กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10
61
Brahman Kshatriya  Vaishaya  Shudra Dalit ระบบวรรณะในอินเดีย

ชาวอินเดียในภาษาต่างๆของพวกเขา จะใช้คำว่า 'jati' สำหรับชุมชนใดๆ ที่มีสิ่งที่เหมือนกัน เช่น ศาสนา ภาษา แหล่งกำเนิด ภูมิหลังทางภูมิศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน และอื่นๆ วรรณะแต่ละแห่งประกอบด้วย Jati ที่แตกต่างกัน Jati ทั้งหมดยอมรับว่า วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด และจัณฑาลวรรณะที่ต่ำที่สุด ในลำดับชั้น และส่วนใหญ่ Jati ในวรรณะเดียวกัน อ้างว่า อยู่เหนือกว่าและสูงกว่า Jats อื่นๆ

 การแต่งงานทางศาสนาเกิดขึ้นภายในjati สมาชิกของ Jats ทุกคนมักจะเคารพกฎนี้เสมอ และผู้ที่กล้าฝ่าฝืนกฎนี้ก็ถูกขับไล่ออกจากสังคม โดยปกติแล้ววรรณะที่สูงกว่าจะเข้มงวดมากเกี่ยวกับธรรมเนียมนี้ ในบางกรณี มีลำดับชั้นระหว่างชุมชนต่างๆ ของ Jati เดียวกันด้วย เมื่อลูกสาวจากวรรณะต่ำแต่งงานกับลูกชายที่วรรณะสูงกว่า เรียกว่า Anuloma แต่ในทางกลับกันเมื่อลูกสาวที่มีวรรณะสูงแต่งงานกับลูกชายลำดับชั้นต่ำกว่า เรียกว่า Pratiloma และPratilomaที่เลวร้ายที่สุดคือลูกสาวพราหมณ์แต่งงานกับลูกชายศูทร เพราะว่าบุตรที่เกิดจะเป็นจัณฑาล








<a href="https://www.youtube.com/v//aWihqJ73D0c" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//aWihqJ73D0c</a> 

https://youtu.be/aWihqJ73D0c?si=IsVh3k9WGwaCUEd3


<a href="https://www.youtube.com/v//wGlp06I4oAw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//wGlp06I4oAw</a> 

https://youtu.be/wGlp06I4oAw?si=It-42lcAVli1R0XP
62
พรหมภูมิปฏิปทา พรหมโลก 16 ชั้น ที่สถิตของเหล่าท้าวมหาพรหม

<a href="https://www.youtube.com/v//M5AfD837KXo" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//M5AfD837KXo</a> 

https://www.youtube.com/live/M5AfD837KXo?si=nKliXsgadAnYUiyK

เพิ่มเติม จาก https://www.blockdit.com/posts/5d7aaab91784372c6410ea83




พรหมภูมิ หรือ พรหมโลก ถือเป็นดินแดนของพระพรหม ซึ่งเป็นภพภูมิที่สถิตย์อยู่เสวยสุขของพระพรหมผู้อุบัติเกิดในพรหมวิมาน ณ พรหมโลก อันเป็นแดนซึ่งมีแต่ความสุขอันเกิดจากฌานเท่านั้น (แบ่งชั้นตามอำนาจฌานที่ได้บรรลุ) ในภพภูมินี้ตามคัมภีร์กล่าวว่าปราศจากความสุขที่เนื่องด้วยกามราคะ






พรหมภูมิอาจแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่ รูปพรหม และ อรูปพรหม

รูปพรหม หรือ รูปาวจรภูมิ คือ ชั้นที่พระพรหมผู้วิเศษมีรูป หากแต่เป็นรูปทิพย์ มนุษย์ธรรมดาไม่สามารถ มองเห็นได้ จักเห็นได้ก็โดยทิพยวิสัยเท่านั้น ประกอบด้วยวิมาน 16 ชั้น

เวลา 1 มหากัปคือ เวลาที่จักรวาลใดจักรวาลหนึ่งแตกดับไปทั้งหมด1รอบเรียกว่า 1 มหากัป ซึ่งมิอาจประมาณได้จึงเรียกว่า มหากัป

ชั้นที่ 1 - ชั้นที่ 3 รวมเรียกว่า ปฐมฌานภูมิ ด้วยพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยปฐมฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต

ชั้นที่ 4 - ชั้นที่ 6 รวมเรียกว่า ทุติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยทุติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต

ชั้นที่ 7 - ชั้นที่ 9 รวมเรียกว่า ตติยฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยตติยฌาน ทั้งสามชั้นนี้ ความจริงตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่เป็น 3 เขต

ตั้งแต่ชั้นที่ 10 ขึ้นไป รวมเรียกว่า จตุตถฌานภูมิ ด้วยเหล่าพระพรหมในชั้นนี้บรรลุด้วยจตุตถฌาน ชั้นที่ 10-11 ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกัน แต่แยกสถานที่กันอยู่ และมีระยะห่างไกลกันมาก

หากแต่เฉพาะเหล่าพระพรหมในชั้นที่ 12 – 16 เรียกว่า ปัญจสุทธาวาส หรือ สุทธาวาสภูมิ อันเป็นชั้นที่เหล่าพระพรหมในชั้นนี้ ต้องเป็นพระพรหมอริยบุคคลในพุทธศาสนา ระดับอนาคามีอริยบุคคล เท่านั้น ต่างจาก 11 ชั้นแรก แม้พระพรหมทั้งหลายจะได้สำเร็จฌานวิเศษเพียงใด ก็อุบัติในสุทธาวาสภูมิไม่ได้อย่างเด็ดขาด สุทธาวาสภูมินี้มีอยู่ 5 ชั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ และตั้งอยู่เป็นชั้นๆ ขึ้นไป ตามลำดับภูมิไม่ตั้งในระดับเดียวกันเช่นชั้นแรกๆที่ผ่านมา


ปฐมฌาณภูมิ3

ชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ
ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นบริวารแห่งท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 1 พรหมปาริสัชชาภูมิ เป็นพรหมโลกชั้นแรก เป็นพรหมชั้นล่างสุด ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าปรนิมมิตวสวัตตีสวรรค์ขึ้นไปถึง 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ คือไกลจากมนุษยโลกจนไม่สามารถนับได้ ซึ่งหากเอาก้อนศิลาขนาดเท่าปราสาทเหล็ก (โลหปราสาท) ทิ้งลงมาจากชั้นนี้ ยังใช้เวลาถึง 4 เดือนจึงจะตกถึงแผ่นดิน พระพรหมในที่นี้มีคุณวิเศษ โดยเคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น เสวยปณีตสุขอยู่ มีความเป็นอยู่อย่างแสนจะสุขนักหนา ตราบจนหมด พรหมายุขัย มีอายุแห่งพรหมประมาณส่วนที่ 3 แห่งมหากัป (1 ใน 3 แห่งมหากัป)

ชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ


ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้เป็นปุโรหิต (อาจารย์ใหญ่) ของท้าวมหาพรหม พรหมโลกชั้นที่ 2 พรหมปุโรหิตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ทรงฐานะประเสริฐ คือเป็นปุโรหิตของท่านมหาพรหม ความเป็นอยู่ทุกอย่างล้ำเลิศวิเศษกว่าพรหมโลกชั้นแรก รัศมีก็รุ่งเรืองกว่า รูปทรงร่างกายใหญ่กว่า สวยงามกว่า พรหมทุกท่านล้วนมีคุณวิเศษ ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ บรรลุ ปฐมฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลาง มาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณครึ่งมหากัป



ชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ คือพระนารายณ์ พระศิวะ พรหมเทพ พรหมโลกชั้นที่ 3 มหาพรหมาภูมิ ที่อยู่แห่งท่านพระพรหม ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย มีความเป็นอยู่และรูปกายประเสริฐยิ่งขึ้นไปอีก ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุปฐมฌานขั้น ปณีตะคือขั้นสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1 มหากัป


 
ทุติยฌาณภูมิ3 (ฉบับกรุงศรี)

ชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 4 ปริตรตาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลายผู้มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่มีศักดิ์สูงกว่าตน ได้เจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปริตตะ คือ ขั้นสามัญมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2 มหากัป

ชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีรุ่งเรืองหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 5 อัปปมาณาภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีรัศมีรุ่งเรืองมากมายหาประมาณมิได้ เคยเจริญภาวนาการบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4 มหากัป

ชั้นที่ 6 อาภัสราภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีเป็นประกายรุ่งเรือง พรหมโลกชั้นที่ 6 อาภัสสราภูมิ เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญ สมถกรรมฐานจนได้บรรลุ ทุติยฌาน ขั้นปณีตะ คือ ประณีตสูงสุดมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8 มหากัป

"...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เธอได้ฟังว่า เทวดาชั้นอาภัสสรา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข เธอมีความ ปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นอาภัสสรา เถิด เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญแล้ว อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น อาภัสสรา ฯ..." (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๗๖ ข้อที่ ๗๒๖)

ชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามน้อยกว่าชั้นพรหมที่สูงกว่าตน พรหมโลกชั้นที่ 7 ปริตตสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย คือน้อยกว่าพระพรหมในพรหมโลกที่สูงกว่าตนนั่นเอง ได้เคยเจริญภาวนากรรม บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุตติยฌาน ขั้นปริตตะ คือขั้นสามัญมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16 มหากัป

ชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้รัศมีสง่างามหาประมาณมิได้ พรหมโลกชั้นที่ 8 อัปปมาณสุภาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมีมากมายไม่มี ประมาณ สง่าสวยงามแห่งรัศมีซึ่งซ่านออกจากกายตัว มากมายสุดประมาณได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นมัชฌิมะ คือขั้นปานกลางมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 32 มหากัป

ชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีรัศมีสง่างามสุกปลั่งทั่วสรรพางค์กาย พรหมโลกชั้นที่ 9 สุภกิณหาภูมิ ที่อยู่ของพระพรหม ผู้มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี ที่ออกสลับ ปะปนกันอยู่เสมอเป็นนิตย์ ทรงรัศมีนานาพรรณ เป็นที่น่าเพ่งพิศทัศนาได้เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้บรรลุ ตติยฌาน ขั้นปณีตะ คือขั้นประณีตสูงสุดมาแล้วทั้งสิ้น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 64 มหากัป

"....ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่า หนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหกะ นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔...." (พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๐ หน้าที่ ๑๗๘ ข้อที่ ๔๘๐)

ชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้รับผลแห่งฌานอันไพบูลย์ พรหมโลกชั้นที่ 10 เวหัปผลาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหม ทั้งหลาย ผู้ได้รับผลแห่งฌานกุศลอย่างไพบูลย์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป

อนึ่งผลแห่งฌานกุศล ที่ส่งให้ไปอุบัติเกิดในพรหมโลก 9 ชั้นแรกนั้น ไม่เรียกว่า มีผลไพบูลย์เต็มที่ ทั้งนี้ก็โดยมี เหตุผลตามสภาวธรรมที่เป็นจริง ดังต่อไปนี้

เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยไฟนั้น พรหมภูมิ 3 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยน้ำนั้น พรหมภูมิ 6 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปด้วย
เมื่อคราวโลกถูกทำลายด้วยลมนั้น พรหมภูมิทั้ง 9 ชั้นแรก ก็ถูกทำลายไปไม่มีเหลือเลย


ชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้หาสัญญามิได้ (คือมีแต่รูป) พรหมโลกชั้นที่ 11 อสัญญีสัตตาภูมิ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยอำนาจแห่งสัญญาวิราคภาวนา เสวยสุขอัน ประณีตนักหนา เคยเจริญภาวนากรรมบำเพ็ญสมถกรรมฐาน จนได้สำเร็จจตุตถฌาน อันเป็นรูปฌานขั้นสูงสุดสถิตย์อยู่ในปราสาท แก้ววิมานอันมโหฬารกว้างขวาง มีบุปผชาติประดับประดาเรียบ ไม่รู้แห้งเหี่ยว มีหน้าตาสวยสง่าอุปมาดังรูปพระปฏิมากรพุทธรูปทองคำขัดสี แต่มีอิริยาบถไม่เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอน บางองค์ยืน มีอิริยาบถใดก็ เป็นอย่างนั้นตลอดไป ไม่เคลื่อนไหว จักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย สถิตย์เสวยสุขเป็นประดุจรูปปั้น อยู่อย่างนั้นชั่วกาล มีอายุแห่งพรหมประมาณ 500 มหากัป

อวิหาสุทธาวาส อตัปปาสุทธาวาส สุทธาวาส ชั้นนี้เป็นที่เกิดของพระอนาคามี

ชั้นที่ 12 อวิหาสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เสื่อมคลายในสมบัติแห่งตน สูงขึ้นไปจากอสัญญีสัตตาภูมิประมาณ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลที่ไม่ละทิ้งสมบัติ เป็นผู้มีวาสนาบารมี กิเลสธุลีเหลือติดอยู่ในจิตสันดานน้อยมาก ด้วยได้เคยเป็นสาวกแห่งพระพุทธองค์ พบพระบวรพุทธศาสนาแล้วมีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร อุตสาหะจำเริญ วิปัสสนากรรมฐาน จนยังตติยมรรคให้ เกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลจะสถิตย์อยู่จนอายุครบกำหนด ไม่จุติเสียก่อน ต่างจากพระพรหมในสุทธาวาสภูมิที่เหลืออยู่อีก 4 ภูมิ คือพระพรหมในอีก 4 สุทธาวาสภูมิที่เหลือ ซึ่งอาจมีการจุติหรือนิพพานเสียก่อนอายุครบกำหนด มีอายุแห่งพรหมประมาณ 1000 มหากัป

ชั้นที่ 13 อตัปปาสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร สูงขึ้นไปต่อจากอวิหาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้ละซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อน ทั้งทางกาย วาจาและใจเลย ย่อมเข้าฌานสมาบัติ หรือผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณธรรมซึ่งเป็นกิเลสอันทำให้ จิตเดือดร้อนไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ฉะนั้นจิตใจของท่านเหล่านั้นจึงมีแต่สงบเยือกเย็นได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีวิริยินทรีย์ คือมี วิริยะแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 2000 มหากัป

สุทัสสาสุทธาวาส สุทัสสีสุทธาวาส
ชั้นที่ 14 สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้ง สูงขึ้นไปต่อจากอตัปปาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความแจ่มใส สามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยแจ้งชัดเพราะบริบูรณ์ ด้วยประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ธัมมจักษุและปัญญาจักษุ จึงเห็นสภาวธรรมได้แจ่มใส ชัดเจน ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีสตินทรีย์ คือมี สติแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 4000 มหากัป


ชั้นที่ 15 สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ

ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้มีความเห็น (สภาวธรรม) อย่างแจ่มแจ้งยิ่ง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสาสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามี ผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า มีประสาทจักษุ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ทั้ง 3 นี้มีกำลังแก่ กล้ากว่าพระพรหมในสุทัสสาสุทธาวาสภูมิ ทำให้ท่านมีความเห็นในสภาวธรรมได้ชัดเจนแจ่มใสยิ่ง ท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยังตติยมรรค ให้บังเกิดในขันธสันดานได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มี สมาธินทรีย์ คือมีสมาธิแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น มีอายุแห่งพรหมประมาณ 8000 มหากัป

ทุสสะเจดีย์ ชั้นอกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
ชั้นที่ 16 อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ


ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ทรงคุณพิเศษไม่มีใครเป็นรอง สูงขึ้นไปต่อจากสุทัสสีสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกประมาณ ได้ 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ เป็นที่อยู่อันบริสุทธิ์แห่งพระพรหมอนาคามีอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้มีวาสนาบารมี มีกิเลสธุลีเหลือติดอยู่น้อยนักหนาโดยท่านเหล่านี้เคยเป็นพระสาวกแห่งพระพุทธองค์ อุตสาหะจำเริญวิปัสสนากรรมฐานจนสามารถยัง ตติยมรรคให้บังเกิดในขันธสันดาน ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคลและในขณะที่เจริญ วิปัสสนากรรมฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์ คือมี ปัญญาแก่กล้ากว่าอินทรีย์อย่างอื่น ฉะนั้น ท่านพระพรหมอนาคามีบุคคลที่อุบัติเกิดในอกนิฏฐพรหมโลกนี้ จึงมีคุณสมบัติวิเศษยิ่งกว่า บรรดาพระพรหมทั้งสิ้นในพรหมโลกทั้งหลายรวมทั้งสุทธาวาสพรหมทั้งสี่ที่กล่าวมาแล้ว มีอายุแห่งพรหมประมาณ 16000 มหากัป




พรหมโลกนี้ มีพระเจดีย์เจ้าองค์สำคัญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นพรหมโลกที่เคารพนับถือพระบวรพุทธศาสนา องค์หนึ่งมีนามว่า ทุสสะเจดีย์ ซึ่งเป็นที่บรรจุผ้าขาวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จออกผนวช โดยพระพรหมทั้งหลายได้นำบริขารและไตรจีวรลงมาถวาย และพระองค์ได้ถอดผ้าขาวที่ทรงอยู่ยื่นให้ พระพรหมจึงรับเอาและนำมาบรรจุไว้ยังเจดีย์ที่นฤมิตขึ้นนี้ และเป็นที่สักการบูชาของพระพรหมทั้งหลายในปัจจุบัน

พระพรหมอนาคามีทั้งหลายในสุทธาวาสพรหมแรกทั้ง 4 หากยังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พอสิ้นพรหมายุขัย ก็ต้องจุติจากสุทธาวาสพรหมภูมิที่ตนสถิตอยู่มาอุบัติในชั้นที่ 16 นี้ เพื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานโดยทั้งสิ้น จึงอาจกล่าวได้ว่า อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมินี้ เป็นพรหมภูมิที่มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ อย่างประเสริฐล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นๆ ทั้งหมด

อรูปพรหม หรือ อรูปาวจรภูมิ สมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา บรรดาโยคี ฤๅษี ชีไพรดาบส ที่บำเพ็ญตบะเดชะภาวนา รำพึงว่าอันว่าตัวตน กล่าวคืออัตภาพร่างกายนี้ไม่ดีเป็นนักหนา กอปรไปด้วย ทุกข์โทษหาประมาณมิได้ ควรที่ตูจะปรารถนากระทำตัว ให้หายไปเสียเถิด แล้วก็เกิดความพอใจเป็นนักหนา ในภาวะที่ไม่มีตัวตนไม่มีรูปกาย ปรารถนาอยู่แต่ในความไม่มีรูป


อรูปภูมิมี 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมในชั้นนี้ไม่มีรูปร่าง มีแต่จิตเจตสิก เพราะเห็นว่าหากมีร่างกายอยู่นั้นจะมีแต่โทษ อาจจะไปทำร้ายซึ่งกันและกันได้ จึงบริกรรมด้วยความว่างเปล่า ยึดเอาอากาศซึ่งเป็นความว่างเปล่าเป็นอารมณ์ จนได้ฌานที่มีอากาศเป็นอารมณ์เรียกว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ซึ่งมีอายุอยู่ได้สองหมื่นกัปป์ จากนั้นก็อาจภาวนาเพื่อจะได้ไปอยู่ในพรหมโลกขั้นสูงต่อไปอีกได้ อายุของพรหมเหล่านี้จะยืนอยู่ได้สี่หมื่น หกหมื่น และแปดหมื่นสี่พันกัปป์ ตามลำดับ

อรูปพรหม (ฉบับกรุงธน)
ชั้นที่ 17 อากาสานัญจายตนภูมิ
ชั้นที่ทรงอากาศไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอา อากาศ เป็นอารมณ์ เป็นที่ตั้งอยู่แห่งพระพรหม ผู้เกิดจากฌานที่อาศัยอากาสบัญญัติ ไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ ตั้งอยู่พ้นจากอกนิฏฐสุทธาวาสพรหมโลกไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 20000 มหากัป

ชั้นที่ 18 วิญญาณัญจายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงภาวะวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึด วิญญาณ เป็นอารมณ์ พ้นจากอากาสานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ วิญญาณัญจายตนภูมิ เป็นที่อยู่ แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย วิญญาณบัญญัติ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต มีอายุแห่งพรหมประมาณ 40000 มหากัป


ชั้นที่ 19 อากิญจัญญายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงภาวะไม่มีอะไรเลย ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้ยึดเอาความไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์ เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้วิเศษ ผู้เกิดจากฌานที่อาศัย นัตถิภาวบัญญัติเป็นอารมณ์ พระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป และปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิตพ้นจากวิญญานัญจายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 60000 มหากัป

ชั้นที่ 20 เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ

ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ในทัศนะนี้แปลว่า ยังไม่หมด ยังมีอยู่ แต่ไม่มาก ไม่ยึดมั่นเหมือนปถุชนทั่วไป) เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ 84000 มหากัป

ชั้นที่ทรงภาวะที่มีสัญญาไม่ปรากฏชัด ที่สถิตแห่งพระพรหมผู้ได้เข้าถึงภาวะมี สัญญา ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (ในทัศนะนี้แปลว่า ยังไม่หมด ยังมีอยู่ แต่ไม่มาก ไม่ยึดมั่นเหมือนปถุชนทั่วไป) เป็นที่อยู่แห่งพระพรหมผู้เกิดจากฌานที่อาศัย ความประณีตเป็นอย่างยิ่ง พระพรหมวิเศษแต่ละองค์ในชั้นสูงสุดนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ที่ได้สำเร็จยอดแห่งอรูปฌาน คืออรูปฌานที่ 4 มาแล้ว มีอายุยืนนานเป็นที่สุดด้วยอำนาจแห่ง อรูปฌานกุศลอันสูงสุดที่ตนได้บำเพ็ญมา เพราะเหตุที่ตนปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิบากจิตทั้ง อยู่พ้นจากอากิญจัญญายตนภูมิขึ้นไปอีก 5 ล้าน 5 แสน 8 พันโยชน์ มีอายุแห่งพรหมประมาณ มหากัป

