ผู้เขียน หัวข้อ: จะได้ไม่เป็น..คนสูญเปล่า(เสื่อม-โฆษะบุรุษ)  (อ่าน 6285 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


17 มกราคม เวลา 17:18 น. ·
.. ดวงตะวัน คล้อยต่ำลง
เมื่อไหร่หนอ ใจที่ยัง"หลง"
จะโผล่พ้น.. ดังตะวันยามรุ่งอรุณ
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /แก่กะลา อายุขัยกำลังจะครบแล้ว
อสัญญกรรม ก็จวนปรากฏแล้ว
แม่เจ้าเอ๋ย ยังไม่รู้จักตัวเองอีก

มีความเพียร มีสติว่องไว มีความตั้งใจมั่น พิจารณาไตร่ตรองธรรม
ไปพร้อมกับประคองศีล๕ ไม่ให้ด่างพร้อย
ให้เห็นว่า กายจิตหรือนามรูปแห่งตน นี้หนอ ไม่เที่ยง คือเป็น อนิจจัง
กำลังเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดหย่อน ไม่สามารถยืนโรงคงตัวอยู่ได้
ทั้งส่วนกายและส่วนจิต จึงเป็นอนัตตา

มรรค ส่วนศีล ดีแล้วไม่ด่างพร้อย ย่อมบังเกิดความเพียร
ความมีสติ ความตั้งใจมั่นที่จะประคองศีล ให้บวร และประคอง
ความเห็นที่ประจักษ์ใจแล้ว ว่า กายจิตนี้ เป็น อนิจจัง เป็น อนัตตา
พระศาสดาได้ทรงแนะนำแล้วว่า การไปยึดมั่นเอาสิ่งที่เป็น อนิจจัง
เป็นอนัตตา มาเป็นตัวตนของตนนั้น เป็นเหตุแห่งทุกข์

จากความเห็น อนิจจัง อนัตตา ในกายจิตแห่งตนนี้ ย่อมเกิดความดำริ
ที่จะถอนความยึดมั่นนั้นออกจากกายจิตว่าเป็นตัวตนของตนเสีย
เป็นดำริไม่มุ่งร้ายไม่เบียดเบียนตน อีกต่อไป
เมื่อนี้เอง เมื่อนี้แล้วหนา การเห็นว่ากายจิต หรือนามรูปแห่งตนนี้
เป็นธรรมชาติ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดหย่อน ไม่ใช่ตัวตนของตน
อีกต่อไปแล้ว ได้เข้าใจแล้ว ได้เห็นประจักษ์ใจแล้ว ตัวตนที่เคยยึดมั่น
ว่าเป็นตน นี้ ไม่ใช่ตัวตนของตนแล้ว เป็นธรรมชาติล้วนๆ กำลังไหลไป
เกิดความเห็นว่า ที่แท้เรามิได้เกิดอยู่ ที่แท้เรามิได้เกิดมา
มีแต่ สุทธิ ธัมมา กำลังไหลไป
ใจจิตที่หลง จึงโผล่พ้น ภูเขาแห่งการปิดบังความเป็นจริง
ดุจ ดังตะวัน ยามรุ่งอรุณ เมื่อนี้แหละ
..
-Pa Dan /คิด มีจริงแต่เรื่องที่คิดไม่ได้มีอยุ่จริง ไม่คิดก้อไม่มีคะ
..
..
17 มกราคม เวลา 20:29 น. ·
.. ข้อคิดก่อนนอน
"กรรม" ในชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติที่ผ่านมา..
..กรรมชาติไหน ให้ผลมากที่สุด !
..
-Salita Aura /ขณะปัจจุบัน
-Suwanna Sanponchai /ชาตินี้แหละค่ะ
-Pa Dan /กรรมชาติไหนให้ผลมากสุด หมายถึงกรรมของชาติไหนให้ผลในชาตินี้เหรอคะ เดียวนี้ทุกขณะก้อเจอวิบากที่ชอบใจไม่ชอบใจโดยผัสสะแล้วคะ ทางตาหุจมุกลิ้นกายใจ ไม่สามารถเลือกและรุ้ได้ว่าเป็นกรรมของชาติไหนที่ให้ผลอาจเป็นแสนโกฐหลายชาติแล้วให้ผลซึ่งเจอวิบากอยุ่ขณะนี้คะ
..
..
18 มกราคม เวลา 8:31 น. ·
.. กรรมวัฏฏ์ และ กิเลสวัฏฏ์
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
..
-ดอกไม้ เมืองสยาม /การกระทำในวัฎฏะ ย่อมส่งผลเนืองๆ/กิเลสในวัฎฏะมีอยู่ในผู้ยินดีในวัฎฏะ
-กิเลสคือเครื่องเศร้าหมอง ผู้ยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสย่อมติดในวัฎฏะจักร
-สิ่งที่ว่านี้ทำให้จิตใจหมกมุ่น ไม่บริสุทธิ์
..
..
18 มกราคม เวลา 8:49 น. ·
.. ร่างกาย เมื่อออกแรงมาก ก็เหนื่อยล้า
"ใจ" ที่คิดมาก ..ก็อ่อนเพลีย ละเหี่ยใจ
..
-Pa Dan /วิตรรกเจตสิกต้องทำหน้าที่ของมันทุกขณะ เห็นแล้วคิด ได้ยินแล้วคิด ไม่เห็นไม่ได่ยินยังคิดตลอด บังคัญไม่ได้บางคนคิดแบบเมตตาผุ้อื่น ในขณะบางคนก้อไม่เมตตาเลย สะสมมาไม่ดีเลย ก้อไม่สามารถทำอะไรได้คะ
..
..
                                   

