่นเพื่อได้มา? หรือมันเป็นของเราทุกคนอยู่แล้วโดยชอบธรรมแต่กำเนิด? แล้วต้องบากบั่นถึงระดับไหนถึงจะครอบครองมันได้ แล้วใครเป็นคนกำหนดว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว? เราตั้งคำถามเหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อบอกให้ไม่ต้องบากบั่น ไม่ต้องมีวินัยในการฝึกปฏิบัติ แต่หมายความว่า มือ แขน และเท้าของเราจะไม่ใช่ของเราอีกต่อไปแล้วเหรอ ถ้าเราไม่ฝึกมันให้แข็งแรงเหมือนของนักกีฬาโอลิมปิค?

ตอนนี้เราปั้นพระพุทธรูปเพราะเรารู้แล้วว่าพุทธะเป็นของเราเอง มันคือการที่เราประคองตัวเราอย่างซื่อตรงและเรียบง่ายที่สุด โดยไม่มีทั้งเรื่องเล่าของอัตตาใดๆ หรือการยืนยันจากภายนอกใดๆเป็นที่ยึดเหนี่ยวไว้ เรา คือเจ้าของตัวเองอย่างแท้จริง ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกลมหายใจเข้าออกของเราเองที่ทำให้ให้เรายังมีชีวิตมาถึง ณ วินาทีนี้ ความเมตตาเกื้อกูลทั้งหมดที่เรามอบให้ตัวเราเอง แม้บางครั้งจะรุนแรงและไม่อ่อนโยน แต่ก็ยังอุ้มชีวิตตัวเองไว้อยู่ และด้วยความตระหนักรู้นี้ เราจึงเห็นความสัมพันธ์ของเรากับสรรพสิ่งที่ก็ช่วยประคองโอบอุ้มเรามาเช่นกัน ที่หากไม่มีเขาก็ไม่มีเรา และหากไม่มีเราก็อาจไม่มีเขาเช่นกัน การปั้นพระพุทธรูป จึงเป็นการยืนยันว่า ไม่ว่าวันนี้เราจะแย่แค่ไหน เราจะยังมีพื้นที่ให้ตัวเองเป็นได้ และปั้นจนเสร็จได้

ศิลปะสำหรับเราก็ไม่ต่างจากการภาวนา หรือพูดสั้นๆ มันคือเรื่องเดียวกัน การที่เราประคองพื้นที่หนึ่งๆ ให้มันเปิดกว้างมากพอ ให้มันลื่นไหลมากพอ ให้การตัดสินของเรามีน้อยนิดที่สุด ให้เกียรติกับสุนทรียะที่หลากหลายและแปลกใหม่ ให้ตัวเราเป็นภาชนะในการไหลผ่านของพลังงานสร้าง และพอเสร็จสิ้นกระบวนการ พื้นที่หรือความหมายของชีวิตก็จะกว้างใหญ่มากขึ้นหลายครั้งที่เราเห็นความหมายของศิลปะที่ถูกให้คะแนน หรือถูกทำไว้เพื่อบ่งบอกสถานะที่ตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดว่าใครมีรสนิยมกับสุนทรียะหรือไม่ เราจะรู้สึกอึดอัด ในทางเดียวกัน หลายครั้งที่เราเห็นความหมายของพุทธะถูกใช้เป็นสถานะเพื่อตัดคนออก ไม่ใช่รวมคนเข้า ถูกทำให้เป็นสิ่งสูงส่งจากพื้นฐานธรรมดาของเราทุกคน ถูกใช้จากคนกลุ่มหนึ่งในการชี้ขาดคุณค่าความดีของสังคมที่ทุกคนควรทำตาม เราก็รู้สึกอึดอัดไม่แพ้กัน

หากการภาวนาคือการขยายเขตแดนในใจเราให้เปิดกว้างต่อทุกสภาวะในตัวเราอย่างไม่ตัดสินและอ่อนโยน จนมันกลายเป็นท่าทีเดียวกันกับที่เรามีต่อสรรพสัตว์ภายนอก การทำงานศิลปะก็คือการขยายเขตแดนให้ครอบคลุมทุกสิ่ง ที่แม้กระทั่งหญิงค้าบริการหรือคนชายขอบอื่นๆ ก็มีพื้นที่และหนทางในสุนทรียะของเขาเองได้

พุทธะทั้ง 50 ชิ้นนี้ จึงเป็นทั้งการภาวนาและการแสดงออกทางศิลปะของเรา ในรูปนี้คือองค์ต้นแบบที่เราจะเก็บไว้บูชาเอง ทุกครั้งที่เราเห็นความบกพร่องและความสวยงามในองค์นี้ มันก็ย้ำเตือนให้เราบูชาความเป็นธรรมชาติของเราทุกคน


บทสะท้อนการปั้นพุทธะในฐานะผลงานทางศิลปะ โดย ถิง ชู
ติดต่ามผลงานพระพุทธรูปสไตล์ถิงชูได้ที่เพจ Ting Chu Studio


จาก https://www.vajrasiddha.com/tingchubuddha/
59
หยาดฝนแห่งธรรม / อริยบุคคล 4 และ อริยบุคคล 8
« กระทู้ล่าสุด โดย sithiphong เมื่อ มกราคม 14, 2024, 12:57:37 pm »
.
.
อริยบุคคล 4 และ อริยบุคคล 8
.
.
อริยบุคคล 4
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[56] อริยบุคคล 4
.
       1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, “ผู้ถึงกระแส” — Stream-Enterer)
.
       2. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, “ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว” — Once-Returner)
.
       3. อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, “ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก” — Non-Returner)
.
       4. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, “ผู้ควร” “ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว” — the Worthy One)
.
       ดู [164] มรรค 4; [329] สังโยชน์ 10
.
D.I.156.
นัย ที.สี. 9/250-253/199-200.
.
.
.
อริยบุคคล 8
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
.
.
[57] อริยบุคคล 8 แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) 4, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) 4.
.
       1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล — one who has entered the stream; one established in the Fruition of Stream-Entry; Stream-Enterer)
.
       2. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry)
.
       3. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล — one who is a Once-Returner; one established in the Fruition of Once-Returning)
.
       4. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Once-Returning; one established in the Path of Once-Returning)
.
       5 อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล — one who is a Non-Returner; one established in the Fruition of Non-Returning)
.
       6. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Non-Returning; one established in the Path of Non-Returning)
.
       7. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล — one who is an Arahant; one established in the Fruition of Arahantship)
.
       8. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Arahantship; one established in the Path of Arahantship)
.
       ทั้ง 8 ท่านนี้ ในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 8
.
       ดู [163-4] มรรค 4 ผล 4 ด้วย.
.
.
D.III.255;
ที.ปา. 11/342/267;
A.IV. 291;
องฺ.อฏฺฐก. 23/149/301;
Pug 73.
อภิ.ปุ. 36/150/233.
.
.
60
พระไวโรจนพุทธเจ้าบทสวดแห่งแสงสว่างVairocana buddha mantra,日本語,中国語,ヴァイロカナチベット語

<a href="https://www.youtube.com/v//5-7uxLQqTF0" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//5-7uxLQqTF0</a> 

https://youtu.be/5-7uxLQqTF0?si=Tcef9dWV3DeSELNv
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10