ผู้ที่เกิดเป็นอรูปพรหมนั้นไม่มีรูปขันธ์ 1 มีเพียงนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จึงไม่มีอวัยวะร่างกายใดๆ แต่มีความรู้สึกนึกคิดในฝ่ายนามธรรม (มีผู้บรรยายว่า สภาวะของอรูปภพ มีทั้งข้อดีกับข้อเสีย ข้อดีก็คือจะไม่มีอายตนะห้าประการคือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายมากระทบหรือไม่รับรู้อะไร มีแต่จิตเจตสิกที่รับอากาศเป็นอารมณ์รับรู้ ไม่ได้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่แต่อาศัยปลีกวิเวก และอยู่เสวยสุขได้นานหลายกัปจนนับประมาณไม่ได้ แต่ข้อเสียก็คือจะไม่สามารถสื่อสารกับใครหรือพบเห็นอะไรเลย นอกจากนั้นจะไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลยตอนที่ยังเป็นอรูปพรหมเพราะไม่มีอายตนะห้าประการเป็นตัวรับรู้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน (แต่มีปรากฏในหลักฐานปริยัติว่า ผู้ที่ได้ถึงพระนิพพานในลำดับแรก คือ โสดาปัตติผล สามารถเจริญวิปัสสนาต่อในอรูปภพต่อจนถึงความเป็นพระอรหันตผลได้)) นอกจากนั้นเมื่อได้สิ้นกาลอายุขัยก็จะต้องลงไปเกิดในกามาวจรภูมิ ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่จบไม่สิ้นอีกครั้งด้วยอำนาจกิเลส ในอรูปภพนี้ไม่มีปรากฏในหลักฐานทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ใดจะเสด็จขึ้นมาโปรดเหล่าอรูปพรหมที่อรูปาวจรภูมินี้เลย เรื่องนี้มีกล่าวไว้ในพุทธประวัติว่า อสิตดาบสได้ทำนายเจ้าชายสิทธัตถะกุมารว่าเมื่อเจริญวัยก็จะเสด็จออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดีใจ แต่ก็คิดได้ว่าตัวเองชราภาพมากก็คงไม่ได้มีโอกาสได้อยู่ดูและฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า แม้จะละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพหรมก็ไม่สามารถฟังธรรมได้เลยจึงร้องไห้ หรือหลังจากพระพุทธเจ้าได้ตัดสินพระทัยว่าจะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ก็ทรงระลึกถึงอุทกดาบสและอาฬารดาบสผู้เคยเป็นพระอาจารย์สอนวิชาสมาบัติแก่พระพุทธองค์ ที่สามารถจะเข้าใจฟังธรรมได้แต่ก็น่าเสียดาย เพราะดาบสทั้งสองก็ได้ละสังขารไปเกิดเป็นอรูปพรหม พระพุทธองค์ก็ไม่สามารถไปโปรดดาบสทั้งสองได้เลย
63
นมัสการพระอรหันต์ 8 ทิศ แปล โดยคุณแอนมิตรชัย เพราะมาก




คาถาพระอรหันต์ ๘ ทิศ ตำราสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี)

คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ เรียกอีกอย่างว่า พุทธมงคลคาถา นอกจากพระคาถาชินบัญชรอันลือชื่อของท่านแล้ว พุทธมังคลคาถาถือเป็นอีกหนึ่งบทคาถาของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ถือว่ามีอิทธิฤทธิ์ด้านลาภผลและมงคลทั้งปวง เพราะคำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ
นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ
อาคเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
หะระติเย อุปาลิ จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท
พายัพเพ จะ ควัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร
อีสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา
สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ
สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ
สัพพะโสตถี ภะวันตุโน
อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยังยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า ทรงประทับนั่งอยู่ท่ามกลาง มี
ท่านอัญญาโกญฑัญญะ อยู่ทางทิศบูรพา (ตะวันออก)
ท่านพระมหากัสสปะ อยู่ทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
ท่านพระสารีบุตร อยู่ทางทิศทักษิณ (ใต้)
ท่านพระอุบาลี อยู่ทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)
ท่านพระอานนท์ อยู่ทางทิศปัจฉิม (ตะวันตก)
ท่านพระภควัมปติ อยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
ท่านพระโมคคัลลานะ อยู่ทางทิศอุดร (เหนือ)
ท่านพระราหุล อยู่ทางทิศอิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ด้วยสรรพมงคลอันพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ประดิษฐานอยู่ ณ ทิศทั้งหลายเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ทำการกราบไหว้สักการบูชาซึ่งท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย เหล่านั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการซึ่งพระรัตนตรัย และด้วยการนมัสการพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลายนี้
ข้าพเจ้าได้รับแล้วซึ่งความหลั่งไหลของบุญอย่างไพบูลย์ (บุญอันเกิดจากการระลึกถึงพระอรหันต์ทั้งแปดทิศ) ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขออันตรายทั้งหลายจงถึงความพินาศสิ้นไปเทอญ


<a href="https://www.youtube.com/v//yugLoJIb1fA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//yugLoJIb1fA</a> 

https://youtu.be/yugLoJIb1fA?si=WI_IFwD4wvGs61NL































<a href="https://www.youtube.com/v//HZEd6U553gc" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//HZEd6U553gc</a> 
64
เทวภูมิปฏิปทา  สรุป สวรรค์ 6 ชั้น ของ ปวงเทวัญ ชั้นฟ้า

<a href="https://www.youtube.com/v//qCuJY4Yy8Ck" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//qCuJY4Yy8Ck</a> 

https://www.youtube.com/live/qCuJY4Yy8Ck?si=2M0SfmxnPTImJoPl
65
หัวใจสุขาวดี: เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งสุขาวดีของคนบาปแต่มีหัวใจ




หัวใจสุขาวดี

เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งสุขาวดีของคนบาปแต่มีหัวใจ

กับ อ.ดอน ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา

อาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563
 

ห้องเรียนศาสนธรรม ณ วัชรสิทธา

สรุปความโดย ชัยณภัทร จัทร์นาค

 

ตั้งปณิธาน


“จริงๆ มันเป็นเรื่องของคำถามที่มีต่อตัวเองมากกว่า ว่าจะทำอย่างไรให้เรามีหัวใจที่จะโอบกอดผู้คนที่ทำผิดบาปได้จริง ซึ่งนั่นก็หมายถึงการโอบกอดตัวเราเองด้วย”

ครั้งหนึ่งอาจารย์ดอนได้คุยกับเซนเซท่านหนึ่งเกี่ยวกับแง่มุมที่คนภายนอกชอบมองสุขาวดีว่าขี้โกง แค่สวดอ้อนวอน แต่หวังจะไปถึงพระนิพพาน ...เซนเซท่านนี้เปรียบเทียบให้อาจารย์ดอนฟัง โดยยกตัวอย่างให้ภาพว่า ถ้ามีภูเขาอยู่ลูกหนึ่ง แต่ก่อนเคยมีแค่มีบันไดขึ้น แล้ววันหนึ่งมีคนมาสร้างลิฟต์ให้

“ยังจะขึ้นบันไดไปทำไม? แล้วขึ้นลิฟต์มันผิดตรงไหน?”

สุขาวดีวยูหสูตรเป็นพระสูตรภาษาจีน มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงที่พระพุทธเจ้าได้เล่าเรื่องดินแดนสุขาวดี และพระอมิตาภะพุทธเจ้า ให้เหล่าสาวก เทพ พรหม และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่ตรงนั้นได้ฟัง

พระอมิตาภะพุทธเจ้านั้นเคยเป็นกษัตริย์ในอดีตชื่อว่าพระเจ้าธรรมกร เขาได้ออกบวชจนได้พบกับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอดีต ที่ชื่อพระโลเกศวรราชพุทธะ และได้รับคำสอนมาฝึกปฏิบัติและตั้งปณิธาน 48 ประการ

“คัมภีร์ในมหายานหลายๆ คัมภีร์เป็นคัมภีร์ที่พูดถึงการตั้งปณิธาน เช่น มหาสุขาวดีวยูหสูตร ก็พูดถึงปณิธานของพระอมิตาภะ ในเล่มอื่นก็มีปณิธานโพธิสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย มหายานเน้นการปลุกเร้าความตั้งจิตตั้งใจ ศรัทธาอันแน่วแน่มั่นคงของจิตใจที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อสรรพสัตว์”

หนึ่งในปณิธานอมิตาภะที่ฝ่ายสุขาวดีให้ความสำคัญเป็นหลัก คือ ปณิธานประการที่ 18 ที่พระอมิตาภะตั้งไว้ในตอนเริ่มฝึกปฏิบัติจากคำสอนของพระโลเกศวรราชพุทธะว่า ถ้าเมื่อใดที่ตนเองได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอให้มีพุทธเกษตรแห่งหนึ่งเป็นดินแดนอันบริสุทธิ์ที่ชื่อว่าสุขาวดี และให้สรรพสัตว์ที่ปรารถนาจะเกิดในดินแดนสุขาวดีนั้นได้เกิดในสุขาวดีได้ โดยการระลึกถึงและสวดชื่อของพระอมิตาภะเพียง 10 จบ ซึ่งถ้าปณิธานนี้ไม่สามารถสำเร็จได้ ตนก็จะไม่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า

เนื้อหาในพระสูตรจบลงที่พระธรรมกรได้บรรลุเป็นพระอมิตาภะพุทธเจ้า และปณิธานทั้ง 48 ประการที่ได้ตั้งไว้ก็เป็นจริง

“แนวคิดของสุขาวดีคือการโอบล้อมสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเข้ามาด้วยกัน”

สิ่งที่ถูกลืมไป

“เราพูดแบบปุถุชนว่าพระพุทธเจ้ามีสติปัญญามากมาย แต่ทำไมตอนแรกถึงมีวินาทีที่ว่า ...โอย ไม่สอนดีกว่า”

ฝ่ายสุขาวดีมองว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนพุทธศาสนาในสมัยที่พระพุทธเจ้า(ศากยมุนี) ยังมีชีวิตอยู่ คือบุคลิกภาพของพระพุทธเจ้า ซึ่งเห็นได้ในฉากสำคัญในพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าบรรลุธรรม และเกิดความลังเลใจขึ้นมาเกี่ยวกับศักยภาพในตนเองที่จะสอนสั่งธรรมะอันลึกซึ้ง เกินกว่าที่สรรพสัตว์ที่มีกิเลสจะเข้าใจได้ แต่สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็เปลี่ยนมาเชื่อมั่นว่ายังมีสรรพสัตว์ที่พอจะเข้าใจความลึกซึ้งของธรรมะได้ และตั้งมั่นที่จะทำในสิ่งที่แม้แต่ตนเองผู้ที่ได้ชื่อว่าบรรลุธรรมแล้วยังต้องชั่งใจเพื่อประโยชน์ของสรรพสัตว์

จากเหตุการณ์ตรัสรู้นี้ทางฝ่ายสุขาวดีสังเกตว่าพระพุทธเจ้ามีบุคลิกภาพอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1.ความถ่อมตน

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง มีสติปัญญามากมาย แต่ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์และความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดอันเหนียวแน่น เกินกว่าที่สติปัญญาของตนจะช่วยเหลือได้

2.ความเป็นพลวัต

เมื่อใช้ปัญญาในระดับของผู้บรรลุธรรมไตร่ตรองดูแล้วพบว่า ภารกิจในการสั่งสอนธรรมนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ทว่าพระพุทธเจ้าก็ยังมีพลังในการหาช่องทางที่จะออกไปช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เหล่าสาวกในยุคนั้นก็พยายามหาทางอนุรักษ์สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บอกไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บอกไว้จริง แต่ความพยายามในการอนุรักษ์นั้นกลับทำให้ความมีชีวิตชีวาที่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและทำความเข้าใจตัวคำสอนนั้นจางหายไป หลังจากนั้นพุทธศาสนาก็กลายเป็นเรื่องของการบัญญัติหลักคำสอน วินัย การจัดแบ่งหมวดหมู่ และการปฏิบัติตามโดยขาดแง่มุมของอารมณ์ความรู้สึกไป