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


18 มกราคม เวลา 17:25 น. ·
"สัมมาทิฏฐิ" คือการเปลี่ยน"ความคิดเห็น"
รู้ว่า"ความเห็นแก่ตัว"(อัตตานุทิฏฐิ) มีแต่โทษ
เห็นว่า การอ้อนวอน ร้องขอ(สีลัพพตุปาทาน) นั้นไม่มีจริง
หมดความกังวลสงสัย(วิจิกิจฉา)
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /ความเห็นใหม่ทีต่างจากความเห็นเดิม
ความเห็นเดิมช่างมืดมิด และก็มีคำกล่าวว่ามืดมิดก่อนฟ้าสาง
แต่อ้อนแต่ออก ต้องรู้จักรักษาตัว ต้องไม่ลืมตัว และต้องเห็นแก่ตัวเป็นธรรมดา ตามธรรมชาติ
อย่างน้อย ต้องเข้านอนและตื่นนอนตามเวลา และมีหน้าที่ดูแลตัวเอง
ความคิดเห็นนั้นชัดเจนว่า นี่คือตัวฉัน นั่นคือของฉัน ฉันต้องได้ ฉันต้องดี ฉันต้องเก่ง ฉันต้องฉลาดกว่า ต้องขอบใจฉัน

นี่คือ ความเห็นแก่ตัวดั้งเดิมแท้ ประกอบด้วยกายนี้ คือฉัน รอบๆนี้ เป็นของตัวฉัน
ตัวฉันและของฉัน ต้องเที่ยงแท้ยืนโรงคงตัว ฉันมุ่งหวังความเป็นเช่นนั้นตลอดไป นี่คือ สักกายทิฏฐิ ใช่ไหมหนอ
หรือไม่ก็ อัตตานุทิฏฐิ ใช่ไหมหนอ แม้อายุ 20 ปีแล้ว ก็ยังเต็มไปด้วย สักกายทิฏฐิอยู่
โตแล้วเดินผ่านวัด เขาสวดมนต์ กันแบบคนสวดก็ไม่เข้าใจภาษา คนฟังก็ไม่เข้าใจ
เคยได้ยินเสียงสวดว่า รูปัง อนิจจัง เวทนา อนิจจา รูปัง อนัตตา เวทนา อนัตตา ก็รู้สึกว่า น่าฟัง แปลกดี
อายุเพิ่มขึ้น นึกถึงคำแม่ที่พูด ตอนทุบหัวปลา เพื่อลงหม้อแกงว่า อนิจจัง ทุกขัง อนาตา (ไม่ได้ออกเสียงว่า อะนัตตา)
ก็มาตรงกับคำที่พระท่านสอนเรื่อง การตามเห็นความไม่เที่ยง ตามเห็นความคงสภาพเดิมได้ยาก ตามเห็นความไม่ยืนโรงคงตัว
ก็เริ่มเข้าใจความหมาย ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
และในที่สุด ก็จะตามเห็นได้ ในความเป็น อนิจจัง เป็นอนัตตา ของ อายตนะ ๖ ของ วิญญาณ ๖
ของนามรูป และได้ไตร่ตรองข้อพระธรรมว่า ไม่ควรยึดว่า เป็นเราเป็นของเรา

เห็นตามความเป็นจริงของ สุทธิ ธัมมา ปวัตตันติ -คือ ธรรมชาติล้วนๆกำลังไหลไป ไม่ใช่สัตว ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ชีวิต
จึงไม่มีเราเกิดอยู่ จึงไม่มีเราเกิดมา
จมอยู่ในความมืดมานาน และแล้ว ก็มีส่วนจริงที่ว่า มืดมิดก่อนฟ้าสาง
จากมี ความเห็นแก่ตัว มีสักกายทิฏฐิ เต็มร้อย ก็พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อ อนัตตทิฏฐิ คือเห็นความเป็นอนัตตา บังเกิดมาแทนที่
จากมืดมิด ฟ้าจึงรุ่งสาง เป็นรุ่งอรุณ มีการเริ่มต้นเห็นและมั่นใจใน ความเป็นอนัตตา ของกายจิต ตน
..
-การเห็น อนิจจัง และเห็นอนัตตา เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ ชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
จากตัวตน ที่เป็นเราเป็นของเราได้เปลี่ยนแปลงไปสิ้นเชิงว่า ความเห็นเดิมนั้นไม่ตรงตามความเป็นจริง
ความคิดเห็นใหม่นั้นที่เห็นว่า กายจิต ตนไม่ใช่ตนนั้น ตรงตามความเป็นจริง

สักกายทิฏฐิ ในทางความคิดเห็น และในทางอุปนิสัย จึงถูกทำลายลงเป็นลำดับ อย่างน่าอัศจรรย์
และมองย้อนอดีต เห็นความโง่งมงายไร้เหตุผลของตนได้ หัวเราะเยาะความโง่งมงายแต่หนหลังได้
ความคิดเห็นใหม่ ได้ทำลายความเห็นแก่ตัว และสักกายทิฏฐิ ลงได้ อย่างน่าอัศจรรย์ เป็นผลให้บังเกิดความมั่นใจ
ในความตรัสรู้ดีจริงของพระพุทธเจ้า และมั่นใจในความเป็นธรรมดีจริงของพระธรรม
ความลังเลสงสัย ในพระพุทธ พระธรรม จึงไม่อาจหลงเหลืออยู่เลย ได้มอบกายถวายชีวิตเพื่อพระธรรม
วิจิกิจฉา จึงถูกทำลายลงหมดสิ้น เปลี่ยนเป็นความมั่นคงบวร ในพระธรรม
และกลายเป็นบุคคลที่ รู้จัก เหตุ ผล ตน กาล ประมาณ บุคคล ประชุมชน ยิ่งขึ้น คล้ายว่า เป็น สตบุรุษ เพิ่มขึ้น
รู้จัก เหตุ รู้จักผล เข้มข้นขึ้น จึงเป็นผู้มีเหตุผลในวัตรปฏิบัติ และเข้าใจเหตุผลของศีล ในการที่จะไม่ประทุษรร้ายร่างกาย
ทรัพย์สิน ของรัก ความเป็นธรรมด้วยวาจา เป็นต้น ศีลจึงมั่นคง บวร ตามเหตุผล
สีลัพพตปรามาส อันเป็นลักษณะของความงมงายไร้เหตุผล ในศีลและวัตรปฏิบัติ จึงถูกกำจัดไป
แม้จะรุ่งอรุณ มีแสงส่องทางแล้ว แต่ยังเดินทางอยู่ในน้ำโผล่ แค่ส่วนหัวได้เห็นฝั่งแล้ว แต่ยังเดินลุยน้ำ

ท่านได้ร้องเรียกว่า จงมาสู่ที่ไม่มีน้ำจากที่มีน้ำ จงละกามเสีย
กามให้ความเพลิดเพลินน้อย ให้ความทุกข์มาก
ความเพลิดเพลินใน รูป ยังคงทุกข์อยู่ ยังต้องมีพลัดพรากจากอยู่
ความเพลิดเพลินในอรูป คือเกียรติยศ ชื่อเสียง ก็ยังทุกข์อยู่เช่นกัน
แม้ขึ้นบกแล้ว ก็ต้องสู้ต่อไป
..
..
18 มกราคม เวลา 19:33 น. ·
"ทาน" คือ การให้
ให้ของที่มีประโยชน์
ให้ด้วยเจตนาตั้งใจที่ดี
ให้เพื่อ อนุเคราะห์ สงเคราะห์ และบูชา
การให้นั้น ตนเองไม่เดือดร้อน
* ทรงกล่าวว่า ..ทานเช่นนี้ มี(ผล)อานิสงส์มาก
..
..
19 มกราคม เวลา 9:11 น. ·
.. กรรม คือ ความคิด
มีชีวิต ย่อมต้องคิด ..ควรคิดแต่สิ่งที่เป็น"กุศลธรรม"
..
..
19 มกราคม เวลา 9:29 น. ·
.. ความเหมาะสมของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับจริต(ความชอบ)
ความสมดุลย์แห่งธรรม คือ "มัชฌิมาปฏิปทา"
..
..
19 มกราคม เวลา 12:56 น. ·
"ของปลอม" จะต้องตกแต่ง ประดับ-ประดา
พร้อมคำอธิบายมากมาย เพื่อให้เห็นว่าเป็น "ของจริง"
..
..