สุขาวดีเน้นย้ำเรื่องการขับเคลื่อนพุทธศาสนาในอดีตที่เกิดจากพระจริยวัตรในการออกไปโปรดสรรพสัตว์ด้วยความมีชีวิตชีวาของพระพุทธเจ้าเป็นส่วนหลัก ส่วนเนื้อหาคำสอน บทบัญญัติ และระเบียบวินัยนั้นเป็นส่วนรอง เพราะความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับความเป็นเราไม่ได้ถูกกำหนดจากสิ่งที่เราพูดเพียงอย่างเดียว

“เกือบทุกครั้งมันไม่ใช่เรื่องของคำสอน พระองค์จะสอนคนนู้นนิดหนึ่ง คนนี้หน่อย บางครั้งพระองค์ไม่พูดด้วยซ้ำ บางครั้งพระองค์ก็สะกิดนิดหนึ่ง”

 

เราทุกคนคือคนบาป

“พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ไปทำไมถ้าพวกเราไม่ได้อยู่ในสายพระเนตรของพระมหากรุณาธิคุณ ความรักแบบไหนที่มันทอดทิ้งคนพวกหนึ่งไป แล้วก็เหลือแต่คนดีๆ ให้เข้าไปในดินแดนนั้น ผมว่าพุทธศาสนามีเซนส์แบบนี้นะครับ เช่นเวลาเราพูดถึงเทวทัตนี่คือตัวร้ายของชาวพุทธบ้านเรา แต่เราลืมไปว่าในพลอทเรื่องเทวทัตเนี่ย มีตอนจบอยู่ เทวทัตได้รับพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เราลืมอะไรแบบนี้ได้ยังไง” – อ.คมกฤช

พุทธศาสนาในบริบทแบบบ้านเรามักจะมีอคติเกี่ยวกับผู้ที่กระทำผิดในแง่ของการกดผู้กระทำผิดลงไปถึงเนื้อแท้ของบุคคลนั้นว่าเป็นคนชั่วร้ายโดยธรรมชาติ ไม่สามารถดีขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่โดยตัวเนื้อหาพุทธศาสนาแบบเถรวาทก็ไม่ได้มีพื้นที่ทางใจที่คับแคบขนาดนั้น

สุขาวดีไม่ได้บอกว่าผู้ที่กระทำบาปแล้วจะไม่ได้รับผลกรรม เพราะเราได้รับผลกรรมอย่างแน่นอนไม่ว่าเราจะอยู่ในโลกของพุทธศาสนาฝ่ายไหน ประเด็นเรื่องคนบาปนั้นอยู่ที่เราตระหนักรู้ไหมว่าเราบาป ซึ่งโดยปกติแล้วเราก็มักจะเข้าข้างตัวเองด้วยข้อดีที่เราเคยทำมา หรือไม่ก็เหยียบย่ำตัวเองด้วยบาปที่เราก่อ แต่สุขาวดีไม่ใช่อะไรแบบนั้น

จิตใจของเรานั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปในอีกรูปแบบหนึ่งเมื่อเรามีศรัทธาต่อพระอมิตาภะอย่างลึกซึ่ง แต่ในระหว่างกระบวนการแปรเปลี่ยนใจก็ไม่ได้มีอะไรรับประกันเลยว่าเราจะไม่กลับมาทำบาปอีก แต่การพลาดในกระบวนการนี้จะทำให้เราตระหนักรู้ถึงความผิดบาปนั้นด้วยความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง และปลดปล่อยเราออกจากการเอาความผิดบาปนั้นมาทับถมตัวเอง ในขณะเดียวกันก็รับการตักเตือนอย่างเป็นธรรมชาติไม่ให้เราหลงระเริงไปกับการก่อบาป

“นิกายสุขาวดีทำลายจุดงี่เง่าของเราว่า ขนาดครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ก่อตั้งนิกายยังบอกเลยว่าตนไปเกิดในนรกแน่นนอน แล้วเราจะไปเหลืออะไร สุขาวดีมองว่ามันเป็นธรรมดา เพราะเราเป็นคนบาปอยู่แล้ว เราจึงควรฝึกศรัทธาไปเรื่อยๆ ให้มันแน่นอนในใจ”

ศรัทธา พลังแห่งการวางใจ

“มันไม่มีอะไรรับประกันเลยด้วยนอกจากสวดพระนาม จริงแล้วแม้จะบอกว่ามันเป็นวิธีการที่ง่าย แค่พูดออกมาจากปาก 6 คำ แต่กว่าที่เราจะมีศรัทธาแบบนั้นได้มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าเราโตมากับพุทธศาสนาที่เน้นการคิดเยอะๆ เราจะไปไม่ถึงตรงนี้เลย เพราะสุขาวดีไม่ต้องใช้ปัญญาอะไร แล้วก็ไม่ได้ใช้ศักยภาพตัวเองด้วย”

สุขาวดีมองการปฏิบัติธรรมแยกออกเป็นการพึ่งอำนาจของตัวเอง และอำนาจอื่น

การพึ่งอำนาจของตัวเองก็คือการปฏิบัติแบบทั่วไปที่เรารู้จักเช่น นั่งสมาธิ เข้าวัดทำบุญ ฯลฯ แต่การพึ่งอำนาจอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คืออำนาจความกรุณาของพระอมิตาภะ เราแทบไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากมีศรัทธาอย่างเดียว

ท่าทีของการสวดอมิตาภะของฝ่ายสุขาวดีในจีนตอนต้นนั้นยังเป็นการสวดและกราบไหว้แบบเน้นจำนวนครั้ง แต่มาในภายหลังก็ได้ปรับเปลี่ยนไปจากการตั้งคำถามจากคณาจารย์ฝ่ายญี่ปุ่นว่า ความเมตตาของพระอมิตาภะนั้นไม่สามารถประมาณได้ การสวดแบบเก็บแต้มจึงเป็นการดูถูกอำนาจของพระอมิตาภะ

“สิ่งหนึ่งที่สุขาวดีไม่ว่าในจีนหรือญี่ปุ่นเน้นย้ำอยู่ตลอดก็คือการสวดพระนามอมิตาภะ ในสุขาวดีบางครั้งการสวดกับการระลึกถึงเป็นสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นเองถ้าคุณระลึกถึงอย่างลึกซึ้งขึ้นมา แล้วมันออกมาเป็นการสวด มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองในใจ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปบังคับมันได้”

เราสามารถที่จะคุมสติแล้วสวดอมิตาภะได้ตลอดเวลา แต่การระลึกถึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามของเรา ศรัทธาในสุขาวดีเป็นศรัทราที่เกิดขึ้นจากก้นบึ้งของจิตใจอย่างไม่มีข้อแม้

นิกายสุขาวดีบอกกับเราตรงๆ ว่าศักยภาพของเรานั้นไม่เพียงพอในยุคที่ชีวิตนั้นยากเย็น วุ่นวายและซับซ้อน ซึ่งยากหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้คนจะสามารถบรรลุธรรมได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นศรัทธา หรือความไว้วางใจต่อความช่วยเหลือจากพระอมิตาภะจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเหมือนจะง่ายแต่ทำได้ยาก

“ฝ่ายสุขาวดีบอกว่าถ้าถึงเวลาแล้วเราสวดพระนามจากความรู้สึกเต็มตื้นได้จริง นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราสวดแล้วครับ เป็นเสียงของอมิตาภะมากระซิบ แล้วเราก็ตะโกนออกมา คือมันเอาตัวเราไปไหนไม่รู้ครับกลวิธีแบบนี้ มันอาจดู Paradox นิดหน่อย แต่จริงๆ แล้วมันเป็นกระบวนการที่ตัดตัวตนตั้งแต่แรก”

“เราชอบมองศรัทราในฐานะที่เป็นความเชื่อ เอาจริงๆ ผมว่าไม่ใช่เลย จากมุมของสุขาวดีศรัทราคือความไว้วางใจ แล้วความไว้วางใจมันก็ยากที่จะไว้วางใจอย่างแท้จริง”- อ.ตุล


สุขา(วดี)อยู่หนใด

ในพุทธศาสนาฝ่ายสุขาวดีแบ่งความคิดเกี่ยวกับสุขาวดีและพระอมิตาภะเป็นสองแบบ ในแบบแรกคือยืนยันตามคำอธิบายในคัมภีร์สุขาวดีวยูหสูตร ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอธิบายในลักษณะร่วมสมัยนั้นอธิบายว่าทั้งพระอมิตาภะและสุขาวดีเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น

“นักปรัชญาสุขาวดีในยุคปัจจุบันบอกเลยว่า อมิตาภะ คือนิยายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงลักษณะบุคลิกภาพของพระพุทธเจ้าศากยมุนีที่ชาวพุทธในอดีตได้ทอดทิ้งไป”

ไม่ว่าพระอมิตาภะและดินแดนสุขาวดีจะเป็นจริงตามคัมภีร์หรือเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นหรือไม่ จะอยู่ข้างนอก หรืออยู่ข้างในใจ พลังในการวางใจในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวเราอย่างพระอมิตาภะ หรืออาจหมายรวมถึงเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ ก็เป็นพลังในการปลุกโลกใบนี้และทุกสิ่งให้ตื่นขึ้นเป็นดินแดนสุขาวดีได้ไม่ยาก ขอเพียงแค่วางใจ

“สุดท้ายคำว่าอมิตาภะมันแทนเนื้อหาทั้งหมดในตัวเราเอง โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ อมิตาภะที่นิยามกันหลายๆ ฝ่าย วันหนึ่งเราจะสามารถเข้าใจได้ด้วยตัวเองได้หรือเปล่า นี่ก็เป็นเรื่องความไว้วางใจของเรา”

คำสอนมหายานในแต่ละนิกายนั้นก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ เพียงแต่ว่ามหายานเกิดขึ้นมาเพื่อกระตุ้นเตือนฝ่ายหินยานว่าธรรมะควรมีด้านของความมีชีวิตชีวาที่เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้คนทุกคน ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของคัมภีร์ ซึ่งในแต่ละนิกายก็จะเน้นย้ำในเรื่องที่แตกต่างกันไป และในฝ่ายสุขาวดีก่อกำเนิดขึ้นมาโดยเน้นเรื่องศรัทธาในพระอมิตาภะพุทธเจ้า ซึ่งเป็นตัวแทนของความถ่อมตนและความไว้วางใจ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของพลังศรัทธาแห่งจิตใจในการออกไปยังประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์


จาก https://blogazine.pub/blogs/vajrasiddha/post/6505
66


ตุ๊กตาดารุมะ ภาคป๊อปคัลเจอร์ของปรมาจารย์ตั๊กม้อ | Myth Universe

ปีใหม่ทั้งที ขอหยิบตำนานที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นอะไรใหม่ๆ มาเล่าสู่กันฟังดีกว่า กับตุ๊กตาดารุมะ ที่หลายคนอาจคุ้นชินจากสื่อญี่ปุ่นหลายเรื่อง ทั้งคติในการอธิษฐานให้สิ่งที่ตั้งใจไว้สำเร็จลุล่วง และการเป็นตุ๊กตาล้มลุก ที่ล้ม 7 ครั้งก็ลุก 7 ครา

แต่ตำนานเบื้องหลังตุ๊กตาหน้าบึ้งตึงนี้ คือปรมาจารย์เซนท่านหนึ่ง นามว่า พระโพธิธรรม หรือที่คนไทยอาจคุ้นกันในชื่อ ตั๊กม้อ สังฆปรินายกนิกายเซนองค์แรกของจีน นั่นเอง แล้วตำนานอะไรที่ทำให้นักบวชผู้หนึ่ง กลายมาเป็นตุ๊กตาเปเปอร์มาเช่นี่ได้เล่า ไปฟังกันใน Myth Universe อีพีแรกของปี 2024 กันได้เลย


#SalmonPodcast #MythUniverse

<a href="https://www.youtube.com/v//HZEd6U553gc" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//HZEd6U553gc</a> 

https://youtu.be/HZEd6U553gc?si=5APyaCRbfmoRs0tF
67
หยาดฝนแห่งธรรม / กรัณฑวสูตร ว่าด้วยเรื่อง การคบคน
« กระทู้ล่าสุด โดย sithiphong เมื่อ มกราคม 13, 2024, 11:43:03 am »
.