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


19 มกราคม เวลา 13:47 น. ·
"วัฏฎะจักร" คือ ผลกรรม(วิบาก) ที่เปลี่ยนเป็นกรรม เรื่อยไป..
..จนกว่าจะมี "สติ"
..
..
19 มกราคม เวลา 18:17 น. ·
.. สติ นั้น สำคัญไฉน?
..
-Chainit RL /สติคือความรู้ตัวระลึกได้..เป็นไปเพื่อความไม่ประมาททางกาย(ศีล)
..ไม่ประมาททางใจ(สมาธิ)..มีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล(ปัญญา)..!?
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /ความเห็นชอบ -สัมมาทิฏฐิ คือ กายจิต หรือ นามรูปแห่งเรา
เป็น อนิจจัง เป็น อนัตตา ไม่ใช่เรา
ความตั้งใจมั่นชอบ-สัมมาสมาธิ คือ แน่นอนต้องเป็นดั่งนี้ แน่นอน
มีความเพียรที่จะตั้งใจมั่นชอบว่า ไม่ใช่เรา
สัมมาสติ -คือความระลึกได้ชอบ กลับมาช้า
เผลอไป เผลอเเล้ว สติเลยมาไม่ทัน จึงเกิดตัวเรา

ไม่ถูกตา ก็ขุ่นเคือง ไม่เข้าหู ก็ขุ่นเคือง
ร้อนเกิน หนาวเกินก็หงุดหงิด
ของแตกหัก สูญหาย ก็เสียดาย
ทุกข์จึงมาถึงก่อนสติ
สติจึงมาทีหลัง แต่ก็ทุกข๋ เสียก่อน ตั้งหลายขุม
แต่สติก็มาช่วยกู้สถานะได้ มาช้า ดีกว่า ไม่มา

ถ้าสติมาทันทุกผัสสะ เราก็จะต่างอะไรจากพระอรกันต์
แต่นี่ก็เห็นอยู่ บางผัสสะ สติ มาช้ามาก
นี่แหละหนา จึงไม่ถึงอรหันต์
อย่ามาถามเลย ขอรับ สติสำคัญอย่างไร?
พระอรหันต์ คงตอบได้ดีกว่า เต็มร้อย สาธุ
..
-พระธรรม คำสอน สุนทรพจน์ /สตินั้น มีความสำคัญ คือ
มีอุปการะมากในสิ่งที่ทำ
คำ ที่ พูด และเรื่องที่คิด

ทั้งมีอุปการะในการเข้าถึง
ธรรมทั้งหลายมี ศีล สมาธิ
และปัญญา เป็นต้น
..
..
20 มกราคม เวลา 9:57 น. ·
.. ตำราบางเล่ม ยากที่จะทำความเข้าใจ ฉันใด
ผู้มี"มานะทิฏฐิ" ก็ฉันนั้น ..
-Keak Ku ความยากของภาษาที่ใช้ กับความยากของผู้ที่เอาแต่ใจ..
..
..
20 มกราคม เวลา 10:32 น. ·
.. กาย เหนื่อยอ่อน พักผ่อนก็หาย
ใจ ที่เหนื่อยล้า จะทำฉันใด .. ?
..
-กณแจดอกเอก ในห้องกลม /รู้ตามความเป็นจริงของจิต ไม่บังคับ
ไม่ปล่อย แค่รู้เฉยๆ ก็จะทำให้จิตไม่ยึดมั่นในสิ่งใด สาธุๆๆครับผม
..
-ฐีติภูตัง ตะโจ เจโตปริยญาณ /ท้องที่อิ่มอาหารทำให้ร่างกายมีกำลังฉันใด ใจที่นิ่งสงบไม่แส่ส่ายไม่กวัดแกว่งก็ย่อมมีกำลังฉันน้ัน...ดังนี้ทำอย่างไรจึงจะนิ่ง...จะผูกมันไว้อย่างไร...
..
..
20 มกราคม เวลา 13:57 น. ·
.. ฌาน อรูปฌาน และสมาบัติ
ภายนอก คือ "มิติของเวลา"
ภายใน(ใจ) หมายถึง "อารมณ์อันประณีต"
แต่! จุดมุ่งหมายสูงสุดที่ทรงสอน คือ "หยุดเวลา"
..
..

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


20 มกราคม เวลา 14:50 น. ·
"เมตตา" มีได้ไม่ยาก..
เพียงแค่ ไม่เบียดเบียนผู้อิ่นทางกาย วาจา และะใจ
..
-
ร.ร. อนาคามิมรรค /สาธุ เมตตามีได้ไม่ยาก
รู้ คำว่า สักกายทิฏฐิ
เห็นตัว สักกายทิฏฐิ
เพียร มีสติ ตั้งใจมั่น เรียนรู้ ให้เห็น อนัตตาใน กายจิตนี้ แห่งตน
เห็นอนัตตา ประจักษ์ ใจ แล้ว

จะเห็น ได้ว่า สักกายทิฏฐิ ความยึดมั่นในกายจิตว่าเป็นตัวตนของตน
อันเป็นต้นเหตุของความเห็นแก่ตัวอย่างหยาบทั้งหลาย นั้น
จะถูก ความเห็นชอบ ในกายจิต ว่าเป็น อนัตตา นั้น
ทำลายและกำจัดมันลงเสียได้ จริงไหม?

การที่จะเห็น อนัตตา ในกายจิต แห่งตนได้ คงต้องเริ่มจากการรักษาศีล ๕
เพื่อนำสู่ ความพร้อมของโสดาปัตติมรรค ๓ องค์คือ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว และมรรค ส่วน สมาธิ อีก ๓องค์ จะพอเพียง
คือ สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ส่วนมรรคในส่วนปัญญา อีก ๒ องค์คือ
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นั้น ก็ได้จาก คำแนะนำที่พระศาสดาไดทรงแนะ
นำไว้แล้ว ว่า การยึดมั่นในสิ่งที่เป็น อนิจจัง เป็นอนัตตานั้น จะเป็นทุกข์
มีความเห็นชอบแล้ว ความดำริชอบจะตามมา

เมื่อมรรค ครบองค์ แปด แล้ว ย่อมหนุนเสริมกันขึ้นจนถึงขั้น
ที่จะเห็น อนัตตา ในกายจิต ประจักษ์ใจ ระดับหนึ่ง ซึ่งจะตัดสังโยชน์คือ
สักกายทิฏฐิ ลงเสียได้ และส่งผลให้.." เมตตา " มีได้ไม่ยาก สาธุ
..
..
20 มกราคม เวลา 19:11 น. ·
... คำถามก่อนนอน
" ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว " ..หมายความว่าอย่างไร?
..
-ฐีติภูตัง ตะโจ เจโตปริยญาณ /ใจเป็นประธานในขันธ์ทั้ง 5 วิญญาณผู้ท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายในวัฏฏะ แบกหามทุกข์สุข กายเป็นบริวารผู้รับคำสั่งกรรมดีหรือชั่วย่อมเป็นไปตาม ใจผู้เป็นนายบังคับบัญชา ...
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /เมื่อจิตรับรู้คือรู้สึกถึงสิ่งใด สิ่งนั้นก็ปรากฏแก่ใจบุคคล
เมื่อจิตไม่ได้รู้สึกถึงสิ่งใด สิ่งนั้นๆก็ไม่ปรากฏ (คือ มี = ไม่มี )
ทุกอย่าง จึงเป็นเพียง ความรู้สึกของจิต
ความหิว เป็นอาการ เป็นความรู้สึกของจิต
เมื่อถึงตอนสาย จิต คือสังขารขันธ์ นึกคิดได้ว่าจะมีความหิวตามธรรมชาติ
จิตคือสังขารขันธ์ สรุปว่า จะต้องบรรเทาความหิว ต้องออกบิณฑบาตร
และ เมื่อฉันแล้ว ความหิวหมดไปแล้ว บริเวณ อาศรม รกด้วยใบไม้
จิตคือสังขารขันธ์เกิดมีขึ้นว่า ต้องดูแลความสะอาด ต้องกวาดอาศรม
ดังนั้น บิณฑบาตร กวาดอาศรม จึงเป็นบทบาทต่อจาก สังขารขันธ์

ส่วนการที่ใครจะไปประกอบอบายมุข อันเป็นทางสู่ความฉิบหาย
ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เล่นการพนัน เที่ยวกลางคืน และเกียจคร้านการงาน นั้น
ความอยาก เป็นตัวจูงจมูกไป
ความอยาก เป็นความรู้สึกของจิตของใจ
ความอยากบังคับให้ไป เหมือนว่า ใจนั้นเป็น นาย
..
..
21 มกราคม เวลา 8:58 น.
.. คนจน ใฝ่ฝันถึงรสชาติของความร่ำรวย
คนรวย หวั่นเกรงรสชาติความยากจน
"รสแห่งธรรม" ก็เช่นกัน ..ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติ
..
..