.

วันนี้ เป็นวันเด็ก (วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567) ผมขอทำบุญตามหลักบุญกริยาวัตถุ 10 คือ ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้) ถึงแม้ไม่มีใครเปิดฟัง หรือ อ่านธรรมะ บุญนั้นก็สำเร็จจากการกระทำของผมทั้ง กาย , วาจา(คือการโพส) และ ใจ(เจตนา)

.

หากมีผู้ที่ฟัง (ที่เคยมีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง) เมื่อฟังหรืออ่านแล้ว มีความเห็นที่ถูกต้อง) ผมได้ทำบุญในเรื่อง ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)

.

มาร่วมโมทนาบุญกัน บุญเสมอกัน ครับ

.

หากมีผู้ที่อ่าน มีความเห็นว่า ผมได้ทำบุญตามที่บอก และ มีจิตที่ยินดีในการทำบุญของผมในครั้งนี้ ท่านผู้อ่านจะได้บุญในเรื่อง ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)

.

.

ผลบุญที่ผมได้ทำในครั้งนี้ ขออธิษฐานว่า ขอความไม่มีโรคภัยไข้เจ็บจงเกิดกับตัวข้าพเจ้า ความไม่มีอื่นๆจงอย่าได้เกิดกับตัวข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้าจงมีดวงตาที่เห็นในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างง่ายดายและรวดเร็วด้วยเทอญ

.

.

.

.**********************************.

.

.
.
.
กรัณฑวสูตร ให้ร้ายบุคคลอื่น การอยู่ร่วมกัน
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
กรัณฑวสูตร
.
.
            [๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ที่ฝั่งสระโบกขรณีชื่อคัครา ใกล้นครจัมปา
.
สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุที่ถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัตินั้นเอาเรื่องอื่นๆ มาพูดกลบเกลื่อน ชักเรื่องไปนอกทางเสียแสดงความโกรธเคืองและความไม่ยำเกรงให้ปรากฏ 
.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนชนิดนี้ต้องขับออก เป็นลูกนอกคอกกวนใจกระไร
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญเหล่าอื่น
.
ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขาแต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา
เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ
ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว ย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหญ้าชนิดหนึ่งที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ ราก ก้าน ใบของมันเหมือนกับข้าวที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่มันยังไม่ออกรวง
.
แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบกันว่า หญ้านี้ทำลายข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง ครั้นทราบอย่างนี้แล้ว เขาจึงถอนมันพร้อมทั้งราก เอาไปทิ้งให้พ้นที่นา
.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า หญ้าชนิดนี้อย่าทำลายข้าวที่ดีอื่นๆ เลย  ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ เพราะคิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกองข้าวเปลือกกองใหญ่ที่เขากำลังสาดอยู่ ในข้าวเปลือกกองนั้น ข้าวเปลือกที่เป็นตัว แกร่ง เป็นกองอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่หัก ลีบ ลมย่อมพัดไปไว้ส่วนหนึ่งเจ้าของย่อมเอาไม้กวาดวีข้าวที่หักและลีบออกไป
.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่ามันอย่าปนข้าวเปลือกที่ดีอื่นๆ เลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ ฯลฯ เพราะคิดว่าภิกษุนี้ อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย
.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลต้องการกระบอกตักน้ำ ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า เขาเอาสันขวานเคาะต้นไม้นั้นๆบรรดาต้นไม้เหล่านั้น ต้นไม้ที่แข็ง มีแก่น ซึ่งถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียงหนัก ส่วนต้นไม้ที่ผุใน น้ำชุ่ม เกิดยุ่ยขึ้น ถูกเคาะด้วยสันขวาน ย่อมมีเสียงก้องเขาจึงตัดต้นไม้ที่ผุในนั้นที่โคน ครั้นตัดโคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้วจึงคว้านข้างในให้เรียบร้อย แล้วทำเป็นกระบอกตักน้ำ ฉันใด
.
ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน แลบุคคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร เหมือนของภิกษุที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้ายสมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้วย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ฯ
.
                เพราะการอยู่ร่วมกัน พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้มีความปรารถนาลามก มักโกรธ มักลบลู่ หัวดื้อ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด บางคนในท่ามกลางประชุมชน พูดไพเราะ ดังพระสมณะพูดปิดบังความชั่วที่ตัวทำ มีความเห็นลามกไม่เอื้อเฟื้อ พูด เลอะเลือน พูดเท็จ เธอทั้งหลายทราบบุคคลนั้นว่าเป็นอย่างไรแล้ว จงพร้อมใจกันทั้งหมดขับบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคลที่เป็นดังหยากเหยื่อ จงถอนบุคคลที่เสียในออกเสียแต่นั้น จงนำคนแกลบ  ผู้มิใช่สมณะแต่ยังนับว่า เป็นสมณะออกเสีย เธอทั้งหลาย เมื่อต้องอยู่ร่วมกับคนดีและคนไม่ดี ครั้นกำจัดคนที่มีความปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกแล้ว จงเป็นผู้มีสติ แต่นั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้มีปัญญารักษาตน จักกระทำที่สุดทุกข์ได้ ฯ
.
.
จบสูตรที่ ๑๐
จบเมตตาวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
.
            ๑. เมตตสูตร  ๒. ปัญญาสูตร  ๓. อัปปิยสูตรที่ ๑  ๔. อัปปิยสูตร
ที่ ๒  ๕. โลกธรรมสูตร  ๖. โลกวิปัตติสูตร  ๗. เทวทัตตสูตร  ๘. อุตตร-
*สูตร  ๙. นันทสูตร  ๑๐. กรัณฑวสูตร
.
.
-----------------------------------------------------
.
.

.

#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ

#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น

.

.

.

#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี

#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ

.

.

.

#ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง

.

.

.

#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก

#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก

#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก

#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น

.

.

.

#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน

#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด

#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น

#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น

.

.

.

#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน

#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด

#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น

#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม

#บุพกรรมพระพุทธเจ้า

.

.
68
วัชรยาน / The Four Dignities : สัตว์วิเศษของนักรบชัมบาลา
« กระทู้ล่าสุด โดย มดเอ๊กซ เมื่อ มกราคม 13, 2024, 10:05:08 am »
The Four Dignities : สัตว์วิเศษของนักรบชัมบาลา

“In heaven the turquoise dragon thunders

The tiger‘s lightning flashes abroad

The lion‘s mane spread turquoise clouds

Garuda spans the threefold world…”

เพลงชาติชัมบาลา

– ประพันธ์โดย เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช




มีสำนักคิดมากมายที่พยายามจัดกลุ่มความหลากหลายของมนุษย์ออกเป็นรูปแบบต่างๆ และหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือการจัดกลุ่มตามบุคลิกภาพ ที่ผ่านมาเราอาจจะเคยได้ยินถึงโมเดลอย่าง MBTI, Enneagram, DISC ฯลฯ ไปจนถึงลัคนาราศี ดวงกำเนิด ฯลฯ ที่ต่างก็เป็นรูปแบบของการอธิบายลักษณะนิสัยของคนออกเป็นกลุ่มๆ

ในคำสอนชัมบาลา ที่ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช พัฒนาขึ้น ก็มีรูปแบบการแบ่งกลุ่มที่นำมาใช้เพื่ออธิบายความแตกต่างของมนุษย์ด้วยเช่นกัน แต่การแบ่งกลุ่มในชัมบาลา ไม่ได้แบ่งจากลักษณะบุคลิกภาพ แต่แบ่งจากเอกลักษณ์ของพลังปัญญาญาณที่ได้รับการปลดปล่อยในพื้นที่ว่าง

ชัมบาลาอธิบายคุณลักษณะของปัญญาญาณออกเป็น 4 รูปแบบ (Wisdom Archetype) ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักรบผู้รู้แจ้ง (Enlightened Warrior) โดยคุณสมบัติทั้งสี่นี้ แท้จริงแล้วมีอยู่ในตัวเราทุกคน เพียงแต่ในบางคน บางสถานการณ์ หรือบางช่วงเวลา หนึ่งในสี่รูปแห่งปัญญาญาณนั้นจะโดดเด่นขึ้นมาจากอันอื่น

อีกสิ่งที่น่าสนใจของปัญญาญาณทั้ง 4 ในคำสอน Shambhala คือการใช้สัตว์วิเศษ 4 ชนิด (The Four Dignities) มาเป็นตัวแทนของคุณสมบัติประเภทต่างๆ

เสือ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความอ่อนโยน (Meek)

สิงโตหิมะ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความกระปรี้กระเปร่า (Perky)

พญาครุฑ เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความองอาจ (Outrageous)

มังกร เป็นตัวแทนของ ปัญญาแห่งความลึกเกินหยั่ง (Inscrutable)

สัตว์วิเศษทั้งสี่ มีความสำคัญต่อคำสอนชัมบาลาอย่างมาก ถึงขนาดที่ปรากฎเป็น “แถบสี” บน “ธงชาติ” ของอาณาจักรชัมบาลาเลยทีเดียว ทั้งรูปลักษณ์ของสัตว์ทั้งสี่ยังถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์บนเครื่องประดับต่างๆ ของชุมชนชัมบาลาอีกด้วย



ธงชาติชัมบาลา

ใน Shambhala Retreat ที่จัดขึ้นโดยวัชรสิทธา ณ อาศรมวงศ์สนิท สอนโดย อ.ณัฐฬส วังวิญญู และ อ.วิจักขณ์ พานิช ได้มีการจัดกิจกรรมที่ลองให้เรา Identify ตัวเองกับคุณสมบัติของปัญญาญาณประเภทต่างๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้สะท้อนถึงที่มาที่ไปของคุณสมบัติที่ตัวเองมี รวมถึงประโยชน์ที่เราแต่ละคนจะนำเอาความโดดเด่นทางปัญญาไปมอบแก่โลกใบนี้

สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อแต่ละกลุ่มออกมาบอกเล่าถึงจุดเด่นของปัญญาญาณประเภทต่างๆ รวมถึงประโยชน์ที่คุณสมบัติของปัญญานั้นสามารถมอบให้แก่โลก กลุ่มเสือสะท้อนว่าจุดเด่นของพวกเขาคือพร้อมที่จะโอบอุ้มและเยียวยาผู้อื่นด้วยความมั่นคงและหนักแน่น กลุ่มสิงโตหิมะช่วยสร้างสรรค์ความสนุกสนานและบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียด กลุ่มครุฑคือความกล้าหาญใจการเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆ ทั้งยังมอบความเป็นระเบียบให้กับความยุ่งเหยิงวุ่นวาย ขณะที่มังกรคือความหยั่งรู้ของปัญญาญาณ พร้อมตอบโต้กับสถานการณ์อย่างแม่นยำและฉับพลัน รวมถึงมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

เมื่อจบกิจกรรม พวกเราก็ได้พบว่าทุกคุณลักษณะที่เกิดขึ้นจากปัญญาญาณล้วนมีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่ละคุณสมบัติไม่ได้ขัดแย้งกัน แต่ส่งเสริมซึ่งกันและกันและช่วยสร้างสมดุลให้กับโลกใบนี้

นอกจากแง่มุมความหลากหลายของคุณสมบัติที่เกิดจากปัญญาญาณแล้ว คำสอนเรื่องสัตว์วิเศษทั้ง 4 หรือ The Four Dignities ยังสามารถอธิบายถึง “เส้นทาง” หรือ “พัฒนาการ” ของนักรบที่เติบโตจากคุณสมบัติหนึ่งสู่อีกคุณสมบัติหนึ่งอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อที่จะเปิดตัวเองสู่ความกว้างขวางในการปฏิสัมพันธ์กับโลกใบนี้ด้วยความตื่นแห่ง The Great Eastern Sun

โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากการข้ามขอบของตัวตนที่นักรบจะต้องเรียนรู้และข้ามผ่าน ตั้งแต่ความเย่อหยิ่ง ความลังเลสงสัย ความหวั่นกลัว และความแปลกแยกจากตัวเอง

คุณสมบัติแห่งเสือ



ในการฝึกฝนคุณลักษณะของเสือ หรือ ความอ่อนโยน นักรบชัมบาลาจะต้องดำรงตนอยู่บนความถ่อมตน ความติดดิน และความอ่อนโยน เพื่อที่จะข้ามพ้นความเย่อหยิ่งของตัวตน

ความเป็นเสือในฐานะความอ่อนโยนนั้น มักจะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความแข็งแกร่ง แต่ในมุมมองของ Shambhala ความแข็งแกร่งอย่างเป็นธรรมชาตินั้นผุดพรายขึ้นมาจากความอ่อนโยน เพราะความอ่อนโยนมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับความเรียบง่าย ติดดิน และไม่แปลกแยกกับตัวตน ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้จากความเย่อหยิ่งหรือยโสโอหัง

เมื่อนักรบสามารถดำรงอยู่กับความเรียบง่ายแห่งตัวตน สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือความมั่นใจอันไร้เงื่อนไข เช่นเดียวกับเสือที่เหยียบย่ำผืนป่าด้วยความเต็มเปี่ยมแห่งตัวตนที่จริงแท้ มันไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผืนป่า ทุกก้าวย่างของเสือคือความมั่นคงและผ่อนคลาย ขณะเดียวกันในทุกการเคลื่อนไหวของมัน ก็แฝงไว้ด้วย Awareness ต่อสรรพสิ่งทั้งภายนอกและภายใน

ด้วยความมั่นใจ ความอ่อนโยน และ Awareness อันผ่อนคลาย คุณสมบัติของเสือในตัวนักรบชัมบาลา จึงช่วยให้นักรบมองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน แม่นยำ และทะลุปรุโปร่ง ซึ่งทำให้ผู้ฝึกตนบนหนทางแห่งนักรบมีฐานที่ดีในการแยกแยะ “ความตื่น” ออกจาก “ความหลับใหล”

คุณสมบัติแห่งสิงโตหิมะ



ในขั้นนี้เป็นการบ่มเพาะความแหลมคม ความมีชีวิตชีวา และ พลังงานที่กระปรี้ประเปร่า เพื่อที่จะข้ามพ้นกับดักของความลังเลสงสัย นักรบที่มีคุณสมบัติของสิงโตหิมะสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตด้วยความมีเกียรติและความผ่อนคลาย

สิงโตหิมะคือสัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนที่สูง พวกมันใช้ชีวิตอย่างอิสระเสรี กระโจนไปตามสันเขา ผ่านดงดอกไม้ภายใต้อากาศที่สดชื่น ความรื่นรมย์ของทิวทัศน์จากที่สูงทำให้พวกมันกระปรี้กระเปร่าและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติเมื่อนักรบมีพื้นฐานของความเป็นเสือในตัวเอง ความอ่อนโยนและมั่นใจของเสือทำให้คุณสมบัติของสิงโตหิมะผุดพรายขึ้นมาอย่างไร้เงื่อนไข ไม่ว่ามันจะดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด

เชอเกียม ตรุงปะ กล่าวถึงคุณลักษณะของความกระปรี้ประเปร่าเอาไว้ว่า มันคือความสามารถที่จะยกระดับจิตใจของตัวเองให้รื่นรมย์ขึ้นมาได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าขณะนั้นเราจะกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากเข็ญเพียงใด นอกจากนี้ความกระปรี้ประเปร่า ยังเป็นคุณสมบัติที่ทำให้เราไม่หลงไปกับความลังเลสงสัย เนื่องจากมันสามารถแปรเปลี่ยนพื้นที่แห่งความคิดแง่ลบ การต่อสู้กับตัวเอง ความโกรธเกรี้ยว สู่ความผ่อนคลาย ความยินดีต่อชีวิตที่ตัวเองมี และความเป็นมิตรต่อสรรพสิ่งในโลกใบนี้

ในภาษาของชัมบาลา คุณสมบัติความรื่นรมย์ของสิงโตหิมะ เกิดขึ้นมาจากความไว้วางใจใน Basic Goodness ที่มีอยู่ในทุกสิ่ง และเมื่อเราสามารถสร้าง “วินัย” ในการสัมพันธ์กับ Basic Goodness ได้แล้ว เมื่อนั้นเส้นทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบก็จะเผยตัวออกมาให้เราก้าวเดินไปอย่างสง่าผ่าเผย

คุณสมบัติแห่งครุฑ



จากผืนดินของเสือ สู่ทิวเขาและยอดไม้ของสิงโตหิมะ สูงขึ้นไปอีกก็คือผืนฟ้าอันเป็นดินแดนของครุฑ ซึ่งมีพลังอำนาจแห่งการโบยบินอย่างอิสระเสรี

ในตำนาน ครุฑ คือราชาแห่งปักษาทั้งปวง มันมีปีกมหึมาที่พาตัวของมันทะยานไปในโลกทั้งสามได้ภายในพริบตา คุณสมบัติที่โดดเด่นของครุฑ จึงเป็นภาพสะท้อนของสภาวะจิตที่กว้างใหญ่ไพศาลมิมีประมาณ

ความองอาจและกว้างขวางของครุฑ คือคุณสมบัติที่ทะลวง “ดักแด้” หรือ ตัวตน ที่ห่อหุ้มเราไว้ให้มลายสิ้น มันคือความกล้าหาญที่จะดำรงตนอยู่บนเส้นทางอย่างไม่ครั้นคร้ามที่จะทะยานไปยังดินแดนที่ตัวตนของเราเคยหวาดหวั่น มันเป็นคุณสมบัติที่จะพาเราโบยบินข้ามผ่านความกลัวต่างๆ ของอัตตาสู่ความเปิดโล่งของท้องฟ้าที่มีความเป็นไปได้นับอนันต์

ในการทำงานกับตัวตนบนเส้นทางนักรบ บ่อยครั้งที่เราจะพาตัวเองไปเผชิญหน้ากับ “ขอบ” ของตัวตน พื้นที่ซึ่งเราไม่กล้าแม้แต่จะสบตา มันเป็นดินแดนที่ทำให้เราสั่นไหว รู้สึกไม่ปลอดภัย ซึ่งกระตุ้นความต้องการที่จะควบคุมขึ้นมาอย่างรุนแรง เพื่อทำให้เราหันหลังกลับไปยังกรงขังที่ดูเหมือนจะอบอุ่นของตัวตนเดิม

ความเป็นครุฑ จึงเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้เรายืนหยัดต่อวินัยแห่งนักรบ ปลุกความกล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับขอบเหล่านั้นอย่างองอาจ เปิดรับความกลัวเข้ามาอย่างไม่หวาดหวั่น ปล่อยวางความพยายามในการควบคุม แล้วสยายปีกอันกว้างใหญ่ของตนออกมา เพื่อที่จะทะยานข้ามขอบเหล่านั้นสู่ดินแแดนใหม่ที่เราไม่เคยไปถึง


คุณสมบัติแห่งมังกร



คุณสมบัติสุดท้ายของนักรบคือ ความเป็นมังกร เราเริ่มต้นจากการทำงานกับความอ่อนโยนของเสือซึ่งเป็นพื้นฐานของความเป็นนักรบ ตามมาด้วยความกระปรี้ประเปร่าของสิงโตหิมะที่เสริมสร้างวินัยแห่งความเบิกบานและรื่นรมย์ต่อชีวิต จากนั้นก็คือความองอาจของครุฑที่ช่วยให้เราก้าวข้ามความหวั่นกลัว บ่มเพาะความกล้าหาญ ซึ่งพาเราโบยบินออกสู่ดินแดนแห่งความตื่นที่พ้นไปจากตัวตนเดิม

ตำนานของโลกตะวันออกเล่าถึงมังกรไว้ว่า พวกมันเป็นสัตว์ที่สัมพันธ์แน่นแฟ้นกับสภาวะอากาศและฤดูกาล ในยามหน้าหนาวมังกรจะหลับใหลอยู่ใต้ผืนดิน และเมื่อถึงฤดูใบไม้พลิมันจะเผยตัวออกมาพร้อมสายหมอกและหยดน้ำค้าง ยามหน้าร้อนมันจะร่อนไปบนแผ่นฟ้า แล้วหยอกล้อกับเมฆสีขาว และในบางคราที่พายุโหมกระหน่ำ มังกรจะคำรามออกมาเป็นเปลวเพลิงและสายฟ้า

คุณสมบัติของมังกรจึงเป็นความลื่นไหลที่สามารถแปรเปลี่ยนได้อย่างฉับพลัน โดยสอดคล้องไปกับฤดูกาลและสภาวะ ลม ฟ้า อากาศ มันจึงเป็นความยืดหยุ่นที่ไม่อาจคาดเดาได้ แต่ความลึกลับเกินหยั่งของมังกรจึงไม่ได้หมายถึงการมีเล่ห์เหลี่ยมหรือความอ้อมค้อม แต่มันหมายถึงการให้กำเนิดความองอาจที่ปราศจากความกลัว

ความลึกเกินหยั่งถึงของมังกร คือการแสดงออกถึงความมั่นใจในตัวเอง มันเป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อนักรบชัมบาลาผสานตัวเองเข้ากับประสบการณ์ ณ ขณะนั้นอย่างเต็มที่ มันจึงไม่มีความลังเลและไร้ซึ่งความหวาดกลัว นักรบชัมบาลาที่มีคุณสมบัติของมังกร ไม่จำเป็นต้องกีดกันประสบการณ์ใดๆ ก็ตามออกไปจากตัวเอง เพราะนักรบผู้นั้นเปี่ยมด้วยความมั่นใจที่จะดำรงอยู่กับทุกประสบการณ์แม้สถานการณ์นั้นจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนก็ตาม