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


21 มกราคม เวลา 8:58 น.
.. สุคติ แปลว่า ไปดี
ถ้าทำดีแล้ว ใยต้องกลัว"ทุคติ"
..
-Dwi Jsidakorn /ดีกว่าสุคติ.. คือ ไม่มีที่ไป..
..
( นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ )
เมื่อความน้อมไป ไม่มี
การมาและการไป ย่อมไม่มี
( อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ )
เมื่อการมาและการไป ไม่มี,
การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี
( จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร )
เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี,
อะไรๆก็ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
( เอเสวันโต ทุกขัสสะ. )
นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /คนทั่วไปนั้นย่อมคิดถึงเรื่อง สุคติ และทุุคติ
ความมุ่งหมายในทางการใช้ภาษา มันซ้อนๆกันอยู่ เป็นต่างระดับ
ภาษ่า บางเรื่องต้องถอดระหัส ให้เข้าภายในกายที่ยาววามีสัญญาและใจ
สุคติ และ ทุคติ อาจเป็นเรื่องภาวะของจิต เท่านั้นก็ได้
สาธุ ทำดีแล้วมีพร ไม่ปรากฏแน่นอน ใน ทุคติ
..
..
21 มกราคม เวลา 9:36 น.
.. ทำตามธรรม คือ ทำตามหน้าที่
ทำตาม(ใจ)เรา ..คือ ทำตามกิเลส
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /สาธุ ทำหน้าที่ถูกต้องคือ การประพฤติธรรม
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /เสรีภาพ ท่ามกลางเมฆหมอกบัง
๑ เสรีภาพ ในร่างกายของบุคคล นำมาซึ่ง เหตุผลของศีลข้อที่ให้ศึกษา
การ "ไม่ประทุษร้ายร่างกาย "
๒ เสรีภาพ ในทรัพย์สิน ของบุคคล เป็นเหตุผล ในการศึกษา ศีล ที่ว่า
ถึง การไม่ประทุษร้ายทรัพย์สิน บุคคล
๓ เสรีภาพในของรัก บุคคลย่อมมีของรัก เป็นเหตุผลให้ศึกษา ศีลที่ว่า
"เว้นจากการประพฤติผิดหรือประทุษร้ายในของรักทั้งหลายของบุคคล"
๔ เสรีภาพ ในการที่จะได้รับความเป็นธรรมทางวาจา เป็นเหตุผลว่า
"เว้นจากการประทุษร้ายความเป็นธรรมด้วยวาจา"
๕ เสรีภาพ ในการรักษาความปกติของสติ สมประดี เป็นเหตุผลว่า
"ไม่ประทุษร้ายสติ สมประดี ด้วยของมืนเมา"
เสรีภาพทุกข้อ อยู๋ภายใต้ เมฆหมอกแห่ง ตัวฉันและของฉัน

แม้นี้ก็ตาม ท่านก็ให้สำรวมระวังไม่ให้มีการประทุษร้าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับการประทุษร้ายสติสมประดี นั้น
เป็นเสรีภาพส่วนบุคคลที่ซ้อนกันอยู่ กับเสรีภาวะตามธรรม
การใช้เสรีภาพตามใจตนจึงเป็นการตามใจกิเลส แล้วทำลาย
เสรีภาวะ ที่จะมีสติปรกติตามธรรมชาติของตน
แม้การรับประทานอาหารในเวลาวิกาลก็ดี
การฟ้อนรำ ขับเพลง การดนตรี การดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล
การทัดทรงสวมใส่การประดับ การตกแต่งตนด้วยพวงมาลา ด้วยเครื่องกลิ่น
และเครื่องผัดทา ก็ดี
การนั่งนอนบนที่นอนสูง และ ที่นอนใหญ่ ก็ดี
ก็เป็นเสรีภาพที่จะประทุษร้าย ความเป็นปกติแห่งตน

จึงเป็นเสรีภาพ ที่อยู่ในท่ามกลาง เมฆหมอก บังตา หนาบาง ตามลำดับ
ทำตามใจเราแท้ๆก็เพลินดีออก แต่กลายเป็นทำตามกิเลส เสียได้เสียฉิบ
..
..
21 มกราคม เวลา 12:33 น. ·
.. นิวรณ์ เป็นเครื่องบั่นทอน"ปัญญา"
สติ คือเครื่องกั้น"ตัณหา"
..
..
21 มกราคม เวลา 15:15 น. ·
... ทรงเปรียบ"อุปทาน" เหมือนดั่ง"เงา"
หลงยึดถือ"ตัวเรา"มากเพียงใด ..เงา ก็ใหญ่โตมากเพียงนั้น
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /นิทานเรื่อง เกวียนติดหล่ม สมัยเด็กๆ นั้นสรุปว่า ตนเป็นที่พึงแห่งตน
ไปไหนมาไหน ผู้ใหญ่ให้รักษาเนื้อรักษาตัวแถมด้วยท่านสุนทรภู่ อีก
ว่า รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดึ
แต่อ้อนแต่ออก ล้วนแต่ถูกย้อมใจว่า เป็นตัวตนของตน ทั้งว้นทั้งคืน
นี่คือรากเหง้าของความยึดเอาว่าร่างกายนี้ เป็นตัวตนของเรา
เป็นการสำคัญผิดในความเป็นจริงมานานมากติดต่อกันไม่ขาดสายเลย
ความเคยชินที่จะคิดเอาเอง แล้ว เออเอง ว่า กายจิตนี้เป็นเรา นั้น
จึงตั้งมั่นมาตลอด ไม่มีทางเข้าใจได้และรู้ตัวได้เลยว่า เป็นความเห็น ที่ไม่ชอบ

คำว่าอุปาทาน มันคนละภาษา ก็ไม่เข้าใจหรอกครับ
แต่ถ้าว่า คิดเอง เออเอง ว่า กายจิตนี้คือตัวตนของตน
เพราะไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เลย
มันก็เป็นธรรมชาติธรมดาที่จะต้องเห็นแบบนั้น

ถ้าการสำคัญผิดในความเป็นจริง เรียกว่า อุปาทาน
ก็พอจะเข้าใจได้/เมื่อเห็นว่า กายจิตเป็นตัวตนของตน แล้ว
ยังเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นของตนอีก
สรุปว่า ตัวตนก็เป็นตน สิ่งของทั้งหลายก็เป็นของตน
เนื่องด้วยความไม่รู้และสำคัญผิดในความเป็นจริง
ถ้าท่านบัญญัติว่า อาการแบบนี้ เรียกว่า อุปาทาน ก็จะเรียกตาม
และเข้าใจได้ ว่า อุปาทานคือ เช่นใด
..
-Keak Ku ดีมากครับ ..ทรงตรัสว่า การเถิดกำเนิดของบุคคล
คือการได้มาซึ่งขันธ์5 ..อุปทาน ความยึดถือ เชื่อถือ
เชื่อมั่นของทุกคนจึงมีอยู่ในขันธ์5 ครับ
..
..

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


21 มกราคม เวลา 22:11 น.
"ความสุดโต่ง" ที่ทรงสอน หมายถึง..
- ปล่อยตัวปล่อยใจสบายเกินไป จนขาดความยั้งคิด
- หมกมุ่น เคร่งเครียดเกินไป ไม่รู้จักปล่อยว่าง
* ทรงสอนให้รู้จัก"ความพอดี" ในชื่อ"มัชฌิมา"
..
..
22 มกราคม เวลา 22:11 น.
.. พระอรหันตขีณาสพ ยังบริโภคกามทั้งหลายหรือไม่?
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /จำเดิมแต่ต้นจนตลอดชีวิตพระอรหันต์ ทั้งหลาย
ท่านเป็นผู้เว้นขาดแล้ว จากการประพฤติอันมิใช่พรหมจรรย์

แค่พระอนาคามี ท่านก็ละ กามราคะแล้ว ละปฏิฆะ ความขุ่นเคืองแล้ว
พระอรหันต์ละได้ซึ่ง สังโยชน์สิบ และเรารู้ตัวดีว่า เราละไม่ได้คือ
๖ รูปราคะ ๗ อรูปราคะ ๘ มานะ ๙ อุทธัจจะ ๑๐ อวิชชา