ความเป็นมังกรของนักรบยังทำให้ไม่มีความจำเป็นใดๆ ในการเร่งรีบเพื่อหนีออกจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้น นักรบชัมบาลาสามารถอดทนรอการคลี่คลายของสถานการณ์ด้วยตัวของมันเอง โดยไม่จำเป็นต้องคิดค้นหาวิธีในการควบคุมสิ่งใดเลย ด้วยเหตุนี้ นักรบชัมบาลาจึงสามารถทำงานกับสถานการณ์อย่างตรงไปตรงมา พร้อมหัวใจแห่งความกรุณาอันไร้เงื่อนไขที่ไม่หวั่นไหวต่อความกลัวใดๆ



จะเห็นว่าสัตว์วิเศษทั้ง 4 แสดงถึงคุณลักษณะของปัญญาญาณที่แตกต่างกัน แต่ส่งเสริมกันและกันอย่างสอดคล้องกลมเกลียว ขณะเดียวกันปัญญาญาณทั้ง 4 ก็ยังสามารถมองจากมุมเชิงพัฒนาการของการฝึกตนได้ด้วย

ความอ่อนโยนของเสือ คือพื้นแห่งเส้นทาง ความกระปรี้กระเปร่าของสิงโตหิมะนำพาวินัยและพลังงานในการก้าวย่างบนเส้นทางนั้น ครุฑคือความกล้าหาญที่จะกระโจนสู่ดินแดนอื่นนอกขอบของตัวตน และมังกรเป็นความมั่นใจโดยธรรมชาติ ที่ทำให้นักรบพร้อมสัมพันธ์กับทุกสิ่งด้วยธรรมชาติอันมิอาจหยั่งถึงภายในตน เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้คนและสถานการณ์อย่างกว้างขวางล้ำลึก

การเรียนรู้คำสอนชัมบาลา รวมทั้ง The Four Dignities – หรือพลังวิเศษทั้ง 4 สะท้อนให้เราเห็นว่าเราสามารถเป็นนักรบที่กล้าแกร่งและอาจหาญได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพูน “ตัวตน” ของเราให้หนาหรือซับซ้อนยิ่งขึ้น กลับกัน ความแข็งแกร่งอันแท้จริงในแนวทางของชัมบาลา เริ่มต้นจากความอ่อนโยนภายใน หัวใจที่อ่อนนุ่มซื่อตรงกับตัวเอง นักรบไม่กลัวการดำรงอยู่ใน space พร้อมเผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์อย่างเปิดกว้าง ผ่อนคลาย และฉับไวที่จะตอบสนองในสิ่งที่พึงกระทำอย่างมั่นใจและเปี่ยมทักษะ

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-fourdignities/

69
หยาดฝนแห่งธรรม / ทำไมทำบุญแล้ว ไม่เห็นได้ดี
« กระทู้ล่าสุด โดย sithiphong เมื่อ มกราคม 13, 2024, 09:10:45 am »
.
.
ทำไมทำบุญแล้ว ไม่เห็นได้ดี
.
โพสโดย Dungtrin
.
.
ทำไมทำบุญแล้ว ไม่เห็นได้ดี?
ทำบุญแค่ไหน
ถ้าไม่ได้ทำด้วยใจ
หรือมีใจไม่ต่อเนื่อง
ก็ได้ดีมีสุขยาก
ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
ตอนเช้าๆ อากาศดีๆ
พอเห็นพระเดินผ่านหน้าบ้านอย่างสำรวม
แล้วคุณนึกอยากใส่บาตรขึ้นมาเอง
.
จากนั้นวันต่อมา
สนองความปรารถนาของตนเอง
ตื่นขึ้นมาทำกับข้าวกับมือ
แล้วออกไปดักรอใส่บาตรท่าน
พอสำเร็จก็เกิดความปลาบปลื้มโสมนัสอยู่นาน
อย่างนั้นเรียกว่าทำบุญด้วยใจ
ให้ผลเป็นสุขทันที
.
กับทั้งมีกรรมขาวก่อตัวสำเร็จ
มองไม่เห็นด้วยตา แต่รู้สึกได้ด้วยใจ
เป็นเงาตามตัวรอให้ผลในชาติถัดไป
อย่างน้อยจะได้เกิดมา
ทำบุญใส่บาตรกับพระในพุทธศาสนาอีก
และอาจได้เป็นมนุษย์ผู้มีดี
มีอายุ วรรณะ สุข และพลัง
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด
สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ผู้ให้อายุย่อมได้อายุ ผู้ให้วรรณะย่อมได้วรรณะ
ผู้ให้สุขย่อมได้สุข ผู้ให้กำลังย่อมได้กำลัง
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
อย่างไรก็ตาม
แม้ทำบุญด้วยใจ
ถ้ามีใจวันเดียว ทำหนเดียว
บุญนั้นก็มีกำลังอ่อน
วัดจากใจ ที่สุขได้อย่างมากวันเดียวก็จาง
และเมื่อถึงคิวบุญได้ช่องเผล็ดผลในชาติหน้า
ก็อาจมาแบบรางวัลใหญ่หนเดียวแล้วเว้นวรรคยาว
.
เช่น ได้มรดกช่วยชีวิตขณะใกล้ตกอับ
ซื้อหวยแล้วรวยยกระดับชีวิตได้
หรือกำลังหิวแล้วชอบมีคนเอาของดีๆมาให้กิน
แต่ก็มาง่ายไปง่าย ไม่นานก็หมด ลำบากกันต่อ
สรุปคือ ถ้าไม่ทำบุญด้วยใจให้ต่อเนื่อง
ผลของบุญก็เดี๋ยวเดียว ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
อย่าให้ต้องพูดถึงบุญที่ฝืนใจทำ หรือทำด้วยความโลภ
คิดค้ากำไรเกินควร ทำสังฆทาน ๔ ถัง
แต่หวังจะถูกหวย ๔ ล้าน
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
อีกอย่าง การใส่บาตรเป็นบุญใหญ่อย่างหนึ่ง
แต่ไม่ใช่บุญเดียวที่มีอยู่ในธรรมชาติ
แค่คิดถึงคนอื่นในทางดี
ร่วมปลื้มกับความสำเร็จในทางดีของเขา
ไม่ริษยาหาทางบ่อนทำลายเขา
เท่านี้ก็จัดเป็นบุญอันเกิดจากมโนกรรมอันเป็นกุศลแล้ว
.
แค่ยั้งปากไม่พูดโกหก ด้วยความตั้งใจงดเว้นไว้ก่อน
แล้วทำตามความตั้งใจได้ เกิดความโล่งอกโล่งใจได้
ภาคภูมิใจในความมีใจใหญ่เกินกิเลสของตนได้
เท่านี้ก็จัดเป็นบุญอันเกิดจากวจีกรรมอันเป็นกุศลแล้ว
.
อย่างไรก็ตาม ชาวพุทธสมัยนี้มักจำสืบๆกันมาว่า
บุญมีหลายอย่าง ไม่ใช่ใส่บาตรอย่างเดียว
แต่ให้ถามจริงๆว่า บุญแบบไหนที่ตัวเองทำประจำ
ทำแล้วยังใจให้ชุ่มชื่นเป็นสุขได้อย่างต่อเนื่อง
หลายคนนึกไม่ออก บอกไม่ถูก
เพราะมักทำๆหยุดๆ ไม่โกหกวันนี้ ก็โกหกวันหน้า
มองแง่ดีเมื่อเขาเอาเงินมาให้
พอหายหน้าก็นินทาว่าร้าย
ขุดเรื่องน่าอายสมัยอนุบาลมาแฉ อย่างนี้เป็นต้น
.
.. .. .. .. .. .. .. .. ..
.
ทางที่ดี คือ
เลือกที่จะทำบุญสักอย่าง หรือหลายๆอย่าง
ให้สม่ำเสมอ คงเส้นคงวาเป็นอาจิณ
อย่างที่ท่านเรียกว่า ‘อาจิณณกรรม’
.
จะได้บอกตัวเองถูกแบบจำได้ขึ้นใจว่าชาตินี้
บุญใหญ่ที่ทำด้วยใจอย่างต่อเนื่องของเราคืออะไร
ชาตินี้มีความสุขชนิดใดพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
.
กับทั้งพยากรณ์ตัวเองถูกว่าถ้าชาติหน้ามีจริง
เราจะได้เสวยบุญแบบไหนไม่เสื่อมคลาย
ผู้มีอาจิณณกรรม ทำบุญด้วยใจต่อเนื่อง
ย่อมไม่เสวยบุญแบบผลุบๆโผล่ๆ
และไม่มีทางบ่นว่า ทำบุญไม่เห็นได้บุญตรงไหน
ไม่เห็นได้ดีกับใครสักทีเลย!
.
.
70
วัชรยาน / Windhorse : ขี่ความกลัว เผชิญทุกความเป็นไปได้
« กระทู้ล่าสุด โดย มดเอ๊กซ เมื่อ มกราคม 13, 2024, 09:05:50 am »
Windhorse : ขี่ความกลัว เผชิญทุกความเป็นไปได้



จุดเด่นของคำสอนชัมบาลา คือ ชุดคำศัพท์ใหม่ของคำสอน ที่พาให้เราเข้าไปสัมผัสกับคุณสมบัติแห่งการตื่นรู้ในท่าทีที่ต่างออกไปจากศาสนากระแสหลักหรือแม้กระทั่งจากพุทธศาสนาเอง โลกทัศน์ชัมบาลาเผยแสดงผ่านภาพของอาณาจักร ราชา ราชินี นักรบ พลังวิเศษ สัตว์วิเศษ ฯลฯ ลองนึกภาพโลกของแฮรี่ พอตเตอร์ หรือ ลอร์ดออฟเดอะริง ชัมบาลาฝึกให้เราสัมผัสกับเวทมนตร์ ความศักดิ์สิทธิ์ และเข้าถึงพลังอำนาจแห่งการตื่นรู้ ในโลก ที่ครั้งหนึ่งที่เราอาจมองว่าช่างจำเจ น่าเบื่อ ไม่มีอะไรน่าสนใจ

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ แม้ชัมบาลาจะเป็นโลกจิตวิญญาณที่ดูแฟนตาซี ไกลตัว แต่เมื่อได้เรียนคำสอน นำมาฝึกฝน และมีประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง กลับพบว่าชัมบาลาช่างเป็นเนื้อเดียวกันกับชีวิต ทั้งเส้นทางภายใน ความเป็นตัวของตัวเอง ท่าทีในการสัมพันธ์กับรายละเอียดของชีวิต มุมมองต่อสังคม และการเป็นส่วนหนึ่งของโลกอันศักดิ์สิทธิ์

Basic Goodness

หัวใจและฐานรากของคำสอนชัมบาลา คือเรื่อง ความดีพื้นฐาน (Basic goodness)  นักรบชัมบาลาเชื่อว่าเนื้อแท้ของมนุษย์ทุกคน รวมถึงสรรพชีวิตและสรรพสิ่ง ล้วนสมบูรณ์และดีงามอยู่แล้วในตัวเอง คำสอนของชัมบาลาไม่ได้พาให้เราเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แต่สอนให้เข้าถึง “ความเป็น” อย่างจริงแท้ โดยปราศจากอคติ การปรุงแต่ง หรือความคิดตัดสิน ตวามกล้าหาญของนักรบชัมบาลา สะท้อนอยู่ในความเปิดกว้างกับทุกสิ่ง อยู่ตรงนั้นกับทุกสถานการณ์ ด้วยความไว้วางใจในความดีพื้นฐาน ผลลัพธ์คือ ทุกสภาวะสามารถเผชิญได้