พระอรหันต์ จึงหมดความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง
พร้อมและเป็นไปได้สู่ ปัจเจกพุทธะ และ สัมมาสัมพุทธะ
ทุกพระองค์ เคารพพระธรรม สาธุ
..
-ฐีติภูตัง ตะโจ เจโตปริยญาณ /เนกขัมมบารมีเป็นกำลัง...เต็มทีแล้วครับ...ก้าวข้ามโคตรภูญาณเข้าสู่แดนโลกุตร...นิพพานังปัจโยโหตุ...ท่านรู้เท่าทันเล่ห์แห่งมาร ออกจากกองทุกข์แห่งกามราคะ เห็นใส้เห็นพุงมันหมดทั้งตัวสมุทัยที่แท้อันเป็นอนุสัยรากเหง้าแห่งกามทั้งสิ้นนั้น....
..
..
22 มกราคม เวลา 10:02 น.
.. ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทรงให้ชื่อว่า "ไตรลักษณ์"
ซึ่งเป็นกฏหรือทฤษฏีที่ทรงใช้อธิบาย"อนัตตลักขณสูตร"
เพื่อให้เห็นว่า ขันธ์5 ไม่ใช่ตัวตนของเรา..
..
-ร.ร. อนาคามิมรรค /สรุป:-
รูปขันธ์ เป็นสิ่งพึงเกิดเมื่อมีการกระทบ ของตา หรือของหู หรือของลิ้น
เป็นต้น ให้เห็นว่า มันเป็นสิ่งพึ่งเกิด จริงแท้เลย เลิกหรือจบกระทบ ก็ดับ
ดังนั้น รูปัง อนิจจัง -รูปไม่เที่ยง รูปังอนัตตา รูปไม่ใช่ตัวตน ก็เห็นได้
สัญญาคือความจำได้หมายรู้ ก็พึงเกิดเมื่อมีการกระทบ จบกระทบก็ดับ
ดังนั้น สัญญา อนิจจา -สัญญาไม่เที่ยง สัญญา อนัตตา - สัญญาไม่ใช่ตัวตน ก็เข้าใจได้
เวทนา สังขาร ก็เป็นสิ่งพึ่งเกิด จบกระทบ ก็ดับ
ทุกขันธ์ ล้วนพึ่งเกิด ตามเหตุ หมดเหตุ แล้วก็ดับ

เกิด-ดับ แล้วเกิดแล้วดับ ไม่รู้ว่าตัวเราอยู่ที่ใด จะกำหนดถือเอาที่ใดเป็นเรา นั้น ไม่ได้เลย
จับให้ได้ ไล่ให้ทัน ความลึกลับ ของ ตา หู จมูกลิ้น กาย มโน
ที่เกิด-ดับสับกันทำหน้าที่เสมอๆ แล้วจะเฉลย มายากลนี้ได้ว่า
ขันธ์ ทั้ง๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงปรากฏการณ์ ของธรรมชาติ
เท่านั้น
..
..
23 มกราคม 2559 เวลา 10:02 น.
.. พุทธโอวาทที่ว่า "เข้ากันโดยธาตุ"
หมายถึง บุคคลผู้มีจริต ความชอบเหมือนกัน ย่อมอยู่รวมกัน
..
..
23 มกราคม 2559
.. "การเสนอ" กับ "การสนอง" ก็เหมือน"ใจ" กับ "กิเลส"
ถ้าฝ่ายเสนอ ไม่ไดรับการสนอง "ทุกข์" ก็ไม่เกิดขึ้น
..
-Keak Ku /อุปกิเลสที่มาเยือนใจ ถ้าใจไม่รับไว้
ความขุ่นมัวเศร้าหมองก็ไม่มี ครับ
..
.. กิเลส เปรียบเหมือนแขกผู้มาเยือน
เราบังคับแขกไม่ได้ ..แต่เราควบคุมใจเราได้
.. อุปกิเลส กิเลสที่จรมา
..
" ..ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติปฏิบัติ เพื่อสิ้นทุกข์โดยชอบเถิด "
.. โอวาทที่ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา
..
.. ธรรมที่ดี คือธรรมที่นำ"สคฺค"(สัตว์) หลุดพ้นจากกาม(ความพอใจ)
..
.. ผู้ห่างไกลธรรม นอกจากผู้ไม่ใส่ใจธรรมแล้ว ยังได้แก่ผู้ที่ไม่เข้าใจธรรม
.. ไม่เข้าใจความหมายที่ว่า "..เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด"
..
..
23 มกราคม 2559
..* ในโลก มีเพียงธรรมของพระพุทธองค์เท่านั้น ที่เป็น "นิยยานิกธรรม"
คือ"ธรรมที่นำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ได้จริง"



>>F/B Keak Ku
https://www.facebook.com/profile.php?id=100004803467050&fref=nf