Basic Goodness เป็นคำสอนที่เรียบง่าย ลึกซึ้ง แต่เป็นพื้น ที่สำคัญที่สุด หากนักรบชัมบาลาสามารถบ่มเพาะความไว้วางใจในความดีพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว มุมมองต่อสิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไป  และท่าทีในการสัมพันธ์กับสถานการณ์ก็จะต่างไป เราจะสามารถเปิด อนุญาต ยอมรับให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น ปล่อยให้เป็นไป สบตาอย่างสง่างาม ต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้าอย่างกล้าหาญและอ่อนโยน

Windhorse ปลุกเร้าพลังงานแห่งความดีพื้นฐาน

“เธอควรยอมรับตัวเองด้วยความยินดี เคารพตัวเอง ปล่อยวางจากความสงสัยและความอับอาย เพื่อที่เธอจะเรียกคืนความดีพื้นฐานและความเรียบง่าย และเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น พลังงานที่มีอยู่โดยตัวมันเองนี้มาจากการปล่อยวาง เรียกว่าม้าลม”

 – เชอเกียม ตรุงปะ


เมื่อเราบ่มเพาะความเชื่อมั่นในความดีพื้นฐาน และฝึกที่จะไว้วางใจกับการอยู่ในสภาวะต่างๆ ของตัวเอง ไม่ว่าจะ เศร้า เสียใจ ดีใจ ภาคภูมิใจ หรือกับสถานการณ์ภายนอกที่อาจรื่นเริงหรือปั่นป่วน โดยไม่หนี หรือเข้าไปจัดการให้เป็นไปอย่างที่ตัวเองต้องการ ด้วยท่าทีของการปล่อยให้เป็นไปนี้เอง เราจะพบกับพลังงานบางอย่าง …พลังที่ไม่รู้มาจากไหน แต่อยู่ตรงนั้นเสมอ 

“….มันคือพลังงานของความดีพื้นฐาน ในคำสอนชัมบาลา พลังที่มีอยู่ด้วยตัวมันเองนี้เรียกว่า “ม้าลม” หลักการของ “ลม” คือพลังของความดีพื้นฐานที่แข็งแรง อุดมสมบูรณ์และยอดเยี่ยม  มันสามารถทำให้พลังมหาศาลในชีวิตฉาดฉายออกมา แต่ในขณะเดียวกันความดีพื้นฐานนี้ก็สามารถขี่ได้ ซึ่งก็คือหลักการของม้า ด้วยการปฏิบัติตามวินัยของนักรบ โดยเฉพาะวินัยของการสละละวาง เธอจะสามารถควบคุมลมแห่งความดีงาม ในแง่หนึ่งม้าไม่เคยโดนล่าม ความดีพื้นฐานไม่มีวันเป็นสมบัติส่วนตัวของเธอ แต่เธอสามารถปลุกและกระตุ้นพลังงานแห่งความดีพื้นฐานในชีวิตได้…” 

– เชอเกียม ตรุงปะ


การปลุกเร้า windhorse เริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่อกับความดีพื้นฐานที่มีอยู่แล้วในตัว แล้วขึ้นขี่สภาวะอารมณ์ (โดยเฉพาะความกลัว) กระโจนเข้าสู่พื้นที่เปิดของสถานการณ์โดยไม่ถอยหนี ในที่นี้ เราไม่ได้กำลังตัดอะไรทิ้งไป ความกลัวยังคงอยู่ แต่ไม่ได้ปกคลุมเรา อยู่เหนือเรา หรือบดบังวิสัยทัศน์ของเรา เราไม่ได้ถูกบงการโดยอารมณ์ลบๆ แล้วหดตัว ปิดตาย หรือกลับเข้าสู่โหมดไม่ไว้วางใจของรังดักแด้ เราปล่อยให้ความกลัวเกิดขึ้น และยอมรับมันอย่างสง่าผ่าเผย เราใช้พลังงานของความกลัวที่เกิดขึ้นนั้น เปิดตัวเองออก และยกตัวเองขึ้น สู่การเผชิญสถานการณ์นั้นๆ อย่างกล้าหาญ

ในช่วงเวลาที่ปั่นป่วนที่สุด หันไปทางไหนก็เจอแต่ความมืดมน ร่างกายเหมือนโดนบีบ แม้แต่หายใจให้เต็มปอดก็ทำไม่ได้ ในหัวสนั่นหวั่นไหวด้วยเสียงความคิด เรื่องราวที่ทำร้ายเรา เสียงตัดสินกล่าวโทษตัวเอง กระทั่งอยากตาย เรารู้สึกเหมือนถูกห่อหุ้มด้วยความกลัว เราไม่อยากยอมรับ ไม่อยากอยู่ตรงนี้อีกแล้ว ในชั่วขณะนี้เอง คือช่วงเวลาสำคัญของการปลุก windhorse

เริ่มด้วยการตระหนักถึงความดีพื้นฐาน ความสมบูรณ์แล้วของสิ่งที่เกิดขึ้นและมีอยู่ ด้วยความผ่อนคลายและไว้วางใจเพียงชั่วครู่ ปลุกพลังม้าลมที่ยกเราขึ้นเหนือความกลัว ขี่เมฆหมอกทางอารมณ์อย่างผ่าเผย องอาจอยู่บนหลังม้า กลายร่างเป็นนักรบชัมบาลาผู้ดำรงอยู่ในสถานการณ์ตรงหน้าอย่างสง่างาม

ในชีวิตจริง เราสามารถปลุกพลังม้าลมขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ได้ กลับมาที่ลมหายใจ ตั้งแกนกระดูกสันหลังให้ตรง “Shape of the Warrior” ลืมตาขึ้นมองสิ่งที่อยู่ตรงหน้าอย่างตรงไปตรงมา ฝึกที่จะขึ้นขี่ความกลัวและไม่วิ่งตามปฏิกิริยาของการถอยหนี

“เมื่อไรที่เธอเชื่อมต่อกับพลังม้าลม โดยธรรมชาติ เธอปล่อยจากความกังวลเกี่ยวกับสภาวะจิตของตัวเอง และเริ่มที่จะคิดถึงผู้อื่น ถ้าเธอไม่สามารถปล่อยจากความเห็นแก่ตัวได้ เธอก็อาจจะแช่ม้าลมให้กลายเป็นน้ำแข็ง”

– เชอเกียม ตรุงปะ


Four Dignities – สัตว์วิเศษแห่งความสง่างาม

เมื่อเราฝึกที่จะไว้วางใจในความดีพื้นฐาน ขี่ม้าลมแห่งพลังอันไปพ้นตัวตนนี้ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือเราจะสามารถอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มเปี่ยมโดยไม่มีอัตตามากั้นขวาง อิสรภาพแห่งม้าลมจะนำพาคุณลักษณะสี่อย่างในการเข้าไปสัมพันธ์กับสถานการณ์นั้นๆ 

ในคำสอนชัมบาลาเรียก ปัญญาญาณทั้งสี่ นี้ว่า Four Dignities (ความภาคภูมิสี่ประการ) แทนด้วยสัตว์สี่ชนิด ครุฑ มังกร สิงโตหิมะ และเสือ 

ครุฑ คือนักรบแห่งความอาจหาญ เขาเป็นอิสระจากความคาดหวังและความกลัว ลงมือกระทำสิ่งต่างๆ อย่างเฉียบขาด และกางปีกออกไปได้ไพศาล

สิงโตหิมะ คือนักรบแห่ความเบิกบานและชีวิตชีวา เต็มไปด้วยความเยาว์และความสงสัยใคร่รู้ 

เสือ คือนักรบแห่งความนอบน้อม กระทำการต่างๆ ด้วยความนุ่มนวลและเงียบเชียบ ไม่ถูกลวงหลอกด้วยเรื่องราวไร้สาระ

มังกร คือนักรบแห่งความลุ่มลึก มีปัญญาญาณ ลงมืออย่างรวดเร็ว ไร้ร่องรอย ด้วยการใคร่ครวญอย่างถ่องแท้

ทั้งสี่คุณสมบัตินี้ ไม่ได้เกิดมาจากอัตตา ไม่ใช่ร่องนิสัย หรือ personality type แต่เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนมี เมื่อสามารถดำรงอยู่กับสถานการณ์อย่างจริงแท้ ในบางสถานการณ์อาจต้องเป็นครุฑ  ในอีกสถานการณ์อาจต้องเป็นเสือ เมื่อเราเข้าไปสัมพันธ์กับชั่วขณะนั้นๆ โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง คุณสมบัติเหล่านี้ก็จะปรากฎ และตัวเราเองก็จะเป็นแสงสว่างแห่งความดีพื้นฐานให้แก่พื้นที่ตรงนั้น

“เมื่อคุณได้พบคนผู้ซึ่งเต็มเปี่ยมด้วยการดำรงอยู่จากภายใน คุณจะพบว่าเขาหลากล้นไปด้วยความจริงแท้ ซึ่งน่าตื่นตระหนกอยู่มิใช่น้อย เพราะว่าเต็มไปด้วยความจริงยิ่ง สัตย์ชื่อยิ่ง และชัดเจนยิ่ง คุณรู้สึกได้ถึงอำนาจบารมี ซึ่งแผ่ออกมาจากบุคคลผู้มีการดำรงอยู่อันแท้จริงภายใน แม้ว่าคนผู้นั้นอาจเป็นเพียงคนเก็บขยะหรือคนชับแท็กซี่ แต่เขาก็ยังมีคุณลักษณ์อันสูงส่งซึ่งดึงดูดความสนใจและทำให้คุณรู้สึกเกรงขาม นี้มิใช่เป็นเพียงแค่เสน่ห์ดึงดูด คนผู้ซึ่งมีการดำรงอยู่อย่างแท้จริงภายใน ย่อมกระทำการในตนเองและเดินทางไปอย่างเหมาะเจาะจนสุดหนทาง เขาได้รับการดำรงอยู่อย่างแท้จริงขึ้นมาด้วยการสละละวาง และโดยการยุติความสุขสบายส่วนตนและการยึดติด” 

– เชอเกียม ตรุงปะ


การฝึกตนของนักรบชัมบาลา พาเราเข้าไปสัมพันธ์กับชีวิตอย่างเข้มข้น โอบรับทุกความเป็นไปได้เข้ามาในความตระหนักรู้ ไว้วางใจในความดีงามและความตื่นที่เป็นธรรมชาติพื้นฐานของทุกสิ่ง ไม่กลัวที่จะเปราะบาง กล้ายอมรับ ปล่อยให้เป็นไป และจริงแท้กับทุกแง่มุมของความเป็นมนุษย์

จงเชื่อมั่นในศักยภาพแห่งความดีพื้นฐานภายใน ไปพ้นจากการแบ่งขั้ว และดื่มด่ำกับการเผชิญทุกสภาวะที่ปรากฏ

Have a good journey.

จาก https://www.vajrasiddha.com/article-windhorse/

หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10